วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ครุฑที่ใช้ในหนังสือราชการ คือแบบใด ?

 ครุฑที่ใช้ในหนังสือราชการ คือแบบใด ?

หนังสือภายนอกกับหนังสือภายใน ขนาดตราครุฑเท่าใด ?

ครุฑเท้าเหยียดตรง

ขนาดมาตรฐานตราครุฑในการพิมพ์หนังสือราชการ

> หนังสือภายนอก ขนาดตราครุฑสูง 3 ซม.

> หนังสือภายใน ขนาดตราครุฑสูง 1.5 ซม.

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 ข้อ 71 (ตามแบบที่ 26 ท้ายระเบียบ)

 


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

หารือการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด

 หารือการจ่ายค่าตอบแทนสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐

 แผนพัฒนาเด็กปฐมวัย พ.ศ. ๒๕๖๔ - ๒๕๗๐


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/



วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2565

ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2564

 ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2564

 






















 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

รูปแบบการพิมพ์หนังสือราชการ

 รูปแบบการพิมพ์หนังสือราชการ

ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ พ.ศ. 2526 และที่แก้ไขเพิ่มเติม


 













 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕


 พระราชบัญญัติ ป้องกันและปราบปราม การทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ. ๒๕๖๕


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ratchakitcha.soc.go.th

พระราชบัญญัติ มาตรการป้องกันการกระท้าความผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕



 พระราชบัญญัติ มาตรการป้องกันการกระท้าความผิดซ้ำ ในความผิดเกี่ยวกับเพศหรือที่ใช้ความรุนแรง พ.ศ. ๒๕๖๕


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ratchakitcha.soc.go.th

การกำหนดภาระงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ และมาตรฐานการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 การกำหนดภาระงานตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง มาตรฐานวิทยฐานะ และมาตรฐานการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะสำหรับข้าราชการหรือพนักงานครูและบุคลากรทางการศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

การเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 การเตรียมความพร้อมสำหรับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 งบเงินอุดหนุนที่จัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

การเรียกรายงานตัวข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหาร

 การเรียกรายงานตัวข้าราชการและพนักงานส่วนท้องถิ่นให้ดำรงตำแหน่งสายงานผู้บริหาร


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 25 ตุลาคม 2565

 

 วันนี้ (25 ตุลาคม 2565)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้

กฎหมาย

                   1.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. ....
                   2.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560) 
                   3.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ....
                   4.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก –ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ....
                   5.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชน)
                   6.       เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. ....

 
เศรษฐกิจ-สังคม

                   7.       เรื่อง     การปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
                   8.       เรื่อง     ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 17/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2565
                   9.       เรื่อง     รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย  (Thailand National Digital Trade Platform: NDTP)
                   10.      เรื่อง     สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกันยายน 2565
                   11.      เรื่อง     ร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570
                   12.      เรื่อง     สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   13.      เรื่อง     การดำเนินการตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
                   14.      เรื่อง     รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
                   15.      เรื่อง     แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปี  งบประมาณ พ.ศ. 2567

ต่างประเทศ

                   16.       เรื่อง   ขอความเห็นชอบร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามบทที่ 14 ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลีและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
                   17.       เรื่อง   ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างแนวทางอาเซียนว่าด้วยการให้คำปรึกษาและการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ และร่างแผนงานคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียน พ.ศ. 2565 -2573
                   18.       เรื่อง  การรับรองเอกสารผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (AMCA) ครั้งที่ 10 และการประชุมที่เกี่ยข้องกับประเทศคู่เจรจา หัวข้อ “การส่งเสริมบทบาทด้านวัฒนธรรมและศิลปะอาเซียนในยุคหลังการระบาดของโควิด-19 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผ่านระบบการประชุมทางไกล
                   19.       เรื่อง   การเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างปี พ.ศ. 2567 – 2568 และการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน
                   20.       เรื่อง   ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11
                   21.       เรื่อง   (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                   22.       เรื่อง   การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                   23.       เรื่อง   ร่างแถลงการณ์อาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (ASEAN joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP27)
                   24.       เรื่อง   โครงการความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างอาเซียน-เยอรมัน (ASEAN-German Climate Action Programme)
                   25.       เรื่อง   การจัดทำร่างสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND)
                   26.       เรื่อง   ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งเครือรัฐออสเตรเลียในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์
                   27.       เรื่อง   ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
                   28.       เรื่อง   แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ค.ศ. 2022 – 2025
                   29.       เรื่อง   การรับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียน
                   30.       เรื่อง   การรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41
                   31.       เรื่อง  รายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 55 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
 

แต่งตั้ง

                   32.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแห่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
                   33.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งเพิ่มเติม
                   34.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)

*****************

 

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดเขตพื้นที่และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ในบริเวณพื้นที่ตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร พ.ศ. .... ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ ทส. ดำเนินการปรับปรุงมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามร่างประกาศในเรื่องนี้เพื่อไม่ให้มีความทับซ้อนหรือขัดแย้งกับร่างกฎกระทรวงกำหนดเขตพื้นที่ตำบลชุมโค อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พ.ศ. .... ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ ก่อนที่ร่างกฎกระทรวงดังกล่าวจะมีผลใช้บังคับต่อไป ทั้งนี้ การประกาศบังคับใช้ร่างประกาศในเรื่องนี้ไปพลางก่อน ให้ ทส. ประสานความเข้าใจกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันมิให้มีการกระทำที่ไม่เหมาะสมและอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพและระบบนิเวศชายฝั่งตามความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ 
                   เป็นการกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเพื่อรักษาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ชายทะเลตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เพื่อรักษาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะด้านกายภาพ อันเป็นแหล่งอาศัย แหล่งอาหารของสัตว์หายาก รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งในปัจจุบันมีแนวโน้มเสื่อมโทรมเพิ่มมากขึ้นจำเป็นต้องกำหนดมาตรการคุ้มครองเพื่อป้องกันการเสื่อมโทรมในพื้นที่ดังกล่าว ดังนี้  
                   1. กำหนดคำนิยาม คำว่า “แนวชายฝั่งทะเล” “ชายหาด” “ประมงพื้นบ้าน” และ “การถมที่ดินในทะเล” เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและป้องกันการเกิดปัญหาในทางปฏิบัติ  
                   2. กำหนดพื้นที่บางส่วนของแนวชายฝั่งทะเลจังหวัดชุมพร ซึ่งกำหนดให้เป็นเขตพื้นที่เพื่ออนุรักษ์ รักษาพันธุ์สัตว์น้ำ พื้นที่ควบคุมการใช้เครื่องมือทำการประมง วิธีการทำการประมง หรือการกระทำต่อสัตว์น้ำที่จับได้โดยบังเอิญตามกฎหมายว่าด้วยการประมง รวมทั้ง ควบคุมการใช้เครื่องมือทำการประมงตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดชุมพร  
                   3. กำหนดให้จำแนกพื้นที่ออกเป็น 3 บริเวณ ดังนี้  
                             3.1 บริเวณที่ 1 ได้แก่ พื้นที่ชายหาดที่อยู่ในท้องที่ตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และทะเลที่อยู่ถัดออกไปจากชายหาดดังกล่าว ซึ่งวัดจากแนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลจนสุดเขตระยะ 5,400 เมตร 
                             3.2 บริเวณที่ 2 ได้แก่ พื้นที่แนวสันทรายมีแนวเขตฟากตะวันออกและฟากตะวันตกของทางหลวงชนบท สส. 2021  
                             3.3 บริเวณที่ 3 ได้แก่ พื้นที่ภายในเขตตำบลปากคลอง ตำบลชุมโค ตำบลบางสน และตำบลสะพลี อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร รวมทั้งพื้นที่เกาะต่าง ๆ ที่อยู่ในแนวเขตพื้นที่ควบคุมการใช้เครื่องมือทำการประมงตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดห้ามใช้เครื่องมืออวนลากและอวนรุนที่ใช้ประกอบเรือยนต์ทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำบางแห่งของจังหวัดชุมพร ซึ่งวัดจากแนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเลจนสุดเขตระยะ 5,400 เมตร เว้นแต่พื้นที่บริเวณที่ 1 และบริเวณที่ 2 
                   4. กำหนดให้พื้นที่มีมาตรการ ดังนี้ 
                             4.1 บริเวณที่ 1 ห้ามกระทำการหรือประกอบกิจการ ดังนี้ (1) ทำการประมงโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ (2) ก่อสร้างอาคารทุกชนิดตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร (3) เก็บ เคลื่อนย้าย หรือทำลายหิน หินปะการัง (4) ถมที่ดินในทะเล (5) ขุดลอกร่องน้ำ (6) กระทำการใด ๆ ที่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติพื้นที่ชายหาด เป็นต้น
                             4.2 บริเวณที่ 2 (1) การใช้ประโยชน์ เช่น การศึกษาวิจัยทางวิชาการซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การเยี่ยมชมระบบนิเวศตามธรรมชาติ การท่องเที่ยวพักผ่อนของประชาชน โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ (2) ห้ามกระทำการ เช่น ขุด ถม หรือเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติของพื้นที่บริเวณแนวสันทราย ก่อสร้างอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใด ๆ 
                             4.3 บริเวณที่ 3 (1) ห้ามก่อสร้างอาคารทุกชนิดในพื้นที่ที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ 20 เมตร (2) ห้ามก่อสร้างอาคารสูงเกิน 9 เมตร ในพื้นที่ที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินเป็นระยะ 50 เมตร (3) ห้ามดัดแปลงเพื่อใช้เป็นอาคารโรงงานในพื้นที่ที่วัดจากแนวชายฝั่งทะเลเข้าไปในแผ่นดินจนสุดเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม (4) ห้ามเปลี่ยนแปลงสภาพธรรมชาติของเกาะ ล่าหรือทำด้วยประการใด ๆ ให้เป็นอันตรายแก่นกเงือกบนพื้นที่เกาะและพื้นที่ภายในระยะ 5,400 เมตร ซึ่งวัดระยะจากแนวชายฝั่งทะเลออกไปในทะเล 
                   5. ให้สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดชุมพรทำหน้าที่ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ ประสาน คำแนะนำเกี่ยวกับการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และจัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง รวมทั้งประสานหน่วยงานของรัฐและภาคส่วนอื่น ๆ ในการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อรักษาระบบนิเวศพื้นที่พรุ ป่าชายเลน และชายหาด ตลอดจนจัดทำแผนฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการเพื่อการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมในระดับจังหวัด หรือแผนงานหรืองบประมาณที่เกี่ยวข้องต่อไป  
                   6. กำหนดให้ในพื้นที่ดังกล่าวหากมีกฎหมายใดกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมไว้ดีกว่าที่กำหนดไว้ในประกาศนี้ ก็ให้เป็นไปตามมาตรการที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น 
                   7. กำหนดบทเฉพาะกาลเพื่อรองรับกรณีต่าง ๆ ที่มีหรือเกิดขึ้นแล้ว ก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ  
                   8. กำหนดระยะเวลาใช้บังคับ 5 ปี
 
2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... (แก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560) 
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามที่ มท. เสนอ เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2556 และกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 เนื่องจากสภาพข้อเท็จจริงในพื้นที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินตามผังเมืองรวมดังกล่าวไม่สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เนื่องจากไม่สามารถรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และการอยู่อาศัยของชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร จึงต้องมีการปรับปรุงให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน โดยแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จากเดิม “ไม่เกินร้อยละห้า” เป็น “ไม่เกินร้อยละสิบ” ในพื้นที่บริเวณหมายเลข 4.23 และหมายเลข 4.42 และแก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จากเดิม “ไม่เกินร้อยละสิบ” เป็น “ไม่เกินร้อยละสิบห้า” ในพื้นที่บริเวณหมายเลข 4.33 รวมทั้งเพิ่มข้อห้ามการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินบริเวณหมายเลข 4.23 หมายเลข 4.42 และหมายเลข 4.33 ทั้งนี้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ให้สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ 
                   แก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) รวมทั้งเพิ่มข้อห้ามการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินบริเวณดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาครที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน ดังนี้  
                   1. แก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม                (สีเขียว) จากเดิม “ไม่เกินร้อยละห้า” เป็น “ไม่เกินร้อยละสิบ” ในพื้นที่บริเวณหมายเลข 4.23 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่บริเวณนี้มีความต้องการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่นี้เป็นเขตติดต่ออำเภอเมืองสมุทรสาครอยู่ใกล้กับเขตนิคมอุตสาหกรรมสมุทรสาคร ซึ่งเป็นแหล่งงาน มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก มีระบบโครงสร้างพื้นฐานพร้อมให้บริการ มีความเหมาะสมต่อการอยู่อาศัย เป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต 
                   2. แก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จากเดิม “ไม่เกินร้อยละห้า” เป็น “ไม่เกินร้อยละสิบ” ในพื้นที่บริเวณหมายเลข 4.42 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีการขยายตัวของที่อยู่อาศัย อาคารพาณิชยกรรม และโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น โดยพื้นที่นี้อยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านแพ้ว มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีการคมนาคมที่สะดวกมีสาธารณูปโภค สาธารณูปการที่เอื้อต่อการอยู่อาศัย จึงดึงดูดประชาชนให้เข้ามาอาศัยในพื้นที่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพื้นที่บริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 375 ซึ่งเป็นถนนสายหลักเข้าสู่อำเภอบ้านแพ้ว 
                   3. แก้ไขข้อกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นในที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) จากเดิม “ไม่เกินร้อยละสิบ” เป็น “ไม่เกินร้อยละสิบห้า” ในพื้นที่บริเวณหมายเลข 4.33 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ เนื่องจากประชาชนในพื้นที่บริเวณนี้มีความต้องการสร้างบ้านพักอาศัยเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่นี้อยู่ติดเขตเทศบาลตำบลบ้านแพ้วซึ่งเป็นชุมชนหลัก มีคมนาคมที่สะดวก มีสภาพแวดล้อมที่ดี มีระบบโครงสร้างพื้นฐานพร้อมให้บริการประชาชน ทำให้มีการขยายตัวของชุมชน
                   4. เพิ่มข้อห้ามการจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยในที่ดินบริเวณหมายเลข 4.23 หมายเลข 4.42 และหมายเลข 4.33 เนื่องจากไม่ให้มีการทำหมู่บ้านจัดสรรเพิ่มขึ้นอีก เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยของประชาชนให้สามารถสร้างบ้านเดี่ยวได้มากขึ้น 
 
3. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย  
                    ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ตามที่ มท. เสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะและสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง ซึ่งกำหนดให้เป็น “แหล่งโบราณพุทธศาสนา ล้ำค่าประเพณี สิ่งแวดล้อมดี สาธารณูปโภคพร้อม” โดยเป็นศูนย์กลางด้านการอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมและการบริการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 13 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง อันจะทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งเป็นการช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจภาคการเกษตรและอุตสาหกรรม และเป็นการดำรงรักษาพื้นที่เมืองเก่าและย่านที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของประเทศ ซึ่ง มท. ได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 แล้ว และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ 
                   กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ในท้องที่ตำบลข่วงเปา ตำบลบ้านหลวง ตำบลจอมทอง ตำบลดอยแก้ว และตำบลสบเตี๊ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา และการดำรงรักษาเมือง และบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สิน การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อม ให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมของประเทศตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้ 
                   1. กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้  
                             1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนเมืองให้เป็นศูนย์กลางด้านเศรษฐกิจและการคมนาคมขนส่งทางตอนใต้ของจังหวัดเชียงใหม่   
                             1.2 ส่งเสริมและพัฒนาให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา  
                             1.3 พัฒนาระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน  
                             1.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
                   2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 13 ประเภท ดังนี้

ประเภทวัตถุประสงค์
1. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อการอยู่อาศัย (สีเหลืองและเส้นทแยงสีขาว)- เป็นพื้นที่บริเวณชุมชนที่ยังคงเอกลักษณ์การตั้งถิ่นฐานและ   สิ่งปลูกสร้างแบบพื้นถิ่นที่หนาแน่นและชัดเจน รวมทั้งบริเวณที่มีภูมิทัศน์ตามธรรมชาติที่สวยงามควรแก่การรักษา ได้แก่ ชุมชนย่านพระธาตุศรีจอมทองวรมหาวิหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินไปเป็นอย่างอื่น หรืออยู่ในบริเวณโดยรอบกับสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ศาสนสถาน ที่สมควรจะใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยเท่านั้น โดยกำหนดความสูงของอาคารไม่เกิน 2 ชั้น
2. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)- เป็นพื้นที่ซึ่งอยู่ภายในชุมชนดั้งเดิมและบริเวณต่อเนื่องซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานหนาแน่นน้อย ในกลุ่มบ้านย่อย ๆ บริเวณบ้านข่วงเปา บ้านอังครักษ์ บ้านสบเตี๊ยะ และพื้นที่ชุมชนต่อเนื่องจากที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางบริเวณเขตเทศบาลตำบลจอมทอง มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบาง ส่งเสริมการก่อสร้างอาคารประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด เป็นส่วนใหญ่ ไม่อนุญาตให้มีโรงงานอุตสาหกรรมทุกประเภท ควบคุมความสูงของกิจการอื่น (กิจการรอง) ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร 
3. ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง                       (สีส้ม)- เป็นพื้นที่บริเวณต่อเนื่องหรือล้อมรอบพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก บริเวณพื้นที่เทศบาลตำบลจอมทอง และบริเวณที่มีการอยู่อาศัยหนาแน่น บริเวณบ้านข่วงเปา บ้านอังครักษ์ บ้านสบเตี๊ยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางที่มีการสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว บ้านแฝด  ห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว อาคารชุด หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม โดยมีข้อจำกัดเรื่องความสูงของอาคารริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 บริเวณพระธาตุศรีจอมทองวรมหาวิหาร ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน  9 เมตร เพื่อเปิดมุมมองไปยังพระธาตุฯ และควบคุมความสูงของกิจการอื่น (กิจการรอง) ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตร
4. ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)- เป็นพื้นที่ย่านการค้าของชุมชนจอมทอง สามารถขยายตัวได้ในอนาคต ได้แก่ ที่ราบบริเวณริมทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ทางตอนกลางของผัง ซึ่งเป็นบริเวณที่น้ำท่วมไม่ถึงโดย               อยู่ห่างจากแม่น้ำปิง ทั้งนี้ เพื่อให้ปลอดภัยจากอุทกภัยและ               เพื่อรักษาคุณภาพของแหล่งน้ำธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์ให้มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบผสม (Mixed-use) ในบริเวณศูนย์กลางเมือง (City Core) หรือที่เรียกว่า CBD (Central Business District) ประกอบด้วยอาคารสำนักงาน ศูนย์การค้า ร้านค้า โรงแรม อาคารชุด ห้องแถว เรือนแถว และควบคุมความสูงของกิจการอื่น (กิจการรอง) ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่ไม่ใช่อาคารสูงหรืออาคารขนาดใหญ่
5. ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)- เป็นพื้นที่ฉนวน (Buffer Zone) ของชุมชนเมืองให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม มีวัตถุประสงค์ให้เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม ประกอบด้วยการประกอบเกษตรกรรม เช่น ทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ควบคุมความสูงของกิจการอื่น (กิจการรอง) ให้ดำเนินการหรือประกอบกิจการได้ในอาคารที่มีความสูงไม่เกิน 12 เมตร
6. ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สีเขียวมีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)- เป็นพื้นที่เขตดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
7. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)- เป็นพื้นที่โล่งที่มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อนหย่อนใจเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สวนป่าสาธารณประโยชน์ นอกจากนี้พื้นที่ที่ควรกำหนดให้เป็นที่โล่งฯ ของชุมชนที่สำคัญ คือ พื้นที่ริมแม่น้ำปิง เพื่อใช้เป็นพื้นที่รับน้ำในฤดูน้ำหลาก ซึ่งจำเป็นต้องมีการป้องกันการรุกล้ำของสิ่งปลูกสร้างในแนวทางน้ำ
8. ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)- เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ และพื้นที่ของเอกชนที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว กรณีที่ดินของป่าไม้มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุงป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติอื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า และการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครองครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้สอดคล้องกับป่าไม้ โดยมีการผ่อนปรนให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการดำรงอยู่ได้ เช่น การอยู่อาศัย เกษตรกรรม โดยมีข้อจำกัดเรื่องขนาดและ                   ความสูงของอาคาร
9. ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)- มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาตามการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน เช่น โรงเรียน
10. ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีฟ้า)- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอ่างเก็บน้ำเพื่อการเกษตรและทำการประมง และต้องการอนุรักษ์และพัฒนาให้เป็นพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของชุมชนเมือง
11. ที่ดินประเภทอนุรักษ์เพื่อส่งเสริมเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมไทย (สีน้ำตาลอ่อน)- เป็นพื้นที่สำคัญทางศาสนาและประวัติศาสตร์ ได้แก่ บริเวณวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารมีวัตถุประสงค์เพื่อควบคุมประเภทกิจกรรมไม่ให้รบกวนต่อพื้นที่ประวัติศาสตร์และศาสนสถานที่สำคัญ ส่งเสริมให้พื้นที่ประวัติศาสตร์เกิดความสง่างามโดยการกำหนดมาตรการสำหรับสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ให้มีความกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมและศิลปกรรมท้องถิ่นและควบคุมความหนาแน่นของประชากรและสิ่งปลูกสร้างไม่ให้มีมากจนเกินไป
12. ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)- มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่สถาบันศาสนาตามการใช้ที่ดินในปัจจุบัน เช่น วัด มูลนิธิจิตเมตตาธรรม สำนักสงฆ์
13. ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)- มีวัตถุประสงค์เพื่อการใช้ประโยชน์ที่ดินเกี่ยวกับกิจกรรม ต่าง ๆ ของรัฐบาล เพื่อการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เช่น โรงพยาบาล สำนักงานเทศบาล ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

                   3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภท 
                   4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินในบริเวณแนวถนนสาย ก 1 ถนนสาย ก 2 ถนนสาย ก 3 ถนนสาย ก 4 ถนนสาย ก 5 ถนนสาย ก 6 ถนนสาย ก 7 ถนนสาย ข 1 ถนนสาย ข 2 ถนนสาย ค 1 และถนนสาย ค 2 ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย โดยให้ใช้ประโยชน์เพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้ 
                             4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ  
                             4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง 
                             4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
 
4. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก – ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก – ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. รับความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ที่ มท. เสนอ เป็นการกำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยเป็นผังพื้นที่เปิดใหม่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีนโยบายเพื่อส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก – ม่วงเจ็ดต้น ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง การค้าตามแนวชายแดน ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ รวมทั้งการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการกำหนดแผนผังและการใช้ประโยชน์ที่ดินภายในเขตผังเมืองรวมจำแนกออกเป็น 10 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทจะกำหนดลักษณะกิจการที่ให้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์ที่ดินแต่ละประเภทนั้น ๆ รวมทั้งกำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการในที่ดินแต่ละประเภท ตลอดจนกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังโครงการคมนาคมและขนส่ง ซึ่งกระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2562 และคณะกรรมการผังเมืองได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ
                   กำหนดให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ในท้องที่ตำบลม่วงเจ็ดต้น และตำบลบ้านโคก อำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและการดำรงรักษาเมืองและบริเวณที่เกี่ยวข้องหรือชนบท ในด้านการใช้ประโยชน์ในทรัพย์ การคมนาคมและการขนส่ง การสาธารณูปโภค บริการสาธารณะ และสภาพแวดล้อมให้สอดคล้องกับการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
                   1. กำหนดให้ผังเมืองรวมชุมชนบ้านโคก – ม่วงเจ็ดต้น จังหวัดอุตรดิตถ์ มีนโยบายและมาตรการเพื่อจัดระบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน โครงข่ายคมนาคมขนส่งและบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพ สามารถรองรับและสอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนในอนาคต รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้ 
                             1.1 ส่งเสริมและพัฒนาชุมชนบ้านโคก – ม่วงเจ็ดต้น ให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครอง และการค้าขายตามแนวชายแดนของอำเภอบ้านโคก จังหวัดอุตรดิตถ์
                             1.2 ส่งเสริมการพัฒนาด้านที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรมให้สอดคล้องกับการขยายตัวของชุมชนและระบบเศรษฐกิจ 
                             1.3 ส่งเสริมและพัฒนาการบริการทางสังคม การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการให้เพียงพอและได้มาตรฐาน 
                             1.4 อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  
                   2. กำหนดประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินออกเป็น 10 ประเภท ดังนี้

