วันจันทร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2567
Google Slides เพื่อการนำเสนองานอย่างมืออาชีพ
Google Slides คือ แพลตฟอร์มออนไลน์และออฟไลน์ที่ให้คุณแก้ไขเอกสารได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต แพลตฟอร์มนี้เป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรแกรม Google Drive ร่วมกับบริการอื่นๆ เช่น Google Docs หรือ Google Sheets ปัจจุบันนี้ การมีบัญชี Google ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะเป็นบริการฟรีที่ให้คุณแก้ไขเอกสารใน Google Slides ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น!
เคล็ดลับการใช้ Google Slides ที่น่าสนใจ
(2) สามารถใช้ภาพและอนิเมชันได้ : เพิ่มความน่าสนใจให้กับงานนำเสนอของคุณด้วยการใช้ภาพและอนิเมชัน สามารถนำเข้าภาพหรือวิดีโอจาก Google Drive, เว็บ, หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อให้งานนำเสนอของคุณมีการเคลื่อนไหวและสร้างประทับใจ
(3) สามารถใช้งานร่วมกับ Google และแอพพลิเคชันอื่นๆได้ : นอกจาก Google Sheets คุณยังสามารถนำเข้าเนื้อหาจาก Google Docs, Google Forms, Google Maps, และแอพพลิเคชันอื่นๆ ของ Google Workspace เพื่อเพิ่มความหลากหลายและความสมบูรณ์ในงานนำเสนอของคุณ
(4) สามารถเลือกรูปแบบของข้อความและการเสนอให้เหมาะสมกับงานได้ : ควรเลือกใช้รูปแบบของข้อความที่เหมาะสมและสวยงาม เช่น การใช้ขนาดตัวอักษรที่เหมาะสม, การเปลี่ยนสีของข้อความ, การเพิ่มเว้นระยะหรือการจัดตำแหน่งข้อความให้เหมาะสม
(5) สามารถทดลองใช้ฟังก์ชันและฟีเจอร์ใหม่ๆได้ : Google Slides เป็นเครื่องมือที่ก้าวหน้าอยู่เสมอ ลองใช้ฟังก์ชันและฟีเจอร์ใหม่ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและให้งานนำเสนอของคุณดูมีชีวิตชีวามากขึ้น
(6) การใช้งานการแชร์และการร่วมงาน : ใช้ฟังก์ชันการแชร์และการร่วมงานเพื่อทำงานร่วมกับผู้อื่นในเวลาเดียวกัน นอกจากนี้ยังสามารถใช้คอมเมนต์และสแตกโชว์ในเวลาเดียวกันได้เพื่อให้การประชุมหรือการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้น การสร้างลิงก์หรือรหัส QR : สร้างลิงก์หรือรหัส QR เพื่อเปิดดูงานนำเสนอออนไลน์ นอกจากนี้ยังสามารถแชร์ลิงก์หรือรหัส QR เหล่านี้ให้ผู้ชมหรือผู้เข้าร่วมงานได้โดยง่าย
Google Sheets เพื่อการจัดการข้อมูลอย่างง่าย
ความสามารถของ Google Sheets
- สร้างตาราง สร้างเอกสารคำนวณ
- สร้างการคำนวณมีสูตรคำนวณมากมาย (หลายสูตรเหมือน Excel และมีบางสูตรไม่เหมือน Excel)
- สามารถจัดรูปแบบอัตโนมัติได้ คล้าย ๆ Conditional Formatting ใน Excel
- ทำการสรุปข้อมูลได้ด้วย Pivot Table
- มีกราฟให้เลือกมากมาย เช่น Column, Bar, Pie, Treemap, Map เป็นต้น
- ทำงานได้โดยใช้ Browser เท่านั้น ไม่ต้องติดตั้งโปรแกรมใด ๆ
- มีการบันทึกข้อมูลให้อัตโนมัติ (Autosave)
- แชร์ (Share) และแจ้งเตือน (Notification) ได้
- สามารถนำเอา Excel แปลงเป็น Sheets ได้
- สามารถ Download เอกสาร Sheets เป็นไฟล์ Excel, CSV, PDF ได้
