วันจันทร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2568

หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการปฏิบัติงานผ่านระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) ด้วยระบบการพิสูจน์ยืนยันตัวตน

 


ที่มา : กลุ่มตรวจสอบภายใน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แผ่นดินไหว

           หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0810.4/ว 1479 ลงวันที่ 29 มีนาคม 2568 เรื่อง การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์แผ่นดินไหว


  
  
 
ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (www.dla.go.th)

TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ (21 มี.ค. - 27 มี.ค. 68)

          💢TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [21 มี.ค. - 27 มี.ค. 68]
 
          ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9319

          อันดับที่ 1 : เรื่อง กลาโหมไฟเขียว หากสถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชาผิดปกติ ให้กองทัพดำเนินการได้ทันที
          อันดับที่ 2 : เรื่อง กัมพูชาขอเลื่อนประชุม GBC เตรียมระดมกำลังทหารเขมรประชิดชายแดนไทย
          อันดับที่ 3 : เรื่อง ประกันสังคมปรับอายุเกษียณเป็น 60 ปี
          อันดับที่ 4 : เรื่อง ประชากรพม่าใน จ.สมุทรสาคร มากกว่าประชากรไทยในพื้นที่
          อันดับที่ 5 : เรื่อง ออมสิน จับมือ ธ.ก.ส. ปล่อยสินเชื่อช่วยประชาชนปลดหนี้ ครอบครัวละ 200,000 บาท
          อันดับที่ 6 : เรื่อง การบินไทยเปิดให้จองตั๋วเครื่องบิน เที่ยวบินชั้นประหยัดสำหรับผู้สูงอายุ 50-70 ปี
          อันดับที่ 7 : เรื่อง ออมสินเปิดลงทะเบียน กู้ขั้นต่ำ 100,000 บาท ดอกเบี้ย 0.5% ผ่อน 60 เดือน
          อันดับที่ 8 : เรื่อง มีการฝึกซ้อมอพยพเข้าหลุมหลบภัย เนื่องจากสถานการณ์ชายแดน จ.ศรีสะเกษและสุรินทร์อยู่ในภาวะตึงเครียด
          อันดับที่ 9 : เรื่อง กรมสรรพากรส่งอีเมล แจ้งให้ยืนยันการใช้สิทธิ e-TAX เพื่อรับสิทธิลดหย่อนภาษีปี 2568
          อันดับที่ 10 : เรื่อง ปตท. เคยเป็นของคนไทย แต่ถูกนำไปขาย
         
           📌หากพบเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ สามารถโทรแจ้งได้ที่ 📞สายด่วน 1111 (24 ชม.) 🟢Line ID: @antifakenewscenter 🌐เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com

 

ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

มาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568



ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568

พร้อมหรือยัง? เมษายนนี้ สำมะโนประชากรและเคหะ พ.ศ. 2568

          สำมะโนประชากรและเคหะ คืออะไร ?
          การเก็บรวบรวมข้อมูลประชากรทุกคนในประเทศตามที่อยู่อาศัยจริง ณ วันสำมโน 1 เมษายน 2568

          เก็บข้อมูลใครบ้าง ? 
          1. ประชากรทุกคนที่อาศัยในประเทศไทย
          2. ประชากรไทยที่ไปต่างประเทศชั่วคราว
          3. ชาวต่างชาติที่อยู่ประเทศไทยเกิน 3 เดือน

          วัตถุประสงค์
          1. เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลโครงสร้างประชากรตามที่อยู่จริง และที่อยู่อาศัยของประชากรทุกครัวเรือน
          2. เพื่อใช้ในการจัดทำการคาดประมาณประชากรของประเทศ
          3. เพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างของประชากรและที่อยู่อาศัยในรอบ 10 ปี  


ที่มา : สำนักงานสถิติแห่งชาติ (https://www.nso.go.th/)

สรุปประเด็นการดำเนินการทางวินัยข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

 


ที่มา : กลุ่มงานมาตรฐานวินัยบุคคล กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น

วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2568

ประชาสัมพันธ์เเจ้งเตือนเกี่ยวกับการทุจริตการสอบเเข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น

           ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0809.6/ว1315 ลงวันที่ 21 มีนาคม 2568 เรื่อง ประชาสัมพันธ์เเจ้งเตือนเกี่ยวกับการทุจริตการสอบเเข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเป็นข้าราชการหรือพนักงานส่วนท้องถิ่น


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (https://www.dla.go.th/) 

ปิดปรับปรุงระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

           ตามหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.4/ว1394 ลงวันที่ 26 มีนาคม 2568 เรื่อง ปิดปรับปรุงระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (New e-LLAS)


ที่มา : กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (https://www.dla.go.th/)

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2568

ซื้อสินค้าหรือธุรกรรมออนไลน์ให้ปลอดภัย

           ซื้อสินค้าหรือธุรกรรมออนไลน์ให้ปลอดภัย
           1) กรอกข้อมูลบัตรเครดิต หากต้องกรอกข้อมูลบัตรเครดิตต่าง ๆ อย่าลืมเช็คว่าหน้าเว็บนั้นเป็นระบบ htpps หรือไม่ เพื่อป้องกันการดักจับข้อมูล จากแฮกเกอร์
           2) สินค้าราคาถูกเว่อร์ หลีกเลี่ยงการซื้อสินค้าที่ราคาถูก อาจเป็นของขโมยมาของปลอม ของใช้แล้ว หรือไม่มีสินค้าจริง หลอกให้โอนเงินแล้วชิ่ง
           3) ตรวจสอบประวัติร้านหรือผู้ขาย โดยค้นหาข้อมูลร้านนั้นจากผู้ที่เคยซื้อ หรือใช้บริการจาก Google ซึ่งมักจะมีผู้ที่หลอกมาโพสต์เตือนไว้ไม่ให้ใครตกเป็นเหยื่อเพิ่ม
           4) อย่าพึ่งไว้ใจ แม้ว่าจะเคยซื้อกับทางร้านนั้น ๆ มาก่อนแล้ว ก็อย่าพึ่งไว้ใจ มีข่าวที่ผู้ขายหลอกให้ตายใจ ครั้งแรกก็ซ์้อขายกันตามปกติ พอซื้อยอดสูง ๆ แล้วชิ่งไปเลยก็มี
           5) อย่าพึ่งหลงเชื่อ แม้ว่าจะบอกว่าเป็นร้านของดารา หรือ ผู้มีชิ้อเสสี่ยง ก็อย่าพึ่งหลงเชื่อ เพราะเคยมีกรณีที่แอบอ้างว่าเป็นคนดังเพื่อเรียกลูกค้าเช่นกัน 


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (http://www.sec.or.th/)

พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

          พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่กำหนดให้องค์กรภาครัฐและเอกชน ที่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล ต้องไม่นำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ในกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเก็บ ประมวลผล ถ่ายโอน และเปิดเผยโดยไม่ได้รับความยินยอม
         

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (http://www.sec.or.th/)

วันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2568

พบเห็นบุหรี่ไฟฟ้า แจ้งได้ทันที ผ่านแอปฯ ทางรัฐ

ไม่ว่าจะเป็นการผลิต ขาย ให้บริการ ครอบครองบุหรี่ไฟฟ้า บารากู่ หรือ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการสูบ สามารถแจ้งเบาะแสง่ายๆ ได้ทันทีผ่านแอปฯ ทางรัฐ

4 Step การแจ้งเบาะแสผ่านแอปฯ ทางรัฐ

  • ระบุประเภทของบุหรี่ไฟฟ้า
  • ระบุจุดเกิดเหตุ ร้านค้า / สถานที่พบเห็น
  • ระบุผู้กระทำผิด (กรณีทราบ หรือ ไม่ระบุก็ได้)
  • ระบุหลักฐาน
          ดาวน์โหลดแอปฯ ทางรัฐ ผ่าน Google Play, App Store และผู้ใช้มือถือ Huawei 👉https://dg.th/kw6uzvdo57



ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ (14 มี.ค. - 20 มี.ค. 68)

           💢TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [14 มี.ค. - 20 มี.ค. 68]


          ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ 
https://www.mdes.go.th/news/detail/9296

          อันดับที่ 1 : เรื่อง OR เปิดจองหุ้น! นักลงทุนทั่วไป-ผู้ถือ PTT เริ่มต้นเพียง 1,000 บาท
          อันดับที่ 2 : เรื่อง Café Amazon ร่วมกับ OR เปิดลงทุนหุ้น เริ่มต้น 1,000 บาท
          อันดับที่ 3 : เรื่อง บมจ.ปลูกผักเพราะรักแม่ เปิดพอร์ตให้ลงทุนสูงสุด 3,000 บาท รับรองโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
          อันดับที่ 4 : เรื่อง ออมสินเปิดบัญชี TikTok ให้บริการสินเชื่อแก่ประชาชน
          อันดับที่ 5 : เรื่อง ลงทุนหุ้น AMZN รับปันผล 350-1,050 ต่อวัน ผ่านเพจ Amazon ศูนย์รวมของคนรักกาแฟ
          อันดับที่ 6 : เรื่อง สำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเพจเฟซบุ๊ก Help In Thailand
          อันดับที่ 7 : เรื่อง ก.ล.ต. เปิดขาย IPO 981 ล้านหุ้น เริ่มต้นที่ 1,000 บาท
          อันดับที่ 8 : เรื่อง ปฏิบัติการทลายแก๊งคอลฯ ข้ามชาติ เปิดให้เหยื่อเฉลี่ยทรัพย์คืนผ่านเฟซบุ๊ก
          อันดับที่ 9 : เรื่อง TikTok somsrjfw47u เป็นบัญชีที่ธนาคารออมสินเปิดไว้ให้บริการสินเชื่อ
          อันดับที่ 10 : เรื่อง ขนส่ง จำกัด เปิดเพจเฟซบุ๊กใหม่ !

          📌หากพบเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ สามารถโทรแจ้งได้ที่ 📞สายด่วน 1111 (24 ชม.) 🟢Line ID: @antifakenewscenter 🌐เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com


ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันศุกร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2568

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพในยุค Digital Disruption

           การเปลี่ยนแปลงสภาวะเศรษฐกิจ สังคม ธุรกิจ และวิวัฒนาการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนต้องพิจารณาอย่างเข้าใจและหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องมีการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจรวมถึงกลยุทธ์ต่างๆ เพื่อให้องค์กรสามารถอยู่รอดและแข่งขันได้ในยุค Digital Disruption ดังนั้น ความสำคัญเรื่องการบริหารการเปลี่ยนแปลง (Change Management) ตั้งแต่การปรับรูปแบบองค์กรระดับกลยุทธ์ จนถึงระดับกระบวนการดำเนินงาน จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ผู้บริหารต้องตระหนักถึงและจะมองข้ามเสียไม่ได้

          ดังนั้น การบริหารความเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากปัจจัยทั้งภายนอกภายในที่มากระทบองค์กร จึงต้องคำนึงถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์หรือความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นแล้วส่งผลเสียหายต่อองค์กรด้วย เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและสามารถบริหารจัดการเพื่อควบคุมความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ การตระหนักถึง “การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)” จึงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการรับมือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเพื่อให้องค์กรสามารถก้าวข้ามไปสู่การดำเนินภารกิจได้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนด อีกทั้งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ขององค์กรได้อีกทางหนึ่ง

          สพร. จึงได้กำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยง (Risk Management Policy) ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ ดังนี้
         1. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และลูกจ้างทั่วทั้งสำนักงาน เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนากระบวนการบริหารความเสี่ยงเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของสำนักงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนดำเนินงาน และแผนกลยุทธ์
         2. เพื่อให้สำนักงานมีกรอบการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่อาจส่งผลให้เกิดความเสี่ยงทุกด้านได้อย่างเป็นระบบและมีมาตรฐาน รวมทั้งมีการดำเนินการเพื่อสร้างพื้นฐานในการป้องกันความเสี่ยงระยะยาวที่สำคัญให้สำนักงาน
        3. เพื่อเป็นกลไกในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารความเสี่ยงสำหรับผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และลูกจ้างทั่วทั้งสำนักงาน และสนับสนุนให้การบริหารความเสี่ยงเป็นวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างยั่งยืน
        4. เพื่อให้ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่และลูกจ้าง ตระหนักและมีความเข้าใจตรงกันถึงเป้าหมาย วัตถุประสงค์ รวมทั้งแนวทางการบริหารความเสี่ยงของสำนักงาน ซึ่งสามารถสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สำนักงาน โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อเป้าหมายการดำเนินงานของสำนักงาน ให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลที่ดี (Good Corporate Governance) และข้อกำหนดของหน่วยงานที่กำกับดูแลสำนักงาน



ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

เตือนภัย! มิจฉาชีพ หลอกเป็นสรรพากรคืนเงินภาษี ระวังโดนหลอกดูดเงิน

กรมสรรพากร ไม่มีนโยบายติดต่อประชาชนโดยการส่งลิงก์ ผ่านSMS / e-mail หรือผ่านทางแชทบนโซเชียลมีเดียให้ลงทะเบียนกรอกข้อมูลส่วนตัว ในการขอคืนภาษี อย่าหลงเชื่อ #ไม่กดลิงก์ ไม่เชื่อ ไม่รีบ ไม่โอน

ติดต่อกรมสรรพากร ได้ตามช่องทางนี้เท่านั้น
          1. สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา
          2. ทางออนไลน์ผ่านระบบ e-Filing ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th
          3. สอบถามผ่านทางสายด่วน 1161


ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันพฤหัสบดีที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2568

คำสั่งลงโทษทางปกครอง

           ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโทษทางปกครอง 
          ข้อ 12 คําสั่งลงโทษทางปกครองให้ทําเป็นหนังสือระบุ วัน เดือน ปี ที่ออกคําสั่งลงโทษ ทางปกครอง ลงลายมือชื่อและตําแหน่งของผู้มีอํานาจออกคําสั่ง
          ข้อ 13 คําสั่งลงโทษทางปกครองต้องจัดให้มีเหตุผลไว้ด้วย และเหตุผลนั้นอย่างน้อย ต้องประกอบด้วย
                    (1) ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสําคัญ
                    (2) ข้อกฎหมายที่อ้างอิง
                    (3) ข้อพิจารณาและข้อสนับสนุนในการใช้ดุลพินิจ
                   ความในวรรคหนึ่งไม่ให้ใช้บังคับกับกรณีดังต่อไปนี้
                   ก. เหตุผลนั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วโดยไม่จําเป็นต้องระบุอีก
                   ข. เป็นกรณีต้องรักษาไว้เป็นความลับ
                   ค. เป็นกรณีเร่งด่วน แต่ต้องให้เหตุผลเป็นลายลักษณ์อักษรในเวลาอันควร หากผู้ถูกลงโทษ ร้องขอ
          ข้อ 14 เมื่อออกคําสั่งแล้วให้นายทะเบียนแจ้งคําสั่งและสิทธิในการอุทธรณ์แก่ผู้ถูกลงโทษด้วย
          ข้อ 15 คําสั่งลงโทษทางปกครองให้มีผลใช้ยันต่อผู้ถูกลงโทษตั้งแต่ขณะที่ผู้ถูกลงโทษ ได้รับแจงเป็นต้นไป
          ข้อ 16 เมื่อผู้ถูกลงโทษปรับทางปกครองได้รับแจ้งคําสั่งปรับแล้วให้ผู้ถูกลงโทษปรับชําระ ค่าปรับให้แก่นายทะเบียนภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้ง โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้รับชําระเงินออก ใบเสร็จรับเงินค่าปรับแต่ละครั้งให้แก่ผ้ถู ูกลงโทษปรับไว้เป็นหลักฐาน
           ข้อ 17 ให้ผู้ถูกลงโทษปรับชําระค่าปรับให้เสร็จสิ้นในคราวเดียว


ที่มา : ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาโทษทางปกครอง 

เตรียมยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ของคุณ เร็วๆ นี้! กับบทเรียน e-Learning ใ...

          เตรียมยกระดับความปลอดภัยไซเบอร์ของคุณ เร็วๆ นี้!
         🌐 กับบทเรียน e-Learning ใหม่จาก TDGA . “Basic Cybersecurity Series : หลักสูตรพัฒนาทักษะด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์เบื้องต้น”
          📚 พัฒนาทักษะความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์กับ 6 หัวข้อสำคัญ ที่จะทำให้คุณสามารถรับมือกับภัยคุกคามและปกป้องข้อมูลสำคัญได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          หัวข้อการเรียนรู้ 6 หัวข้อ ระยะเวลา 1.30 ชม.
         👉 เนื้อหาหลักสูตร
         🔶 การประเมินความเสี่ยงด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Risk Assessment)
         🔶 ความสามารถในการเตรียมตัว และตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Cyber Resilience)
         🔶 กรอบมาตรฐานด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (Cybersecurity Framework)
         🔶 การป้องกันความเสี่ยง (Protect) โดยการประเมินช่องโหว่ (Vulnerability Assessment)
         🔶 การตรวจสอบ และเฝ้าระวังภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Detect)
         🔶 การเผชิญเหตุภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Respond) และการฟื้นฟูความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์ (Recover)
         🎓 เรียนฟรี! พร้อมรับประกาศนียบัตรทันทีหลังเรียนจบ ลงทะเบียนได้ที่ 👉 https://tdga.dga.or.th/


ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568

การใช้คำว่า นี้ - นั้น ในหนังสือราชการ

           คำว่า นี้ ใช้กับข้อความที่อยู่ใกล้หรือชี้เฉพาะ เช่น เรื่องที่กล่าวมานี้
 
           คำว่า นั้น ใช้กับข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมายฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น
หรือใช้ประกอบนามที่หมายถึงบุคคลหรือสิ่งที่อยู่ห่างออกไป เช่น คนนั้น สิ่งนั้น รวมไปถึงใช้ประกอบคำอื่นคู่กับคำว่า "ใด" แสดงความแน่นอน เช่น คนใด...คนนั้น เมื่อใด...เมื่อนั้น 


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

การใช้คำว่า ไป - มา ในหนังสือราชการ

          การใช้คำ "ไป" "มา"

          #ไป หมายความว่า เคลื่อนจากตัวผู้พูด การเขียนหนังสือ จะใช้แสดงทิศทางออกจากตัวผู้ที่เขียนถึง
เช่น “ขอเชิญไปเป็นวิทยากร” เพราะ ผู้รับหนังสือจะต้องเดินทางไป...

          #มา หมายความว่า เคลื่อนเข้าหาตัวผู้พูด การเขียนหนังสือ จะใช้แสดงทิศทางสู่ตัวผู้ที่เขียนถึง
เช่น “ขอส่งผู้แทนมาร่วมประชุม” เพราะ ผู้รับหนังสือที่เป็นผู้จัดการประชุม เตรียมรับผู้ที่มาประชุม


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

วันอังคารที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2568

Template นโยบายการใช้เทคโนโลยี Generative AI ที่ยอมรับได้ (Acceptable Use Policy: Generative AI)

📢 Template นโยบายการใช้เทคโนโลยี Generative AI ที่ยอมรับได้ (Acceptable Use Policy: Generative AI)
นโยบายนี้จัดทำขึ้นโดยมีเนื้อหาสาระสำคัญ ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางการจัดฝึกอบรมการให้ความรู้ การทราบถึงโทษของการไม่ปฏิบัติตามนโยบาย และตัวอย่างพฤติกรรมที่ควรทำและไม่ควรทำ(Do's & Don'ts) ของการใช้งานเทคโนโลยี Generative Al รวมถึงแอปพลิเคชันหรือบริการ Generative Al ที่สำนักงานแนะนำ เพื่อให้พนักงาน ลูกจ้าง ผู้ปฏิบัติงานและผู้รับจ้างของสำนักงานสามารถนำเทคโนโลยี Generative AI ไปใช้งานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมมีความรับผิดชอบและสามารถนำเทคโนโลยีดังกล่าวไป รังสรรค์งานได้อย่างปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ตลอดจนป้องกันความเสียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ในการนี้สำนักงานจึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบายดังกล่าวไว้
เอกสาร Template รูปแบบ MS word นโยบายการใช้เทคโนโลยี Generative AI ที่ยอมรับได้ (Acceptable Use Policy: Generative AI)