ประเภทและวัตถุประสงค์การใช้ประโยชน์
1) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง)
   - เป็นพื้นที่ชุมชนเดิมและพื้นที่รอบนอกชุมชนเมืองต่อจากพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง
   - มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยที่เบาบางและรองรับการขยายตัวของชุมชนสำหรับการอยู่อาศัยในอนาคต
- ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว ห้องแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม
- มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน เช่น คลังน้ำมันเพื่อการจำหน่าย สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์
- โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำขนมปัง การทำน้ำดื่ม โรงงานซ่อมรองเท้าหรือเครื่องหนัง
2) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม)
   - เป็นพื้นที่บริเวณล้อมรอบพื้นที่พาณิชยกรรมและ   ที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก
   - มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลางในการรองรับการอยู่อาศัยบริเวณที่ต่อเนื่องจากศูนย์กลางพาณิชยกรรม
- ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อก่อสร้างที่อยู่อาศัยได้ทุกประเภท เช่น บ้านเดี่ยว ห้องแถว หอพัก อาคารอยู่อาศัยรวม
- มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณที่พักอาศัยและชุมชน เช่น คลังน้ำมัน เพื่อการจำหน่าย สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์
- โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำน้ำแข็ง การทำน้ำดื่ม การบรรจุสินค้าทั่วไป
3) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง)
   - เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านพาณิชยกรรมของชุมชน
   - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์กลางพาณิชยกรรมหลักของชุมชน
- ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยหนาแน่นเพื่อรองรับกิจการ เช่น ตลาด ร้านค้า โรงแรม
- มีข้อจำกัดเรื่องขนาดของพื้นที่อาคารซึ่งต้องไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่พิเศษ และห้ามใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อบริเวณพาณิชยกรรมและชุมชน เช่น คลังน้ำมัน เพื่อการจำหน่าย สุสานและฌาปนสถาน โรงฆ่าสัตว์
- โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การทำน้ำแข็ง การทำน้ำดื่ม การซ่อมจักรยานยนต์
4) ที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว)
   - เป็นพื้นที่กันชนโดยรอบพื้นที่ชุมชนให้คงสภาพชนบทและประกอบอาชีพเกษตรกรรม
   - มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
- ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นพื้นที่เกษตรกรรม เช่น การทำไร่ ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์
- ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ การจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบอุตสาหกรรมการจัดสรรที่ดินเพื่อประกอบพาณิชยกรรม การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัยโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
- โรงงานที่กำหนดให้ดำเนินการได้ เช่น การอบพืชหรือเมล็ดพืช การสีข้าว การถนอมผัก พืช หรือผลไม้
5) ที่ดินประเภทปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร (สีเขียว              มีกรอบและเส้นทแยงสีน้ำตาล)
   - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
   - มีวัตถุประสงค์ให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อ                การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
- ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
6) ที่ดินประเภทที่โล่งเพื่อนันทนาการและการรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สีเขียวอ่อน)
   - เป็นพื้นที่โล่ง
   - มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ชุมชนมีสภาพแวดล้อมที่ดี มีอากาศบริสุทธิ์ มีที่พักผ่อน               หย่อนใจ เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์                       มีคุณภาพชีวิตที่ดี
 
- ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่สมบูรณ์ มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่น สนามกีฬา
- ที่ดินที่เอกชนเป็นเจ้าของหรือครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อนันทนาการ หรือเกี่ยวกับนันทนาการ การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม                  การอยู่อาศัย เกษตรกรรม หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
- ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่โล่ง ได้แก่ การจัดสรรที่ดินเพื่อการอยู่อาศัย การอยู่อาศัยประเภทห้องแถว ตึกแถว บ้านแถว
7) ที่ดินประเภทอนุรักษ์ป่าไม้ (สีเขียวอ่อนมีเส้นทแยงสีขาว)
   - เป็นพื้นที่ตามกฎหมายว่าด้วยการป่าไม้ ได้แก่              ป่าสงวนแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติ และพื้นที่ของเอกชนที่อยู่บริเวณดังกล่าว
   - กรณีที่ดินของป่าไม้มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการสงวนและคุ้มครองดูแลรักษาหรือบำรุง       ป่าไม้ สัตว์ป่า ต้นน้ำ ลำธาร และทรัพยากรธรรมชาติ                        อื่น ๆ ตามมติคณะรัฐมนตรีและกฎหมายเกี่ยวกับการป่าไม้ การสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าและการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
- ที่ดินซึ่งเอกชนเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย กำหนดให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเกษตรกรรม   การอยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวและบ้านแฝดที่มิใช่              การจัดสรร หรือสาธารณประโยชน์เท่านั้น
- ห้ามการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ ได้แก่ การกำจัดขยะมูลฝอย
8) ที่ดินประเภทสถาบันการศึกษา (สีเขียวมะกอก)
   - มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดพื้นที่ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อเป็นสถาบันการศึกษาในบริเวณที่เป็นโรงเรียนตามสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน
- การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน
9) ที่ดินประเภทสถาบันศาสนา (สีเทาอ่อน)
   - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการศาสนาหรือเกี่ยวข้องกับการศาสนาตามสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน
- การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่ วัด
10) ที่ดินประเภทสถาบันราชการ การสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ (สีน้ำเงิน)
   - มีวัตถุประสงค์ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อสถาบันราชการ การสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการสาธารณะของรัฐ
   - กำหนดไว้ในบริเวณที่มีหลักฐานตามกรรมสิทธิ์ที่ดินที่เป็นที่สาธารณะ ที่ราชพัสดุ และบริเวณพื้นที่ที่ใช้ประโยชน์เป็นสถานที่ราชการในปัจจุบัน
- การใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่ สถานบริการสาธารณสุข หมวดการทาง ที่ว่าการอำเภอ

                    3. กำหนดประเภทหรือชนิดของโรงงานที่ให้ดำเนินการได้ในที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นน้อย (สีเหลือง) ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นปานกลาง (สีส้ม) ที่ดินประเภทพาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัยหนาแน่นมาก (สีแดง) และที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม (สีเขียว) ตามบัญชีท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์การใช้ที่ดินแต่ละประเภท
                   4. กำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่ง โดยในบริเวณแนวถนนสาย ก ตามแผนผังแสดงโครงการคมนาคมและขนส่งท้ายประกาศนี้ ให้ใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจการตามที่กำหนด ดังต่อไปนี้
                             4.1 การสร้างถนนหรือเกี่ยวข้องกับถนน และสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ
                             4.2 การสร้างรั้วหรือกำแพง
                             4.3 เกษตรกรรมหรือเกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมที่มีความสูงของอาคารไม่เกิน 9 เมตร หรือไม่ใช่อาคารขนาดใหญ่
 
5. เรื่อง ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชน)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและเห็นชอบ ดังนี้
                   1. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   2. เห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอมอบหมายกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) ซึ่งรับผิดชอบการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนร่วมขับเคลื่อนและสร้างการรับรู้และความเข้าใจในมาตรการภาษี  เพื่อส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งร่วมติดตามและประเมินประโยชน์ที่จะได้รับจากมาตรการนี้ เพื่อการจัดทำรายงานเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้รับกับการสูญเสียรายได้ที่เกิดขึ้นจริง กับประมาณการตามมาตรา 27 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ดำเนินการต่อไป
                   ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                   1. กษ. ได้มีหนังสือขอความอนุเคราะห์ไปยังกรมสรรพากร กค. เพื่อขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับวิสาหกิจชุมชนต่อไป เนื่องจากมาตรการดังกล่าว จะสิ้นสุดการใช้บังคับในวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดยมาตรการนี้จะช่วยบรรเทาภาษีให้กับวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร อีกทั้งเป็นประโยชน์ต่อการประกอบกิจการของวิสาหกิจชุมชน
                   2. กค. พิจารณาแล้วเห็นว่าเพื่อส่งเสริมให้คณะบุคคลซึ่งมีความผูกพันและมีวิถีชีวิตร่วมกันสามารถรวมตัวกันประกอบกิจการให้มีรายได้และมีการพึ่งพาตนเอง อันจะทำให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน เห็นควรขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชน   ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนออกไปอีก 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 และจำเป็นจะต้องออกกฎกระทรวงในเรื่องนี้เป็นการเร่งด่วน
                   3. กค. ได้ดำเนินการจัดทำประมาณการการสูญเสียรายได้และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับตามมาตรา 27 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 โดยรายงานว่าการดำเนินการ ตามมาตรการทางภาษีดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้ภาครัฐสูญเสียรายได้เพิ่มเติม เนื่องจากปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนดังกล่าวได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้อยู่แล้ว แต่หากกำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จะทำให้ภาครัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นประมาณ 3 ล้านบาทต่อปี และมาตรการดังกล่าวมีประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ดังนี้
                             3.1 ทำให้วิสาหกิจชุมชนซึ่งเป็นเศรษฐกิจฐานรากของประเทศมีความเข้มแข็งและ มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งสามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในอนาคต
                             3.2 ส่งเสริมให้ชุมชนมีรายได้และมีการพึ่งพาตนเอง
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   กำหนดให้มีการขยายระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับวิสาหกิจชุมชนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน เฉพาะที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งมีเงินได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี เป็นเงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 3 ปี สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568
 
6. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทยพ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และธนาคารแห่งประเทศไทยไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ และให้ มท. และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรับความเห็นของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   ทั้งนี้ มท. เสนอว่า
                   1. มท. โดยกรมที่ดินได้พิจารณาเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดินในการให้สิทธิในการถือครองที่ดินแก่กลุ่มชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง ตามมติคณะรัฐมนตรี (14 กันยายน 2564 และ 24 มกราคม 2565) แล้ว เห็นว่า การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวโดยทั่วไปเป็นไปตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว พ.ศ. 2545 ซึ่งกำหนดให้คนต่างด้าวซึ่งประสงค์จะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ โดยไม่ต้องอาศัยบทสนธิสัญญา ซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ต้องนำเงินมาลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทหนึ่งประเภทใด ดังต่อไปนี้ จำนวนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องดำรงการลงทุนไว้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี
                             1.1 การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจหรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินหรือดอกเบี้ย
                             1.2 การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
                             1.3 การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
                             1.4 การลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
                   2. มท. เห็นว่า เพื่อให้เป็นไปตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย สมควรยกร่างกฎกระทรวงการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย พ.ศ. .... เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์เพิ่มเติมในการมีสิทธิขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยที่เปิดโอกาสให้เฉพาะกลุ่มชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 ประเภท ได้แก่ 1) กลุ่มประชาคมโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง 2) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ 3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และ 4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษเท่านั้น โดยเพิ่มเติมหลักการในส่วนประเภทการลงทุน และระยะเวลาการดำรงการลงทุนอันแตกต่างไปจากกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว พ.ศ. 2545 ที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบัน โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพิ่มเติม เช่น หลักเกณฑ์ของกลุ่มคนต่างด้าวที่มีสิทธิขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย วิธีการนำเงินมาลงทุนตามประเภทของธุรกิจ เงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงการลงทุน และระยะเวลาการบังคับใช้ของกฎกระทรวงฉบับนี้ ทั้งนี้ ยังคงเป็นไปตามกรอบของมาตรา 96 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งบัญญัติให้คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ไม่เกิน 1 ไร่ ต้องนำเงินมาลงทุนไม่น้อยกว่า 40 ล้านบาท ในประเภทของธุรกิจที่คนต่างด้าวลงทุนซึ่งต้องเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ หรือเป็นกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนได้ โดยมีระยะเวลาการดำรงการลงทุนต้องไม่น้อยกว่า 3 ปี และบริเวณที่ดินที่ได้มาต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา เขตเทศบาล หรืออยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง
                   นอกจากนี้ ร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว มีเจตนารมณ์เพื่อสนับสนุนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้มีการลงทุนที่หลากหลายขึ้น และมีมาตรการที่จะช่วยดึงดูดให้ชาวต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือภาคเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างรุนแรงอันเนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม และเป็นการดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 14 กันยายน 2564 และวันที่ 24 มกราคม 2565
                   สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                   กำหนดหลักเกณฑ์ของกลุ่มคนต่างด้าวที่มีสิทธิขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย โดยกำหนดวิธีการนำเงินมาลงทุนตามประเภทของธุรกิจหรือกิจการ กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับระยะเวลาการดำรงการลงทุน กำหนดจำนวนที่ดินที่จะขอได้มา กำหนดพื้นที่ที่ดินที่จะขอได้มา กำหนดขั้นตอนและวิธีการในการขออนุญาต และกำหนดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของกฎกระทรวงฉบับดังกล่าว สรุปได้ดังนี้

