วันศุกร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ขั้นตอนกรณีผู้ถูกกล่าวหา ไม่ได้รับทราบข้อกล่าวหา (ตามกระบวนการ ป.ป.ช.)

 


📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼

รู้หรือไม่? หากถูกกล่าวหาแต่ยังไม่ได้รับข้อกล่าวหา ไม่ใช่เรื่องเล็ก! มีขั้นตอนที่ต้องรีบดำเนินการ เพื่อรักษาสิทธิ์ในการชี้แจงและแสดงหลักฐาน มาดูวิธีปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนการ ป.ป.ช. กัน

"กรณีผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับทราบข้อกล่าวหา"

หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้รับทราบข้อกล่าวหาไม่ว่าด้วยเหตุใดอันมใช่เหตุที่เกิดจากผู้ถูกกล่าวหามีเจตนาประวิงเวลาหรือใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ผู้ถูกกล่าวหาต้องรีบดำเนินการแสดงหลักฐานดังกล่าวให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบทันที เพื่อให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. พิจารณาแล้วเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อกล่าวหาและแสดงพยานหลักฐานหรือนำพยานบุคคลมาให้ปากคำประกอบการชี้แจงภายในระยะเวลาที่กำหนด

กรณีไม่สามารถไปรับทราบข้อกล่าวหาตามกำหนดนัดได้

กรณีที่ไม่สามารถเดินทางไปรับข้อกล่าวหาได้เนื่องจากมีเหตุจำเป็นอื่น ผู้ถูกกล่าวหาสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

ก. การขออนุญาตเลื่อนการรับทราบข้อกล่าวหา กรณีดังกล่าวผู้ถูกกล่าวหาจะต้องมีหนังสือแจ้งไปยังสำนักงาน ป.ป.ช. โดยเร็วก่อนวันนัด และหากมีหลักฐานแสดงได้ว่าที่ไม่สามารถเดินทางมาพบตามกำหนดนัดเนื่องจากมีเหตุจำเป็นอื่น ก็ให้ส่งเอกสารหลักฐานดังกล่าวมาประกอบการพิจารณาด้วย ทั้งนี้ หนังสือแจ้งขออนุญาตเลื่อนเข้ารับทราบข้อกล่าวหา ควรกำหนดวันเวลาที่จะนัดหมายเพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหาให้สำนักงาน ป.ป.ช. ทราบด้วย

ข. การมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาแทน กรณีนี้ผู้ถูกกล่าวหาจะต้องดำเนินการจัดทำหนังสือมอบอำนาจให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดมารับบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาแทน ทั้งนี้ หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจะต้องติดอากรแสตมป์ให้ครบถ้วนถูกต้องด้วย

อย่างไรก็ตาม หากมิได้แจ้งข้อขัดข้องที่ไม่อาจมารับทราบข้อกล่าวหาตามกำหนดนัดหรือไม่กำหนดวันนัดหมายเพื่อเข้ารับทราบข้อกล่าวหา สำนักงาน ป.ป.ช. จะส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาไปให้ผู้ถูกกล่าวหาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับตามภูมิลำเนาหรือที่อที่อยู่ของผู้ถูกกล่าวหาที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรหรือที่อยู่ที่ปรากฏจากการไต่สวน

หมายเหตุ

กรณีเป็นการส่งบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหากล่วงพ้นระยะเวลาที่กำหนดให้ส่งบันทึกแจ้งข้อกล่าวหาคืนมายังสำนักงาน ป.ป.ช. แล้ว แม้สำนักงาน ป.ป.ช. ไม่ได้รับบันทึกการแจ้งข้อกล่าวหาดังกล่าว แต่ถือได้ว่าผู้ถูกกล่าวหาได้รับทราบข้อกล่าวหาแล้วและถือว่าผู้ถูกกล่าวหาไม่ประสงค์ชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา นอกจากนี้ หากคดีดังกล่าวเป็นคดีที่มีโทษทางอาญา และมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ถูกกล่าวหาจะหลบหนีคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะดำเนินการขอให้ศาลออกหมายจับและควบคุมตัวผู้ถูกกล่าวหาไว้ก็ได้

                                                                                                                        ที่มา : สำนักงาน ป.ป.ช.

การเตรียมตัวเมื่อได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัว

 





📍 เกร็ดความรู้...สู้ทุจริต‼

รู้ไว้… ไม่ตื่นตระหนก! หากวันหนึ่งคุณได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานอัยการ ศาล หรือผู้ว่าคดีและคณะ อย่าเพิ่งตกใจ นี่คือขั้นตอนสำคัญในกระบวนการหลังจากคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีมติว่ามีมูลความผิดทางอาญาแล้ว

การเตรียมตัวเมื่อได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัว

1.กรณีได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานอัยการหรือศาล

เมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานอัยการหรือศาลหมายความได้ว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้ดำเนินการไต่สวนคดีที่มีโทษทางอาญาตามฐานความผิดที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาแล้วมีมติว่า การกระทำของผู้ถูกกล่าวหามีมูลความผิดทางอาญาเรียบร้อยแล้ว

ทั้งนี้ หนังสือเชิญให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานอัยการหรือศาลดังกล่าวจะปรากฏรายละเอียดต่าง ๆ ได้แก่ วัน เวลา และสถานที่ และรายละเอียดของเอกสารหรือข้อมูลที่จะต้องจัดเตรียมเพื่อใช้ประกอบการรายงานตัวต่อพนักงานอัยการหรือศาล รวมถึงหลักประกันสำหรับกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาประสงค์จะขอปล่อยชั่วคราว และทนายความสำหรับการต่อสู้คดี ซึ่งโดยทั่วไปในทางปฏิบัติ วันและเวลาที่กำหนดไว้ในหนังสือเชิญดังกล่าว ถือเป็นวันเวลาที่อัยการสูงสุดจะนำตัวผู้ถูกกล่าวหาไปส่งฟ้องคดีต่อศาลที่มีเขตอำนาจด้วย

2.กรณีมีหนังสือให้ไปรายงานตัวต่อผู้ว่าคดีและคณะ

กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัวต่อผู้ว่าคดีและคณะถือเป็นกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการไต่สวนหรือสอบสวนหรือตรวจสอบการกระทำที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจ และได้พิจารณาแล้วมีมติ ในกรณีดังต่อไปนี้

(1) ในคดีความผิดทางอาญาที่คณะกรรมการร่วมไม่อาจหาข้อยุติได้ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาแล้วมีมติเห็นสมควรให้ฟ้องคดีเอง

(2) ผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินจงใจไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน หรือจงใจยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินด้วยข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อเท็จจริงที่ควรแจ้งให้ทราบ และมีเจตนาไม่แสดงที่มาแห่งทรัพย์สินหรือหนี้สิน ซึ่งเป็นคดีที่มีโทษทางอาญา

กรณีดังกล่าวข้างต้น เป็นคดีที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561กำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีหน้าที่และอำนาจในการยื่นคำร้องหรือคำขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเอง ซึ่งหากเมื่อผู้ถูกกล่าวหาได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัวแล้ว ให้ผู้ถูกกล่าวหาตรวจสอบวัน เวลา และสถานที่ให้ละเอียดรอบคอบ

ทั้งนี้ หนังสือให้ไปรายงานตัวดังกล่าวจะระบุเอกสาร หลักประกัน หรือทนายความเพื่อประโยชน์ในการต่อสู้คดีเช่นเดียวกับคดีที่มีโทษทางอาญา

3.กรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่ต้องไปรายงานตัว

ลักษณะของคดีที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. กรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้พิจารณาแล้วมีมติดังต่อไปนี้ ผู้ถูกกล่าวหาจะไม่ได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัว เนื่องจากลักษณะคดีเป็นคดีแพ่ง คดีปกครอง หรือคดีรัฐธรรมนูญ ซึ่งผู้ถูกกล่าวหาจะทราบว่าตนถูกดำเนินคดีก็เมื่อได้รับสำเนาคำฟ้อง หรือสำเนาคำร้องแล้ว ได้แด้แก่

(1) คดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งจะต้องฟ้องคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งจะต้องฟ้องคดีต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ

(2) คดีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ หรือผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระ ฝ้าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรง ซึ่งจะต้องฟ้องต่อศาลฎีกา