- สามารถใช้เป็น Data Source ให้กับ Power BI หรือ Google Data Studio ได้
- สามารถติดตั้ง Add-Ons เพิ่มเติม เพื่อเพิ่มความสามารถให้ Sheets ได้ เช่น การทำ Mail Merge
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2567
Google Docs เพื่อการสร้างงานเอกสารและทำงานข้อมูลร่วมกัน
Google Drives เพื่อการจัดการข้อมูลและแบ่งปันพื้นที่การทำงานร่วมกัน
วันพุธที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2567
องค์ประกอบการพัฒนาตนเอง
(1) มีจุดมุ่งหมาย (Aim) คือ การที่บุคคลนั้นกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน การกำหนดทิศทางและเป้าหมายเป็นเรื่องสำคัญ การพัฒนาตนเองแบบมีจุดมุ่งหมาย เปรียบเสมือนนักเดินทางที่ต้องมีแผนที่และเข็มทิศ และไม่ควรเสียเวลาไปกับเรื่องที่ไม่สำคัญ
(2) ทัศนคติที่ดี (Attitude) คือ การมีทัศนคติในเชิงบวก นำมาซึ่งการนับถือตัวเองทำให้มองเห็นตัวเอง ต้องการอะไรและมองผู้อื่นในแง่ดีเสมอ
(3) ความรู้ความสามารถ (Ability) คือ การพยายามไม่ดูถูกตัวเอง ไม่เกี่ยงงาน อย่าปฏิเสธโอกาสของการทำงาน เมื่อไรก็ตามที่พบปัญหาและอุปสรรคหรือความยุ่งยาก จงถือว่าเป็นบทเรียนฝึกฝนที่ดี
6 ขั้นตอนสร้างแรงจูงใจในองค์กรสู่การเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล
(2) Share ร่วมกันสร้างวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน ในการสร้างความเปลี่ยนแปลง
(3) Compose สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่นำไปสู่วิสัยทัศน์ที่วางไว้
(4) Enable สร้างแนวทางการปรับตัวที่ให้พนักงานมีส่วนร่วม
(5) Permit สร้างวิธีการทำงานรูปแบบใหม่ ให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
(6) Attract กระตุ้นพฤติกรรมเชิงบวกที่สอดรับกับวิสัยทัศน์ด้านการเปลี่ยนแปลง
วันอังคารที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2567
การบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล
การบริหารงานภาครัฐและการจัดทำบริการสาธารณะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและอำนวยการสะดวกในการให้บริการและการเข้าถึงประชาชน ต้องมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) นำระบบดิจิทัลที่เหมาะสมมาใช้ในหน่วยงานของรัฐทุกแห่ง
(2) พัฒนามาตรฐาน หลักเกณฑ์ วิธีการ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านดิจิทัลที่จำเป็นให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
(3) สร้างและพัฒนาระบบความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ระบบดิจิทัลและมาตรการปกป้องคุ้มครองข้อมูล
(4) เปิดเผยข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะ ในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล
(5) รักษาวินัย การเงิน การคลังภาครัฐ และเพิ่มประสิทธิภาพ การใช้จ่ายงบประมาณ ให้เกิดความคุ้มค่า และเป็นไปตามเป้าหมาย
วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2567
รัฐบาลดิจิทัล คืออะไร ?
การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา
(1) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยงานของรัฐ
(2) เหตุสุดวิสัย
(3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
(4) เหตุอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง
หลักเกณฑ์และวิธีการของดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทําการตามสัญญา หรือข้อตกลง ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด
วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2567
รวมไฟล์แบบพิมพ์หนังสือราชการ
- หนังสือภายนอก
- หนังสือภายใน
- หนังสือประทับตรา
- คำสั่ง
- ระเบียบ
- ข้อบังคับ
- ประกาศ
- แถลงการณ์
- ข่าว
- หนังสือรับรอง
- รายงานการประชุม (พร้อมสาระการประชุม)
- แบบปกเอกสารลับ
วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2567
เสริมสร้างเกียรติภูมิข้าราชการ : สำนึกข้าราชการไทยไม่โกง
ประเภทของการทุจริต
(1) การทุจริตโดยตรง เป็นการทุจริตเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
(2) การทุจริตโดยอ้อม เป็นการทุจริตเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย แต่ผู้ทุจริตไม่ได้ลงมือกระทำการด้วยตนเอง แต่อาศัยผู้อื่นเป็นคนกลางหรือผู้รับผลประโยชน์แทน
(3) การทุจริตเชิงนโยบาย เป็นรูปแบบการคอร์รัปชันที่เกี่ยวกับบุคคล กลุ่มบุคคล นักการเมือง ข้าราชการ พ่อค้า นายทุน ซึ่งมีเทคนิควิธีการซับซ้อน โดยมีการกำหนดนโยบาย โครงการหรือกิจกรรมที่จะทำโดยหน่วยงานของรัฐ อ้างว่าเป็นโครงการที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชน
(4) การทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ เป็นการใช้ตำแหน่งหรืออำนาจทางราชการและการเมือง เพื่อให้ได้มาซึ่งรายได้และการฉ้อโกงเอาเงินสาธารณะมาเป็นของตนและพรรคพวกหรือหาประโยชน์อื่น
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (สำนักงาน ก.พ.)
ควร - ต้อง ต่างกันอย่างไร ?
ต้อง ใช้ในการบังคับ
- ตัวอย่างเช่น เป็นไปตามระเบียบที่ต้องปฏิบัติ
ควร ใช้ในการคล้ายตาม
- ตัวอย่างเช่น เป็นข้อแนะนำที่ควรปฏิบัติ
ตราครุฑในหนังสือราชการไทย
(1) ครุฑเท้าตั้ง หรือ ครุฑดุน ใช้กับพระมหากษัตริย์เท่านั้น โดยใช้เป็นตราราชการของกรมราชองครักษ์ และหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึงใช้บนหน้าปกราชกิจจานุเบกษาและหนังสือเดินทาง
(2) ครุฑเท้าเหยียดตรง
(2.1) หนังสือราชการภายนอก ใช้ขนาดสูง 3 เซนติเมตร
(2.2) หนังสือราชการภายใน ใช้ขนาดสูง 1.5 เซนติเมตร
วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2567
การทำอินโฟกราฟิก (Infographic) เพื่อการประชาสัมพันธ์
ลักษณะที่ดีของอินโฟกราฟิก (Infographic)
(1) ข้อมูลในอินโฟกราฟิกต้องสั้น กระชับ ตัดทอนในส่วนที่ไม่จำเป็นออก
(2) ภาพที่ใช้ทำอินโฟกราฟิกต้องเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน
(3) อินโฟกราฟิกที่ดีต้องออกแบบให้เรียบง่ายสบายตา จัดวางองค์ประกอบอย่างลงตัว
ส่วนประกอบหลักของข้อมูลในอินโฟกราฟิก ประกอบด้วย หัวเรื่องหรื่อชื่อเรื่อง เนื้อความ ที่มาของข้อมูล และข้อมูลอื่น ๆ เช่น QR CODE, โลโก้, ช่องทางการติดต่อ เป็นต้น
วันอังคารที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2567
การเก็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่มีอายุการเก็บหนังสือ เว้นแต่กรณีมีความจำเป็นต้องเพิ่มพื้นที่จัดเก็บในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ หรือมีเหตุผลความจำเป็นอื่นใด หัวหน้าส่วนราชการจะมีคำสั่งให้ทำลายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มิใช่เอกสารจดหมายเหตุที่เก็บมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปีแล้วได้
การเก็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การเก็บด้วยรูปแบบมาตรฐาน เช่น PDF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 150 dpi โดยสำรองข้อมูล (Backup) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้อีกแห่ง
การทำลายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
การทำลายหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีลบออกจากระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ และให้ลบไฟล์หนังสือที่เก็บไว้ เป็นเวลานานที่สุดย้อนขึ้นมา
บริการที่รองรับการยืนยันตัวตนด้วย ThaiD Application มีอะไรบ้าง ?
