วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2568

การอบรม e - Learning ผ่านหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้เชี่ยวชาญ (NCSA e-Learning) Cybersecurity Professional Course

          หลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้เชี่ยวชาญ (NCSA e-Learning) Cybersecurity Professional Course
          เป็นหลักสูตรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับมืออาชีพที่สอดคล้องกับหลักสูตรประกาศนียบัตรสากลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ระดับผู้เชี่ยวชาญ CompTIA Security+ เวอร์ชัน 601 ซึ่งประกอบไปด้วยเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกับความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในเชิงลึกยิ่งขึ้นจากหลักสูตรในระดับพื้นฐาน ซึ่งจะนำไปสู่การต่อยอดความชำนาญเฉพาะด้านในหลักสูตรขั้นสูงขึ้นต่อไป

👉สามารถอบรมผ่านทางเว็บไซต์ https://www.thnca.or.th/our-services/ncsa-e-learning/basic-online/


ที่มา : สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

การอบรม e - Learning ผ๋านหลักสูตรระดับพื้นฐาน (NCSA e-Learning) Cybersecurity Foundation Course

หลักสูตรระดับพื้นฐาน (NCSA e-Learning) Cybersecurity Foundation Course
          เป็นหลักสูตรพื้นฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับข้อมูล สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ องค์ประกอบคุณสมบัติหลักด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ 3 ด้าน (การรักษาความลับ ความถูกต้อง และความพร้อมใช้) และองค์ประกอบสำคัญอื่นที่เกี่ยวข้อง แนวคิดความสัมพันธ์ของสามเหลี่ยมด้านความมั่นคงปลอดภัย ฟังก์ชันการทำงาน และการใช้งาน (The Security, Functionality, and Usability Triangle) สำหรับการกำหนดระดับความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ รูปแบบการโจมตีด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ประเภทภัยคุกคามและช่องโหว่ ลักษณะภัยคุกคามไซเบอร์ แนวโน้มด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ การบริหารความเสี่ยงและมาตรการจัดการความเสี่ยง
👉สามารถอบรมผ่านทางเว็บไซต์ https://www.thnca.or.th/our-services/ncsa-e-learning/basic-online/

ที่มา : สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

ข่าวด้านไซเบอร์ฉบับรายเดือนมีนาคม ประจำปี 2568

           อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รวบรวมข่าวด้านไซเบอร์ฉบับรายเดือน ประจำเดือนมีนาคม 2568


ที่มา : ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

หน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ (Critical Information Infrastructure: CII) คืออะไร ?

          ตามมาตรา 49 แห่งพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 กำหนดให้คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) มีอำนาจประกาศกำหนดลักษณะ หน่วยงานที่มีภารกิจหรือให้บริการในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

          (1) ด้านความมั่นคงของรัฐ
          (2) ด้านบริการภาครัฐที่สำคัญ
          (3) ด้านการเงินการธนาคาร
          (4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม
          (5) ด้านการขนส่งและโลจิสติกส์
          (6) ด้านพลังงานและสาธารณูปโภค
          (7) ด้านสาธารณสุข
          (8) ด้านอื่นตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนดเพิ่มเติม

          โดย สกมช. กำหนดให้หน่วยงานควบคุมหรือกำกับดูแลดำเนินการ 5 ขั้นตอน ดังนี้
          1. การระบุกระบวนการที่สำคัญ
          2. การพิจารณาผลกระทบจากการหยุดชะงักของกระบวนการที่สำคัญ
          3. การประเมินเวลาการหยุดชะงักที่ยอมรับได้
          4. เลือกกระบวนการที่สำคัญและการระบุทรัพย์สินสารสนเทศ
          5. การระบุหน่วยงานโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ


ที่มา : ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2568

หนังสือราชการสามารถใช้เลขอารบิกได้หรือไม่ ?

