วันอังคารที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 11 กรกฎาคม 2566

 


วันนี้ (11 กรกฎาคม 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 

กฎหมาย

                   1.       เรื่อง     ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
                   2.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พ.ศ. ....
                   3.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. ....
                   4.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ....
 

เศรษฐกิจ-สังคม

                   5.       เรื่อง     รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                   6.       เรื่อง     รายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
                   7.       เรื่อง     รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ และรายงานผลการดำเนินงานการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ ครั้งที่ 2/2566 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2566
                   8.       เรื่อง     ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)
                   9.       เรื่อง     การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop)
                   10.      เรื่อง     แนวทางการจัดทำและการกำหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ
                   11.      เรื่อง     รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ พ.ศ. 2565
                   12.      เรื่อง     สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 เมษายน 2566)
                   13.      เรื่อง     ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการและสถานที่ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กำแพงเพชร และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ    ราชวิทยาลัย สระแก้ว
                   14.      เรื่อง     แนวทางการดำเนินมาตรการภาษีสรรพสามิตเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันดีเซล 
                   15.      เรื่อง     รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค
 

ต่างประเทศ

                   16.      เรื่อง     รายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 56 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                   17.      เรื่อง     การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                   18.      เรื่อง     ขออนุมัติการลงนามใน Letter of application for cooperating status เพื่อเข้าร่วมเป็นCooperating Non - Contracting Party (CNCP) กับคณะกรรมาธิการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเลของมหาสมุทรแอนตาร์กติก (CCAMLR) ของประเทศไทย
                   19.      เรื่อง     ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – คงคา ครั้งที่ 12
                   20.      เรื่อง     ขออนุมัติทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และองค์การต่างประเทศ
 

แต่งตั้ง

                   21.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงพาณิชย์)
                   22.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   23.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   24.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม)
                   25.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
 
*****************************
 

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. .... ของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีที่คณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 ตรวจพิจารณาแล้ว ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบในหลักการร่างระเบียบสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ ว่าด้วยการร่วมลงทุนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นอำนาจของสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติในการออกระเบียบดังกล่าวตามมาตรา 31 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 แต่โดยที่สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติได้เสนอขอปรับปรุงแก้ไขเป็นร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. .... ซึ่งเป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีในการออกระเบียบดังกล่าวตามความในมาตรา 31 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการร่วมลงทุนระหว่างหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์หรือหน้าที่และอำนาจร่วมลงทุนกับเอกชน เกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ โดยได้มีการเพิ่มเติมบทนิยาม “หน่วยงานของรัฐ” แก้ไขคำปรารภ แก้ไขบทอาศัยอำนาจ เพิ่มเรื่องการแก้ไขสัญญาให้เป็นสาระสำคัญที่อย่างน้อยสัญญาร่วมลงทุนต้องกำหนดไว้ รวมถึงขั้นตอนและรายละเอียดการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนและกำหนดให้ร่างสัญญาร่วมลงทุนจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด หรือเป็นร่างสัญญาที่เคยผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด รวมทั้งแก้ไขถ้อยคำเล็กน้อย เพื่อให้เป็นไปตามแบบการร่างกฎหมาย โดยสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติได้ยืนยันให้ความเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวแล้ว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยแล้ว
                   ร่างระเบียบในเรื่องนี้กระทรวงการคลัง เห็นว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาผู้แทนราษฎร         พ.ศ. 2566 ประกาศใช้บังคับแล้ว ซึ่งการปฏิบัติหน้าที่ต่อไปของคณะรัฐมนตรีจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น หากการเสนอร่างระเบียบในเรื่องนี้เป็นไปตามเงื่อนไขของบทบัญญัติดังกล่าว ก็สามารถดำเนินการได้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เห็นว่า ร่างระเบียบในเรื่องนี้เป็นการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ และมิได้เป็นกรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ดังนั้น คณะรัฐมนตรีสามารถพิจารณาเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวได้ และสำนักงบประมาณ เห็นว่า การเสนอร่างระเบียบในเรื่องนี้ต่อคณะรัฐมนตรีเป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และขั้นตอนเพื่อให้ร่างอนุบัญญัติดังกล่าวประกาศใช้บังคับต่อไป ตามข้อ 2.2.2.7 (2.2) ของแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร จึงไม่ขัดแย้งกับบทบัญญัติมาตรา 169 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะพิจารณาเห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าว
                   สาระสำคัญของร่างระเบียบ
                   ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนในโครงการซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
                   1. กำหนดให้ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับแก่ (1) สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (2) หน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจและวัตถุประสงค์ด้านการวิจัยและนวัตกรรมตามที่สภานโยบายฯ กำหนด และ (3) หน่วยงานอื่นของรัฐตามที่สภานโยบายฯ กำหนด
                   2. กำหนดให้การร่วมลงทุนซึ่งนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ต้องมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เชิงสังคม หรือเชิงสาธารณประโยชน์เพื่อสร้างความเป็นหุ้นส่วนระหว่างรัฐและเอกชน และเพื่อสร้างให้เกิดธุรกิจฐานเทคโนโลยีและนวัตกรรมรายใหม่ และต้องคำนึงถึงความสำเร็จ ความคุ้มค่า และมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้ในการจัดทำและดำเนินโครงการ รวมถึงกระบวนการตัดสินใจ
                   3. กำหนดรูปแบบการร่วมลงทุนในโครงการการร่วมลงทุน ดังนี้
                             (1) ร่วมลงทุนกับเอกชนจัดตั้งบริษัทร่วมทุน
                             (2) จัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุน
                             (3) รูปแบบอื่นนอกจาก (1) และ (2) ให้เป็นไปตามระเบียบของหน่วยงานเจ้าของโครงการ
                   4. กำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการอาจจัดตั้งนิติบุคคลเพื่อร่วมลงทุนให้ดำเนินการร่วมลงทุนในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือบริษัทซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ได้
                   5. กำหนดวิธีการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุน ดังนี้
                             (1) คัดเลือกจากเอกชนอย่างน้อยสามรายที่เข้ายื่นข้อเสนอร่วมลงทุนโดยมีหลักเกณฑ์การคัดเลือกคือ มีความโปร่งใสและเป็นธรรม และเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกต้องมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ความพร้อม และความสามารถในการเข้าร่วมลงทุนเหมาะสมตามเกณฑ์ที่หน่วยงานเจ้าของโครงการตั้งไว้
                             (2) ใช้วิธีการเฉพาะเจาะจง โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเชิญชวนเฉพาะเอกชนซึ่งมีคุณสมบัติตรงตามเงื่อนไขที่หน่วยงานเจ้าของโครงการกำหนดรายใดรายหนึ่งให้เข้ายื่นข้อเสนอ
                   6. ในการพิจารณาอนุมัติโครงการร่วมลงทุนให้ผู้มีอำนาจอนุมัติพิจารณาความสอดคล้องของนโยบายการร่วมลงทุน ข้อเสนอและเงื่อนไขการร่วมลงทุน และความเป็นไปได้ทางธุรกิจ แผนธุรกิจ และแผนการจัดการความเสี่ยง รวมถึงความพร้อมของผู้ร่วมทุนและประสบการณ์ของผู้บริหาร และให้พิจารณาความเห็นของคณะกรรมการทำหน้าที่ให้ความเห็นในการพิจารณาร่วมลงทุนและให้ความเห็นในการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุนตามข้อ 11 (3) ประกอบด้วย
                   7. กำหนดให้หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องจัดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชน        โดยร่างสัญญาร่วมลงทุนจะต้องผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเป็นร่างสัญญาที่เคยผ่านการตรวจพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด และอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญ อาทิ วัตถุประสงค์ สัดส่วนการร่วมลงทุน สิทธิ หน้าที่ และข้อตกลง การถอนทุน การแก้ไขและการเลิกสัญญา โดยสัญญาดังกล่าวต้องมีความสอดคล้องกับนโยบายร่วมลงทุนของหน่วยงานเจ้าของโครงการ คำนึงถึงความเป็นธรรมของคู่สัญญา ผลที่อาจเกิดขึ้นต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง
                   8. กำหนดให้การแก้สัญญาร่วมลงทุน หน่วยงานเจ้าของโครงการต้องเสนอเหตุผลและความจำเป็น ประเด็นที่ต้องแก้ไข ผลกระทบ และรายละเอียดอื่น ๆ ต่อคณะกรรมการทำหน้าที่ให้ความเห็นในการพิจารณาร่วมลงทุนและให้ความเห็นในการคัดเลือกเอกชนมาร่วมลงทุนพิจารณาให้ความเห็น ก่อนดำเนินการจัดให้มีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุน
 
2. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ เป็นการกำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า1     จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ 1) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล จังหวัดพิษณุโลก 2) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี 3) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอ จังหวัดเชียงราย 4) เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จังหวัดอุทัยธานี       5) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์ 6) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี และ 7) เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นระยะเวลา 20 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินและได้อยู่อาศัย หรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าก่อนที่มีการประกาศกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้) และเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกินซึ่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายก่อนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสถาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 โดยบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามโครงการดังกล่าวต้องมีสัญชาติไทยและการเข้าร่วมโครงการจะไม่ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ บุคคลดังกล่าวยังมีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในเขตพื้นที่โครงการ รวมทั้งต้องครอบครองและใช้ประโยชน์ด้วยตนเอง โดยไม่สามารถขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืม หรือโอนการครอบครองให้บุคคลอื่นได้
                   หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้และมีความเห็นบางประการ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า การดำเนินการตามร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ได้ใช้งบประมาณตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดสรรไว้แล้ว จึงไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปอันเป็นข้อห้ามตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงบประมาณเห็นว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้เป็นการกำหนดรายละเอียดการดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ จึงย่อมดำเนินการได้ตามปกติ ตามแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 และหากการดำเนินโครงการภายหลังร่างพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้เป็นการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานที่ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เห็นว่าไม่ถือเป็นการสร้างความผูกผันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ชี้แจงแล้วว่า การดำเนินการตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ใช้งบประมาณตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดสรรไว้แล้วจึงไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกผันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
                   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชนตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ตลอดจนได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย) แล้ว
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   1. กำหนดให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจัดทำโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า ตามแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกานี้ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
                       1.1 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล จังหวัดพิษณุโลก
                       1.2 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
                       1.3 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอ จังหวัดเชียงราย
                       1.4 เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน จังหวัดอุทัยธานี
                       1.5 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์
                       1.6 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
                       1.7 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา จังหวัดอุตรดิตถ์
โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจัดทำรายชื่อบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าตามโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยจำนวนที่ดินและแผนผังแปลงที่ดินไว้เป็นหลักฐาน และให้โครงการมีกำหนดระยะเวลา 20 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
                   2. กำหนดให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในโครงการฯ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
                       2.1 เป็นผู้ไม่มีที่ดินทำกินและได้อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้กรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้) หรือตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
                       2.2 มีสัญชาติไทย หรือได้ยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยและอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
                       2.3 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ หรือได้ครอบครองที่ดินรวมทั้งทำประโยชน์มาโดยต่อเนื่อง และไม่มีที่ดินทำกินอื่น
                       2.4 ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ออกจากที่ดินที่ครอบครองนั้นมาก่อน
                       2.5 ไม่เคยถูกดำเนินคดีและคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาในความผิดเกี่ยวกับการยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปจากเดิมตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่านับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ
                       2.6 ไม่เคยถูกพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการอยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
                   3. กำหนดให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้โครงการฯ มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในเขตพื้นที่โครงการฯ
                   4. กำหนดให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้โครงการฯ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอยู่อาศัยหรือทำกิน อาทิ
                       4.1 ครอบครองและใช้ประโยชน์ด้วยตนเอง และจะให้บุคคลอื่นที่มิใช่บุคคลในครอบครัวเข้าครอบครองหรือทำประโยชน์แทนมิได้ โดยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นตามจำนวนที่ได้ทำการสำรวจ แต่ไม่เกินครอบครัวละ 20 ไร่ และในกรณีที่อยู่กันเป็นครัวเรือนตั้งแต่สามครอบครัวขึ้นไป ไม่เกินครัวเรือนละ 50 ไร่
                       4.2 ต้องไม่ละทิ้งการทำประโยชน์หรือไม่อยู่อาศัยติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร
                       4.3 ห้ามซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืม หรือโอนการครอบครองให้บุคคลอื่น       เว้นแต่เป็นการสืบสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้
                       4.4 ห้ามบุกรุก แผ้วถาง หรือขยายพื้นที่เพิ่มเติม รวมทั้งห้ามเคลื่อนย้ายหรือทำลายหลักเขต     ป้ายแนวเขต หรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตโครงการฯ
                   5. กำหนดให้การอยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้โครงการฯ สิ้นสุดลงด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                       5.1 ครบกำหนดเวลาของโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้ (ระยะเวลา 20 ปี ตามข้อ 1)
                        5.2 บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินไม่ประสงค์จะอยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่านั้นต่อไป
                       5.3 ละทิ้งการทำประโยชน์หรือไม่อยู่อาศัยติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร
                       5.4 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2
                       5.5 บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกิน หรือบริวารของบุคคลนั้น ไม่ปฏิบัติตามข้อ 3 หรือ ข้อ 4
                       5.6 ถึงแก่ความตายโดยไม่มีผู้สืบสิทธิ
                       5.7 ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ตามกฎหมายว่าด้วยสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า กฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ทั้งปวง
                   6. กำหนดให้ผู้สืบสิทธิของบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้โครงการฯ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
                       6.1 ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2
                       6.2 ต้องเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือหัวหน้าครัวเรือน
                       6.3 เป็นผู้ที่มีชื่อในบัญชีรายชื่อบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้โครงการฯ หรือเป็นบุตรซึ่งเกิดและอยู่อาศัยในพื้นที่โครงการตลอดมาและได้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวข้างต้นด้วย
                       6.4 เป็นบุคคลที่อยู่อาศัยในครัวเรือนเดียวกันที่หัวหน้าครอบครัวหรือหัวหน้าครัวเรือนได้แจ้งต่อหัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าหรือหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าว่าเป็นผู้สืบสิทธิโดยเรียงลำดับรายชื่อ และในกรณีที่มิได้แจ้งรายชื่อผู้สืบสิทธิไว้หรือได้แจ้งไว้แต่บุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ให้พิจารณาผู้ที่จะสืบสิทธิต่อไปได้
                       6.5 ต้องถือครองที่ทำกินรวมแล้วไม่เกินสิทธิที่พึงมีของตนตามข้อ 4.1
                   7. กำหนดให้ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการจัดทำโครงการพร้อมแผนที่แสดงแนวเขตโครงการให้แล้วเสร็จในคราวเดียว ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จัดทำโครงการโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติม และให้โครงการตามพระราชกฤษฎีกามีกำหนดระยะเวลาตามพระราชกฤษฎีกานี้
_____________________
1 ข้อมูล ณ วันที่ 5 ก.ค. 2566 เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ามีจำนวน 60 แห่ง และเขตห้ามล่าสัตว์ป่ามีจำนวน 97 แห่ง
 
3. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระกฤษฎีกากำหนดลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.) ตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมตามที่สำนักงานคณะกรรมการการกฤษฎีกาเสนอ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้เคยมีมติอนุมัติหลักการเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2565 และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาแล้ว มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการเก็บรวบรวม ใช้ เปิดเผย ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การจัดเก็บภาษีอากร ค่าธรรมเนียมทางภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียม การดำเนินการตามพันธกรณีหรือความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดเก็บภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสถาปนาสมณศักดิ์ การแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการ บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์หรือที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี และการขอพระราชทานหรือเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฎีกาซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย หรือการขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่าง ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถดำเนินการตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้ นอกจากนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 13) ได้มีข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาเชิงโครงสร้าง เนื้อหาสาระ และมาตรการตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เช่น ผู้อยู่ในบังคับของกฎหมายขาดความรู้ความเข้าใจและความพร้อมที่จะปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทปัญหาการใช้บังคับกฎหมายเฉพาะซึ่งอาจมีหลักเกณฑ์คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่สูงกว่า ทำให้มีความสับสนว่ากรณีใดต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามกฎหมายเฉพาะ กรณีใดต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ พระราชบัญญัตินี้มีมาตรการที่ไม่ทันสมัย โดยเฉพาะโทษทางปกครองตั้งแต่มาตรา 82 ถึงมาตรา 90 ซึ่งสมควรเปลี่ยนเป็น “โทษปรับเป็นพินัย” ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 อีกทั้งควรมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ทันที แม้ว่าจะต้องมีการประเมินผลสัมฤทธิ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าวในปี พ.ศ. 2568
                   กรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงมหาดไทย สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานศาลยุติธรรม สำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. สำนักงาน ป.ป.ท. และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้ยืนยันให้ความเห็นชอบกับร่างพระราชกฤษฎีกาที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว             
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   1. กำหนดนิยาม ดังนี้
                             1.1 “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า หน่วยงานที่เป็นของรัฐไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน หรือในรูปแบบอื่นใด และไม่ว่าจะเป็นองค์กรในฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ หรือเป็นองค์กรอิสระหรือองค์กรอัยการ
                             1.2 “คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
                             1.3 “ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายความว่า ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
                   2. กำหนดหลักการสำคัญ โดยมุ่งหมายให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการยกเว้นไม่ให้นำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 บางส่วนมาใช้บังคับ โดยมีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้
                             2.1 การร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะตามวัตถุประสงค์และขอบเขตซึ่งกฎหมายที่ให้อำนาจหน่วยงานของรัฐกำหนดไว้
                             2.2 ในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจของหน่วยงานของรัฐที่ร้องขอ
                             2.3 รับรองสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการร้องเรียนต่อคณะกรรมการหรือขอให้ตีความหรือวินิจฉัยชี้ขาด แล้วแต่กรณี
                   3. กำหนดให้เมื่อได้รับการร้องขอข้อมูลส่วนบุคคล ดังนี้

หน่วยงานที่ร้องขอวัตถุประสงค์ในการร้องขอตามที่ กม. กำหนด
- คณะกรรมการ ป.ป.ช.
- สำนักงาน ป.ป.ช.
- คณะกรรมการ ป.ป.ท.
- สำนักงาน ป.ป.ท.
เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
- กรมสรรพากร
- กรมศุลกากร
- กรมสรรพสามิต
เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีอากร การดำเนินการใด ๆ อันเกี่ยวกับการบังคับแก่บรรดาค่าธรรมเนียมทางภาษีอากร ค่าฤชาธรรมเนียมหรือค่าอากรใด ๆ รวมทั้งการดำเนินการตามพันธกรณีหรือความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องดังกล่าว
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีตามกฎหมายว่าด้วยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
สลค.เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบเกี่ยวกับการสถาปนาสมณศักดิ์ การแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการ บุคคลหรือคณะบุคคล ซึ่งเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ หรือที่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี และการขอพระราชทานหรือเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ฎีกาซึ่งมีผู้ทูลเกล้าฯ ถวาย หรือการขอพระราชทานพระมหากรุณาในเรื่องต่าง ๆ

 
                             3.1 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวย่อมได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติหมวด 2 และหมวด 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
                             3.2 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิที่จะรู้ว่าหน่วยงานของรัฐเก็บข้อมูลใดเกี่ยวกับตนไว้ และมีสิทธิขอให้หน่วยงานของรัฐแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน แต่ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐได้รับข้อมูลมาจากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น การแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันเป็นหน้าที่และอำนาจของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นผู้เก็บรวบรวมและเปิดเผยข้อมูลนั้น และให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวส่งข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบันให้กับหน่วยงนของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี แล้วแต่กรณีที่ร้องขอ
                   4. กำหนดให้การร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลบางลักษณะ บางกิจการและการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าวย่อมได้รับการยกเว้นการปฏิบัติตามบทบัญญัติหมวด 2 และหมวด 3 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ดังนี้
                             4.1 เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับการร้องขอข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐที่มีกฎหมายให้อำนาจในการขอข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์หรือภารกิจตามกฎหมายเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะที่สำคัญซึ่งคณะกรรมการประกาศกำหนด ต้องสอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุโดยไม่สร้างขั้นตอนที่ไม่จำเป็นหรือสร้างภาระจนเกินสมควร และได้สัดส่วนระหว่างประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับกับสิทธิเสรีภาพและประโยชน์ที่บุคคลต้องเสียไป
                             4.2 การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลในการดำเนินการเกี่ยวกับการเนรเทศ การส่งผู้ร้ายข้ามแดน ความร่วมมือระหว่างประเทศเกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา การป้องกันและปราบปราม การมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ ความร่วมมืออื่นทางศาล หรือกระบวนการยุติธรรมระหว่างประเทศ
                             4.3 การเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของหน่วยงานของรัฐ บรรดาที่มีกฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกานี้ให้อำนาจในการขอข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจที่กฎหมายกำหนดไว้
                   5. ตีความและวินิจฉัยขี้ขาดปัญหา
                   ในกรณีที่มีปัญหาว่าลักษณะ กิจการ หรือหน่วยงานใดอยู่ภายใต้บังคับแห่งพระราชกฤษฎีกานี้ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องอาจขอให้คณะกรรมการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ในกรณีที่คณะกรรมการตีความและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาในเรื่องใดแล้ว สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลอาจส่งคำวินิจฉัยในเรื่องนั้นให้ถือปฏิบัติได้
                   6. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล
                             6.1 กำหนดให้คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนดมาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกาประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                             6.2 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องจัดให้มีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้ มิให้กระทบกับหลักการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลจนเกินสมควร
 
4. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติดังนี้
                   1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วดำเนินการต่อไปได้
                   2. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นของกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ มีสาระสำคัญเป็นการกำหนดให้จัดทำโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ จำนวน 7 แห่ง เช่น อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นต้น1 เป็นระยะเวลา 20 ปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ไม่มีที่ดินทำกินและได้อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติก่อนที่มีการประกาศกำหนดให้เป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมาย ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้) และเพื่อช่วยเหลือประชาชนผู้ยากไร้ ผู้ที่มีรายได้น้อย และผู้ไร้ที่ดินทำกิน ซี่งได้อาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ตามกฎหมายก่อนคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่            17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557 มีผลบังคับใช้ (คำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่     17 มิถุนายน 2557 เป็นต้นไป) โดยบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินภายในเขตอุทยานแห่งชาติตามโครงการดังกล่าวต้องมีสัญชาติไทย และการเข้าร่วมโครงการจะไม่ส่งผลให้บุคคลดังกล่าวมีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นแต่อย่างใด นอกจากนี้ บุคคลดังกล่าวยังมีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในเขตพื้นที่โครงการ รวมทั้งต้องครอบครองและใช้ประโยชน์ด้วยตนเอง โดยไม่สามารถขยายเขตที่ดิน ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืม หรือโอนการครอบครองให้บุคคลอื่นได้
                        หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแล้วเห็นชอบในหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกา ในเรื่องนี้และมีความเห็นบางประการ โดยสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าการดำเนินการตามร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ได้ใช้งบประมาณตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดสรรไว้แล้ว จึงไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป อันเป็นข้อห้ามตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสำนักงบประมาณเห็นว่า ร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้เป็นการกำหนดรายละเอียดการดำเนินการให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ จึงย่อมดำเนินการได้ตามปกติ ตามแนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 และหากการดำเนินโครงการภายหลังร่างพระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้เป็นการดำเนินงานตามภารกิจของหน่วยงานที่ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี เห็นว่าไม่ถือเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ชี้แจงแล้วว่า การดำเนินการตามร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้ใช้งบประมาณตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้รับการจัดสรรไว้แล้ว จึงไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
                   กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้นำร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้ไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและวิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากกฎหมาย รวมทั้งเปิดเผยผลการรับฟังความคิดเห็นและการวิเคราะห์นั้นแก่ประชาชนตามพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 และกฎกระทรวงกำหนดร่างกฎที่ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นและวิเคราะห์ผลกระทบ พ.ศ. 2565 ตลอดจนได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีการตราร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่ต้องจัดให้มีแผนที่ท้าย)
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   1. กำหนดให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจัดทำโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติภายในเขตอุทยานแห่งชาติ ตามแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกานี้ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่
                             1.1 อุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี
                             1.2 อุทยานแห่งชาติเขาสิบห้าชั้น จังหวัดจันทบุรี
                             1.3 อุทยานแห่งชาติเฉลิมรัตนโกสินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี
                             1.4  อุทยานแห่งชาติต้นสักใหญ่ จังหวัดอุตรดิตถ์
                             1.5 อุทยานแห่งชาติตาดหมอก จังหวัดเพชรบูรณ์
                             1.6 อุทยานแห่งชาติน้ำหนาว จังหวัดเพชรบูรณ์
                             1.7 อุทยานแห่งชาติลานสาง จังหวัดตาก
โดยให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจัดทำรายชื่อบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติตามโครงการดังกล่าว พร้อมด้วยจำนวนที่ดินและแผนผังแปลงที่ดินไว้เป็นหลักฐาน และให้โครงการมีกำหนดระยะเวลา 20 ปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลใช้บังคับ
                   2. กำหนดให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในโครงการฯ ต้องเป็นบุคคลธรรมดาที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้
                             2.1 เป็นผู้ไม่มีที่ดินทำกินและได้อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติภายใต้กรอบเวลาตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2541 (เรื่อง การแก้ไขปัญหาที่ดินในพื้นที่ป่าไม้) หรือตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 66/2557 เรื่อง เพิ่มเติมหน่วยงานสำหรับการปราบปราม หยุดยั้งการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้และนโยบายการปฏิบัติงานเป็นการชั่วคราวในสภาวการณ์ปัจจุบัน ลงวันที่ 17 มิถุนายน พุทธศักราช 2557
                             2.2 มีสัญชาติไทย หรือได้ยื่นคำร้องขอสัญชาติไทยและอยู่ระหว่างรอการพิจารณาของพนักงานเจ้าหน้าที่
                             2.3 มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ หรือได้ครอบครองที่ดินรวมทั้งทำประโยชน์มาโดยต่อเนื่อง และไม่มีที่ดินทำกินอื่น
                             2.4 ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้ออกจากที่ดินที่ครอบครองนั้นมาก่อน
                             2.5 ไม่เคยถูกดำเนินคดีและคดีนั้นอยู่ระหว่างการพิจารณาในความผิดเกี่ยวกับการยึดถือหรือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ หรือกระทำด้วยประการใด ๆ ให้เสื่อมสภาพหรือเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ไปจากเดิมตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาตินับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ
                             2.6 ไม่เคยถูกพนักงานเจ้าหน้าที่มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิการอยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ
                   3. กำหนดให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติภายใต้โครงการฯ มีหน้าที่ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลายทางชีวภาพ ภายในเขตพื้นที่โครงการฯ
                   4. กำหนดให้บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติภายใต้โครงการฯ ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการอยู่อาศัยหรือทำกิน อาทิ
                             4.1 ครอบครองและใช้ประโยชน์ด้วยตนเอง และจะให้บุคคลอื่นที่มิใช่บุคคลในครอบครัวเข้าครอบครองหรือทำประโยชน์แทนมิได้ โดยมิได้มีกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในที่ดินนั้นตามจำนวนที่ได้ทำการสำรวจ แต่ไม่เกินครอบครัวละ 20 ไร่ และในกรณีที่อยู่กันเป็นครัวเรือนตั้งแต่สามครอบครัวขึ้นไป ไม่เกินครัวเรือนละ 50 ไร่
                             4.2 ต้องไม่ละทิ้งการทำประโยชน์หรือไม่อยู่อาศัยติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร
                             4.3 ห้ามซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ให้ยืม หรือโอน การครอบครองให้บุคคลอื่น เว้นแต่เป็นการสืบสิทธิตามพระราชกฤษฎีกานี้
                             4.4 ห้ามบุกรุก แผ้วถาง หรือขยายพื้นที่เพิ่มเติม รวมทั้งห้ามเคลื่อนย้ายหรือทำลายหลักเขต ป้ายแนวเขต หรือเครื่องหมายแสดงแนวเขตโครงการฯ
                   5. กำหนดให้การอยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติภายใต้โครงการฯ สิ้นสุดลงด้วยเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
                             5.1 ครบกำหนดเวลาของโครงการตามพระราชกฤษฎีกานี้ (ระยะเวลา 20 ปี ตามข้อ 1)
                             5.2 บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินไม่ประสงค์จะอยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาตินั้นต่อไป
                             5.3 ละทิ้งการทำประโยชน์หรือไม่อยู่อาศัยติดต่อกันเกิน 1 ปี โดยไม่มีเหตุอันสมควร
                             5.4 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 4.2
                             5.5 บุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกิน หรือบริวารของบุคคลนั้น ไม่ปฏิบัติตามข้อ 3. หรือข้อ 4.
                             5.6 ถึงแก่ความตายโดยไม่มีผู้สืบสิทธิ
                             5.7 ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก ตามกฎหมายว่าด้วยอุทยานแห่งชาติกฎหมายว่าด้วยสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และกฎหมายว่าด้วยป่าไม้ทั้งปวง
                   6. กำหนดให้ผู้สืบสิทธิของบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติ ภายใต้โครงการฯ ได้แก่บุคคลดังต่อไปนี้
                             6.1 ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 2.
                             6.2 ต้องเป็นหัวหน้าครอบครัวหรือหัวหน้าครัวเรือน
                             6.3 เป็นผู้ที่มีชื่อในบัญชีรายชื่อบุคคลที่อยู่อาศัยหรือทำกินในอุทยานแห่งชาติภายใต้โครงการฯ หรือเป็นบุตรซึ่งเกิดและอยู่อาศัยในพื้นที่โครงการตลอดมาและได้มีชื่ออยู่ในบัญชีรายชื่อดังกล่าวข้างต้นด้วย
                             6.4 เป็นบุคคลที่อยู่อาศัยในครัวเรือนเดียวกันที่หัวหน้าครอบครัวหรือหัวหน้าครัวเรือนได้แจ้งต่อหัวหน้าอุทยานแห่งชาติว่าเป็นผู้สืบสิทธิโดยเรียงลำดับรายชื่อ และในกรณีที่มิได้แจ้งรายชื่อผู้สืบสิทธิไว้หรือได้แจ้งไว้แต่บุคคลดังกล่าวขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม ให้หัวหน้าอุทยานแห่งชาติพิจารณาผู้ที่จะสืบสิทธิต่อไปได้
                             6.5 ต้องถือครองที่ทำกินรวมแล้วไม่เกินสิทธิที่พึงมีของตนตามข้อ 4.1
                   7. กำหนดให้ในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการจัดทำโครงการพร้อมแผนที่แสดงแนวเขตโครงการให้แล้วเสร็จในคราวเดียว ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชจัดทำโครงการโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติม และให้โครงการตามพระราชกฤษฎีกามีกำหนดระยะเวลาตามพระราชกฤษฎีกานี้
__________________
1 ปัจจุบันมีพื้นที่อุทยานแห่งชาติทั่วประเทศ จำนวน 133 แห่ง ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้มีการสำรวจพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์และดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติ จำนวน 126 แห่ง (การเสนอร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้มีการกำหนดโครงการเพียง 7 แห่ง จากทั้งหมด 126 แห่ง โดยส่วนที่เหลือ อยู่ระหว่างการดำเนินการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
 

เศรษฐกิจ-สังคม

5. เรื่อง รายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอรายงานผลการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทาน ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี         (23 มกราคม 2561) ที่ให้ สปน. รายงานความคืบหน้าในการดำเนินโครงการจิตอาสาพระราชทานให้คณะรัฐมนตรีรับทราบทุกเดือน] โดยมีส่วนราชการรายงานผลการดำเนินการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
                   1. กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้รายงานผลการลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทาน (ข้อมูล     ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) โดยมีประชาชนที่ลงทะเบียนเป็นจิตอาสาพระราชทานแล้ว 7,025,671 คน จำแนกเป็น กรุงเทพมหานคร 463,050 คน และส่วนภูมิภาค 6,562,621 คน โดยแบ่งออกเป็น เพศชาย 3,155,624 คน เพศหญิง 3,870,047 คน
                   2. การจัดกิจกรรมจิตอาสาของส่วนราชการต่าง ๆ 16 หน่วยงาน มีผู้เข้าร่วมกิจกรรม รวมทั้งสิ้น 1,028,147 คน ประกอบด้วย จิตอาสาพัฒนา จิตอาสาภัยพิบัติ จิตอาสาเฉพาะกิจ และวิทยากรจิตอาสา 904 สรุปได้ ดังนี้

การดำเนินการ/กิจกรรมส่วนราชการจำนวน
(ครั้ง)
(1) จิตอาสาพัฒนา ได้แก่ 1) การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม เช่น การปรับปรุงภูมิทัศน์และทำความสะอาดศาสนสถาน โรงเรียน ชุมชน สถานที่สาธารณะ 2) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชน 3) การบริจาคโลหิตและหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ 4) มอบทุนการศึกษาสิ่งของให้แก่ผู้ยากไร้ และผู้ป่วยติดเตียง 5) การปลูกต้นไม้และพัฒนาแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลอง การฉีดจุลินทรีย์ ลดปัญหาน้ำเน่าเสีย และกำจัดวัชพืช) และ 6) จัดอบรมหลักสูตรการพัฒนาในด้านต่าง ๆ และบริการคำแนะนำ ให้แก่ประชาชน เช่น การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน และวิชาชีพ ความรู้ด้านการออม และความรู้ด้านเกษตรกระทรวงกลาโหม (กห.) กระทรวงการคลัง (กค.) กระทรวงการพัฒนาสังคม และความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน (พน.) กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) กรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) และ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
 
17,299
(2) จิตอาสาภัยพิบัติ ได้แก่ 1) การช่วยเหลือประชาชน ที่ประสบอุทกภัย วาตภัย และภัยหนาว (มอบถุงยังชีพ บริจาคสิ่งของ เครื่องกันหนาว และทำความสะอาดพื้นที่) และการทำแนวป้องกันไฟป่า และทำฝายกั้นน้ำ เพื่อป้องกันอุทกภัย และ 2) การอบรมการป้องกัน ระงับอัคคีภัย และภัยพิบัติต่าง ๆกห. ทส. มท. วธ. ศธ. สธ. กปส. และ ตช.581
(3) จิตอาสาเฉพาะกิจ ได้แก่ 1) การอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนที่เข้าร่วมรับเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ 2) การจัดเตรียมสถานที่และร่วมพิธีเนื่องในวันสำคัญ และ 3) การบริจาคโลหิต ถวายเป็นพระราชกุศล
 
 กห. พม. ทส. ดศ. มท. ยธ. ศธ. สธ. กปส. และ ตช.
 
336
(4) วิทยากรจิตอาสา 904 ของหน่วยงานภาครัฐ ได้บรรยายความรู้เกี่ยวกับ 1) บทบาท หน้าที่ และกิจกรรมจิตอาสา 2) สถาบันพระมหากษัตริย์กับประเทศไทย และ 3) จิตอาสากับการเปลี่ยนแปลงประเทศ
 
 
กห. พม. ทส. ยธ. วธ. ศธ. สธ. และ ตช.49
รวม18,265

                   3. สปน. ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการในภารกิจของศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ. จอส. พระราชทาน) โดยการลงพื้นที่ และรวบรวมรายงานผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                             3.1 โครงการในภารกิจของ ศอญ. จอส. พระราชทาน ซึ่ง สปน. ได้รายงานผลการดำเนินงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบแล้ว ได้แก่ โครงการที่ได้รับเงินพระราชทานบริจาค ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติภาคใต้ เพื่อสร้างศูนย์พักพิงร่วมใจอุ่นไอรักสำหรับ ผู้ประสบภัยในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดทะเล จำนวน     12 แห่ง ซึ่งดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ จังหวัดนราธิวาส (1 แห่ง) สงขลา (1 แห่ง) ประจวบคีรีขันธ์ (1 แห่ง) ปัตตานี (1 แห่ง) สุราษฎร์ธานี (2 แห่ง) และชุมพร (2 แห่ง)
                             3.2 เข้าร่วมการประชุมติดตามงานประจำสัปดาห์ร่วมกับ ศอญ. จอส. พระราชทาน พร้อมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวม 11 ครั้ง ประกอบด้วย (1) รับทราบสถานการณ์ในภาพรวม เช่น สถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 และการเตรียมความพร้อมและการช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยพิบัติ และ (2) รายงานผลการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศฤดูแล้งในเขตเมือง การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและให้ความช่วยเหลือฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ณ จังหวัดอุบลราชธานี และมหาสารคาม ที่ประสบปัญหาเรื่องบุคลากรปฏิบัติงานการขาดแคลนน้ำ และการประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประชุมติดตามความก้าวหน้าโครงการที่สำคัญ
                             3.3 ลงพื้นที่ติดตามความต่อเนื่องของโครงการจิตอาสาพระราชทาน จำนวน 8 โครงการ ประกอบด้วย (1) โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดลำพูน โดยสามารถเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน ได้ปีละ 306,600 ลูกบาศก์เมตร มีประชาชนได้รับประโยชน์ จำนวน 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านก้อทุ่ง บ้านก้อหนอง บ้านก้อจอก และบ้านก้อท่า รวม 954 ครัวเรือน หรือ 2,425 คน มีแหล่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคอย่างทั่วถึงและเพียงพอ (2) โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ บึงสีไฟ จังหวัดพิจิตร ได้มีการจัดทำแผนแม่บทพัฒนาบึงสีไฟ และพิจารณาแนวทางการจัดทําแก้มลิงรับน้ำ รวมทั้งพัฒนาอุทยานบัวบึงสีไฟและพื้นที่อื่น ๆ     (3) โครงการพัฒนาและฟื้นฟูบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ได้มีการเพิ่มพื้นที่สีเขียวโดยการปลูกต้นไม้ ดอกไม้สี โดยคำนึงถึงการใช้งบประมาณอย่างประหยัดและคุ้มค่า รวมทั้งขอใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง       (4) การติดตามการพัฒนาคลองเปรมประชากรและโครงการบ้านมั่นคง จังหวัดปทุมธานี เช่น สร้างความเข้าใจให้แก่ประชาชนผู้รุกล้ำลำน้ำสาธารณะครบทุกชุมชน และมีครัวเรือนผ่านการรับรองสิทธิโครงการฯ รวม 35 ชุมชน รวมทั้งก่อสร้างบ้าน แล้วเสร็จ 865 ครัวเรือน (5) การพัฒนาคลองโอ่งอ่าง ณ ท่าเรือสะพานโอสถานนท์ได้มีข้อแนะนำ เช่น ควรพิจารณาปรับระดับความสูงของสะพานข้ามคลองให้เหมาะสม และควรดูแลทำความสะอาดคลองอย่างต่อเนื่อง (6) โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ มีการดำเนินการ เช่น จัดทำแนวกันไฟ และการประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ รวมถึงการรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงผลกระทบจากการเผาป่า (7) โครงการพัฒนาและแก้ไขปัญหาคลองแม่ข่า จังหวัดเชียงใหม่ ได้มีการเตรียมความพร้อมการจัดสรรน้ำต้นทุน เพื่อแก้ปัญหาระบบนิเวศในคลอง และให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการแก้ไขปัญหาการบุกรุกคลองแม่ข่า รวมทั้งยังขอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันพัฒนาคลองแม่ข่าในด้านอื่น ๆ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และ (8) โครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัยโรคโควิด-19 จังหวัดมหาสารคาม ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่ได้ศึกษารูปแบบในการทำการเกษตรแบบผสมผสานตามแนวทางของโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริ    ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทำให้ประชาชนมีความรู้มากขึ้นมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีรายได้ที่มั่นคงมากขึ้น รวมทั้งการลงพื้นที่ให้กำลังใจจิตอาสาภาครัฐและจิตอาสาภาคประชาชน             ที่ให้บริการประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ ณ จังหวัดสงขลา พัทลุง ตรัง อุบลราชธานี ยโสธร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ และขอนแก่น
                             3.4 จัดกิจกรรมและสนับสนุนการดำาเนินงานจิตอาสาพัฒนาคุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อมเพื่อความสุขของประชาชน ได้แก่ การบรรยายให้ความรู้และฝึกปฏิบัติการ ช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน มอบถังขยะเปียกลดโลกร้อนให้แก่ชุมชน ศูนย์อาชีวะช่วยประชาชน (Fit it Center) การผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การรณรงค์ความปลอดภัยทางถนนโดยสติ๊กเกอร์สะท้อนแสง มีเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน เข้าร่วมกิจกรรม จํานวน 500 คน
                             3.5 จัดสัมมนาสร้างเครือข่ายจิตอาสาพระราชทาน “การขับเคลื่อนงานจิตอาสา           ภาคประชาชนมุ่งผลสัมฤทธิ์ (ครั้งที่ 2)” เมื่อวันที่ 28-29 มีนาคม 2566 ณ สโมสรตำรวจ มีจิตอาสาภาครัฐ จิตอาสาภาคประชาชน องค์การมหาชน และสื่อสารมวลชน เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 451 คน โดยได้ระดมความคิดเห็นใน             4 ประเด็น ได้แก่ (1) การสร้างเครือข่ายจิตอาสาภาคประชาชนให้มีความเข้มแข้ง ยั่งยืน (2) ปัญหาที่ทำให้สังคมเมืองไม่น่าอยู่และกระบวนการแก้ปัญหาในสังคมเมือง (3) การสร้างค่านิยมที่เหมาะสมต่อการเป็นจิตอาสาและ               (4) ข้อเสนอแนะต่อการดำเนินงานจิตอาสา
 
6. เรื่อง รายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน ปีบัญชี 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่           28 กุมภาพันธ์ 2566
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่ คณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียน (คณะกรรมการฯ) เสนอรายงานผลการเรียกให้ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน       ปีบัญชี 2565 [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (16 สิงหาคม 2565) เห็นชอบให้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน ปีบัญชี 2565 ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินโดยเร็ว และมติคณะรัฐมนตรี (28 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบให้ทุนหมุนเวียนจำนวน 15 ทุน นำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน ปีบัญชี 2565 ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินภายใน 60 วัน] ซึ่งทุนหมุนเวียนได้นำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียนจำนวน 22,838.57 ล้านบาท ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเรียบร้อยแล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท

ทุนหมุนเวียนจำนวนเงิน
ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน ปีบัญชี 2565 ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2565
กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน14,377.57
ทุนหมุนเวียนนำทุนหรือผลกำไรส่วนเกินของทุนหมุนเวียน ปีบัญชี 2565 (ครั้งที่ 2) ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินภายในวันที่ 28 เมษายน 2566 จำนวนทั้งสิ้น 8,460.99 ล้านบาท ประกอบด้วย
1. กองทุนเพื่อผู้ใช้แรงงาน107.38
2. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการส่งเสริมอาชีพอุตสาหกรรมในครอบครัวและหัตถกรรมไทย15.71
3. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตรูปถ่ายทางอากาศ4.24
4. เงินทุนหมุนเวียนอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ17.33
5. กองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน32.75
6. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อจัดทำแผ่นป้ายทะเบียนรถ197.85
7. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อผลิตวัคซีนจำหน่าย595.21
8. เงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐ และการทำของ2,098.74
9. กองทุนช่วยเหลือเยียวยานักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ29.90
10. เงินทุนหมุนเวียนเพื่อการบริหารท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ-กองทัพเรือ174.15
11. กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ4,683.73
12. กองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม200.00
13. กองทุนสิ่งแวดล้อม300.00
14. กองทุนคุ้มครองพันธุ์พืช1.00
15. กองทุนจัดการซากดึกดำบรรพ์3.00