- งานทะเบียนออนไลน์
- ยื่นภาษีออนไลน์
- ระบบ Health link
- ระบบยื่นคำขอรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมออนไลน์
- แอปพลิเคชัน เงินเด็ก
- ระบบการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
- ระบบแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์
- ระบบ DIP e-services
- ระบบ SEIS
- ระบบจองหมายเลขทะเบียนรถยนต์ผ่านอินเตอร์เน็ต
- ระบบ LandsMaps
- สมุดสุขภาพ
- ระบบ Admission มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- ระบบงานคดีปกครอง
- ระบบสารสนเทศในการให้บริการประชาชน (Local Service)
- แอปพลิเคชัน ทางรัฐ
- ระบบกลางการให้บริการภาครัฐผ่านระบบ Online
- แอปพลิเคชัน My GPF
- ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค
วันจันทร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2567
ThaID (ไทยดี) คืออะไร ?
ThaID (ไทยดี) คือ แอปพลิเคชันที่ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในการพิสูจน์และยืนยันตัวตน (Digital ID) รวมถึงการเปรียบเทียบภาพใบหน้า (Face Verification System) ทางดิจิทัล เมื่อประชาชนเข้าไปใช้บริการจากทางภาครัฐหรือภาคเอกชนที่จำเป็นต้องมีการยืนยันตัวตน ก็สามารถเข้าสู่ระบบแอปพลิเคชัน ThaID เพื่อยืนยันตัวตนได้เลย โดยไม่ต้องกรอกข้อมูลให้เสียเวลา ถือเป็นการสร้างมิติใหม่ของการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดิจิทัล ที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
ผู้ประสงค์ขอลงทะเบียนระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล DOPA-Digital ID สามารถดำเนินการ ดังนี้
(1) ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน ThaID ลงในโทรศัพท์มือถือของตนเองก่อนเข้ามาขอรับบริการลงทะเบียน ใช้ได้ทั้งระบบไอโอเอส (IOS) และระบบแอนด์ดรอย (Android)
(2) ผู้ประสงค์ขอลงทะเบียนสามารถลงทะเบียนได้ 2 วิธี ได้แก่
- ลงทะเบียนด้วยตนเอง
- ลงทะเบียนผ่านเจ้าหน้าที่
สาระสำคัญของนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565 - 2570
นโยบายและแผนปฏิบัติการเพื่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2565 – 2570 เป็นแผนแม่บทในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในสถานการณ์ปกติและในสถานการณ์ที่อาจจะ เกิดหรือเกิดภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายยุทธศาสตร์และแผนระดับชาติ และกรอบนโยบายและแผนแม่บทที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ด้านการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยไซเบอร์ จึงได้กำหนดยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 2 : บูรณาการความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการรับมือ ทางไซเบอร์และฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ (Partnership)
ยุทธศาสตร์ที่ 4 : สร้างศักยภาพของหน่วยงานระดับชาติให้มีคุณภาพและมาตรฐาน (Standard)
วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2567
แนวทางการบริหารราชการเพื่อให้เกิดประโยชน์สุดของประชาชน