           หนังสือราชการใช้เลขอารบิกได้ โดยไม่บังคับว่าจะต้องใช้เลขไทยอย่างเดียวเท่านั้น
           
           เลขอารบิกใช้กับ

  • งานการเงินหรืองบประมาณ
  • งานวิเคราะห์ตารางตัวเลข
  • งานที่ต้องใช้ภาษาต่างประเทศ
  • ข้อมูลตัวเลขที่ใช้คู่กับภาษาอังกฤษ
  • ลิงก์ที่อยู่เว็บไซต์

          ตัวอย่างเช่น
  • ประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Meeting ID : 123 644 5555 รหัส Passcode : 123456
  • เว็บลิงก์ shorturl.at/sKY49
  • บริษัท.......มีหนังสือที่ ADB550/2023


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า


โครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2571 - 2575) และการประสานแผนพัฒนาระดับพื้นที่ (One Plan)

           หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ มท 0810.3/1846 ลงวันที่ 29 เมษายน 2568 เรื่อง โครงการอบรมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแนวทางการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2571 - 2575) และการประสานแผนพัฒนาระดับพื้นที่ (One Plan) โดยกำหนดจัดอบรมระหว่างวันที่ 18 มิถุนายน - 29 สิงหาคม 2568 จำนวน 6 รุ่น ๆ ละ 3 วัน 
          ในการนี้ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ขอความร่วมมือจังหวัดแจ้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่มอบหมายบุคลากรเข้าร่วมการฝึกอบรมตามโครงการดังกล่าว 


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

สถิติภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำปี พ.ศ. 2568 (มกราคม - มีนาคม 2568)

 




ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

การเข้ารหัสยุคหลังควอนตัม (Post-Quantum Cryptography: PQC)

          การเข้ารหัสยุคหลังควอนตัม (Post-Quantum Cryptography: PQC) คือ กระบวนการเข้ารหัส ข้อมูลที่เกิดขึ้นมาเพื่อปกป้องข้อมูลจากการมาถึงของคอมพิวเตอร์ควอนตัม ซึ่งผู้เชี่ยวชาญและทำงานเกี่ยวข้อง กับความปลอดภัยและการรักษาความลับข้อมูลต่างมีความกังวลว่าจะมีความสามารถเจาะผ่านเทคโนโลยี การเข้ารหัสแบบเดิมที่ใช้อยู่ได้อย่างง่ายดาย จึงแบ่งได้ออกเป็น 2 ส่วน คือ เทคโนโลยีการเข้ารหัส และ การพัฒนาคอมพิวเตอร์ควอนตัม

          ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง การเข้ารหัสยุคหลังควอนตัม (Post-Quantum Cryptography: PQC) จากสํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) 


ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2568

พัฒนาการการช่วงชิงความได้เปรียบบนไซเบอร์โดเมน

           หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง พัฒนาการการช่วงชิงความได้เปรียบบนไซเบอร์โดเมน จากสํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)


ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

รายงานสถิติการคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

           หนังสือกรมบัญชีกลาง ที่ กค 0413.3/ว 252 ลงวันที่ 18 เมษายน 2568 เรื่อง รายงานสถิติการคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยกรมบัญชีกลางได้ดำเนินการจัดทำรายงานสถิติการคลัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เรียบร้อยแล้ว โดยเผยแพร่ข้อมูลผ่านทาง www.cgd.go.th 👉 เรื่องที่น่าสนใจ 👉 สถิติการคลัง



ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

รายงานการซักซ้อมแผนเผชิญเหตุอุทกภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

           หนังสือกองพัฒนาและส่งเสริมการบริหารงานท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.4/ว 1816 ลงวันที่ 25 เมษายน 2568 โดยขอความร่วมมือสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด รายงานการซักซ้อมการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ตามแบบที่กำหนดในภาพรวมของจังหวัด 
 
          สิ่งที่ส่งมาด้วย
          1) รายงานการซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุอุทกภัยระดับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปี 2568


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ (18 เม.ย. - 24 เม.ย. 68)

            💢TOP 10 ข่าวปลอม #อาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [วันที่ 18 - 24 เม.ย.68]

          ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9429

          อันดับที่ 1 : เรื่อง วันที่ 21 เม.ย. 68 จะเกิดแผ่นดินไหวพร้อมกัน ในเมียนมา มาเลเซีย กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ไทย และลาว

          อันดับที่ 2 : เรื่อง หาดกะหลิม ป่าตอง จ.ภูเก็ต เกิดน้ำลด เตรียมรับมือสึนามิ

          อันดับที่ 3 : เรื่อง ในปี 68 จะเกิดแผ่นดินไหวอีกครั้ง พื้นที่กรุงเทพฯ รับความรุนแรงเทียบเท่าวันที่ 28 มี.ค. 68

          อันดับที่ 4 : เรื่อง เตรียมปล่อยตัวนักโทษ 3.8 หมื่นคน ส่วนใหญ่คดียา

          อันดับที่ 5 : เรื่อง กรมการขนส่งฯ เปิดต่อใบขับขี่ปี 2568 ไม่ต้องสอบใหม่!