 
7. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ และรายงานผลการดำเนินงานการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ ครั้งที่ 2/2566 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2566
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการประชาสัมพันธ์แห่งชาติ (กปช.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ของโฆษกกระทรวง โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี และผลการดำเนินงานประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อของกรมประชาสัมพันธ์ (กปส.) และรายงานผลการดำเนินงานการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ ครั้งที่ 2/2566 ประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2566 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
                   1. ประเด็นการประชาสัมพันธ์ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2566
                             1.1 ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อออนไลน์ของ กปส. โดยสื่อออนไลน์มีการเผยแพร่ทั้งหมด 195,465 ครั้ง จำนวนการเข้าถึง 42,295,156 ครั้ง จำนวนการกดไลค์ 14,051,605 ครั้ง การแชร์ 2,996,165 ครั้ง และการแสดงความคิดเห็น 735,297 ครั้ง เป็นความคิดเห็นเชิงบวก ร้อยละ 93.34 โดยขอบคุณทุกส่วนราชการที่ไม่นิ่งนอนใจกับปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ส่วนความคิดเห็นเชิงลบ ร้อยละ 6.66 ประชาชนมองว่าเป็นการแก้ปัญหาในระยะสั้น จึงอยากให้มีการแก้ปัญหาที่สาเหตุของการเกิดฝุ่น ทั้งการเผาในพื้นที่เกษตร การปล่อยไอเสียของรถควันดำ และการปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม
                             1.2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวของไทย มีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อออนไลน์ของ กปส. โดยเผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ทั้งหมด 32,712 ครั้ง จำนวนการเข้าถึง 10,724,845 ครั้ง จำนวนการกดไลค์ 1,005,094 ครั้ง การแชร์ 138,974 ครั้ง และการแสดงความคิดเห็น 15,720 ครั้ง เป็นความคิดเห็นเชิงบวก ร้อยละ 98.25 ชื่นชมการเตรียมความพร้อมเปิดรับนักท่องเที่ยวของไทย และการขยายโครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 5 ซึ่งเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวภายในประเทศ ส่วนความคิดเห็นเชิงลบ ร้อยละ 1.75 ประชาชนมีความหวาดระแวงว่า การเปิดประเทศให้กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นประเทศที่มียอดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) สูง อาจทำให้การติดเชื้อภายในประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นด้วย
                   2. ประเด็นการประชาสัมพันธ์ในเดือนเมษายน 2566 ได้แก่ การเลือกตั้ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ปี 2566 และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร
                   3. ประเด็นสำคัญที่ทันสถานการณ์ โดย กปส. ได้รวบรวมและประมวลผลการดำเนินงานของส่วนราชการประจำเดือนมกราคม-มีนาคม 2556 มีประเด็นที่ต้องชี้แจงต่อประชาชน จำนวน 18 ประเด็นแบ่งเป็นประเด็นที่ผ่านหลักเกณฑ์การประเมินคะแนน จำนวน 16 ประเด็น เช่น ประเด็นข้อกังวลผักไทยราคาตก หลังสาธารณรัฐประชาชนจีนเปิดประเทศ (กระทรวงพาณิชย์) ประเด็นปัญหามิจฉาชีพหลอกลวงประชาชน (สำนักนายกรัฐมนตรี) และประเด็นข้อกังวลการเปิดธุรกิจการค้าปลีกค้าส่งของกลุ่มทุนจีน “โครงการซามาเนีย พลาซ่า” (กระทรวงพาณิชย์) ส่วนประเด็นที่ไม่ผ่านหลักเกณฑ์การประเมินมี 2 ประเด็น เนื่องจากไม่ตอบรับการชี้แจง ได้แก่ ประเด็นปัญหาราคาผักเมืองหนาวตกต่ำ ผลกระทบจากการนำเข้าผักจากประเทศจีน (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์) และประเด็นปัญหาการลักลอบนำเข้าหมูจากต่างประเทศ ทำให้สถานการณ์ราคาหมูหน้าฟาร์มตกต่ำ (กระทรวงการคลัง) โดยหลักเกณฑ์การประเมินคะแนน เป็นไปตามที่คณะทำงานการชี้แจงประเด็นสำคัญที่ทันต่อสถานการณ์ได้ชี้แจงต่อหน่วยงานราชการในการประชุมเชิงปฏิบัติการชี้แจงการดำเนินงานตามแนวทางการสร้างความรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน    (ID IA IR Chat) ประจำปี 2565  “สื่อสารงานรัฐ ชัดด้วย ID IA IR” เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 โดยแบ่งเป็น (1) ทันต่อสถานการณ์ 30 คะแนน (2) คุณภาพเนื้อหา 40 คะแนน (3) วิธีการชี้แจง 10 คะแนน และ (4) ช่องทางการเผยแพร่ 20 คะแนน รวมทั้งสิ้น 100 คะแนน
 
8. เรื่อง ขอรับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงพลังงาน)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้กระทรวงพลังงาน (พน.) โดยกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในกรอบวงเงิน 116,074,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการยกระดับความช่วยเหลือส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม สำหรับผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ จำนวน 5,803,700 คน ระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566) โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุน ประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป และสำนักงบประมาณจะเสนอให้คณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการอนุมัติเงินจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น โดยสอดคล้องกับแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   พน. รายงานว่า
                   1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในหลักการของการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐประจำปี 2565 (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565) ซึ่งคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม [มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ) เป็นประธาน] ได้จัดสรรประชารัฐสวัสดิการใหม่ โดยกำหนดวงเงินค่าซื้อก๊าซหุงต้มจากร้านค้าตามที่ พน. กำหนด จำนวน 80 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566) ซึ่งต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้เพิ่มส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุมต้มอีก 20 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน รวมทั้งสิ้น 100 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ในช่วงเดือนเมษายน 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 (มติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 มีนาคม 2566) เพื่อบรรเทาผลกระทบจากราคาก๊าซหุงต้มที่อยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่องและลดภาระค่าครองชีพสำหรับกลุ่มผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ
                   2. ดังนั้น พน. จึงขอเสนอพิจารณาอนุมัติงบกลางฯ ปี 2566 จำนวนเงินรวมทั้งสิ้น 116.07 ล้านบาท1 โดยกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ดำเนินการแทน ธพ. ผ่านวิธีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณแทนกันและกรมบัญชีกลางจะดำเนินการเบิกจ่ายส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มจำนวน 100 บาทต่อคนต่อ 3 เดือน ให้กับร้านค้าก๊าซหุงต้มที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปใช้สิทธิในช่วงเดือนเมษายน 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2566 โดยแบ่งการเบิกจ่ายส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวน 80 บาท ให้เบิกจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการฯ และส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มอีกจำนวน 20 บาท ให้เบิกจากงบกลางฯ ปี 2566 (ข้อเสนอในครั้งนี้) โดยเมื่อสิ้นสุดโครงการแล้วให้กรมบัญชีกลางส่งเงินงบประมาณส่วนที่เหลือคืน ธพ. ทั้งนี้ กรณีโอนเงินไม่สำเร็จ ให้ดำเนินการติดตามเพื่อโอนเงินให้แก่ร้านค้าก๊าซหุงต้ม จนถึงวันที่          31 สิงหาคม 2566
                   3. สำนักงบประมาณ (สงป.) ได้นำเรื่องดังกล่าวกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว           ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ พน. โดย ธพ. ใช้จ่ายงบกลางฯ ปี 2566 ภายในกรอบวงเงิน 116.07 ล้านบาท       เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการฯ จำนวน 5.8 ล้านราย ระยะเวลา 3 เดือน (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2566) โดยเบิกจ่ายในงบเงินอุดหนุนประเภทเงินอุดหนุนทั่วไป และขอให้ พน. โดย ธพ. ดำเนินการนำเรื่องดังกล่าวเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรีตามนัยระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่าย งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น พ.ศ. 2562 ข้อ 9 (3) เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติแล้ว สงป. จะเสนอคณะกรรมการการเลือกตั้งพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนอนุมัติจัดสรรงบประมาณดังกล่าวต่อไป
_________________
1 คำนวณจากผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐที่สามารถใช้สิทธิส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม จำนวน 5,803,700 ราย รายละ 20 บาท         รวมทั้งสิ้น 116,074,000 บาท ซึ่งเป็นการดำเนินการที่ต่อเนื่องตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ที่เห็นชอบในหลักการโครงการฯ
 
9. เรื่อง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (27 กันยายน 2565) เรื่อง การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา (Solar Rooftop) ระบบหักลบหน่วยไฟฟ้าตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ และให้กระทรวงมหาดไทย กระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   พน. รายงานว่า การส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนดำเนินการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในครัวเรือนเป็นหลักและส่งไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าระบบเพื่อหักลบจากหน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ไฟฟ้าในเดือนถัดไปยังไม่สามารถปฏิบัติได้เนื่องด้วยเหตุผล ดังนี้
                   1. ด้านระเบียบและข้อกฎหมาย การส่งไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการใช้เข้าระบบเพื่อหักลบจากหน่วยไฟฟ้าที่ประชาชนใช้ในเดือนถัดไป เป็นการทำธุรกรรมซื้อขายไฟฟ้าระหว่างประชาชนและการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายและเกิดภาระภาษีมูลค่าเพิ่มทั้งธุรกรรมการซื้อและการขายโดยการดำเนินธุรกรรมดังกล่าวยังไม่มีระเบียบและข้อกฎหมายรองรับวิธีการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มจากผลต่างของแต่ละธุรกรรมที่เกิดขึ้น หากจะคำนวณภาษีของการดำเนินธุรกรรมดังกล่าวจำเป็นต้องขอยกเว้นมูลค่าฐานภาษี ซึ่งเป็นอำนาจพิจารณาของอธิบดีกรมสรรพากร
                   2. ด้านเทคนิคและวิธีการที่เกี่ยวข้อง การผลิตไฟฟ้าไหลย้อนกลับเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าจะส่งผลกระทบทำให้แรงดันไฟฟ้าในระบบไม่สมดุล เนื่องจากไฟฟ้าที่ผลิตจากแสงอาทิตย์มีความผันผวนและไม่แน่นอน ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าในระบบเสียหาย ประสิทธิภาพและอายุการใช้งานลดลง ทั้งนี้ หากมีการผลิตไฟฟ้าไหลย้อนเข้าสู่ระบบโครงข่ายเป็นจำนวนมากจะทำให้ต้องเปลี่ยนขนาดและพิกัดของอุปกรณ์ป้องกันในระบบไฟฟ้าใหม่เพื่อรองรับการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น รวมถึงต้องมีระบบควบคุมและบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพไฟฟ้าและความมั่งคงของระบบไฟฟ้าในภาพรวม นอกจากนี้ ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้ง Solar Rooftop     ยังต้องเปลี่ยนอุปกรณ์มิเตอร์เป็นแบบดิจิทัลมิเตอร์เพื่อให้สามารถตรวจสอบคุณภาพไฟฟ้าและปริมาณไฟฟ้าที่ไหลย้อนกลับเข้ามาในระบบไฟฟ้าได้ ซึ่งจะมีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า
                   3. ด้านผลกระทบต่อประเทศและประชาชนโดยรวม
                             3.1 ต้นทุนของหน่วยไฟฟ้าที่การไฟฟ้า1 จำหน่ายจะแปรผันไปตามต้นทุนค่าเชื้อเพลิงของแต่ละช่วงเวลา หากมีการนำปริมาณไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบไปหักลบกับเดือนถัดไปจะส่งผลให้มีส่วนต่างราคาหน่วยจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบ (ซึ่งแต่ละเดือนต้นทุนของหน่วยไฟฟ้ามีความแตกต่างกัน) รวมถึงการเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่ใช้ในการซื้อขายด้วย
                             3.2 วิธีการนำปริมาณไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบหักลบหน่วยไฟฟ้าหมายถึงการที่ผู้ผลิตไฟฟ้าขายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าในราคาที่เท่ากับราคาขายปลีกไฟฟ้าต่อหน่วยและรวมกับค่าไฟฟ้าผันแปร2 (ค่า Ft)        และภาษีมูลค่าเพิ่ม (ปัจจุบันมีราคาประมาณ 4.72 บาทต่อหน่วย) ซึ่งเป็นราคารับซื้อที่สูงมากกว่าการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโซลาร์ภาคประชาชน (ปัจจุบันรับซื้อในราคา 2.20 บาทต่อหน่วย) ส่งผลให้ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมทั้งประเทศต้องรับภาระต้นทุนจากการรับซื้อไฟฟ้าราคาสูงเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีรายได้น้อยหรือบ้านอยู่อาศัยที่ไม่สามารถติดตั้ง Solar Rooftop เนื่องจากต้นทุนส่วนเพิ่มจากการรับซื้อไฟฟ้าจาก Solar Rooftop จะถูกกระจายกลับไปสู่ค่า Ft3
                             3.3 ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าในปัจจุบันมีความมั่นคงสูงเนื่องจากการไฟฟ้าเป็นผู้ลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานและลงทุนระบบส่งจำหน่ายไฟฟ้า รวมถึงรับผิดชอบต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า ซึ่งต่างจากพลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากระบบ Solar Rooftop ที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน และไม่มีค่าใช้จ่ายในการเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า จึงทำให้อัตราค่าไฟฟ้ามีต้นทุนและความมั่นคงไม่เท่ากัน ทั้งนี้        ในอนาคตอาจต้องพิจารณาเรื่องการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าของการผลิตไฟฟ้าของกลุ่มผู้ผลิตโดยผู้บริโภค (Prosumer) ให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมในประเทศ
                   ทั้งนี้ การปรับเปลี่ยนเป็นนโยบายดังกล่าวต้องคำนึงถึงผลกระทบรอบด้าน ดังนั้น เพื่อให้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนดำเนินต่อไปได้โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประเทศและไม่ให้เป็นภาระแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าโดยรวมเพิ่มมากขึ้น จึงเห็นควรให้มีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่ติดตั้งบนหลังคาสำหรับภาคประชาชนประเภทบ้านอยู่อาศัย (โดยนำเงินค่าไฟฟ้าที่แต่ละครัวเรือนผลิตได้ในอัตรา 2.20 บาท/หน่วย หักลบกับเงินที่ประชาชนซื้อกระแสไฟฟ้าจากการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย4) และหากในอนาคตมีการติดตั้ง Solar Rooftop เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้เองภายในครัวเรือนเพิ่มมากขึ้น ควรปรับโครงสร้างค่าไฟฟ้าให้สะท้อนต้นทุนแฝง5 ที่เกิดขึ้นด้วย
________________
1 การไฟฟ้า หมายถึง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กฟน. และ กฟภ.
2 ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) หมายถึง ค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติที่สะท้อนการเปลี่ยนแปลงต้นทุนที่อยู่ในค่าไฟฟ้าฐานซึ่งการไฟฟ้าไม่สามารถควบคุมได้ ประกอบด้วย (1) ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และ     (2) ค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตเอกชนและประเทศเพื่อนบ้าน
3 จากการประสานกับ พน. พบว่า ในกรณีหากใช้วิธีการหักลบหน่วยไฟฟ้า จะทำให้การไฟฟ้ามีต้นทุนค่าซื้อไฟฟ้าสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลทำให้ค่า Ft ปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้า
4 ข้อมูลจากการประสานกับ พน.
5 เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม
 
10. เรื่อง แนวทางการจัดทำและการกำหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบแนวทางการจัดทำและการกำหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม และข้อกำหนดจริยธรรมของหน่วยงานของรัฐ (มาตรฐานทางจริยธรรมฯ) ที่ได้แจ้งเวียนให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม1 และหน่วยงานของรัฐนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติตามมติคณะกรรมการมาตรฐานทางจริยธรรม (ก.ม.จ.) ในการประชุม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า
                   1. โดยที่พระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 มาตรา 20 บัญญัติให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลแต่ละประเภทและองค์กรตามมาตรา 6 วรรคสอง2 มีหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินกระบวนการรักษาจริยธรรมและการประเมินผลการปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม รวมทั้งให้มีหน้าที่และอำนาจจัดหลักสูตรการฝึกอบรม การเผยแพร่ความเข้าใจ ตลอดจนการกำหนดมาตรการจูงใจเพื่อพัฒนาและส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ มีพฤติกรรมทางจริยธรรมเป็นแบบอย่างที่ดี และมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมหรือไม่ปฏิบัติตามประมวลจริยธรรม โดยอาจกำหนดมาตรการเพื่อใช้ในการบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น
                   2. ก.ม.จ. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี      (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน มีมติเห็นชอบกับหลักการของการจัดทำ (ร่าง) แนวทางการจัดทำและการกำหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ และให้สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.ม.จ. แจ้งให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม และหน่วยงานของรัฐนำไปใช้ในการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม และให้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบต่อไป โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             2.1 ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนดกระบวนการพิจารณาและดำเนินการเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับกรณีมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ3 ที่มีหลักฐานเพียงพอจะพิจารณาต่อไปได้ว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ใดฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ
                             2.2 กำหนดให้มีผู้รับผิดชอบ โดยมอบหมายให้มีส่วนงานที่มีหน้าที่และภารกิจด้านจริยธรรม ธรรมาภิบาล หรือที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลหรือคณะกรรมการและกลุ่มงานจริยธรรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบ หรือผู้ที่อาจได้รับมอบหมายเพื่อพิจารณาและดำเนินการเรื่องร้องเรียน และรายงานต่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับเรื่อง เว้นแต่เป็นกรณีที่หัวหน้าหน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ให้รายงานต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้น และให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐหรือผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นพิจารณาและมีข้อสั่งการเรื่องร้องเรียนนั้นภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับรายงาน โดยต้องแจ้งผลหรือตอบกลับให้ผู้ร้องทราบโดยเร็ว
                             2.3 การดำเนินการกรณีมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ที่เป็นการกระทำผิดวินัยหรือกระทำผิดตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายอื่น4 ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมพิจารณาดำเนินการควบคู่ไปกับการดำเนินการทางวินัยหรือการดำเนินการตามกฎหมายแพ่ง อาญา หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้องด้วยได้
                             2.4 ให้หัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้น แล้วแต่กรณี สั่งลงโทษทางจริยธรรม โดยว่ากล่าวตักเตือนหรือสั่งให้ดำเนินการตามกระบวนการบริหารงานบุคคลของหน่วยงาน รวมถึงให้มีการบันทึกพฤติกรรมการฝ่าฝืนจริยธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐและพฤติกรรมที่ได้รับการยกย่อง ชมเชย ไว้ในประวัติบุคคล5 และนำไปใช้ในกระบวนการบริหารงานบุคคลในขั้นตอนต่าง ๆ เช่น           การแต่งตั้ง ย้าย โอน และเลื่อนตำแหน่ง
                             2.5 ให้หน่วยงานของรัฐรายงานผลการดำเนินการกรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ต่อองค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมที่กำกับดูแล และให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมรายงานการดำเนินการในภาพรวมต่อ ก.ม.จ. ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ม.จ. กำหนด รวมถึงให้เปิดเผยรายงานผลการดำเนินการดังกล่าวต่อสาธารณะ
                             2.6 ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนดมาตรการการคุ้มครองผู้ร้องและการกันเป็นพยานมิให้ถูกกลั่นแกล้งหรือถูกข่มขู่จากผู้ถูกร้องเรียนหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ตามสมควรแก่กรณี และในกรณีที่ไม่อาจให้ความคุ้มครอง หรือไม่มีมาตรการอันเหมาะสม อาจประสานกับหน่วยงานที่มีหน้าที่และอำนาจตามกฎหมายเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองเพื่อพิจารณาดำเนินการ รวมทั้งให้กำหนดแนวทางหรือมาตรการเกี่ยวกับการพิจารณาให้รางวัลหรือบำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษแก่ผู้ร้องอันเป็นประโยชน์และเป็นผลดียิ่งต่อราชการ
                             2.7 กรณีหัวหน้าหน่วยงานของรัฐถูกกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมทางจริยธรรมที่ไม่เหมาะสม หรือกระทำการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ โดยหัวหน้าหน่วยงานของรัฐดังกล่าวไม่อาจใช้อำนาจในการออกคำสั่งแต่งตั้ง โยกย้ายเลื่อนเงินเดือน และแต่งตั้งคณะกรรมการสืบสวนข้อเท็จจริงหรือคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยหรือดำเนินการใดที่จะเป็นผลร้ายหรือกระทบต่อสิทธิหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ให้ข้อมูลหรือแจ้งเบาะแส หรือให้ถ้อยคำในฐานะพยาน
                             2.8 ห้ามมิให้มีการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล หรือข้อมูลอื่นใดที่ได้มาเนื่องจากการปฏิบัติตามมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ เว้นแต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามหน้าที่และอำนาจหรือกฎหมายหรือตามมติ ก.ม.จ.
                             2.9 กรณีที่ไม่ได้มีการดำเนินการตามมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมแจ้งหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ หรือผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของหัวหน้าหน่วยงานของรัฐนั้นแล้วแต่กรณี พิจารณาและดำเนินการให้ถูกต้องต่อไป
                   3. สำนักงาน ก.พ. รายงานว่า หากมีการกำหนดกระบวนการพิจารณากรณีมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ แล้ว ให้องค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนดกระบวนการพิจารณากรณีมีการฝ่าฝืนฯ เพิ่มเติมให้สอดคล้องกับแนวทางการจัดทำและการกำหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ตามที่ ก.ม.จ. กำหนด ทั้งนี้ หากไม่ได้กำหนดกระบวนการพิจารณากรณีมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ให้หน่วยงานของรัฐที่อยู่ในกำกับขององค์กรกลางบริหารงานบุคคลและองค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมกำหนดกระบวนการพิจารณากรณีมีการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ
                   4. สำนักงาน ก.พ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการ ก.ม.จ. ได้มีหนังสือแจ้งเวียนองค์กรกลางบริหารงานบุคคล องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรมและหน่วยงานของรัฐแล้ว [หนังสือ ก.ม.จ. ที่ นร (กมจ) 1019/ว 7 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางการจัดทำและการกำหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ] เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการกำหนดมาตรการที่ใช้บังคับแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีพฤติกรรมที่เป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมฯ ให้มีความสอดคล้องกับประมวลจริยธรรมและกระบวนการรักษาจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐแต่ละประเภท
_______________
1 องค์กรที่มีหน้าที่จัดทำประมวลจริยธรรม หมายความว่า องค์กรกลางบริหารงานบุคคล คณะรัฐมนตรี สภากลาโหม สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการพัฒนาและส่งเสริมองค์การมหาชน (กพม.) และองค์กรที่ ก.ม.จ. วินิจฉัยว่าเป็นผู้จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐ
2 องค์กรตามมาตรา 6 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติมาตรฐานทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ได้แก่ (1) คณะรัฐมนตรีจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับข้าราชการการเมือง (2) สภากลาโหมจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับข้าราชการทหารและข้าราชการพลเรือนกลาโหม (3) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจจัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารและพนักงานรัฐวิสาหกิจ และ (4) กพม. จัดทำประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ และผู้ปฏิบัติงานขององค์การมหาชน
3 อย่างน้อยต้องหมายความรวมถึงการไม่ปฏิบัติตนตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติมาตรการทางจริยธรรม พ.ศ. 2562 ที่บัญญัติให้มาตรฐานทางจริยธรรม คือ หลักเกณฑ์การประพฤติปฏิบัติอย่างมีคุณธรรมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เช่น ยึดมั่นในสถาบันหลักของประเทศ อันได้แก่ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่
กฎหมายอื่น เช่น ประมวลกฎหมายอาญาและประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
5 สำนักงาน ก.พ. แจ้งว่า การบันทึกพฤติกรรมการฝ่าฝืนมาตรฐานทางจริยธรรมให้ดำเนินการตามกระบวนบริหารงานบุคคลตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการประเภทนั้น เช่น แบบบันทึกประวัติบุคคลของข้าราชการพลเรือนสามัญ (ก.พ. 7)
 
