วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อจัดจ้าง

          เพื่อให้การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานของรัฐสามารถดำเนินการได้โดยสะดวก รวดเร็ว เป็นการลดภาระให้กับหน่วยงานของรัฐ และสอดคล้องกับพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ด้วย กรมบัญชีกลาง โดยคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กค (กวจ) 0405.2/ว 348 ลงวันที่ 14 มิถุนายน 2564 แจ้งเวียนหัวหน้าส่วนราชการ หัวหน้ารัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารท้องถิ่น และหัวหน้าหน่วยงานอื่นของรัฐ เพื่อทราบ และแจ้งให้หน่วยงานในสังกัดและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องถือปฏิบัติต่อไป เรื่อง การใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยกำหนดและแจ้งแนวทางปฏิบัติในเรื่องการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐเข้าใจถูกต้องและปฏิบัติให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน


ที่มา : สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (www.etda.or.th) 

หลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ

          ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ด่วนที่สุด นร 0704/ว68 เรื่อง การปรับปรุงหลักการจำแนกประเภทรายจ่ายตามงบประมาณ โดยรายจ่ายตามงบประมาณจำแนกออกเป็น 2 ลักษณะ ได้แก่ 
          1. รายจ่ายของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ หมายถึง รายจ่ายซึ่งกำหนดไว้สำหรับแต่ละส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยเฉพาะ จำแนกออกเป็น 5 ประเภทรายจ่าย ได้แก่ 
              1.1 งบบุคลากร
              1.2 งบดำเนินงาน
              1.3 งบลงทุน
              1.4 งบเงินอุดหนุน
              1.5 งบรายจ่ายอื่น
          2. รายจ่ายงบกลาง หมายถึง รายจ่ายที่ตั้งไว้เพื่อจัดสรรให้ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจโดยทั่วไปใช้จ่าย ตามรายการดังต่อไปนี้
              2.1 เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ
              2.2 เงินช่วยเหลือข้าราชการ
              2.3 เงินเลื่อนเงินเดือนและเงินปรับวุฒิข้าราชการ
              2.4 เงินสำรองเงินสมทบและเงินชดเชยของข้าราชการ
              2.5 เงินสมทบของลูกจ้างประจำ
              2.6 ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเสด็จพระราชดำเนินและต้อนรับประมุขต่างประเทศ
              2.7 เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น
              2.8 ค่าใช้จ่ายตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
              2.9 ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ


ความแตกต่างระหว่างวัสดุกับครุภัณฑ์

          ตามหนังสือสำนักงบประมาณ ที่ นร 0704/ว37 ลงวันที่ 6 มกราคม 2559 เรื่อง แนวทางการพิจารณาสิ่งของที่จัดเป็นวัสดุและครุภัณฑ์ตามหลักการจำแนกประเภท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
          1) สิ่งของที่จัดเป็นวัสดุ ให้แบ่งการพิจารณาออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
              1.1) ประเภทวัสดุสำนักงาน ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทน แต่ตามปกติมีอายุการใช้งานไม่ยืนนาน หรือเมื่อนำไปใช้งานแล้วเกิดความชำรุดเสียหาย ไม่สามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม หรือซ่อมแซมแล้วไม่คุ้มค่า
              1.2) ประเภทวัสดุสิ้นเปลือง ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะเมื่อใช้แล้วย่อมสิ้นเปลืองหมดไป แปรสภาพ หรือเปลี่ยนสภาพไปในระยะเวลาอันสั้นหรือไม่คงสภาพเดิม
              1.3) ปนะเภทวัสดุอุปกรณ์ประกอบและอะไหล่ ได้แก่ สิ่งของที่ใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบหรืออะไหล่สำหรับการซ๋อมแซมบำรุงรักษาทรัพย์สินให้กลับคืนสภาพดังเดิมที่มีลักษณะเป็นการซ่อมบำรุงปกติหรือค่าซ่อมกลาง
          2) ครุภัณฑ์ ได้แก่ สิ่งของที่โดยสภาพมีลักษณะคงทนถาวร มีอายุการใช้งานยืนนาน เมื่อชำรุดเสียหายแล้วสามารถซ่อมแซมให้ใช้งานได้ดังเดิม



ที่มา : สำนักงบประมาณ

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ 2560 ฉบับเข้าใจง่าย

          พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 หมายถึง พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้ก็เป็นได้ทั้งคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมถึงระบบต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ด้วย ซึ่งเป็นพระราชบัญญัติฯ ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อป้องกัน ควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้จากการใช้คอมพิวเตอร์ หากใครกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติฯ คอมพิวเตอร์นี้ ก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่กำหนดไว้