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ

TOP 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่เกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ (วันที่ 7 - 13 มี.ค. 2568)

      💢TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [7 มี.ค. - 13 มี.ค. 68]

       ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9270

        อันดับที่ 1 : เรื่อง ธนาคารออมสิน เปิดให้สินเชื่อทางบัญชี TikTok
        อันดับที่ 2 : เรื่อง ออมสินให้บริการสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok Government Savinggs Bank ออมสิน
        อันดับที่ 3 : เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเปิดบัญชี Tiktok ใหม่ ใช้สำหรับแจ้งข่าวประชาชน
        อันดับที่ 4 : เรื่อง สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล เปิดเพจเฟซบุ๊ก Thailand Lottery Help Center
        อันดับที่ 5 : เรื่อง กรมอนามัย เปิดบัญชี TikTok ชื่อ anamai_official
        อันดับที่ 6 : เรื่อง ธ.ก.ส. บัญชี TikTok เพื่อประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร
        อันดับที่ 7 : เรื่อง เพจ Help with human trafficking เปิดให้เหยื่อมิจฉาชีพลงทะเบียนขอรับเงินคืน
        อันดับที่ 8 : เรื่อง บัญชี X ชื่อ ถ่ายทอดสดผลหวย เป็นบัญชีของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
        อันดับที่ 9 : เรื่อง ฮั่วเซ่งเฮงที่เปิดทำการลงทุนแบบรายวัน ผ่านการรับรองจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
        อันดับที่ 10 : เรื่อง OHKAJHU เปิดลงทุน! ซื้อ-ขายหลักทรัพย์ ปลอดภัย เริ่มเพียง 1,000 บาท

          📌หากพบเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ สามารถโทรแจ้งได้ที่ 📞สายด่วน 1111 (24 ชม.) 🟢Line ID: @antifakenewscenter 🌐เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com



ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2568

Data Breach คืออะไร ?

          Data Breach คือ การละเมิดข้อมูลสำคัญที่ทำให้เกิดข้อมูลรั่วไหลและสร้างความเสียหายในเรื่องของชื่อเสียง การเงิน รวมถึงความมั่นคง นอกจากนี้ องค์กรที่ข้อมูลหลุดมักถูกละเมิดหรือถูกโจมตีซ้ำมากกว่าหนึ่งครั้ง เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันได้พัฒนามากขึ้น การพัฒนาการโจมตีเพื่อโจรกรรมข้อมูลจึงมีความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเช่นกัน
   
          การโจมตีที่อันตรายยิ่งขึ้น

  • AI-Powered Cyber Attack แฮกเกอร์จะใช้ AI เพื่อวิเคราะห์ช่องโหว่ของระบบในการคิดค้นวิธีการโจมตีที่แม่นยำและยากต่อการตรวจจับ เช่น การเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์เพื่อหลอกลวงเหยื่อให้เปิดเผยข้อมูลหรือรหัสผ่าน ทำให้การป้องกันเป็นเรื่องยาก
  • Supply Chain Attacks เป็นการโจมตีที่เกิดขึ้นผ่านผู้ให้บริการหรือระบบที่เกี่ยวข้องกับองค์กร โดยแฮกเกอร์จะใช้ช่องโหว่ในซอฟต์แวร์จากพาร์ตเนอร์ที่องค์กรใช้ ทำให้ข้อมูลหลุดรั่วไป โดยที่องค์กรไม่สามารถรับรู้ได้ทันที
  • Insider Threats ภัยคุกคามจากภายในองค์กรเป็นอีกหนึ่งปัญหาหลักที่ทำให้เกิดข้อมูลรั่วไหล สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งจากพนักงานในองค์กรหรืออดีตพนักงาน ภัยคุกคามประเภทนี้มักมาจากความประมาทหรือการกระทำที่มีเจตนาไม่ดี ซึ่งอาจนำไปสู่การละเมิดข้อมูล โดยที่องค์กรไม่รู้ตัวได้

    แนวทางป้องกัน Data Breach
  • เพื่อความปลอดภัยของเครือข่าย ควรมีการใช้ Firewall รวมถึงระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่าย เพื่อป้องกันภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นในองค์กร
  • Security Awareness Training การฝึกอบรมด้าน Security Awareness จะช่วยให้ทุกคนสามารถรับมือกับภัยคุกคาม Data Breach ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  • กำหนดสิทธิ์เข้าถึงข้อมูล เพิ่มความปลอดภัยของข้อมูล โดยมีการกำหนดสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้ข้อมูลที่ละเอียดอ่อน ถูกเข้าถึงได้โดยง่าย
  • ปฏิบัติตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 และ PDPA มาตรฐานจัดการความปลอดภัยข้อมูลและกฎหมาย PDPA จะช่วยควบคุมความเสี่ยงและทำให้การจัดการข้อมูลมีความปลอดภัยยิ่งขึ้น




ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

E-Waste (Electronic Waste) คืออะไร?

           E-Waste (Electronic Waste) คือ ขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้าที่หมดอายุการใช้งานล้าสมัย ไม่สามารถย่อยสลายตามธรรมชาติได้ และมีสารประกอบเป็นพิษ

          10 หมวดหมู่ที่ถูกจำแนก

  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนขนาดใหญ่
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนขนาดเล็ก
  • อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศ
  • อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภค
  • อุปกรณ์ให้แสงสว่าง
  • เครื่องมือไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • ของเล่นหรืออุปกรณ์กีฬาที่ใช้ไฟฟ้า
  • อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์
  • เครื่องมือตรวจและคุมสภาพแวดล้อม
  • เครื่องจำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ

    แนวทางการจัดการ
  • คัดแยะขยะอิเล็กทรอนิกส์ออกจากขยะทั่วไป
  • ถอดแบตเตอรี่ออกจากอุปกรณ์ก่อนทิ้ง
  • นำไปทิ้งในจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์
  • ลบข้อมูลออกจากอุปกรณ์ให้เรียบร้อย

    วิธีจัดการ E-waste
  • ทิ้งที่จุดรับ E-waste สำนักงานเขตกรุงเทพฯหรือผ่าน APP
  • บริการไปรษณีย์ บรรจุใส่กล่องและเขียนที่หน้ากล่องพัสดุ "ฝากทิ้ง ขยะอิเล็กทรอนิกส์"

ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2568

พื้นที่ทำงานปลอดภัย ข้อมูลรั่วไหล เริ่มเปลี่ยนที่ตัวเรา

            ภายในพื้นที่ทำงานของเรา มีเอกสารข้อมูลสำคัญ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และทรัพย์สินอื่น ๆ มากมาย เราจำเป็นต้องดูแลเป็นอย่างดี  ไม่ให้ข้อมูลรั่วไหลหรืออุปกรณ์เสียหาย
            1) สวมบัตรพนักงาน แสดงตัวว่าเป็นพนักงานขององค์กร
            2) เก็บเอกสารสำคัญ เข้าตู้ลิ้นชัก อย่าลืม ล็อกกุญแจให้แน่นหนา
            3) ล็อกหน้าจอคอม ก่อนออกจากโต๊ะทำงาน
            4) สแกนไวรัส USB Thumb Drive ก่อนเสียบคอมพิวเตอร์ทุกครั้ง
            5) ไม่จดรหัสผ่าน บนโต๊ะหน้าจอคอมพิวเตอร์ 
            6) ฉีกหรือนำเอกสารเข้าเครื่องทำลายเอกสาร เมื่อใช้งานเสร็จ
            7) ยืนรอเอกสารที่สั่งพิมพ์ด้วยตัวเอง ป้องกันคนอื่นหยิบอ่านได้
            8) พบบุคคลภายนอกในพื้นที่ทำงาน แจ้งหน่วยงานรักษาความปลอดภัยตรวจสอบทันที


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างไร ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ

           โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัย 5 ของคนยุคนี้ แต่พื้นฐานของกิจกรรมที่กล่าวมานี้ ทำงานได้จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการติดตั้ง Application ต่าง ๆ บนเครื่อง ซึ่งก็แน่นอนว่า เมื่อมีผู้ใช้งานกันอย่างล้นหลาม ก็ย่อมีภัยร้ายและผู้ที่คอยแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่ไม่ระมัดระวังตัวในการใช้งาน
  
          เรามาดูวิธีการใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างไรให้ปลอดภัยกันดีกว่า
          1) ตั้งค่าล็อคหน้าจอโทรศัพท์ด้วย PIN/Passcode ที่มีความปลอดภัยหรือ Biometric เสมอ เพื่อป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลอื่นและเมื่อโทรศัพท์หาย คนที่เก็บได้จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ๆ 
         2) ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น เลขบัตรเครดิต, Password ต่าง ๆ ไม่ควรบันทึกไว้ในโทรศัพท์ หรือหากมีความจำเป็นให้ทำการเข้ารหัสข้อมูลไว้
         3) สำรองข้อมูลบนเครื่องไว้เสมอ เพื่อกู้คืนข้อมูลหรือป้องกันข้อมูล กรณีที่โทรศัพท์มือถือถูกขโมยหรือสูญหาย และให้ทำการเข้ารหัสข้อมูลที่สำรองไว้เสมอ
         4) ไม่เชื่อมต่อ WiFi ที่ไม่น่าเชื่อถือ หากมีความจำเป็นต้องใช้งานควรหลีกเลี่ยงการลงชื่อเข้าใช้อีเมลบัญชีของ Application ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Application ทางด้านการเงิน
         5) ติดตั้ง Application จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ และต้องอัพเดทระบบปฏิบัติการให้เป็นเวอร์ชันใหม่อยู่เสมอ
         6) ไม่ควร Root หรือ Jailbreak ของเครื่อง เพราะจะทำให้ความปลอดภัยพื้นฐานของเครื่องลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายที่ตามมาภายหลัง ทั้งเรื่องข้อมูลรั่วไหลหรือแม้กระทั่งการสิ้นสุดการรับประกันตัวเครื่องเองจากแบรนด์นั้น ๆ 
         7) การให้สิทธิ์การเข้าถึงกับ Application มีความตระหนักและพึงระวังในการให้สิทธิ์การเข้าถึงกับ Application อยู่เสมอ โดยให้สิทธิ์แค่ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น เช่น Application แต่งรูป ควรให้สิทธิ์การเข้าถึงเฉพาะรูปภาพ ไม่ใช่ให้สิทธิ์ Micophone ไปด้วย 


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

วันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2568

ซื้อของออนไลน์อย่างไร ให้ปลอดภัย ?

           1. Shopping บนเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือสังเกต URL ของเว็บไซต์ต้องสะกดถูกต้องทุกตัวอักษร
           2. ตรวจสอบ Profile ผู้ขาย มีการยืนยันตัวตนหรือจดทะเบียนร้านค้าออนไลน์หรือไม่ 
           3. ร้านค้ามีประวัติการโกงหรือไม่ ตรวจสอบจากชื่อ - เลขบัญชีผ่านอินเทอร์เน็ตและรีวิวต่าง ๆ ของร้านค้า
          4. โอนเงินชำระสินค้าผ่านเครือข่ายส่วนตัว หลีกเลี่ยง wifi สาธารณะ
          5. กรณีชำระผ่านบัตรเครดิต/เดบิต ไม่ควรบันทึกข้อมูลบัตรลงเว็บไซต์
          6. เก็บหลักฐานการโอนและชื่อ - นามสกุล เลขบัญชีของผู้ขาย เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต



ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ใช้โซเชียลมีเดียอย่างไรให้ปลอดภัย

           1. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์มือถือ วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ เลขบัตรประชาชน ฯลฯ
           2. ไม่เช็กอินแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะการโพสต์หรือเช็กอินแบบสาธารณะ
           3. ระวังข้อความแนบลิงก์แปลกปลอม อย่าคลิกลิงก์ที่ไม่รู้จัก
           4. ไม่รับแอดคนที่ไม่รู้จัก คิดให้ดีก่อนรับใครเป็นเพื่อน โดยเฉพาะคนที่ยังไม่เคยพบตัวจริง
           5. คิดก่อนแสดงความคิดเห็น ไม่โพสต์ข้อมูลเท็จ 
           6. ตั้งรหัสผ่านให้คาดเดายาก ป้องกันคนอื่นสวมรอยใช้บัญชีของเราแพร่กระจายลิงก์สแปม - หลอกขอเงินผู้อื่น เช่น H03wl3eautifulY0u@r3 เป็นต้น


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2568

การเขียนสิ่งที่ส่งมาด้วยในส่วนหัวของหนังสือภายนอกและหนังสือภายใน

          การเขียนสิ่งที่ส่งมาด้วยในส่วนหัวของหนังสือภายนอก

  • ระบุชื่อ "สิ่งของ เอกสาร หรือหนังสือราชการ" ที่ส่งไปพร้อมกับหนังสือนั้น
  • ระบุจำนวน "สิ่งของ เอกสาร ตามลักษณนาม" ที่ส่งไปร้อมกับหนังสือนั้น
          ตัวอย่างเช่น 
          สิ่งที่ส่งมาด้วย
          1. รายงานผลการฝึกอบรม จำนวน 5 ฉบับ
          2. หนังสือคู่มือการจัดโครงการ จำนวน 1 เล่ม

          สิ่งที่ส่งมาด้วย
          1. สำเนาหนังสือสำนัก... ที่ กท 0000/01 ลงวันที่ 1 ตุลาคม 2562
          2. สำเนาคำสั่งกรุงเทพมหานคร ที่ 000/2562 สั่ง ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2562

          หากในเนื้อความ "มีกล่าวถึง" สิ่งที่ส่งมาด้วย
          ตัวอย่างเช่น
          สำนัก....ขอส่งรายงานผลการฝึกอบรม มาเพื่อดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง รายละเอียดปรากฎตามสิ่งที่ส่งมาด้วย 1 


          การเขียนสิ่งที่ส่งมาด้วยในส่วนหัวของหนังสือภายใน
   
      จะไม่ใช้คำว่า "สิ่งที่ส่งมาด้วย" ให้ใช้คำว่า
  • รายละเอียดปรากฎตามเอกสารที่แนบมาพร้อมนี้
  • รายละเอียดปรากฎตามเอกสารแนบ
  • รายละเอียดปรากฎตามระเบียบวาระการประชุมฯ ที่แนบ
  • ตามเอกสารหมายเลข (1)
  • รายละเอียดโครงการปรากฎตาม QR CODE ท้ายหนังสือนี้
  • รายละเอียดโครงการปรากฎตามลิงก์ที่อยู่เว็บไซค์ท้ายหนังสือนี้ 


ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

    การเขียนโครงการฝึกอบรม ตามรูปแบบมาตรฐานการเขียนโครงการของกรุงเทพมหานคร

               ชื่อโครงการ : ต้องชัดเจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / เป้าหมายของโครงการ
               หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ส่วนราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
               ปีงบประมาณ : ปีงบประมาณที่ดำเนินการ

               1) หลักการและเหตุผล : ที่มาและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากรหรือหน่วยงาน ซึ่งจำเป็นต้องจัดโครงการ และมาจาก TNA
               2) วัตถุประสงค์ : เชิงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล และภารกิจหลักของหน่วยงาน
               3) เป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมายผุ้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หลักของโครงการโดยตรง
               4) ลักษณะโครงการ : รูปแบบของโครงการ เช่น ฝึกอบรม ดูงาน ประเภทของโครงการ (เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ หรือโครงการตามภารกิจงานประจำ) 
               5) ระยะเวลาและสถานที่ : จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยระบุระยะเวลาเริ่มต้นและระยเวลาสิ้นสุดโครงการ สถานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ
               6) แผนปฏิบัติการ : ขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนการใช้งบประมาณ เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยแสดงรายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างชัดเจนตามลำดับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ จนสิ้นสุดการดำเนินโครงการ
               7) งบประมาณ : จำนวนเงินงบประมาณ แหล่งที่มาของงบประมาณ หมวดรายจ่ายงบประมาณ รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่จะเสนอขอ
               8) ความเสี่ยงของโครงการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง : ระบุถึงข้อจำกัดที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อโครงการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง ระบุวิธีการที่จัดการแก้ไขข้อจำกัดเพื่อให้ปัญหาและความเสี่ยงโครงการลดน้อยลงที่ทำให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
               9) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ระบุถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร ประชาชน สังคม หรือกลุ่มเป้าหมายภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
               10) การติดตามและประเมินผล : ตัวชี้วัดความสำเร็จ ระดับผลผลิต ระดับผลลัพธ์ และระดับผลกระทบ การติดตามความก้าวหน้า และการประเมินผลโครงการ


    ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า

    วันจันทร์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2568

    เตือนภัย แอปกู้เงินเถื่อน

              จุดสังเกตแอปกู้เงินเถื่อน

    • คำโฆษณาชวนเชื่อเกินจริง อนุมัติง่าย ได้เงินเร็ว ดอกเบี้ยไม่แพง
    • การเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวในอุปกรณ์ อาทิ ตำแหน่ง ข้อความ กล้อง รูปภาพ รายชื่อเบอร์โทร และข้อมูลอื่น ๆ ในเครื่อง
    • ดอกเบี้ยโหด คิดดอกเบี้ยเกินกฎหมายกำหนด เสี่ยงเป็นหนี้ได้ไม่สิ้นสุด
    • ให้กรอกข้อมูลส่วนตัว มีการบังคับให้ซื้อเพชร (ค่าเงินในแอปฯ) เพื่อให้อนุมัติวงเงินได้เร็วขึ้น ถ้าไม่ซื้อไม่ให้กู้
    • ไม่มีสัญญาสินเชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่แจ้งรายละเอียดเงินกู้ ดอกเบี้ย หรือค่าธรรมเนียมให้ชัดเจน

              ⚠️ ตรวจสอบแอปฯ เงินกู้ที่ถูกกฎหมาย ที่ได้รับอนุญาตจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ที่ https://www.bot.or.th/th/license-loan.html

    ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)

    TOP 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่เกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ (วันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 6 มีนาคม 2568)

               💢TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [28 ก.พ. - 6 มี.ค. 68]
               ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9245
              ข่าวปลอมเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
              อันดับที่ 1 : ออมสินเปิดบัญชี TikTok govrnment.savings ให้บริการสินเชื่อออนไลน์
              อันดับที่ 2 : ออมสินให้บริการสินเชื่อผ่านบัญชี TikTok lazadxoy29c
              อันดับที่ 3 : กระทรวงวัฒนธรรม เปิดบัญชี TikTok roblox08159
              อันดับที่ 4 : ธนาคารออมสิน เปิดให้ลงทะเบียนสินเชื่อที่ Tiktok @gsb.social.bank35
              อันดับที่ 5 : ลงทุนหุ้น OHKAJHU ผ่าน TikTok Salad_okj ปลอดภัยภายใต้การดูแล ก.ล.ต.
              อันดับที่ 6 : กรมการขนส่ง เปิดทำใบขับขี่ออนไลน์ ผ่านเพจ Department Online 333
              อันดับที่ 7 : บัญชีเฟซบุ๊กปรากฏข้อมูลชื่อและภาพผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
              อันดับที่ 8 : เปิดจองสิทธิ์ทำใบขับขี่ออนไลน์ได้ง่าย ๆ ผ่านเพจ Kanokporn
              อันดับที่ 9 : ออมสิน เปิดรับลงทะเบียนสินเชื่อ ทาง TikTok nobcoknlwsa
              อันดับที่ 10 : การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เปิดบัญชี TikTok ใหม่ เพื่อแจ้งข่าวสาร

              📌หากพบเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ สามารถโทรแจ้งได้ที่ 📞สายด่วน 1111 (24 ชม.) 🟢Line ID: @antifakenewscenter 🌐เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com


    ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

    วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2568

    รู้ทัน Scammer ภัยออนไลน์ใกล้ตัว

              Scammer คือ ผู้ที่ใช้วิธีหลอกลวงเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ เพื่อให้มีการโอนเงิน ส่งต่อข้อมูลส่วนตัว ซื้อสินค้าปลอม โดยประเภทที่คนไทยโดนหลอกมากที่สุด ได้แก่
              1. การหลอกลวงผ่านอีเมล (Email scam) ส่งข้อมูลหลอกลวงผ่านอีเมลด้วยข้อความ แสดงความยินดี ถูกรางวัล ชวนให้กดลิงก์
              *วิธีป้องกัน*: ตรวจสอบที่มาของอีเมลว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ ก่อนกดลิงก์
              2. การหลอกขายสินค้า (Sales scam) ขายผ่านทางออนไลน์ หลังจากชำระเงิน พบว่าไม่ส่งสินค้าหรือส่งสินค้าปลอมและตัดช่องทางติดต่อ
              *วิธีป้องกัน*: จ่ายเงินปลายทางหรือนัดรับ ตรวจสอบข้อมูลผู้ขาย ผ่านทางเว็บไซต์เช็กรายชื่อคนโกง
              3. การหลอกรักออนไลน์ (Romance scam) มิจฉาชีพสร้างโปรไฟล์ให้ดูน่าเชื่อถือ เข้ามาตีสนิท ทำให้รักและเชื่อใจ จนยอมโอนเงิน
              *วิธีป้องกัน*: ไม่เชื่อใจ ไม่ให้ข้อมูล ส่วนตัว ไม่โอนเงินให้ง่าย ๆ ตรวจสอบก่อนโอนทุกครั้ง
              4. การหลอกให้ลงทุน (Hybrid Scam) มาในรูปแบบนักธุรกิจ แสดงตนว่ามีเงินทอง ชวนให้ร่วมลงทุน อ้างว่าจะได้ผลตอบแทนสูงเหมือนตน และให้โอนเงินเพื่อเริ่มลงทุน
              *วิธีป้องกัน*: ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ ตรวจสอบข้อมูลที่อีกฝ่ายกล่าวมา วางสายก่อนให้ข้อมูลส่วนตัว
              5. การหลอกโดยแก๊งคอลเซ็นเตอร์ (Vishing Phishing) แก๊งคอลเซ็นเตอร์สร้างเหตุการณ์ให้ผู้รับสายตกใจ กลัว เช่น เกี่ยวข้องกับสิ่งผิดกฎหมาย
              *วิธีป้องกัน*: ตรวจสอบเบอร์โทรศัพท์ ตรวจสอบข้อมูลที่อีกฝ่ายกล่าวมา วางสายก่อนให้ข้อมูลส่วนตัว
              6. การหลอกให้แชร์ลูกโซ่ (Ponzi scheme) มักอ้างชื่อผู้มีชื่อเสียง มาในรูปแบบของเว็บไซต์แอปพลิเคชัน ชวนให้ลงทุน เพื่อรับผลกำไรตอบแทนสูงในเวลาสั้น ๆ
              *วิธีป้องกัน*: ไม่หลงเชื่อคำโฆษณา เช็กข้อมูล ไม่รีบตัดสินใจลงทุนกับธุรกิจที่เข้ามาชักชวน


    ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

    ทำความรู้จัก Green Technology เทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม

              👉ความสำคัญ คือ เป็นเทคโนโลยีที่เน้นการจัดการทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
    • ลดผลกระทบที่ไม่ดีต่อสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ เพราะทรัพยากรธรรมชาติมีอยู่อย่างจำกัด 
    • ลดต้นทุนการผลิต ลดของเสียที่เกิดจากกระบวนการผลิต 
    • การบริหารภายในองค์กรใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม 
    • ทำให้ได้ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ

      🌟ความน่าจับตามอง
    • การประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) การเก็บข้อมูลในระบบคลาวด์อย่าง Dropbox, Google Drive แอปพลิเคชันสื่อสารออนไลน์ เช่น Zoom, Google Meet
    • การใช้ AI เข้ามาช่วยเหลือ นำ AI มาช่วยวิเคราะห์ ทำให้การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น  การตรวจสอบปัญหาที่อาจเกิดขึ้น 
    • ระบบการจัดการ ระบบการจัดการเอกสาร และข้อมูลภายในองค์กร ซึ่งการทำงานเอกสารต่างๆ เข้าสู้รูปแบบดิจิทัล

    ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

    วันพฤหัสบดีที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2568

    ข่าวสารภัยคุกคามทางไซเบอร์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2568

    รวบรวมข่าวด้านไซเบอร์ฉบับรายเดือน จาก สกมช. ที่พร้อมให้คุณอัปเดตในเล่มเดียว! ไม่พลาดทุกความเคลื่อนไหวในโลกไซเบอร์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ ThaiCERT: https://dg.th/yvmeh2bnki


    ที่มา : ศูนย์ประสานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

    TOP 10 ข่าวปลอมประจำสัปดาห์ที่เกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ (วันที่ 21 - 27 กุมภาพันธ์ 2568)

               💢TOP 10 ข่าวปลอมอาชญากรรมออนไลน์ 💢 อย่าเชื่อ อย่าแชร์ ประจำสัปดาห์ ที่มีผู้คนสนใจมากที่สุด [21 - 27 ก.พ. 68]
               ⚠️จากการมอนิเตอร์และรับแจ้งข่าวปลอมจากประชาชน ของศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม #AFNCThailand สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ ➡️ https://www.mdes.go.th/news/detail/9217

              ข่าวปลอมเกี่ยวกับอาชญากรรมออนไลน์ที่ได้รับความสนใจจากประชาชนมากที่สุด 10 อันดับ ได้แก่
              อันดับที่ 1 : ปปง. เปิดให้ผู้เสียหายจากแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ลงทะเบียนรับเงินคืนผ่านเพจเฟซบุ๊ก
              อันดับที่ 2 : บริการทำใบขับขี่ออนไลน์! แค่ 1 ชั่วโมง ได้รับบัตรรับรองโดยกรมการขนส่งทางบก
              อันดับที่ 3 : ทำใบขับขี่ใหม่หรือต่ออายุ ไม่ต้องไปขนส่ง แค่ติดต่อผ่านไลน์
              อันดับที่ 4 : ปปง. เปิดให้แจ้งความ กรณีโดนโกงทุกรูปแบบ ผ่านเพจ ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
              อันดับที่ 5 : กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน รับสมัครคนแพ็กยางมัดผม ผ่านเพจ จัดหางาน แห่งประเทศไทย
              อันดับที่ 6 : กรมพัฒนาฝีมือแรงงานเปิดรับสมัครงานไปทำที่บ้าน เป็นช่องทางการสร้างเงินแบบใหม่
              อันดับที่ 7 : ธ.ก.ส. เปิดบัญชี TikTok ktb42715 เพื่อให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์สินเชื่อ
              อันดับที่ 8 : กฟภ. เปิดให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ลงทะเบียนเปลี่ยนมิเตอร์ทางไลน์
              อันดับที่ 9 : บัญชีไลน์เจ้าหน้าที่ ก.ล.ต. ชักชวนลงทุนเทรดหุ้น
              อันดับที่ 10 : กรมการจัดหางาน รับสมัครนักพิมพ์อิสระ ผ่านช่องทาง TikTok tpkth1

              📌หากพบเบาะแส ข่าวปลอม และอาชญากรรมออนไลน์ทุกรูปแบบ สามารถโทรแจ้งได้ที่ 📞สายด่วน 1111 (24 ชม.) 🟢Line ID: @antifakenewscenter 🌐เว็บไซต์ www.antifakenewscenter.com


    ที่มา : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

    วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2568

    การยืนยันตัวตนแบบ 2 ขั้นตอน (Two - Factor Authentication : 2FA)

              Two - Factor Authentication (2FA) หรือการยืนยันตัวตน 2 ขั้นตอน เพื่อเพิ่มระดับความปลอดภัย โดยใช้ข้อมูลสำคัญที่มีเพียงเจ้าของบัญชีเท่านั้นที่รู้ ตัวอย่างเช่น รหัสผ่านพิเศษ หรือ OTP 2 - FA มีหลายวิธีและผู้ให้บริการ ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ยกตัวอย่างเช่น Microsoft Authenticator  ปกติเรายืนยันการเข้าระบบโดยใช้แค่ Username / Password สิ่งนี้เราเรียกว่า "Something You Know" เพื่อความปลอดภัย 2 ชั้น จึงจำเป็นต้องมีการยืนยันขั้นตอนที่ 2 เรียกว่า "Something You Have" ที่อยู่ในระบบ Microsoft Authenticator หรือ รับรหัส OTP ที่ส่งไปยังโทรศัพท์ของท่านนั่นเอง


    ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (http://www.sec.or.th/)

    รหัสผ่านแบบไหน ช่วยรักษาความเป็นส่วนตัวของเราได้

              การใส่รหัสผ่าน คือ การยืนยันตัวตน และพิสูจน์ว่าคุณเป็นเจ้าของบัญชีนั้นจริง ๆ ซึ่งรหัสผ่านเปรียบเสมือนกุญแจดอกสำคัญที่มีแค่คุณเท่านั้นที่ครอบครอง เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้อื่นเข้าถึงหรือล่วงรู้ข้อมูล จนสามารถนำไปสวมรอยสร้างความเสียหายได้มากมาย เช่น ขโมยข้อมูลสำคัญบนอีเมลขององค์กร สวมรอยใช้อีเมลส่วนตัว หรืออีเมลขององค์กรเผยแพร่กระจายไวรัส สวมรอยใช้โซเชียลมีเดียของคุณหลอกยืมเงินเพื่อน หรือคนรู้จัก เข้าสู่ระบบธนาคารเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงเข้าสู่ระบบบัญชีคลาวด์ เพื่อเปิดเผยข้อมูลของคุณ ซึ่งหากผู้ไม่หวังดีได้ภาพถ่ายบัตรประชาชนของคุณไป ก็จะสามารถนำไปสวมรอยทำเรื่องผิดกฎหมายอื่น ๆ ได้อีก 
              ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของบัญชี ควรตั้งรหัสผ่านให้คาดเดาได้ยากแต่จำได้ยาก โดยไม่ต้องจดไว้ ดังนี้
    • ตั้งรหัสผ่านให้มีความยาวอย่างน้อย 8 ตัวอักษร และซับซ้อนด้วยการสลับหรือเปลี่ยนตัวอักษรบางตัว
    • ตั้งรหัสผ่านไม่ควรเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัว หรือข้อมูลของคนใกล้ชิด เช่น ชื่อจริง วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ เป็นต้น
    • เปิดใช้งาน 2-Factor Authentication (2FA) เพื่อรับรหัสพิเศษที่ใช้ยืนยันตัวตนเข้าใช้งาน
    • เก็บรหัสผ่านเป็นความลับไม่เปิดเผย หรือใช้ร่วมกับผู้อื่น
    • ไม่เขียนแปะไว้ในที่สามารถมองเห็นได้ง่าย
    • ไม่ใช้รหัสผ่านเดียวกันทุกบัญชี
    • ไม่ตั้งค่าจดจำรหัสผ่านอัตโนมัติบนเบราว์เซอร์ต่าง ๆ และควรหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านทุก 90 วัน


    ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (http://www.sec.or.th/)

    วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2568

    วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงาน ระดับมาตรฐาน

               วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานระดับมาตรฐาน ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้หน่วยงานที่ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 สามารถปฏิบัติได้ตามระดับความพร้อมของหน่วยงาน

            👉 ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียด วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานระดับมาตรฐาน โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)


    ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

    วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงาน ระดับเริ่มต้น

              วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานระดับเริ่มต้น ฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นมาตรฐานขั้นต่ำสำหรับหน่วยงานของรัฐที่มีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณ บุคลากร และขีดความสามารถทางเทคโนโลยี  โดยดำเนินการตามพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565
            👉 ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียด วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์สำหรับหน่วยงานระดับเริ่มต้น โดยสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)


    ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)

    วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568

    วิธีการติดต่อราชการทางอีเมล ตามพรบ.การปฏิบัติราชทางอิเล็กทรอนิกส์ 2565

              วิธีการติดต่อราชการทางอีเมล ตามพรบ.การปฏิบัติราชทางอิเล็กทรอนิกส์ 2565
              ประชาชนจะยื่นคำขอหรือติตต่อราชการ ตามพรบ. การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างไร? 
              1) ตรวจเช็ค/ค้นหา ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ (อีเมลกลาง) ของหน่วยงานที่จะติดต่อ เช่น เว็บไซต์ของหน่วยงานนั้น หรือฐานข้อมูลในเว็บไซต์ของ สพร. (DGA)
              2) เข้าสู่ระบบอีเมลของตน ระบุชื่อเรื่องและพิมพ์เนื้อหาที่ประสงค์พอสังเขป
              3) กรณีที่ต้องใช้แบบฟอร์มคำขอ ให้ดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ของหน่วยงานหรือจะพิมพ์ใน Word ขึ้นมาเองก็ได้ (ขอเพียงข้อความตรงกับแบบตามกฎหมาย)
              4) ลงชื่อ - สกุล พร้อมระบุ  เบอร์โทรศัพท์ติดต่อได้และเลขบัตรประชาชน
              5) แนบไฟล์ PDF ที่จำเป็นต่อการพิจารณาประกอบคำขอให้ครบถ้วน แล้วกดส่งได้เลย


    ที่มา : สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.)