ชื่อโครงการ : ต้องชัดเจนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ / เป้าหมายของโครงการ
หน่วยงานผู้รับผิดชอบ : ส่วนราชการและหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ปีงบประมาณ : ปีงบประมาณที่ดำเนินการ
1) หลักการและเหตุผล : ที่มาและสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นกับบุคลากรหรือหน่วยงาน ซึ่งจำเป็นต้องจัดโครงการ และมาจาก TNA
2) วัตถุประสงค์ : เชิงพฤติกรรมที่สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล และภารกิจหลักของหน่วยงาน
3) เป้าหมาย : กลุ่มเป้าหมายผุ้เข้าร่วมโครงการต้องเป็นผู้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์หลักของโครงการโดยตรง
4) ลักษณะโครงการ : รูปแบบของโครงการ เช่น ฝึกอบรม ดูงาน ประเภทของโครงการ (เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์ หรือโครงการตามภารกิจงานประจำ)
5) ระยะเวลาและสถานที่ : จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยระบุระยะเวลาเริ่มต้นและระยเวลาสิ้นสุดโครงการ สถานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์โครงการ
6) แผนปฏิบัติการ : ขั้นตอนการดำเนินงาน ขั้นตอนการใช้งบประมาณ เพื่อให้โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยแสดงรายละเอียดกิจกรรมที่ดำเนินการอย่างชัดเจนตามลำดับตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการ จนสิ้นสุดการดำเนินโครงการ
7) งบประมาณ : จำนวนเงินงบประมาณ แหล่งที่มาของงบประมาณ หมวดรายจ่ายงบประมาณ รายละเอียดค่าใช้จ่ายที่จะเสนอขอ
8) ความเสี่ยงของโครงการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง : ระบุถึงข้อจำกัดที่มีโอกาสส่งผลกระทบต่อโครงการและแนวทางการบริหารความเสี่ยง ระบุวิธีการที่จัดการแก้ไขข้อจำกัดเพื่อให้ปัญหาและความเสี่ยงโครงการลดน้อยลงที่ทำให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
9) ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ : ระบุถึงประโยชน์ที่จะได้รับทั้งทางตรงและทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นกับองค์กร ประชาชน สังคม หรือกลุ่มเป้าหมายภายหลังเสร็จสิ้นโครงการ ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ
10) การติดตามและประเมินผล : ตัวชี้วัดความสำเร็จ ระดับผลผลิต ระดับผลลัพธ์ และระดับผลกระทบ การติดตามความก้าวหน้า และการประเมินผลโครงการ
วันอังคารที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2568
การเขียนโครงการฝึกอบรม ตามรูปแบบมาตรฐานการเขียนโครงการของกรุงเทพมหานคร
ที่มา : FB PAGE ดอกบัวใต้เสาชิงช้า