ที่มา : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (www.swu.ac.th/)

วันพฤหัสบดีที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2567

โทษทางวินัยของข้าราชการ

โทษทางวินัยมี 5 สถาน ดังต่อไปนี้
          (1) ภาคทัณฑ์
          (2) ตัดเงินเดือน
          (3) ลดเงินเดือน
          (4) ปลดออก
          (5) ไล่ออก


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

ข้อปฏิบัติของข้าราชการ ตามพรบ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551

          ข้อปฏิบัติของข้าราชการ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551  
          มาตรา 82 ข้าราชการพลเรือนสามัญต้องกระทําการอันเป็นข้อปฏิบัติดังตัอไปนี้
          (1) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต และเที่ยงธรรม
          (2) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เป็นไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบของทางราชการ มติของ คณะรัฐมนตรี นโยบายของรัฐบาล และปฏิบัติตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ
          (3) ต้องปฏิบัติหน้าที่ราชการให้ เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการด้วยความตั้งใจ อุตสาหะ เอาใจใส่ และรักษาประโยชน์ของทางราชการ
          (4) ต้องปฏิบัติตามคําสั่งของผู้บังคับบัญชาซึ่งสั่งในหน้าที่ราชการโดยชอบด้วยกฎหมายและ ระเบียบของทางราชการ โดยไม่ขัดขืนหรือหลีกเลี่ยง แต่ถ้าเห็นว่าการปฏิบัติตามคําสั่งนั้นจะทําให้เสียหาย แก่ราชการ หรือจะเป็นการไม่รักษาประโยชน์ของทางราชการจะต้องเสนอความเห็นเป็นหนังสือทันทีเพื่อให้ผู้ บังคับบัญชาทบทวนคําสั่งนั้น และเมื่อได้เสนอความเห็นแล้ว ถ้าผู้บังคับบัญชายืนยันให้ปฏิบัติ ตามคําสั่งเดิม ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาต้องปฏิบัติตาม
          (5) ต้องอุทิศเวลาของตนให้แก่ราชการ จะละทิ้งหรือทอดทิ้งหน้าที่ราชการมิได้
          (6) ต้องรักษาความลับของทางราชการ
          (7) ต้องสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคีและต้องช่วยเหลือกันในการปฏิบัติราชการ ระหว่างข้าราชการด้วยกันและผู้ร่วมปฏิบัติราชการ
          (8) ต้องต้อนรับให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรม และให้การสงเคราะห์แก่ประชาชน ผู้ติดต่อราชการเกี่ยวกับหน้าที่ของตน
          (9) ต้องวางตนเป็นกลางทางการเมืองในการปฏิบัติหน้าที่ราชการและในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชน กับจะต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการว่าด้วยมารยาททางการเมืองของข้าราชการด้วย
         (10) ต้องรักษาชื่อเสียงของตน และรักษาเกียรติศักดิ์ของตําแหน่งหน้าที่ราชการของตนมิให้เสื่อมเสีย             
          (11) กระทําการอื่นใดตามที่กําหนดในกฎ ก.พ


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

วันพุธที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การกำหนดชั้นความลับของข้อมูลข่าวสาร

           การกำหนชั้นความลับของข้อมูลข่าวสาร ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับทางราชการ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2561 ข้อ 19 การกำหนดให้ข้อมูลข่าวสารอยู่ในชั้นความลับใด ให้พิจารณาถึงองค์ประกอบอย่างน้อย ดังต่อไปนี้
          1) ความสำคัญของเนื้อหา
          2) แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสาร
          3) วิธีการนำไปใช้ประโยชน์
          4) จำนวนบุคคลที่ควรรับทราบ
          5) ผลกระทบหากมีการเปิดเผย
          6) หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบในฐานะเจ้าของเรื่องหรือผู้อนุมัติ


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า


การใช้ใบปกข้อมูลข่าวสาร ปิดทับเอกสารลับ

          การใบปกหน้าข้อมูลข่าวสารลับ ปิดทับเอกสารลับ โดยใช้สีตามชั้นความลับ ได้แก่
          1) ชั้นลับ หมายถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐ ให้ใช้ใบปกสีน้ำเงิน ปิดทับเอกสารลับ
          2) ชั้นลับมาก หมายถึง ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรง ให้ใช้ใบปกสีแดง ปิดทับเอกสารลับมาก
          3) ชั้นลับมากที่สุด ข้อมูลข่าวสารลับซึ่งหากเปิดเผยทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนจะก่อให้เกิดความ เสียหายแก่ประโยชน์แห่งรัฐอย่างร้ายแรงที่สุด ให้ใช้ใบปกสีเหลือง ปิดทับเอกสารลับมากที่สุด


