วันจันทร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2568
วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568
วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2568
วันพุธที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2568
วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2568
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563
ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีการงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2563
โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน อาศัยอ านาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๗๖ แห่งพระราชบัญญัติ องค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. ๒๕๔๐ มาตรา ๖๙ และมาตรา ๗๗ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ เทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๘๘ แห่งพระราชบัญญัติสภาต าบลและ องค์การบริหารส่วนต าบล พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจึงออกระเบียบไว้
ดังต่อไปนี้ Link = https://www.dla.go.th/servlet/LawServlet?regType=2#
https://www.dla.go.th/upload/regulation/type2/2023/3/1943_1.pdf?time=1750734210102
ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2568
ความมั่นคงปลอดภัยระบบเว็บและซอฟต์แวร์ (Software And Web Security)
👉 ระบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) คือ แอปพลิเคชันที่ทำงานบนเซิร์ฟเวอร์ และส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ตมายังผู้รับบริการ ปัจจุบันเว็บแอปพลิเคชันให้บริการอยู่บน Web 3.0 เป็นยุคที่เว็บไซต์สามารถปฏิบัติการ (Executable) ได้ ด้วย Dynamic Web Applications และ Composite Interactive Services ตัวอย่างเช่น Online Operating Systems, SaaS (บริการซอฟต์แวร์ผ่านระบบคลาวด์) ฯลฯ
👉 มาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยของ Web Application
OWASP (Open Web Application Security Project) เป็นมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยของ Web Application ซึ่งจัดทำขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อส่งเสริมความรู้และแนวทางดำเนินการ Web Application Security เพื่อทำให้ระบบมีความมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น โดยจะมีผลงานวิจัย รายงาน เอกสาร เครื่องมือ และเทคโนโลยีความมั่นคงปลอดภัยที่แนะนำสำหรับ Web Application Security
หลักการพื้นฐานด้านความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ (Information Security)
👉 ความปลอดภัยของข้อมูลสารสนเทศ คือ การที่ข้อมูล หรือระบบสารสนเทศที่มีการใช้งานอยู่นั้น ได้รับการป้องกันจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต การเปิดเผย การดัดแปลงหรือการทำลาย ทำให้ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้มักถูกโจมตีด้วยเหล่าแฮกเกอร์ ซึ่งเราจะเรียกการโจมตีนี้ว่า "Cybersecurity Attacks" หรือการโจมตีทางไซเบอร์
👉 องค์ประกอบของความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ
- Confidentiality : การรักษาความลับ หรือซ่อนข้อมูลและสารสนเทศจากบุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาต เป็นการรับประกันว่าผู้ที่มีสิทธิ์และได้รับอนุญาตเท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูล
- Integrity : การรักษาความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูล และสารสนเทศสามารถตรวจสอบได้ว่าไม่มี การเปลี่ยนแปลง แก้ไข และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างถูกต้องสมบูรณ์
- Availability : การรักษาความพร้อมใช้งาน กระบวนการหรือวิธีการที่ทำให้ข้อมูลและสารสนเทศที่เก็บอยู่นั้นสามารถถูกเข้าถึงหรือเรียกใช้งานได้ตลอดเวลา โดยผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2568
เมื่อรู้ตัวว่าโดนโกง สามารถแจ้งอายัดบัญชีได้ง่าย ๆ ผ่านแอปฯ ทางรัฐ
4 ช่องทางยืนยันตัวตน เพื่อเข้าใช้งานแอปฯ ทางรัฐได้ครบทุกบริการ
วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2568
FRT เทคโนโลยีจดจำใบหน้า
👉 Facial Recognition Technology (FRT) คือ ระบบการจดจำใบหน้าของมนุษย์เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artifact Intelligence) ในส่วนของ Machine Perception (การรับรู้ของเครื่อง)
👉 ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนหลัก คือ
- Face Detection การตรวจจับใบหน้า คือ กระบวนการค้นหาใบหน้าของบุคคลจากภาพหรือวีดิโอ จากนั้นจึงทำการประมวลผลภาพใบหน้าที่ได้
- Face Recognition การรู้จำใบหน้า คือ กระบวนการที่นำภาพไปตรวจจับประมวลผลแล้ว จากขั้นตอนการตรวจจับใบหน้านำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของใบหน้า เพื่อระบุว่าใบหน้านั้นตรงกับบุคคลใด
ประโยชน์หลักที่ประชาชนได้รับจาก พ.ร.บ. รัฐบาลดิจิทัลฯ
- เร็ว เรื่องเดียวไม่ต้องไปติดต่อหลายหน่วยงานเข้าเว็บไซต์ที่เดียวจบ ทำให้ประชาชนได้รับบริการจากภาครัฐด้วยความรวดเร็ว
- ลด ช่วยลดภาระของประชาชน ทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายในการติดต่อราชการ เช่น ลดค่าใช้จ่ายการสำเนาเอกสาร
- เพิ่ม เพิ่มช่องทางระบบดิจิทัลให้ประชาชน สามารถเข้าถึงบริการของภาครัฐได้โดยสะดวก รวมถึงสามารถนำข้อมูลเปิดภาครัฐไปต่อยอดสร้างเป็นนวัตกรรมใหม่ ให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจได้
วันพุธที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2568
หน่วยงานของรัฐจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน
👉 หน่วยงานของรัฐจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562
มาตรา 12 เพื่อให้การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัลเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามมาตรา 4 และเกิดการบูรณาการร่วมกัน ให้หน่วยงานของรัฐจัดทำธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐในระดับหน่วยงาน และให้เป็นไปตามธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐตามมาตรา 8
การดำเนินการ ดังนี้
- จัดทำข้อมูลภารกิจให้อยู่ในรูปแบบข้อมูลดิจิทัล
- จัดทำกระบวนการหรือการดำเนินงานทางดิจิทัล เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินและการให้บริการประชาชน
- จัดให้มีระบบการชำระเงินทางดิจิทัล
- จัดให้มีระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล
- จัดให้มีมาตรการหรือระบบรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการเข้าสู่บริการดิจิทัล
- พัฒนาทักษะบุคลากรภาครัฐ
- ทบทวนแผนปฏิบัติการหรือนโยบายและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล และประเมินผลอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
แนวปฏิบัติที่ดีในการใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
👉 กำหนดให้มีไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลางเพื่อใช้ในการติดต่อและรับส่งเรื่องกับประชาชน โดยหน่วยงานต้องมอบหมายเจ้าหน้าที่งานสารบรรณกลางเพื่อทำหน้าที่รับส่งหนังสือด้วยระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์
👉 กำหนดให้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กลางของหน่วยงานเท่านั้นในการติดต่อส่งเรื่องถึงประชาชน โดยห้ามใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ส่วนตัวในการติดต่อส่งเรื่องกับประชาชน เนื่องจากทำให้ไม่สามารถติดตามเรื่องจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงานได้ รวมถึงขาดความน่าเชื่อถือ และไม่มีความปลอดภัยอีกด้วย
👉 ตรวจสอบข้อมูลข่าวสารและหนังสือที่ได้รับเป็นประจำ โดยต้องไม่น้อยกว่าวันละสองครั้งในเวลาราชการ โดยคำขอหรือการติดต่อใด ๆ ที่ส่งมาถึงหน่วยงาน ให้ถือว่าได้รับตามวันและเวลาที่คำขอหรือการติดต่อนั้น ได้เข้าสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ของหน่วยงาน หากเป็นเวลานอกทำการ ให้ถือว่าได้รับในวันและเวลาทำการต่อไป
วันอังคารที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2568
เมื่อเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ควรทำอย่างไร ?