หัวข้อสาระสำคัญ
กำหนดประเภท
ของคนต่างด้าว
(ที่สามารถขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย)
- คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ ตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ลงวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 โดยไม่รวมผู้ติดตามของคนต่างด้าวดังกล่าว ได้แก่
          (1) กลุ่มประชากรโลกผู้มีความมั่งคั่งสูง
          (2) กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ
          (3) กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย
          (4) กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ
จำนวนเนื้อที่- ไม่เกิน 1 ไร่ ตามมาตรา 96 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
จำนวนเงินลงทุนและ
ระยะเวลาการดำรงทุน
- ต้องไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และดำรงทุนการลงทุนไว้ไม่น้อยกว่า 3 ปี นับแต่วันยื่นคำขอ (กฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2545 กำหนด 5 ปี)
- ให้นับมูลค่าการลงทุน ณ วันที่ยื่นคำขอ
หากถอนการลงทุนก่อนครบกำหนดระยะเวลาการดำรงทุน (ถอนก่อนครบกำหนด 3 ปี) สิทธิที่จะได้มาซึ่งที่ดินในส่วนที่ยังไม่ครบจำนวน (1 ไร่) เป็นอันระงับไป
ประเภทธุรกิจหรือกิจการ
ในการลงทุนและเงื่อนไข
- คนต่างด้าวต้องลงทุนในธุรกิจหรือกิจการประเภทหนึ่งประเภทใดหรือหลายประเภทรวมกัน ดังนี้
     1. การซื้อพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินหรือดอกเบี้ย
     2. การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินหรือกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (เพิ่มกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานจากกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2545)
     3. การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยทรัสต์เพื่อธุรกรรมในตลาดทุน (เพิ่มขึ้นใหม่จากกฎกระทรวงฯ พ.ศ. 2545)
     4. การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
     5. การลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับ การส่งเสริมการลงทุนได้ตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน
กรณีมีการจำหน่ายที่ดินกรณีมีการจำหน่ายที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนก่อนครบกำหนดจำนวน (1 ไร่) ให้นำจำนวนที่ดินในส่วนที่ได้จำหน่ายไปแล้วมารวมกับสิทธิที่จะได้มาซึ่งที่ดินตามกฎกระทรวงนี้ด้วย
กรณีที่ได้มาซึ่งที่ดินครบจำนวน 1 ไร่แล้ว ต่อมาได้จำหน่ายที่ดินทั้งหมดหรือบางส่วนไป สิทธิที่จะได้มาซึ่งที่ดินตามกฎกระทรวงนี้เป็นอันระงับไป
หนังสือรับรอง- การขอได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยต้องมีหนังสือรับรองประเภทธุรกิจหรือกิจการที่ได้มีการลงทุนจากหน่วยงาน ดังนี้
     1. การลงทุนพันธบัตรรัฐบาลไทย พันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย พันธบัตรรัฐวิสาหกิจ หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันต้นเงินหรือดอกเบี้ย ให้ธนาคารแห่งประเทศไทย กระทรวงการคลังหรือหน่วยงานผู้ออกพันธบัตร เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง
     2. การลงทุนในกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน กองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงิน หรือกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง
     3. การลงทุนในทุนเรือนหุ้นของนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนหรือการลงทุนในกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้ประกาศให้เป็นกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ ให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (สกท.) เป็นผู้ออกหนังสือรับรอง
การรวมสิทธิตาม
กฎกระทรวงฯ ปี 2545
ให้นำการลงทุนในธุรกิจหรือกิจการตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว พ.ศ. 2545 ในส่วนที่ยังไม่ได้ถอนการลงทุนมารวมกับเงินลงทุนตามกฎกระทรวงนี้ได้
กำหนดให้สิทธิในที่ดินที่ได้มาตามกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าว พ.ศ. 2545 และสิทธิที่จะได้มาตามกฎกระทรวงนี้ รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 1 ไร่ และกำหนดให้นำจำนวนที่ดินในส่วนที่ได้จำหน่ายไปแล้วมารวมด้วย
กำหนดเขตพื้นที่ต้องอยู่ภายในเขตกรุงเทพมหานคร เขตเมืองพัทยา หรือเขตเทศบาลหรืออยู่ภายในบริเวณที่กำหนดเป็นเขตที่อยู่อาศัยตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง และต้องอยู่นอกเขตปลอดภัยในราชการทหารตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
ขั้นตอน เงื่อนไข
และวิธีการขอ
- ให้ยื่นคำขอและเอกสารหลักฐานตามแบบแนบท้ายกฎกระทรวงฯ เมื่อเห็นว่าเป็นเอกสารที่ถูกต้อง ให้ส่งเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปยังอธิบดีกรมที่ดินเพื่อพิจารณาเสนอรัฐมนตรีต่อไป
ต้องใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับตนเอง โดยไม่ขัดต่อศีลธรรม จารีตประเพณี หรือวิถีชีวิตอันดีของชุมชนในท้องถิ่นนั้น
- ผู้ได้รับอนุญาตต้องแจ้งการใช้ที่ดินนั้นเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 60 วันนับแต่วันเริ่มใช้ที่ดินนั้น
- ผู้ได้รับอนุญาตถอนการลงทุนในธุรกิจหรือกิจการก่อนครบกำหนดเวลาการดำรงทุน ต้องแจ้งเป็นหนังสือให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ถอนการลงทุน
ระยะเวลาบังคับใช้5 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา

 
 

เศรษฐกิจ-สังคม

7.  เรื่อง การปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอการปรับขยายเพดานอัตราเงินเดือนขั้นสูงสุดของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ตามที่คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (ครรส.) และสำนักงาน ก.พ. ให้ความเห็นชอบแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ ดังนี้

ระดับตำแหน่งอัตรา (บาท)
อัตราเดิมอัตราใหม่ (ข้อเสนอในครั้งนี้)
16รองผู้อำนวยการ113,520142,830
15ผู้ช่วยอำนวยการ104,310133,770
14ผู้อำนวยการฝ่าย95,810124,770

 
8. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2565 เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม 2565 ดังนี้
                   1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 17/2565
                             1.1 อนุมัติให้โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ (รพ.มหาราชนครเชียงใหม่) คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเพิ่มศักยภาพการรักษาผู้ป่วยโคโรนา COVID-19 ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการเพิ่มศักยภาพฯ)1 โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดการดำเนินโครงการ จากเดือนตุลาคม 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 พร้อมทั้งมอบหมายให้ ม.เชียงใหม่ เร่งดำเนินโครงการและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ ม.เชียงใหม่ ไม่สามารถดำเนินโครงการเพิ่มศักยภาพฯ ให้แล้วเสร็จตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ให้ ม.เชียงใหม่ พิจารณาใช้แหล่งเงินอื่นใน                   การดำเนินการ                          
                             1.2 อนุมัติให้จังหวัดราชบุรีและจังหวัดเชียงใหม่เปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของโครงการและยกเลิกการดำเนินโครงการที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563)2
                             1.3 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 - 1.2 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563
                   2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 28/2565
                             2.1 อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โรคโควิด 19) และวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับเตรียมความพร้อมในการรับมือและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของหน่วยบริการสุขภาพ3 (โครงการจัดหายาฯ) โดยขยายระยะเวลาสิ้นสุดโครงการฯ จากเดิมเดือนกันยายน 2565 เป็นเดือนธันวาคม 2565 เพื่อให้สามารถจัดหายาต้านไวรัส Favipiravir และ Molnupiravir ในส่วนที่เหลืออีกประมาณ   16 ล้านเม็ด ให้ครบตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2565 ทั้งนี้ การจัดหายาต้านไวรัส Favipiravir และ Molnupiravir ในส่วนที่เหลือดังกล่าว กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องคำนึงถึงความสามารถในการบริหารระบบจัดการยาทั้งในส่วนของยาที่มีอยู่เดิมและที่จะจัดหาเพิ่มเติม เพื่อไม่ให้หมดอายุก่อนหรือเสื่อมสภาพก่อน ซึ่งจะช่วยให้การใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 รวมถึงงบประมาณของภาครัฐเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                             2.2 มอบหมายให้ สธ. เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับ การปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยายตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
________________________________
1 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
2 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
3 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
 
9. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย  (Thailand National Digital Trade Platform: NDTP)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ รายงานความก้าวหน้าการดำเนินการพัฒนาแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศของไทย (Thailand National Digital Trade Platform: NDTP)1 [คณะรัฐมนตรีมีมติ (10 กันยายน 2562) เห็นชอบในหลักการแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร. เสนอ และให้สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) และสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.) เป็นหน่วยงานหลักร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)2 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการออกแบบและพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ให้มีความสอดคล้องกับแพลตฟอร์มดิจิทัลกลางที่ สพร. กำหนดรวมทั้งสอดคล้องกับระบบบริการดิจิทัลอื่น ๆ เช่น ระบบ National Single Window (NSW)  ของกระทรวงการคลัง (กค.) (กรมศุลกากร) เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบและดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป] ทั้งนี้ ก.พ.ร.  ในการประชุมครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2565 มีมติรับทราบรายงานความก้าวหน้าฯ  และให้รายงานคณะรัฐมนตรี เพื่อเป็นข้อมูลนำเสนอในที่ประชุมเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2565
สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. การพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ของแพลตฟอร์ม NDTP3 ระบบแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศที่สมบูรณ์จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องรวมถึงเชื่อมต่อและรับส่งข้อมูลกับระบบสารสนเทศของหน่วยงานได้จำนวนมาก ดังนั้น การพัฒนาออกแบบระบบสารสนเทศจึงมีความสำคัญ โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างของระบบเพื่อรองรับความซับซ้อนที่จะเกิดขึ้น สรุปผลการดำเนินการได้ ดังนี้
                             1.1 การศึกษาและพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ของแพลตฟอร์ม NDTP สำนักงาน  ก.พ ร. ได้พัฒนาต้นแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อใช้เป็นระบบทดสอบความถูกต้องในการเชื่อมต่อรับส่งข้อมูลเมื่อระบบแพลตฟอร์ม NDTP เริ่มปฏิบัติการจริง ให้สามารถเป็นแพลตฟอร์มหลักในการขับเคลื่อนธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ ได้ทำการทดสอบเชื่อมต่อกับระบบ NSW และระบบการค้าดิจิทัลแพลตฟอร์มของต่างประเทศ Taobao  ซึ่งเป็นแอปพลิเคชันสำหรับขายสินค้า (Market Place Application) ของบริษัท Alibaba Group สาธารณรัฐประชาชนจีน และเป็น e-Commerce แบบ B2B4 ชั้นนำของโลก
                             1.2 การทดลองเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มการค้าของต่างประเทศ ปัจจุบัน กกร. อยู่ระหว่างการพัฒนาขีดความสามารถและสถาปัตยกรรมของระบบต่อยอดจากต้นแบบ (Prototype) ที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ศึกษาและออกแบบไว้ รวมทั้ง อยู่ระหว่างทดสอบการเชื่อมต่อการใช้งานกับแพลตฟอร์มการค้าระหว่างประเทศ  TradeWaltz5 ประเทศญี่ปุ่น และ The Networked Trade Platform (NTP) สาธารณรัฐสิงคโปร์6โดยการดำเนินการในระยะแรกได้กำหนดให้มีการทดสอบการรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ประกอบการค้าระหว่างประเทศบนแพลตฟอร์มตามมาตรฐานของ The United Nations Centre for Trade Facilitation and Electronic Business (UN/CEFACT)7 จำนวน 3 เอกสาร ได้แก่ (1) ใบสั่งซื้อสินค้า (2) ใบแจ้งหนี้ และ (3) ใบแสดงรายการบรรจุหีบห่อโดยแพลตฟอร์ม NDTP จะกำหนดให้ดำเนินการได้เฉพาะกรณีการชำระเงินระหว่างประเทศที่ผู้นำเข้าชำระเงินให้กับผู้ส่งออกหลังจากที่สินค้าถูกส่งมาถึงผู้นำเข้าเรียบร้อยแล้วเท่านั้น  ทั้งนี้ เป็นการให้บริการผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งผ่านแพลตฟอร์ม NDTP และเชื่อมโยงเอกสารไปยัง TradeWaltz  และ NTP ควบคู่กับการตรวจสอบป้องกันการใช้เอกสารซ้ำและเอกสารปลอมสำหรับ             ขอสินเชื่อกับธนาคารในประเทศไทยโดยผ่านระบบ Trade Document Registry (TDR) ด้วย ซึ่งหากเอกสารดังกล่าวมีมาตรฐานที่เป็นสากลและสามารถส่งต่อในระบบได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ภาคเอกชนสามารถลดค่าใช้จ่ายในการจัดเตรียมเอกสารและลดระยะเวลาในการดำเนินการด้านการนำเข้า-ส่งออกได้ รวมถึงหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องจะสามารถตรวจสอบเอกสารได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ อันจะทำให้สามารถตรวจสอบการดำเนินการด้านการนำเข้า-ส่งออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ คาดว่าจะเริ่มทดสอบระบบได้อย่างเต็มรูปแบบในเดือนกันยายน 25658 และในเดือนพฤศจิกายน 2565 กกร. จะนำเสนอในที่ประชุมเอเปคในหัวข้อ APEC Digital Trade Transformation Work Programme  โดยจะแสดงระบบทดสอบการรับส่งเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการค้าระหว่างประเทศให้กับประเทศคู่ค้าในเวทีการประชุมเอเปค ตลอดจนหารือถึงกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเชื่อมโยงระบบระหว่างประเทศ และผลักดันให้เกิดการขยายผลการพัฒนาที่เชื่อมโยงกันทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกต่อไป เพื่อให้ประเทศไทยสามารถเป็นผู้นำของภูมิภาคในการสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและของโลก
                   1.3 การสำรวจความคิดเห็นเพื่อศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขจูงใจตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้ผู้ประกอบการสนใจใช้บริการแพลตฟอร์ม NDTP เมื่อเปิดให้บริการ ประกอบด้วยปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่
 