11. เรื่อง รายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ           พ.ศ. 2565
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอรายงานสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ พ.ศ. 2565 [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ. 2558 มาตรา 9 (7) ที่บัญญัติให้คณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติเสนอรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง] ซึ่งคณะกรรมการฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เห็นชอบรายงานฯ และมอบหมายให้ ทส. นำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. สถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่ง
                             1.1 สถานภาพทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง

ทรัพยากรสถานภาพ
ปะการังแนวปะการังทั่วประเทศ จำนวน 149,182 ไร่ ส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพสมบูรณ์ดี ร้อยละ 53 สมบูรณ์ปานกลาง ร้อยละ 22 และเสียหาย ร้อยละ 25 โดยมีแนวโน้มดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับปี 2563-2564
สถานการณ์ปะการังฟอกขาวมีความรุนแรงในระดับต่ำ พบมีการฟอกขาวในบางพื้นที่เท่านั้น
หญ้าทะเลมีรายงานพบหญ้าทะเลเนื้อที่รวม 103,580 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 64 ของพื้นที่ศักยภาพเป็นหญ้าทะเลของประเทศ (160,628 ไร่) โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากปี 2564 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ที่มีจำนวน 99,325 ไร่) ส่วนใหญ่มีสถานภาพสมบูรณ์ปานกลางร้อยละ 36 สมบูรณ์เล็กน้อย ร้อยละ 35 และสมบูรณ์ดี ร้อยละ 25
สัตว์ทะเลหายาก:
เต่าทะเล พะยูน
โลมาและวาฬ
และปลากระดูกอ่อน
- จากการสำรวจพบว่า กลุ่มสัตว์ทะเลหายากมีสถานภาพดีขึ้น โดยเต่าทะเลพบการขึ้นวางไข่ จำนวน 604 รัง พบพะยูน จำนวน 273 ตัว ซึ่งจากการสำรวจ แม้ว่าประชากรพะยูนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นกว่าในอดีตแต่ยังพบการเกยตื้นและตายทุกปี ในส่วนของโลมาและวาฬ จำนวน 2,310 ตัว พบโลมาหัวบาตรหลังเรียบมากที่สุด ร้อยละ 30.5 รองลงมาเป็นโลมาอิรวดี ร้อยละ 29.4 และโลมาหลังโหนก ร้อยละ 26.7 นอกจากนี้ กลุ่มปลากระดูกอ่อนที่พบเห็นและจำแนกอัตลักษณ์ได้ ประกอบด้วย ปลาฉลามวาฬ จำนวน 40 ตัว ปลากระเบนแมนต้า จำนวน 10 ตัว
สถิติการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายาก ในปี 2565 พบ 659 ครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่มาจากป่วยตายหรือการติดเครื่องมือประมง โดยในอนาคตคาดว่าแต่ละปีอาจมีการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากเพิ่มมากขึ้นเพราะความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม รวมทั้งความเสี่ยงที่เกิดจากธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์

                             1.2 สถานภาพทรัพยากรป่าชายเลน ป่าชายหาด และป่าพรุ3

ทรัพยากรสถานภาพ
ป่าชายเลนจากข้อมูลการแปลภาพถ่ายดาวเทียมด้วยความละเอียดสูง ในปี 2563 พบว่า มีพื้นที่ป่าชายเลนคงสภาพ จำนวน 1.73 ล้านไร่ พบมากที่สุดบริเวณชายฝั่งอันดามันตอนล่าง (712,561.22 ไร่) รองลงมา คือ ชายฝั่งอันดามันตอนบน (460,180.47 ไร่) และภาคตะวันออก (222,461 ไร่) โดยพบพันธุ์ไม้เด่น เช่น โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ ตะบูนขาว และตะบูนดำ อีกทั้งป่าชายเลนบริเวณฝั่งอันดามันยังมีปริมาณดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์เฉลี่ย 52.76 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อไร่
ป่าชายหาดมีพื้นที่ป่าชายหาด จำนวน 47,149.30 ไร่ (จากข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี 2563) กระจายอยู่ในพื้นที่ 18 จังหวัดชายฝั่งทะเล โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าชายหาดมากที่สุด คือ จังหวัดพังงา (23,483.52 ไร่) รองลงมา คือ จังหวัดกระบี่ (4,406.97 ไร่) ทั้งนี้ ป่าชายหาดในประเทศไทยส่วนใหญ่ถูกทำลายจนเหลือเป็นผืนเล็กผืนน้อย เนื่องจากยังไม่ได้รับการอนุรักษ์และมีการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงท่องเที่ยว
ป่าพรุมีพื้นที่ป่าพรุ จำนวน 37,139.56 ไร่ (จากข้อมูลสภาพพื้นที่ป่าไม้ ปี 2563) กระจายอยู่ในพื้นที่ 12 จังหวัดชายฝั่งทะเล โดยจังหวัดที่มีพื้นที่ป่าพรุมากที่สุด คือ จังหวัดสงขลา (12,814.98 ไร่) รองลงมา คือ จังหวัดนราธิวาส (8,650.15 ไร่)

                             1.3 สถานภาพด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล

สิ่งแวดล้อมสถานภาพ
คุณภาพน้ำทะเลคุณภาพน้ำทะเลส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดีมาก ร้อยละ 7 เกณฑ์ดี ร้อยละ 57 เกณฑ์พอใช้ ร้อยละ 30 และเกณฑ์เสื่อมโทรม ร้อยละ 6 ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2564 คุณภาพน้ำทะเลมีสถานะเสื่อมโทรมลงเล็กน้อย โดยมีสาเหตุ เช่น น้ำทิ้งจากชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม และการเกิดน้ำมันรั่วไหล
น้ำทะเลเปลี่ยนสี4
และการสะพรั่งของสาหร่าย
พบปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีจากการสะพรั่งของแพลงก์ตอนพืชจำนวน 43 ครั้ง โดยความถี่ของการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีสูงขึ้น จากปี 2564 และเกิดขึ้นในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันตกเพิ่มขึ้น (สูงสุด คือ จังหวัดสมุทรสาคร) จากเดิมที่พบสูงสุดในพื้นที่อ่าวไทยฝั่งตะวันออก (จังหวัดชลบุรี) ทั้งนี้ ในการแก้ไขปัญหาควรกำหนดมาตรการควบคุมแหล่งมลพิษและการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ประกอบกับการบูรณาการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดการคุณภาพน้ำ ตลอดจนการสร้างความรู้ จิตสำนึก และการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเสียชุมชน
น้ำมันรั่วไหล
และก้อนน้ำมันดิน5
เกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลและก้อนน้ำมันดิน รวม 22 ครั้ง (น้ำมันรั่วไหล จำนวน 9 ครั้ง และพบก้อนน้ำมันดิน จำนวน 13 ครั้ง) โดยจากการติดตาม ตรวจสอบ และเฝ้าระวังสถานภาพของน้ำมันรั่วไหลในช่วงที่ผ่านมา พบว่า จังหวัดระยองและชลบุรีเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงของการเกิดน้ำมันรั่วไหลในทะเล เนื่องจากมีกิจกรรมชายฝั่งหลากหลายประเภท เช่น เรือขนส่งสินค้า เรือประมง เรือท่องเที่ยว อีกทั้งชายฝั่งจังหวัดระยองเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง ซึ่งบางแห่งมีโรงกลั่นน้ำมันและมีการเดินเรือเข้าออกเพื่อขนส่งน้ำมัน จึงมีความเสี่ยงสูงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินเรือและน้ำมันรั่วไหลสู่ทะเล รวมทั้งการลักลอบถ่ายเทน้ำมันหรือของเสียที่เกิดจากการชะล้างลงสู่ทะเล
แมงกะพรุนพิษพบว่ามีประชาชนได้รับบาดเจ็บรุนแรงและเสียชีวิตจากแมงกะพรุนกล่องระหว่างปี 2542-2564 รวม 46 ราย (ผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 10 ราย และบาดเจ็บรุนแรง จำนวน 36 ราย) ทั้งนี้ ในปี 2565 ยังไม่พบรายงานผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บรุนแรงจากแมงกะพรุนชนิดใด
ขยะทะเลสามารถจัดเก็บขยะที่ตกค้างออกจากระบบนิเวศชายฝั่ง รวม 506,681.14 กิโลกรัม (ประมาณ 507 ตัน) ขยะที่พบส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก ได้แก่ ขวดเครื่องดื่มพลาสติก ถุงก๊อปแก๊ป เศษโฟม ทั้งนี้ จากการศึกษาผลกระทบจากขยะทะเลต่อสัตว์ทะเลหายาก พบรวมทั้งสิ้น 168 ตัว จากจำนวนสัตว์เกยตื้น 659 ตัว (ได้รับผลกระทบจากการกินขยะทะเล 97 ตัว ขยะทะเลพันรัดภายนอก 53 ตัว และที่ได้รับผลกระทบจากทั้งการกินและการพันรัด 18 ตัว) ซึ่งขยะทะเลที่ส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลหายากมากที่สุด ได้แก่ เศษอวน เศษเชือก และพลาสติกอ่อน

                             1.4 สถานการณ์ด้านการกัดเซาะชายฝั่ง  จากการวิเคราะห์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งทะเลพบว่า ปี 2564 ประเทศไทยมีความยาวชายฝั่งทะเล 3,151.13 กิโลเมตร มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่ประสบปัญหาถูกกัดเซาะระยะทาง 823.06 กิโลเมตร โดยพื้นที่ที่มีการดำเนินการแก้ไขแล้ว 753.32 กิโลเมตร (แก้ไขปัญหาโดยการซ่อม สร้าง เสริม เช่น การสร้างเขื่อนหินกั้นคลื่น การติดตั้งรั้วดักทราย การปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น รวมทั้งการจัดทำร่างมาตรการต่าง ๆ เพื่อแก้ไขปัญหา) และพื้นที่ที่ยังไม่ได้ดำเนินการแก้ไข 69.74 กิโลเมตร โดยภาพรวมปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมีระยะทางที่ลดลงจากปี 2563 ทั้งนี้ พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างชัดเจนที่จังหวัดปัตตานี ระยะทางมากกว่า 10 กิโลเมตร ส่วนใหญ่เกิดจากผลกระทบจากกระบวนการทางธรรมชาติ เช่น ในช่วงฤดูมรสุมส่งผลให้คลื่นและลมแรงเกิดการกัดเซาะชายฝั่ง รวมทั้งการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งและพื้นที่ริมทะเล ส่วนจังหวัดที่ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง เช่น จังหวัดชลบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรสาคร สมุทรสงคราม และกรุงเทพมหานคร โดยส่วนใหญ่มีการป้องกันโดยใช้โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะ เช่น การสร้างเขื่อนหินกันคลื่น การปักเสาคอนกรีต ผสมกับการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น
                             1.5 ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่สำคัญ ในปี 2565 ประกอบด้วย 2 พื้นที่ ได้แก่ (1) ทะเลสาบสงขลา เป็นลุ่มน้ำสำคัญซึ่งมีความหลากหลายทางชีวภาพสูงและมีความซับซ้อนเชิงนิเวศ ด้วยลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่เป็นทิวเขาซึ่งเป็นต้นน้ำจึงเป็นแหล่งรับน้ำจากคลองหลายสาย รวมทั้งพบพืชและสัตว์ทั้งกลุ่มที่อาศัยในน้ำเค็ม น้ำกร่อย และน้ำจืด เช่น โลมาอิรวดี (พบประมาณ 14-20 ตัว) ทรัพยากรหญ้าทะเล (พบในพื้นที่จำนวน 86.37 ไร่) และสัตว์น้ำ (ผลการสำรวจในปี 2564 พบสัตว์น้ำ 84 ชนิด ประกอบด้วย กลุ่มปลา 64 ชนิด กลุ่มกุ้ง 13 ชนิด กลุ่มปู 6 ชนิด และกลุ่มกั้ง 1 ชนิด) และ (2) เกาะโลซินจังหวัดปัตตานี มีลักษณะเป็นกองหินใต้ทะเลที่ก่อตัวขึ้นโผล่พ้นน้ำเล็กน้อย ประมาณ 10 เมตร มีความสำคัญด้านความมั่นคงและอาณาเขตทางทะเล ด้านพลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติ เกาะโลซินจึงกลายเป็นจุดอ้างอิงสำคัญในการประกาศน่านน้ำอาณาเขตจากเกาะโลซินออกไป 200 ไมล์ทะเล โดยบริเวณใต้ทะเลของเกาะโลซิน พบว่า เป็นบริเวณที่มีความสมบูรณ์ของปะการังและฝูงปลาชนิดต่าง ๆ เป็นแหล่งหากินของสัตว์ทะเลคุ้มครองและสัตว์ทะเลหายาก เช่น ปลาฉลามวาฬ ปลากระเบนแมนต้า และเต่าตนุ จึงได้รับการประกาศกำหนดให้บริเวณเกาะโลซินเป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อลดภัยคุกคามที่เกิดขึ้นจากการประมง หรือการท่องเที่ยวในอนาคต(เป็นพื้นที่คุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งที่ 2 ต่อจากพื้นที่เกาะกระ จังหวัดนครศรีธรรมราช)
                   2. สถานการณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และการกัดเซาะชายฝั่งของ 24 จังหวัดชายทะเล พบว่า สภานการณ์ที่มีแนวโน้มไปในทิศทางที่ดีขึ้น เช่น การเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของพื้นที่ป่าชายเลนเกือบทุกจังหวัด การขึ้นวางไข่ของเต่าทะเลที่มีจำนวนครั้งมากขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2564 สถานภาพของปะการังมีแนวโน้มสมบูรณ์ดีขึ้นหลายพื้นที่จากการฟื้นตัวตามธรรมชาติและการบริหารจัดการและการควบคุมพื้นที่ ในส่วนของทรัพยากรหญ้าทะเลและคุณภาพน้ำทะเลโดยรวมมีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงคงที่ สำหรับสถานการณ์ที่ต้องให้ความสำคัญ รวมถึงต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข ได้แก่ ปัญหาการเกยตื้นของสัตว์ทะเลหายากยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องทุกพื้นที่ ปัญหาน้ำมันรั่วไหลและก้อนน้ำมันดินที่ยังพบบ่อย ปรากฎการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ปัญหาขยะทะเลที่ยังคงเป็นประเด็นสำคัญ และสถานการณ์ด้านการกัดเซาะชายฝั่งโดยรวมมีพื้นที่ที่ได้รับการแก้ไขปัญหาระยะทางรวมมากขึ้น แต่ยังคงมีบางพื้นที่ที่ต้องได้รับการแก้ไขเร่งด่วน เช่น พื้นที่จังหวัดปัตตานีที่พบการกัดเซาะชายฝั่งมากขึ้นกว่า       10 กิโลเมตร
                   3. สาเหตุความเสื่อมโทรมและผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่ง ในปี 2565 พบสาเหตุที่สำคัญ 2 สาเหตุ คือ (1) สาเหตุจากธรรมชาติ เช่น คลื่น ลมและมรสุมน้ำขึ้นน้ำลง กระแสน้ำ และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และ (2) เกิดจากกิจกรรมการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เช่น ปัญหาขยะทะเล การท่องเที่ยว การพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล การรั่วไหลของน้ำมัน และขยะจากประมงที่ถูกทิ้งลงทะเลโดยตรง ปัญหาจากการทำประมงและเครื่องมือประมงที่ถูกทิ้งลงสู่ทะเล รวมถึงการเปลี่ยนเป็นพื้นที่เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยว การใช้พื้นที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมและการเกษตร และอุตสาหกรรมล้วนก่อให้เกิดผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ทั้งนี้ ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน คือ ปัญหาคุณภาพน้ำที่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำทะเลและการรั่วไหลของน้ำมันที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อระบบนิเวศทางทะเลและคุณภาพชีวิตของมนุษย์
                   4. ผลการดำเนินงานเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในระหว่างปี 2564-2565 เช่น ด้านทรัพยากรทางทะเล ได้ดำเนินการจัดวางวัสดุลงเกาะสำหรับตัวอ่อนปะการัง (Reef Ball) จำนวน 2,777 แท่ง และมีการปลูกปะการังเสริม 22,216 กิ่ง ในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต และพังงา การจัดทำและวางปะการังเทียมเพื่อฟื้นฟูแนวปะการังธรรมชาติ จำนวน 4,663 แท่ง ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดตราด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสตูล ด้านทรัพยากรป่าชายเลนและป่าชายหาด ทวงคืนป่าชายเลนในคดีบุกรุกพื้นที่และคดีตัดไม้ จำนวน       42 คดี ผู้ต้องหา 56 ราย เนื้อที่รวม 2,553.45 ไร่ การดำเนินโครงการป่าในเมือง “สวนป่าประชารัฐเพื่อความสุขของคนไทย” ทั้งหมด 8 โครงการ ในพื้นที่ 7 จังหวัด เนื้อที่ 3,555 ไร่ ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ มีการพัฒนาศูนย์ข้อมูลกลางด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งรายจังหวัด หรือ  Thailand Marine Portal ด้านสิ่งแวดล้อมทางทะเล การเก็บขยะผ่านโครงการต่าง ๆ ในปี 2565 สามารถเก็บขยะได้ 506,681 กิโลกรัม จำนวน 5,972,232 ชิ้น และด้านการกัดเซาะชายฝั่ง เช่น การจัดทำร่างมาตรการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
                   5. พื้นที่สำคัญที่มีประเด็นปัญหาเร่งด่วนในการบริหารจัดการ ได้แก่ (1) พื้นที่อ่าวไทยตอนใน ซึ่งพบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ที่เป็นประเด็นร่วมกันหลายจังหวัดหรือบางจังหวัด เช่น ปัญหาคุณภาพน้ำทะเล ขยะทะเล น้ำมันรั่วไหล การกัดเซาะชายฝั่ง การทำประมงผิดกฎหมาย ความขัดแย้งเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์และการใช้ประโยชน์ที่ดินงอกใหม่ ดังนั้น หน่วยงานต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาอย่างบูรณาการ ทั้งระดับนโยบาย ส่วนกลาง จังหวัด และท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ รวมทั้งการทบทวนกฎหมายร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และ (2) อ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสูงอีกทั้งเป็นพื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและแหล่งทำการประมงสำคัญ โดยเฉพาะการเลี้ยงหอยแครง หอยนางรม และหอยแมลงภู่ ก่อให้เกิดปัญหาสำคัญในพื้นที่จากความขัดแย้งระหว่างชาวประมงพื้นบ้านและผู้ประกอบการเลี้ยงหอยในการบุกรุกแย่งชิงทรัพยากรในเขตพื้นที่ที่ไม่ได้รับอนุญาต รวมทั้งการบุกรุกโดยเอกชนเพื่อครอบครองพื้นที่สาธารณะที่สงวนสิทธิ์ไว้ให้ประมงพื้นบ้าน จึงควรมีการบริหารจัดการแบบบูรณาการด้วยแนวคิดการวางแผนเชิงพื้นที่ทางทะเลในการแบ่งเขตการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรอ่าวบ้านดอนร่วมกันอย่างยั่งยืน รวมทั้งสร้างการรับรู้การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องในกิจกรรมทั้งในระดับนโยบายและระดับพื้นที่
                   6. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย
                             6.1 มาตรการและแผนงานจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ระยะสั้น 1-2 ปี)

