การรับข่าวสารจากแหล่งข่าวในโซเชียลมีเดียถือว่าเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว แต่ข้อมูลที่ได้รับและแชร์กันอาจไม่ถูกต้อง หรือมีเจตนาที่ไม่ดีแฝงอยู่ได้
1) ตรวจสอบแหล่งที่มา
- ข่าวนั้นมาจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อถือ
- ตรวจสอบโปรไฟล์ของผู้ที่แชร์ข่าวสาร
2) การใช้วิจารณญาณ
- ใช้วิจารณญาณในการประเมินข้อมูล
- พิจารณาผู้เผยแพร่ มีเจตนาอะไรจากการเผยแพร่ข้อมูลนั้น
3) ระวังข่าวปลอม
- ข้อมูลที่มาจากแหล่งที่ไม่คุ้นเคย มีการสะกดคำผิด
- หากพบข่าวปลอม รายงานไปยังโซเชียลมีเดียที่ใช้งานอยู่
4) ใช้เครื่องมือความปลอดภัย
- ใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสและมัลแวร์
- ปรับการตั้งค่าความเป็นส่วนตัว เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
5) อ่านเนื้อหาทั้งหมด
- ไม่ควรตัดสอนข้อมูลจากหัวข้อหรือภาพปกเพียงอย่างเดียว
- หากข้อมูลดูเกินจริง ควรสงสงสัยและตรวจสอบเพิ่มเติม
6) ระมัดระวังข้อมูลส่วนบุคคล
- หลีกเลี่ยงการแชร์ข้อมูลส่วนบุคคล
- ไม่ควรตอบสนองต่อข้อความหรือโพสต์ที่ดูน่าสงสัย
7) ตรวจสอบข้อเท็จจริง
- ตรวจสอบข้อมูลจากแหล่งข่าวอื่น ๆ ว่ามีการรายงานเช่นเดียวกันหรือไม่
- ใช้บริการตรวจสอบข้อเท็จจริงจากองค์กรที่น่าเชื่อถือ
8) การสนับสนุนสื่อที่เชื่อถือได้
- เลือกติดตามสำนักข่าวที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นกลาง
- สื่อที่มีการตรวจสอบและยืนยันข้อเท็จจริงอย่างเข้มงวดมักมีความน่าเชื่อถือสูง
วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568
การเสพข้อมูลจากแหล่งข่าวในโซเชีนล
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์