(3) คดีเจ้าหน้าที่ของรัฐจัดทำโครงการหรืออนุมัติหรือจัดสรรเงินงบประมาณโดยรู้ว่าฝ่าฝืนบทบัญญัติตามมาตรา 144 วรรคสี่ ของรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะต้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัย

ทั้งนี้ คดีประเภทดังที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ผู้ถูกกล่าวหาจะมิได้รับหนังสือให้ไปรายงานตัวต่อพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี หรือศาล ผู้ถูกกล่าวหาจะทราบว่ามีการฟ้องคดีเมื่อได้รับสำเนา

คำฟ้อง คำร้อง จากศาลที่มีเขตอำนาจ โดยคดีตาม (1) อาจเป็นได้ทั้งกรณีที่อัยการสูงสุดเป็นโจทก์ฟ้องผู้ถูกกล่าวหาหรือคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดำเนินการฟ้องคดีเองก็ได้ ส่วนคดีตาม (2) และ (3) เป็นคดีที่กฎหมายกำหนดให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นผู้ดำเนินการฟ้องหรือยื่นคำร้องเอง 

ดังนั้น หากผู้ถูกกล่าวหายังไม่ได้รับสำเนาคำฟ้องหรือสำเนาคำร้อง และอยากทราบว่าเรื่องกล่าวหาของตนอยู่ในขั้นตอนใด ผู้ถูกกล่าวหาสามารถประสานไปยังสำนักงาน ป.ป.ช.สำนักงาน ป.ป.ช. ภาค หรือสำนักงาน ป.ป.ช. ประจำจังหวัดที่รับผิดชอบ หรือสำนักงานอัยการคดีปราบปรามการทุจริตที่รับผิดชอบ แล้วแต่กรณี


                                                                                                                        ที่มา : สำนักงาน ป.ป.ช.

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลฯ มาตรา 4(1) การเก็บรวบรวม ใช้ หรือ เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อกิจกรรมในครอบครัว

 


                                                         ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

กรณีใดบ้างที่ต้องลบข้อมูลส่วนบุคคล


 

                                                                 ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

4 เรื่องไม่จริง เกี่ยวกับ PDPA



                                                        ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)
 

หน้าที่และอำนาจของคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญตาม PDPA


                                                ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)
         

วันพุธที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับติดต่อ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


 

                                                                            ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 

บทลงโทษ หรือผลของการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืน มาตรา 126 และมาตรา 127


 


                                                                        ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

วันอังคารที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

กม. ป.ป.ช. มาตรา 127 ห้ามเจ้าพนักงานของรัฐดำเนินกิจการ ที่เป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคลกับประโยชน์ส่วนรวม ภายใน 2 ปีนับแต่วันพ้นจากตำแหน่ง


                                    ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

 

กม. ป.ป.ช. มาตรา 126 บังคับใช้กับคู้สมรส ของเจ้าพนักงานของรัฐอย่างไร



                                                ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ลักษณะกิจการที่ต้องห้าม ตาม ม.126 เพื่อป้องกันการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนบุคคล กับประโยชน์ส่วนรวมมีเรื่องใดบ้าง

 



                                            ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

ที่มาของ กฏหมาย ป.ป.ช. มาตรา 126 และ มาตรา 127

 







                                    ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ

วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

จะรับของขวัญอย่างไรไม่ให้มีผลประโยชน์ทับซ้อน !!


 

                                                                                                ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สศช.

ยื่นเรื่องร้องทุกข์กับ สคบ. ควรมีเอกสารอะไรบ้าง


 

                                                                                ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค 

วันพฤหัสบดีที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการทุจริตประพฤติมิชอบที่เกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรม : กรณีละทิ้งหน้าที่ราชการ


 

                                                                                    ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการทุจริต สศช.

10 คุณลักษณะข้าราชการ 4.0

 



                                                    ที่มา : สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน

วันพุธที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

เรียนรู้ เข้าใจ (ผู้สูงวัย) และใส่ใจในสัญญา

    

    

                                                                                                              ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค



 

อยู่บนโลกออนไลน์ อย่าไว้ใจใครง่าย ๆ เหมือนที่เคย



                                                                                                ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
 

วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 7 ดำรงตนเป็นแบบอย่างที่ดี และรักษาภาพลักษณ์ของทางราชการ

  


                                                                                                                    ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ.

มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 6 ปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ

  



                                                                                                                ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ.

วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มาตรฐานทางจริยธรรมประการที่ 5 มุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน


                                                                                                ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ.


มาตรฐานทางจริยธรรมประการที่ 4 คิดถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว และมีจิตสาธารณะ


                                                                                                 ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ.

วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มาตรฐานทางจริยธรรมประการที่ 3 กล้าตัดสินใจ และกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง ชอบธรรม

 

                                                        

                                                                                                    ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ. 


มาตรฐานทางจริยธรรม ประการที่ 2 ซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดีและรับผิดชอบต่อหน้าที่

 


                                                                                                            ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ. 

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

มาตรฐานทางจริยธรรมประการที่ 1 ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ

 



                                                                                                            ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ. 

พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562


ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ. 
 

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

           การรักษาจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการ ดังต่อไปนี้
          1) กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ
          2) ส่งเสริม สนับสนุนให้มีความรู้ ฝึกอบรม และพัฒนาเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ 
          3) จัดให้มีมาตรการและกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม
          4) ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบพฤติกรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
          5) สร้างเครือข่ายและประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชน
          6) จัดทำรายงานประจำปี เพื่อประเมินผลในภาพรวมของหน่วยงาน


ที่มา : ศูนย์ส่งเสริมจริยธรรม สำนักงาน ก.พ.

คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือ

           คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือและการยืนยันคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือต้องมีเหตุผลไว้น้อย และเหตุผลนั้นอย่างน้อยต้องประกอบด้วย
           1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญ
           2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
           3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ 

           คำสั่งทางปกครองที่ทำเป็นหนังสือต้องระบุวัน เดือน และปีที่ทำคำสั่ง ชื่อ และตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งและมีลายมือชื่อของเจ้าหน้าที่ 


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

วันพุธที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA

          1) คำถาม : การถ่ายรูป - ถ่ายคลิปติดภาพคนอื่น โดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA
              คำตอบ : กรณีการถ่ายรูป - ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป - ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูป - ถ่ายคลิปดังกล่าว ไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่ายสามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

          2) คำถาม : ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA
              คำตอบ : สามารถโพสต์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้า และไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
          3) คำถาม : ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA
              คำตอบ : การติดกล้องวงจรปิดภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรมและรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน
          4) คำถาม : เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้
              คำตอบ : ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว 
                             (1) เป็นการทำตามสัญญา
                             (2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
                             (3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิต และ/หรือ ร่างกายของบุคคล
                             (4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
                             (5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
                             (6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์หรือสิทธิของตน

          ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณี ๆ ไป    



ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 2580)

           เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 - 25680) 

          แผนแม่บทหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของประเทศ ระยะ 20 ปี ที่กำหนดทิศทางการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืนโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 6 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
          1. พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิทัลประสิทธิภาพสูงให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
          2. ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
          3. สร้างสังคมคุณภาพที่เท่าถึงเท่าเทียมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
          4. ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล
          5. พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
          6. สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล

          ทั้งนี้สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศ เรื่อง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

วันอังคารที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

กฎหมายลำดับรองที่สำคัญตามพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562

อ่านต่อได้ที่ >>> https://drive.ncsa.or.th/s/m7m89wj3ywgSXfJ
link รวมกฎหมาย 15 ฉบับ >>> https://drive.ncsa.or.th/s/jYrbGptWKpJiwrG


ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ (25 เม.ย. - 1 พ.ค. 68)

          💢TOP 10 ข่าวปลอม #อาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [วันที่ 18 - 24 เม.ย.68]

          ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9459

          อันดับที่ 1 : เรื่อง เพจ LEASE it PCL 759 ของ ธ.ออมสิน ปล่อยสินเชื่อเงินกู้ ฉุกเฉิน วงเงินขั้นต่ำ 10,000 บาท อนุมัติสูงสุด 1,000,000 บาท
          อันดับที่ 2 : เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านหุ้น เปิดเรียนฟรี ประกาศหุ้นน่าสนใจ 5 ตัว     
          อันดับที่ 3 : เรื่อง ออมสินปล่อยกู้ผ่านเพจ LEASE it PCL 859 เริ่มต้น 10,000 – สูงสุด 1 ล้าน!
          อันดับที่ 4 : เรื่อง ฮั่วเซ่งเฮง ร่วมมือ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดโอกาสเข้าเทรดหุ้นทองคำ เหมาะสำหรับมือใหม่และวัยเกษียณ
          อันดับที่ 5 : เรื่อง กรมการขนส่งทางบก เปิดรับทำใบขับขี่ ผ่านเพจเฟซบุ๊ก DLT Online 111
          อันดับที่ 6 : เรื่อง ปปง. เตรียมคืนเงินเหยื่อแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ติดต่อรับสิทธิผ่านเพจ Provide knowledge on law enforcement
          อันดับที่ 7 : เรื่อง ผู้ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพมีโอกาสได้เงินคืน ปรึกษาหรือสอบถาม ผ่านเพจ Assistance with safety
          อันดับที่ 8 : เรื่อง ออมสิน ปล่อยสินเชื่ออุ่นใจ ผ่าน TikTok ชื่อ gooaevfsb5c
          อันดับที่ 9 : เรื่อง ตลาดหลักทรัพย์ฯ ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญวางแผนหุ้นกระทิง 3 ตัว ผลตอบแทนสูง สนใจแอดไลน์ฟรี
          อันดับที่ 10 : เรื่อง ธ.ออมสิน ให้บริการสินเชื่อ ผ่าน TikTok ชื่อ gsb.550




ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

เหตุของการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล

           การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล หมายความว่า การละเมิดมาตรการรักษาความมั่นคงปลอดภัยที่ทำให้เกิดการสูญหาย เข้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ ไม่ว่าจะเกิดจากเจตนา ความจงใจ ความประมาทเลินเล่อ การกระทำโดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ภัยคุกคามทางไซเบอร์ ข้อผิดพลาดบกพร่อง หรืออุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใด

          การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล มี 3 ลักษณะดังนี้
          1) การละเมิดความลับของข้อมูลส่วนบุคคล (Confidentiality Breach) ซึ่งมีการเข้าถึงหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบหรือเกิดจากข้อผิดพลาดบกพร่องหรืออุบัติเหตุ
          2) การละเมิดความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลส่วนบุคคล (Integrity Breach) ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลง แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ไม่ถูกต้อง ไม่สมบูรณ์ หรือไม่ครบถ้วน โดยปราศจากอำนาจโดยมิชอบ หรือเกิดจากข้อผิดพลาดบกพร่องหรืออุบัติเหตุ
          3) การละเมิดความพร้อมใช้งานของข้อมูลส่วนบุคคล (Availability Breach) ซึ่งทำให้ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลได้ หรือมีการทำลายข้อมูลส่วนบุคคล ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้ตามปกติ


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (สคส.)

องค์ประกอบของการกระทำละเมิด

            " ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมาย ให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้น ทำละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น "

  • กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
  • กระทำโดยผิดกฎหมาย
  • กระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
  • ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ผู้เสียหายใช้สิทธิเรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐ กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก

          ผู้เสียหายใช้สิทธิเรียกร้องต่อหน่วยงานของรัฐ กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำละเมิดต่อบุคคลภายนอก ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับความรับผิดละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539


ที่มา : กองกฎหมายปกครอง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. 2567 (เพิ่มเติม)

           ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0803.3/ว 1875 ลงวันที่ 30 เมษายน 2568 เนื่องจากขณะนี้สถานการณ์ภัยพิบัติแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ยังคงส่งผลกระทบต่ออาคารที่ทำการของหน่วยงานของรัฐหลายแห่ง ทำให้การเข้าปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานมีความเสี่ยงที่อาจเกิดควาไม่ปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ให้กรมบัญชีกลางดำเนินการขอขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2567 กรณีมีหนี้ผูกพันตามใบสั่งซื้อสั่งจ้าง (PO) และ/หรือเอกสารสำรองเงินประเภท CX และ/หรือ CK ในระบบ New GFMIS Thai ให้แก่หน่วยงานของรัฐ โดยหน่วยงานของรัฐสามารถตรวจสอบผลการพิจารณาการขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณ ปี พ.ศ. 2567 ผ่านระบบ New GFMIS Thai ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เป็นต้นไป


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น