โทรศัพท์มือถือเป็นอุปกรณ์สารพัดประโยชน์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้งานได้เป็นอย่างดี จนแทบจะเรียกได้ว่าเป็นปัจจัย 5 ของคนยุคนี้ แต่พื้นฐานของกิจกรรมที่กล่าวมานี้ ทำงานได้จากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและการติดตั้ง Application ต่าง ๆ บนเครื่อง ซึ่งก็แน่นอนว่า เมื่อมีผู้ใช้งานกันอย่างล้นหลาม ก็ย่อมีภัยร้ายและผู้ที่คอยแสวงหาผลประโยชน์จากผู้ที่ไม่ระมัดระวังตัวในการใช้งาน
เรามาดูวิธีการใช้งานโทรศัพท์มือถืออย่างไรให้ปลอดภัยกันดีกว่า
1) ตั้งค่าล็อคหน้าจอโทรศัพท์ด้วย PIN/Passcode ที่มีความปลอดภัยหรือ Biometric เสมอ เพื่อป้องกันการเข้าถึงจากบุคคลอื่นและเมื่อโทรศัพท์หาย คนที่เก็บได้จะไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ๆ
2) ข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เช่น เลขบัตรเครดิต, Password ต่าง ๆ ไม่ควรบันทึกไว้ในโทรศัพท์ หรือหากมีความจำเป็นให้ทำการเข้ารหัสข้อมูลไว้
3) สำรองข้อมูลบนเครื่องไว้เสมอ เพื่อกู้คืนข้อมูลหรือป้องกันข้อมูล กรณีที่โทรศัพท์มือถือถูกขโมยหรือสูญหาย และให้ทำการเข้ารหัสข้อมูลที่สำรองไว้เสมอ
4) ไม่เชื่อมต่อ WiFi ที่ไม่น่าเชื่อถือ หากมีความจำเป็นต้องใช้งานควรหลีกเลี่ยงการลงชื่อเข้าใช้อีเมลบัญชีของ Application ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Application ทางด้านการเงิน
5) ติดตั้ง Application จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ และต้องอัพเดทระบบปฏิบัติการให้เป็นเวอร์ชันใหม่อยู่เสมอ
6) ไม่ควร Root หรือ Jailbreak ของเครื่อง เพราะจะทำให้ความปลอดภัยพื้นฐานของเครื่องลดลง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายที่ตามมาภายหลัง ทั้งเรื่องข้อมูลรั่วไหลหรือแม้กระทั่งการสิ้นสุดการรับประกันตัวเครื่องเองจากแบรนด์นั้น ๆ
7) การให้สิทธิ์การเข้าถึงกับ Application มีความตระหนักและพึงระวังในการให้สิทธิ์การเข้าถึงกับ Application อยู่เสมอ โดยให้สิทธิ์แค่ที่จำเป็นต้องใช้เท่านั้น เช่น Application แต่งรูป ควรให้สิทธิ์การเข้าถึงเฉพาะรูปภาพ ไม่ใช่ให้สิทธิ์ Micophone ไปด้วย
วันพฤหัสบดีที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2568
ใช้โทรศัพท์มือถืออย่างไร ให้ปลอดภัยจากภัยคุกคามรูปแบบต่าง ๆ
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์