ปัจจัยสาระสำคัญ
1. ด้านความต้องการเชิงระบบความง่ายในการใช้งานแพลตฟอร์ม การพัฒนาฟังก์ชันที่รองรับการให้บริการใหม่อยู่เสมอ รองรับการให้บริการที่หลากหลายภาษาสามารถให้ข้อมูลที่เป็นปัจจุบันในแต่ละอุตสาหกรรมได้ เชื่อมต่อกับผู้ประกอบการในต่างประเทศได้ ระบบสืบค้นข้อมูลที่มีประสิทธิภาพรองรับการให้บริการที่ครอบคลุมในทุกกิจกรรมทางการค้าโดยมีลักษณะเป็นการให้บริการแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จและเชื่อมต่อทั้งกับคู่ค้าในต่างประเทศและบริการจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
2. ด้านการเงินช่วยลดต้นทุนที่เป็นค่าใช้จ่ายหรือระยะเวลาการดำเนินงานขององค์กรลงได้กระบวนการทางภาษีเป็นไปด้วยความรวดเร็วมากขึ้น และ              การเรียกเก็บค่าบริการในอัตราที่เหมาะสม
3. ด้านความน่าเชื่อถือของแพลต        
ฟอร์มในการเก็บรักษาข้อมูลเอกสาร
การได้รับการรับรองมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัย หรือการกำกับดูแล
เทคโนโลยีดิจิทัลที่ดีตามมาตรฐานสากล และแพลตฟอร์มได้รับ                 การยอมรับจากผู้ใช้งานเป็นจำนวนมาก
4. ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องรัฐบาลช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายและการประชาสัมพันธ์ให้แพลตฟอร์ม
เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับ

 
                   2. การขับเคลื่อนการดำเนินการในรูปแบบการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership: PPP) ช่วยยกระดับการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการทุกขนาด ทุกประเภทธุรกิจ ให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลโดยสมบูรณ์โดยให้ภาคเอกชนที่มีความชำนาญในการบริหารจัดการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขนาดใหญ่เป็นกลไกหลักในการดำเนินงานเชิงรุกในด้านการให้บริการ มีหน้าที่หลักในการดูแลระบบและชักจูงให้ผู้ประกอบการเข้ามาใช้บริการแพลตฟอร์ม ในขณะที่ภาครัฐจะมีบทบาทเชิงสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบางส่วนเพื่อให้ค่าบริการอยู่ในระดับที่เหมาะสม โดยเฉพาะกับผู้ประกอบการขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs)            การสร้างแรงจูงใจแก่ผู้ประกอบการผ่านมาตรการต่าง ๆ ให้สิทธิประโยชน์และส่งเสริมด้านภาษี ตลอดจนมีบทบาทในการประสานงาน ผลักดันให้กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าระหว่างประเทศเป็นแบบไร้กระดาษ สร้างมาตรฐานของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์รองรับแพลตฟอร์ม NDTP และสนับสนุนการประสานงานเพื่อบูรณาการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นระหว่างแพลตฟอร์ม ซึ่งปัจจุบันโครงการแพลตฟอร์ม NDTP ได้ถูกบรรจุไว้ในแผนการจัดทำโครงการร่วมลงทุน พ.ศ. 2563-2570 ฉบับปรับปรุงด้วยแล้ว โดยมีสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ ทั้งนี้ คาดว่าจะเปิดให้บริการแพลตฟอร์ม NDTP ในรูปแบบ PPP ได้ภายในเดือนธันวาคม 2567 ระหว่างนี้การพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP จะได้มีการทดสอบระบบอย่างต่อเนื่อง โดยภาคเอกชนยินดีสนับสนุนข้อมูลและการดำเนินการอย่างเต็มที่
                   3. การดำเนินการในระยะต่อไป เช่น (1) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อสนับสนุน  การขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม NDTP (2) พิจารณาประเทศที่มีความพร้อมเพื่อขยายผลการดำเนินการแพลตฟอร์ม NDTP ในอนาคต ซึ่งปัจจุบัน กกร. ได้เริ่มเจรจากับสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐเยอรมนี สหราชอาณาจักร เครือรัฐออสเตรเลีย  และประเทศนิวซีแลนด์แล้ว (3) สร้างระบบนิเวศของแพลตฟอร์ม NDTP ให้สมบูรณ์ขึ้นพร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับระบบการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศในอนาคต และ (4) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงปัจจัยแห่งความสำเร็จ การส่งเสริมจากภาครัฐ รวมถึงปัญหา อุปสรรค และแนวทางการพัฒนาแพลตฟอร์มให้ยั่งยืน ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อยกระดับการให้บริการภาครัฐด้วยระบบดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง
                   4. การเตรียมความพร้อมของหน่วยงานในการขับเคลื่อนแพลตฟอร์ม NDTP เช่น

หน่วยงานบทบาทการเตรียมความพร้อม
สำนักงาน ก.พ.ร.เป็นหน่วยงานหลักในการเชื่อมโยงประสานการดำเนินการร่วมกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนและสนับสนุนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP ให้เกิดผลเชิงรูปธรรม
กกร.เป็นหน่วยงานหลักของภาคเอกชนร่วมกับสำนักงาน ก.พ.ร. ในการพัฒนา สนับสนุนการขับเคลื่อนการพัฒนาแพลตฟอร์ม NDTP รวมถึงการศึกษารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและรูปแบบการดำเนินธุรกิจ เพื่อให้เกิดผลเชิงรูปธรรมโดยเร็ว
สำนักงาน ป.ย.ป.ขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าดิจิทัลระหว่างประเทศให้เอื้อต่อการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ เพื่อสนับสนุนการให้บริการแพลตฟอร์ม NDTP
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาศึกษาและพิจารณาปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องบนหลักการพื้นฐานและหลักเกณฑ์ทางกฎหมายสากล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการค้าระหว่างประเทศและสนับสนุนการให้บริการแพลตฟอร์ม NDTP
กค.สนับสนุนนโยบายและแนวทางการพัฒนาระบบ NSW ให้เอื้อต่อการเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลกับแพลตฟอร์ม NDTP ตลอดจนให้การสนับสนุนนโยบายเพื่อจูงใจผู้ประกอบการใช้แพลตฟอร์ม NDTP

______________
1มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริการดิจิทัลสำหรับการค้าระหว่างประเทศ ในการอำนวยความสะดวกสำหรับการนำเข้าและส่งออกสินค้าให้แก่ภาคเอกชน เชื่อมโยงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาคการประกันภัย ภาคการเงินการธนาคาร  ภาคผู้ประกอบการ และภาคการขนส่งและโลจิสติกส์ ทั้งในและนอกประเทศในรูปแบบของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ที่มีความมั่นคงปลอดภัยสูง ช่วยลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการ และจากผลการศึกษาของ กกร. พบว่า การสร้างแพลตฟอร์มฯ  จะทำให้เกิดการแปลงเอกสารการค้าจากรูปแบบกระดาษเป็นดิจิทัลที่ส่งผลให้ลดค่าใช้จ่ายได้ถึงร้อยละ 60 ซึ่งประเทศไทยมีเอกสารด้านการส่งออกในแต่ละเดือนมากกว่า 10 ล้านฉบับ ทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายต่อเดือนไม่น้อยกว่า 1,000 ล้านบาท  นับเป็นการพัฒนาตามแนวนโยบายการยกระดับด้านดิจิทัลของภาครัฐเพื่อมุ่งการเป็น Thailand 4.0 หากประเทศไทยดำเนินการได้สำเร็จ จะเป็นประเทศอันดับ 3 ของเอเชีย ถัดจากประเทศญี่ปุ่นและสาธารณรัฐสิงคโปร์ และอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนที่นำระบบแพลตฟอร์มการค้าดิจิทัลมาใช้
2 กกร. ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ซึ่งเป็นสถาบันหลักภาคเอกชนในการส่งเสริมการค้า การอุตสาหกรรม และการเงินของประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายให้เป็นศูนย์รวมความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เป็นเอกภาพของภาคธุรกิจเอกชนเกี่ยวกับแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางการค้าและเศรษฐกิจ
3การพัฒนาต้นแบบ (Prototype) ของแพลตฟอร์ม NDTP มุ่งเน้นการให้บริการในเชิงพาณิชย์ที่ต้องคำนึงถึงการขยายขอบเขตการให้บริการเชิงปริมาณ เพื่อให้สามารถรองรับธุรกรรมจำนวนมากได้ ตลอดจนมาตรฐานด้านเอกสารที่ใช้ในการทำธุรกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละประเทศคู่ค้า
4 B2B หรือ Business to Business คือ การทำการค้าระหว่างธุรกิจทำกับธุรกิจด้วยกัน โดยมีจุดประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการทางธุรกิจทั้งด้านวัตถุดิบ การผลิตสินค้า หรือการบริการ เพื่อประโยชน์หรือการพัฒนาธุรกิจขององค์กร โดยไม่ใช่การนำไปเพื่ออุปโภคหรือบริโภคเอง
5TradeWaltz เป็นแพลตฟอร์มการแบ่งปันข้อมูลทางการค้าระหว่างประเทศ ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจในการเข้าถึงข้อมูลของบริษัทต่าง ๆ ที่เข้าร่วมระบบต่าง ๆ ทั้งประเภทสินค้า เส้นทางการจัดจำหน่าย และข้อมูลธุรกรรม การนำเข้า-ส่งออก รวมถึงเชื่อมโยงข้อมูลกับภาครัฐ ที่ทำให้ธุรกิจสามารถตัดสินใจและคันหาคู่ค้าที่มีศักยภาพสูงสุดได้ดีขึ้น
6NTP เป็นแพลตฟอร์มทางการค้าระหว่างประเทศที่ให้บริการแบบครบวงจรภายใต้การดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐหลายแห่งของสาธารณรัฐสิงคโปร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางการค้า การเงิน และห่วงโซ่อุปทานชั้นนำของโลก
7UN/CEFACT ทำหน้าที่เป็นจุดรวมคำแนะนำการอำนวยความสะดวกทางการค้าและมาตรฐานทางธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งครอบคลุมทั้งกระบวนการทางธุรกิจในเชิงพาณิชย์และของรัฐบาล
8จากการประสาน ก.พ.ร. แจ้งว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการทดสอบระบบได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากยังอยู่ระหว่าง กกร. พัฒนาขีดความสามารถของระบบ
 
10. เรื่อง  สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกันยายน 2565
                    คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนกันยายน 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญ

  1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนกันยายน 2565 ดังนี้

                       ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทยเดือนกันยายน 2565 เท่ากับ 107.70 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 101.21 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป อยู่ที่ร้อยละ 6.41 (YoY) ชะลอตัวลงจากเดือนสิงหาคม 2565 ที่สูงขึ้นร้อยละ 7.86 (YoY) ตามการชะลอตัวของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน เคหสถาน และเครื่องประกอบอาหาร ประกอบกับฐานดัชนีราคาฯ ที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อในเดือนเดียวกันของปีก่อนอยู่ระดับสูง อย่างไรก็ตาม ในเดือนนี้ราคาสินค้าและบริการโดยรวมยังคงสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา จากการทยอยปรับราคาเพิ่มตามต้นทุนในช่วงก่อนหน้า พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมขังและอุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ซึ่งมีส่วนทำให้เงินเฟ้อยังคงขยายตัว แต่ในอัตราที่ชะลอตัว ตามที่คาดการณ์ สำหรับปัจจัยที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อ   อยู่ที่ร้อยละ 6.41 (YoY) ได้แก่
                            สินค้าในกลุ่มพลังงาน ขยายตัวร้อยละ 16.10 (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง แม้ว่าราคาจะลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า แต่ราคายังคงสูงกว่าเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ค่ากระแสไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม การตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมชาย ยาสีฟัน แชมพู) ค่าโดยสารสาธารณะ การศึกษา ยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ (บุหรี่ เบียร์ สุรา) ยังสูงกว่าปีที่ผ่านมา จึงส่งผลให้สินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 4.10 (YoY) อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญหลายรายการที่ราคาลดลง อาทิ แป้งผัดหน้า น้ำยารีดผ้า ค่าส่งพัสดุ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ และเครื่องซักผ้า เป็นต้น
                       สินค้าในกลุ่มอาหารสด ขยายตัวร้อยละ 10.97 (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มเนื้อสัตว์ (เนื้อสุกร ไก่สด) ไข่ไก่ ผักสดและผลไม้ (พริกสด ผักคะน้า กะหล่ำปลี ส้มเขียวหวาน แตงโม มะม่วง) นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และเครื่องประกอบอาหาร ราคาเริ่มชะลอตัว แต่ยังคงสูงกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นการทยอยปรับราคาเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง ประกอบกับพื้นที่ผลิตสินค้าเกษตร ทั้งพืชผักและปศุสัตว์ประสบปัญหาจากฝนตกชุกและน้ำท่วมขัง ขณะที่อุปสงค์ในประเทศปรับตัวดีขึ้น จึงส่งผลให้สินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์สูงขึ้นร้อยละ 9.82 (YoY) อย่างไร               ก็ตาม สินค้าสำคัญหลายรายการ อาทิ ข้าวสารเหนียว มะพร้าวผล/ขูด มะขามเปียก กล้วยหอม และอาหารโทรสั่ง (Delivery) ราคาปรับลดลง
                       สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก อยู่ที่ร้อยละ 3.12 (YoY) ชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ที่สูงขึ้นร้อยละ 3.15 ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.22 (MoM) ตามราคาอาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ รวมทั้งการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอตัวของสินค้าในกลุ่มอาหารสด ขณะที่น้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภท (ยกเว้นก๊าซยานพาหนะ (LPG)) สินค้ากลุ่มอาหารบางรายการ (ไก่สด ข้าวสารเจ้า เครื่องประกอบอาหาร) และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด ราคาปรับลดลง และดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.17 (AoA)
                       ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนกันยายน 2565 สูงขึ้นร้อยละ 10.5 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งนับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะส่งผลให้ราคาขายปลีกสินค้าลดลง อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิต ทั้งราคาวัตถุดิบ พลังงาน และการขนส่งที่อยู่ในระดับสูง จากการทยอยปรับเพิ่มขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลให้ดัชนีราคาผู้ผลิตยังคงขยายตัวเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อยู่ในระดับที่ทรงตัวคือ สูงขึ้นร้อยละ 5.2 (YoY) เท่ากับเดือนที่ผ่านมา โดยยังคงสูงขึ้นในทุกหมวดสินค้า โดยเฉพาะสินค้าสำคัญ อาทิ เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ซีเมนต์ และผลิตภัณฑ์คอนกรีต ซึ่งเป็นผลจากราคาวัตถุดิบและต้นทุนที่สูงขึ้น
                       ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 46.4 จากระดับ 46.3 ในเดือนก่อนหน้า เป็นการปรับเพิ่มขึ้นของดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบัน ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับลดลงเล็กน้อย แต่ยังอยู่ในช่วงความเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 11 สาเหตุมาจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ดำเนินการได้เป็นปกติ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยวที่จะเริ่มฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงปลายปี ราคาน้ำมันที่ลดลง และมาตรการของภาครัฐที่ลดภาระค่าครองชีพ เพิ่มกำลังซื้อ และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน ส่งผลให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากความขัดแย้งระหว่างประเทศ ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลก และเงินบาทที่อ่อนค่าลง ยังคงเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศไทย
2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไปไตรมาสที่ 4 ปี 2565
                          สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อไตรมาสที่ 4 ปี 2565 มีแนวโน้มชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้า ตามต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ในประเทศ ที่เป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบและอาหารโลกที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับฐานราคาที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อน และมาตรการดูแลค่าครองชีพของภาครัฐที่อาจจะมีเพิ่มในช่วงที่เหลือของปี จะทำให้อัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง
                          อย่างไรก็ตาม อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ตามภาคการท่องเที่ยว การส่งออก และรายได้เกษตรกรที่อยู่ในระดับดี ฝนตกชุกน้ำท่วมขังพื้นที่เกษตร ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดน้อย และเป็นอุปสรรคต่อการขนส่ง รวมทั้งราคาพลังงานโลกที่ผันผวน และเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าสินค้าและวัตถุดิบเพิ่มขึ้น จะเป็นปัจจัยที่ทำให้การชะลอตัวของอัตราเงินเฟ้ออยู่ในกรอบที่จำกัด
                          ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ยังคงคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 5.5 - 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจและการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย
 
