วันนี้ 23 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
กฎหมาย |
1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
เศรษฐกิจ-สังคม |
2. เรื่อง สรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 23 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2566)
3. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6)
4. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565
5. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมีนาคม 2566
6. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2565
7. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ต่างประเทศ |
8. เรื่อง สรุปผลการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาเเห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 52
9. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569
10. เรื่อง การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
แต่งตั้ง |
11. เรื่อง การเสนอรายชื่อบุคคลเพื่อเข้ารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายตามมาตรา 14 (4) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565
12. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม
13. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
14. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง)
กฎหมาย |
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบ ดังนี้
1. อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้นำร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... (กำหนดให้นกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าสงวน) ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว มารวมเป็นฉบับเดียวกัน และดำเนินการต่อไปได้
2. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้ โดยให้มีผลใช้บังคับในวันเดียวกับร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมดำเนินการประกาศยกเลิกการกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) เป็นสัตว์ป่าควบคุมโดยให้มีผลใช้บังคับในวันเดียวกับร่างพระราชกฤษฎีกาในเรื่องนี้
ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ โดยร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการกำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) เป็นสัตว์ป่าสงวน เพิ่มเติมจากเดิมที่กำหนดให้วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ป่าควบคุมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าควบคุม พ.ศ. 2565 แต่โดยที่วาฬสีน้ำเงินเป็นสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกได้ถูกขึ้นบัญชีสถานภาพให้เป็นชนิดพันธุ์ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered species: EN) ในระดับโลก (IUCN Red List) และในประเทศไทย จึงจำเป็นต้องสงวนและอนุรักษ์ไว้อย่างเข้มงวด ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ส่วนร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการยกเลิกการกำหนดให้นกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการของร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าสงวน พ.ศ. .... ที่กำหนดให้นกชนหิน (Rhinoplax vigil เป็นสัตว์ป่าสงวนแล้วตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 และร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว คณะกรรมการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าเห็นชอบด้วยแล้ว
สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
กำหนดให้วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) เป็นสัตว์ป่าสงวน เพิ่มเติม ดังนี้
ลำดับที่ | สัตว์ป่าสงวน (ตาม พ.ร.บ.) | สัตว์ป่าสงวน (ตาม ร่าง พ.ร.ฎ.) |
1. | สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม กระซู่ (Didermocerus sumatraensis) | |
2. | กวางผา (Naemorhedus griseus) | |
3. | กูปรีหรือโคไพร (Bos sauveli) | |
4. | เก้งหม้อ (Muntiacus feae) | |
5 | ควายป่า (Bubalus bubalis) | |
6. | พะยูนหรือหมูน้ำ (Dugong dugon) | |
7. | แมวลายหินอ่อน (Pardofelis marmorata) | |
8. | แรด (Rhinoceros sondaicus) | |
9. | ละองหรือละมั่ง (Cervus eldi) | |
10. | เลียงผาหรือเยืองหรือกูรำหรือโครำ (Capricornis sumatraensis) | |
11. | วาฬบรูด้า (Balaenoptera edeni) | |
12. | วาฬโอมูระ (Balaenoptera omurai) | |
13. | สมเสร็จ (Tapirus indicus) | |
14. | สมันหรือเนื้อสมัน (Cervus schomburgki) | |
15. | - | วาฬสีน้ำเงิน (Balaenoptera musculus) |
1. | สัตว์ป่าจำพวก | |
2. | นกกระเรียน (Grus antigone) | |
3. | นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร (Pseudochelidon sirintarae) | |
4. | นกแต้วแล้วท้องดำ (Pitta gurneyi) | |
1. | สัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea) | |
1. | สัตว์ป่าจำพวกปลา ปลาฉลามวาฬ (Rhincodon typus) |
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
เป็นการยกเลิกการกำหนดให้นกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 ดังนี้
บัญชีท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 46 | ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่ ทส. เสนอ |
สัตว์ป่าจำพวกนก ลำดับที่ 410 นกชนหิน หรือนกหิน (Buceros vigil หรือ Rhinoplax vigil) | ให้ยกเลิกความในลำดับที่ 410 ของสัตว์ป่าจำพวกนกในบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกฎกระทรวงกำหนดให้สัตว์ป่าบางชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง พ.ศ. 2546 |
เศรษฐกิจ-สังคม |
(ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564 - 28 กุมภาพันธ์ 2566)
คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปรายงานการติดตามการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี ครั้งที่ 23 (ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2564-28 กุมภาพันธ์ 2566) ตามที่คณะกรรมการติดตาม การดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและข้อสั่งการนายกรัฐมนตรี (กตน.) เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. นโยบายหลัก 7 ด้าน ประกอบด้วย
นโยบายหลัก | มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
1) การปกป้องและเชิดชูสถาบันพระมหากษัตริย์ | จัดนิทรรศการและจัดงานแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตกรรมชุมชน เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จังหวัดพัทลุง เพื่อจัดแสดงมรดกผ้าของมลายู “ผ้ายกตานี” และผ้าไทยอัตลักษณ์ 14 จังหวัดภาคใต้ ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการและพระราชทานผ้าลายพระราชทาน “ผ้าลายดอกรักราชกัญญา” เพื่อให้สมาชิกกลุ่มทอผ้าและช่างทอผ้านำไปออกแบบผลิตภัณฑ์สู่การสร้างงานและสร้างรายได้ |
2) การทำนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม | 2.1) โครงการวัฒนธรรมสัญจรสำหรับคณะทูตานุทูต ณ จังหวัดอุดรธานีและจังหวัดหนองบัวลำภู เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แหล่งมรดกทางวัฒนธรรมให้เป็นที่ประจักษ์แก่คณะทูตานุทูต และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ในการจัดการแหล่งมรดกโลกและแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม โดยมีเอกอัครราชทูตและคู่สมรสจาก 28 ประเทศ เข้าร่วมโครงการ 2.2) ยกระดับเทศกาลประเพณีไปสู่ระดับชาติและนานาชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อตอบสนองนโยบายมุ่งผลักดัน “Soft Power” ความเป็นไทย 5F* จำนวน 16 เทศกาล เช่น ประเพณีกตัญญูคู่ฟ้า มหาสมโภชเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว และเทศกาลมรดกโลกบ้านเชียง 2.3) จัดงานวันศิลปินแห่งชาติ เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้ทรงเป็นพระปฐมบรมศิลปินแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 และเผยแพร่ผลงานอันทรงคุณค่าของศิลปินแห่งชาติให้เป็นที่ประจักษ์อย่างกว้างขวาง ทั้งนี้ ตั้งแต่ปี 2528 ถึงปัจจุบัน มีศิลปินได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ รวม 343 คน 2.4) พิธีเปิดโครงการกิจกรรมเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ถ่ายทอด องค์ความรู้ประวัติศาสตร์กำแพงเมือง - คูเมือง ณ เมืองน่าน จังหวัดน่าน เพื่อเป็นการบูรณาการความร่วมมือในการพัฒนาพื้นที่กำแพงเมือง - คูเมือง และพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้คงสภาพที่ดี เพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมชุมชนที่สามารถสร้างรายได้ให้กับจังหวัดน่าน 2.5) จัดกิจกรรม “ผู้ว่าพาเข้าวัด ปฏิบัติบูชา ตามรอยพระสัมมาฯ สู่นคร บวรสุข” เพื่อมุ่งส่งเสริมให้พุทธศาสนิกชนในจังหวัดนครศรีธรรมราชได้เข้าวัดสดับรับฟังคำสอนทางพระพุทธศาสนา ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และเป็นการขับเคลื่อนการท่องเที่ยว |
3) การสร้างบทบาทของไทยในเวทีโลก | สนับสนุนทีมปฏิบัติการ Thailand for Turkiye ร่วมปฏิบัติการช่วยผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐตุรกี โดยสนับสนุนทีมปฏิบัติการ Thailand for Turkiye ประกอบด้วย ทีมค้นหาและกู้ภัยในเขตเมือง (Meduim USAR Thailand) ทีมแพทย์ทหาร จำนวน 42 คน และสุนัขกู้ภัย จำนวน 2 ตัว พร้อมอุปกรณ์ค้นหาและกู้ภัยเพื่อเข้าร่วมสนับสนุนการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุแผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐตุรกี |
4) การพัฒนาเศรษฐกิจและความสามารถในการแข่งขันของไทย | 4.1) พัฒนาภาคเกษตร เช่น (1) ประกาศให้ปี 2566 เป็น “ปีทุเรียนไทยคุณภาพ” สั่งตรวจเข้มทุเรียนส่งออกทุกชิปเมนท์ โดยให้ความสำคัญในเรื่องของคุณภาพที่ได้มาตรฐานเท่านั้น ทั้งนี้ มีการส่งออกทุเรียนแล้ว จำนวน 16 ชิปเมนท์ ปริมาณ 27,327.95 ตัน คิดเป็นมูลค่า 2,823.77 ล้านบาท และ (2) ลด “เผาตอซัง” หันมาทำนา “เปียกสลับแห้ง” ลดฝุ่น PM2.5 พ่วงเสริมรายได้ขายคาร์บอนเครดิต โดยการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวลดการเผาตอซังข้าวและเปลี่ยนเป็นการไถกลบตอซังข้าวแทน ทั้งนี้ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวยังสามารถสร้างรายได้ทางเลือกด้วยการขายคาร์บอนเครดิต โดยได้เริ่มนำร่องในแปลงจังหวัดสุพรรณบุรีสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรไปแล้วกว่า 8,000 บาทต่อปี 4.2) พัฒนาภาคการท่องเที่ยว เช่น (1) พัฒนา “เกาะหมาก” ให้เป็นต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวที่มีแผนจัดการขยะการท่องเที่ยวของประเทศไทย ในปี 2565 “เกาะหมาก” ได้ผ่านการคัดเลือกติด 1 ใน 3 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับรางวัลพิเศษระดับโลก “Story Award” ในประเภทระบบการจัดการและการฟื้นฟูจากแหล่งท่องเที่ยวยั่งยืน 100 แห่งของโลกที่ได้รับการประกาศให้เป็น Green Destinations Top 100 Stories และ (2) ประกาศพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ซึ่งจะทำให้ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามียุทธศาสตร์การพัฒนาอย่างชัดเจน และเกิดการฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวและทรัพยากรธรรมชาติให้เติบโตอย่างยั่งยืน 4.3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลและมุ่งสู่การเป็นประเทศอัจฉริยะ เช่น (1) การประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสอาเซียนด้านดิจิทัล ครั้งที่ 3 (The 3rd ASEAN Digital Senior Officials' Meeting: ADGSOM) โดยที่ประชุมฯ ได้หารือกันในหลายประเด็น เช่น ผลักดันความปลอดภัยทางสื่อออนไลน์ การจัดการปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ โดยประเทศไทยได้นำเสนอ ให้มีการจัดตั้งกลไกระดับภูมิภาคด้านการป้องกันปัญหาการหลอกลวงผ่านสื่อออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยงของภัยคุกคามผ่านสื่อออนไลน์ และสร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับประชาชน และ (2) จัดทำ “บัญชีบริการดิจิทัล” ช่วยยกระดับสินค้า/บริการดิจิทัลของไทยสู่สากล ปัจจุบันมีสินค้าและบริการดิจิทัลที่พร้อมขึ้นทะเบียนบัญชีบริการดิจิทัลแล้วมากกว่า 300 รายการ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการทั่วไปที่มีการซื้อหรือจ้างทำหรือใช้บริการสินค้าหรือบริการในบัญชีบริการดิจิทัลจะได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี สามารถนำค่าใช้บริการ Software เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตไปลดหย่อนภาษีสูงสุดร้อยละ 200 4.4) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและพัฒนาและนวัตกรรม เช่น (1) สนับสนุนทุนวิจัยแก่ รศ.ดร พีระศักดิ์ ฉายประสาท นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนา “สตรอว์เบอร์รีพันธุ์พระราชทาน 89” เป็นสตรอว์เบอร์รีสายพันธุ์แรกของไทย มีคุณภาพและให้คุณค่าทางโภชนาการสูง รวมทั้งเป็นการเพิ่มพืชเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรไทยเป็นทางเลือกในการสร้างรายได้ และ (2) พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อร่วมพัฒนาวิจัยพืชเป็นยาในโครงการ น่านแซนด์บอกซ์ จำนวน 3 ฉบับ ได้แก่ 1) บันทึกความเข้าใจเพื่อความร่วมมือในการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืช 2) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการร่วมพัฒนายาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืช และ 3) บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ฐานข้อมูลเพื่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตยาและผลิตภัณฑ์ส่งเสริมสุขภาพจากพืชยา |
5) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของคนไทยทุกช่วงวัย | 5.1) เปิดตัวกิจกรรม “อาสาสมัครผู้สูงอายุกระทรวงศึกษาธิการ (อส.ศธ.)” ภายใต้โครงการการจัดและส่งเสริมการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ภายใต้แนวคิด “สร้างอาชีพ สร้างรายได้ สร้างคุณค่า” เพื่อสร้างความสุขให้กับกลุ่มผู้สูงอายุโดยจะเปิดรับสมัคร อส.ศธ. ผ่านระบบออนไสน์ กำหนดเป้าหมายผู้สมัครกว่า 30,000 คน 5.2) ขยายผลโครงการมหกรรมการเงินเพื่อครูไทย “Unlock a Better Life” สร้างโอกาสใหม่ เพื่อชีวิตครูไทยที่ดีกว่าไปสู่ภูมิภาค 5 จังหวัด ได้แก่ ครั้งที่ 1 วันที่ 18-19 กุมภาพันธ์ 2566 ณ จังหวัดกาพสินธุ์ มีครูที่ได้รับการเจรจาการแก้ไขหนี้สิน จำนวน 673 ราย ได้ข้อตกลงการเจรจาภาระหนี้สำเร็จ รวมเป็นเงิน 784.66 ล้านบาท ครั้งที่ 2 ณ จังหวัดอุดรธานี ครั้งที่ 3 ณ จังหวัดสระแก้ว ครั้งที่ 4 ณ จังหวัดพิษณุโลก และครั้งที่ 5 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
6) การพัฒนาระบบสาธารณสุข และหลักประกันทางสังคม | 6.1) แพลตฟอร์มแอปพลิเคชัน “หมอพร้อม” ได้รับรางวัล BEST BRAND PERFORMANCE BY LINE ภายใต้งาน Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 โดยได้รับรางวัลสาขา HIGHEST VEW ON LINE VOOM (แบรนด์ที่มียอดการเข้าชมสูงที่สุดบน LINE VOOM) 6.2) มหกรรมผู้สูงอายุไทย ดวงตาสดใส ไร้ต้อกระจก โรงพยาบาลสมุทรปราการ เพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุในจังหวัดสมุทรปราการที่เป็นโรคต้อกระจกชนิดบอดและชนิดสายตาเลือนรางที่จำเป็นต้องผ่าตัดได้รับการผ่าตัดที่รวดเร็ว มองเห็นได้ชัดขึ้น โดยวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2566 ผ่าตัดต้อกระจก จำนวน 500 รายต่อวัน และนัดตรวจติดตามหลังผ่าตัดต่อไป |
7) การฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน | 7.1) โครงการพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรแปลงใหญ่ พื้นที่ 300 ไร่ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดำเนินการแล้วเสร็จตามเป้าหมาย จำนวน 18 แห่ง ประกอบด้วย กิจกรรมเจาะพัฒนาบ่อน้ำบาดาล จำนวน 54 บ่อ และก่อสร้างระบบกระจายน้ำบาดาล 18 ระบบ พื้นที่เกษตรกรรมได้รับประโยชน์ 5,400 ไร่ เกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 180 ครัวเรือน 7.2) โครงการพัฒนาน้ำบาดาล เพื่อความมั่นคงระดับชุมชน รูปแบบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ดำเนินกิจกรรมแล้วเสร็จตามเป้าหมายจำนวน 59 แห่ง 118 บ่อ 59 ระบบ มีครัวเรือนได้รับประโยชน์ 11,800 ครัวเรือน 7.3) ขับเคลื่อนการแก้ปัญหาทรัพยากรทางทะเล พร้อมเร่งรัดการดำเนินงานด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างเป็นระบบ เร่งดำเนินการจัดทำแผนอนุรักษ์พะยูน ระยะที่ 2 โดยมีการออกกฎกระทรวงประกาศให้แหล่งอาศัยของพะยูนในอำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เป็นพื้นที่คุ้มครองและจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์พะยูน สามารถร่วมออกลาดตระเวน และร่วมฟื้นฟูและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรทางทะเล 7.4) โครงการบำรุงรักษาระบบเตือนภัยน้ำท่วม-ดินถล่ม (Early Warning) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ดำเนินการบำรุงรักษาระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning System: EWS) ด้านน้ำให้มีความพร้อมในการใช้งาน 1,220 สถานี คิดเป็นร้อยละ 68 ของจำนวนสถานีทั้งหมด 1,796 สถานี |
นโยบายเร่งด่วน | มาตรการ/ผลการดำเนินงานที่สำคัญ |
1) การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน | 1.1) แก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบอย่างบูรณาการและยั่งยืน เช่น (1) ดำเนินการอย่างจริงจังกับเจ้าหนี้นอกระบบที่ผิดกฎหมาย โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินคดีแล้ว 11,998 ราย (2) เพิ่มช่องทางการเข้าถึงสินเชื่อในระบบได้รับใบอนุญาตและเปิดดำเนินการแล้ว 1,099 ราย มีสินเชื่ออนุมัติสะสมตั้งแต่เดือนธันวาคม 2559-มกราคม 2566 จำนวน 2,788,300 บัญชี จำนวน 28,955.41 ล้านบาท และ (3) ลดภาระหนี้นอกระบบโดยไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ โดยคณะอนุกรรมการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้นอกระบบประจำจังหวัดมีเรื่องรับเข้าตั้งแต่เดือนตุลาคม 2559-ธันวาคม 2565 จำนวน 11,689 เรื่อง ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 7,086 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 60.62 ของเรื่องรับเข้า 1.2) โครงการช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกรที่มีหนี้เงินกู้เพื่อการเกษตรได้รับการลดภาระดอกเบี้ย จำนวน 680 แห่ง 182,896 ราย 1.3) โครงการบริหารจัดการที่ดินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาสจัดที่ดินให้เกษตรกรได้รับสิทธิเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน จำนวน 9,288 ราย 1.4) โครงการบริหารจัดการทรัพยากรประมง มีการดำเนินงาน เช่น (1) จัดระเบียบการทำประมง โดยกำหนดมาตรการและการอนุญาตให้เป็นไปตามพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จำนวน 32 ฉบับ และ (2) ฟื้นฟูและอนุรักษ์สัตว์น้ำประจำถิ่นและสัตว์น้ำหายากใกล้สูญพันธุ์ ให้คงความหลากหลาย 10 ชนิด จำนวน 148,468 ตัว 1.5) โครงการบริหารจัดการการผลิตสินค้าเกษตรตามแผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-Map) มีผลการดำเนินงาน ได้แก่ (1) ส่งเสริมสนับสนุนให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นการผลิตสินค้าการเกษตรชนิดใหม่ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ภูมิสังคม และตลาด เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาชีพให้แก่เกษตรกร (เป้าหมาย 67,500 ไร่) ดำเนินการแล้ว 18,957 ไร่ (2) อบรมการจัดทำบัญชีต้นทุนอาชีพแก่เกษตรกร (เป้าหมาย 1,000 ราย) ดำเนินการแล้ว 817 ราย และ (3) ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมแก่เกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (เป้าหมาย 150 แปลง) ดำเนินการแล้ว 82 แปลง |
2) การปรับปรุงระบบสวัสดิการ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน | 2.1) โครงการอบรมพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) SMART สู่การขับเคลื่อนศูนย์ช่วยเหลือสังคมตำบลจังหวัด พิษณุโลก ด้วยการพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานเทคนิคการจัดการรายกรณี (Case Management) การใช้สมุดพกครอบครัว และการใช้ Web Application “อพม. SMART” ให้ อพม. จังหวัดพิษณุโลก และเจ้าหน้าที่ รวม 130 คน 2.2) พัฒนา 12 จังหวัดต้นแบบ “ครอบครัวมั่นคง สังคมสุขภาพดี” ได้แก่ จังหวัดพะเยา พิษณุโลก พิจิตร อ่างทอง เพชรบุรี ระยอง กาฬสินธุ์ สกลนคร บุรีรัมย์ อำนาจเจริญ สุราษฎร์ธานี และตรัง เพื่อเสริมสร้างและพัฒนาสุขภาวะ ระดับบุคคลและครอบครัวทุกกลุ่มวัย โดยใช้ฐานข้อมูลจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) ร่วมบูรณาการหน่วยงานระดับส่วนกลางผ่านกลไกคณะกรรมการ นำไปสู่หน่วยงานระดับภูมิภาค 2.3) จัดกิจกรรม “มหัศจรรย์วิถีชีวิตชนเผ่า Amazing tribal way of life” เพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์อัตลักษณ์ของราษฎรบนพื้นที่สูง 8 ชนเผ่า ในจังหวัดเชียงราย เช่น การแต่งกาย ผลิตภัณฑ์สินค้า แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้ง เพื่อรักษาอัตลักษณ์ ศิลปะวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นการสร้าง Soft Power และส่งเสริมให้ราษฎรบนพื้นที่สูงสามารถสร้างอาชีพและรายได้จากอัตลักษณ์และทุนทางสังคม |
3) การยกระดับศักยภาพของแรงงาน | 3.1) ปรับขึ้นอัตราค่าจ้างมาตรฐานฝีมือ (ฉบับที่ 12) ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 พฤษภาคม 2566 จำนวน 3 สาขา 17 อาชีพ เช่น (1) ช่างระบบถ่ายกำลัง 495 บาท/วัน (2) ช่างระบบปั๊มและวาลัว 515 บาท/วัน (3) ช่างเครื่องกลควบคุมเครื่องจักรรถขุด 570 บาท/วัน และ (4) นักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ (โภชนบำบัด) 500-600 บาท/วัน 3.2) จัดมหกรรมอาชีพและนัดพบแรงงานใหญ่ “ได้คนตรงงาน ได้งานตรงใจ@ระยอง” เมื่อวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2566 ณ วิทยาลัยเทคนิคระยอง เพื่ออำนวยความสะดวกให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปได้เข้าถึง บริการของรัฐ เปิดโลกทัศน์ด้านอาชีพที่หลากหลาย และเพิ่มโอกาสการจ้างงาน |
4) การวางรากฐานระบบเศรษฐกิจของประเทศสู่อนาคต | 4.1) ส่งเสริมการลงทุน “เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor: EEC” (จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง) มีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 จำนวน 78 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนทั้งสิ้น 88,632 ล้านบาท 4.2) จัดกิจกรรมชักจูงนักลงทุน จากทั้งในและต่างประเทศให้มาลงทุนในพื้นที่ EEC โดยมีอุตสาหกรรมที่ได้รับความสนใจจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และหอการค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย จำนวน 10 ประเทศ เช่น (1) อุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ได้แก่ ราชอาณาจักรสเปน (2) อุตสาหกรรมด้านเศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น (3) อุตสาหกรรมด้านดิจิทัล ได้แก่ สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ และ (4) อุตสาหกรรมการพัฒนาบุคลากรและการศึกษา ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย |
5) การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 | 5.1) ยกระดับอุตสาหกรรมเกมไทยสู่สากล โดยดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาทักษะกำลังคนรุ่นใหม่ต่อยอดการสร้างอาชีพในอนาคตและยกระดับ อุตสาหกรรมเกมไทยสู่สากล ภายใต้แนวคิด “Digital Infinity ดิจิทัลไม่มีที่สิ้นสุด” มีเป้าหมายพัฒนาทักษะและผลิตบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมเกมกว่า 50,000 ราย และเปิดโอกาสให้นักพัฒนาเกมไทยได้แสดงศักยภาพ พัฒนาฝีมือ และผลิตเกมได้อย่างมีคุณภาพ มีเป้าหมายยกระดับนักพัฒนาเกมกว่า 500 ราย 5.2) จัดกิจกรรมสร้างความตระหนักรู้ วันส่งเสริมอินเทอร์เน็ตปลอดภัยแห่งชาติ (Thailand Safer Internet Day) ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ของทุกปี เพื่อให้ความรู้สร้างความตระหนักถึงความสำคัญทางด้านความปลอดภัยในการใช้อินเทอร์เน็ตและเทคโนโลยีในชุมชนออนไลน์อย่างมีความรับผิดชอบ รวมทั้งสนับสนุนการทำงานของเครือข่ายเสริมสร้างอินเทอร์เน็ตปลอดภัยประเทศไทย (Thailand Safe Internet Coalition) เพื่อให้เป็นกลไกสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยออนไลน์ที่ส่งผลกระทบต่อเด็ก เยาวชน และสังคมไทย |
6) การแก้ไขปัญหายาเสพติดและสร้างความสงบสุขในพื้นที่ ชายแดนภาคใต้ | 6.1) โครงการพัฒนาตามศักยภาพของพื้นที่และส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตรในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น (1) ถ่ายทอดความรู้และส่งเสริมพัฒนาอาชีพการเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่แก่เกษตรกร จำนวน 1,700 ราย และ (2) พัฒนาและจัดทำแปลงขยายผลการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชให้กับเกษตรกรต้นแบบ จำนวน 239 ราย เพื่อพัฒนาและขยายผลเทคโนโลยีการผลิตพืช 14 ชนิด 6.2) การปราบปรามยาเสพติด ระหว่างวันที่ 1-28 กุมภาพันธ์ 2566 จับกุมคดียาเสพติด จำนวน 19,358 คดี ผู้ต้องหา จำนวน 19,423 คน และยึดของกลาง ได้แก่ ยาบ้า 84,865,743 เม็ด ไอซ์ 1,416.43 กิโลกรัม เฮโรอีน 12.02 กิโลกรัม เคตามีน 631.40 กิโลกรัม ยาอี 11,092 เม็ด และฝิ่น 5.61 กรัม |
7) การพัฒนาระบบการให้บริการประชาชน | 7.1) เพิ่มช่องทางการจ่ายเงินกองทุนเงินทดแทน ผ่านบริการ “พร้อมเพย์” กรณีจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิได้ทุกธนาคาร เริ่มให้บริการ ในวันที่ 1 มีนาคม 2566 เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิ สามารถเข้าถึงบริการรับเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างสะดวก รวดเร็ว มีความโปร่งใส ลดความผิดพลาด และลดการใช้กระดาษ 7.2) อำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Ease of Doing Business) แก่บุคลากรทักษะสูง/ผู้เชี่ยวชาญ นักลงทุน ผู้บริหาร และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นที่จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ผ่านวีซ่าประเภทพิเศษ SMART Visa ทั้งนี้ ห้วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 มีผู้ขอรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 128 คำขอ และมีผู้ผ่านการรับรองคุณสมบัติทั้งสิ้น 87 คำขอ |
*ได้แก่ 1. อาหาร (Food) 2. ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (Film) 3. การออกแบบแฟชั่นไทย (Fashion) 4. ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย (Fighting) และ 5. เทศกาลประเพณีไทย (Festival)
3. เรื่อง รายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6)
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
1. รับทราบรายงานผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565 ต่อแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบและเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) ตามมติคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติในคราวประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2565 ตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เสนอ
2. ให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงบประมาณไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สาระสำคัญของเรื่อง
สทนช. รายงานว่า
1. สทนช. ได้ติดตามความก้าวหน้า (1) การดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ ช่วงปี 2561 - 2565 (2) การประเมินแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ และ (3) การประเมินตัวชี้วัดเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 6 (SDG 6) : การจัดการน้ำและสุขาภิบาล แล้วรายงานต่อ กนช.
2. ผลการดำเนินงานภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ ช่วงปี พ.ศ. 2561 - 2565
2.1 งบประมาณโครงการด้านแหล่งน้ำภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับงบประมาณไปดำเนินโครงการทั้ง 6 ด้าน วงเงินทั้งสิ้น 411,930.98 ล้านบาท (ไม่รวมโครงการที่ยกเลิก/ตกพับ) จำแนกได้ ดังนี้
แผนแม่บทฯ น้ำ | งบประมาณ |
ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค | 53,664.43 ล้านบาท (ร้อยละ 13.03) |
ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต | 197,295.70 ล้านบาท (ร้อยละ 47.90) |
ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย | 148,047.69 ล้านบาท (ร้อยละ 35.94) |
ด้านที่ 4 การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ | 4,837.57 ล้านบาท (ร้อยละ 1.17) |
ด้านที่ 5 การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน | 925.34 ล้านบาท (ร้อยละ 0.22) |
ด้านที่ 6 การบริหารจัดการ | 7,160.25 ล้านบาท (ร้อยละ 1.74) |
รวม 6 ด้าน | 411,930.98 ล้านบาท (ร้อยละ 100) |
2.2.1 ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภคบริโภค มีผลสัมฤทธิ์ จำแนกตามตัวชี้วัด เช่น
ตัวชี้วัด (หน่วย) | 5 ปี (ปี 2561 - 2565) | ||
เป้า 5 ปี | ผล 5 ปี | ร้อยละ | |
การก่อสร้างระบบประปา (จำนวนหมู่บ้าน) | 256 | 256 | 100 |
การเพิ่มประสิทธิภาพระบบประปา (จำนวนหมู่บ้าน) | 5,472 | 5,005 | 91 |
การขยายเขต/เพิ่มเขตจ่ายน้ำ (จำนวนแห่ง/สาขา) (จำนวนครัวเรือน) | 2,570 280,000 | 1,002 227,697 | 39 81 |
แผนระบบประปาเมืองหลัก/พื้นที่เศรษฐกิจ/แหล่งท่องเที่ยว (จำนวนแห่ง/สาขา) (จำนวนครัวเรือน) | 55 789,980 | 60 85,336 | 109 11 |
จัดหาแหล่งน้ำสำรอง/จัดหาน้ำต้นทุน (พัฒนาประปาเมือง/พื้นที่เศรษฐกิจ) (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) | 59 72 | 12 12.85 | 20 18 |
ลดการสูญเสียน้ำในระบบท่อส่งจ่ายน้ำประปา (การควบคุมการสูญเสีย-ร้อยละ) | ไม่เกิน 25 | 30.89 | - |
การปรับปรุงระบบประปาหมู่บ้านให้ได้มาตรฐาน (SDGs) (ระบบประปาที่ผ่านมาตรฐานประปาดื่มได้-ร้อยละ) (หมู่บ้านที่ได้รับการปรับปรุงให้ได้มาตรฐาน-ร้อยละ) | 18 20 | เฉลี่ย 38.48 ไม่ได้รับรายงาน | - - |
2.2.2 ด้านที่ 2 การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต มีผลสัมฤทธิ์ จำแนกตามตัวชี้วัด เช่น
ตัวชี้วัด (หน่วย) | 5 ปี (ปี 2561 - 2565) | ||
เป้า 5 ปี | ผล 5 ปี | ร้อยละ | |
พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำ/อาคารบังคับน้ำ/ระบบส่งน้ำใหม่ (เกษตรและอุตสาหกรรม) ในพื้นที่ชลประทาน (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) (พื้นที่รับประโยชน์-ไร่) | 2,312 1,140 2,163,003 | 1,420 601.51 1,189,955 | 61 53 55 |
อนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อตอบสนองความต้องการใช้น้ำพื้นที่เกษตรน้ำฝน (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) | 2,701 | 450.45 | 17 |
พัฒนาระบบกระจายน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน (พื้นที่รับประโยชน์-ไร่) | 2,725,389 | 179,381 | 7 |
แหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ/แหล่งน้ำชุมชน/ สระน้ำในไร่นา (พื้นที่เกษตรน้ำฝน) (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) | 225,321 330 | 224,532 305.58 | 100 93 |
พัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตร (พื้นที่เกษตรน้ำฝน) (พื้นที่รับประโยชน์-ไร่) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) | 310,670 186 | 236,097 154.39 | 76 83 |
เพิ่มเติมน้ำต้นทุนโดยการปฏิบัติการฝนหลวง (พื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้งได้รับการช่วยเหลือตามแผนงาน ปฏิบัติการฝนหลวง-ร้อยละ) (ความสำเร็จของการปฏิบัติการฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อน ตามที่ร้องขอ-ร้อยละ) | 80 75 | 38.50 - 80.98 36.01 - 78.14 | - - |
หมายเหตุ : เนื่องจากปี 2565 มีฝนตกตามธรรมชาติ ปริมาณการกระจายของฝนค่อนข้างดีครอบคลุมหลายพื้นที่ ทำให้มีการขอรับบริการฝนหลวงน้อยกว่าปีที่ผ่านมา (อยู่ที่ร้อยละ 36.01) |
ตัวชี้วัด (หน่วย) | 5 ปี (ปี 2561 - 2565) | ||
เป้า 5 ปี | ผล 5 ปี | ร้อยละ | |
ปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ (เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ) (จำนวนแห่ง) | 562 | 201 | 36 |
ปรับปรุงลำน้ำธรรมชาติที่ตื้นเขิน (เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ) (จำนวนแห่ง) (กิโลเมตร) | 499 2,122 | 115 181 | 23 9 |
การกำจัดวัชพืชและขยะมูลฝอยในแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสาขาและแหล่งน้ำปิด (เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ) (ปริมาณวัชพืชและขยะมูลฝอยที่กำจัด-ตันต่อปี) | 7,400,000 | เฉลี่ย 1,716,917 | 23 |
ระบบป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง (จำนวนแห่ง) (พื้นที่ที่ได้รับการป้องกัน-ไร่) | 153 304,165 | 18 40,448 | 12 13 |
เขื่อนป้องกันตลิ่ง (การป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง) (กิโลเมตร) | 539 | 243 | 45 |
การพัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ชะลอน้ำเข้าทุ่ง (จำนวนแห่ง) (ปริมาณน้ำ-ล้านลูกบาศก์เมตร) | 13 2,050 | 13 1,787 | 100 87 |
ข้อมูลเพิ่มเติม : 1. สทนช. ได้นำเสนอ (ร่าง) ผังน้ำและรายการประกอบผังน้ำ 22 ลุ่มน้ำ ต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำเพื่อรับฟังความคิดเห็น โดยผังน้ำที่ดำเนินการแล้วเสร็จมีจำนวน 8 ลุ่มน้ำ ได้แก่ ชี มูล เจ้าพระยา สะแกกรัง ป่าสัก ท่าจีน แม่กลอง และบางปะกง 2. สทนช. ได้มีการศึกษาและจัดทำแผนหลักเพื่อการบรรเทาอุทกภัยและภัยแล้งในพื้นที่เป้าหมาย (Area Based) แล้วจำนวน 36 พื้นที่ (จากทั้งหมด 43 พื้นที่) สำหรับการบรรเทาอุทกภัยในเชิงพื้นที่อย่างเป็นระบบในระดับลุ่มน้ำและพื้นที่วิกฤต |
ตัวชี้วัด (หน่วย) | 5 ปี (ปี 2561 - 2565) | ||
เป้า 5 ปี | ผล 5 ปี | ร้อยละ | |
การป้องกันและลดการเกิดน้ำเสียที่ต้นทาง (ความสำเร็จในการติดตั้งระบบบำบัดน้ำเสียที่ได้มาตรฐานสำหรับครัวเรือนใหม่-ร้อยละ) | 10 | ไม่ได้รับรายงาน | |
การเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดและควบคุมการระบายน้ำเสียออกสู่สิ่งแวดล้อม (จำนวนระบบบำบัดที่ก่อสร้างใหม่) (จำนวนระบบบำบัดที่เพิ่มประสิทธิภาพระบบเดิม) (ปริมาณน้ำเสียที่รับการบำบัดได้ตามมาตรฐาน-ร้อยละ) | 100 34 19 | 18 1 เฉลี่ย 15 | 15 3 - |
แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำที่ตรวจสอบได้รับการจัดการ (ร้อยละ) | 70 | เฉลี่ย 41.68 | - |
การรักษาสมดุลของระบบนิเวศ (จำนวนลุ่มน้ำที่มีวางแผนจัดสรรน้ำเพื่อระบบนิเวศ) | 5 | 10 | 200 |
การดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับระหว่างประเทศ ระดับนานาชาติ และระดับชาติ (แห่ง) | 131 | 3 | 2 |
ตัวชี้วัด (หน่วย) | 5 ปี (ปี 2561 - 2565) | ||
เป้า 5 ปี | ผล 5 ปี | ร้อยละ | |
การอนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรม (ในเขตป่าอนุรักษ์/ป่าสงวนแห่งชาติ) (ไร่) | 734,000 | 179,909 | 25 |
การป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ (ในเขตป่าอนุรักษ์/ป่าสงวนแห่งชาติ) (ไร่) | 240,000 | 118,608 | 49 |
การป้องกันและลดการชะล้างพังทลายของดินในพื้นที่ต้นน้ำ (พื้นที่เกษตรนอกพื้นที่อนุรักษ์) (ไร่) | 1,000,000 | 367,900 | 37 |
(1) มีการดำเนินการตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 และอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานโดยมีผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่สำคัญ ๆ คือ สทนช. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้ดำเนินการตราและออกกฎหมายลำดับรองแล้วเสร็จ จำนวน 25 ฉบับ มีองค์กรผู้ใช้น้ำที่ได้รับการจดทะเบียนทั้งสิ้น 3,413 องค์กร พัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างประเทศด้านทรัพยากรน้ำ โดยการจัดทำความร่วมมือ/ลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ทั้งกรอบทวิภาคีและกรอบพหุภาคี รวมทั้งดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนแม่บทฯ น้ำ (ปรับปรุงช่วงที่ 1 พ.ศ. 2566 - 2580) เพื่อประกาศใช้ใหม่
(2) สำหรับการติดตามและประเมินผล สทนช. ได้ดำเนินการประเมินผลและจัดทำรายงาน Country Survey Instrument for SDG 6.5.1และรายงาน Reporting SDG Indicator 6.5.2 การประเมินผลและจัดทำรายงาน SDG 6.4 ประสิทธิภาพการใช้น้ำและความขาดแคลนนน้ำ (รายงาน Thailand National Report SDG 6.4) รวมทั้งรายงานการติดตามประเมินผลตามแผนแม่บทฯ น้ำ และรายงานประเมินผลตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ รวมทั้งผลักดันให้เกิดกลไกขยายผลความสำเร็จด้านการบริหารจัดการน้ำในระดับชุมชน จำนวน 191 หมู่บ้านที่สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้ด้วยตนเองและสามารถขยายผลความสำเร็จไปยังพื้นที่อื่น
3. ผลการประเมินดัชนีตัวชี้วัดแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นที่ 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ
ตัวชี้วัด | ผลการประเมิน โดย ADB* ปี 2563 | ผลการประเมิน โดย สนทช.** ปี 2564 - 2565 | ค่าเป้าหมาย 20 ปี |
แผนแม่บทย่อย 19.1 : การพัฒนาการจัดการน้ำ เชิงลุ่มน้ำทั้งระบบ | |||
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค | ระดับ 3 เต็ม 5 | ระดับ 4 เต็ม 5 | ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำเพื่อสิ่งแวดล้อม | ระดับ 2 เต็ม 5 | ระดับ 4 เต็ม 5 | ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีการรับมือกับพิบัติภัยด้านน้ำ | ระดับ 2 เต็ม 5 | ระดับ 3 เต็ม 5 | ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการน้ำ | ไม่มีการประเมิน | ร้อยละ 53 | ร้อยละ 80 |
แผนแม่บทย่อย 19.2 : การเพิ่มผลิตภาพของน้ำทั้งระบบ | |||
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำในเขตเมือง | ระดับ 2 เต็ม 5 | ระดับ 3 เต็ม 5 | ระดับ 4 เต็ม 5 |
ดัชนีความมั่นคงด้านน้ำเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจ | ระดับ 3 เต็ม 5 | ระดับ 3 เต็ม 5 | ระดับ 4 เต็ม 5 |
ผลิตภาพจากการใช้น้ำใช้ผลคะแนนตัวชี้วัด SDG 6.4.1 : ประสิทธิภาพการใช้น้ำ | - | ปี 2558 - 2563 7.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อลูกบาศก์เมตร หรือ 238 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร | - |
แผนแม่บทย่อย 19.3 : การอนุรักษ์และฟื้นฟูแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำธรรมชาติทั่วประเทศ | |||
ตัวชี้วัดสัดส่วนพื้นที่ลำคลองที่ได้รับการฟื้นฟู (ร้อยละของพื้นที่เป้าหมาย) | ทส. โดยกรมทรัพยากรน้ำ อยู่ระหว่างปรับปรุงตัวชี้วัดที่กำหนดเป็นตัวชี้วัดผลผลิตและผลสัมฤทธิ์ที่จะดำเนินการรวมทั้งจัดทำแผนหลักการอนุรักษ์ฟื้นฟู แม่น้ำ ลำคลอง และแหล่งน้ำธรรมชาติ ให้สามารถกำหนดเป้าหมายเป็นจำนวนและจัดทำดัชนีสุขภาพแม่น้ำ (River health index) เพื่อเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จต่อไป | ||
หมายเหตุ : * ผลประเมินโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank: ADB) ปี 2563 อ้างอิงจาก Asian Development Water Outlook 2020 ที่จัดทำโดยธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ** ผลประเมินโดย สทนช. ปี 2564 - 2565 อ้างอิงจากโครงการพัฒนาระบบประเมินความมั่นคงด้านน้ำของประเทศไทย (สทนช. ปี 2564) โดยผลการประเมินผ่านกระบวนการประชุมอย่างเป็นทางการเพื่อออกแบบตัวชี้วัดในปีฐานและค่าเป้าหมาย การเชื่อมโยงตัวชี้วัดในแผนแต่ละระดับ การส่งมอบและรับข้อมูลระหว่างหน่วยงาน รวมถึงข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะร่วมกันในการพัฒนาระบบโดยมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมการประชุมมากกว่า 1,000 คน จาก 40 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมการประชุมทั้งหมด 18 ครั้ง (ประชุมรายด้านจากทั้ง 6 ด้าน ของแผนแม่บทน้ำ 20 ปี ด้านละ 3 ครั้ง ในช่วงปี 2563 - 2564) และโครงการปรับปรุงระบบประเมินและเชื่อมโยงผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ น้ำ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (ปี 2565) |
ตัวชี้วัด | ผลประเมิน | ค่าเฉลี่ยระดับโลก |
เป้าหมาย SDG 6.1 : น้ำดื่ม | ||
สัดส่วนประชากรที่ใช้บริการน้ำดื่มปลอดภัย/บริการน้ำดื่มขั้นพื้นฐาน | ร้อยละ 100 เข้าถึงน้ำดื่มพื้นฐาน | ร้อยละ 74 |
เป้าหมาย SDG 6.2 : สุขาภิบาลและสุขอนามัย | ||
ประชากรที่ใช้บริการสุขาภิบาลขั้นพื้นฐานที่สุด (Sanitation) | ร้อยละ 99 เข้าถึงสุขาภิบาล ร้อยละ 26 มีการจัดการน้ำเสียครัวเรือน | ร้อยละ 54 |
ประชากรที่ใช้สิ่งอำนวยความสะดวกในการล้างมือด้วยน้ำและสบู่ (Hygiene) | ร้อยละ 84 | ร้อยละ 71 |
เป้าหมาย SDG 6.3 : คุณภาพน้ำและน้ำเสีย | ||
สัดส่วนของน้ำเสียผ่านการบำบัดอย่างปลอดภัย | ร้อยละ 26 | ร้อยละ 55 |
สัดส่วนของแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำโดยรอบดี | ร้อยละ 42 | ร้อยละ 72 |
เป้าหมาย SDG 6.4 : ประสิทธิภาพการใช้น้ำและความขาดแคลนน้ำ | ||
การเปลี่ยนแปลงของประสิทธิภาพการใช้น้ำตามช่วงเวลา | 7.5 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อลูกบาศก์เมตร (238 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร) | 19 ดอลลาร์สหรัฐ ต่อลูกบาศก์เมตร |
ความเครียดของน้ำ (สัดส่วนของน้ำจืดที่นำมาใช้ต่อทรัพยากรน้ำจืดที่มีอยู่) | ร้อยละ 12.64 | ร้อยละ 17 |