มาตรา 7 การบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน หมายถึง การปฏิบัติราชการที่มีเป้าหมายเพื่อให้เกิดความผาสุกและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน ความสงบและปลอดภัยของสังคม
ส่วนรวม ตลอดจนประโยชน์สูงสุดของประเทศ
มาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน ส่วนราชการจะต้อง
ดำเนินการ โดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางท่ีจะได้รับการบริการจากรัฐ และจะต้องมีแนวทางการ
บริหารราชการดังต่อไปนี้
(1) การกำหนดภารกิจของรัฐและส่วนราชการต้องเป็นไปเพื่อวัตถุประสงค์ตามมาตรา 7 และสอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐและนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา
(2) การปฏิบัติภารกิจของส่วนราชการต้องเป็นไปโดยซื่อสัตย์สุจริต สามารถตรวจสอบได้
และมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่ประชาชนทั้งในระดับประเทศและท้องถิ่น
(3) ก่อนเริ่มดำเนินการ ส่วนราชการต้องจัดให้มีการศึกษาวิเคราะห์ผลดีและผลเสียให้
ครบถ้วน ทุกด้าน กำหนดข้ันตอนการดำเนินการที่โปร่งใส มีกลไกตรวจสอบการดำเนินการในแต่ละขั้นตอน ในกรณีที่ภารกิจใดจะมีผลกระทบต่อประชาชน ส่วนราชการต้องดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของ
ประชาชนหรือชี้แจงทำความเข้าใจเพื่อให้ประชาชนได้ตระหนักถึงประโยชน์ที่ส่วนรวมจะได้รับจากภารกิจนั้น
(4) ให้เป็นหน้าที่ของข้าราชการที่จะต้องคอยรับฟังความคิดเห็นและความพึงพอใจของ
สังคมโดยรวมและประชาชนผู้รับบริการ เพื่อปรับปรุงหรือเสนอแนะต่อผู้บังคับบัญชา เพื่อให้มีการปรับปรุงวิธีปฏิบัติราชการให้เหมาะสม
(5) ในกรณีที่เกิดปัญหาและอุปสรรคจากการดำเนินการ ให้ส่วนราชการดำเนินการแก้ไข
ปัญหาและอุปสรรคนั้นโดยเร็ว ในกรณีที่ปัญหาหรืออุปสรรคนั้นเกิดขึ้นจากส่วนราชการอื่น หรือ
ระเบียบข้อบังคับที่ออกโดยส่วนราชการอื่น ให้ส่วนราชการแจ้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อดำเนินการแก้ไขปรับปรุงโดยเร็วต่อไป และให้แจ้ง ก.พ.ร. ทราบด้วย
ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินเพิ่มการครองชีพชั่วคราวของข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2567
ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.dla.go.th/
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
การบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 ได้แก่ การบริหารราชการเพื่อบรรลุเป้าหมาย ดังต่อไปนี้
(1) เพื่อให้เกิดประโยชน์สุขของประชาชน
(2) เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ
(3) มีประสิทธิภาพและเกิดความคุ้มค่าในเชิงภารกิจของรัฐ
(4) ไม่มีขั้นตอนในการปฏิบัติงานเกินความจำเป็น
(5) มีการปรับปรุงภารกิจของส่วนราชการให้ทันต่อสถานการณ์
(6) ประชาชนได้รับความอำนวยความสะดวกและได้รับการตอบสนองต่อความต้องการ
(7) มีการติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ
วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2567
“การปฏิบัติราชการแทน” – “การรักษาราชการแทน” แตกต่างกันอย่างไร ?