11. เรื่อง ร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมนโยบายรัฐวิสาหกิจในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ เสนอร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 - 2570 ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อกำหนดเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ (ปัจจุบันมีรัฐวิสาหกิจ จำนวน 52 แห่ง) ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 - 2580) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 -2580) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 และแผนพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ โดยให้กระทรวงเจ้าสังกัดของรัฐวิสาหกิจเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดกรอบนโยบายการพัฒนาและทิศทางการลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยร่างแผนพัฒนารัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2566 -2570 มีวิสัยทัศน์ คือ ยกระดับขีดความสามารถรัฐวิสาหกิจไทยมุ่งสู่เป้าหมายยุทธศาสตร์ชาติ และการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน รวมทั้งได้มีการกำหนดบทบาทของรัฐวิสาหกิจโดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การจัดตั้ง รวมถึงแนวทางการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจให้มีความสอดคล้องกับแผนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และกำหนดทิศทางหลักในการพัฒนารัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งให้เชื่อมโยงกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ทั้ง 13 หมุดหมาย โดยในแต่ละหมุดหมายจะมีการกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมาย/ตัวชี้วัด และรัฐวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งจะมีส่วนในการดำเนินการตามหมุดหมายที่แตกต่างกันตามบทบาทและภารกิจขององค์กร
 
12. เรื่อง สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) เสนอสรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชน ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2565) และแนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค เพื่อประสานส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนและการบริหารจัดการเรื่องร้องทุกข์ต่อไป [เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (29 พฤศจิกายน 2548) ที่รับทราบแนวทางการจัดระเบียบของระบบกระบวนการแก้ไขปัญหาตามข้อร้องเรียนของประชาชนและมอบหมายให้ทุกกระทรวงดำเนินการตามแนวทางดังกล่าว โดยให้ สปน. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการติดตามผลการดำเนินการและสรุปรายงานผลความคืบหน้าในการดำเนินการเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบทุก 3 เดือน] สาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                   1. สรุปผลการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นจากประชาชนในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (เดือนเมษายน-มิถุนายน 2565)
                       1.1 สถิติการแจ้งเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นของประชาชน ที่ยื่นเรื่องผ่านช่องทางการร้องทุกข์ 1111 รวมทั้งสิ้น 16,742 เรื่อง สามารถดำเนินการจนได้ข้อยุติ 13,891 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 82.97 และรอผลการพิจารณาของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2,851 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 17.03
                       1.2 หน่วยงานที่ได้รับการประสานงานเรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็นมากที่สุด 5 ลำดับแรก ดังนี้
                             (1) ส่วนราชการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ 1,255 เรื่อง กระทรวงการคลัง 538 เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข 484 เรื่อง กระทรวงมหาดไทย 443 เรื่อง และกระทรวงแรงงาน 391 เรื่อง
                             (2) รัฐวิสาหกิจ ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล 156 เรื่อง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 137 เรื่อง องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ 115 เรื่อง การประปาส่วนภูมิภาค 103 เรื่อง และการไฟฟ้านครหลวง 101 เรื่อง
                             (3) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 888 เรื่อง จังหวัดนนทบุรี 234 เรื่อง สมุทรปราการ 232 เรื่อง ปทุมธานี 207 เรื่อง และชลบุรี 172 เรื่อง
                   2. การประมวลผลและวิเคราะห์เรื่องร้องทุกข์และรับข้อคิดเห็น ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สรุปได้ ดังนี้
                       2.1 สถิติจำนวนเรื่องร้องทุกข์เปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณที่ผ่านมา โดยในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 มีเรื่องร้องทุกข์ 33,736 เรื่อง ซึ่งน้อยกว่าในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 7,866 เรื่อง (มีเรื่องราวร้องทุกข์ 41,602 เรื่อง)
                       2.2 ประเด็นเรื่องร้องทุกข์ที่ประชาชนยื่นเรื่องมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่
                             (1) เสียงรบกวน/สั่นสะเทือน เช่น ขอให้แก้ไขปัญหามลภาวะทางเสียงจากสถานบันเทิง สถานประกอบการ ร้านอาหาร บ้านเรือน และวัยรุ่นมั่วสุมรวมกลุ่มแข่งขันรถจักรยานยนต์ส่งเสียงดังรบกวน 1,336 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,277 เรื่อง (ร้อยละ 95.58)
                             (2) ไฟฟ้า เช่น ขอให้แก้ปัญหากระแสไฟฟ้าขัดข้อง และซ่อมแซมไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง หม้อแปลงไฟฟ้า สายไฟฟ้า และเสาไฟฟ้า รวมทั้งขอให้ขยายเขตการให้บริการไฟฟ้า 951 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 902 เรื่อง (ร้อยละ 94.85)
                             (3) โทรศัพท์ เช่น ขอให้ปรับปรุงระบบการให้บริการทางโทรศัพท์หมายเลขสายด่วน 1422 ของกรมควบคุมโรค หมายเลขสายด่วน 1506 ของสำนักงานประกันสังคม และหมายเลขโทรศัพท์พื้นฐานของหน่วยงานในส่วนภูมิภาค 710 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 617 เรื่อง (ร้อยละ 86.90)
                             (4) การรักษาพยาบาล เช่น ขอให้มีความเข้มงวดในการปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยเฉพาะระลอกของสายพันธุ์โอไมครอน BA.4 และ BA.5 และขอให้จัดสรรวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม รวมทั้งขอให้พิจารณาการอนุญาตให้ถอดหน้ากากอนามัยให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้วยความปลอดภัยและไม่กระทบต่อการใช้ชีวิตของประชาชน 692 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 614 เรื่อง (ร้อยละ 88.73)
                             (5) ประเด็นเกี่ยวกับทรัพย์สิน เช่น ขอให้แก้ไขปัญหากลุ่มมิจฉาชีพโทรศัพท์หลอกลวงประชาชน (แก๊งคอลเซ็นเตอร์) และขอให้แก้ไขปัญหากลุ่มมิจฉาชีพหลอกลวงประชาชนผ่านช่องทางออนไลน์ 516 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 386 เรื่อง (ร้อยละ 74.81)
                             (6) ถนน เช่น ขอให้ปรับปรุงซ่อมแซม/ก่อสร้างถนน พื้นผิวถนน สะพานกลับรถ บาทวิถี ตีเส้นแบ่งช่องการจราจร ขยายช่องทางจราจร ไฟฟ้าส่องสว่างริมทาง และติดตั้งป้ายสัญลักษณ์จราจร และขอให้ปรับปรุงถนนลูกรังเป็นถนนลาดยางแอสฟัลต์หรือถนนคอนกรีต 456 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 386 เรื่อง (ร้อยละ 84.65)
                             (7) น้ำประปา เช่น ขอให้แก้ไขปัญหาน้ำประปาไม่ไหล ไหลอ่อนและไม่มีคุณภาพ และขอให้ขยายเขตการให้บริการน้ำประปา 443 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 409 เรื่อง (ร้อยละ 92.33)
                             (8) การเมือง เช่น ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และการชุมนุมทางการเมือง และการบริหารงานของรัฐบาล 432 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 424 เรื่อง (ร้อยละ 98.15)
                             (9) หนี้สินในระบบ เช่น ขอให้ช่วยเหลือเจรจาไกล่เกลี่ยปัญหาหนี้สินกับสถาบันการเงิน และขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการออกมาตรการการปรับลดหนี้และพักชำระหนี้ 429 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 187 เรื่อง (ร้อยละ 43.59)
                             (10) ประเด็นเกี่ยวกับชีวิต ร่างกาย ชื่อเสียง และเสรีภาพ เช่น ขอความช่วยเหลือเกี่ยวกับการถูกข่มขู่คุกคามและทำร้ายร่างกาย และขอให้เร่งรัดการดำเนินคดีเกี่ยวกับการทำร้ายร่างกาย 348 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 294 เรื่อง (ร้อยละ 84.48)
                       2.3 รายงานสรุปการสอบถามข้อมูล แจ้งเหตุ ร้องขอความช่วยเหลือและเสนอข้อคิดเห็น ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในไตรมาสที่ 3 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน-30 มิถุนายน 2565) ซึ่งมีประเด็นที่ประชาชนสอบถามข้อมูลและเสนอข้อคิดเห็น 17,412 เรื่อง ซึ่งดำเนินการจนได้ข้อยุติทั้งหมด ส่วนใหญ่เกี่ยวกับแนวทางและข้อปฏิบัติในการป้องกันการติดเชื้อและมาตรการในการช่วยเหลือด้านต่าง ๆ และประเด็นที่ประชาชนขอความช่วยเหลือและแจ้งเหตุ 1,608 เรื่อง ดำเนินการจนได้ข้อยุติ 1,278 เรื่อง ส่วนใหญ่เกี่ยวกับการกำหนดแนวทาง มาตรการดูแล การเยียวยาให้ความช่วยเหลือ และมาตรการป้องกัน
                       2.4 การแจ้งเบาะแสการกระทำผิดกฎหมายและการร้องเรียนซึ่งเป็นเหตุให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผ่านสายด่วน 1111 (ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2564-30 มิถุนายน 2565) โดยมีประชาชนแจ้งเบาะแสการกระทำความผิดกรณีบ่อนการพนัน 1,380 เรื่อง ซึ่งดำเนินการจนได้ข้อยุติ 840 เรื่อง และ แจ้งเบาะแสการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และแจ้งเบาะแสแรงงานเข้าเมืองผิดกฎหมาย 712 เรื่อง ซึ่งดำเนินการจนได้ ข้อยุติ 528 เรื่อง
                   3. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการเรื่องร้องทุกข์
                       สปน. พบว่า (1) ประเด็นปัญหาเหตุเดือดร้อนรำคาญจากเสียงดังรบกวนดำเนินการแก้ไขได้ยาก เนื่องจากปัญหาดังกล่าวเกี่ยวข้องกับหลายหน่วยงานและกฎหมายหลายฉบับ รวมทั้งไม่มีหน่วยงานเจ้าภาพหลักในการแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม (2) สปน. ได้รับทราบข้อเสนอแนะของผู้รับบริการว่า ไม่ได้รับการชี้แจงหรือรายงานผลการดำเนินการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระยะเวลาอันสมควร จึงขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาและแจ้งให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่อง และ (3) ผู้ร้องใช้สิทธิโต้แย้ง จึงส่งคำร้องขอให้ช่วยเหลือในประเด็นเดิมหลายครั้ง และเมื่อหน่วยงานชี้แจงไม่เป็นไปตามประสงค์ของผู้ร้อง ผู้ร้องจะฟ้องเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไปยังหน่วยงาน
                   4. ข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาปรับปรุงการให้บริการ/การปฏิบัติงาน ดังนี้
                       4.1 ขอให้กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าภาพหลักกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาเสียงดังรบกวนในระดับพื้นที่ โดยอาจตั้งเป็นคณะทำงานหรือบูรณาการการแก้ไขปัญหาร่วมกับทุกภาคส่วน และในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้กรุงเทพมหานครเป็นผู้รับผิดชอบหลัก
                       4.2 ขอให้หน่วยงานกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จในการแก้ไขปัญหาและปฏิบัติตามกระบวนการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียน/ร้องทุกข์ให้เป็นไปตามมาตรฐานระยะเวลาการให้บริการอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ หากประเด็นปัญหาใดยังไม่สามารถแก้ไขได้แล้วเสร็จ ขอให้แจ้งให้ผู้ร้องทราบความคืบหน้าเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
                       4.3 ขอให้ใช้กลไกของคณะกรรมการการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการจัดการเรื่องราวร้องทุกข์ พ.ศ. 2552 เป็นผู้พิจารณากำหนดแนวทางปฏิบัติในการระงับ/รวมเรื่องร้องทุกข์ เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเรื่องร้องทุกข์มีความมั่นใจและลดความเครียดจากการปฏิบัติงานหรือ การถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
                  
