- เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย สามารถใช้ 5G ร่วมกับเทคโนโลยี AI จับภาพและวิเคราะห์ข้อมูลจากไลฟ์สตรีมมิ่งได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งช่วยให้เจ้าหน้าที่ตัดสินใจได้อย่างทันท่วงที
- การให้บริการด้านความปลอดภัยกับประชาชน เช่น การเชื่อมต่อกับ 5G ร่วมกับกล้องและเทคโนโลยี AR ตามจุดต่าง ๆ ในพื้นที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นสวนสาธารณะ บนรถโดยสารสาธารณะ หรือสถานีไฟฟ้า เพื่อเฝ้าระวังการเกิดอาชญากรรม
- การให้บริการด้านการขนส่ง เช่น การใช้ 5G ร่วมกับเทคโนโลยี GPS ติดตามตำแหน่งการขนส่งได้แบบเรียลไทม์ เพิ่มความสามารถในการจัดการการขนส่งและป้องกันปัญหาการขนส่งที่ล่าช้า
- การให้บริการด้านสาธารณสุข อย่างเช่น ในช่วงการแพร่ระบาดโควิด ต้องอาศัย 5G ในการถ่ายโอนข้อมูลผู้ติดเชื้อจำนวนมากจากแต่ละพื้นที่ไปยังศูนย์รวมข้อมูล เพื่อรายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวางแผนการรับมือได้อย่างทันท่วงที อีกทั้งแพทย์และพยาบาลสามารถให้บริการผู้ป่วยทางไกลอีกด้วย
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