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2567

NCSA MOOC Cyber-Learning

          MOOC เป็นแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้ด้าน Cybersecurity (Cybersecurity Practical Training Platform) ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงและเรียนรู้เกี่ยวกับ Cybersecurity ได้อย่างเข้าใจง่ายและสนุกไปกับการเรียนรู้ โดยเน้นการเรียนรู้ในรูปแบบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยให้ผู้ใช้งานค้นหาช่องโหว่ตามสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่สร้างขึ้น รวมทั้งได้ทดลองเจาะระบบด้วยตนเอง เพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับประสบการณ์ที่ใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากที่สุด ด้วยโจทย์และเนื้อหาขั้นสูงที่เหมาะสมกับบุคคลากรทางด้าน Cyber Security ที่ต้องการฝึกปรือฝีมือให้มีความชำนาญมากขึ้น

          สามารถสมัครเรียนได้ที่ช่องทาง NCSA Mooc Cyber-Learning


ที่มา : สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (https://www.thnca.or.th/)

รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์

          รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีดังนี้
          1) Phishing เป็นภัยคุกคามที่พบได้มากที่สุด คนร้ายจะปลอมเป็นเว็บไซต์หรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ส่งข้อความเข้ามาเพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป และคนร้ายจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับของเหยื่อได้ รวมถึงการติดตั้งไวรัสเข้าเครื่อง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอีกด้วย
          2) Malware สามารถพบเจอได้พร้อมกับไฟล์เอกสารที่ดาวน์โหลดเข้ามา โดย Malware จะกระจายในระบบคอมพิวเตอร์และทำให้คอมพิวเตอร์เสียหาย
          3) Ransomware เป็น Malware อีกประเภทหนึ่ง แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลเหมือน Malware อื่น ๆ แต่จะเป็นการล็อคไฟล์ต่าง ๆ เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ นำไปสู่การสูญเสียข้อมูลความลับ เพื่อให้ได้ไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นกลับคืนมา เหยื่อจะต้องจ่ายเงินตามข้อความที่ปรากฎ จึงเป็นการเรียกค่าไถ่นั่นเอง
          4) Man in the middle attack เป็นการโจมตีแบบดักฟังบนเครือข่าย คนร้ายจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลระหว่าง 2 ฝ่าย โดยคนร้ายจะสวมรอยเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อรับฟังข้อมูลที่สำคัญ 
          5) DDos Attack เป็นการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์หลายส่วนพร้อมกัน โดยคอมพิวเตอร์จะถูกบุกรุกจากคนร้ายที่มี IP จากหลายเครื่องพร้อม ๆ กันทั่วโลก เพื่อสร้างความหนาแน่นบนเซิร์ฟเวอร์จยระบบล้ม และไม่สามารถใช้งานได้ 
          6) Virus เป็นการนำซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายหรือเรียกว่า ไวรัส เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นไวรัสจะกระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ผ่านทางอีเมลหรือการถ่ายโอนข้อมูลด้วยวิธีอื่น 
          7) Spyware ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสอดส่องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ หรืออาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ 


ที่มา : สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (https://www.thnca.or.th/)

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ความสำคัญของ Cybersecurity

           Cybersecurity หรือการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของไซเบอร์ หมายถึง ภาวะที่ระบบเครือข่าย ระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรม และข้อมูล พ้นจากภัยคุกคาม มีลักษณะสำคัญ 3 ประการ ได้แก่
          1) คงความลับ (Confidentiality)
          2) คงความถูกต้อง (Integrity)
          3) คงความพร้อมใช้งาน (Availability)


ที่มา : สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (https://www.thnca.or.th/)

กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับ Cybersecurity

           ประเทศไทยได้บังคับใช้กฎหมายหลายฉบับ เพื่อรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ โดยจะมีทั้งหมด 3 ฉบับ ได้แก่

          ฉบับที่ 1 : พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562 ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อให้ประเทศไทยมีมาตรการป้องกัน การรับมือ และลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ

          ฉบับที่ 2 : พระราชบัญญัติที่ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นกฎหมายที่ป้องกันและควบคุมการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ 

          ฉบับที่ 3 : พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายสำหรับการปกป้องสิทธิข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์การคุ้มครองที่สอดคล้องกับมาตรฐานสากล