เป้าหมาย SDG 6.5 : การบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ | ||
ระดับการดำเนินงานด้านการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการ | ร้อยละ 53 (ระดับปานกลาง - สูง) | ร้อยละ 54 |
สัดส่วนของพื้นที่ลุ่มน้ำข้ามพรมแดนที่อยู่ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือที่มีการถือปฏิบัติ | ร้อยละ 100 เฉพาะการจัดการ น้ำผิวดิน | ร้อยละ 58 |
เป้าหมาย SDG 6.6 : ระบบนิเวศเกี่ยวกับแหล่งน้ำ | ||
การเปลี่ยนแปลงของขอบเขตน้ำที่เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศตามช่วงเวลา | ยังไม่มีผลรายงาน การประเมิน อย่างเป็นทางการ | - |
เป้าหมาย SDG 6.a : ความร่วมมือระหว่างประเทศและการส่งเสริมสร้างศักยภาพ | ||
ปริมาณความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการในด้านที่เกี่ยวข้องกับน้ำและสุขาภิบาล | 3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (96.5 ล้านบาท) | 9,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (299,000 ล้านบาท) |
เป้าหมาย SDG 6.b : การมีส่วนร่วม (ชุมชนท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำและสุขาภิบาล) | ||
ร้อยละของหน่วยงานท้องถิ่นมีนโยบาย ระเบียบปฏิบัติและวิธีการดำเนินงานสำหรับการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการน้ำและสุขาภิบาล | (1) การมีส่วนร่วม ของหน่วยงานท้องถิ่น ระดับ 2 (เต็ม 3) (2) ความชัดเจนนโยบายและการบริการจัดการ 10 คะแนน (เต็ม 10) |
ปัญหา/อุปสรรค | แนวทางแก้ไข |
งบประมาณเรื่องการพัฒนาระบบประปาให้ได้มาตรฐานมีจำนวนจำกัด | การวางแผนเรื่องน้ำอุปโภค บริโภค ควรพิจารณาเรื่องน้ำต้นทุนความต้องการใช้น้ำทั้งปัจจุบันและอนาคต การผลิตน้ำประปาให้ได้มาตรฐาน และระบบกระจายน้ำไปพร้อมกัน |
หน่วยงานท้องถิ่นให้ความสำคัญกับการดำเนินงานภารกิจถ่ายโอนน้อย | ส่วนราชการควรเป็นพี่เลี้ยงให้กับหน่วยงานท้องถิ่นให้สามารถทำงานได้ตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนซึ่งยังขาดทักษะและความเชี่ยวชาญ |
การบังคับใช้กฎหมายเรื่องน้ำเสียมีความล่าช้า | ผลักดันให้เกิดกลไกการบังคับใช้กฎหมายโดยหน่วยงานในพื้นที่ เน้นมาตรการเชิงรุก เช่น การส่งเสริมให้ลดปริมาณน้ำเสีย การบำบัดน้ำเสียจากแหล่งกำเนิด และส่งเสริมให้มีการเก็บค่าบำบัดน้ำเสียเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในอนาคต |
หน่วยงานกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดสูงเกินความเป็นจริง | ขอให้หน่วยงานติดตามผลโครงการตามแผนแม่บทฯ น้ำ ที่ดำเนินการ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพ และตรวจสอบการกำหนดเป้าหมายผลสัมฤทธิ์ของโครงการให้ถูกต้องกับข้อเท็จจริงได้รับ |
การปลูกพืชที่มีมูลค่าต่ำส่งผลให้ผลิตภาพจากการใช้น้ำต่ำ | โครงการขนาดใหญ่ที่มีน้ำต้นทุนและระบบกระจายน้ำควรส่งเสริมเกษตรมูลค่าสูงเพื่อให้เกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ |
การรายงานผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำไม่ครบถ้วน ครอบคลุมจากทุกมิติของงบประมาณ โดยเฉพาะแผนงานท้องถิ่น แผนงานจังหวัด และกลุ่มจังหวัด | ให้หน่วยงานรายงานผลการดำเนินงานและผลสัมฤทธิ์ของโครงการภายใต้แผนแม่บทฯ น้ำ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน ทุกมิติ งบประมาณและตัวชี้วัดตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ น้ำ เพื่อสะท้อนผลสัมฤทธิ์ทั้งหมด |
6.1 การติดตามและประเมินผลในรอบ 5 ปีต่อไป ควรนำเรื่องงประมาณที่ได้รับในแต่ละปีมาร่วมพิจารณา โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่หรือโครงการที่มีความสำคัญ ควรต้องมีการดำเนินการในรูปแบบอื่น การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) หรือหาเงินจากแหล่งเงินกู้มาดำเนินการ
6.2 ประเด็นเรื่องประสิทธิภาพการใช้น้ำ สทนช. กษ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องร่วมกันจัดทำแผนว่าจะดำเนินการอย่างไร โดยอาจปรับการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน (Land Use Zoning) ปรับการเพาะปลูก (Crop) หรือปรับรายได้ต่าง ๆ โดยเฉพาะการปลูกพืชฤดูแล้ง หรือการปรับพืชที่มีผลผลิตต่อปริมาณการใช้น้ำเพิ่มขึ้น เนื่องจากการหาน้ำเพิ่มขึ้นเป็นเรื่องยากแต่การทำให้ผลตอบแทนต่อลูกบาศก์เมตรสูงขึ้นมีความเป็นไปได้
6.3 ประเด็นเรื่องน้ำเสีย ขอให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีแผนอยู่แล้วร่วมกันพิจารณาให้สามารถปฏิบัติตามแผน
6.4 เมื่อมีการรับแผนแม่บทฯ น้ำ ใหม่แล้ว ขอให้ สทนช. ติดตามและประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มีการรายงานผลในทุกตัวชี้วัด
4. เรื่อง รายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565 ซึ่งที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศทุกคณะได้เห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566 (เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 มาตรา 25 วรรคสอง ที่บัญญัติให้ สศช. จัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการประจำปีเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ) สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
1. ผลการดำเนินการของแผนการปฏิรูปประเทศ 13 ด้าน สรุปได้ ดังนี้
ด้าน | ผลสัมฤทธิ์ (เช่น) |
(1) การเมือง | 1) เปิดโอกาสให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 2) ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร สร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านสื่อต่าง ๆ 725 ครั้ง 3) จัดกิจกรรมเพื่อสร้างเครือข่าย เช่น ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาระบบประชาธิปไตยตำบล 4) ดำเนินโครงการขับเคลื่อนการสร้างความสามัคคีปรองดองสมานฉันท์เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะมาตรการ แนวทางการดำเนินการ กลไก และมาตรการในการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ของประชานชนและขจัดความขัดแย้งทางการเมือง |
(2) การบริหารราชการแผ่นดิน | 1) พัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการเข้ารับการบริการของรัฐ เช่น SmartLands เพื่อเป็นช่องทางการใช้บริการต่าง ๆ ของกรมที่ดิน และ DLT Smart Queue เพื่อใช้จองคิวอัตโนมัติในการต่อทะเบียนยานพาหนะและทำใบขับขี่ของกรมการขนส่งทางบก 2) จัดตั้งสถาบันพัฒนาบุคลากรด้านดิจิทัลภาครัฐเพื่อพัฒนาศักยภาพด้านทักษะดิจิทัลและเตรียมความพร้อมให้แก่บุคลากรภาครัฐ และนำความรู้ไปปรับปรุงการให้บริการประชาชนให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว โปร่งใส และตรวจสอบได้ 3) พัฒนาต้นแบบระบบติดตามประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของส่วนราชการเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์และความคุ้มค่าของส่วนราชการ |
(3) กฎหมาย | 1) ผลักดันให้มีกลไกการออกกฎหมายเป็นกฎหมายที่ดีและเท่าที่จำเป็น รวมทั้งให้มีกลไกในการทบทวนกฎหมาย โดยมีการตราพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 2) ทบทวนกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ และกระบวนงานที่เกี่ยวกับการอนุญาตอาชีพ เพื่อลดขั้นตอนการดำเนินการและการอนุญาตที่ไม่จำเป็นหรือเป็นอุปสรรคต่อการประกอบอาชีพและการดำเนินธุรกิจของประชาชน โดยมีกฎหมายและกระบวนงานที่ควรทบทวน ปรับปรุง หรือยกเลิก จำนวน 1,094 กระบวนงาน 3) พัฒนาระบบกลางทางกฎหมาย เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลกฎหมายของประเทศและเป็นช่องทางสำหรับรับฟังความคิดเห็นและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับจัดทำกฎหมายหรือร่างกฎหมายเพื่อให้ประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วม |
(4) กระบวนการยุติธรรม | 1) จัดทำกฎหมาย ได้แก่ พระราชบัญญัติกำหนดระยะเวลาดำเนินงานในกระบวนการยุติธรรม พ.ศ. 2565 เพื่อกำหนดระยะเวลาการดำเนินงานของกระบวนการยุติธรรม ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องแจ้งขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินการแก่สาธารณชน และทบทวนความเหมาะสมของระยะเวลาของกระบวนการยุติธรรมทุก ๆ 3 ปี และพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2565 เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของข้าราชการตำรวจเป็นไปตามระบบคุณธรรม มีมาตรการป้องกันไม่ให้ผู้ใดใช้อำนาจหรือกระทำการโดยมิชอบ รวมทั้งให้ข้าราชการตำรวจสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้โดยอิสระและอยู่ในจริยธรรม 2) จัดตั้งศูนย์ยุติธรรมสร้างสุข โดยให้บริการผ่านทาง http://mind.moj.go.th และแอปพลิเคชัน JusticeCare ซึ่งสามารถยื่นคำร้อง เช่น ปรึกษากฎหมาย ร้องเรียน/แจ้งเบาะแส ขอรับเงินช่วยเหลือกองทุนยุติธรรม และขอรับการคุ้มครองพยานในคดีอาญา |
(5) เศรษฐกิจ | 1) ปรับเปลี่ยนพื้นที่จากการทำการเกษตรมูลค่าต่ำไปสู่การปลูกพืช เลี้ยงปศุสัตว์และประมงที่มีมูลค่าสูง จำนวน 2,045 แปลง และพัฒนาที่ดินเพื่อสนับสนุนการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม จำนวน 67,290 ไร่ 2) กำหนดนโยบายและมาตรการดึงดูดผู้เชี่ยวชาญ/นักลงทุนต่างชาติเข้ามาในไทยและอำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจการเงิน การประกันภัย เช่น ทบทวนคุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขสำหรับการตรวจลงตราประเภทคนอยู่ชั่วคราวเป็นกรณีพิเศษ 3) เพิ่มโอกาสทางการค้ากับภาครัฐ โดยส่งเสริมผู้ประกอบการให้เข้าถึงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และส่งเสริมให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการดำเนินธุรกิจ |
(6)ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม | 1) จัดทำผังน้ำ เพื่อให้มีฐานข้อมูลผังน้ำเป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการที่ดินในเขตผังน้ำไม่ให้กีดขวางทางน้ำและสามารถระบายน้ำได้ โดยได้ดำเนินการแล้วจำนวน 14 ลุ่มน้ำ และคาดว่าจะดำเนินการได้แล้วเสร็จทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ภายในปี 2567 2) แก้ไขปัญหาการบุกรุกในพื้นที่ป่าสงวนและพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องผ่านการใช้ระบบลาดตระเวนเชิงคุณภาพเพื่อช่วยวางแผนป้องกันและปราบปรามเหตุไฟป่า ปัญหาการลักลอบล่าสัตว์ และการลักลอบตัดไม้ 3) จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะของประเทศ (พ.ศ. 2566-2570) เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขมลพิษจากขยะที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพอนามัยของประชาชน 4) จัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเพื่อแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ 5) จัดทำคลังข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพ โดยรวบรวมชนิดพันธุ์พืช สัตว์และจุลินทรีย์ รวมทั้งสิ้น 39,111 ชนิด เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศ |
(7) สาธารณสุข | 1) บริการการแพทย์ฉุกเฉินภาครัฐ โดยปรับหลักเกณฑ์ แนวทาง และเงื่อนไขการจ่ายชดเชยบริการฉุกเฉินคุณภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพมาตรฐานบริการและการเข้าถึงสำหรับประชาชน 2) สร้างระบบฐานข้อมูลระดับประเทศด้านการคัดกรองสุขภาพของผู้สูงอายุและระบบข้อมูลกลางของผู้สูงอายุตามระดับการพึ่งพิง โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2565 มีผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงที่ได้รับการดูแล จำนวน 354,324 คน คิดเป็นร้อยละ 92.78 จากจำนวนทั้งหมด 381,902 คน 3) จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (Emergency Operations Center: EOC) ใน 76 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร รวมทั้งพัฒนา Web EOC เพื่อรองรับการสั่งการในภาวะฉุกเฉินและเป็นศูนย์ข้อมูลสำหรับศูนย์ EOC ทั่วประเทศ 4) บริหารอัตรากำลังคนที่ตอบสนองการให้บริการประชาชนเพื่อลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มการเข้าถึงบริการของประชาชนในพื้นที่ |
(8) สื่อสารมวลชนเทคโนโลยีสารสนเทศ | 1) ดำเนินโครงการศูนย์ประสานงานและแก้ไขปัญหาข่าวปลอม เพื่อตรวจสอบเฝ้าระวัง และป้องกันข้อมูลข่าวสารที่เผยแพร่ในอินเตอร์เน็ต รวมถึงชี้แจงทำความเข้าใจและเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้กับประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) จัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพได้อย่างมีแบบแผน เช่น พื้นฐานการเข้าใจดิจิทัล การพัฒนาทักษะด้านดิจิทัลและดิจิทัลเพื่อทักษะการใช้ชีวิตอัจฉริยะ 3) จัดตั้งศูนย์ประสานงานการป้องกันปราบปรามและแก้ไขปัญหาการเผยแพร่ข้อมูลเท็จทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อกำกับดูแลสื่อออนไลน์เพื่อให้ประชาชนได้รับความปลอดภัยและได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์และถูกต้อง |
(9) สังคม | 1) สร้างมูลค่าที่ดินที่รัฐจัดให้กับประชาชนกลุ่มเปราะบางที่เป็นกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้เกิดแนวทางการบริหารจัดการที่ดินแก่เกษตรกรรายย่อยและผู้ด้อยโอกาสและแนวทางการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรและประชาชน 2) ขึ้นทะเบียนคนพิการเพื่อให้ได้รับสิทธิสวัสดิการและความช่วยเหลือได้อย่างครอบคลุมและทั่วถึง โดยจัดตั้งศูนย์บริการคนพิการแบบเบ็ดเสร็จ ณ โรงพยาบาล เพื่อให้บริการออกบัตรประจำตัวคนพิการ ซึ่งเป็นการอำนวยความสะดวกและลดข้อจำกัดในการเข้าถึงการออกบัตรประจำตัวคนพิการ รวมทั้งมีการพัฒนาให้สามารถใช้บัตรประจำตัวคนพิการผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือได้ด้วย 3) พัฒนาระบบการสร้างหลักประกันด้านรายได้ในยามชราภาพให้ครอบคลุมกลุ่มแรงงานทั้งในและนอกระบบ เช่น สร้างแรงจูงใจให้แรงงานนอกระบบเข้าสู่ระบบการออมผ่านการเป็นสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติ และปรับปรุงพัฒนาสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนภายใต้มาตรา 40 ให้ได้รับสิทธิเพิ่มมากขึ้น |
(10) พลังงาน | 1) ปรับโครงสร้างกิจการไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติ เช่น สำรวจและปรับปรุงการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าในระยะยาว และเพิ่มกลไกการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดโดยจัดทำกรอบอัตราค่าไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด 2) ขจัดอุปสรรคการลงทุนในกิจการพลังงาน เช่น ลดขั้นตอนและระยะเวลาในการอนุมัติอนุญาต การประกอบกิจการไฟฟ้า และพัฒนารูปแบบการกำกับดูแลทางด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของประชาชน 3) จัดตั้งศูนย์สารสนเทศพลังงานแห่งชาติเพื่อเผยแพร่ข้อมูลสถานการณ์การใช้และการผลิตพลังงานไฟฟ้า โครงสร้างราคาน้ำมัน อัตราค่าไฟฟ้า และราคาก๊าซ LPG โดยพัฒนาระบบบริหารจัดการและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อประกอบการวางแผนการลงทุนของเอกชน ส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานหมุนเวียน และเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน |
(11) การป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ | 1) จัดทำช่องทางการแจ้งเบาะแสและระบบปกปิดตัวตนผ่านทางเว็บไซต์ และสามารถติดตามสถานะการดำเนินการได้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการเก็บรักษาความลับและความปลอดภัยของผู้แจ้งเบาะแส 2) กำหนดมาตรการให้ทุกหน่วยงานภาครัฐที่มีโครงการซึ่งมีงบประมาณการดำเนินโครงการมากกว่า 500 ล้านบาท หรือเป็นโครงการที่มีผลกระทบในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงในวงกว้าง เป็นไปตามเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตเชิงนโยบายที่กำหนด จะต้องทำการประเมินความเสี่ยงต่อการทุจริตของโครงการ 3) สร้างเครือข่ายภาคประชาชนการป้องกันและต่อต้านการทุจริตในระดับพื้นที่ใน 17 จังหวัด โดยมีการจัดเวทีสัมมนาในการสร้างการรับรู้ร่วมกัน และเพื่อให้เกิดกลไกการประชุมของเครือข่ายระดับพื้นที่จังหวัดและตำบลอย่างต่อเนื่องในพื้นที่เป้าหมาย |
(12) การศึกษา | 1) ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา จำนวน 7,142 คน ให้กลับเข้าสู่ระบบการศึกษา/พัฒนาทักษะอาชีพ เพื่อสร้างความเสมอภาคและลดความเลื่อมล้ำทางการศึกษา 2) เสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา เช่น การพัฒนาทักษะการจัดการเรียนการสอน การพัฒนาสมรรถนะตามความเชี่ยวชาญ/บริบทในพื้นที่และการพัฒนาทักษะการออกแบบการเรียนรู้ 3) ขับเคลื่อนรูปแบบการประเมินการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับที่เน้นการปฏิบัติและการพัฒนาการเรียนรู้ ผ่านโครงการพัฒนาระบบการวัดประเมินผลเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนและสร้างสมรรถนะการแข่งขันในศตวรรษที่ 21างการศึกษา เช่น การพัการ่ายระดับพื้นที่จังหวัดและตำบลอย่างต่อเนื่องในพร |
(13) วัฒนธรรม กีฬา แรงงาน และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ | 1) พัฒนาดัชนีชี้วัดคุณธรรม เพื่อเป็นเครื่องมือสำหรับประเมินคุณธรรมของคนไทยช่วงวัยทำงาน 5 ด้านได้แก่ พอเพียง วินัยรับผิดชอบ สุจริต จิตอาสาและกตัญญู เพื่อนำไปใช้สำรวจสถานการณ์คุณธรรมของคนไทย และนำข้อมูลที่ได้ไปออกแบบกระบวนการส่งเสริมคุณธรรมในช่วงวัยต่าง ๆ ต่อไป 2) พัฒนาพื้นที่ที่มีศักยภาพให้เป็นเมืองสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ซึ่งจะช่วยสร้างอาชีพและรายได้ให้แก่คนในสังคม เช่น การพัฒนาศักยภาพของชุมชนสู่การเป็นเมืองแห่งศิลปะและการพัฒนาย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 3) สร้างแรงจูงใจและกระแสความตื่นตัวเรื่องการออกกำลังกาย โดยส่งเสริมการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาผ่านการจัดกิจกรรรมกีฬาและการแข่งขันกีฬาภายใต้ความปกติใหม่ (New Normal) ซึ่งมุ่งเน้นการออกกำลังกายโดยมีชุมชนเป็นฐานและการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล 4) จัดให้มีพื้นที่การเรียนรู้สำหรับคนทุกช่วงวัยเพื่อสร้างบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้ เช่น แอปพลิเคชัน TK Read ห้องสมุดออนไลน์เพื่อให้ประชาชนสามารถยืมอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Books) โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย |
2. ประเด็นท้าทายของการปฏิรูปประเทศ เช่น ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เช่นการลดบทบาทภารกิจของภาครัฐให้เหลือเท่าที่จำเป็นและปรับโอนภารกิจให้ภาคส่วนอื่น ๆ การวางแนวทางกำหนดขนาดอัตรากำลังคนภาครัฐให้เหมาะสม และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารราชการเชิงพื้นที่เพื่อขับเคลื่อนประเด็นนโยบายที่สำคัญ ด้านเศรษฐกิจ เช่น การพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน การใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าให้กับสินค้าเกษตร และการส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น การจัดสรรที่ดินทำกินด้วยวิธีการที่เหมาะสมและเป็นธรรม และการผลักดันการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านสาธารณสุข เช่นการจัดระบบบริการสาธารณสุขและความคุ้มครองทางสังคมที่ครอบคลุมประชากรทุกกลุ่ม การพัฒนาการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ และการผลักดันระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ และด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ เช่น การปรับกระบวนการแจ้งเบาะแสการทุจริตเข้าสู่ระบบดิจิทัลที่ได้มาตรฐานสากลและประชาชนสามารถเข้าถึงช่องทางการแจ้งเบาะแสได้โดยสะดวกปลอดภัย และการปรับปรุงกระบวนการปราบปรามการทุจริตที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
3. การดำเนินการต่อไปเพื่อให้ผลสัมฤทธิ์มีความยั่งยืน หลังจากสิ้นสุดการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยมีผลลัพธ์จากการปฏิรูปประเทศที่ส่งผลให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ในทุกด้านแล้วนั้น หน่วยงานของรัฐยังจำเป็นต้องดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างต่อเนื่องผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินการต่าง ๆ ซึ่งประเด็นปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน มีความเชื่อมโยงกับแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) โดยหน่วยงานของรัฐสามารถใช้เป็นกรอบในการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศให้เป็นไปอย่างต่อเนื่องต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้การขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในระยะต่อไปเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม หน่วยงานของรัฐจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการประยุกต์ใช้หลักการวงจรบริหารงานคุณภาพ (Plan do check Act: PDCA) เพื่อให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาตลอดกระบวนการอย่างต่อเนื่อง
5. เรื่อง ความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติ ประจำเดือนมีนาคม 2566
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติและคณะกรรมการปฏิรูปประเทศเสนอความก้าวหน้าของยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2566 สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติ
1.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติในห้วงที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม) และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (พ.ศ. 2566-2570) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 7 และ 20 มีนาคม 2566 ตามลำดับ ซึ่งทั้ง 2 แผนเป็นแผนระดับที่ 2 ที่ทำหน้าที่ร่วมกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) ในการถ่ายระดับและขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติฯ ไปสู่การปฏิบัติผ่านแผนระดับที่ 3 และการดำเนินโครงการ/การดำเนินงาน โดยเป็นหน้าที่ของทุกหน่วยงานของรัฐที่ต้องร่วมกันขับเคลื่อนการดำเนินงานแบบ “พุ่งเป้า” เช่น การกำหนดให้ทุกโครงการ/การดำเนินงานของรัฐต้องส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติฯ อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาหน่วยงานอาจยังไม่ได้นำหลักการถ่ายระดับเป้าหมายไปสู่การปฏิบัติไปประกอบการวางแผนและการปฏิบัติของหน่วยงานเท่าที่ควร ดังนั้น หน่วยงานของรัฐต้องนำหลักการบริหารงานคุณภาพ (Plan Do Check Act: PDCA) ไปประยุกต์ใช้ เพื่อให้มีการจัดทำแผนปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงการบรรลุเป้าหมายมากกว่าการตอบตัวชี้วัด รวมทั้งนำข้อมูลแผนระดับที่ 3 และของทุกโครงการ/การดำเนินงานและรายงานผลความก้าวหน้าของโครงการ/การดำเนินงานรายไตรมาสในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ให้ครบถ้วนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด
1.2 การขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570) มีการดำเนินการดังนี้ (1) อยู่ระหว่างประมวลข้อมูลการดำเนินงานของหน่วยงานและภาคีการพัฒนาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในแต่ละหมุดหมาย รวมถึงวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานที่ผ่านมาและช่องว่างการดำเนินงานที่มีในปัจจุบัน เพื่อจัดทำข้อเสนอการดำเนินงานขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 (2) จัดการประกวดผลงานภาพถ่ายของประชาชนทั่วไป ภายใต้หัวข้อ “จุดประกายการขับเคลื่อน 13 หมุดหมายในระดับท้องถิ่นและตำบล” ซึ่งมีกำหนดเปิดรับภาพถ่ายตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม-8 พฤษภาคม 2566 เพื่อสร้างความตระหนักรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคีการพัฒนาในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 และ (3) อยู่ระหว่างพัฒนาระบบแสดงผลการขับเคลื่อนแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 13 ในระดับพื้นที่ ที่เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเปิดของภาครัฐเพื่อสนับสนุนการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ชาติ (Open-D) เพื่อเป็นช่องทางในการเผยแพร่ข้อมูลการดำเนินงานในระดับท้องที่ ตลอดจนบูรณาการกับข้อมูลการดำเนินงานอื่น ๆ ในระดับพื้นที่
1.3 การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) มีการจัดทำร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ พ.ศ. .... โดย สศช. ได้ร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำหนดให้มีหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนในการประเมินทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบการวางแผนและดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่งการดำเนินการตามร่างระเบียบดังกล่าวจะลดผลกระทบจากการพัฒนาที่อาจมีต่อคุณภาพชีวิตของคนในพื้นที่ เสริมสร้างการยอมรับของทุกภาคส่วน และเป็นกลไกขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน อันจะส่งผลให้การขับเคลื่อน SDGs ประเด็นสิ่งแวดล้อมในช่วงต่อจากนี้มีผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้เห็นชอบร่างระเบียบดังกล่าวแล้ว เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2566 และ สศช. อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2. การดำเนินการของหน่วยงานของภาครัฐในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ
2.1 การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติสู่การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 พบว่า มีข้อมูลแผนระดับที่ 3 และโครงการ/การดำเนินงานประจำปี 2566 ในระบบ eMENSCR ดังนี้ (1) แผนระดับที่ 3 รวมจำนวน 633 แผน แบ่งเป็น แผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี จำนวน 263 แผน รายปี จำนวน 274 แผน และแผนปฏิบัติการด้าน... จำนวน 42 แผน และ (2) โครงการ/การดำเนินงาน รวมจำนวน 12,524 โครงการ/การดำเนินงาน นอกจากนี้ มีการนำเข้ารายงานผลสัมฤทธิ์แผนระดับที่ 3 เมื่อสิ้นสุดระยะเวลาของแผนฯ ในระบบ eMENSCR จำนวน 426 แผน แบ่งเป็น รายงานผลสัมฤทธิ์ฯ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 จำนวน 141 แผน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 144 แผน และปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 จำนวน 111 แผน และรายงานผลสัมฤทธิ์ฯ ที่ครอบคลุมหลายปีงบประมาณ จำนวน 30 แผน
จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่าการนำเข้าข้อมูลของหน่วยงานของรัฐในระบบ eMENSCR ยังไม่ครบถ้วนทุกหน่วยงาน ซึ่งจะส่งผลต่อประสิทธิภาพในการติดตามตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐ ทั้งนี้ สศช. จึงได้กำหนดเงื่อนไขให้ปีงบประมาณ พ.ศ 2566 เป็นต้นไป หากหน่วยงานไม่นำเข้าแผนระดับที่ 3 โดยเฉพาะแผนปฏิบัติราชการรายปี หน่วยงานจะไม่สามารถนำเข้าและรายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ/ดำเนินงานของหน่วยงานประจำปีงบประมาณได้ ดังนั้น ทุกหน่วยงานของรัฐต้องนำเข้าแผนระดับที่ 3 และข้อมูลของทุกโครงการ/การดำเนินงานทั้งที่ใช้งบประมาณและแหล่งเงินอื่น ๆ ในการดำเนินการ รวมทั้งรายงานผลความก้าวหน้าโครงการ/การดำเนินงานรายไตรมาสในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดอย่างเคร่งครัด
