หลักการสำคัญสำหรับการจัดทำข้อมูลนิรนาม คือ การทำให้ไม่สามารถระบุคุณลักษณะเจ้าของ
ข้อมูลส่วนบุคคลได้จากข้อมูลดังกล่าว (Non-attributable) เพราะในบางกรณีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอาจถูก
ระบุคุณลักษณะได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการระบุตัวตนอย่างชัดเจน การลดความเสี่ยงดังกล่าวด้วยวิธีการ และ
มาตรการที่ถูกต้องเหมาะสม ย่อมสามารถคุ้มครองหน่วยงานเจ้าของข้อมูลหรือผู้ควบคุม และผู้ประมวลผล
ข้อมูลจากความรับผิดที่อาจเกิดขึ้นได้และยังเป็นการใช้ประโยชน์จากข้อมูลที่มี อาทิ จากข้อมูลที่อยู่ใน
ระดับชั้น “ลับ” “ลับมาก” ซึ่งยากต่อการเข้าถึง และเสี่ยงต่อการนำมาประมวลผล เมื่อข้อมูลถูกจัดทำให้เป็น
ข้อมูลนิรนามแล้ว หน่วยงานเจ้าของข้อมูลสามารถพิจารณาจัดระดับชั้นข้อมูลดังกล่าว เป็นข้อมูลที่อยู่ใน
ระดับชั้น “เผยแพร่ภายในองค์กร” นำไปใช้ประโยชน์ นำมาวิเคราะห์ สร้างมูลค่ากับข้อมูลที่มีอีกด้วย
แต่อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่า ข้อมูลจะถูกลดความน่าจะเป็นในการระบุตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลแล้วนั้น
ผู้ใช้ข้อมูลนิรนาม ยังคงจำเป็นต้องใช้ข้อมูลอย่างระมัดระวังเสมอ
ทั้งนี้ สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ประกาศสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ที่ ม 5/2567 เรื่อง มาตรฐานสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)ว่าด้วยแนวทางการจัดทำข้อมูลนิรนาม