รูปแบบภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีดังนี้
1) Phishing เป็นภัยคุกคามที่พบได้มากที่สุด คนร้ายจะปลอมเป็นเว็บไซต์หรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ส่งข้อความเข้ามาเพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป และคนร้ายจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับของเหยื่อได้ รวมถึงการติดตั้งไวรัสเข้าเครื่อง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอีกด้วย
2) Malware สามารถพบเจอได้พร้อมกับไฟล์เอกสารที่ดาวน์โหลดเข้ามา โดย Malware จะกระจายในระบบคอมพิวเตอร์และทำให้คอมพิวเตอร์เสียหาย
1) Phishing เป็นภัยคุกคามที่พบได้มากที่สุด คนร้ายจะปลอมเป็นเว็บไซต์หรือหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ ส่งข้อความเข้ามาเพื่อให้เหยื่อกรอกข้อมูลส่วนตัวลงไป และคนร้ายจะสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นความลับของเหยื่อได้ รวมถึงการติดตั้งไวรัสเข้าเครื่อง ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายอีกด้วย
2) Malware สามารถพบเจอได้พร้อมกับไฟล์เอกสารที่ดาวน์โหลดเข้ามา โดย Malware จะกระจายในระบบคอมพิวเตอร์และทำให้คอมพิวเตอร์เสียหาย
3) Ransomware เป็น Malware อีกประเภทหนึ่ง แต่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อขโมยข้อมูลเหมือน Malware อื่น ๆ แต่จะเป็นการล็อคไฟล์ต่าง ๆ เอกสาร รูปภาพ วิดีโอ นำไปสู่การสูญเสียข้อมูลความลับ เพื่อให้ได้ไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นกลับคืนมา เหยื่อจะต้องจ่ายเงินตามข้อความที่ปรากฎ จึงเป็นการเรียกค่าไถ่นั่นเอง
4) Man in the middle attack เป็นการโจมตีแบบดักฟังบนเครือข่าย คนร้ายจะเข้ามาทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับส่งข้อมูลระหว่าง 2 ฝ่าย โดยคนร้ายจะสวมรอยเป็นอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อรับฟังข้อมูลที่สำคัญ
5) DDos Attack เป็นการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์หลายส่วนพร้อมกัน โดยคอมพิวเตอร์จะถูกบุกรุกจากคนร้ายที่มี IP จากหลายเครื่องพร้อม ๆ กันทั่วโลก เพื่อสร้างความหนาแน่นบนเซิร์ฟเวอร์จยระบบล้ม และไม่สามารถใช้งานได้
5) DDos Attack เป็นการโจมตีระบบคอมพิวเตอร์หลายส่วนพร้อมกัน โดยคอมพิวเตอร์จะถูกบุกรุกจากคนร้ายที่มี IP จากหลายเครื่องพร้อม ๆ กันทั่วโลก เพื่อสร้างความหนาแน่นบนเซิร์ฟเวอร์จยระบบล้ม และไม่สามารถใช้งานได้
6) Virus เป็นการนำซอฟต์แวร์ที่เป็นอันตรายหรือเรียกว่า ไวรัส เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ จากนั้นไวรัสจะกระจายตัวเองไปยังคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ผ่านทางอีเมลหรือการถ่ายโอนข้อมูลด้วยวิธีอื่น
7) Spyware ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสอดส่องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ หรืออาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ
7) Spyware ถูกเขียนขึ้นมาเพื่อสอดส่องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ หรืออาจจะเพื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ
ที่มา : สำนักวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (https://www.thnca.or.th/)