การปฏิบัติราชการแทน : ผู้มีอำนาจในการปฏิบัติหน้าที่มอบอำนาจที่ตนมีอยู่ให้บุคคลอื่นปฏิบัติแทน
การรักษาราชการแทน : กรณีไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนั้น หรือมีแต่ไม่อาจปฏิบัติราชการได้ กฎหมายกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งเข้าไปรักษาราชการแทนตำแหน่งนั้น โดยมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งตนแทน
ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534
10 ข้อควรเลี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงในการกระทำความผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ฯ
(1) เผยแพร่ข้อมูลที่ไม่เหมาะสม เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งผู้อื่นสามารถเข้าไปดูได้ เช่น ข้อมูลลามกอนาจาร ข้อมูลเกี่ยวกับการก่อการร้าย ข้อมูลเท็จที่ส่งผลต่อความมั่นคงประเทศ
(2) นำภาพตัดต่อ ดัดแปลง เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ โดยมีเจตนาทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียง ได้รับความอับอาย
(3) ปลอมแปลง ทำลาย แก้ไข ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น โดยเจ้าของไม่อนุญาต
(4) ขัดขวาง รบกวน การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
(5) แอบดักรับข้อมูลของผู้อื่นระหว่างการส่งข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
(6) Hack ระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน เช่น ปลอมแปลง Password เพื่อเข้าใช้งาน
(7) เข้าดูหรือขโมยข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น
(8) จำหน่ายหรือเผยแพร่โปรแกรมสำหรับใช้กระทำความผิด
(9) ใช้ Username/Password ที่ไม่ใช่ของตนเอง
(10) เผยแพร่ภาพ ข้อมูลใด ๆ ที่หมิ่นสถาบันเบื้องสูง
วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2567
“ละทิ้ง” – “ทอดทิ้ง” หน้าที่ราชการ
การกระทําผิดวินัยในลักษณะดังต่อไปนี้ เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง
(2) ละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการ อย่างร้ายแรง
(3) ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อในคราวเดียวกันเป็นเวลาเกินสิบห้าวันโดยไม่มีเหตุอันสมควร หรือโดยมีพฤติการณ์อันแสดงถึงความจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการ
(4) กระทําการอันได้ชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง
(5) ดูหมิ่น เหยียดหยาม กดขี่ ข่มเหง หรือทําร้ายประชาชนผู้ติดต่อราชการอย่างร้ายแรง
(6) กระทําความผิดอาญาจนได้รับโทษจําคุกหรือโทษที่หนักกว่าโทษจําคุกโดยคําพิพากษา ถึงที่สุดให้จําคุกหรือให้รับโทษที่หนักกว่าโทษจําคุก เว้นแต่เป็นโทษสําหรับความผิดที่ได้กระทํา โดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
(7) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 82 หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 อันเป็นเหตุให้เสียหายแก่ราชการอย่างร้ายแรง
(8) ละเว้นการกระทําหรือกระทําการใด ๆ อันเป็นการไม่ปฏิบัติตามมาตรา 80 วรรคสอง และมาตรา 82 (11) หรือฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 83 (10) ที่มีกฎ ก.พ. กําหนดให้เป็นความผิดวินัย อย่างร้ายแรง
การพัฒนาตนเองด้วย 6Q สู่ความสำเร็จ
(3) AQ (Adversity Quotient) คือ ความสามารถในการสร้างตัวเอง เพื่อเป็นอุปสรรคให้เป็นความท้าทาย ค่อนข้างยากสำหรับคนทั่วไป เพราะต้องมีความอดทน กล้าทำในสิ่งที่ตนเองกลัว และมีความพร้อมที่จะเผชิญกับวิกฤต
(4) CQ (Creative Quotient) คือ ความฉลาดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เพื่อให้มีทางเลือกที่หลากหลาย สามารถคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์
(6) SQ (Sporitual Quotient) คือ ความฉลาดด้านจิตใจ ความรู้สึก การที่เราสร้างความเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรมในการปฏิบัติงาน
วันอังคารที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2567
จุดประสงค์ของหนังสือ-ภาคสรุปในหนังสือราชการ
จุดประสงค์ของหนังสือ การเขียนภาคสรุป เป็นการเขียนจุดประสงค์ที่มีหนังสือไป จะต้องเขียนให้ชัดเจน ตรงประเด็น เพื่อให้ผู้รับเข้าใจและดำเนินการได้ทันที
1. คำขอ
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดนำเสนอ.........พิจารณาต่อไปด้วย จะขอบคุณยิ่ง
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความอนุเคราะห์ด้วย จะขอบคุณยิ่ง
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดให้ความร่วมมือ.........
