วันพุธที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

9 อุตสาหกรรม ที่นำเทคโนโลยี 5G มาใช้

      1) การวินิจฉัยโรคหรือให้คำแนะนำด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI for Diagnosis Use Case)

  • ช่วยให้การประเมิน การคัดกรองโรค ตลอดจนการวินิจฉัยที่ซับซ้อนที่มีปริมาณข้อมูลจำนวนมาก สามารถทำได้อย่างรวดเร็วผ่านการเชื่อมต่อเครือข่าย 5G

     2) เสาอัจฉริยะที่รวมเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่ทันสมัยและจำเป็นสำหรับอำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยให้กับชุมชนหรือเมืองใหญ่ (Smart Pole)

  • ช่วยในการเชื่อมต่อโอนถ่ายข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าช่วยเหลือได้ทันเวลา หลังจากพบสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น
     3) เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม / ความเป็นจริงเสมือน สำหรับการท่องเที่ยว (AR/VR for Tourism Use Case)
  • ช่วยให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์รูปแบบใหม่ที่มีความสมจริงมากยิ่งขึ้น สามารถเห็นภาพหรือวิดีโอที่มีความละเอียดสูง และช่วยให้นักท่องเที่ยวสามารถรับชมประสบการณ์รูปแบบใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง และมีความเรียลไทม์
      4) การเรียนรู้เชิงโต้ตอบออนไลน์ (Interactive Online Classroom)
  • ช่วยให้ผู้เรียนและผู้สอนสามารถสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วและเรียลไทม์ ไม่เกิดการติดขัด การกระตุกระหว่างการเรียนและการสอน
     5) การขนส่งแบบไร้คนขับ (Intelligent Guided Vehicle / Autonomous Vehicles)
  • ช่วยให้เพิ่มประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการขนส่ง ในการประมวลผลเส้นทางในการเคลื่อนที่ รวมถึงการสื่อสารระหว่างเครื่องจักร
     6) กระจกอัจฉริยะเสมือนจริง (Smart Mirror for Virtual Fitting)
  • ช่วยให้สามารถลองเสื้อผ้าได้อย่างเสมือนจริง ความเร็วสูงของเทคโนโลยี 5G จะทำให้กระจกสามารถประมวลได้อย่างรวดเร็ว และสามารถรับคำสั่งชุดที่ต้องการลองได้
     7) การจ่ายค่าประกันรถ ตามพฤติกรรมการใช้รถยนต์ (Usage - Based Insurance)
  • ช่วยในการเชื่อมค่อกับอุปกรณ์หลากหลาย โดยใช้ 5G เชื่อมโยงกับแพลตฟอร์ม UBI จับพฤติกรรมการใช้รถ
     8) ระบบการติดตามและควบคุมการผลิต (Real - Time Process Monitoring & Control)
  • ช่วยตรวจสอบกระบวนการผลิต สามารถลดอัตราการเกิดของเสียและเพิ่มผลิตภาพการผลิต 
  • ช่วยระบบการติดตามและควบคุมการผลิตสามารถรับข้อมูลจากเซนเซอร์แล้วประมวลผลในซอฟต์แวร์ได้
  • แสดงภาพกระบวนการทำงานอย่างรวดเร็ว ติดตามการผลิตได้เรียลไทม์
     9) โดรนการเกษตร (Agriculture Drone) 
  • ช่วยในการฉีดพ่นปุ๋ยหรือสารเคมี ทำงานได้เร็วกว่าแรงงานคนประมาณ 4 เท่า
  • ช่วยติดตามการเจริญเติบโตของพืช วิเคราะห์โรค
  • ช่วยในการสำรวจพื้นที่ และติดตามพื้นที่ปลูก


ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