2.2 ความก้าวหน้าการดำเนินงานของศูนย์อำนวยการขจัดความยากจนและการพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศพจ.) ได้มีการประกาศกลุ่มเป้าหมายการดำเนินการตามแนวทางการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ของคณะกรรมการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวม 4 กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย (1) กลุ่มเป้าหมายเร่งด่วน จำนวน 655,365 คน (2) กลุ่มครัวเรือนเปราะบาง จำนวน 11,023,225 ครัวเรือน 33,384,526 คน (3) กลุ่มคนที่ต้องสำรวจเพิ่มเติม จำนวน 13,220,965 คน และ (4) กลุ่มคนที่ตกหล่นจากระบบบริหารจัดการข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซึ่งต้องสืบค้นต่อไป ทั้งนี้ ศจพ. ทุกระดับต่าง ๆ และทีมปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับพื้นที่ต้องศึกษาและทำความเข้าใจนิยามของกลุ่มเป้าหมายและการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งนำเสนอข้อมูลจากระบบ TPMAP ไปประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและภูมิสังคมเพื่อพัฒนากลุ่มเป้าหมายให้สามารถอยู่รอด พอเพียง และนำไปสู่ความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐควรร่วมเติมเต็มข้อมูลในระบบ TPMAP โดยสนับสนุนข้อมูลที่หน่วยงานเป็นเจ้าของข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบ TPMAP ได้ด้วยเลขบัตรประชาชน 13 หลัก หรือข้อมูลอื่นในพื้นที่ เช่นข้อมูลศักยภาพของพื้นที่และข้อมูลทางกายภาพ เพื่อพัฒนาให้ระบบมีความครอบคลุมในทุกประเด็นและนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์การพัฒนาคนในระดับพื้นที่ที่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงมากขึ้น
3. การติดตาม ตรวจสอบ และการประเมินผลการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ ปัจจุบันมีผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี ผู้ตรวจราชการกระทรวงและผู้ตรวจราชการกรม รวมทั้งคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการ (ค.ต.ป.) และอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องเป็นกลไกสำคัญในการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล (Check) การดำเนินงานของส่วนราชการให้สอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายการพัฒนาประเทศของยุทธศาสตร์ชาติและแผนระดับที่ 2 ตามหลักการ PDCA ตามมติคณะรัฐมนตรี (9 พฤศจิกายน 2564) เรื่อง การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผล เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ โดยผู้ตรวจราชการมีหน้าที่ในการตรวจราชการเกี่ยวกับการปฏิบัติราชการในภาพรวมของส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการ ขณะที่ ค.ต.ป. และอนุกรรมการที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่ในการติดตาม ตรวจสอบ การดำเนินงานภาครัฐตามภารกิจหรือนโยบายสำคัญเร่งด่วน อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากส่วนราชการสามารถเป็นไปในทิศทางเดียวกัน หน่วยงานของรัฐประเภทอื่น ๆ ควรยึดหลักการ PDCA และมติคณะรัฐมนตรี (9 พฤศจิกายน 2564) เป็นกรอบแนวทางในการดำเนินงาน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการ “พุ่งเป้า” การบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทฯ ได้อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
4. ประเด็นที่ควรเร่งรัดเพื่อการบรรลุเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติ การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติเป็นการดำเนินการบนหลักการ PDCA ซึ่งข้อมูลเป็นเงื่อนไขสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีการดำเนินการควบคู่กับระบบ eMENSCR อย่างไรก็ตาม ข้อมูลในระบบ eMENSCR ยังไม่ครอบคลุมการดำเนินการต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐ ซึ่งอาจเกิดจากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ จึงทำให้เกิดข้อจำกัดในการนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR และส่งผลต่อการวิเคราะห์การดำเนินการของหน่วยงานของรัฐ ดังนั้นการนำเข้าข้อมูลในระบบ eMENSCR ให้ครบถ้วน จึงเป็นการดำเนินการที่สำคัญของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติเพื่อให้เกิดการวิเคราะห์การดำเนินการร่วมกันของหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานร่วมดำเนินการในการดำเนินโครงการทั้งลักษณะโครงการบูรณาการร่วมกันหรือโครงการของแต่ละหน่วยงาน
5. นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้มอบหมายทุกหน่วยงานของรัฐให้ความสำคัญในการติดตามเร่งรัดโครงการที่มีผลการดำเนินการต่ำกว่าเป้าหมาย รวมทั้งดำเนินการหาวิธีแก้ไข
6. เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2565
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการปฏิบัติงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ประจำปี 2565 ตามที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทคคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เสนอ
สาระสำคัญของเรื่อง
กสทช. ได้รายงานผลการปฏิบัติงาน กสทช. ประจำปี 2565 สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ผลการปฏิบัติงานที่สำคัญของ กสทช. ประจำปี 2565 เช่น
1.1 ด้านการบริหารคลื่นความถี่ เช่น (1) กำหนดนโยบายด้านการบริหารคลื่นความถี่ เช่น การศึกษาแนวทางและความเหมาะสมในการกำหนดกรอบระยะเวลาอนุญาตในการใช้คลื่นความถี่ 450-470 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับกิจการโทรคมนาคมเคลื่อนที่สากล (International Mobile Telecommunications: IMT) และการศึกษาความเป็นไปได้ และแนวทางการใช้งานคลื่นความถี่ย่าน 3300-3400 เมกะเฮิรตซ์ สำหรับ IMT (2) ปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่และการติดตามการดำเนินการตามแผนความถี่วิทยุ เช่น การเตรียมการยุติการใช้คลื่นความถี่ย่าน L-band (1427-1518 เมกะเฮิรตซ์) เพื่อเตรียมการรองรับ IMT และปรับปรุงการใช้คลื่นความถี่ย่าน 50-54 เมกะเฮิรตซ์ (3) ประสานงานเกี่ยวกับการบริหารคลื่นความถี่ตามบริเวณชายแดน การจดทะเบียนคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ และประสานแจ้งการใช้งานคลื่นความถี่ในประเทศไทยต่อสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (International Telecommunication Union: ITU) และประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งการประสานความร่วมมือในการกำหนดแนวทางการกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่บริเวณชายแดน (4) วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาการรบกวนใช้งานภายในประเทศ และ (5) จัดตั้งศูนย์ตรวจสอบคลื่นความถี่แห่งชาติ
1.2 ด้านการบริหารกิจการดาวเทียม เช่น การอนุญาตใช้สิทธิในการเข้าใช้วงโคจรดาวเทียม โดยผลการประมูลในลักษณะจัดชุด (Package) ราคารวม 806.50 ล้านบาท ให้แก่บริษัท สเปซ เทคอินโนเวชั่น จำกัด และบริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน) และการอนุญาตให้ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมต่างชาติ เช่น บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติฯ ใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม AsiaSat 5 เป็นการชั่วคราวเพื่อรับสัญญาณแพร่ภาพและเสียงการถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอล GERMAN CUP (DFB Pokal) 2021/2022 และถ่ายทอดสดการแข่งขัน Volleyball Nations League 2022 และกรมการทหารสื่อสาร กองบัญชาการกองทัพไทยใช้ช่องสัญญาณดาวเทียม ABS-2B เป็นการชั่วคราว เพื่อสนับสนุนภารกิจเกี่ยวกับความมั่นคงทางทหาร
1.3 ด้านการกำกับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เช่น (1) การอนุญาตการทดลองออกอากาศวิทยุกระจายเสียงในระบบเอฟเอ็ม ประเภทธุรกิจสาธารณะและชุมชน จำนวน 4,102 สถานี (2) การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่สำหรับการให้บริการโทรทัศน์ภาคพื้นดินในะบบ ดิจิทัลโดยองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย [ช่องรายการสถานีโทรทัศน์ (Active Learning Television: ALTV ช่องหมายเลข 4)] เป็นผู้รับใบอนุญาต รวมทั้งการลดหย่อนและยกเว้นค่าธรรมเนียมใบอนุญาตรายปี และ (3) การส่งเสริมสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการนำร่องบ้านฉาง 5G สมาร์ทซิตี้ (5G Smart City) เพื่อบริการประชาชนด้านสาธารณสุขทางไกลและการประสานช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตำรวจและการจัดระเบียบสายสื่อสารและนำสายสื่อสารลงใต้ดินในพื้นที่การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และพื้นที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ปี 2565 รวมระยะทาง 34.82 กิโลเมตร
1.4 ด้านการสื่อสารระหว่างประเทศ เช่น ดำเนินการในฐานะสมาชิกสภาบริหาร (International Telecommunication: TU Council) ของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ โดยได้เข้าร่วมประชุม ITU Council 2022 ระหว่างวันที่ 21-31 มีนาคม 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส และการประสานความร่วมมือในระดับทวิภาคี เพื่อส่งเสริมให้เกิดความร่วมมืออันดีในการกำกับดูแลกิจการสื่อสารของประเทศต่อไป
1.5 ด้านการดำเนินการเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล เช่น (1) มาตรการช่วยเหลือประชาชนและผู้รับใบอนุญาต และสนับสนุนการป้องกันและรักษาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โควิด-19 (2) การส่งเสริมการลงทุนทางด้านดิจิทัลในประเทศ ซึ่งระหว่างปี 2561-2563 มีมูลค่ารวมกว่า 2,300 ล้านบาท และ (3) การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข โดยมีการจัดประชุมภายใต้หัวข้อ “ก้าวต่อไปของการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุข Big Rock 1: Health security” เพื่อสนับสนุนการปฏิรูปประเทศด้านสาธารณสุขและการปฏิรูประบบบริการแบบปฐมภูมิในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริการปฐมภูมิด้วยระบบ Telemedicine
1.6 ด้านยุทธศาสตร์และบริหารองค์กร เช่น (1) การบริหารงานของสำนักงาน กสทช. ในการรักษามาตรฐานการดำเนินงานและมุ่งพัฒนาองค์กรตามนโยบายคุณธรรมและความโปร่งใส เพื่อยกระดับหน่วยงานด้านคุณธรรมและความโปร่งใสอย่างยั่งยืน โดยมีผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐประจำปี 2565 จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติด้วยคะแนน 99.58 (ระดับ AA) เป็นปีที่สาม และการยกระดับการพัฒนาสำนักงาน กสทช. สู่การเป็นต้นแบบของสำนักงานดิจิทัล โดยในปี 2565 สำนักงาน กสทช. ได้รับรางวัลรัฐบาลดิจิทัลหน่วยงานภาครัฐระดับกรมที่ให้บริการเป็นหลัก อันดับที่ 1 จาก 1,935 หน่วยงาน (2) การติดตามและตรวจสอบการใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เช่น การตรวจสอบมาตรฐานการแพร่คลื่นความถี่ จำนวน 5,323 ครั้ง พบว่า สถานีที่มีการแพร่คลื่นความถี่ตรงตามมาตรฐาน จำนวน 5,184 ครั้ง และไม่ตรงตามมาตรฐาน จำนวน 139 ครั้ง และการตรวจค้นและจับกุมตามกฎหมาย จำนวน 24 คดี (กิจการวิทยุคมนาคม 12 คดี กิจการโทรคมนาคมและอินเทอร์เน็ต 10 คดี และกิจการกระจายเสียงและโทรทัศน์ 2 คดี) (3) ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการพิจารณาเรื่องร้องเรียนของผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม โดยพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการของศูนย์ Call Center 1200 เพื่อให้บริการข้อมูลข่าวสารและรับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในปี 2565 สำนักงาน กสทช. ดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องรองเรียนในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ แล้วเสร็จ 51 เรื่อง จากทั้งหมด 72 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 70.83) และเรื่องร้องเรียนในกิจการโทรคมนาคม แล้วเสร็จ 3,122 เรื่อง จากทั้งหมด 3,431 เรื่อง (คิดเป็นร้อยละ 90.99) และ (4) การบริหารงานกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (กทปส.) เช่น การจัดสรรเงินกองทุน การดูแลรักษาเงินกองทุน และการติดตามและประเมินผลกองทุน
2. รายงานสภาพตลาดและการแข่งขันในกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
2.1 กิจการกระจายเสียง มีมูลค่าการโฆษณาผ่านสถานีวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟเอ็มคลื่นหลักในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 34 สถานี ซึ่งในปี 2565 มีมูลค่าประมาณ 3,457.64 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2564 ประมาณ 196.51 ล้านบาท
2.2 กิจการโทรทัศน์ ในปี 2564 มีมูลค่าตลาดกิจการโทรทัศน์ในกิจการไม่ใช้คลื่นความถี่หรือบริหารช่องรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเคเบิล ดาวเทียม และไอพีทีวี รวมประมาณ 1,750.86 ล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาแนวโน้วของรายได้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและลดลงจากปี 2563 ร้อยละ 3.55 พบว่า อาจเป็นผลจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงในการรับชมและการเติบโตของผู้ให้บริการ Video Streaming อย่างรวดเร็วในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้สินค้าและบริการลดรายจ่ายค่าโฆษณาผ่านช่องทางโทรทัศน์ลง