2. คำแจ้ง
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ /จึงเรียนมาเพื่อทราบ
- จึงเรียนมาเพื่อแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
3. คำสั่ง
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการต่อไป /นึงเรียนมาเพื่อดำเนินการต่อไป
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวต่อไป
- จึงเรียนมาเพื่อถือปฏิบัติต่อไป
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดกำชับเจ้าหน้าที่ให้ระมัดระวังมิให้เกิดกรณีเช่นี้ขึ้นอีก
4. คำหารือ
- จึงเรียนมาเพื่อขอหารือว่า...................
5. คำซักซ้อม
- จึงเรียนมาเพื่อขอซักซ้อมความเข้าใจ และถือปฏิบัติต่อไป
6. คำยืนยัน
- จึงเรียนมาเพื่อทราบและขอยืนยันข้อตกลงดังกล่าวมา ณ ที่นี้
7. คำเตือน
- จึงเรียนมาเพื่อโปรดดำเนินการเรื่องดังกล่าวให้เสร็จโดยด่วนด้วย
ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
ข้อมูลส่วนบุคคล คืออะไร มีอะไรบ้าง ?
คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม และข้อมูลนิติบุคคล ไม่ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคลตาม พ.ร.บ.นี้
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล (Data Subject) มีสิทธิอะไรบ้าง ?
(1) สิทธิได้รับการแจ้งให้ทราบ (Right to be informed)
(2) สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Right of access)
(3) สิทธิในการขอให้โอนข้อมูลส่วนบุคคล (Right to data portability)
(4) สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (Right to object)
(5) สิทธิขอให้ลบหรือทำลาย หรือทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคล (Right to erasure (also known as right to be forgotten)
(6) สิทธิขอให้ระงับการใช้ข้อมูล (Right to restrict processing)
(7) สิทธิในการขอให้แก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล (Right of rectification)
(8) สิทธิการเพิกถอนความยินยอม (Right to Window Consent)
วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2567
ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์หนังสือราชการ
ตราครุฑสำหรับแบบพิมพ์หนังสือราชการ ให้ใช้ตามแบบที่ 26 ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526
โดยมีทั้งหมด 2 ขนาด ได้แก่
1) ขนาดตัวครุฑสูง 3 เซนติเมตร
2) ขนาดตัวครุฑสูง 1.5 เซนติเมตร
การวางครุฑในการพิมพ์หนังสือราชการ
1) กระดาษตราครุฑ
- ใช้กระดาษ A4
- พิมพ์ครุฑขนาดสูง 3 เซนติเมตรด้วยหมึกสีดำ หรือทำเป็นครุฑดุนที่กึ่งกลางส่วนบนของกระดาษ
2) กระดาษบันทึกข้อความ
- ใช้กระดาษขนาด A4 หรือขนาด A5
- พิมพ์ครุฑขนาดสูง 1.5 เซนติเมตรด้วยหมึกสีดำที่มุมบนด้านซ้าย
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Open Data
ประโยชน์ที่ได้รับจากการใช้ Open Data
1. Transparency เป็นการเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐให้ประชาชนและภาคประชาสังคมเข้าถึงข้อมูลและสามารถตรวจสอบการดำเนินของภาครัฐตามนโยบายที่ประกาศให้ไว้กับประชาชน
2. Releasing social and commercial value ในยุคดิจิตอลข้อมูลเป็นทรัพยากรที่สำคัญสำหรับสร้างนวัตกรรม การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐเป็นแหล่งข้อมูลหนึ่งที่ช่วยผลักดันการสร้างนวัตกรรมและบริการใหม่ๆ เผยแพร่สู่สังคมและเชิงพาณิชย์
3. Participation and engagement ประชาชนซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินงานของภาครัฐ ที่มีผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ รวมทั้งนำความคิดเห็นดังกล่าวไปประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและการตัดสินใจของภาครัฐเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ กับประชาชนมากขึ้น
วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2567
หัวใจของ Open Data
Open Data คืออะไร?
ข้อมูลเปิดที่ทุกคนสามารถนำไปใช้ได้โดยอิสระ เช่นการนำไปใช้ การนำกลับมาใช้ใหม่ หรือนำไปเผยแพร่ได้โดยใครก็ตาม ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่อยู่บนเว็บไซต์ data.go.th นี้ เป็นข้อมูลเปิดของภาครัฐ (Open Government Data)
หัวใจของ Open Data นั้นแบ่งเป็น 3 ประการ ได้แก่
1. Availability and Access คือ ข้อมูลที่เปิดเผยต้องสามารถใช้งานได้ทั้งหมดและกรณีที่มีค่าใช้จ่ายจะต้องไม่มากไปกว่าการทำสำเนา สำหรับการเผยแพร่จะต้องอยู่ในรูปแบบที่ง่ายต่อการใช้งานและสามารถแก้ไขได้ สามารถดาวน์โหลดฟรีผ่านอินเตอร์เน็ต
2. Re-use and Redistribution คือ ข้อมูลที่เผยแพร่ต้องถูกจัดเตรียมภายใต้เงื่อนไข การอนุญาตให้นำมาใช้ใหม่และเผยแพร่ได้ รวมถึงการใช้ชุดข้อมูลร่วมกับชุดข้อมูลอื่น ๆ
3. Universal Participation คือ ทุกคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำไปใช้ การใช้ซ้ำ การเผยแพร่ โดยไม่ติดเรื่องข้อจำกัดใดๆ
หมายเหตุ : การใช้ข้อมูลจะต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของเจ้าข้อมูลนั้นๆ เช่น หากเป็นข้อมูลที่ไม่อนุญาตให้ใช้งานเชิงพาณิชย์ (Non-Commercial) จะไม่สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ หรือข้อมูลนั้นอาจมีข้อจำกัดในการใช้งานเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่างเช่น ใช้ในการศึกษาเท่านั้น ก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้
4 ขั้นตอนง่าย ๆ ใช้บริการภาครัฐด้วยแอปทางรัฐ
2. สแกนบัตรประชาชนและใบหน้าของผู้ใช้งาน
3. ระบุบัญชีผู้ใช้งานและรหัสผ่าน
4. เริ่มต้นการใช้งาน
แนวทางในการทบทวนสิทธิ์ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นที่เข้าใช้งานผ่านระบบยืนยันตัวตน (SSO) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
วันพฤหัสบดีที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2567
Digital ID คืออะไร?
ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID) หมายถึง เครือข่ายทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่เชื่อมโยงข้อมูลระหว่างบุคคลใด ๆ หรือหน่วยงานของรัฐ การทำธุรกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กับการพิสูจน์และยืนยันตัวตน
ประโยชน์ของระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (Digital ID)
เพื่อให้ประชาชน ภาคธุรกิจ ชาวต่างชาติ ยืนยันตัวตนเพียงครั้งเดียว ต่อไปก็สามารถทำธุรกรรมออนไลน์กับภาครัฐ โดยไม่ต้องเดินทางไปติดต่อกับส่วนราชการ ซึ่งเป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
รู้ทันโจรดิจิทัล อย่าทำ 3 สิ่งนี้ ป้องกัน Ransomware
2. ไม่คลิกลิงก์แปลก ๆ ที่ส่งมาจากอีเมล Facebook, Twitter หรือจากโซเชียลมีเดียต่าง ๆ แม้จะเป็นผู้ส่งที่คุ้นเคยก็ต้องระวังหากพบว่าลิงก์นั้นน่าสงสัย
3. ไม่ลืมอัปเดตระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในเวอร์ชันล่าสุดเสมอ