ที่มา : สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (https://www.thnca.or.th/)

วันศุกร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล

          การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัล เป็นทักษะดิจิทัลพิ้นฐานที่จะเป็นตัวช่วยสำคัญในการปฏิบัติงานการสื่อสาร และการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ในลักษณะ "ทำน้อย ได้มาก (Work less but get more impact)" และช่วยสร้างคุณค่า (Value co-creation) และความคุ้มค่าในการดำเนินงาน (Economy of scale)

         การรู้เท่าทันดิจิทัลเป็นความสามารถของบุคคลในการใช้เครื่องมือดิจิทัล ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เพื่อใช้ในการเรียนรู้ การทำงาน สันทนาการ การสื่อสารและการมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์ และผลิตเนื้อหาดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


ที่มา : สำนักงาน กสทช. (https://www.nbtc.go.th/)

สื่อการสอนการใช้งานระบบ workD Mail, workD Chat, workD Meet และ Meet+ สำหรับผู้ใช้งาน




ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การเผยแพร่ข้อมูลกฎหมายสู่ประชาชน

         สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการวบรวมข้อมูลด้านกฎหมายของประเทศอย่างครบถ้วน ทั้งกฎหมายระดับพระราชบัญญัติ กฎหมายลูกบทต่าง ๆ ความเห็นทางกฎหมายที่สำคัญแก่ประชาชนทั่วไป การจัดทำคำแปลภาษาอังกฤษของรัฐธรรมนูญและกฎหมายฉบับสำคัญ โดยสามารถเข้าถึงได้ที่เว็บไซต์  https://www.lawreform.go.th/

          รวมทั้งมีการจัดทำฐานข้อมูลทางกฎหมายของประชาคมอาเซียนและประเทศสมาชิกอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกด้านกฎหมายและกฎระเบียบแก่ประชาชน ผ่านทางเว็บไซต์ https://lawforasean.krisdika.go.th/


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

เกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

          เมื่อได้รัฐบาลที่จะเป็นผู้นำนโยบายตามความต้องการของประชาชนไปสู่การปฏิบัติแล้ว หน่วยงานของรัฐก็จะเป็นผู้รับนโยบายนั้น ไปดำเนินการให้เกิดผลและบรรลุเป้าหมาย ซึ่งก็ต้องมีการป้องกันการทุจริตในขั้นตอนนี้เช่นกัน โดยสำนักงาน ป.ป.ช. ได้เสนอเกณฑ์ชี้วัดความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบาย ในขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ไปยังคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2562 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
         
          ขั้นตอนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ 
          1) เตรียมการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตในขั้นตอนก่อนการดำเนินการตามนโยบาย
          2) เตรียมการเพื่อบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการทุจริตและการติดตามการดำเนินการตามนโยบาย
          3) เตรียมการประเมินผลการบริหารจัดการความเสี่ยงต่อการทุจริต
          4) เตรียมการสร้างความโปร่งใสในขั้นการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ด้วยการสื่อสารความเสี่ยงต่อการทุจริตและการสร้างการเฝ้าระวัง


ที่มา : สำนักงาน ป.ป.ช

วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สร้าง Dashboard โดยใช้ Microsoft Excel

          เทคนิคการออกแบบ Dashboard โดยใช้ Microsoft Excel อย่างมืออาชีพ
          1) กำหนดเป้าหมายในการสร้าง Dashboard ให้ชัดเจน 
เพื่อที่จะนำข้อมูลมาใช้ได้เกิดประสิทธิภาพ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากที่สุด
          2) ให้ความสำคัญกับการเตรียมข้อมูล การนำเสนอข้อมูลให้ดีและมีประสิทธิภาพนั้นเริ่มต้นจากฐานข้อมูลที่ดี ควรคำนึงให้เหมาะสมกับการใช้งานและวัตถุประสงค์ไว้เสมอ 
          3) แบ่งสัดส่วนหน้า Dashboard ให้เหมาะสม ซึ่ง Dashboard ที่ดีคือ Dashboard ที่เรียกดูง่ายเข้าใจข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการอกกแบบควรแบ่งสัดส่วนของหน้าการนำเสนอแบบมาตรฐานเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ คือ หัวข้อ, เนื้อหา และ แถบเมนู การแบ่งสัดส่วนแบบนี้จะทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจและใช้งานได้ง่ายมากยิ่งขึ้น 
     
          ข้อดีของการสร้าง Dashboard โดยใช้ Microsoft Excel
          - เป็นโปรแกรมสามัญที่ใช้อย่างแพร่หลาย
          - ใช้งานง่ายใคร ๆ ก็ทำได้
          - ใช้งานร่วมกับสูตรใน Excel ได้ลื่นไหล
          - ครบจบทั้งจัดการข้อมูลและแสดงผล
          ข้อจำกัดของการสร้าง Dashboard โดยใช้ Microsoft Excel
          - มีข้อจำกัดในข้อมูลปริมาณมาก
          - มีความยุ่งยากมากกว่าหากเทียบกับ BI Tool


ที่มา : มหาวิทยาลัยมหิดล (https://mahidol.ac.th/th/)

กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework)

          กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework) จะเป็นแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และหน่วยงานของรัฐรูปแบบใหม่ นำไปปรับใช้ให้เข้ากับลักษณะเฉพาะของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้สามารถปรับตัวตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

          กรอบการกำกับดูแลข้อมูล (Data Governance Framework) การกำหนดสิทธิหน้าที่และความรับผิดชอบของ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการบริหารจัดการข้อมูลทุก ขั้นตอน เพื่อให้การได้มาและการนำไปใช้ข้อมูล ของหน่วยงานภาครัฐถูกต้อง ครบถ้วน เป็น ปัจจุบัน รักษาความเป็นส่วนบุคคลและสามารถ เชื่อมโยงกันได้อย่างมีประสิทธิภาพและมั่นคง ปลอดภัย โดยใช้ข้อมูลเป็นหลักในการขับเคลื่อนประเทศ เช่น การใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์การ ตัดสินใจเชิงนโยบายและการบริหารราชการ แผ่นดิน การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการ ประชาชน การเสริมสร้างและผลักดันธุรกิจที่เกิด จากการใช้นวัตกรรมข้อมูล เป็นต้น 



ที่มา : สถาบันพัฒนาบุคลากรภาครัฐด้านดิจิทัล (https://tdga.dga.or.th/)

วันอังคารที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2567

รู้จักกับระบบกลางทางกฎหมายที่เว็บไซต์ Law.go.th

          ระบบกลางทางกฎหมาย  คือ เว็บไซต์ที่พัฒนาตามพรบ. หลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 เพื่อเป็นช่องทางที่ให้หน่วยงานของรัฐเปิดรับฟังความคิดเห็นและประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น รวมไปถึงเป็นศูนย์กลางข้อมูลทางกฎหมายของประเทศ

          ประชาชนได้อะไรจากการมีระบบกลางทางกฎหมาย ?
          1) ความคิดเห็นจะถูกส่งตรงไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
          2) สามารถติดตามสถานะการจัดทำร่างกฎหมายได้ยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ
          3) ข้อมูลส่วนบุคคลได้รับ ความคุ้มครองตามกฎหมาย มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัย 
          4) สามารถนำข้อมูลกฎหมาย ไปใช้ประโยชน์ต่อได้
          5) ใช้อ้างอิงกฎหมายได้
          6) มีการจัดเก็บข้อมูลพร้อมนำไป วิเคราะห์ต่อยอดได้ในอนาคต


ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

คู่มือประชาชน เว็บไซต์ info.go.th

          สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (สำนักงาน ก.พ.ร.) ได้ร่วมกันพัฒนา ระบบศูนย์รวมข้อมูลเพื่อติดต่อราชการ (info.go.th) ขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกประชาชนในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ และเป็นช่องทางให้หน่วยงานภาครัฐสามารถจัดทำและเผยแพร่คู่มือสำหรับประชาชนทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์

          ประชาชนจะได้รับความสะดวกในการติดต่อกับทางราชการได้ “เร็วขึ้น (faster) ง่ายขึ้น (easier) ถูกลง (cheaper)” กล่าวคือ ประชาชนสามารถรับทราบข้อมูลการให้บริการของภาครัฐที่ถูกต้อง ครบถ้วน ชัดเจนผ่านคู่มือสำหรับประชาชน สามารถทราบช่องทางในการให้บริการต่าง ๆ จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ค่าธรรมเนียมที่ต้องใช้ให้ครบถ้วน (ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาติดต่อหลายรอบ) ขั้นตอนและระยะเวลาที่ต้องใช้ รวมถึงหากมีข้อสงสัยหรือปัญหาในการติดต่อ สามารถสอบถามหรือร้องเรียนได้ที่ใดบ้าง



ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567

หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance)

          หลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (Good Governance) หมายถึง หลักในการปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแลกิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม ประกอบด้วย องค์ประกอบ 10 หลัก ได้แก่
          1) หลักประสิทธิผล (Effectiveness)
          2) หลักประสิทธิภาพ (Efficiency)
          3) หลักการตอบสนอง (Responsiveness)
          4) หลักภาระรับผิดชอบ (Accountability)
          5) หลักความโปร่งใส (Transparency)
          6) หลักการมีส่วนร่วม (Participation)
          7) หลักการกระจายอำนาจ (Decentralization)
          8) หลักนิติธรรม (Rule of Law) 
          9) หลักความเสมอภาค (Equity)
          10) หลักการมุ่งฉันทามติ (Consensus Oriented)


ที่มา : สำนักงาน ก.พ.ร. (https://www.opdc.go.th/)

สิทธิประโยชน์ของข้าราชการ

          ข้าราชการมีสิทธิที่จะได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการ ดังนี้
          1) ค่าตอบแทนที่เป็นตัวเงิน เช่น เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่ม เงินค่าครองชีพชั่วคราว และค่าตอบแทนนอกเหนือจากเงินเดือน
          2) สวัสดิการ ได้แก่
              2.1) การลาประเภทต่าง ๆ เช่น ลาป่วย ลาพักผ่อน ลากิจ ลาคลอดบุตร ลาไปช่วยเหลือภริยาที่คลอดบุตร ลาติดตามคู่สมรส ลาศึกษา ฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ลาอุปสมบท ลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ลาเข้ารับการตรวจเลือก/เตรียมพล ลาไปฟื้นฟูสมรรถภาพด้านอาชีพ 
             2.2) ค่ารักษาพยาบาล 
             2.3) เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร
             2.4) เงินสวัสดิการสำหรับการปฏิบัติงานประจำสำนักงานในพื้นที่พิเศษ
             2.5) เครื่องราชอิสริยาภรณ์
             2.6) บำเหน็จ บำนาญ
          3) ประโยชน์เกื้อกูล ได้แก่
             3.1) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
             3.2) ค่าเช่าบ้าน
             3.3) เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (OT)
             3.4) รถประจำตำแหน่ง (สำหรับตำแหน่งบริหาร)
             3.5) โทรศัพท์มือถือ (ตามลักษณะงานและระดับตำแหน่ง)
          


ที่มา : สำนักงาน ก.พ. (https://www.ocsc.go.th/)

ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย

          ข้อมูลข่าวสารของราชการที่อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผย
          ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างใดต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐอาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคำนึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน 
          (1) ข้อมูลข่าวสารที่การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจหรือการคลังของประเทศ
          (2) ข้อมูลข่าวสารที่การเปิดเผยจะทำให้การบังคับกฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม
          (3) ความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐในการดำเนินการเรื่องใดเรื่องหนึ่งแต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำมาใช้ในการทำความเห็นหรือคำแนะนำภายในดังกล่าว
          (4) ข้อมูลข่าวสารที่เปิดเผยแล้วอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง
          (5) ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับรายงานแพทย์ หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคลโดยไม่สมควร
          (6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไปเปิดเผยต่อผู้อื่น
          (7) ข้อมูลข่าวสารที่มีการกำหนดในพระราชกฤษฎีกาเพิ่มเติม 

          ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (https://www.oic.go.th/)

ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ต้องเปิดเผยโดยเด็ดขาด

         ข้อมูลข่าวสารของราชการที่ไม่ต้องเปิดเผยโดยเด็ดขาด ได้แก่ ข้อมูลข่าวสารที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องไม่เปิดเผย ไม่มีข้อยกเว้นให้ไปพิจารณาใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักทั้งสิ้น ทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540

   


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ (https://www.oic.go.th/)

วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2567

สาธิตวิธีจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง


ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

การมอบอำนาจดำเนินการ หรืออำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง

          ผู้มีอํานาจดําเนินการหรือผู้มีอํานาจสั่งซื้อหรือสั่งจ้างตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 จะมอบอํานาจเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งใดก็ได้ซึ่งสังกัดหน่วยงานของรัฐเดียวกัน โดยให้คํานึงถึงระดับ ตําแหน่ง หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับมอบอํานาจเป็นสําคัญ
          เมื่อมีการมอบอํานาจตามวรรคหนึ่ง ผู้รับมอบอํานาจมีหน้าที่ต้องรับมอบอํานาจนั้นและจะมอบอํานาจนั้นให้แก่ผู้ดํารงตําแหน่งอื่นต่อไปไม่ได้ เว้นแต่
          (1) การมอบอํานาจให้แก่ผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจมอบอํานาจนั้นต่อไปได้ในกรณี ดังต่อไปนี้
               (ก) กรณีมอบอํานาจให้แก่รองผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ช่วยผู้ว่าราชการจังหวัด ปลัดจังหวัด หรือหัวหน้าส่วนราชการประจําจังหวัด ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแจ้งให้ผู้มอบอํานาจชั้นต้นทราบด้วย
              (ข) กรณีมอบอํานาจให้แก่บุคคลอื่น นอกจากที่กล่าวใน (ก) จะกระทําได้ต่อเมื่อได้รับ ความเห็นชอบจากผู้มอบอํานาจชั้นต้นแล้ว
          (2) การมอบอํานาจและการมอบอํานาจต่อตามระเบียบหรือคําสั่งของกระทรวงกลาโหม หรือของหน่วยงานของรัฐอื่นที่รัฐมนตรีประกาศ


ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

วันพุธที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2567

การทิ้งงาน ตามมาตรา 109 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

          ในกรณีที่ปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทําการ ดังต่อไปนี้ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ให้ถือว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญานั้นกระทําการอันมีลักษณะเป็นการทิ้งงาน
          (1) เป็นผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ยอมไปทําสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ กับหน่วยงานของรัฐภายในเวลาที่กําหนด
          (2) คู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐหรือผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยงานของรัฐอนุญาตให้รับช่วงงานได้ ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือนั้น
          (3) เมื่อปรากฏว่าผู้ยื่นข้อเสนอหรือคู่สัญญาของหน่วยงานของรัฐกระทําการอันมีลักษณะเป็น การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทําการโดยไม่สุจริต
          (4) เมื่อปรากฏว่าผลการปฏิบัติตามสัญญาของที่ปรึกษาหรือผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบ หรือควบคุมงานก่อสร้างมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยงานของรัฐอย่างร้ายแรง
          (5) เมื่อปรากฏว่าผู้ให้บริการงานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้างหรือผู้ประกอบการ งานก่อสร้างไม่ปฏิบัติตามมาตรา 88
          (6) การกระทําอื่นตามที่กําหนดในกฎกระทรวง


ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

ภาพรวมการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ

          กระบวนการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย
          1) กระบวนการก่อนการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
              1.1) การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปีและประกาศเผยแพร่
              1.2) การจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) การกำหนดคุณลักษณะเฉพาะของพัสดุ หรือจัดทำแบบรูปรายการงานก่อสร้าง และราคากลาง
          
          2) กระบวนการระหว่างการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
              2.1) รายงานขอซื้อหรือขอจ้างและแต่งตั้งคณะกรรมการ
              2.2) การดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุในแต่ละประเภทการจัดหา (การซื้อหรือการจ้าง, งานจ้างที่ปรึกษา, งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง) และวิธีการจัดหา 
              2.3) การอนุมัติสั่งซื้อหรือสั่งจ้าง
              2.4) การประกาศผลผู้ชนะการเสนอราคา
              2.5) การอุทธรณ์
              2.6) การทำสัญญา

          3) กระบวนการหลังการจัดซื้อจัดจ้าง ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้
              3.1) การบริหารสัญญา
              3.2) การบริหารพัสดุ


ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2567

มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี

          มาตรฐานขั้นต่ำของนโยบายและแนวทางป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี ตามมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 

          แนวทางการกำหนดมาตรฐานขั้นต่่าของนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริต ในการจัดซื้อจัดจ้างที่ผู้ประกอบการต้องจัดให้มี จะต้องดำเนินการ ดังนี้ 
          (1) ผู้ประกอบการจะต้องมีการกำหนดนโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
          (2) นโยบายและแนวทางการป้องกันการทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้างจะต้องครอบคลุมกรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ รวมไปถึงการทุจริตในรูปแบบต่าง ๆ
          (3) ผู้ประกอบการจะต้องจัดให้มีการสื่อสารหรือประชาสัมพันธ์นโยบายและแนวทางการป้องกัน การทุจริตในการจัดซื้อจัดจ้าง
          (4) มีการกำหนดบทลงโทษหรือข้อบังคับสำหรับผู้กระทำการทุจริต
          (5) จัดให้มีช่องทางหรือระบบการแจ้งเบาะแส ของข้อมูลเกี่ยวกับการทุจริต หรือพบการกระทำที่ส่อทุจริต
          (6) มีการกำหนดหน่วยงานภายในที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในการดำเนินการป้องกันการทุจริตที่ชัดเจน



ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

การบริหารพัสดุตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

          การบริหารพัสดุ ตามพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 
          มาตรา 112 ให้หน่วยงานของรัฐจัดให้มีการควบคุมและดูแลพัสดุที่อยู่ในความครอบครอง ให้มีการใช้และการบริหารพัสดุที่เหมาะสม คุ้มค่า และเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานของรัฐมากที่สุด
          มาตรา 113 การดําเนินการตามมาตรา 112 ซึ่งรวมถึงการเก็บ การบันทึก การเบิกจ่าย การยืม การตรวจสอบ การบํารุงรักษา และการจําหน่ายพัสดุ ให้เป็นไปตามระเบียบที่รัฐมนตรีกําหนด

          ทั้งนี้สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 


ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

สาธิตวิธีจัดซื้อจัดจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-Bidding)



ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

วิธีการค้นหาประกาศการจัดซื้อจัดจ้างหน้าเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th


          สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คู่มือการค้นหาประกาศการจัดซื้อจัดจ้างหน้าเว็บไซต์ www.gprocurement.go.th ซึ่งจัดทำโดยกองการพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง


ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567

หลักประกันการเสนอราคาอิเล็กทรอนิกส์

          หลักประกันการเสนอราคาอิเล็กทรอนิกส์ มีไว้เพื่อประกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากกรณีที่ผู้ยื่นข้อเสนอ ผู้เสนอราคา หรือผู้ให้บริการไม่ปฏิบัติตามกระบวนการซื้อหรือจ้าง หรือการจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ให้หน่วยงานของรัฐกําหนดหลักประกันการเสนอราคา สําหรับการซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ที่มีวงเงินซื้อ หรือจ้างหรือวงเงินงบประมาณค่าก่อสร้าง เกินกว่า 5,000,000 บาท 

          การซื้อหรือจ้างด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ ให้มีการวางหลักประกันการเสนอราคา โดยให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้ 
          (1) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
          (2) หนังสือคํ้าประกันอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารภายในประเทศ
          (3) พันธบัตรรัฐบาลไทย
          (4) หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์

          งานจ้างออกแบบหรือควบคุมงานก่อสร้าง ด้วยวิธีประกาศเชิญชวนทั่วไป ให้มีการวางหลักประกัน การเสนอราคา โดยให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
          (1) เงินสด
          (2) เช็คหรือดราฟท์ที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย
          (3) หนังสือคํ้าประกันของธนาคารภายในประเทศ
          (4) หนังสือค้ำประกันของบริษัทเงินทุนหรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์
          (5) พันธบัตรรัฐบาลไทย


ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

การจัดทำแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจำปี

          ตามข้อ 11 แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 กล่าวว่า เมื่อหน่วยงานของรัฐได้รับความเห็นชอบวงเงินงบประมาณที่จะใช้ในการจัดซื้อจัดจ้าง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือผู้มีอํานาจในการพิจารณางบประมาณแล้ว ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ที่ได้รับ มอบหมายในการปฏิบัติงานนั้นจัดทําแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปีเสนอหัวหน้าหน่วยงานของรัฐ เพื่อขอความเห็นชอบ

          แผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปี ให้ประกอบด้วยรายการอย่างน้อย ดังต่อไปนี้ 
          (1) ชื่อโครงการที่จะจัดซื้อจัดจ้าง 
          (2) วงเงินที่จะจัดซื้อจัดจ้างโดยประมาณ 
          (3) ระยะเวลาที่คาดว่าจะจัดซื้อจัดจ้าง 
          (4) รายการอื่นตามที่กรมบัญชีกลางกําหนด

          เมื่อหัวหน้าหน่วยงานของรัฐให้ความเห็นชอบแผนการจัดซื้อจัดจ้างประจําปีตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่ประกาศเผยแพร่แผนดังกล่าวในระบบเครือข่ายสารสนเทศของกรมบัญชีกลาง และของหน่วยงานของรัฐตามวิธีการที่กรมบัญชีกลางกําหนด และให้ปิดประกาศโดยเปิดเผย ณ สถานที่ปิดประกาศของหน่วยงานของรัฐนั้น
          หากหน่วยงานของรัฐไม่ได้ประกาศเผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการใดในระบบเครือข่าย สารสนเทศของกรมบัญชีกลาง จะไม่สามารถดําเนินการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการนั้นได




ที่มา :  กรมบัญชีกลาง (www.cgd.go.th/)

วันพุธที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567