2.3 กิจการโทรคมนาคม มีผู้ลงทะเบียนใช้บริการโทรศัพท์ประจำที่ (Fixed Line Subscribers) ของไทย 4.43 ล้านเลขหมาย ลดลงร้อยละ 4.32 เมื่อเทียบกับปี 2564 และมีผู้ลงทะเบียนใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Subscribers) 129 ล้านเลขหมาย โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.75 เมื่อเทียบกับปี 2564 ส่วนบริการอินเทอร์เน็ตมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงประจำที่ (Fixed Broadband) ประมาณ 13.09 ล้านราย โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 5.36 และมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงเคลื่อนที่จำนวน 86.70 ล้านเลขหมาย โดยเพิ่มขึ้นจากปี 2564 ร้อยละ 8.17
3. ผลการดำเนินงานและการใช้จ่ายงบประมาณ สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการตามแผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 จำนวน 6,620.20 ล้านบาท มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. ตามแผนงาน (งานประจำ) และโครงการประจำปี 2565 ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 6,024.83 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.01 ของงบประมาณที่ได้รับ แบ่งออกเป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับภารกิจของ กสทช. และสำนักงาน กสทช. (งานประจำ) จำนวน 3,847.95 ล้านบาท รายจ่ายโครงการ จำนวน 1,087.65 ล้านบาท รายจ่ายสำหรับการดำเนินงานของคณะกรรมการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน จำนวน 79.24 ล้านบาท และเงินจัดสรรเข้ากองทุนตามกฎหมาย จำนวน 1,010 ล้านบาท โดยปี 2565 สามารถใช้จ่ายงบประมาณได้สูงกว่าปี 2564 คิดเป็นร้อยละ 90
4. งบการเงิน และรายงานการตรวจสอบภายใน
4.1 งบการเงิน (สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565)
หน่วย : ล้านบาท
รายการ | ปี 2565 | ปี 2564 | เพิ่มขึ้น/(ลดลง) |
1. งบแสดงฐานะการเงิน | |||
สินทรัพย์ | |||
สินทรัพย์หมุนเวียน | 53,288.00 | 69,216.34 | (15,928.34) |
สินทรัพย์ไม่หมุนเวียน | 167,241.34 | 198,178.43 | (30,937.09) |
รวมสินทรัพย์ | 220,529.34 | 267,394.77 | (46,865.43) |
หนี้สิน | |||
หนี้สินหมุนเวียน | 32,799.53 | 48,450.88 | (15.651.35) |
หนี้สินไม่หมุนเวียน | 164,887.67 | 195,750.79 | (30,863.12) |
รวมหนี้สิน | 197,687.20 | 244,201.67 | (46,514.47) |
2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน | |||
รวมรายได้ | 11,086.56 | 78,558.65 | (67,472.09) |
รวมค่าใช้จ่าย | 10,722.97 | 78,640.47 | (67,917.50) |
ต้นทุนทางการเงิน | 9.42 | 14.01 | 4.59 |
รายได้สูง (ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ | 354.17 | (95.84) | 450.01 |
2. เนื่องจากมีการปรับเป็นทศนิยมสองหลัก ดังนั้น ย่อมส่งผลต่อการคำนวณผลรวมบางรายการในตาราง
4.2 รายงานการตรวจสอบภายใน คณะกรรมการตรวจสอบภายในเห็นว่า การดำเนินงานของสำนักงาน กสทช. สำหรับปี 2565 โดยรวมมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ถูกต้องตามกฎหมาย ระเบียบ และหลักเกณฑ์ และการใช้จ่ายงบประมาณมีความคุ้มค่า ตลอดจนมีการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในอย่างเพียงพอ โดยไม่พบข้อสังเกตที่มีนัยสำคัญ นอกจากนี้ กระบวนการจัดทำรายงานทางการเงินได้ปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีอันเป็นที่รับรองทั่วไปมีความเหมาะสม รวมถึงมีการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินอย่างเพียงพอและมีความน่าเชื่อถือ
5. แผนการดำเนินงานและงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566
กสทช. และสำนักงาน กสทช. มีแผนการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2566 เช่น (1) การอนุญาตและกำกับดูแลการใช้คลื่นความถี่แบบหลอมรวมเพื่อประโยชน์สาธารณะ (2) การยกระดับกิจการวิทยุกระจายเสียงของประเทศไทยไปสู่มาตรฐานสากล เพื่อสร้างสรรค์สังคม และเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (3) การจัดให้มีบริการกระจายเสียง โทรทัศน์ และโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการสำหรับผู้พิการ ผู้มีความต้องการที่หลากหลาย และผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และ (4) การเร่งรัดจัดระเบียบสายสื่อสารและนำสายไฟฟ้าลงใต้ดิน ในกลุ่มพื้นที่เร่งด่วนโดยได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 จำนวน 6,271.250 ล้านบาท [งบประมาณรายจ่ายของสำนักงาน กสทช. 5,261.25 ล้านบาท และเงินจัดสรรเข้า กทปส. และกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา 1,010 ล้านบาท]
6. ปัญหา อุปสรรคในการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ที่มีความสำคัญต่อประชาชน และแนวทางแก้ไข เช่น (1) การให้บริการโทรทัศน์ชุมชน บนโครงข่ายภาคพื้นดินในระบบดิจิทัลมีต้นทุนในการจัดตั้ง และบริหารจัดการสถานีที่สูง และจำเป็นต้องใช้ทักษะความรู้ที่จำเป็นสำหรับการดำเนินงานในหลายด้าน สำนักงาน กสทช. จึงได้มีการแต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาแนวทางอนุญาตและกำหนดลักษณะการให้บริการโทรทัศน์ชุมชน เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการให้บริการโทรทัศน์ชุมชนภายใต้บริบทของกฎหมาย ความต้องการ พฤติกรรมการรับชม ด้านเทคโนโลยี และปัจจัยอื่น ๆ และ (2) การขยายโครงข่ายสื่อสารที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นตามการใช้งานของประชาชนในทุกพื้นที่ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ตั้งแต่ปี 2561 ทำให้จำนวนการพาดสายสื่อสารบนเสาไฟฟ้าของ กฟน. และ กฟภ. มีการสะสมหนาแน่น ซึ่งอาจส่งผลต่อความปลอดภัยของประชาชนได้ สำนักงาน กสทช. จึงได้สนับสนุนการดำเนินการจัดระเบียบสายสื่อสารและนำสายสื่อสารลงใต้ดิน โดยใช้งบประมาณบางส่วนจาก กทปส. ภายใต้กรอบวงเงินงบประมาณไม่เกิน 700 ล้านบาท สำหรับการดำเนินการในปี 2565-2566 ในพื้นที่จัดระเบียบสายกลุ่มเร่งด่วน 16 เขต ของกรุงเทพมหานคร
7. เรื่อง รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์เสนอรายงานประจำปี 2565 ของกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์* (เป็นการดำเนินการตามมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 ที่บัญญัติให้ภายในหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันสิ้นปีบัญชี ให้กองทุนฯ ทำรายงานประจำปีเสนอต่อคณะกรรมการกองทุนฯ เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรี) ซึ่งคณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2566 รับทราบ (ร่าง) รายงานประจำปี 2565 ของกองทุนฯ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประจำปี 2565
1.1 การใช้จ่ายเงินงบประมาณประจำปี 2565 กองทุนฯ มีวงเงินงบประมาณรายจ่าย จำนวน 572.10 ล้านบาท (แบ่งเป็นงบประมาณรายจ่ายสำหรับดำเนินการ จำนวน 567.83 ล้านบาท และเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 4.27 ล้านบาท) มีการใช้จ่ายเงินงบประมาณแล้ว จำนวน 532.63 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 93.10 ของวงเงินงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด
1.2 ภาพรวมการดำเนินงานของกองทุนฯ ตามยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ ที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ | การดำเนินโครงการ/กิจกรรม เช่น |
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตและเผยแพร่สื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ | (1) โครงการผลิตสื่อวีดิทัศน์ชุดช่างไทย สื่อสารคดีเพื่อสร้างความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมไทยและสืบสานความเป็นไทย เช่น ช่างทำหัวผีตาโขน ช่างทำหนังตะลุง และช่างแกะสลักไม้ (2) โครงการส่งเสริมคุณค่าวัดไทย โดยยักษ์ไทยในรูปแบบแอปพลิเคชันเกมออนไลน์ในการตามหายักษ์ตามวัดต่าง ๆ เช่น วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหารและวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเพื่อสร้างการเรียนรู้ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมประวัติศาสตร์ท้องถิ่น รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในประเทศไทยให้แก่ชาวไทยและชาวต่างชาติ และ (3) โครงการนักสืบสายรุ้งละครเด็กที่เน้นสื่อสารประเด็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลในระดับต่าง ๆ การกลั่นแกล้ง (Bully) หรือการละเมิดสิทธิทางเพศ เพื่อให้เด็กเรียนรู้และตระหนักถึงสิทธิส่วนบุคคลและการไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น |
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ในการพัฒนาสื่อและนิเวศสื่อที่ปลอดภัยและสร้างสรรค์ | (1) โครงการฐานข้อมูลต้นแบบเพื่อการรับมือกับข่าวปลอม เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของแหล่งข้อมูลข่าวสารในการลดปัญหาข่าวปลอมในอนาคต และ (2) โครงการหยุดยั้งการระบาดของข่าวลวงด้วยข้อมูลเครือข่ายสังคม เป็นโครงการวิเคราะห์ข่าวลวงในด้านการกระจายตัว ลักษณะ ที่มา และเผยแพร่ผลการศึกษาในรูปแบบที่เข้าใจง่ายและสามารถนำไปใช้ต่อยอดได้ |
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การส่งเสริมและพัฒนาให้เกิดกลไกและกระบวนการคัดกรอง เฝ้าระวัง และรู้เท่าทันสื่อ | (1) โครงการพัฒนากลไกขยายผลหลักสูตรต้นแบบ ครูผู้นำนักสื่อสารเพื่อการรู้เท่าทันสื่อ เพื่อพัฒนาและยกระดับศักยภาพด้านการรู้เท่าทันสื่อผ่านการทำงานร่วมกัน และถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียน นักศึกษา เกิดเป็นพลเมืองที่รู้เท่าทันสื่อ และ (2) โครงการนักสืบสายชัวร์xชัวร์ก่อนแชร์สโมสร ได้จัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมความรู้เท่าทันข่าวปลอม ข้อมูลเท็จ และการสร้างความตระหนักในการแยกแยะ เปิดรับ ตรวจสอบ เชื่อถือ และส่งต่อข้อมูลข่าวสารบนสื่อประเภทต่าง ๆ |
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การส่งเสริมและพัฒนาช่องทางการสื่อสารเพื่อสังคมให้เกิดการรับรู้และมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคี | (1) สนับสนุนการผลิตหนังสือรวมเรื่องสั้น “เรื่องเล่า เราฝัน ถึงกรุงเทพฯ” ที่บอกกล่าวความต้องการของคนในกรุงเทพมหานครเพื่อเป็นเสียงสะท้อนในการแก้ไขปัญหาสังคม (2) โครงการเวทีส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน 5 ภูมิภาค เพื่อขยายเครือข่ายการทำงานด้านสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เผยแพร่ความรู้และแนวคิดไปยังภาคีเครือข่าย หน่วยงาน องค์กรภาครัฐ องค์กรวิชาชีพ ภาควิชาการ ภาคประชาสังคมและประชาชนทั่วไปในระดับภูมิภาค และ (3) จัดงานประกาศเกียรติคุณสุดยอดสื่อส่งเสริมการเรียนรู้สร้างสรรค์แห่งปี ประจำปี 2565 เพื่อให้เป็นต้นแบบในการพัฒนาส่งเสริมการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ |
ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาองค์กรสมรรถนะสูงและสร้างมูลค่าเพิ่มของสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ | (1) ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้ดำเนินการเชื่อมโยงฐานข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ เช่น กรมการปกครองและกรมพัฒนาธุรกิจการค้า และปรับปรุงระบบบริหารจัดการงานโครงการ เพื่อให้ผู้ขอรับทุนจากกองทุนฯ ได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงระบบการติดตามและประเมินผลโครงการของผู้รับทุน และ (2) ด้านการร่วมมือกับหน่วยงานระดับสากลและในประเทศ กองทุนฯ ได้เข้าร่วมการอบรมนำร่องหลักสูตรการเป็นวิทยากรเพื่อส่งเสริมการรู้เท่าทันสื่อและข้อมูลเท็จ ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักเลขาธิการอาเซียนร่วมกับองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา เพื่อนำมาปรับประยุกต์ใช้กับหลักสูตรการรู้เท่าทันสื่อของกองทุนฯ |
3. รายงานของผู้สอบบัญชีและงบการเงินของกองทุนฯ สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 โดยผู้สอบบัญชี (จากผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก) เห็นว่าถูกต้องตามที่ควรในสาระสำคัญตามมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการ | ปี 2565 | ปี 2564 | เพิ่มขึ้น/(ลดลง) |
1. งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน 2565 | |||
รวมสินทรัพย์ | 587.92 | 633.82 | (45.90) |
รวมหนี้สิน | 10.99 | 13.71 | (2.72) |
รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน | 576.93 | 620.11 | (43.18) |
2. งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | |||
รวมรายได้ | 515.78 | 516.01 | (0.23) |
รวมค่าใช้จ่าย | 558.96 | 522.16 | 36.80 |
รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ | (43.18) | (6.15) | (37.03) |
3. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2565 | |||
ทุน | 0.00 | 0.00 | 0.00 |
รายได้สูง/(ต่ำ) กว่าค่าใช้จ่ายสะสม | 576.93 | 620.11 | (43.18) |
รวมสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน (ยอดคงเหลือ) | 576.93 | 620.11 | (43.18) |
________________
* กองทุนฯ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ พ.ศ. 2558 โดยมีวัตถุประสงค์ เช่น รณรงค์ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาศักยภาพของผู้ผลิตสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และดำเนินการส่งเสริมให้มีสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง
ต่างประเทศ |
8. เรื่อง สรุปผลการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาเเห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สภาซีเมค) ครั้งที่ 52