👉 เมื่อเกิดเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล เช่น เหตุที่ส่งผลกระทบต่อมาตราการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งทำให้เกิดการสูญหาย เจ้าถึง ใช้ เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยปราศจากอำนาจหรือโดยมิชอบ ทำให้เกิดการรั่วไหลของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น
- ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่ แจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลแก่สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบเหตุเท่าที่จะสามารถกระทำได้ เว้นแต่การละเมิดดังกล่าวไม่มีความเสี่ยงที่จะเป็นผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
- ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล มีหน้าที่ แจ้งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทราบเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้น
ยุทธศาสตร์การพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
👉 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาไว้ 6 ยุทธศาสตร์ที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน มีการกำหนดเป้าหมาย เพื่อให้สามารถติดตามและประเมินความก้าวหน้าได้อย่างชัดเจน และมีแผนงานเพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์
- ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลประสิทธิภาพสูง ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ: เข้าถึง พร้อมใช้ จ่ายได้
- ยุทธศาสตร์ที่ 2 ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีดิจัทัล: ขับเคลื่อน New S-Curve เพิ่มศักยภาพ สร้างธุรกิจเพิ่มมูลค่า
- ยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างคุณภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล: สร้างการมีส่วนร่วมการใช้ประโยชน์อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
- ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับเปลี่ยนภาครัฐสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล: โปร่งใส อำนวยความสะดวกรวดเร็ว เชื่อมโยงเป็นหนึ่งเดียว
- ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนากำลังคนให้พร้อมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล: สร้างคน สร้างงาน สร้างความเข้มแข็งจากภายใน
- ยุทธศาสตร์ที่ 6 สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล: กฎระเบียบทันสมัย เชื่อมั่นในการลงทุนมีความมั่นคงปลอดภัย
วันจันทร์ที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2568
การใช้เครื่องหมาย "ไม้ยมก" ในหนังสือราชการ
👉 ใช้เขียนหลังคำ วลี หรือ ประโยค เพื่อให้อ่านซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
ตัวอย่างเช่น
- แต่ละวัน ๆ อ่านว่า แต่-ละ-วัน-แต่-ละ-วัน
- ในวันหนี่ง ๆ อ่านว่า ใน-วัน-หนึ่ง-วัน-หนึ่ง
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 200 บาท ✅
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน ๆ ละ 200 บาท
❎
- ซื้อต้นไม้ 10 ต้น ต้นละ 100 บาท ✅
- ซื้อต้นไม้ 10 ต้น ๆ ละ 100 บาท
❎
การเรียงลำดับการใช้คำนำหน้านามในหนังสือราชการ
👉 การเรียงลำดับการใช้คำนำหน้านามในหนังสือราชการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ตำแหน่งทางวิชาการเป็นคำนำหน้านาม พ.ศ. 2536
โดยเรียงลำดับจาก ตำแหน่งทางวิชาการ 👉 ยศ 👉 บรรดาศักดิ์ หรือ ฐานันดรศักดิ์ 👉 คำนำหน้าสตรีที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
ตัวอย่างเช่น
- ศาสตราจารย์พิเศษ พลตรี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช
- ศาสตราจารย์กิตติคุณ ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา
วันศุกร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2568
ระบบการเรียนรู้ออนไลน์กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (Local Mooc)
👉 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จัดให้มีระบบการเรียนรู้ออนไลน์ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (Local Massive Open Online Course: Local MOOC) ที่เปิดกว้างให้บุคลากรของ สถ. บุคลากรของ อปท. และประชาชนทุกภาคส่วนได้เข้าถึงองค์ความรู้ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียมด้วยตนเอง โดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลา ไม่มีค่าใช้จ่าย และสามารถดาวน์โหลดใบประกาศนียบัตรหลังเรียนจบได้ทันที
👉 วิชาเรียนมีจำนวน 112 วิชา แบ่งเป็น 6 หมวด 3 หลักสูตร ดังนี้- เทคนิคการบริหารราชการและสาระน่ารู้ที่เกี่ยวข้อง
- งานบุคคล
- การเงินการคลัง
- การบริการสาธารณะ
- กฎหมาย
- ความรู้ทั่วไปที่เกี่ยวข้อง
- หลักสูตรเตรียมสอบชำนาญการพิเศษ
- หลักสูตรโครงการการเรียนรู้สู่การปฏิบัติงานด้านกฎหมายท้องถิ่น
- หลักสูตรการอบรม
👉 ช่องทางการเรียน
เว็บไซต์: www.localmooc.com
รูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ
👉 สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) ตรวจพบรูปแบบการโจมตีทางไซเบอร์ในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญ
ขอให้หน่วยงานเพิ่มมาตรการ ป้องกัน เฝ้าระวัง และรับมือจากรูปแบบการโจมตี ดังนี้
- การโจมตีแบบ DDos ส่งผลให้เว็บไซต์บริการหยุดชะงักชั่วคราว
- การโจมตีโดยกลุ่มผู้ไม่หวังดีใช้ Credential ของหน่วยงานที่รั่วไหลเข้ามาโจมตีระบบให้เกิดความเสียหาย
- การโจมตีในรูปแบบเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บ (Web Defacement) เพื่อสร้างความไม่น่าเชื่อถือให้แก่หน่วยงาน
- การโจมตีในรูปแบบ Data Breach เข้าถึงหรือเปิดเผยข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
วันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2568
10 คำแนะนำป้องกันภัยคุกคามทาง E-Mail
- ตั้ง Password ที่คาดเดาได้ยากและเปลี่ยนบ่อย ๆ
- ดูแลช่องทางที่ใช้ในการ Reset รหัสผ่าน ให้มีความมั่นคงปลอดภัย
- ตรวจสอบประวัติการใช้งานที่น่าสงสัย รวมถึงช่องทางในการยืนยันตัวตนอย่างสม่ำเสมอ
- ติดตั้งโปรแกรม Anti - Virus และอัปเดตระบบปฏิบัติการเบราว์เซอร์และซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย
- หลีกเลี่ยงการใช้เว็บเมลผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์สาธารณะ และไม่ควรตั้งค่าให้จำรหัสผ่าน
- ระมัดระวังอีเมลที่มีไฟล์แนบหรือลิงก์พาไปเว็บไซต์อื่น
- แม้อีเมลจากคนที่รู้จัก ก็อาจจะเป็นคนร้ายปลอมตัวมาก็ได้ หากไม่แน่ใจ ควรยืนยันผ่านช่องทางอื่นที่ไม่ใช่อีเมล เช่น แจ้งยืนยันเปลี่ยนเลขบัญชีโอนเงินทางโทรศัพท์
- เปิดการใช้งานยืนยันตัวตนแบบ 2 Factor Authentication โดยใช้เบอร์โทรศัพท์ อีเมลสำรอง หรือโปรแกรม เช่น Google Authentication
- เช็ครายชื่อผู้จะได้รับอีเมล ก่อนกดปุ่ม Reply หรือ Reply All ทุกครั้ง
- อย่าหลงเชื่ออีเมลที่หลอกให้เปลี่ยน Password หรือให้อัปเดตข้อมูลส่วนตัว
วันพุธที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2568
การสร้างความตระหนักรู้ด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
👉 สิ่งที่ควรทำ (DO)
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารหัสผ่านมีการคาดเดาได้ยาก ควรมีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร และมีการผสมตัวอักษรพิมพ์เล็ก ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ ตัวเลข และสัญลักษณ์
- รหัสผ่านจะต้องเปลี่ยนอย่างน้อยทุก ๆ 3 เดือนสำหรับระบบที่สำคัญ และทุก ๆ 6 เดือนสำหรับระบบอื่น ๆ
- ไม่เปิดเผยรหัสผ่านกับผู้อื่น
- อย่าจดรหัสผ่านทิ้งไว้
- ไม่ควรเปิดใช้งานตัวเลือก "จดจำรหัสผ่าน"
- อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันทั้งในการทำงานและกิจกรรมส่วนตัว
แนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์
สำหรับบุคคลทั่วไป
- หลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ไม่คลิกไฟล์แนบที่ไม่มั่นใจ
- ไม่ใช้รหัสผ่านชุดเดียวกันทุกระบบ
- พิจารณาข้อมูลก่อนการแชร์ต่อไม่ส่งต่อข้อมูลที่ไม่ได้รับการยืนยันจากผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ตรวจสอบและยืนยันสิทธิ์การเข้าระบบ
- เพิ่มมาตรการป้องกันเว็บไซต์ที่สำคัญ โดยสามารถขอรับบริการได้ที่ ThaiCERT/ETDA
- หลีกเลี่ยงการเข้าเว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม ระมัดระวังความเสี่ยงจากการเปิดไฟล์ผ่านช่องทาง Social Media
- หากพบพิรุธว่าระบบถูกโจมตี ให้ตรวจสอบข้อมูลการเข้าถึงระบบย้อนหลัง เพื่อตรวจหาความผิดปกติในการเข้าถึงข้อมูล
- ตั้งค่าระบบงานที่สำคัญให้บันทึกเหตุการณ์ (Log) การเข้าใช้งานระบบไม่ต่ำกว่า 90 วัน
- ให้หน่วยงานส่งรายชื่อผู้ติดต่อ (Contact Point) กรณีเกิดเหตุภัยคุกคามไซเบอร์มายัง ThaiCERT
วันอังคารที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2568
รับมืออย่างไร? กับภัยหลอกลวง Phishing Email
👉 การโจมตีแบบ Phishing คือ การโจมตีที่มีวัตถุประสงค์คือการหลอกลวงเหยื่อ ซึ่งที่พบบ่อยมักจะเป็นการหลอกลวงด้วยการปลอมแปลงอีเมลหรือข้อความที่สร้างขึ้นเพื่อหลอกให้เหยื่อเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงินหรือข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เช่น รหัสผ่านหรือหมายบัตรเครดิต เป็นต้น
👉 การลดโอกาสและป้องกันไม่ให้ถูกหลอกลวง
- ไม่เปิดลิงค์ไฟล์ต้องสงสัย หรือไม่ทราบแหล่งที่มาแน่ชัดที่แนบมาใน email เนื่องจากมีโอกาสสูงที่จะถูกหลอกลวง
- ตรวจสอบเนื้อหา email อย่างถี่ถ้วนระแวดระวัง โดย phishing email มักจะมีลักษณะ เช่น การใช้คำผิด การสะกดคำผิด ข้อความทักทายที่มีรูปแบบตายตัว
- ระวังอีเมลที่กรอกให้ข้อมูลส่วนตัว ธนาคารหลายแห่งมีการแจ้งเตือนชัดเจนแล้วว่าไม่มีนโยบาย การขอให้ลูกค้าเปิดเผยเลขประจำตัว หรือข้อมูลที่มีความสำคัญอื่น ๆ ผ่านทางอีเมลเด็ดขาด
- ไม่เปิดลิงก์เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่แนบมาในอีเมล ผู้โจมตีทางอีเมลมีเทคนิคมากมายในการปลอมชื่อผู้ส่งให้เหมือนมาจากองค์กรนั้นจริง ๆ และหากต้องการเข้าเว็บไซต์นั้นจริง ๆ ควรพิมพ์ URL เพื่อเข้าเว็บไซต์ด้วยตัวเอง
- ลบอีเมลน่าสงสัยออก เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น เช่น กดเข้าไปในลิงก์โดยไม่ตั้งใจ
จะเกิดอะไรขึ้น? ถ้ารหัสผ่านอีเมลส่วนตัวตกอยู่ในมือผู้ไม่หวังดี
👉 มาดูกันว่าโจรไซเบอร์จะทำอะไรกับบัญชีอีเมลของคุณ หากรหัสผ่านอีเมลส่วนตัวตกไปอยู่ในมือผู้ไม่หวังดี
- ถูกค้นจดหมายใน Inbox
- แอบสอดแนมบัญชี My Account Info
- โดนสวมรอยบัญชีเพื่อนำข้อมูลไปใช้ต่อ
- หาอีเมลยืนยันรหัสผ่านของเพจโซเชียลอื่น ๆ
- ชื่อ - นามสกุลจริง
- เบอร์โทรศัพท์
- ค้นหาอีเมลที่มีแนบไฟล์
- คอยส่องความเคลื่อนไหวบัญชี
- อ่านข้อมูลอีเมลที่ถูกส่งเข้ามา
- ข้อมูลส่วนอื่น ๆ
- ส่งอีเมลแนบไวรัสให้เพื่อนที่อยู่ในลิสต์
- ส่งจดหมายหลอกลวงเงิน
- หมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านทุก ๆ 3 เดือน
- ตั้งค่าการยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน
- ไม่ล็อกอินอีเมลด้วย Wi-Fi สาธารณะ
- แยกอีเมลเรื่องธุรกิจและอีเมลส่วนตัว
วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2568
Wearable AI เทคโนโลยียกระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพ
- นาฬิกาอัจฉริยะ (SmartWatch) นาฬิกาข้อมือแบบอัจฉริยะนอกจากบอกเวลาแล้วยังเก็บข้อมูลด้านสุขภาพและการออกกำลังกายสายรัดข้อมือสุขภาพ (Fitness Tracker) สายรัดคอยตรวจจับการเคลื่อนไหวและนับก้าวที่เดิน-วิ่งระยะทางตลอดเวลา
- แว่นตาอัจฉริยะ (Smart Glass) แว่นตาแสดงข้อมูลเสมือนหรือข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตจำลองการออกกำลังกายเสมือนจริง
- เสื้ออัจฉริยะ (Smart Clothing) เสื้อผ้าที่ติดตั้งเทคโนโลยี เช่น เซ็นเซอร์ หรือชิป เพื่อเพื่อตรวจสอบสุขภาพ การออกกำลังกาย และการใช้งานในชีวิตประจำวัน
- ยาฉลาด (Smart Pill) ยาที่มีเทคโนโลยีอัจฉริยะฝังอยู่ภายในช่วยในการตรวจสอบและติดตามการใช้ยาของผู้ป่วย
- แหวนอัจฉริยะ (Smart Ring) แหวนอัจฉริยะเครื่องประดับสำหรับสายรักสุขภาพทำหน้าที่เหมือนอุปกรณ์ด้านสุขภาพ
Ai Trainer ผู้ช่วยออกกำลังกาย
AI Trainer หรือผู้ช่วยออกกำลังกาย AI นั้นเป็นเหมือนโค้ชส่วนตัวที่คอยอยู่เคียงข้างคุณในการออกกำลังกาย ทำให้การออกกำลังกายของคุณมีประสิทธิภาพและสนุกสนานมากยิ่งขึ้น นี่คือประโยชน์เด่นๆ ที่คุณจะได้รับจากการใช้ AI Trainer
- ความสะดวกสบาย ออกกำลังกายได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่จำเป็นต้องไปยิม คุณสามารถออกกำลังกายได้ที่บ้านหรือที่ทำงาน
- การออกแบบโปรแกรมส่วนบุคคล AI วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ของคุณเพื่อสร้างแผนออกกำลังกายที่เหมาะสมกับคุณโดยเฉพาะ
- ติดตามผลลัพธ์ที่แม่นยำ ติดตามจำนวนแคลอรี่ที่เผาผลาญ ระยะทางที่วิ่ง หรือจำนวนครั้งที่ยกน้ำหนัก
- สร้างแรงจูงใจ คอยให้กำลังใจและคำแนะนำตลอดการออกกำลังกาย ช่วยให้คุณรู้สึกมีแรงบันดาลใจและไม่ย่อท้อ
- AI Trainer เขียนโปรแกรมการออกแบบ
- AI Trainer ด้านสุขภาพจิต
- AI Trainer ด้านโภชนาการอาหาร
- AI Trainer ด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2568
กฎหมายพื้นฐานสำหรับข้าราชการ
- รัฐมนตรีแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
- พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
- พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
- พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
- พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560
- พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. 2550
- พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542
- พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494
- พระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539
- พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
- ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2555
แนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการพลเรือนตามประมวลจริยธรรมข้าราชกากรพลเรือน
แนวทางการปฏิบัติตนของข้าราชการพลเรือนตามประมวลจริยธรรมข้าราชกากรพลเรือน ตามหนังสือ ที่ นร 1019/ว 9 ลงวันที่ 5 กรกฎาคม 2564
ข้าราชการต้องรักษาจริยธรรมอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ โดยต้องประพฤติปฏิบัติตน
อย่างมีคุณธรรม โดยมีการปฏิบัติที่ควรกระทำและไม่ควรกระทำ ดังนี้
- จงรักภักดีต่อประเทศชาติ มีความภูมิใจในความ เป็นไทย รักษาผลประโยชน์ของชาติ และรักษา ความลับเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ
- มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า
- นำหลักธรรมตามศาสนาที่ตนเคารพนับถือ มาประกอบการปฏิบัติหน้าที่ราชการ
- ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการปฏิบัติศาสนกิจ สืบทอดและทำนุบำรุงศาสนาให้มีความเจริญยั่งยืน
- แสดงออกถึงความเคารพ เทิดทูน และรักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
- สนับสนุนและมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ ในโอกาสต่าง ๆ
- แสดงออกถึงความเชื่อมั่นและสนับสนุน การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข
- ปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใสตรวจสอบได้
วันพฤหัสบดีที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2568
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดีตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
ข้อมูลที่ดีตามกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลภาครัฐ
👉 Data Security
- การรักษาความลับของข้อมูล (Confidentiality)
- การรักษาความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล (Integrity)
- ความพร้อมใช้งานของข้อมูล (Availability)
- การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Consent)
- การไม่เปิดเผยข้อมูลโดยไม่มีเหตุอันสมควร
- การทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง (Accuracy)
- ข้อมูลมีความครบถ้วน (Completeness)
- ข้อมูลเป็นปัจจุบัน (Timeless)
- ข้อมูลมีมาตรฐานเดียวกัน (Consistency)
- ข้อมูลตรงตามความต้องการของผู้ใช้ (Relevancy)
รู้จักกับ Ransomware ตัวร้าย พร้อม 5 วิธีป้องกันการถูกโจมตี
👉 Ransomware เป็นมัลแวร์ชนิดหนึ่งที่ถูกออกแบบมาเพื่อเข้ารหัสไฟล์บน PC, Laptop หรือ Server ของเหยื่อ และทำการเรียกค่าไถ่หากเหยื่อต้องการจะเปิดใช้ไฟล์นั้น ๆ โดยการจ่ายเงินเพื่อให้ได้คีย์มาถอดรหัสไฟล์ที่ถูกเข้ารหัส
👉 5 วิธีป้องกันโจรดิจิทัล สู้ภัยไซเบอร์
- สำรองข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถนำข้อมูลสำคัญต่างๆ กลับมาได้
- อัปเดตโปรแกรม และ ระบบปฏิบัติการอยู่เสมอ เพื่อปิดช่องโหว่ที่เกิดขึ้น
- ติดตั้งโปรแกรม Antivirus, Anti-malware และอัปเดต Signature เสมอ เพื่อให้ตรวจจับ Malware ใหม่ๆ ได้
- ก่อนเปิดไฟล์แนบ หรือ ลิงก์ ที่มาจากอีเมลควรมีความตระหนักอยู่เสมอ เช่น ตรวจสอบ header ต่างๆ ให้แน่ชัด
- คอยติดตามข่าวสารเกี่ยวกับการโจมตีต่างๆ เพื่อให้รู้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2568
6 แอปพลิเคชัน ดูแลสุขภาพภาครัฐที่ต้องมีติดมือถือไว้
- สมุดสุขภาพประชาชน โดย กระทรวงสาธารณสุข สำหรับบันทึกข้อมูลสุขภาพของประชาชน
- Thai First Aid โดย สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ให้ข้อมูลการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินจากคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และสามารถแจ้งเหตุฉุกเฉินไปยัง 1669 ได้
- ยากับคุณ (YaAndYou) โดย มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา (มูลนิธิ วพย.) และ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สำหรับสืบค้นและบริการข้อมูลความรู้ด้านยาและสุขภาพเพื่อส่งเสริมการใช้ยาและการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม
- Mental Health Check Up โดย กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เป็นเครื่องมือประเมินสุขภาพจิตเบื้องต้น และคัดกรองความเสี่ยงต่อปัญหาจิตเวช ได้แก่ ความเครียด ภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม ความสุข พลังสุขภาพจิต และความฉลาดทางอารมณ์
- หมอชนะ โดย คณะรวมอาสาสมัคร ระบบเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบและประเมินระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จากสถานที่ต่าง ๆ ได้ด้วยตัวเอง
- สปสช. โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตรวจสอบสิทธิด้านหลักประกันสุขภาพด้วยตัวเอง พร้อมแสดงแผนที่หน่วยบริการหลักประกันสุขภาพ และหน่วยรับเรื่องร้องเรียน
ประโยชน์ที่หน่วยงานภาครัฐจะได้รับจากการนำ AI มาใช้งาน
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภาครัฐ เพิ่มคุณภาพการให้บริการ ลดความซ้ำซ้อนและลดทรัพยากรในการทำงาน สามารถสร้างมาตรฐานและวัดผลได้ รวมทั้งช่วยแก้ปัญหาการทำงานภาครัฐและปัญหาการทุจริตได้
- ลดการใช้ทรัพยากร ด้านกำลังคน งบประมาณ และเวลาการทำงานให้ลดลง
- เพิ่มผลิตภาพ ยกระดับการทำงานโดยรวมให้ดียิ่งขึ้น
- เพิ่มคุณภาพชีวิต ทั้งบุคลากรภาครัฐและภาคประชาชน