ดัชนีสุขภาวะดิจิทัลของคนไทย ถูกแบ่งเป็น 3 ระดับ
- สุขภาวะดิจิทัลระดับสูง (Advanced) ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์ รวมถึงยังรู้เท่าทันการใช้งานและภัยไซเบอร์ทุกรูปแบบ ที่สำคัญยังสามารถแนะนำให้คนรอบข้างเกิดทักษะในการใช้งานดิจิทัลได้เป็นอย่างดี
- สุขภาวะดิจิทัลระดับพื้นฐาน (Basic) เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโลกไซเบอร์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์
- สุขภาวะดิจิทัลระดับระดับที่ต้องพัฒนา (Improvement) เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและโลกไซเบอร์ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสร้างสรรค์
ตัวชี้วัดสุขภาวะทางดิจิทัล ทั้ง 7 ด้าน
- การใช้ดิจิทัล (Digital Use) ความรู้ ความสามารถ และตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ไซเบอร์ในการบริหารจัดการตนเองในชีวิตประจำวันกับการจัดการเวลาในโลกดิจิทัล
- การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital Literacy) การเข้าถึง การค้นข้อมูล การประเมินข้อมูล การจัดการข้อมูล การคิดเชิงวิพากษ์ และการสร้างสรรค์เนื้อหาทางดิจิทัล
- เข้าใจสิทธิทางดิจิทัล (Digital Rights) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับจริยธรรม คอมพิวเตอร์ กฎหมายที่คุ้มครองสิทธิของตนเอง ขอบเขตสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคลในการแสดงออกในพื้นที่ส่วนบุคคลและพื้นที่ส่วนรวม
- ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ (Cyber Security and Safety) ความรู้ ความสามารถด้านการป้องกันภัยบนโลกไซเบอร์ต่อตนเองและองค์กร ด้วยการเข้าใจเรียนรู้กระบวนการเครื่องมือทางเทคโนโลยี เพื่อป้องกันและรับมือจากภัยคุกคาม
- การกลั่นแกล้งทางไซเบอร์ (Cyberbullying) การกลั่นแกล้ง การให้ร้าย การด่าว่า การข่มเหง การคุกคามหรือรังแกผู้อื่นผ่านในโลกไซเบอร์ หรือแพลตฟอร์มสื่อดิจิทัลต่าง ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ ติ๊กตอก เป็นต้น
- การแสดงความสัมพันธ์ทางดิจิทัล (Digital Relationship) ความสัมพันธ์ทางออนไลน์ระหว่างบุคคลที่รู้จักกันหรือไม่รู้จักกันทางออนไลน์ โดยเป็นการเอาใจใส่ผู้อื่น การแสดงน้ำใจ และการช่วยเหลือผู้อื่นบนโลกออนไลน์
- การสื่อสารและการทำงานร่วมกันแบบดิจิทัล (Digital Communication and Collaboration) การมีส่วนร่วมในสังคมผ่านบริการดิจิทัลทั้งภาครัฐและเอกชน และการเป็นพลเมืองแบบมีส่วนร่วมเพื่อจัดการการแสดงตัวตน การระบุตัวตน และชื่อเสียงทางดิจิทัลได้อย่างเหมาะสม
ที่มา : สํานักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.)