ด้านมาตรการและแผนงาน
1. มลพิษทางทะเลและขยะทะเลควรมีการบูรณาการการดำเนินงานในการบริหารจัดการแหล่งกำเนิดมลพิษ ทั้งในส่วนของแหล่งที่มีจุดกำเนิดแน่นอน (Point Source) เช่น โรงงานอุตสาหกรรม โรงแรม รวมถึงแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีจุดกำเนิดไม่แน่นอน (Non-Point Source) ได้แก่ การเกษตร ในส่วนของขยะทะเลควรบูรณาการการบริหารจัดการขยะตั้งแต่แหล่งที่มาหรือแหล่งกำเนิด
2. ด้านพื้นที่คุ้มครองทางทะเลและการวางแผนเชิงพื้นที่ควรเร่งขับเคลื่อนการประกาศพื้นที่คุ้มครองทางทะเล รวมทั้งเร่งดำเนินการวางแผนเชิงพื้นที่ของทะเลไทย
3. ด้านการกัดเซาะชายฝั่งควรเร่งบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทั้งในระดับจังหวัดและระดับพื้นที่
4. ด้านการบริหารจัดการทางทะเลอย่างยั่งยืนโดยกระบวนการมีส่วนร่วมควรเร่งรัดการเพิ่มประสิทธิภาพของกลไกการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
 
 

                             6.2 มาตรการและแผนงานจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ระยะกลาง 3-5 ปี)

ด้านมาตรการและแผนงาน
1. สร้างองค์ความรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทรัพยากรศึกษาวิจัยติดตามการเปลี่ยนแปลง ประเมินผลการฟื้นฟู และจัดทำสื่อร่วมกัน
2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคธุรกิจจัดตั้งเครือข่ายให้ความรู้ ความตระหนัก สนับสนุนกิจกรรม จัดทำข้อตกลงชุมชน
3. การอนุรักษ์และเฝ้าระวังตรวจตราทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนโดยการดำเนินงานด้านการตรวจตรา เฝ้าระวังเชิงพื้นที่ จัดทำแนวเขตวางทุ่นจอดเรือ จัดทำปะการังเทียม ดำเนินคดี และกำหนดขอบเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่
4. การฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งฟื้นฟูแนวปะการัง หญ้าทะเล ป่าชายเลน หาดทราย เนินทรายชายฝั่ง และช่วยเหลือสัตว์ทะเลหายาก
5. ป้องกัน เฝ้าระวัง และส่งเสริมการลดผลกระทบจากแผ่นดินและเกาะ7ใช้กลไกคณะกรรมการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจังหวัดเพื่อให้ความคิดเห็นถึงผลกระทบจากกิจกรรมต่าง ๆ บนแผ่นดินและเกาะในระดับพื้นที่ผ่านทางรายงานและการทำแผนการจัดการพื้นที่
6. ประกาศพื้นที่อนุรักษ์และคุ้มครองทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดตั้งพื้นที่คุ้มครองทางทะเลภายใต้การบริหารจัดการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรมประมง และสำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทั้งทางกฎหมาย ข้อตกลงชุมชน หรือวิธีการอื่นในการอนุรักษ์
7. การปรับปรุง/ออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องจัดทำแนวทางปฏิบัติของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร จัดทำผังเมืองริมทะเลและการจัดการในระบบกลุ่มหาด และการยับยั้งโครงการที่สร้างผลกระทบต่อชายฝั่ง
8. ความร่วมมือระหว่างประเทศสนับสนุนและเข้าร่วมกิจกรรมร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ

_________________
1ปะการังฟอกขาว เป็นปรากฏการณ์ที่เนื้อเยื่อปะการังมีสีซีดหรือจางลงจากการสูญเสียสาหร่ายซูแซนเทลลี (Zooxanthellae) ซึ่งเกิดจากสภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตของสาหร่าย เช่น อุณหภูมิน้ำทะเลสูงเกินไป และความเค็มของน้ำทะเลลดลง
2สัตว์ทะเลหายาก หมายถึง สัตว์ทะเลที่มีสภาวะถูกคุกคามและมีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
3ป่าพรุ คือ ป่าที่มีพื้นที่ลุ่มน้ำขังตลอดทั้งปี มีซากผุพังของต้นไม้และพันธุ์พืชทับถม ทำให้ดินยุบตัวลงได้ง่าย ทั้งนี้ พบได้ในแถบจังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย
4น้ำทะเลเปลี่ยนสี เป็นปรากฏการณ์ที่แพลงก์ตอนพืชเจริญเติบโตและเพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้น้ำทะเลมีสีเปลี่ยนไปตามสีของแพลงก์ตอนพืชที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศทางทะเล เช่น ออกซิเจนและความเข้มของแสงที่ส่องผ่านในน้ำลดลง บางกรณีจำนวนแพลงก์ตอนที่เพิ่มขึ้นสามารถสร้างสารพิษที่อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อสัตว์น้ำและถ่ายทอดผ่านมาถึงมนุษย์ซึ่งเป็นผู้บริโภคลำดับสุดท้าย
5ก้อนน้ำมันดิน คือ การแปรสภาพตามธรรมชาติของน้ำมันหรือคาบน้ำมันที่รั่วไหลลงสู่ทะเลจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การขนถ่ายของเรือบรรทุกน้ำมัน การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องของเรือเดินสมุทร หรือการรั่วไหลโดยธรรมชาติใต้ท้องทะเล เมื่อเวลาผ่านไปคราบน้ำมันที่กระจายตัวอยู่บนผิวน้ำจะเปลี่ยนสภาพเป็นก้อนน้ำมันดิน ซึ่งมีลักษณะเหนียวนุ่ม มีความหนืดสูง เนื่องจากองค์ประกอบส่วนเบาได้ระเหยไปบางส่วน เหลือส่วนหนักที่มีองค์ประกอบคล้ายยางมะตอย
6กฎกระทรวงฯ ได้กำหนดกิจกรรมที่ห้ามดำเนินการ เช่น ห้ามกระทำการที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือผลกระทบต่อทรัพยากรทางทะเล เช่น ปะการังและสัตว์ทะเล ห้ามทอดสมอเรือ และห้ามประกอบการประมง
7ผลกระทบจากแผ่นดินและเกาะ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนแผ่นดินและเกาะ ซึ่งส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมต่อทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เช่น ปัญหาการทิ้งขยะ การปล่อยน้ำทิ้งน้ำเสีย และการรั่วไหลของน้ำมันลงทะเล
12. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 เมษายน 2566)
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 25 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-30 เมษายน 2566) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. นโยบายหลัก 10 ด้าน ประกอบด้วย

นโยบายหลักมาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์1.1) จัดกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เช่น จัดงาน “ใต้ร่มพระบารมี 241 ปี               กรุงรัตนโกสินทร์” เพื่อเทิดพระเกียรติและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และวันคล้ายวันสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ 241 ปี พิธีบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานอุทิศถวายเป็นพระราชกุศลครบรอบ 418 ปี วันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จพระนเรศวรมหาราช 25 เมษายน 2566 และพิธีทำบุญตักบาตรถวายพระราชกุศลและถวายพระพร เนื่องในวันคล้ายวันประสูติสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร 29 เมษายน 2566
1.2) ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดิน 38,992 ไร่ ก่อสร้างแหล่งน้ำ 99 แห่ง ถ่ายทอดความรู้ด้านเทคโนโลยีแก่เกษตรกร 9,885 ราย ส่งเสริมทักษะการผลิตทางการเกษตรที่ปลอดภัยและได้มาตรฐาน 300 ราย ส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรและจัดทำบัญชี รวม 37,092 ราย
1.3) พัฒนาพื้นที่โครงการหลวง เพื่อถ่ายทอดความรู้ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เช่น จัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “Young ทำเกษตร” “เกษตรไทยเท่” “นวัตกรรมทำเอง” “การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชาโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” และ “ฐานเส้นทางเรียนรู้สนองพระราชปณิธาน”
1.4) น้อมนำแนวพระราชดำริของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สร้างความมั่นคงทางอาหาร ปลูกผักสวนครัว รอบ 2 อย่างต่อเนื่อง เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด (ตำบลดงครั่งน้อย อำเภอเกษตรวิสัย) ดำเนินกิจกรรมต้นแบบแห่งความยั่งยืน นำ “ทุนชุมชน” เป็นพื้นฐานการพัฒนาชุมชนแห่งการผลิตข้าวหอมมะลิอินทรีย์ชั้นดีของโลก และเป็นหมู่บ้านต้นแบบที่มีการปลูกผักสวนครัวทุกครัวเรือนสามารถลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้แก่คนในชุมชนและเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนอื่นได้เรียนรู้และขยายผลต่อไป
2) การสร้างความมั่งคงความปลอดภัยของประเทศและความสงบสุขของประเทศ2.1) ดำเนินโครงการขับเคลื่อนกลไกเชิงนโยบายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานไปสู่การปฏิบัติ เช่น จัดทำแผนบูรณาการป้องกันการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน มีสถานประกอบกิจการกลุ่มเสี่ยงและแรงงานได้รับการคุ้มครอง 2,452 แห่ง แรงงาน 79,226 คน และดำเนินโครงการป้องกันปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน ให้ความคุ้มครองคนหางานตามกฎหมายจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน 324,543 คน
2.2) ดำเนินโครงการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว เพื่อควบคุมและตรวจสอบการทำงานของคนต่างด้าวและสถานประกอบการให้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ทั้งนี้ มีแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงาน79,749 คน
2.3) การดำเนินโครงการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ด้านการประมง เช่น ปรับปรุงการออกหนังสือคนประจำเรือสำหรับคนต่างด้าว 50,446 ราย ตรวจเรือประมงและแรงงานภาคประมง 45 ครั้ง ตรวจคุ้มครองแรงงานในเรือประมงทะเลในพื้นที่ 22 จังหวัดชายทะเล มีแรงงานต่างด้าวได้รับอนุญาตทำงานในกิจการประมง 73,701 คน
2.4) ป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานและการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายได้ตรวจสถานประกอบกิจการที่เสี่ยงต่อการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ แรงงานขัดหนี้ และการค้ามนุษย์ด้านแรงงาน 560 แห่ง มีแรงงานกลุ่มเสี่ยงได้รับการดูแลให้ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย 18,621 คน
3) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมจัดงานแสดงมโนราห์ “สืบสานศิลป์ถิ่นโนรา อนุรักษ์มรดกไทย ประจำปี           พ.ศ. 2566” ณ จังหวัดพัทลุง เพื่อเฉลิมพระเกียรติกรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 68 พรรษา          2 เมษายน 2566 และอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านการแสดงมโนราห์อันเป็นมรดกโลก
4) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลกส่งเสริมความร่วมมือระหว่างไทยและมาเลเซีย โดยกระทรวงแรงงานอยู่ระหว่างการปรับปรุงบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจ้างงานแรงงานไทยระหว่างราชอาณาจักรไทยและประเทศมาเลเซีย เพื่อให้เกิดความร่วมมือด้านแรงงานและการจ้างงาน
5) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของคนไทย5.1) พัฒนาภาคเกษตร โดยส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าเกษตร เช่น ถ่ายทอดความรู้ทางเทคโนโลยีด้านการเกษตรให้แก่เกษตรท้องถิ่น 3,800 ราย สนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร (เครื่องคัดทำความสะอาดเมล็ดพันธุ์ข้าว เครื่องสีข้าว และเครื่องบรรจุภัณฑ์สุญญากาศ) แก่กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่ และส่งเสริมและพัฒนาสินค้าเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่นและส่งเสริมให้สินค้าเกษตรขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indication : GI) เช่น พัฒนาฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตร ดำเนินโครงการวิจัยสร้างแปลงต้นแบบแม่พันธุ์และการพัฒนาระบบตรวจรับรองพันธุ์มะพร้าวน้ำหอม GI เพื่อจัดทำคู่มือและฐานข้อมูลรวบรวมด้านพันธุกรรม รวมทั้งสร้างระบบติดตามย้อนกลับการผลิตและจำหน่ายต้นกล้า
5.2) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น พัฒนาทักษะฝีมือแรงงานภาคการท่องเที่ยว 5,654 คน ทำให้แรงงานมีงานทำคิดเป็นร้อยละ 79.90 มีรายได้เฉลี่ย 12,467 บาทต่อคนต่อเดือน และเกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ 599.09 ล้านบาทต่อปี
5.3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม เช่น การถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตข้าวอุดมซีลีเนียม1 แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดนครนายก นครปฐม สุพรรณบุรีและสุราษฎร์ธานี เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลผลิตและเป็นต้นแบบในการสร้างชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน และขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ของเปลือกเมล็ดถั่วเขียวเหลือทิ้งจากภาคการเกษตรมาสกัดสารชีวภาพ Vitexin และ Iso-vitexin2 โดยสารสกัดดังกล่าวที่มีความบริสุทธิ์สูง (มากกว่าร้อยละ 98) มีราคาขาย 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 20 มิลลิกรัม และ 50 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 20 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าเปลือกเมล็ดถั่วเขียวและพัฒนากระบวนการสกัดและทำบริสุทธิ์สามารถช่วยลดต้นทุน (ราคา) ของสาร รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อนักวิจัยในการนำสารสกัดดังกล่าวมาวิจัยและพัฒนาเป็นยารักษาโรคด้วย
5.4) การขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ เช่น ดำเนินการพัฒนาผู้ประกอบการและยกระดับผลิตภัณฑ์ OTOP ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยใช้กลไก “คูปองวิทย์เพื่อโอทอป” รวมทั้งเพิ่มศักยภาพการผลิตและเศรษฐกิจชุมชน ภายใต้ 4 แพลตฟอร์ม3
6) การพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจและการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคดำเนินโครงการเพิ่มผลิตภาพการเกษตรบนฐานทรัพยากรดินในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดยใช้เทคโนโลยีวิทยาการข้อมูลมาช่วยในการกำหนดเขตการใช้ที่ดิน รวมทั้งปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรดินในพื้นที่ EEC ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำแปลงสาธิตและปรับปรุงฐานข้อมูลทรัพยากรดินเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการเพิ่มผลิตภาพการเกษตรและการพัฒนาตามแผนพัฒนาการเกษตรในพื้นที่ EEC
7) การพัฒนาสร้างความเข้มแข็งของรากฐาน7.1) ส่งเสริมการพัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับสินค้าเกษตร เชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าวคุณภาพดีตามมาตรฐาน GAP (Good Agriculture Practices) ครบวงจร และตลาดข้าวสารคุณภาพ อ.ต.ก. สามารถระบายผลผลิตข้าว 4 ครั้ง รวม 18.76 ตัน มูลค่า 0.67 ล้านบาท และส่งเสริมตลาดผู้บริโภคผลไม้ไทย 38.32 ตัน มูลค่า 2.73 ล้านบาท
7.2) พัฒนาผลิตภัณฑ์และการให้บริการชุมชน เช่น พัฒนาศักยภาพกลุ่มส่งเสริมอาชีพแก่เกษตรกรสู่ Smart Group จำนวน 566 กลุ่ม และพัฒนาความเข้มแข็งกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกหม่อนเลี้ยงไหม 32 กลุ่ม
7.3) ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน ได้พัฒนาศักยภาพสมาชิกวิสาหกิจชุมชนด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว มาตรฐานท่องเที่ยวเชิงเกษตรและมาตรฐานด้านความปลอดภัย 35 แห่ง
7.4) ส่งเสริม พัฒนาศักยภาพ ยกระดับการดำเนินธุรกิจของสถาบัน ( สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ธุรกิจชุมชน) เช่น อบรมการใช้โปรแกรมระบบบัญชีสหกรณ์ 200 แห่ง จัดทำบัญชีแก่วิสาหกิจชุมชน 786 แห่ง และพัฒนามาตรฐานการบัญชีและการควบคุมภายในแก่สหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 200 แห่ง
7.5) ส่งเสริม พัฒนาอาชีพ และถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ได้จัดทำจุดสาธิตการเรียนรู้ เช่น การพัฒนาที่ดิน 486 ศูนย์ การบัญชี 882 ศูนย์ การประมง 180 ศูนย์ และอบรมให้ความรู้ และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่ถูกต้องและเหมาะสมให้แก่เกษตรกรด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และหม่อนไหม 33,124 ราย
7.6) ดำเนินโครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งการนำเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนไปปฏิบัติในเชิงพื้นที่ (SDGs Localization) ในจังหวัดนำร่อง 15 จังหวัด เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2566 เพื่อมุ่งพัฒนาพื้นที่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อประเทศไทยที่ยั่งยืนตามเป้าหมาย SDGs4
8) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัยการพัฒนาทักษะอาชีพทุกช่วงวัย โดยดำเนินโครงการส่งเสริมเคหะกิจเกษตรในครัวเรือนเกษตรสูงวัยเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตและเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่สังคมเกษตรสูงวัย รวมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มเพื่อสร้างรายได้เสริมจากการประกอบอาชีพในกลุ่มเกษตรสูงวัย 1,078 ราย
9) การพัฒนาระบบสาธารณสุขและหลักประกันสังคม9.1) จัดงานวันอนามัยโลก (World Health Day) ประจำปี 2566 ภายใต้แนวคิด “Health for All” หรือ “สุขภาพดีถ้วนหน้า” รณรงค์ให้ประชาชนตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพ และลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
9.2) จัดตั้งสถานีสุขภาพชุมชน ในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ 2,894 แห่ง ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน เพื่อดูแลสุขภาพประชาชนในพื้นที่เน้นกลุ่มโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โดยใช้กลไก 3 หมอเชื่อมโยงระบบบริการ (หมอประจำบ้าน หมอสาธารณสุข และหมอครอบครัว) ให้บริการตามระดับอาการ มีการจัดบริการพิเศษพบแพทย์และเภสัชกรทางไกล และจัดส่งยาทางไปรษณีย์ให้ถึงบ้าน รวมทั้ง  จัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ดูแลกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดบ้าน/ติดเตียงถึงบ้านพักอาศัยด้วย
10) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน10.1) ดำเนินโครงการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินที่ทำกินของเกษตรกร โดยพัฒนาพื้นที่แปลงรวมในเขตปฏิรูปที่ดินตามแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแผนพัฒนาระบบสาธารณูปโภค 14 พื้นที่ ถ่ายทอดความรู้เทคโนโลยีการผลิตและสนับสนุนปัจจัยการผลิต พร้อมทั้งพัฒนาอาชีพ เพื่อแก้ไขปัญหาที่ดินทำกินแก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร (ด้านพืช ประมง ปศุสัตว์ และจัดทำบัญชีครัวเรือน) 8,609 ราย และจัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำให้มีความเหมาะสมในการผลิตพืช 9,463 ไร่
10.2) ปรับปรุงงานชลประทานและการบริหารจัดการน้ำ ได้ซ่อมแซม ปรับปรุงงานชลประทาน 511 รายการ พื้นที่ชลประทานได้รับการปรับปรุง 934,963 ไร่ ขุดลอกระบบส่งน้ำระบายน้ำชลประทาน ปรับปรุงระบบโทรมาตรบำรุงรักษาทางและสะพานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน จัดรูปที่ดิน 2,389 ไร่ และจัดระบบน้ำเพื่อการเกษตรกรรม 2,350 ไร่
10.3) ลดการเผาในพื้นที่เกษตร ได้ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการเผา 17,640 ราย ประชาสัมพันธ์ รณรงค์ เฝ้าระวังการเผาซากพืช วัชพืช และวัสดุทางการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินแก่เกษตรกร 555 ราย และส่งเสริมการไถกลบตอซังในพื้นที่ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกข้าว และข้าวโพด ในพื้นที่ 68 ตำบล 37 อำเภอ 9 จังหวัดภาคเหนือ รวม 24,916 ไร่

                   2. นโยบายเร่งด่วน 5 เรื่อง ประกอบด้วย

นโยบายเร่งด่วนมาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชนดำเนินโครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรโดยลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อชดเชยดอกเบี้ยเงินกู้ให้แก่เกษตรกร สมาชิกสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตร โดยตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565-30 เมษายน 2566 สามารถลดภาระดอกเบี้ยให้สมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร 804 แห่ง (251,890 ราย) และดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย       โดยตรวจสอบ ติดตาม  และเฝ้าระวังการทำประมงของเรือประมงไทยให้เป็นไปตามกฎหมาย 91,422 ครั้ง รวมทั้งควบคุมและเฝ้าระวังการทำการประมงในทะเล        154 ครั้ง
2) การยกระดับศักยภาพของแรงงานเร่งผลิตและพัฒนาฝีมือด้านช่าง เช่น ช่างโซล่าเซลล์บริการประชาชน เพื่อลดค่าไฟฟ้าบ้านและลดภาวะโลกร้อนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่างแอร์คุณภาพ เพื่อสร้างอาชีพอิสระที่พร้อมให้บริการคลายร้อนแก่ประชาชน รวมทั้งฝึกอบรมหลักสูตรการประกอบอาหารไทยประยุกต์เป็นเมนูสร้างอาชีพให้คนไทย เช่น แกงพะแนง
3) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคตดำเนินโครงการนำร่องโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) เป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G และ Critical Technology เพื่อพัฒนาบริการสาธารณสุขในรูปแบบใหม่ โดยมีผลดำเนินงานแล้วเสร็จ เช่น จัดหาอุปกรณ์ติดตั้งระบบ Multi-Access Edge computing (MEC) พัฒนาระบบห้องฉุกเฉินอัจฉริยะด้วยเทคโนโลยีเครือข่าย 5G และระบบปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาระบบผู้ช่วยการดูแลและสร้างเสริมสุขภาพรายบุคคล สำหรับผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ผ่านเครือข่าย 5G (NCD) และสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ EEC มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในเขตพื้นที่ EEC (จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) ตั้งแต่เดือนมกราคม-เมษายน 2566 จำนวน 170 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 107,284 ล้านบาท
4) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ดำเนินโครงการส่งเสริมระบบการจัดการด้านยาเสพติดในสถานประกอบกิจการโดยรณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบกิจการ 500,429 คน และดำเนินโครงการส่งเสริมการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานประกอบการโดยมีอาสาสมัครแรงงานให้ความรู้ คำปรึกษาแนะนำแก่นายจ้าง/ลูกจ้างในสถานประกอบการ 6,694 คน
5) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชนอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) แก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ (Talents) นักลงทุน (Investors) ผู้บริหาร (Executives) และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ SMART Visa ทั้งนี้ ระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2566 มีผู้ขอรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 1,500 คำขอ และผ่านการรับรองคุณสมบัติ 634 คำขอ และดำเนินการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจโดยการดึงดูดคนต่างชาติที่มีศักยภาพสูง (Long-Term Resident Program) ผ่านวีซ่าประเภท LTR Visa5 มีผลดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2565- 30 เมษายน 2566 มี 3,598 คำขอ โดยมีผู้ขอรับรองคุณสมบัติฯ ประเภท Wealthy Pensioners จำนวน 1,165 คำขอ และ Work-from-Thailand Professionals 949 คำขอ (สัญชาติที่ยื่นคำขอรับ LTR Visa มากที่สุด คือ อเมริกัน รัสเซีย จีน สหราชอาณาจักร และเยอรมนี ตามลำดับ) ซึ่งเป็นคำขอมาจากคนต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย (ผู้ขอรับตรวจลงตราในไทย) 2,286 ราย และคำขอจากคนต่างชาติที่พำนักในต่างประเทศ (ผู้ขอรับการตรวจลงตราในต่างประเทศ) 1,312 ราย

 
______________
1แร่ธาตุซีลีเนียมในข้าวเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกับวิตามินซี วิตามินอี หรือวิตามินเอ ทำหน้าที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย
2สาร Vitexin และ Iso-vitexin เป็นสารชีวภาพที่มีฤทธิ์เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง ป้องกันไวรัส และลดความดันโลหิตสูง โดยผ่านกระบวนการสกัดและทำให้บริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้งานด้านเภสัชภัณฑ์
3ได้แก่ (1) การบริการคำปรึกษาและข้อมูลเทคโนโลยี (2) การเพิ่มศักยภาพเครือข่าย (3) การเพิ่มศักยภาพธุรกิจชุมชน และ (4) การบ่มเพาะหมู่บ้านวิทยาศาสตร์
4เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) มีทั้งหมด 17 เป้าหมาย
Long-Term Resident Visa เป็นวีซ่าพำนักระยะยาวสำหรับชาวต่างชาติ โดยให้สิทธิพำนักอยู่ในไทยได้นานสูงสุด 10 ปี และสิทธิประโยชน์อื่นที่กำหนด เช่น สิทธิประโยชน์ด้านภาษี แบ่งประเภทได้ ดังนี้ (1) Wealthy Global Citizens (ผู้ที่มีทรัพย์สินมูลค่ารวมไม่ต่ำกว่า 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) (2) Wealthy Pensioners (ผู้เกษียณอายุที่มีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี) (3) Work-From-Thailand Professionals (ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทยมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี) และ (4) Highly skilled professionals (ผู้ที่มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษมีรายได้ส่วนบุคคลไม่น้อยกว่า 80,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี)
 
13. เรื่อง ขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการและสถานที่ดำเนินการก่อสร้างโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย กำแพงเพชร และโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย สระแก้ว
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปลี่ยนแปลงรายการและขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2567 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ. 2566-2568 รายการก่อสร้างอาคารเรียนและอาคารหอพักนักเรียนแบบพิเศษของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย (จภ.) กำแพงเพชร และ จภ. สระแก้ว ตามที่ ศธ. เสนอ โดยให้ใช้จ่ายจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ได้ตั้งงบประมาณรองรับไว้แล้ว และเห็นควรให้ ศธ. โดย สพฐ. เสนอตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีต่อ ๆ ไป ให้ครบวงเงินค่างานตามสัญญาต่อไป ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการก่อสร้างดังกล่าว สพฐ. จะต้องได้รับอนุญาตการใช้พื้นที่จากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนดำเนินการและปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ มติคณะรัฐมนตรี และหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนมาตรฐานของทางราชการให้ถูกต้องครบถ้วนในทุกขั้นตอน โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของทางราชการเป็นสำคัญ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ศธ. รายงานว่า
                   1. ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ.  2566 งบลงทุน (ค่าที่ดินหรือค่าสิ่งก่อสร้าง) จำนวน 4 รายการ รวมวงเงินงบประมาณ ทั้งสิ้น 223.4 ล้านบาท เพื่อก่อสร้าง จภ. กำแพงเพชร และ จภ. สระแก้ว ซึ่งต่อมา สพฐ. ได้รับจัดสรรงบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมทั้งสิ้น 223.3 ล้านบาท (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 11 ตุลาคม 2565) และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนายกระดับคุณภาพโรงเรียนมัธยมศึกษาให้เป็น จภ. 6 แห่ง โดยพัฒนาและใช้พื้นที่โรงเรียนมัธยมศึกษาเดิม จำนวน 4 แห่ง และพัฒนาจัดตั้งบนพื้นที่ที่ได้รับจัดสรรใหม่ จำนวน 2 แห่ง (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 พฤษภาคม 2566)
                   2. ศธ. โดย สพฐ. มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้าง จภ. กำแพงเพชร และ จภ. สระแก้ว โดยมีสาระสำคัญข้อเท็จจริง ดังนี้
                             2.1 เปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการก่อสร้าง จภ. กำแพงเพชร จากเดิมที่กำหนดเป็นโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยา ตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากมีข้อจำกัดของพื้นที่ที่จะดำเนินการพัฒนาจัดตั้ง จภ.กำแพงเพชรดังกล่าว [โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยามีนักเรียนจำนวนมากแต่มีพื้นที่จำกัดและทางโรงเรียนฯ มีความประสงค์จะให้คงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ (โรงเรียนไป-กลับ) ในขณะที่ จภ. มีการจัดการเรียนการสอนแบบโรงเรียนประจำ] สพฐ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การพัฒนาจัดตั้ง จภ. กำแพงเพชร บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย จึงปรับแผนการดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ดังกล่าว โดยดำเนินการในรูปแบบโรงเรียนคู่พัฒนาและกำหนดให้โรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยาเป็นสถานศึกษาคู่พัฒนา (ทั้งโรงเรียนทุ่งโพธิ์ทะเลพิทยาและ จภ. กำแพงเพชร มีการบูรณาการการเรียนการสอน การจัดกิจกรรม และสามารถใช้สาธารณูปโภคร่วมกันเพื่อพัฒนาโรงเรียนทั้ง 2 โรงเรียนควบคู่กันไป) และใช้พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรใหม่บริเวณพื้นที่ค่ายลูกเสือ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าแม่ระกา) เป็นสถานที่จัดตั้ง จภ. กำแพงเพชร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากำแพงเพชรได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ตามระเบียบการขอใช้พื้นที่ของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตามมาตรา 13/1 แห่งพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งกรมป่าไม้ได้อนุญาต ให้ สพฐ . ใช้พื้นที่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าแม่ระกา) เพื่อจัดตั้ง จภ. กำแพงเพชร ท้องที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เนื้อที่  89-1-14 ไร่ แล้ว (เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565) มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าจะหมดความจำเป็น และจังหวัดกำแพงเพชร โดยผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร ได้อนุญาตให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวในการจัดตั้ง จภ. กำแพงเพชรเรียบร้อยแล้ว (เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565)          
                             2.2 เปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการก่อสร้าง จภ. สระแก้ว จากเดิมที่กำหนดเป็นโรงเรียนท่าเกษมพิทยา ตำบลท่าเกษม อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว เนื่องจากมีข้อจำกัดของพื้นที่ที่จะดำเนินการพัฒนาจัดตั้งเป็น จภ. สระแก้ว สพฐ. พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุดของการพัฒนาจัดตั้ง จภ. สระแก้ว ให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมาย จึงปรับแผนการดำเนินการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ดังกล่าว โดยกำหนดให้โรงเรียนท่าเกษมพิทยาเป็นสถานศึกษาคู่พัฒนา และใช้พื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรใหม่บริเวณพื้นที่มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ซึ่งเป็นที่สาธารณประโยชน์ประเภทพลเมืองใช้ร่วมกัน  เป็นสถานที่จัดตั้ง จภ. สระแก้ว ซึ่งได้รับการอนุญาตให้ใช้ที่ดินจากสภามหาวิทยาลัยบูรพาแล้ว โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว ได้รับมอบอำนาจจาก สพฐ.  ดำเนินการการขอใช้ประโยชน์ตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินโดยถือปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 ประกาศ ณ วันที่ 7 ธันวาคม 2565 และการขอถอนสภาพที่ดินตามมาตรา 8 วรรคสอง (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน โดยปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพการจัดขึ้นทะเบียนและการจัดหา ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2550 ซึ่งกรมป่าไม้ได้อนุญาตให้ สพฐ. เข้าทำประโยชน์ในเขตป่าตามมาตรา 4(1) แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 เพื่อจัดตั้งเป็น จภ. สระแก้ว บริเวณที่ดินสาธารณประโยชน์ตามหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง เลขที่ สก. 260 (สก. 0146) หมู่ที่ 4 ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว บางส่วน เนื้อที่ 18-3-97 ไร่ (เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566) มีกำหนดระยะเวลาจนถึง 23 กุมภาพันธ์ 2596 (30 ปี) และต่อมากรมป่าไม้ได้อนุญาตให้เข้าใช้บริเวณพื้นที่ป่าดังกล่าวเพิ่มเติมอีก เนื้อที่ 54-3-18 ไร่ (เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2566) มีกำหนดระยะเวลาจนกว่าจะหมดความจำเป็น (รวมพื้นที่ทั้งหมดที่ได้รับอนุญาตจำนวน 73-3-15 ไร่) และต่อมา ศธ. ได้แจ้งข้อมูลว่า จังหวัดสระแก้ว โดยรองผู้ว่าราชการจังหวัด รักษาราชการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว ไม่ขัดข้องในการขอใช้และขอถอนสภาพที่ดิน จำนวน 73-1-98 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น จภ. สระแก้ว เรียบร้อยแล้ว (เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2566) [หมายเหตุ: สพฐ. จะใช้เนื้อที่ดำเนินการก่อสร้าง จภ. สระแก้ว จำนวน 73-1-98 ไร่ ตามที่ได้รับการอนุญาตจากจังหวัดสระแก้วเท่านั้น สำหรับเนื้อที่ที่กรมป่าไม้อนุญาตให้ใช้นั้น (มากกว่าที่จังหวัดสระแก้วอนุญาต จำนวน 1 งาน 17 ตารางวา) จะมีบางส่วนเป็นพื้นที่ติดทางน้ำจึงมีสภาพไม่เหมาะสมในการก่อสร้างอาคารและการเข้าใช้ประโยชน์]
                   3. จากการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงสถานที่ก่อสร้าง จภ. กำแพงเพชร และ จภ. สระแก้ว (ตามข้อ 2) สพฐ. จึงขออนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณรายการอาคารเรียน 324 ล./55ข ในเขตแผ่นดินไหว และรายการอาคารหอพักนักเรียนแบบพิเศษ จากเดิม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2567 เป็น ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 – 2568 (ไม่เปลี่ยนแปลงวงเงินรวม)
                   4. ศธ. ยืนยันว่า การดำเนินการดังกล่าวเป็นรายการตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่กำหนดไว้แล้ว ตลอดจนไม่เพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จึงไม่มีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามนัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 ประกอบกับคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 รับทราบสถานที่ก่อสร้างตามที่ขอเปลี่ยนแปลงเรียบร้อยแล้ว
                   5. สงป. พิจารณาแล้วเห็นว่า กรณีที่ สพฐ. กำหนดสถานที่ไว้ในชื่อรายการ โดยมีวัตถุประสงค์ที่ต้องดำเนินการในพื้นที่ที่ระบุไว้เท่านั้น กรณีดังกล่าวสถานที่ถือเป็นสาระสำคัญในการดำเนินการ ซึ่งหากมีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ดำเนินการจะมีผลกระทบต่อวัตถุประสงค์ เป้าหมาย ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติไว้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณที่จะต้องเสนอขออนุมัติต่อคณะรัฐมนตรี ตามระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ข้อ 7 (3) ดังนั้น ศธ. โดย สพฐ. จึงต้องนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติตามข้อ 7 (3) ของระเบียบว่าด้วยการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พ.ศ. 2562
 
14. เรื่อง แนวทางการดำเนินมาตรการภาษีสรรพสามิตเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันดีเซล 
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแนวทางการดำเนินมาตรการภาษีสรรพสามิตเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันดีเซล หลังรัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางภาษีเพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธุ์ 2565 ด้วยการออกกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตรวมทั้งสิ้น 7 ฉบับ ประเมินสูญเสียรายได้ภาษีประมาณ 156,000 ล้านบาท และโดยกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 34) พ.ศ. 2566 ปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลลง 5 บาทต่อลิตร จะสิ้นสุดในวันที่ 20 กรกฎาคม 2566 นี้  ซึ่งจะส่งผลให้อัตราภาษีจะกลับสู่ภาวะปกติ นั้น
                    กระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานได้หารือและมีความเห็นร่วมกันว่า การใช้มาตรการทางภาษีเพื่อปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล หลังจากมาตรการการปรับลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลจะสิ้นสุดในวันที่     20 กรกฎาคม 2566 นี้ จะเป็นการดำเนินการที่ก่อให้เกิดผลผูกพันรัฐบาลในอนาคต ซึ่งคณะรัฐมนตรีที่ปฏิบัติหน้าที่ในช่วงที่มีการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่อาจกระทำการ อันมีผลต่อการอนุมัติงานหรือโครงการหรือมีผลต่อการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 169 (1) ประกอบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภา ประกอบกับปัจจุบันสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดีเซล ณ โรงกลั่นในประเทศลดลงตามไปด้วย ดังนั้น ในการรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซลอยู่ในวิสัยที่กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถดำเนินการได้ และเมื่อคำนึงถึงข้อจำกัดด้านรายได้และข้อกฎหมายและไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชน ในช่วงที่สถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศกำลังอยู่ในช่วงฟื้นตัว เห็นสมควรให้ใช้มาตรการของกองทุนน้ำมันที่มีฐานะการเงินดีขึ้นโดยลำดับ ทำหน้าที่ดูแลเสถียรภาพราคาน้ำมันดีเซล โดยกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานจะติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิดต่อไป
                    ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้รายงานภาพรวมความสำเร็จของรัฐบาลในการดำเนินนโยบายการเงินการคลัง ช่วยรักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน และตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 35 บาท/ลิตร เสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาค ลดผลกระทบต่อภาคธุรกิจ ไม่ให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลเพิ่มสูงขึ้นจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนจากสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบที่ผันผวนด้วย
 
15. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภค
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 สภาองค์กรของผู้บริโภคตามที่สภาองค์กรของผู้บริโภค (สอบ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สอบ. รายงานว่า ได้จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2565 ของ สอบ. โดยมีผลดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนงาน สรุปได้ ดังนี้                 
                   1. ผลการดำเนินงานปี 2565
                             1.1 งานคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค โดยมีหน้าที่รับเรื่องร้องเรียนและรับแจ้งเบาะแสผ่านทุกช่องทางการสื่อสาร เพื่อคุ้มครองให้ผู้บริโภคสูญเสียน้อยที่สุด ได้แก่ (1) ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคแบบเบ็ดเสร็จ (One-stop Service) ได้รับเรื่องร้องเรียน 8,356 เรื่อง พบว่า ปัญหาด้านการเงินและการธนาคารเป็นประเด็นที่ถูกเรื่องร้องเรียนมากที่สุดโดยเฉพาะกรณีผู้บริโภคถูกยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019     (โควิด-19) และปัญหาสินค้าและบริการทั่วไปเป็นเรื่องที่ถูกร้องเรียนรองลงมา เช่น กลุ่มปัญหาที่หลอก ให้โอนเงินจากการซื้อขายสินค้าออนไลน์ สินค้าได้รับไม่ตรงตามโฆษณา ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน และสินค้าชำรุดบกพร่อง ทั้งนี้ สามารถแก้ปัญหาจนได้ข้อยุติแล้ว 7,854 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าที่ผู้บริโภคได้รับการชดเชยจากผู้ประกอบธุรกิจเป็นเงิน 222.21 ล้านบาท (2) การฟ้องคดี และทนายความคดีผู้บริโภค โดย สอบ. ได้ดำเนินคดีเพื่อคุ้มครองสิทธิผู้บริโภครวม 19 คดี แบ่งเป็น 2 กรณี คือโจทก์ฟ้องคดีแทนผู้บริโภค เช่น คดีถูกริบเงินดาวน์จองกรณีผู้บริโภค       ซื้อบ้านแต่กู้ไม่ผ่าน และคดีสายการบินไม่คืนเงินกรณียกเลิกเที่ยวบินช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และการให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ถูกฟ้องจากการใช้สิทธิในฐานะผู้บริโภค เช่น กรณีผู้บริโภคถูกฟ้องให้รับผิดในสัญญาเช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์และใช้ข้อสัญญาไม่เป็นธรรม ซึ่งในปี 2565 สอบ. มีทนายความที่พร้อมช่วยเหลือผู้บริโภคทั่วภูมิภาคขึ้นทะเบียนแล้ว 74 คน และมีการจัดอบรมทักษะการไกล่เกลี่ยให้แก่เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงาน จำนวน       2 รุ่น และ (3) การตรวจสอบ แจ้งเตือนภัย และเฝ้าระวังสถานการณ์ผู้บริโภค โดย สอบ. ร่วมกับศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันทำงานเชิงรุกผ่านกระบวนการทดสอบสินค้าและบริการ     เพื่อป้องกันปัญหาการละเมิดสิทธิผู้บริโภคในการซื้อสินค้าและบริการประจำวัน เช่น การสุ่มเลือกสินค้าและบริการไปทดสอบหาสารเคมีอันตรายจากสินค้านั้น ๆ และนำข้อมูลในการทดสอบสินค้า การแจ้งเบาะแส และเรื่องร้องเรียน    มาผลิตเป็นสื่อแจ้งเตือนภัยและรณรงค์สร้างการตระหนักรู้ให้กับผู้บริโภคในประเด็นต่าง ๆ กว่า 30 เรื่อง เช่น การยกเลิกประกันภัย ที่ถูกหลอกทำประกันภัยทางโทรศัพท์ วิธีสังเกตมิจฉาชีพหลอกลงทุนออนไลน์ การโอนเงินผิดบัญชีต้องทำอย่างไร และการขอยกเลิกสัญญาเมื่อผู้รับเหมาใช้วัสดุผิดแบบ
                             1.2 การผลักดันประเด็นปัญหา สู่การแก้ไขเชิงนโยบาย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้สินค้าและบริการในชีวิตประจำวันมีราคาสูงขึ้นโดยอ้างเหตุจากต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้นจากปกติ และเป็นการป้องกันความเดือดร้อนของผู้บริโภคจึงมีการผลักดันประเด็นการละเมิดสิทธิผู้บริโภคไปเพื่อแก้ไขในระดับนโยบายและมาตรฐานทางกฎหมายที่สำคัญ ได้แก่ (1) การผลักดันนโยบาย และจัดทำข้อเสนอต่อมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค โดย สอบ. ร่วมกับคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 8 ด้าน1 และคณะทำงานด้านการศึกษา ได้วิเคราะห์ข้อมูลจากการทำงาน และผลักดันข้อเสนอแนะต่อแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ และนโยบายต่อหน่วยงานภาครัฐ 19 หน่วยงาน จำนวน 25 เรื่อง เช่น การเร่งรัดให้บริษัทประกันภัยจ่ายค่าสินไหมทดแทน กรณีเคลมประกันโรคโควิด-19 ตามกรมธรรม์ที่ซื้อไว้ไม่ได้ จากการประกาศเลิกกิจการของบริษัทประกันภัย ซึ่งเปิดขายประกัน “เจอ จ่าย จบ” ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จำนวน 5,708 กรณี ให้ได้รับเงินค่าสินไหมตามสัญญาประกันในที่สุด (2) งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค มี 3 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการวิจัยการจัดทำตัวชี้วัดการคุ้มครองผู้บริโภคไทยและรายงานสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคตามตัวชี้วัด เพื่อจัดทำตัวชี้วัดการคุ้มครองผู้บริโภคสำหรับประเทศไทยที่สอดคล้องกับระดับสากล และจัดทำรายงานสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคตามตัวชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้น 2) โครงการวิจัยศึกษาความเป็นไปได้ของการจัดตั้งกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ และการวิเคราะห์ผลกระทบของการจัดสรรเงินบำนาญประชาชนที่มีต่อเศรษฐกิจและสังคม    เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการจัดตั้งกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ และ 3) โครงการวิจัยติดตามนโยบายกำกับดูแลประโยชน์ของผู้บริโภคและการศึกษาความรู้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคไทย เช่น ธรรมาภิบาลกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะและเงื่อนไขและมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคกรณีการควบรวมทรู-ดีแทค และ (3) การรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น กรณีการเสียชีวิตครั้งแรกของผู้ใช้รถยนต์จากถุงลมนิรภัยยี่ห้อทาคาตะ (Takata) ฝ่ายคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคได้ดำเนินการเรียกร้องให้บริษัทรถยนต์จัดทำแผนการเรียกคืนถุงลมนิรภัย เนื่องจากถือว่าเป็นสินค้าอันตรายที่มีผลทำให้บุคคลถึงแก่ความตาย
                    1.3 งานส่งเสริมความเข้มแข็งเครือข่ายภาคีและองค์กรของผู้บริโภค ได้แก่ (1) งานคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ ได้รับเรื่องร้องเรียน ไกล่เกลี่ยหรือประนีประนอมยอมความข้อพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ผ่านหน่วยงานประจำจังหวัด รวม 6,585 เรื่อง เช่น ปัญหา SMS หลอกลวงและกวนใจโดยส่งข้อความทางกล่องข้อความแล้วแนบลิงก์เพื่อขโมยข้อมูลส่วนบุคคล หรือโทรศัพท์หลอกให้โอนเงิน และปัญหาการเช่าซื้อยานพาหนะ โดยไม่ได้รับรถหลังจ่ายมัดจำ สามารถแก้ไขได้ข้อยุติ 5,763 เรื่อง ประเมินความสำเร็จในการคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภครวมเป็นมูลค่า 64.20 ล้านบาท (2) งานสนับสนุนองค์กรผู้บริโภคระดับพื้นที่ โดยคณะกรรมการนโยบายสภาองค์กรของผู้บริโภค ได้แต่งตั้งหน่วยงานเขตพื้นที่ จำนวน 5 เขต2 และจัดตั้งหน่วยงานประจำจังหวัด รวม        14 แห่ง3 สำหรับการสนับสนุนองค์กรของผู้บริโภคและหน่วยงานประจำจังหวัด เพื่อช่วยเหลือ และส่งเสริมการดำเนินงานขององค์กรผู้บริโภค จำนวน 267 โครงการ เช่น ประเด็นสินค้าและบริการออนไลน์ และการขนส่งและยานพาหนะที่ปลอดภัย (3) งานพัฒนาศักยภาพเพื่อความเข้มแข็งและยั่งยืน โดย สอบ. ร่วมกับสถาบันการเรียนรู้การเสริมสร้างสุขภาพ จัดอบรมหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้อง กับงานคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง 8 ด้าน จำนวน 21 หลักสูตรมีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการฝึกทักษะต่าง ๆ รวม 30 คน และ (4) งานประชุมสามัญสมาชิก ประจำปี 2565 โดยมีสาระสำคัญ เช่น เห็นชอบ และรับรองผลการปฏิบัติงานปี 2564 และองค์กรของผู้บริโภค จำนวน 28 องค์กร เข้าเป็นสมาชิก และเห็นชอบ (ร่าง) ข้อบังคับสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2565 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2565 เป็นต้นไป
                             1.4 งานสื่อสารสาธารณะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค โดยการผลิตเนื้อหา เผยแพร่ความรู้ รณรงค์พิทักษ์สิทธิผู้บริโภค แจ้งเตือนภัยทางออนไลน์ ออฟไลน์ และงานพัฒนาระบบเทคโนโลยี ได้แก่ (1) การประชาสัมพันธ์องค์กรด้วย 5 กลยุทธ์สำคัญ ได้แก่ 1) การพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ผ่านช่องทางการสื่อสารแบบเดิมและการสื่อสารแบบใหม่ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ วารสาร และสื่อสังคมออนไลน์      2) การสร้างความรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ในประเด็นนโยบายสาธารณะ และประชาสัมพันธ์สำนักงานและหน่วยงานประจำจังหวัดของ สอบ. ผ่านสื่อดิจิทัลทีวี วิทยุ และสื่อออนไลน์ 3) การสื่อสารสร้างความเข้าใจเพื่อขับเคลื่อนประเด็นบริการขนส่งมวลชนทุกคนขึ้นได้ 4) การเผยแพร่ประเด็นปัญหาผู้บริโภค แจ้งข่าวสารเตือนภัยและ ให้ความรู้สู่ผู้บริโภค และ 5) การสื่อสารนโยบาย สอบ. ผ่านกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดในโลกออนไลน์ (อินฟลูเอนเซอร์)      (2) งานเผยแพร่ความรู้และรณรงค์การพิทักษ์สิทธิผู้บริโภค โดยใช้ช่องทางสื่อสารผ่านโซเชียลมีเดียในแพลตฟอร์มต่าง ๆ มีผู้เข้าถึงข้อมูลไม่น้อยกว่า 9.38 ล้านครั้ง และมีประเด็นที่เผยแพร่สู่สาธารณะ จำนวน 253 เรื่อง เช่น เรื่องเตือนภัยผู้บริโภคไม่ให้หลงเชื่อหรือหลงซื้อสินค้าออนไลน์จากเฟซบุ๊กแฟนเพจ และให้ข้อมูลในการสังเกตร้านค้าว่าต้องดูข้อมูลอะไรบ้างก่อนตัดสินใจซื้อสินค้า และ (3) งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ งานพัฒนาระบบสารสนเทศและนวัตกรรมการให้บริการ เช่น ระบบเว็บไซต์และการรับเรื่องร้องเรียน (Customer Relationship Management: CRM) ได้ปรับปรุงระบบเว็บไซต์เพื่อเพิ่มช่องทางในการรับเรื่องร้องเรียนผ่านเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค และการเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลกับระบบสารสนเทศอื่น ๆ เช่น ระบบการแจ้งเตือนเบาะแสการกระทำผิดต่อผู้บริโภค และระบบฐานข้อมูลทำเนียบทนายความ สอบ. และงานพัฒนาระบบสารสนเทศสนับสนุนภารกิจองค์กร เช่น ระบบบริหารจัดการสำนักงาน (Electronic-Office: E-Office) โดยพัฒนาการจัดทำและจัดเก็บเอกสารให้อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ เพื่อใช้ในการบริหารพัฒนาเป็นฐานข้อมูล หนังสือรับเข้า เอกสารส่งออกได้อย่างเป็นระบบ และการพัฒนาและดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีของอาคารสำนักงานใหม่
                             1.5 งานยกระดับการบริหารสำนักงาน และธรรมาภิบาลที่ดีในองค์กร เช่น (1) งานบริหารจัดการสำนักงาน สอบ. โดยดำเนินงานตามประเด็นของส่วนงานสนับสนุนภารกิจหลักขององค์กร ได้แก่       1) งานบัญชีและการเงิน มีระบบจัดทำบัญชีประจำเดือนและรายไตรมาสได้ตามกำหนด 2) งานกฎหมาย เช่น การจัดทำระเบียบสภาองค์กรของผู้บริโภคว่าด้วยงบประมาณ การบัญชี การเงิน และการสอบบัญชี พ.ศ. 2564 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2564) และประกาศสภาองค์กรของผู้บริโภค เรื่อง นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสภาองค์กรของผู้บริโภค พ.ศ. 2565 3) งานบริหารงานบุคคล จัดทำมาตรฐานการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปีของพนักงาน สอบ. และ 4) งานจัดซื้อจัดจ้าง ปรับปรุงแบบฟอร์มแผนจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้การดำเนินงานของ สอบ. สอดคล้องกับมาตรฐานความคุ้มค่า โปร่งใส และตรวจสอบได้ (2) งานพัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ สอบ. โดยจัดทำ “โครงการส่งเสริมศักยภาพ พัฒนาแนวคิดปรับการทำงานเพื่อผู้บริโภค ประจำปี 2565” มีเจ้าหน้าที่เข้าร่วมกิจกรรม 56 คน และ (3) งานประเมินผล เช่น จัดตั้งคณะกรรมการตรวจสอบ โดยการตรวจสอบการเงิน การบัญชี การพัสดุ สอบทาน วิเคราะห์ประเมินผลความเสี่ยง ให้ข้อเสนอแนะ คำปรึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีระบบการควบคุมภายในและการบริหารความเสี่ยง มีธรรมาภิบาลให้การดำเนินงานเป็นไปโดยความถูกต้องตามนโยบาย กฎหมาย และระเบียบแบบแผนที่เกี่ยวข้องอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และโปร่งใส
                    2. ปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญ ได้แก่ (1) หน่วยงานราชการหรือหน่วยงานของรัฐยังขาดการรับรู้บทบาทหน้าที่ที่กำหนดไว้ให้เป็นผู้แทนผู้บริโภคทุกคนทุกด้าน และความสับสนชื่อองค์กรที่คล้ายกันระหว่าง สอบ. และสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคซึ่งมีภารกิจแตกต่างกัน (2) การตอบสนองหรือการให้ความร่วมมือจากหน่วยงานของภาครัฐยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดการณ์ไว้ (3) การรับรู้ข่าวสารที่จำกัด เนื่องจากสมาชิกจำนวนหนึ่งเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้การเท่าทันและการเข้าถึงการสื่อสารด้วยระบบเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำได้ยาก (4) ขาดแคลนด้านองค์ความรู้ และผู้เชี่ยวชาญในหลายสาขา ในการจัดทำรายงานประกอบข้อเสนอแนะเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค (5) การเข้าถึงช่องทางในการสื่อสารสาธารณะ ทำได้ยากมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนพฤติกรรมการเสพสื่อของผู้บริโภคที่แตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ สอบ. จึงปรับเปลี่ยนวิธีโดยเพิ่มพื้นที่ในการสื่อสารให้มากขึ้น และ        (6) ขาดการสนับสนุนงบประมาณ เนื่องจาก สอบ. ไม่ได้ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยรับงบประมาณโดยตรง จึงทำให้โครงการต่าง ๆ ที่เป็นไปเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคหยุดชะงัก และไม่สามารถดำเนินการเพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่อง
                    3. ข้อเสนอในการคุ้มครองผู้บริโภค 8 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเงินการธนาคาร [หนี้สินครัวเรือน และกองทุนบำนาญพื้นฐานแห่งชาติ (บำนาญประชาชน)] โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น 1) เสนอให้กระทรวงการคลังเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการสนับสนุนให้สมาชิก สอบ. มีบทบาท ในการแก้ปัญหาหนี้ด้วยการจัดตั้งศูนย์แก้ไขปัญหาหนี้แบบเบ็ดเสร็จ และ 2) จัดอบรมความรู้ทางการเงิน และวินัยทางการเงินแก่สมาชิกของ สอบ. และประชาชนทั่วไป    (2) ด้านการขนส่งและยานพาหนะ (เช่น ขนส่งมวลชนทุกคนขึ้นได้ทุกวัน ไม่เกิน 35 บาทต่อวัน รถรับส่งนักเรียนฟรีทั่วไทยเดินทางปลอดภัย 100 เปอร์เซ็นต์ และเปลี่ยนรถตู้เป็นมินิบัส รื้อระบบสัมปทานจัดสรรเส้นทางใหม่) โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น 1) พัฒนาการเข้าถึงบริการขนส่งมวลชนและระบบเชื่อมต่อล้อ ราง เรือ จักรยานให้กับผู้บริโภคทั้งในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค 2) จัดสรรงบประมาณเป็นเงินอุดหนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับนักเรียนทุกคน โดยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมจัดสรรงบประมาณในการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ สำหรับบริการรับส่งนักเรียน และ 3) นโยบายเปลี่ยนรถตู้โดยสารประจำทางทุกคันเป็นรถมินิบัสภายในปี 2566 และมาตรการชดเชยด้านพลังงานเพื่อลดต้นทุน (3) ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น ให้มีหลักประกันคุ้มครองสิทธิผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ (ผู้บริโภค) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการคืนเงินตามที่จ่ายไปจริงเต็มจำนวนพร้อมดอกเบี้ย โดยไม่มีการหักค่าใช้จ่ายและเงื่อนไข ในกรณีผู้บริโภคไม่ได้ผิดสัญญาหรือกู้ธนาคารไม่ผ่านให้กับผู้บริโภคในฐานะผู้ซื้ออสังหาริมทรัพย์ (4) ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (การเจรจาหรือหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ ประชาชนต้องมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นและจัดตั้งระบบเตือนภัยอาหารไม่ปลอดภัยโดยท้องถิ่นเพื่อท้องถิ่น) โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น 1) เสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ในส่วนของการจัดทำหนังสือสัญญาระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนและลดความขัดแย้งในสังคมตลอดจนทำให้เกิดการเจรจาการค้าระหว่างประเทศมีความเป็นธรรมกับประชาชนทุกกลุ่ม และ 2) ให้สร้างระบบเตือนภัยอาหารเพื่อให้คนไทยได้บริโภคอาหารที่มีความปลอดภัยจากสารเคมีและอันตรายจากสารปลอมปนหรือปนเปื้อนในอาหาร (5) ด้านบริการสุขภาพ เนื่องจากปัญหาความแตกต่างเรื่องสิทธิประโยชน์ในการเข้าถึงสิทธิในการรักษาพยาบาลไม่สอดคล้องกับสภาวะปัจจุบัน จึงได้มีการผลักดันให้ทุกคนมีสิทธิในการรักษาพยาบาลภายใต้ระบบ “บริการสุขภาพมาตรฐานเดียว” โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น 1) ผลักดันนโยบายบริการสุขภาพ ด้วยกองทุนรักษาพยาบาล 3 กองทุน (กองทุนสวัสดิการข้าราชการและรัฐวิสาหกิจ กองทุนประกันสังคมและกองทุนหลักประกันสุขภาพ 2) การยกระดับมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ เช่น การเพิ่มบุคลากร การจัดหาเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐาน และอาคารสถานที่สามารถรองรับผู้ป่วยให้เพียงพอต่อความต้องการ และ 3) เร่งปรับปรุงให้ทั้งสามระบบหลักประกันสุขภาพให้มีมาตรูฐานเดียวกันและไม่เรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยเพิ่มเติมในทุกกรณี (6) ด้านสินค้าและบริการทั่วไป [ซื้อสินค้าชำรุด ผู้บริโภคต้องซ่อมได้ เปลี่ยนได้ คืนได้ เร่งใช้พระราชบัญญัติความรับผิดเพื่อความชำรุดบกพร่องของสินค้า พ.ศ. .... (กฎหมายมะนาว)4 และเร่งจัดระเบียบการค้าและการเงินออนไลน์ ผู้บริโภคต้องไม่ถูกโกง] โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น 1) ขอให้สนับสนุนร่างพระราชบัญญัติความรับผิดฯ 2) ให้มีมาตรการในการควบคุมผู้ขายสินค้าบนช่องทางออนไลน์ให้แสดงเลขทะเบียนพาณิชย์ ชื่อร้านค้า ที่อยู่ และเงื่อนไขในการรับประกันสินค้าที่ชัดเจน และ 3) ควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐานจากต่างประเทศที่นำมาขายผ่านช่องทางออนไลน์ในราคาที่ถูกกว่าราคาท้องตลาด (7) ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคม และเทคโนโลยีสารสนเทศ [การแก้ไขปัญหาภัยคุกคามแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Call Center) และข้อความสั้น (SMS)] โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น 1) พิจารณาภาพรวมการดำเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และข้อความสั้นหลอกลวง ภายใต้กฎระเบียบของแต่ละหน่วยงานในการพิจารณาแนวทางแก้ไขเพิ่มเติม และ 2) เพิ่มช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างความตระหนักรู้และเตือนภัยให้กับประชาชนเกี่ยวกับรูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพ และ (8) ด้านการบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม [เช่น กิจการไฟฟ้า กิจการน้ำมัน และก๊าซหุงต้ม (LPG) การลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาวะโลกร้อนและนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม] โดยมีข้อเสนอที่สำคัญ เช่น 1) สนับสนุนการติดตั้งโซลาร์รูฟทอปให้กับครัวเรือน โดยให้นำค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมาใช้ลดหย่อนภาษี 2) ยกเลิกโครงสร้างราคา “ค่าขนส่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง” 3) ยกเลิกสูตรราคาอิงราคาตลาดโลก ที่ต้องบวกค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เพิ่มและกำหนดราคาจัดหา ณ คลังก๊าซใหม่ โดยใช้แบบเฉลี่ยต้นทุนราคาที่แท้จริง และ 4) การกำหนดมาตรการที่เป็นรูปธรรมในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการลดคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Zera Carbon) ในปี 2593 (ค.ศ. 2050)
                    4. รายงานการเงินของ สอบ. ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 โดยบริษัท เอ.ซี คลัภย์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบบัญชีของ สอบ. ได้ตรวจสอบแล้วเห็นว่างบการเงินที่แสดงฐานะการเงินของ สอบ. สำหรับปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 ถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
_____________________
1ประกอบด้วย (1) ด้านการเงินและการธนาคาร (2) ด้านการขนส่งและยานพาหนะ (3) ด้านอสังหาริมทรัพย์และที่อยู่อาศัย (4) ด้านอาหาร ยา และผลิตภัณฑ์สุขภาพ (5) ด้านบริการสุขภาพ (6) ด้านสินค้าและบริการทั่วไป (7) ด้านการสื่อสาร โทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และ (8) ด้านบริการสาธารณะ พลังงาน และสิ่งแวดล้อม
2หน่วยงานเขตพื้นที่ 5 เขต ได้แก่ เขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3หน่วยงานประจำจังหวัด 14 แห่ง ได้แก่ จังหวัดสตูล เชียงราย ลำปาง ฉะเชิงเทรา สมุทรสงคราม พะเยา สุราษฎร์ธานี ลำพูน สงขลา ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ กาญจนบุรี ร้อยเอ็ด และกรุงเทพมหานคร
4คณะรัฐมนตรีมีมติ (22 พฤศจิกายน 2565) อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติความรับผิดฯ ดังกล่าว ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกา
 

ต่างประเทศ

16. เรื่อง รายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 56 การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ครั้งที่ 26 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอรายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB ครั้งที่ 56 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 2 – 5 พฤษภาคม 2566 และการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 (ASEAN+3 Finance Minister’ and Central Bank Governors’ Meeting: AFMGM+3) ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่  2 พฤษภาคม 2566 ณ สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุม [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (2 พฤษภาคม 2566) ที่ได้เห็นชอบร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุม AFMGM+3 ครั้งที่ 26 (แถลงการณ์ร่วมฯ) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังร่วมรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างแถลงการณ์ร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้ กค. ดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. การประชุม AFMGM+3 ครั้งที่ 26 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ สาธารณรัฐอินโดนีเซียและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังประเทศญี่ปุ่นเป็นประธานร่วมการประชุม และมีผู้เข้าร่วมการประชุม ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 และผู้แทนจากองค์การระหว่างประเทศ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเศรษฐกิจมหภาคของภูมิภาคอาเซียน+3 (ASEAN+3 Macroeconomic Research Office: AMRO) ประธาน ADB และรองกรรมการผู้จัดการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) โดยมีผลการประชุมสรุปได้ ดังนี้
 

ประเด็น/การหารือสาระสำคัญ
(1) เศรษฐกิจโลกและภูมิภาค- ผู้แทนจาก IMF ADB และ AMRO เห็นว่าเศรษฐกิจโลกและภูมิภาคอาเซียน+3 ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง จากการเปิดเศรษฐกิจของสาธารณรัฐประชาชนจีนและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
- IMF คาดการณ์ว่าในปี 2566 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ร้อยละ 2.8 ขณะที่เศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวที่ร้อยละ 4.6 และคาดว่าในปี 2567 เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชียจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.0 และร้อยละ 4.4 ตามลำดับ โดยมีปัจจัยเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะที่เพิ่มสูงขึ้น และความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเงินโลก ดังนั้น ประเทศสมาชิกอาเซียน+3 ควรให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน และดำเนินนโยบายการคลังเพื่อสนับสนุนกลุ่มเปราะบาง
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้นำเสนอสถานการณ์และทิศทางเศรษฐกิจไทย โดยคาดว่าในปี 2566 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 เนื่องจากโครงการโครงสร้างพื้นฐานและการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปลดลงสู่เป้าหมายที่ร้อยละ 2.8 ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบ 15 เดือน
(2) การปรับปรุงเอกสารแนวปฏิบัติของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (Chiang Mai Initiative Multilateralisation: CMIM)*- ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าของการปรับปรุงเอกสารแนวปฏิบัติของ CMIM เพื่อให้สมาชิกสามารถให้ความช่วยเหลือทางการเงินภายใต้ CMIM ด้วยเงินสกุลท้องถิ่นของประเทศสมาชิกได้
- ที่ประชุมสนับสนุนการพัฒนากลไกการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแบบเร่งด่วนเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางการเงินได้มากขึ้นและรวดเร็วขึ้น โดยได้มอบหมายให้ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโส กค. และธนาคารกลางอาเซียน+3 จัดทำข้อเสนอรูปแบบของกลไกความช่วยเหลือทางการเงินแบบเร่งด่วนและแผนงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
(3) การดำเนินงานภายใต้กรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3ที่ประชุมรับทราบ
- การดำเนินงานของ AMRO และแนวทางการดำเนินงานในอนาคต เช่น การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมหภาคและการเงินในภูมิภาคอาเซียน+3 และทิศทางเชิงยุทธศาสตร์เพื่อมุ่งสู่ปี 2573 ของ AMRO
- ผลการดำเนินการตามแผนระยะกลางของมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI) ปี 2562 – 2565 และให้การรับรองแผนงานระยะกลางฉบับใหม่ของ ABMI ปี 2566 – 2569
- ความคืบหน้าของทิศทางการดำเนินการของกรอบความร่วมมือทางการเงินอาเซียน+3 ในอนาคต เช่น การจัดหาเงินทุนสำหรับโครงสร้างพื้นฐาน การเสริมสร้างทางการเงินเพื่อรับมือกับภัยธรรมชาติ และการส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายเพื่อความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
(4) เอกสารผลลัพธ์ของการประชุม AFMGM+3รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน+3 ได้เห็นชอบเอกสารผลลัพธ์ของการประชุม AFMGM+3 ในรูปแบบแถลงการณ์ร่วมฯ โดยมีการปรับปรุงถ้อยคำเพื่อให้มีความเหมาะสมและสะท้อนข้อเท็จจริงมากขึ้น ซึ่งไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2566 เช่น เห็นชอบร่วมกันให้ศึกษาแนวทางการสร้างความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างความช่วยเหลือทางการเงินของภูมิภาค และการเพิ่มบทบาทการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิกอาเซียนในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ AMRO

                   2. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ADB ครั้งที่ 56 ประกอบด้วย 
                             2.1 พิธีเปิดการประชุม เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2566 โดยประธานาธิบดีสาธารณรัฐเกาหลีได้กล่าวเปิดการประชุมโดยได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือที่แน่นแฟ้นของประเทศสมาชิกและระบุว่าเกาหลีซึ่งมีความเข้มแข็งด้านการผลิตชิ้นส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ (Semiconductor) จะสนับสนุนการผลิตในห่วงโซ่อุปทานในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและในระดับโลก ขณะที่ประธาน ADB ได้กล่าวว่าสถานการณ์ปัจจุบันส่งผลให้ ADB มีความจำเป็นต้องปรับตัวเพื่อรองรับการดำเนินการใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) การตอบสนองและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (2) การเป็นผู้นำในด้านการลงทุนในสินค้าสาธารณะระดับโลก (Public Goods) และ (3) การเป็นผู้นำในการเพิ่มแหล่งเงินทุนสำหรับการพัฒนาจากระดับพันล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ 
                             2.2 การประชุม Business Session เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 โดยประธาน ADB ได้รายงานผลการดำเนินงานของ ADB ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) และการรับมือกับความท้าทายทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ เช่น การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ล่าช้าและความมั่นคงด้านอาหาร นอกจากนี้ ผู้ว่าการของแต่ละประเทศสมาชิกใน ADB ได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นและแนวนโยบายการดำเนินงานของ ADB ภายใต้แนวคิด “Rebounding Asia: Recover, Reconnect, and Reform” โดยประเทศสมาชิกได้เรียกร้องให้ ADB ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวจากผลกระทบของโควิด-19 ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งให้ ADB สนับสนุนประเทศสมาชิกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน ในการนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการของประเทศไทยใน ADB ได้กล่าวถ้อยแถลงว่าไทยพร้อมสนับสนุนแนวคิดในการดำเนินงานของ ADB และเสนอแนะให้ ADB ให้ความสำคัญในการแก้ไขปัญหาความยากจนและการเจริญเติบโตอย่างทั่วถึง รวมทั้งแนะนำให้ ADB พิจารณานำโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG Economy) ไปประยุกต์ใช้ในการสนับสนุนประเทศสมาชิกอื่นต่อไป 
                             2.3 การประชุม Governors’ Plenary เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 มีการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการเพิ่มศักยภาพของ ADB ในการให้ความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประเทศสมาชิกที่เพิ่มมากขึ้นภายหลังจากวิกฤตต่าง ๆ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอให้ ADB พัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่มีประสิทธิภาพในการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกมากยิ่งขึ้น รวมถึงแสวงหาความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาอื่น ๆ โดยคำนึงถึงความมั่นคงและความยั่งยืนทางการเงินของ ADB  
                             ทั้งนี้ การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ADB ครั้งที่ 57 มีกำหนดจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2567 ณ กรุงทบิลิซี ประเทศจอร์เจีย 
                   3. การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางอาเซียน-ญี่ปุ่น ในโอกาสครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอให้อาเซียนและญี่ปุ่นขยายบทบาทและยกระดับความร่วมมือทางการเงินระหว่างกันให้ครอบคลุมประเด็นการใช้เทคโนโลยีทางการเงินและการเงินที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญ 
                   4. งานเปิดตัวรายงาน เรื่อง “แนวทางการจัดหาเงินทุนใหม่ ๆ เพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นในอาเซียน+3” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการพัฒนาโครงการโครงสร้างพื้นฐาน และการจัดทำนโยบายและมาตรการทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพของไทย
                   5. การหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกับคู่เจรจาต่าง ๆ สรุปได้ ดังนี้

คู่เจรจาผลการหารือ (เช่น)
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนที่สอง และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาแห่งชาติคนที่สองของสาธารณรัฐสิงคโปร์สิงคโปร์แสดงความยินดีที่ไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในปี 2569 และทั้งสองประเทศได้แลกเปลี่ยนข้อมูลเศรษฐกิจมหภาคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระหว่างกัน
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว- สปป. ลาว ได้กล่าวถึงการขออนุญาตออกพันธบัตรหรือหุ้นกู้สกุลเงินบาทในไทย ของ กค. สปป. ลาว เพื่อปรับโครงสร้างหนี้และดำเนินการอื่น ๆ จำนวน 5,000 ล้านบาท และได้แจ้งความคืบหน้าของโครงการสร้างพื้นฐานที่เชื่อมโยงระหว่างสองประเทศ เช่น (1) โครงการก่อสร้างทางรถไฟระหว่างไทย-สปป. ลาว ระยะที่ 2 (สายท่านาแล้ง-เวียงจันทน์) ที่ดำเนินโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้ว และ (2) โครงการปรับปรุงสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 (หนองคาย-เวียงจันทน์) ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องรูปแบบการปรับปรุงสะพานเพื่อรองรับการขนส่งทางรางที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอแนะและสนับสนุนให้ สปป. ลาว แสวงหาการระดมทุนในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ผู้ว่าการธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่น (Japan Bank for International Cooperation: JBIC)- JBIC ให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยได้กำหนดนโยบายเพื่อสนับสนุนการลงทุนในโครงการที่มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ผ่านโครงการต่าง ๆ ทั้งนี้ JBIC จะให้การสนับสนุนทางการเงินสำหรับโครงการที่มีการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไทยด้วย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่าไทยมีการกำหนดนโยบาย BCG Model เป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งจะส่งผลต่อการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อย่างมีนัยสำคัญและได้ยกตัวอย่างการออกตราสารหนี้สีเขียวซึ่งเป็นโอกาสที่ JBIC จะเข้ามาร่วมลงทุน รวมทั้งขอให้ JBIC ร่วมดำเนินการตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการค้าการลงทุนระหว่างไทยกับญี่ปุ่นเพื่อต่อยอดไปสู่การขยายการค้าการลงทุนระหว่างกันและการพัฒนาอย่างยั่งยืนในระดับภูมิภาคให้เป็นรูปธรรมต่อไป
ธนาคารแห่งอเมริกา- ธนาคารแห่งอเมริกาสนใจเข้ามาลงทุนในไทยและประสงค์จะขอเข้าพบเพื่อขอทราบมุมมองทางเศรษฐกิจจากระดับนโยบาย
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความมั่นใจว่าไทยมีความแข็งเกร่งทางเศรษฐกิจสูง โดยเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.6 ซึ่งได้รับแรงสนับสนุนจากการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวต่อเนื่อง
ธนาคาร ซูมิโตโม มิตซุย แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (Sumitomo Mitsui Banking Corporation: SMBC)- SMBC สนใจลงทุนและให้เงินกู้แก่โครงการระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) และได้สอบถามนโยบายการสนับสนุนการร่วมลงทุนใน EEC โดยเฉพาะโครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอให้ SMBC ช่วยผลักดันให้นักลงทุนจากญี่ปุ่นมาลงทุนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในสาขาที่ญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญและให้ความสำคัญ เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ โดยภาครัฐมีมาตรการสนับสนุนภาคเอกชนในรูปแบบต่าง ๆ
ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้ง คอร์ปอเรชั่น (Hongkong and Shanghai Banking Corporation Limited: HSBC)- HSBC ได้หารือในประเด็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย นโยบายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเงินสีเขียว ซึ่งเป็นสาขาที่ HSBC ให้ความสำคัญโดยเฉพาะการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นว่าไทยมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจดีขึ้นตามลำดับและปัจจุบันมีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางมาไทยเกินกว่าที่ประมาณการไว้ นอกจากนี้ไทยให้ความสำคัญกับโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน รวมทั้งได้ส่งเสริมให้ภาคเอกชนของไทยไปลงทุนด้านพลังงานสะอาดในประเทศเพื่อนบ้าน โดยขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างศึกษาการกำหนดราคาและแสวงหาช่องทางการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

_____________________
* มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นพหุภาคี (CMIM) คือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเงินเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

17. เรื่อง การขอความเห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบต่อร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 15 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ร่างเอกสารที่จะร่วมรับรอง (adopt) จำนวน  12 ฉบับ และ 2) ร่างเอกสารที่จะลงนาม จำนวน 3 ฉบับ โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) หรือส่วนราชการเจ้าของเรื่องดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
                   2. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างเอกสารในข้อ 1 (ร่างเอกสารที่จะร่วมรับรอง 12 ฉบับ)
                   3. ให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามร่างเอกสารในข้อ 1 (ร่างเอกสารที่จะลงนาม 3 ฉบับ)
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กต. รายงานว่า
                   สาธารณรัฐอินโดนีเซียในฐานะประธานอาเซียน ปี พ.ศ. 2566 มีกำหนดจัดการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องระหว่างวันที่ 11 - 14 กรกฎาคม 2566  ณ กรุงจาการ์ตา สาธารณรัฐอินโดนีเซีย โดยในการประชุมดังกล่าวจะมีการรับรองหรือลงนามร่างเอกสารต่าง ๆ จำนวน 15 ฉบับ โดยแบ่งเป็น 1. ร่างเอกสารที่จะร่วมรับรอง (adopt) จำนวน 12 ฉบับ และ 2. ร่างเอกสารที่จะลงนาม จำนวน 3 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
 

ร่างเอกสารผู้รับรอง/ลงนาม
ร่างเอกสารที่จะร่วมรับรอง (adopt) จำนวน 12 ฉบับ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียนและคู่เจรจาในการส่งเสริมความร่วมมือและต่อยอดในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ   ประกอบด้วย
   (1) ร่างแถลงการณ์ร่วมของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56
   (2) ร่างแถลงการร่วมว่าด้วยการสะท้อนถึงการครบรอบ 20 ปี ของการภาคยานุวัติ เข้าเป็นอัครภาคีสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia: TAC) ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
    (3) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียน - อาโอทีอาโรอา นิวซีแลนด์ ว่าด้วยความร่วมมือต่อมุมมองอาเซียนต่ออินโด - แปซิฟิก
    (4) ร่างแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนและรัสเซียในวาระครบรอบ 5 ปี ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อาเซียน - รัสเซีย
   (5) ร่างภาคผนวกของแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความเป็นหุ้นส่วนอาเซียน – อินเดีย เพื่อสันติภาพ ความก้าวหน้า และความรุ่งเรืองร่วมกัน ค.ศ. 2021 - 2025
  (6) ร่างภาคผนวกของแผนปฏิบัติการอาเซียน - สหรัฐอเมริกา ค.ศ. 2521 – 2025: ความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์แบบรอบด้านระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกา
  (7) ร่างแนวทางการเร่งการจัดทำแนวปฏิบัติในทะเลจีนใต้ที่มีประสิทธิภาพและมีเนื้อหาที่ครอบคลุมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
  (8) ร่างแผนปฏิบัติการการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกเพื่อต่อยอดการดำเนินการตามปฏิญญากรุงพนมเปญว่าด้วยข้อริเริ่มด้านการพัฒนาภายใต้การประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ค.ศ. 2024 - 2028
  (9) ร่างแถลงการณ์การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (เออาร์เอฟ) ว่าด้วยการฉลองวาระครบรอบ 30 ปีของการประชุมเออาร์เอฟ
  (10) ร่างแถลงการณ์การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก ครั้งที่ 30 ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลในรูปแบบใหม่
  (11) ร่างแถลงการณ์การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย – แปซิฟิกว่าด้วยการลดความเสี่ยงทางนิวเคลียร์
  (12) ร่างแผนงานการประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิกว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติ ค.ศ. 2023 – 2025 
รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย
 
ร่างเอกสารที่จะลงนาม จำนวน 3 ฉบับ ซึ่งเป็นเอกสารที่รัฐมนตรีต่างประเทศ ของประเทศสมาชิกอาเซียนแต่ละประเทศจะลงนามเพื่อให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญา TAC กับสหรัฐเม็กชิโก สาธารณรัฐปานามา และราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ประกอบด้วย (13) ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสหรัฐเม็กชิโก (14) ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยสาธารณรัฐปานามา และ(15) ร่างหนังสือให้ความยินยอมต่อการภาคยานุวัติสนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบียรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
 
 

                            
                   ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน ครั้งที่ 56 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้ง 15 ฉบับ ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รวมทั้งเห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่เข้าลักษณะเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามนัยมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
18. เรื่อง ขออนุมัติการลงนามใน Letter of application for cooperating status เพื่อเข้าร่วมเป็นCooperating Non - Contracting Party (CNCP) กับคณะกรรมาธิการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเลของมหาสมุทรแอนตาร์กติก (CCAMLR) ของประเทศไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ และอนุมัติให้มีการลงนามใน Letter of application for cooperating status รวมทั้งอนุมัติในหลักการโดยก่อนที่จะมีการลงนาม หากมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขเอกสารดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่หลักการสำคัญ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก พร้อมอนุมัติให้อธิบดีกรมประมงหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายเป็นผู้ลงนามในเอกสาร Letter of application for cooperating status ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) โดยกรมประมง ได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรมีชีวิตทางทะเลของมหาสมุทรแอนตาร์กติก (CCAMLR) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีเป้าหมายเพื่ออนุรักษ์และบริหารจัดการทรัพยากรสิ่งมีชีวิตทางทะเลบริเวณมหาสมุทรขั้วโลกใต้ ให้ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกแต่ให้ความร่วมมือ (Cooperating Non - Contracting Party: CNCP) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยปฏิบัติตามมาตรการเพื่ออนุรักษ์ปลาหิมะ (Toothfish) ตามมาตรการอนุรักษ์ 10 - 05 (Conservation Measure 10 - 05) ที่ต้องการแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU) สำหรับปลาหิมะโดยเฉพาะ  ที่กำหนดให้มีการดำเนินการ เช่น จัดทำใบรับรองการจับปลาหิมะ (Dissostichus Catch Document: DCD) ใบรับรองการส่งออกปลาหิมะ (Dissostichus Export Document: DED) และใบรับรองการนำเข้าเพื่อส่งออกปลาหิมะ (Dissostichus Re - Export Document: DRED) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Catch Documentation Scheme: e - CDS) ของ CCAMLR และบังคับให้แนบใบรับรองทุกครั้งที่นำปลาหิมะ ขึ้นสู่ท่า   เป็นต้น เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มาของปลาหิมะได้ ซึ่งการเข้าร่วมเป็น CNCP ประเทศไทยจะต้องลงนามใน Letter of application for cooperating status เพื่อแสดงความยินยอมที่จะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามมาตรการอนุรักษ์ 10 - 05 (ไม่ใช่การเข้าเป็นภาคีสมาชิกของ CCAMLR) และหนังสือดังกล่าวไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้บังคับกฎหมายระหว่างประเทศ อีกทั้งไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
19. เรื่อง ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง – คงคา ครั้งที่ 12
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างเอกสารดังกล่าวที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย อนุมัติให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมให้การรับรองร่างแถลงการณ์ดังกล่าว ตามที่ประเทศสมาชิกมีฉันทามติ ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. กรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา (Mekong - Ganga Cooperation: MGC) เป็นกรอบความร่วมมือแรกของอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงกับประเทศนอกอนุภูมิภาคฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2543 วิเริ่มโดยสาธารณรัฐอินเดีย และประกอบด้วยประเทศสมาชิก 6 ประเทศ ได้แก่ ราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปโตยประชาชนลาว สาธารณรัฐแห่งสหภาพมียนมา ราชอาณาจักรไทย สารารณรัฐสังคมนิยมเวียดนามและสาธารณรัฐอินเดีย โดย MGC มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความเชื่อมโยงระหว่างสาธารณรัฐอินเดียกับอนุภูมิภาคฯ ใน 10 สาขาความร่วมมือ ได้แก่ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษา สาธารณสุขและการแพทย์แผนดั้งเดิม การเกษตรและสาขาที่กี่ยวข้อง คมนาคมและการสื่อสาร วิสาทกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดย่อม การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการพัฒนาทักษะและการเสริมสร้างศักยภาพ โดยไทยมีบทบาทสำคัญในฐานะหุ้นส่วนให้ความร่วมมือร่วมกับสาธารณรัฐอินเดีย
                   2. การประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 จะจัดขึ้นในวันที่ 16 กรกฎาคม 2566 ที่กรุงเทพฯ ในรูปแบบการประชุมแบบผสมผสาน (hybrid) โดยมีรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสาธารณรัฐอินเดียเป็นประธานร่วม และที่ประชุมจะรับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุม จำนวน 1 ฉบับ คือ ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา ครั้งที่ 12 (Joint Ministerial Statement of the 12th  Mekong - Ganga Cooperation Ministerial Meeting) พร้อมด้วยเอกสารภาคผนวก (Annex) จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) เอกสารแนวคิดเรื่องกลไกประเทศผู้ขับเคลื่อนหลัก (Lead Country) ในแต่ละสาขาความร่วมมือภายใต้ MGC และ (2) เอกสารแนวคิดเรื่องการจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือลุ่มน้ำโขง - คงคา (MGC Business Council)
                   3. ร่างแถลงการณ์ร่วมฯ เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ของรัฐมนตรีประเทศสมาชิก MGC ที่มุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่าง ๆ เช่น (1) ทบทวนความก้าวหน้าและย้ำความมุ่งมั่นในการส่งเสริมความร่วมมือของ MGC ทั้ง 10 สาขา เพื่อฟื้นฟูพลวัตและขับเคลื่อนผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการฟื้นฟูกลไกประเทศผู้ขับเคลื่อนหลัก (Lead Country) ในแต่ละสาขาความร่วมมือ (2) ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะการผลักดันการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงบทบาทของวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดเล็กและขนาดย่อม (MSMEs) ผ่านกลไกการสัมมนาทางธุรกิจ และการจัดตั้งสภาธุรกิจกรอบความร่วมมือฯ (3) ย้ำความสำคัญของการเชื่อมโยงผ่านโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืนและยืดหยุ่นเพื่อผลประโยชน์ของประชาชนในอนุภูมิภาคฯ โดยเฉพาะโครงการเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมระหว่างอินเดีย -เมียนมา - ไทย (โครงการถนนสามฝ่าย) และการให้ความสำคัญกับการสอดประสานการทำงานร่วมกันระหว่าง MGC กับยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี - เจ้าพระยา - แม่โขง (ACMECS) ความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาวิชาการและเศรษฐกิจ (BIMSTEC และอาเชียน (4) ย้ำการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการเพิ่มพูนความร่วมมือด้านการศึกษา การส่งเสริมทักษะและศักยภาพ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และนวัตกรรม การเกษตร สาธารณสุข และการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวและวัฒนธรรม
 
20. เรื่อง ขออนุมัติทบทวนองค์ประกอบของคณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และองค์การต่างประเทศ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการต่างประเทศเสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2562 [เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรี (กต.)] โดยขอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ องค์การระหว่างประเทศอื่น ๆ และองค์การต่างประเทศ โดยขอเพิ่มผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นกรรมการในคณะกรรมการประสานงานด้านสหประชาชาติ ฯ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 11 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป
 

แต่งตั้ง

 
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงพาณิชย์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เสนอแต่งตั้ง นายณรงค์  งามสมมิตร ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง] กองกฎหมาย กรมการค้าภายใน ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษากฎหมาย (นิติกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงพาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติคราบถ้วนสมบูรณ์ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ราย ตั้งแต่วันที่  21 มีนาคม 2566 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์และมีคำสั่งให้รักษาการในตำแหน่ง ดังนี้ 
                   1. นายจิตรพรต พัฒนสิน ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง]  กองกฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 
                   2. นางสาวนริศรา แดงไผ่ ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง]  กองกฎหมายกระบวนการยุติธรรม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา 
                   3. นางสาวจีรภัทร์ การประเสริฐกิจ ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง] กองกฎหมายการเงินการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ  (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                   4. นายชนิสร์ คล้ายสังข์ ผู้อำนวยการกอง [ผู้อำนวยการเฉพาะด้าน (นิติการ) ระดับสูง]  กองกฎหมายสวัสดิการสังคม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำรงตำแหน่ง กรรมการร่างกฎหมายประจำ  (นักกฎหมายกฤษฎีกาทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
                    และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
23. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักข่าวกรองแห่งชาติเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                   1. นางสาวสถาพร บุญประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนัก 7 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านข่าวกรองความมั่นคงและสถาบันหลัก (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม 2566 
                   2. นายไสว โชคเจริญเลิศ ผู้อำนวยการสำนัก (ผู้อำนวยการระดับสูง) สำนัก 2 สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาระบบงานการข่าว (นักการข่าวทรงคุณวุฒิ) กลุ่มงานที่ปรึกษา สำนักข่าวกรองแห่งชาติ ตั้งแต่วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 
                   และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
24. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอ แต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 3 ราย เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง ดังนี้
                     1. นายสถาพร เที่ยงธรรม รองอธิบดีกรมศิลปากร ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    2. นายสำรวย นักการเรียน รองอธิบดีกรมการศาสนา ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    3. นางรักชนก โคจรานนท์ รองอธิบดีกรมศิลปากร ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                    และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
25. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เสนอการแต่งตั้ง  นายสัมพันธ์ เตชะเจริญกุล เป็นข้าราชการการเมืองตำแหน่งผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ [รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสุนทร ปานแสงทอง)] โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่  11 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว