“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาการดำรงชีวิตและการปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันโลกยุคโลกาภิวัตน์
.
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักปรัชญาที่ ในหลวง ร.9 พระราชทานแก่สังคมไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517 ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ “ความสุข” และ “ประโยชน์สุข” ของประชาชนและสังคมเป็นหลัก
.
กระบวนการดังกล่าวเกิดขึ้นได้บนพื้นฐานของหลัก 3 ประการและเงื่อนไข 2 ประการ ประกอบด้วย
.
หลัก 3 ประการ ได้แก่
.
1. มีเหตุผล คือ ในการดำเนินการใด ๆ ต้องมองเห็นทางเลือกที่เกี่ยวข้อง เห็นเหตุและผล และผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของทางเลือกต่างๆ เห็นผลที่เป็นคุณค่าแท้ของการดำเนินการนั้น ๆ
.
2. พอประมาณ คือ การดำเนินการควรต้องใช้ทรัพยากรและดำเนินการในระดับที่พอดีเหมาะสมกับเงื่อนไขที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายในแบบที่ประหยัดไม่เกิดของเสียโดยไม่จำเป็น
.
3. มีภูมิคุ้มกัน คือ มีการพิจารณาถึงแผนสำรอง รองรับการเปลี่ยนแปลงที่คาดไม่ถึง
.
เงื่อนไข 2 ประการ ได้แก่
.
1. ความรู้ คือ ต้องมีทั้งองค์ความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและมีสติปัญญาที่จะพิจารณาว่าสิ่งที่เลือกจะนำไปสู่ความสุขและประโยชน์สุขหรือไม่
.
2. คุณธรรม คือ อยู่บนฐานของหลักคุณธรรมและศีลธรรมอันดีของสังคม ไม่ส่งผลกระทบทางลบต่อผู้อื่นหรือสิ่งแวดล้อม
ขอบคุณแหล่งที่มา https://www.facebook.com/