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)เสนอ สรุปผลการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(สภาซีเมค)1 ครั้งที่ 52 ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ กรุงมะนิลา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมฯ ตามคำเชิญของรองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของฟิสิปปินส์ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การประชุมวาระเฉพาะและการประชุมเต็มคณะ ที่ประชุมมีมติให้ศูนย์/เครือข่ายระดับภูมิภาคของซีมีโอ2 และสำนักงานเลขาธิการซีมีโอดำเนินงานตามขอบข่ายวาระการศึกษาของซีมีโอด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาระดับปฐมวัย อาชีวศึกษา การพัฒนาและฝึกอบรมครู การส่งเสริมวิจัยระดับอุดมศึกษา การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา การพัฒนาหลักสูตรในศตวรรษที่ 21 การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมสุขอนามัย การปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหารและการเกษตร และการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลและปัญญาประดิษฐ์ รวมทั้งเลือกตั้งให้รองประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของฟิลิปปินส์ เป็นประธานการประชุม สภาซีเมค ครั้งที่ 52 และประธานสภาซีเมค โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของเนการาบรูไนดรุสซาลาม เป็นรองประธานการประชุมฯ และรองประธานสภาซีเมค ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (คุณหญิงกัลยาฯ) ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย ได้กล่าวย้ำความสำคัญของการบูรณาการ “ศาสตร์และศิลป์ แห่งชีวิต” (Arts of Life) ไว้ในการจัดการเรียนรู้สะเต็มศึกษา (STEM Education)3 สู่การจัดการเรียนรู้แบบศาสตร์และศิลป์
ที่ผสมผสานในลักษณะที่เรียกว่า “STEAM”4 เพื่อให้เห็นถึงความจำเป็นด้านวัฒนธรรมคุณค่า และอัตลักษณ์ ทั้งนี้ ที่ประชุมกำหนดให้มีการประชุมสภาซีเมค ครั้งที่ 53 ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2568 ณ บรูไน
2. การประชุมเชิงยุทธศาสตร์ระดับรัฐมนตรีศึกษาของซีมีโอ ครั้งที่ 6 (6th SEAMEO Strategic Dialogue of Education Ministers: SDEM) หัวข้อ “Prioritising Foundational Learning and Lifelong Learning: Investing in Literacy, Numeracy, and STEM Education in the Digital Era” ที่ประชุม SDEM ได้เห็นพ้องและแสดงความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมประเด็นด้านนโยบายของภูมิภาค แนวปฏิบัติด้าน การเรียนรู้พื้นฐานการรู้หนังสือและการคำนวณ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การพลิกโฉมด้วยระบบดิจิทัล การให้ความสำคัญลำดับต้นแก่ผู้เรียนกลุ่มเปราะบางด้วยการพัฒนาวิธีการแบบเรียนร่วม การเสริมสร้างขีดความสามารถของครูและบุคลากรทางการศึกษา การจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาในยุคดิจิทัล และการเสริมสร้างแนวคิดริเริ่มในการติดตามและประเมินผล
อนึ่ง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของไทยได้มีโอกาสหารือกับรัฐมนตรีว่า การกระทรวงศึกษาธิการของสาธารณรัฐสิงคโปร์เกี่ยวกับการจัดโครงการแลกเปลี่ยนหรือหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งสิงคโปร์ยินดีสนับสนุนให้แก่ ศธ. ไทย โดยอาจแลกเปลี่ยนระหว่างนักเรียน/นักศึกษา ประมาณ 1 ภาคการศึกษา หรืออาจให้ครูและผู้บริหารเดินทางมาเข้ารับการอบรมร่วมกับสิงคโปร์ ในส่วนของไทยเน้นผลักดันการสร้างคุณค่าและความภาคภูมิใจในความเป็นชาติให้มีการเรียนการสอน หรือบูรณาการเข้ากับการเรียนรู้ในสถานศึกษาให้มากยิ่งขึ้น และการพัฒนาด้านสะเต็มศึกษา (STEM) โดยเพิ่มตัว “A” (Arts of Life) ให้เป็น “STEAM” ซึ่งรวมถึงภูมิหลัง วัฒนธรรม ความเป็นอยู่ และการใช้ชีวิต
____________________________
1 การประชุมสภาซีเมคกำหนดจัดขึ้นทุก 2 ปี โดยการประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าประชุม 11 ประเทศ ประเทศสมาชิกสมทบซีมีโอ 1 ประเทศ (ราชอาณาจักรสเปน) หน่วยงานสมาชิกสมทบซีมีโอ 2 แห่ง (มหาวิทยาลัย Tsukuba และบริติช เคาน์ซิล) ศูนย์/เครือข่ายระดับภูมิภาคของซีมีโอ 26 แห่ง ตลอดจนภาคีเครือข่ายซีมีโอ และสำนักงานเลขาธิการซีมีโอ รวม 170 คน โดยการประชุมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบายการศึกษาภายใต้กรอบความร่วมมือซีมีโอ รับทราบความก้าวหน้า ผลสำเร็จ และปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน กิจกรรม/โครงการขององค์การซีมีโอและศูนย์ระดับภูมิภาคของซีมีโอในปีที่ผ่านมา พิจารณาอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่ายของสำนักงานเลขธิการซีมีโอ พร้อมทั้งพิจารณาแนวทางในการพัฒนาความร่วมมือด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเทศสมาชิกซีมีโอ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้านการศึกษาทั้งในและนอกภูมิภาค
2 องค์การรัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asian Ministers of Education Organization: SEAMEO) เป็นองค์การระหว่างประเทศระดับภูมิภาคซึ่งเกิดจากความร่วมมือของรัฐบาลในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อตั้งเมื่อปี 2508 มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความร่วมมือของประเทศสมาชิกรวมทั้งผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางด้านการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ (1) คุณภาพและความเสมอภาคทางการศึกษา (2) สุขอนามัยและสาธารณสุข (3) วัฒนธรรมและประเพณี (4) ข่าวสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ (5) ภาษา (6) การลดปัญหาความยากจน และ (7) การเกษตรและทรัพยากรทางธรรมชาติ
3 การเรียนรู้แบบบูรณาการระหว่าง 4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ (Science) เทคโนโลยี (Technology) วิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) และคณิตศาสตร์ (Mathematics)
4 เป็นการเพิ่มสาขาวิชาศิลปะ (Arts) เข้ามาผสมผสานการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาตนเอง เพื่อให้เกิดทักษะในการแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ในการดำเนินชีวิต
9. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอผลการลงมติของที่ประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ได้ลงมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 รวมทั้งเห็นชอบการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 และมอบหมายให้กระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป ทั้งนี้ กระทรวงการคลังจะดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณสำหรับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 รวมถึงขออนุมัติการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศไทย กลุ่มธนาคารโลก และกองทุนการเงินระหว่างประเทศในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ปี 2569 ตามขั้นตอนของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศในโอกาสแรก
สาระสำคัญของเรื่อง
1. ธนาคารโลกเป็นธนาคารเพื่อการพัฒนาระดับพหภาคี มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อลดความยากจน สนับสนุนการพัฒนา และส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในประเทศสมาชิกผ่านการให้ความช่วยเหลือทางการเงินและวิชาการ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ตลอดจนการลงทุนในด้านต่าง ๆ ปัจจุบันมีสมาชิก 189 ประเทศ ในขณะที่ IMF มีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนความร่วมมือทางการเงินระหว่างประเทศ เสริมสร้างเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ และการปล่อยเงินกู้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวสำหรับการแก้ปัญหาดุลการชำระเงินของประเทศสมาชิก ปัจจุบันมีสมาชิก 190 ประเทศ โดยประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกของธนาคารโลกและ IMF เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2492 โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารโลกของประเทศไทยและผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าการ IMF ของประเทศไทย
2. เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 สำนักงานเลขาธิการของธนาคารโลกและ IMF (สำนักงานเลขาธิการฯ) ได้นำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มออกเสียงฯ ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศสมาชิกของธนาคารโลก 189 ประเทศ และสมาชิกของ IMF 190 ประเทศ พิจารณาลงมติคัดเลือกประเทศไทยหรือ รัฐกาตาร์ให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปี ฯ ปี 2569 โดยที่ประชุมคณะกรรมการบริหารกลุ่มออกเสียงฯ ได้มีมติเมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2566 เห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีฯ ปี 2569 และได้เสนอให้ที่ประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและ IMF (Board of Governors) พิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบ
3. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2566 ที่ประชุมสภาผู้ว่าการธนาคารโลกและ IMF ได้มีข้อมติเห็นชอบให้ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีฯ ปี 2569 โดยจะจัดขึ้น ณ กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 16 ตุลาคม 2569 และเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2566 ธนาคารโลกและ IMF ได้มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอย่างเป็นทางการให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังทราบ
10. เรื่อง การประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบองค์ประกอบคณะผู้แทนไทยสำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส พร้อมเห็นชอบต่อกรอบการเจรจาและท่าทีของประเทศไทย สำหรับการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลฯ ครั้งที่ 2 ทั้งนี้หากมีข้อเจรจาใดที่นอกเหนือจากกรอบการเจรจาฯ และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย (Legally binding) ต่อประเทศไทย ขอให้เป็นดุลยพินิจของหัวหน้าคณะผู้แทนไทยเป็นผู้พิจารณา โดยไม่ต้องนำกลับเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาใหม่จนสิ้นสุดการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาล ฯ ครั้งที่ 2 ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ในวันที่ 2 มิถุนายน 2566 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
สาระสำคัญ
องค์ประกอบคณะผู้แทนไทยที่จะเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการเจรจาระหว่างรัฐบาลในการจัดทำมาตรการที่มีผลผูกพันทางกฎหมายระหว่างประเทศด้านมลพิษจากพลาสติก รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางทะเล ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 28 พฤษภาคม - 2 มิถุนายน 2566 ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย และผู้แทนกระทรวงที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงการต่างประเทศ รวมทั้งสิ้น 6 คน
แต่งตั้ง |
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอแต่งตั้งบุคคลเป็นกรรมการในคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหายตามมาตรา 14(4) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. 2565 ดังนี้
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณกรณ์ บุญมี ดำรงตำแหน่ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านสิทธิมนุษยชน
2. นายสมชาย หอมลออ ดำรงตำแหน่ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านสิทธิมนุษยชน
3. ศาสตราจารย์ณรงค์ ใจหาญ ดำรงตำแหน่ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์วรวีร์ ไวยวุฒิ ดำรงตำแหน่ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านนิติวิทยาศาสตร์
5. พลตำรวจโท นายแพทย์พรชัย สุธีรคุณ ดำรงตำแหน่ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย แพทย์ทางนิติเวชศาสตร์
6. แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย แพทย์ทางจิตเวชศาสตร์
ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป
12. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้ง ศาสตราจารย์ สุรศักดิ์ ลิขสิทธิ์วัฒนกุล เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการศูนย์คุณธรรม แทน ศาสตราจารย์อุดม รัฐอมฤต กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมที่พ้นจากตำแหน่งเนื่องจากขอลาออกเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2566 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป โดยผู้ได้รับแต่งตั้งแทนนี้อยู่ในตำแหน่งเท่ากับวาระที่เหลืออยู่ของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้แต่งตั้งไว้แล้ว
13. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้
คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (สบร.) ประกอบด้วย
1. บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ สบร. จำนวน 1 ราย ได้แก่ นายปรเมธี วิมลศิริ
2. บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ราย ได้แก่
(1) นายชัยยศ อิ่มสุวรรณ์
(2) นายประภาศ คงเอียด
(3) รองศาสตราจารย์ สิงห์ อินทรชูโต
(4) นางสาวสุทธาภา อมรวิวัฒน์
(5) นายปิยะชาติ อิศรภักดี
โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป