ตัวอย่างแบบพิมพ์หนังสือราชการ ดังนี้ 1. หนังสือภายนอก 2. หนังสือภายใน 3. หนังสือประทับตรา 4. คำสั่ง 5. ระเบียบ 6. ข้อบังคับ 7. ประกาศ 8. แถลงการณ์ 9. ข่าว 10. หนังสือรับรอง 11. รายงานการประชุม (พร้อมสาระการประชุม) 12. แบบปกเอกสารลับ
วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2568
ตัวอย่างแบบพิมพ์หนังสือราชการ
การใช้เลขไทย-เลขอารบิกในหนังสือราชการ
👉 การใช้เลขไทยในหนังสือราชการ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2543 โดยขอให้หน่วยงานส่งเสริมการใช้เลขไทย เพื่ออนุรักษ์ภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาประจำชาติ
👉 การใช้เลขอารบิกในหนังสือราชการ ใช้กับงานการเงินหรืองบประมาณ งานวิเคราะห์ตารางตัวเลข งานที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ ข้อมูลตัวเลขที่ใช้คู่กับภาษาอังกฤษ ลิงก์เว็บไซต์ เป็นต้น
วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568
คำอธิบายการพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์และตัวอย่างการพิมพ์
ตามหนังสือสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 0106/ว 2019 ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2553 เรื่อง คำอธิบายการพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์และตัวอย่างการพิมพ์ โดยเห็นควรใช้รูปแบบตัวพิมพ์ไทยสารบรรณ (Th Sarabun PSK) ขนาด 16 พอยท์ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลข่าวสารหรือหนังสือราชการในระบบอิเล็กทรอนิกส์ของส่วนราชการต่อไป
1. การตั้งค่าในโปรแกรมพิมพ์
1.1 การตั้งระยะขอบหน้ากระดาษ ขอบซ้าย 3 เซนติเมตร ขอบขวา 2 เซนติเมตร
1.2 การตั้งระยะบรรทัด ให้ใช้ค่าระยะบรรทัดปกติ คือ 1 เท่า หรือ Single
1.3 การกั้นค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ อยู่ระหว่าง 0 - 16 เซนติเมตร
2. ขนาดตราครุฑ
2.1 ตราครุฑสูง 2 เซนติเมตร ใช้สำหรับการจัดทำกระดาษตราครุฑ และตราครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร ใช้สำหรับการจัดทำกระดาษบันทึกข้อความ
2.2 การวางตราครุฑ ใช้วางห่างจากขอบกระดาษบนประมาณ 1.5 เซนติเมตร
การอ้างข้อกฎหมายในการเขียนหนังสือราชการ
การอ้างข้อกฎหมาย คือ ข้อวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องโดยอาศัยกฎหมาย คำพิพากษาของศาล ระเบียบ คำสั่ง หลักการ หลักวิชา หลักเกณฑ์ มาตรฐานต่าง ๆ แนววินิจฉัยเดิม และตัวอย่างที่คล้ายคลึงพอจะเทียบเคียงได้
วันศุกร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2568
การรับรองสำเนาถูกต้อง
การรับรองสำเนาให้มีคำรับรองว่า "สำเนาถูกต้อง"
การรับรองสำเนาให้ "เจ้าของเรื่อง" ลงลายมือชื่อรับรอง และลงชื่อตัวบรรจง ตำแหน่ง และวัน เดือน ปี ที่รับรองไว้ที่ขอบล่างของหนังสือ
ขอความร่วมมือแต่งกายในการปฏิบัติราชการ
ตามหนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0201.3/ว71 ลงวันที่ 3 มกราคม 2568 เรื่อง ขอความร่วมมือแต่งกายในการปฏิบัติราชการ โดยกระทรวงมหาดไทยขอให้จังหวัดขอความร่วมมือบุคลากรในสังกัดแต่งกายด้วยเครื่องแบบกากี คอพับ หรือเครื่องแบบของหน่วยงานในทุกวันจันทร์ที่เป็นวันทำการ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2568
การพิมพ์หนังสือที่มีหลายหน้า
พิมพ์ข้อความต่อเนื่องที่จะยกไปพิมพ์หน้าใหม่ไว้ด้านล่างมุมขวาของหน้านั้น ๆ แล้วตามด้วย ... (จุด 3 จุด) โดยเว้นความห่างของบรรทัดสุดท้าย 2 บรรทัด และควรมีข้อความของหนังสือเหลือไปพิมพ์ในหน้าสุดท้ายอย่างน้อย 2 บรรทัด ก่อนพิมพ์คําลงท้าย
ฟอนต์ที่ใช้พิมพ์หนังสือราชการ
ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2553 และ 6 กรกฎาคม 2564 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงาน ใช้ 14 ฟอนต์ ได้แก่
1. TH Sarabun PSK2. TH Chamornman
3. TH Krub
4. TH Srisakdi
5. TH Niramit AS
6. TH Charm of AU
7. TH Kodchasan
8. TH K2D July8
9. TH Mali Grade 6
10. TH Chakra Petch
11. TH Bai Jamjuree CP
12. TH KoHo
13. TH Fah Kwang
14. Chulabhorn Likhit
นโยบาย แนวทาง มาตรการขับเคลื่อนการพัฒนาการเข้าใจดิจิทัลของประเทศไทย
หนังสือเรื่อง นโยบาย แนวทาง มาตรการขับเคลื่อนการพัฒนาการเข้าใจดิจิทัลของประเทศไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศราฐกิจและสังคมแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ได้จัดทำนโยบาย แนวทาง มาตรการ สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการเข้าใจดิจิทัล ตามแผนพัฒนาความรู้ความเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) พร้อมมาตรการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดนมีการกำหนดข้อเสนอแนะด้านนโยบายตามบริบทของประเทศ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลที่มีการระบุแนวทางการพัฒนาการเข้าใจดิจิทัล มาตรการทางภาษีและสิทธิประโยชน์ ที่สามารถสะท้อนผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติได้เป็นอย่างเป็นรูปธรรม
วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2568
GovTech Foresight อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย
หนังสือเรื่อง GovTech Foresight อนาคตเทคโนโลยีโลกสู่รัฐบาลไทย โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) มีแนวคิดในการจัดทำหนังสือนี้ เพื่อให้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ หรืองานบริการภาครัฐบนพื้นฐานของเทคโนโลยีและนวัตกรรม
วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2568
AI เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ สำหรับการบริหารงานและการบริการภาครัฐ
ส่วนที่ 1 เป็นบทนำเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่อง AI ให้แก่ผู้อ่าน
ส่วนที่ 2 เป็นการรวบรวมทิศทางกลยุทธ์ AI ของโลก
ส่วนที่ 3 เป็นแนวทางการนำ AI มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของภาครัฐ โดยแบ่งงานภาครัฐออกเป็น 3 กลุ่ม คือ งานบริการ งานบริหารจัดการของรัฐ และงานเฉพาะของหน่วยงาน
ส่วนที่ 4 เป็นข้อเสนอแนะสำหรับภาครัฐเพื่อนำ AI มาใช้ประโยชน์
Local Government Digital Tranformation Guidebook
หนังสือเรื่อง Local Government Digital Tranformation Guidebook โดย สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) ได้รวบรวมระบบท้องถิ่นดิจิทัลรวมถึงเทคโนโลยี AI และเทคโนโลยีที่นำสมัยอื่น ๆ ที่น่าสนใจมาเขียนในรูปแบบที่อ่านง่าย เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวนมาก สามารถทำความเข้าใจง่ายและสามารถใช้งานระบบดังกล่าวได้จริง
ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
วันจันทร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2568
วิธีปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ภาครัฐ (Practices for Government Cybersecurity)
หนังสือเรื่อง วิธีปฏิบัติงานด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ภาครัฐ (Practices for Government Cybersecurity) โดย DG-CERT by DGA รู้เท่าทันภัยไซเบอร์ ทั้งแนวทาง Risk Assessment การตัดสินใจจัดการความเสี่ยง Cybersecurity Framework และอีกมากมาย
3 ขั้นตอนง่าย ๆ ไม่โดนแฮกแน่นอน
1. มือถือมีรหัสผ่าน
ในมือถือของเราทุกคน มีข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลการเงิน หรือแม้กระทั่งรหัสและข้อมูลเพื่อการยืนยันรหัสผ่าน 2 ชั้น ดังนั้นจึงควรตั้งรหัสผ่านมือถือ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบรหัสผ่าน รหัสแบบวาด หรือแบบสแกน เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้โดยง่าย
การยืนยัน 2 ชั้น จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยใม่ให้มิจฉาชีพเข้าถึงข็อมูลได้ง่าย เนื่องจากบางบริการที่มีความสำคัญของข้อมูลหรือต้องการความปลอดภัยเป็นอย่างมาก ควรทำการเปิดระบบยืนยันตนแบบ 2 ปัจจัย
3.อัปเดตซอฟต์แวร์มือถือ
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2568
ผู้เกี่ยวข้องกับกฎหมาย PDPA ขององค์กร
การจัดการข้อมูลส่วนบุคคลเป็นเรื่องสำคัญที่เจ้าหน้าที่ภาครัฐต้องดำเนินการอย่างถูกต้องและรัดกุมตามกฎหมาย พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) เพื่อปกป้องสิทธิของประชาชน สร้างความโปร่งใสในการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลขององค์กร
โดยมีผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ PDPA 3 ส่วน ดังนี้
1) Data Protection Office (DPO) มีบทบาทสำคัญในการสร้างความเชื่อมั่นให้องค์กรปฏิบัติตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการตรวจสอบ รักษาความลับของข้อมูล และให้คำแนะนำในการปฏิบัติตามกฎหมาย PDPA
2) ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) มีบทบาทสำคัญในกระบวนการจัดการข้อมูลส่วนบุคคลอย่างเป็นระบบ และโปร่งใสตามกฎหมาย ปฏิบัติตามสิทธิของเจ้าของข้อมูล
3) ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) มีบทบาทในการสนับสนุนการประมวลผลข้อมูลให้เป็นไปตามที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) กำหนด และปฏิบัติตามมาตรฐานและมาตรการคุ้มครองข้อมูลและรักษาความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
ระบบ Digital ID คืออะไร
Digital ID เปรียบเสมือนบัตรประชาชนในรูปแบบดิจิทัล เป็นฐานข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้ในการยืนยันตัวตนในโลกดิจิทัล เพื่อให้ประชาชนทั่วไป หรือ นิติบุคคลเข้าถึงบริการภาครัฐต่าง ๆ ผ่านออนไลน์ได้สะดวก รวดเร็ว ด้วยการลงทะเบียนเพียงครั้งเดียว
ประโยชน์ของ Digital ID
1) ลดการยืนยันตัวตนที่ซ้ำซ้อน ไม่ต้องกรอกข้อมูลส่วนตัวทุกครั้งที่ลงทะเบียนเข้าใช้งาน
2) ประหยัดค่าใช้จ่ายในเรื่องเอกสารและค่าเดินทาง
3) มีทางเลือกในการยืนยันตัวตน เพื่อเข้าถึงบริการภาครัฐมากขึ้น
4) ป้องกันการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคลได้มากขึ้นด้วย Username และ Password
5) เข้าถึงบริการภาครัฐได้สะดวก รวดเร็ว
ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2568
การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ด้วย CIA Triad
C = “Confidentiality”หมายถึง การรักษาความลับของข้อมูลในระบบสารสนเทศ
I = “Integrity” หมายถึง ความสมบูรณ์ของข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่า ข้อมูลจะไม่ถูกแก้ไข หรือ เปลี่ยนแปลง โดยไม่ได้รับอนุญาต
A = “Availability” หมายถึง ความพร้อมใช้งานของระบบสารสนเทศ
นโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 - 2570)
วันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568
บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์
ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0719.1/ว35 โดยสำนักงบประมาณได้ปรับปรุงบัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลง จึงให้ใช้บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ฉบับธันวาคม 2567 โดยกำหนดให้มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม 👉 บัญชีราคามาตรฐานครุภัณฑ์ ฉบับธันวาคม 2567
แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ
หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.8/ว5485 ลงวันที่ 26 ธันวาคม 2567 เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นหน่วยรับงบประมาณ
วันอังคารที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2568
Digital Transcript คืออะไร? มีแล้วสะดวกอย่างไร?
สำหรับการจัดทำ Transcript ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลที่มีการลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) โดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Digital Certificate) จากผู้ให้บริการที่มีความน่าเชื่อถือ เทคโนโลยีที่อยู่เบื้องหลังบริการนี้ เรียกว่า PKI (Public Key Infrastructure) หรือ เทคโนโลยีกุญแจคู่สาธารณะ ผู้ได้รับไฟล์ Digital Transcript สามารถตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเอกสารได้ด้วยตนเองอย่างรวดเร็ว ด้วยโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์พื้นฐานที่ใช้งานกันโดยทั่วไป หรือตรวจสอบผ่านระบบควบคุมและตรวจสอบเอกสารสำคัญทางการศึกษา (Web Validation Portal) โดยไม่จำเป็นต้องทำหนังสือกลับไปสอบถามหรือขอคำยืนยันจากสถาบันอุดมศึกษาต้นสังกัดอีกต่อไป ในระยะแรก DGA ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ผลักดันให้มีการจัดทำ Digital Transcript ในรูปแบบที่ เรียกว่า “Secure Transcript” ก่อน ด้วยการลงลายมือชื่อดิจิทัลโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้เอกสารถูกแก้ไขหรือปลอมแปลงได้ยาก และตรวจเช็กได้โดยง่าย ในระยะถัดไป จะร่วมกันผลักดันให้สถาบันอุดมศึกษาจัดทำไฟล์ข้อมูลในรูปแบบ XML แนบไปกับไฟล์ Digital Transcript เรียกว่า “Smart Transcript” เพื่อให้สามารถแลกเปลี่ยนเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานผ่านช่องทางดิจิทัลได้โดยอัตโนมัติ และนำไปสู่การสร้างและวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) เกี่ยวกับการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศต่อไป
การตรวจสอบเอกสาร Digital Transcript
เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ได้รับไฟล์ Digital Transcript สามารถตรวจสอบ Digital Signature ว่าเป็นเอกสารของจริงได้ด้วยโปรแกรมพื้นฐาน เช่น Adobe Acrobat Reader หรือตรวจสอบผ่าน https://edocvalidation.digitalgov.go.th/validate ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย
ระเบิดพลังซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทย! ในการลงทะเบียนเรียนรู้ระบบ OFOS
ระเบิดพลังซอฟต์พาวเวอร์ประเทศไทย! ในการลงทะเบียนเรียนรู้ระบบ OFOS ผ่านแอปฯ ทางรัฐ ฟรี! เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ Upskill-Reskill ผลักดัน 1 ครอบครัว 1 ทักษะซอฟต์พาวเวอร์ (One Family One Soft Power)
การเรียนรู้ไม่มีคำว่าสาย ตอบโจทย์ทุกความสนใจ ทุกทักษะความสามารถ สร้างอาชีพ สร้างเงิน สร้างมูลค่า สร้างอุตสาหกรรม ผ่านการเรียนรู้ทักษะในอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ ทั้งรูปแบบ Online และ Offline กับระบบ OFOS ฟรี! ไม่เสียค่าใช้จ่าย! ผ่านแอปฯ ทางรัฐ
ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ ได้ทั้งระบบ IOS และ Android ผ่าน App Store หรือ Google Play สามารถใช้งานบริการภาครัฐกว่า 151 บริการได้ทุกที่ทุกเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง 📍https://czp.dga.or.th/cportal/sdk/landing/index.html
มาค้นหาโอกาสใหม่ ทักษะใหม่ สร้างงาน สร้างรายได้ ผลักดันทุกอุตสาหกรรมซอฟต์พาวเวอร์ไทยให้เติบโต ต่อยอดไอเดียคุณให้สร้างสรรค์อนาคตได้ไม่รู้จบ!
อ่านรายละเอียดของ OFOS เพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์👉https://ofos.thacca.go.th/
วันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2568
7 ประโยชน์ที่หน่วยงานของรัฐจะได้รับ จากพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
1) เกิดการบูรณาการร่วมกัน และลดปัญหาการทำงานซ้ำซ้อนระหว่างหน่วยงานของรัฐ
2) ลดขั้นตอนและระยะเวลาดำเนินการเนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เป็นเครื่องมือ
3) มีธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐเป็นกรอบในการบริหารจัดการข้อมูล
4) ภาครัฐโปร่งใส และประชาชนมีส่วนร่วม
5) ลดภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ
6) เจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการพัฒนาหรือยกระดับทักษะด้านดิจิทัล
7) สร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนผู้รับบริการจากภาครัฐ
ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)
มาตรฐานสํานักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยวิธีการทางเทคโนโลยีดิจิทัลในการประยุกต์ใช้มาตรฐานการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลภาครัฐ ด้านความหมายข้อมูล (กรณีประยุกต์ใช้มาตรฐานฯ ข้อมูลภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2568
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 (OPEN GOVERNMENT DATA GUIDELINE)
เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 รองนายกรัฐมนตรี นายพิชัย ชุณหวชิร ในฐานะประธานคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ได้ลงนามในประกาศคณะกรรมการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล เรื่อง มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 20 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา
มาตรฐานรัฐบาลดิจิทัลว่าด้วยแนวทางการเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐในรูปแบบดิจิทัลต่อสาธารณะ เวอร์ชัน 2.0 หรือ มรด. 8 : 2567 ฉบับนี้เป็นแนวทางการเปิดเผยให้สอดคล้องกับกฎหมาย และกรอบธรรมาภิบาลข้อมูล สร้างความรู้ความเข้าใจ ความมั่นใจในการเปิดเผยข้อมูลภาครัฐให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีคุณภาพของประเทศ ได้โดยง่ายและตลอดเวลา
แนวทางการจัดทำข้อมูล Metadata
1) ประเภทข้อมูล
2) ชื่อชุดข้อมูล
3) องค์กร
4) ชื่อผู้ติดต่อ
5) อีเมลผู้ติดต่อ
6) คำสำคัญ
7) รายละเอียด
9) หน่วยความถี่ของการปรับปรุงข้อมูลและค่าความถี่ของการปรับปรุงข้อมูล
10) ขอบเขตเชิงภูมิศาสตร์หรือเชิงพื้นที่
11) แหล่งที่มา
12) รูปแบบการเก็บข้อมูล
14) สัญญาอนุญาตให้ใช้ข้อมูล
วันพฤหัสบดีที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2568
ข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการของระบบการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (workD Platform) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
ตามหนังสือสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ด่วนที่สุด ที่ สพร 2567/ว2141 เรื่อง ขอแจ้งเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไขการให้บริการของระบบการสื่อสารแบบรวมศูนย์ (workD Platform) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2568