          อันดับที่ 6 : เรื่อง ช็อก! พบรอยเลื่อนแก่งคร้อพาดผ่านชัยภูมิ-ขอนแก่น เสี่ยงแผ่นดินไหว!

          อันดับที่ 7 : เรื่อง เดือนกรกฎาคม 2568 จะเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่ แผ่นดินไหว และสึนามิ

          อันดับที่ 8 : เรื่อง เปิดรายชื่อ 10 จังหวัดกระทบแผ่นดินเคลื่อน และวางแผนความเสี่ยง

          อันดับที่ 9 : เรื่อง เมฆเตือนภัย ตอม่อทางด่วนถล่ม มีผู้เสียชีวิตมากกว่าเหตุทางด่วนพระราม 2

          อันดับที่ 10 : เรื่อง ประธาน สตง. เป็นที่ปรึกษาบริษัทไชน่า เรลเวย์นัมเบอร์ 10

         📌หากพบเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ สามารถโทรแจ้งได้ที่ 📞สายด่วน 1111 (24 ชม.) 🟢Line ID: @antifakenewscenter 🌐เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com


ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2568

ข้อมูลชีวมาตร Biometrics Data

          ข้อมูลชีวมาตร หรือ ข้อมูลชีวภาพ (Biometrics Data) หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดจากการใช้เทคนิคหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการนำลักษณะเด่นทางกายภาพหรือทางพฤติกรรมของบุคคลมาใช้ ทำให้สามารถยืนยันตัวตนของบุคคลนั้นที่ไม่เหมือนกับบุคคลอื่นได้ 

          ข้อมูลอัตลักษณ์ทางกายภาพของบุคคล เช่น ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา หรือข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ
เป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือเพราะเป็นข้อมูลที่แม้แต่เจ้าของข้อมูลเองก็ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้
การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น 

  • การสแกนลายนิ้วมือเพื่อบันทึกเวลาเข้าและออกจากสถานที่ทำงาน
  • การบันทึกข้อมูลรูปใบหน้า ม่านตา และลายนิ้วมือในหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเข้ารหัสข้อมูลเพื่อการตรวจสอบความถูกต้องแท้จริงของหนังสือเดินทาง 
  • การยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมทางการเงินกับธนาคารผ่านแอปพลิเคชัน

          การจัดเก็บข้อมูลชีวมาตรซึ่งเป็นข้อมูลที่มีความอ่อนไหว จึงจำเป็นต้องมีมาตรการคุ้มครองและกำกับดูแลข้อมูลเป็นพิเศษ
เนื่องจากหากข้อมูลรั่วไหลไปสู่บุคคลอื่นหรือถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น ถูกนำไปใช้ยืนยันตัวตนเพื่อทำธุรกรรมหรือสวมสิทธิ หรือประกอบอาชญากรรมแล้วจะทำให้เกิดความเสียหายแก่เจ้าของข้อมูลเป็นอย่างมาก และอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงและเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมอีกด้วย

          พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตราขึ้นเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และคุ้มครองข้อมูลชีวมาตรและข้อมูลอื่นที่มีความอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ศาสนา และพฤติกรรมทางเพศไว้เป็นพิเศษ มีผลบังคับใช้ทั้งฉบับเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2563 
แต่เนื่องจากหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีรายละเอียดซับซ้อนและต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการดำเนินการ ทำให้หน่วยงานและกิจการบางประเภทยังไม่มีความพร้อมที่จะปฏิบัติตามได้ทัน


          มีการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 
ยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นหน่วยงานหรือกิจการทั้งสิ้น 22 ประเภท เช่น หน่วยงานของรัฐ มูลนิธิ กิจการด้านเกษตรกรรม และกิจการด้านอุตสาหกรรมไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวในบางหมวด ได้แก่ การคุ้มครองข้อมูส่วนบุคคล สิทธิของเจ้าของข้อมูล การร้องเรียน ความรับผิดทางแพ่ง และบทกำหนดโทษ ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม 2563 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2564  

 
          ดังนั้นการคุ้มครองข้อมูลชีวมาตรสำหรับกิจการทั้ง 22 ประเภทในช่วงเวลาดังกล่าว จึงต้องดำเนินการให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐานที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมกำหนด ก่อนต้องปฏิบัติตามที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป




ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

ข้อมูลหน่วยงานภาครัฐ


ที่มา : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร

วันพุธที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2568

ไอโอ (Information Operations : IO)

          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง ไอโอ (Information Operations : IO) จากสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


ARTIFICIAL INTELLIGENCE

          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง ARTIFICIAL INTELLIGENCE จาก สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

วันอังคารที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2568

DIGITAL FOOTPRINT

           หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง DIGITAL FOOTPRINT จากสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์


ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

คู่มือการใช้งาน CANVA FOR EDUCATION

          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) เรื่อง คู่มือการใช้งาน CANVA FOR EDUCATION จากสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 


ที่มา : สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 


วันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568

การขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่

           ตามหนังสือกรงส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ มท 0810.4/ว 1716 ลงวันที่ 18 เมษายน 2568 เรื่อง การขับเคลื่อนแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยระดับพื้นที่


ที่มา : กรมส่งเสริมการปครองส่วนท้องถิ่น (https://www.dla.go.th/)

TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ (11 เม.ย. - 17 เม.ย. 68)

          💢TOP 10 ข่าวปลอม #อาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [วันที่ 11 - 17 เม.ย. 68]

          ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9396

          อันดับที่ 1 : เรื่อง โอ้กะจู๋ เสนอขาย IPO จำนวนไม่เกิน 159 หุ้น ปันผลเฉลี่ย 5-7% ต่อปี มีใบอนุญาตจาก ก.ล.ต.
          อันดับที่ 2 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิดให้ลงทะเบียนเงินกู้ วงเงิน 200,000 บาทต่อครัวเรือน ไม่เช็กบูโร ไม่ต้องค้ำประกัน
          อันดับที่ 3 : เรื่อง เปิดจองซื้อหุ้น Amazon ผ่านเพจเฟซบุ๊ก เปิดพอร์ตเริ่มต้น 1,000 บาท ปันผล 350 บาท/วัน
          อันดับที่ 4 : เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดบัญชี TikTok set.trader
          อันดับที่ 5 : เรื่อง ออมสินเปิดบัญชี TikTok ใหม่เพื่อประชาสัมพันธ์สินเชื่อ
          อันดับที่ 6 : เรื่อง ป.ป.ท. รับเรื่องช่วยติดตามเงินคืน! ส่งหลักฐานผ่านเพจ Law Office for the people
           อันดับที่ 7 : เรื่อง ติดต่อขอรับเงินคืนจากการโดนคอลเซ็นเตอร์หลอก ได้ที่เพจ หยุดเหตุ
           อันดับที่ 8 : เรื่อง ปปง. เปิดลงทะเบียนคืนทรัพย์เหยื่อแก๊งคอลฯ! รับสิทธิผ่านเพจ Anti-Crime Federation
           อันดับที่ 9 : เรื่อง ธนาคารกรุงไทย ให้บริการสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok user3831487566355
           อันดับที่ 10 : เรื่อง ปตท. เปิดเว็บไซต์ลงทุนใหม่


ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันศุกร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2568

ลายมือชื่อดิจิทัล แตกต่างกับ ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์อย่างไร?

           ลายมือชื่อดิจิทัล (Digital - Signature)
           สร้างขึ้นด้วยกุญแจส่วนตัวในระบบรหัสแบบอสมมาตร (Asymmetric Cryptography) 
           - ยืนยันความเป็นเจ้าของลายมือ
           - ตรวจพบการเปลี่ยนแปลงของข้อความและลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
           - เจ้าของลายมือชื่อไม่สามารถปฏิเสธความรับผิดจากข้อความที่ตนเองลงลายมือชื่อได้ 

           ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e - Signature)
           สร้างขึ้นในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้ประกอบกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
           - ใช้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
           - ใช้ระบุตัวบุคคลผู้เป็นเจ้าของลายมือชื่อ
           - ใช้แสดงว่าบุคคลยอมรับข้อความในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์


ที่มา : FB Page ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

นวัตกรรมการบริหารจัดการขยะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้นแบบ 76 จังหวัด

          หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) เรื่อง นวัตกรรมการบริหารจัดการขยะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้นแบบ 76 จังหวัด จากกองสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2568

อนุมัติ-อนุญาต-เห็นชอบ ใช้ต่างกันอย่างไร?

           อนุมัติ-อนุญาต-เห็นชอบ ใช้ต่างกันอย่างไร?

  • อนุมัติ หมายความว่า ให้อำนาจกระทำตามระเบียบกำหนด ใช้ในกรณีเรื่องเกี่ยวกับการใช้งบประมาณของหน่วยงาน (ที่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงาน) เช่น อนุมัติโครงการ อนุมัติดำเนินการ อนุมัติหลักการ
  • อนุญาต หมายความว่า ยินยอม ยอมให้ตกลง ใช้ในกรณีเรื่องส่วนตัวที่ต้องปฏิบัติตามระเบียบ เช่น ขอลากิจ ขอลาป่วย ขอไปเป็นวิทยากร
  • เห็นชอบ หมายความว่า การให้ความยินยอมในมาตรการต่าง ๆ ใช้ในกรณีเรื่องที่เสนอขอให้มีการดำเนินการในเรื่องใด ๆ เช่น เห็นชอบให้ดำเนินการ เห็นชอบในหลักการ

ที่มา : FB Page ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ (4 เม.ย. - 10 เม.ย. 68)

           💢TOP 10 ข่าวปลอม #อาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [วันที่ 4 - 10 เม.ย.68]
          ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9380

          อันดับที่ 1 : เรื่อง OR เสนอขายหุ้นผู้ลงทุนทั่วไป เริ่มต้นจอง 1,000 บาท ผลตอบแทน 390 บาทต่อวัน
          อันดับที่ 2 : เรื่อง เปิดทำใบขับขี่ออนไลน์ผ่านเพจ Departme online 67
          อันดับที่ 3 : เรื่อง CIB ส่งมอบเงิน 33 ล้านให้ ปปง. คืนผู้เสียหายจากคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียนรับเงินคืนได้ทางเฟซบุ๊ก
          อันดับที่ 4 : เรื่อง ไปทำงานออสเตรเลียแบบถูกต้องตามกฎหมายผ่านกรมแรงงาน กับเพจ Work Australia agency 14
          อันดับที่ 5 : เรื่อง กฟภ. เปิดช่องทางการติดต่อผ่านไลน์ ฝ่ายมิเตอร์ไฟฟ้า
          อันดับที่ 6 : เรื่อง รับงานพับถุงกระดาษที่บ้าน รายได้ 3,000+/สัปดาห์ สมัครผ่านเพจ “ไทยมีงานทำ”
          อันดับที่ 7 : เรื่อง ออมสินเปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่ชื่อ กองทุนเพื่อประชาชนไทย
          อันดับที่ 8 : เรื่อง ปปง. เปิดให้ผู้เสียหายติดต่อเพื่อเฉลี่ยคืนทรัพย์สิน ผ่านเพจ Help check and fix problems online
          อันดับที่ 9 : เรื่อง กรมปศุสัตว์เปิด TikTok ใหม่ เพื่ออัปเดตข่าวสาร
          อันดับที่ 10 : เรื่อง ธ.ก.ส. เปิด TikTok baac.bank391 ใหม่เพื่อแจ้งข่าวสาร

         📌หากพบเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ สามารถโทรแจ้งได้ที่ 📞สายด่วน 1111 (24 ชม.) 🟢Line ID: @antifakenewscenter 🌐เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com


ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2568

วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์ให้ปลอดภัย

          🔒วิธีป้องกันข้อมูลส่วนตัวในโลกออนไลน์ให้ปลอดภัย👍✅
          1. สร้างรหัสผ่านที่รัดกุมและไม่ซ้ำกัน ควรมีความยาวเหมาะสม ใช้ตัวอักษรตัวพิมพ์เล็กและตัวพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และสัญลักษณ์ ไม่ใช้ข้อมูลส่วนตัวในการตั้งรหัสผ่าน เช่น วันเกิด หมายเลขโทรศัพท์ ไปจนถึงชื่อของตัวเอง เพราะเป็นข้อมูลที่ทุกคนสามารถรู้ได้อย่างง่ายดาย และไม่ควรใช้รหัสผ่านเดียวกัน กับทุกบัญชีออนไลน์
          2. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวบนโซเชียลมีเดียมากเกินไป ไม่เผยแพร่โพสต์ที่มีการระบุตำแหน่งที่อยู่ ณ ขณะนั้น รวมทั้งควรระมัดระวังเมื่อต้องโพสต์เกี่ยวกับวันเกิดหรือรายละเอียดส่วนตัวอื่น ๆ มากเกินจำเป็น และจำกัดวงผู้อ่านของโพสต์ก่อนเผยแพร่
          3. ระมัดระวังการใช้ Wi-Fi ฟรี ควรใช้เครือข่ายที่ปลอดภัยและมีการป้องกันด้วยรหัสผ่านแทนเครือข่าย Wi-Fi สาธารณะที่ให้ใช้ฟรี เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นที่ใช้เครือข่ายเดียวกันมีโอกาสสามารถเข้าถึงกิจกรรมของคุณได้
          4. ระมัดระวัง Link และไฟล์แนบ หากได้รับอีเมลที่มีการสะกดคำผิด หรือมีที่อยู่อีเมลแตกต่างจากผู้ส่งทั่วไป อาจเป็นเบาะแสว่าอีเมลนั้นเป็นสแปม ไม่ควรคลิกหรือตอบสนองข้อความใด ๆ กับข้อมูลนั้น และก่อนป้อนข้อมูลส่วนบุคคลลงในเว็บไซต์ หากด้านบนสุดของเบราว์เซอร์มีสัญลักษณ์แม่กุญแจและ URL ขึ้นต้นด้วย “https” แสดงว่าไซต์นั้นปลอดภัย
          5. สังเกตความผิดปกติ ความผิดปกติต่าง ๆ อาจเป็นสัญญาณเตือนของการถูกแฮ็ก เช่น
              - ปริมาณการใช้งานอินเทอร์เน็ตของอุปกรณ์เพิ่มขึ้นสูงมาก
              - ความเร็วการทำงานของอุปกรณ์ช้าลง
              - แบตเตอรี่หมดอย่างรวดเร็วโดยไม่มีคำอธิบาย
              - ได้รับคำขอเปลี่ยนรหัสผ่านโดยไม่ได้รับอนุญาต - ซอฟต์แวร์หรือแอพพลิเคชั่นใหม่ถูกดาวน์โหลดโดยอัตโนมัติ
          6. ไม่ผูกบัตรเครดิตหรือบัญชีออนไลน์เป็นการถาวร ควรให้กรอกข้อมูลใหม่หรือยืนยันตัวตนทุกครั้ง และควรขอให้มีบริการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการจ่ายเงินหรือใช้บัญชี

ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

แนวทางการปฏิบัติการควบคุมดูแลการใช้รหัสผู้ใช้งาน (User) และรหัสผ่าน (Password) เข้าใช้งานระบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (New e-LAAS)

           หนังสือกรมการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ มท 0808.4/ว 1136 ลงวันที่ 24 มีนาคม 2568 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติการควบคุมดูแลการใช้รหัสผู้ใช้งาน (User) และรหัสผ่าน (Password) เข้าใช้งานระบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (New e-LAAS) 


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (www.dla.go.th)

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2568

พ.ร.ก. มาตรการป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ฉบับใหม่)

          1. วันบังคับใช้ให้มีการบังคับใช้ทันทีนับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา 
          2. เพิ่มเติมนิยามเกี่ยวข้องกับสินทรัพย์ดิจิทัลให้มีความครอบคลุม และกำหนดคำนิยามอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย
          3. ห้ามซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ผ่านแพลตฟอร์ม Peer-to-Peer (P2P) ถ้ามีการฝ่าฝืน ให้อำนาจกระทรวง DE สามารถปิดกั้นการเข้าถึง (ปิดเว็บ) และมีโทษ
          4. ให้สถาบันการเงินเปิดเผยหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านระบบ หรือกระบวนการที่หน่วยงานร่วมกันกำหนด
          5. ให้หน่วยงานรัฐที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแล กำหนดมาตรฐานหรือมาตรการ เพื่อป้องกันอาชญากรรมทางเทคโนโลยี รวมทั้ง SMS ปลอม
          6. กำหนดการคืนเงินให้แก่ผู้เสียหายในชั้นเจ้าหน้าที่ โดยขั้นตอนและวิธีการเป็นไปตามหลักการกฎหมายของ ปปง. รวมถึงการใช้สิทธิของผู้เสียหาย
          7. ยกระดับ AOC 1441 ให้เป็น ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อป้องกันและปราบปราม อาชญากรรมที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมาย
          8. กำหนดความรับผิดชอบให้สถาบันการเงิน ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ผู้ให้บริการสื่อสังคมออนไลน์ หรือให้ผู้บริการอื่นที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดในความเสียหาย
          9. เพิ่มเติมบทกำหนดโทษทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ ของสถาบันทางการเงินหรือ ผู้ประกอบธุรกิจที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ผู้ซื้อหรือผู้ขายหมายเลขโทรศัพท์เพื่อใช้ในการกระทำความผิด  ผู้ใช้ - เก็บรวบรวมข้อมูล - เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล เพื่อใช้ในการกระทำความผิด 


ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

การขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. 2567

          หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 1624 ลงวันที่ 9 เมษายน 2568 เรื่อง การขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. 2567 โดยหน่วยงานของรัฐสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาการขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. 2567 ผ่านระบบ New GFMIS Thai ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป 


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (www.dla.go.th)

วันพุธที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2568

ขอให้ท้องถิ่นจังหวัดควบคุมปฏิบัติงานให้เป็นงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใส

           หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ มท 0809.1/ว1544 ลงวันที่ 2 เมษายน 2568 โดยขอให้ท้องถิ่นจังหวัดควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสในการส่งเสริมความก้าวหน้าสิทธิสวัสดิการของข้าราชการท้องถิ่นทีพึงจะได้รับตามสิทธิ และขอให้ดำเนินการด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส ยึดขั้นตอนตามระเบียบ กฎหมายเป็นหลัก อย่าได้มีการเรียกผลประโยชน์ใด ๆ 



ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (https://www.dla.go.th/)

โครงการท้องถิ่นจังหวัดดีเด่นและท้องถิ่นอำเภอดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

           หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ มท 0811.1/ว 1263 ลงวันที่ 19 มีนาคม 2568 เรื่อง โครงการท้องถิ่นจังหวัดดีเด่นและท้องถิ่นอำเภอดีเด่น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยขอความร่วมมือจังหวัดแจ้งสำนักงานส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด ดำเนินการคัดเลือกท้องถิ่นอำเภอทุกแห่ง ตามหลักเกณฑ์การประเมินคัดเลือกท้องถิ่นอำเภอดีเด่นระดับจังหวัด และเสนอชื่อท้องถิ่นอำเภอดีเด่น ระดับจังหวัด จำนวน 1 คน พร้อมทั้งจัดทำผลงานโดยย่อ 1 ชิ้นงาน ซึ่งเป็นผลงานที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนนโยบายของกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นในระดับพื้นที่ ส่งให้กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นภายในวันพุธที่ 30 เมษายน 2568



ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (https://www.dla.go.th/)

วันอังคารที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2568

วันศุกร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2568

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2568

รู้ไหมภัยออนไลน์..ที่คนไทยถูกหลอกมีอะไรบ้าง?


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

ประเภทของ Cybersecurity ที่ควรรู้จัก


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

4 วิธีป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล

 


ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

ข้อแนะนำเกี่ยวกับที่สาธารณะประโยชน์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 


ที่มา : กองตรวจราชการ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

วันอังคารที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2568