13. เรื่อง  การดำเนินการตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ ดังนี้
                   1. อนุมัติแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ของการกู้ยืมเงิน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในวงเงินรวม 150,000 ล้านบาท
                   2. มอบให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงสามารถพิจารณาปรับแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ ตามความจำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ฐานะการเงินของกองทุน หรือสภาวะตลาดเงินในช่วงเวลานั้น ๆ โดยจะต้องสอดคล้องกับแผนการบริหารหนี้สาธารณะ 
                   ทั้งนี้ พน. เสนอว่า
                   1) ฐานะของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2565 มีสถานะติดลบ 125,690 ล้านบาท แต่ยังคงมีวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงจากสงครามระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ยังคงยืดเยื้ออันส่งผลกระทบที่อาจรุนแรงได้ ในช่วงดือนพฤศจิกายน 2565 - กุมภาพันธ์ 2566 ส่งผลให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงตลาดโลกยังคงอยู่ในระดับสูงและมีความผันผวน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภค ประกอบด้วย ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19) และปัญหาอุทกภัย ดังนั้น กองทุนจึงยังจำเป็นต้องดำเนินมาตรการรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ส่งผลให้กองทุนมีรายจ่ายสูงกว่ารายรับ โดย ณ วันที่ 20 ตุลาคม 2565  มีรายจ่ายสุทธิประมาณ 222 ล้านบาทต่อวัน หรือประมาณ 6,882 ล้านบาทต่อเดือน
                   2) แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 ได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 ซึ่งนับรวมการกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง วงเงิน 30,000 ล้านบาท และพระราชกำหนดผ่อนผันให้กระทรวงการคลังค้ำประกันการชำระหนี้ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 มีผลบังคับใช้แล้ว เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงต้องเสนอแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้ และแผนการชำระหนี้ของการกู้ยืมเงินโดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต่อคณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติ
                   สาระสำคัญ
                   เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน โดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จึงเสนอแผนการกู้เงิน แผนการใช้จ่ายเงินกู้และแผนการชำระหนี้ของการกู้ยืมเงินโดยสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในวงเงินรวม 150,000 ล้านบาท ที่คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในการประชุมครั้งที่ 145/2565 (ครั้งที่ 177) เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ได้เห็นชอบแล้ว ดังนี้
                   1. แผนการกู้เงิน
                   ส่วนที่ 1 การกู้ยืมในวงเงิน 30,000 ล้านบาท ตามแผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566 ทั้งนี้ การกู้ยืมเงินจะทยอยดำเนินการเป็น 2 ครั้ง ภายในวงเงินรวม 30,000 ล้านบาท
                   ส่วนที่ 2 วงเงินกู้ส่วนที่เหลืออีก 120,000 ล้านบาท ซึ่งทยอยดำเนินการ 6 ครั้ง (วงเงินที่ 3  ถึงวงเงินที่ 8) ภายในวงเงินรวม 120,000 ล้านบาท โดยจะดำเนินการกู้เงินได้เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแผนการบริหารหนี้สาธารณะเรียบร้อยแล้ว
                   ทั้งนี้ ให้สามารถปรับเปลี่ยนแผนดังกล่าวได้ตามความจำเป็น เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ฐานะการเงินของกองทุน หรือสภาวะตลาดเงินในช่วงเวลานั้น ๆ  โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมภายใต้กรอบวงเงินรวมไม่เกิน 150,000 ล้านบาท

  1. แผนการใช้จ่ายเงินกู้

                   ส่วนที่ 1 การกู้ยืมวงเงิน 30,000 ล้านบาท
                   ทยอยใช้จ่ายเงินกู้ (เบิกเงินกู้) ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2566
                   ส่วนที่ 2 การกู้ยืมวงเงิน 120,000 ล้านบาท
                   ทยอยใช้จ่ายเงินกู้ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2566 ทั้งนี้ อาจเป็นการกู้ยืมเงินหรือการออกตราสารหนี้ตามหลักเกณฑ์การกู้ยืมเงินของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

  1. แผนการชำระหนี้

                   การชำระหนี้การกู้ยืมเงิน 150,000 ล้านบาท ของสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีแหล่งชำระคืนจากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง จากการประมาณการกระแสเงินสด จะสามารถชำระหนี้ได้ครบถ้วนภายใน 7 ปี โดยทยอยชำระหนี้คืนได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 และชำระหนี้ครบถ้วนภายในเดือนตุลาคม 2572 ดังนี้
                   ส่วนที่ 1 การกู้ยืมวงเงิน 30,000 ล้านบาท
                   ทยอยชำระหนี้ได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 และชำระหนี้ครบถ้วนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2568
                   ส่วนที่ 2 การกู้ยืมวงเงิน 120,000 ล้านบาท
                   ทยอยชำระหนี้ได้ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2568 และชำระหนี้ครบถ้วนภายในเดือนตุลาคม 2572
 
14. เรื่อง  รายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ ดังนี้
                   สาระสำคัญ
                   สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อสรุปข้อมูลการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้ประสบอุทกภัย เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม 2565 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุม 109 ชั้น 1 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งสามารถสรุปผลความช่วยเหลือจากหน่วยงานหลัก ๆ ที่ให้ความช่วยเหลือประชาชน ดังนี้
                   1. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) และจังหวัด ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีอุทกภัย  ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 ไปแล้ว รวมทั้งสิ้นจำนวน 79,013,666.76 บาท แยกเป็น
                             1.1 วงเงินทดรองราชการในอำนาจอธิบดี ปภ. การสนับสนุนการดำเนินการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ของ ศูนย์ ปภ.เขต ในพื้นที่อุทกภัย เป็นเงิน 35,484,446.32 บาท
                             1.2 วงเงินเชิงป้องกันยับยั้ง จำนวน 8 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ตราด พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง บุรีรัมย์ นครนายก มหาสารคาม จำนวน 23,065.897.94 บาท เช่น ค่าแรงงาน  ค่าจ้างเหมา ค่าวัสดุอุปกรณ์เครื่องจักรกล ค่าจัดหาพลังงานเชื้อเพลิง เป็นต้น
                             1.3 วงเงินเชิงบรรเทาความเดือดร้อน จำนวน 12 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน กำแพงเพชร ชัยภูมิ เชียงราย จันทบุรี ฉะเชิงเทรา น่าน อุตรดิตถ์ ตราด พิษณุโลก แพร่ จำนวน  20,463,322.50 บาท เช่น ด้านดำรงชีพ ด้านการเกษตร ด้านบรรเทาสาธารณภัย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเครื่องจักรฯ ออกปฏิบัติงานต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย เช่น เครื่องสูบน้ำ รถปฏิบัติการบรรเทาอุทกภัย  เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ รวมทั้งประสานความร่วมมือกับหน่วยงานภาคเอกชน ในการขนส่งสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัย และสนับสนุนสิ่งของจำเป็นสำหรับการอุปโภค บริโภค
                   2. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ได้ให้ความช่วยเหลือประชาชนไปแล้ว จำนวน
180,957,682.94 บาท ซึ่งเป็นกรณีเกิดสาธารณภัยในพื้นที่ของ อปท. ไม่ว่าจะมีการประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินหรือไม่ก็ตาม โดย อปท. สามารถดำเนินการช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นได้ฉับพลันทันที เพื่อการดำรงชีพหรือบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าหรือระงับ
สาธารณภัย หรือเพื่อคุ้มครองชีวิตและทรัพย์สิน หรือป้องกันภยันตรายที่จะเกิดแก่ประชาชนได้ตามความจำเป็น ภายใต้ขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายโดยไม่ต้องเสนอคณะกรรมการพิจารณาให้ความช่วยเหลือประชาชนของ อปท. แยกเป็นด้านการดำรงชีพ ด้านสังคมสงเคราะห์ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข  ด้านการเกษตร ด้านบรรเทาสาธารณภัย และด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2563
                   อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีความจำเป็นเร่งด่วน ผู้บริหารท้องถิ่นสามารถให้ความช่วยเหลือประชาชนในด้านอื่น ๆ โดยใช้เงินสะสมของ อปท. เพื่อฟื้นฟูเยียวยาและบรรเทาผลกระทบของประชาชนตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับปลัดกระทรวงมหาดไทย และไม่ต้องเสนอคณะกรรมการช่วยเหลือประชาชนของ อปท. พิจารณาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายในการช่วยหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ของ อปท. ฉ.3 พ.ศ.2565 ทำให้การช่วยเหลือประชาชนมีความคล่องตัวและครอบคลุมมากขึ้น
                   3. สำนักงบประมาณได้ตั้งงบประมาณสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้
                             3.1 งบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 92,400 ล้านบาท
                             3.2 งบกลางรายการชดใช้เงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน จำนวน 2,000 ล้านบาท
                   โดยช่องทางการช่วยเหลือประชาชนที่รวดเร็ว คือ ผ่านการใช้จ่ายเงินชดใช้เงินทดรองราชการ ที่ครอบคลุมทั้งการให้เงินช่วยเหลือและการซ่อมแซมพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิม โดยหากวงเงินไม่เพียงพอสามารถขอเพิ่มกรอบวงเงินได้เป็นรายครั้งกับกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ หากงบกลาง รายการชดใช้เงินทดรองราชการฯ ไม่เพียงพอ สามารถขอรับโอนจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพิ่มเติม  โดยการขอรับการจัดสรรจะเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ซึ่งต้องเสนอนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการ

  1. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) มีแนวทางการช่วยเหลือ ฟื้นฟู และ

พัฒนาผู้ประสบสาธารณภัย ดังนี้
                             4.1 แนวทางการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย
                                      1) การเตรียมความพร้อม เฝ้าระวัง ติดตาม และเตรียมเผชิญเหตุโดยการร่วมประชุมกับกองบัญซาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ/จังหวัด มีศูนย์ช่วยเหลือสังคม “OSCC 1330” รับแจ้งเหตุความต้องการ ประสานการช่วยเหลือไปยังหน่วยงาน/ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
                                      2) การบรรเทาทุกข์ (ขณะเกิดภัย) ให้การสนับสนุนการจัดตั้งศูนย์อพยพจัดทีมนักสังคมสงเคราะห์ออกเยี่ยมบ้าน ให้คำปรึกษา บำบัดฟื้นฟูจิตใจ และมอบสิ่งของแจกจ่ายอาหาร
                                      3) การฟื้นฟูและพัฒนาผู้ประสบภัย (หลังเกิดภัย) จัดทีม One Homeออกเยี่ยมบ้านและสำรวจปัญหาความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย มอบเงินสงเคราะห์แก่กลุ่มเป้าหมายและวางแผนให้ความช่วยเหลือตามภารกิจ
                             4.2 การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย จำนวน 151 ราย ๆ ละ 3,000 บาท เป็นเงิน 453,000 บาท แยกเป็น
                                      1) เงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน จำนวน 16 คน รวมเป็นเงิน 48,000 บาท
                                      2) เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก จำนวน 1 คน เป็นเงิน 3,000 บาท
                                      3) เงินสงเคราะห์คนพิการ จำนวน 134 คน เป็นเงิน 402,000 บาท
                                      4) ปรับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยสำหรับคนพิการ/ผู้สูงอายุ หลังละไม่เกิน 40,000 บาท
ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือดังกล่าว อยู่ระหว่างการพิจารณาของ พม.
                   5. หน่วยงานอื่น ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ตามอำนาจหน้าที่ เช่น กรมสรรพากรมีมาตรการการลดหย่อนภาษี กรมสรรพสามิตช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบโดยการขยายเวลายื่นแบบภาษี กรมธนารักษ์ยกเว้นค่าเช่าสำหรับผู้เช่าที่ราชพัสดุเป็นเวลา 1 ปี และ  กรมชลประทานดำเนินการผลักดันน้ำจากพื้นที่ลุ่มต่ำออกไปสู่แม่น้ำสายหลักโดยเร็ว เป็นต้น นอกจากนี้ ในส่วนของการประชาสัมพันธ์การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย กรมประชาสัมพันธ์ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับพยากรณ์อากาศ สถานการณ์น้ำในพื้นที่ ความช่วยเหลือและการปฏิบัติงานของภาครัฐ  คำแนะนำ และช่องทางการติดต่อสำหรับประชาชนผู้ประสบอุทกภัยเพื่อสื่อสารให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับทราบอย่างต่อเนื่อง
                   6. จากสถานการณ์น้ำท่วมเกิดฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุโนรู ที่พัดเข้าไทยในช่วงปลายเดือนกันยายน 2565 ทำให้เกิดน้ำท่วมเป็นวงกว้างในหลายจังหวัดของภาคอีสาน โดยเฉพาะจังหวัดอุบลราชธานี ได้รับผลกระทบ 9 อำเภอ 35 ตำบล 260 หมู่บ้าน ได้รับความเสียหาย 9,569ครัวเรือน  โดยสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจพร้อมมอบสิ่งของบรรเทาทุกข์และน้ำดื่มให้แก่ผู้ประสบภัย ซึ่งสถานการณ์ปัจจุบันระดับน้ำลดลงแล้ว จากสถานการณ์ดังกล่าว สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้จัดทำข้อมูลการเยียวยาประชาชนผู้ได้รับความเดือดร้อน จากหน่วยงานหลักและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความช่วยเหลือ เช่น

หน่วยงานตัวอย่าง
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
เบิกจ่ายตามระเบียบกระทรวงการคลัง
ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562
- ค่าจัดการศพผู้เสียชีวิต รายละไม่เกิน 29,700 บาท
- กรณีบาดเจ็บสาหัสฯ ให้จ่ายเบื้องต้นรายละ 4,000 บาท
- ค่าวัสดุซ่อมแซมที่อยู่อาศัยประจำ เท่าที่จ่ายจริงหลังละ              49,500 บาท
- ด้านการเกษตร ช่วยเหลือแก่ผู้ประสบภัยพิบัติที่พืชตาย หรือเสียหายตามจำนวนพื้นที่ทำการเกษตรจริงที่ได้รับความเสียหาย ไม่เกินครัวเรือนละ 30 ไร่ โดยคิดจากต้นทุนการผลิตเฉลี่ย
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคง
ของมนุษย์ ตามระเบียบว่าด้วยการจ่ายเงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2547 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2564
- เงินอุดหนุนช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน
- เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก
- เงินสงเคราะห์เด็กในครอบครัว
- เงินสงเคราะห์คนพิการ
- เงินสงเคราะห์ครอบครัวผู้มีรายได้และผู้ไร้ที่พึ่ง
- เงินสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางสังคม
โดยอุดหนุน รายละ 3,000 บาท
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  
โดย การยางแห่งประเทศไทย
เงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวสวนยาง กรณีสวนยางประสบภัยรายละไม่เกิน 3,000 บาท
สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ผ่าน
กองทุนเงินช่วยเหลือผู้ประสบสาธารณภัย
สำนักนายกรัฐมนตรี
- ค่าจัดการศพ รายละ 50,000 บาท
- เงินทุนเลี้ยงชีพ แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิต ครอบครัวละ 30,000 บาท เงินทุนเลี้ยงชีพ แก่ครอบครัวผู้เสียชีวิตที่มีบุตรอายุไม่เกิน 25 ปีบริบูรณ์ อีกครอบครัวละ 50,000 บาท
- ค่าวัสดุในการก่อสร้าง/ซ่อมแชมบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง ไม่เกินหลังละ 220,000 - 230,000 บาท เสียหายมาก ไม่เกินหลังละ 70,000 บาท และเสียหายน้อยไม่เกินหลังละ 15,000 บาท
- ค่าเครื่องอุปโภค และเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นแก่ครอบครัว แก่ผู้ประสบภัยพิบัติเฉพาะบ้านเรือนที่เสียหายทั้งหลัง และเสียหายมากครัวเรือนละ 5,000 บาท
- จัดทำถุงยังชีพ ถุงละไม่เกิน 700  บาท

 
                   จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้น เห็นได้ว่าหน่วยงานต่าง ๆ ได้ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดแล้ว ซึ่งรัฐบาลอาจใช้ข้อมูลดังกล่าวประกอบในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในภาพรวมต่อไป
                   7. สำหรับการดำเนินการช่วยเหลือ ฟื้นฟู ผู้ประสบอุทกภัยในระยะต่อไป ปภ. จะได้มีการเร่งรัดจังหวัดให้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติให้ครอบคลุมในทุกมิติ ทุกด้าน และรวดเร็วโดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความช่วยเหลือ ด้านที่อยู่อาศัย และการช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรโดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดให้ความสำคัญในการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนให้ทราบถึงขั้นตอนการให้ความช่วยเหลือฯ หากจังหวัดได้สำรวจความเสียหายด้านใดเรียบร้อยแล้ว ให้เร่งดำเนินการประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ และจังหวัด โดยไม่ต้องรอการสำรวจความเสียหายให้เสร็จสิ้นครบทุกด้านเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติโดยเร็ว นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นอยู่ระหว่างการสำรวจความเสียหายเกี่ยวกับข้อมูลของถนน แหล่งกักเก็บน้ำและสิ่งสาธารณประโยชน์อื่น ๆ เพื่อเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณมาที่กระทรวงมหาดไทยต่อไป
 
15. เรื่อง แนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงบประมาณ ดังนี้
                   1. แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                   2. ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงบประมาณเสนอแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เพื่อให้หน่วยรับงบประมาณใช้เป็นแนวทางประกอบการวางแผนการดำเนินงานและกำหนดแผนการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับช่วงวาระการดำเนินงานของรัฐบาลชุดปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 และพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ตลอดจนมติคณะรัฐมนตรีและระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาระสำคัญและขั้นตอน ดังนี้
                   1. แนวทางการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                       1.1 ดำเนินการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน นโยบายสำคัญของรัฐบาล แผนปฏิบัติราชการของกระทรวง รวมทั้งการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณ โดยคำนึงถึงความจำเป็นและภารกิจของหน่วยรับงบประมาณ ความต้องการในพื้นที่ และแผนพัฒนาพื้นที่ตามความต้องการของประชาชนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความคุ้มค่าในการใช้จ่ายงบประมาณและผลสัมฤทธิ์ในการบริหารจัดการภาครัฐ และให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนหน่วยรับงบประมาณภายใต้หลักธรรมาภิบาล สุจริต โปร่งใส เป็นธรรม
                       1.2 ให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศในทุกมิติ โดยมุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และประสิทธิภาพของภาครัฐ เพื่อให้การขับเคลื่อนการขยายตัวทางเศรษฐกิจเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างเป็นรูปธรรมมีประสิทธิภาพ และยั่งยืน
                       1.3 ให้ความสำคัญกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการถ่ายโอนภารกิจ การจัดบริการสาธารณะ ลดความเหลื่อมล้ำ รวมทั้งการพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บรายได้ และประสิทธิผลการใช้จ่ายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
                       1.4 เพิ่มประสิทธิภาพการจัดทำงบประมาณให้ครอบคุลมทุกแหล่งเงิน โดยให้หน่วยรับงบประมาณพิจารณานำเงินนอกงบประมาณหรือเงินสะสมคงเหลือมาใช้ดำเนินภารกิจของหน่วยรับงบประมาณเป็นลำดับแรก ควบคู่ไปกับการพิจารณาทบทวนเพื่อชะลอ ปรับลด หรือยกเลิกการดำเนินโครงการที่มีความสำคัญในระดับต่ำ หรือหมดความจำเป็น พิจารณาถึงความพร้อมและขีดความสามารถในการใช้จ่ายงบประมาณ จากการนำความสำเร็จในการปฏิบัติงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และ พ.ศ. 2566 รวมทั้งข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มาประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้สอดคล้องกับศักยภาพการดำเนินงานของหน่วยรับงบประมาณ
                       1.5 ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 พระราชบัญญัติวิธีการงบประมาณ พ.ศ. 2561 กฎหมาย ระเบียบ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีอย่างครบถ้วน
                   2. ปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นการกำหนดแผนและขั้นตอนการปฏิบัติงานในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่บทบัญญัติของกฎหมายกำหนดไว้ โดยสรุปสาระและขั้นตอน/กิจกรรมที่สำคัญ ดังนี้
                       2.1 การทบทวนและวางแผนงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                             2.1.1 คณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางการจัดทำงบประมาณและปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันอังคารที่ 25 ตุลาคม 2565
                             2.1.2 หน่วยรับงบประมาณ จัดทำรายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณรายจ่ายและเงินนอกงบประมาณ รวมทั้งผลการปฏิบัติงานของปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ส่งสำนักงบประมาณ ระหว่างเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน 2565 และพิจารณาทบทวนและปรับปรุง เป้าหมาย ผลผลิต/โครงการ กิจกรรม ตัวชี้วัดผลสำเร็จ ผลสัมฤทธิ์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้จ่ายงบประมาณ ส่งสำนักงบประมาณระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - 20 มกราคม 2566
                             2.1.3 หน่วยรับงบประมาณ ปรับปรุงฐานข้อมูลประมาณการรายรับและรายจ่ายล่วงหน้าระยะปานกลาง และจัดทำรายละเอียดข้อเสนอเบื้องต้นงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายบุคลากร ค่าสาธารณูปโภค และค่าใช้จ่ายตามข้อผูกพัน ส่งสำนักงบประมาณระหว่างเดือนตุลาคม - 30 ธันวาคม 2565
                             2.1.4 รายการที่หน่วยรับงบประมาณขอรับการจัดสรรงบประมาณที่มีวงเงินตั้งแต่ 500 ล้านบาทขึ้นไป ให้ทำการประเมินความเสี่ยงการทุจริตตามแผนบริหารความเสี่ยงการทุจริตระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - 24 มกราคม 2566 ก่อนเสนอรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                             2.1.5 หน่วยรับงบประมาณที่ขอรับการจัดสรรงบประมาณ ที่มีรายการก่อหนี้ผูกผันข้ามปีงบประมาณวงเงินตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป ให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - 24 มกราคม 2566 พร้อมทั้งดำเนินการรับฟังความคิดเห็นประกอบการจัดทำคำของบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาในระดับพื้นที่และความต้องการของประชาชนก่อนเสนอรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มายังสำนักงบประมาณ
                             2.1.6 สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง ร่วมกับสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และสำนักงบประมาณ สร้างการรับรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ในระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - 24 มกราคม 2566
                             2.1.7 จังหวัด/กลุ่มจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 มิติพื้นที่ (Area) ให้เป็นไปตามความต้องการในพื้นที่ แผนพัฒนาพื้นที่ และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ระหว่างเดือนตุลาคม 2565 - มกราคม 2566
                             2.1.8 สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาและจัดทำข้อเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ และนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอเป้าหมายและยุทธศาสตร์การจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565
                             2.1.9 การจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                                     1) คณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการและมอบหมายผู้มีอำนาจกำกับแผนงานบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565
                                     2) คณะกรรมการจัดทำงบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พิจารณาและให้ความเห็นชอบขอบเขต เป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด และข้อเสนองบประมาณรายจ่ายบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายในวันที่ 27 มกราคม 2566
                             2.1.10 การจัดทำนโยบายงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                                     1) คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ จัดทำแผนการคลังระยะปานกลางแล้วเสร็จ ระหว่างวันที่ 1 - 27 ธันวาคม 2565
                                     2) นายกรัฐมนตรี มอบนโยบายการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างเดือนธันวาคม 2565 - มกราคม 2566
                                     3) กระทรวงการคลัง สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงบประมาณ ร่วมกันพิจารณาประมาณการรายได้ กำหนดนโยบายวงเงินงบประมาณรายจ่าย และโครงสร้างงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 28 ธันวาคม 2565 - 6 มกราคม 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบในวันอังคารที่ 10 มกราคม 2566
                       2.2 การจัดทำงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                             2.2.1 หน่วยรับงบประมาณ จัดทำรายละเอียดคำของบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 หลังจากที่นายกรัฐมนตรีมอบนโยบาย รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดคำขอที่สอดคล้องตามแนวทางการจัดทำงบประมาณ แผนพัฒนาในระดับพื้นที่ตามความต้องการของประชาชน และส่งสำนักงบประมาณผ่านระบบ e - Budgeting ภายในวันศุกร์ที่ 27 มกราคม 2566
                             2.2.2 สำนักงบประมาณ พิจารณาและจัดทำรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 30 มกราคม - 7 มีนาคม 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 พร้อมแนวทางการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันอังคารที่ 14 มีนาคม 2566
                             2.2.3 สำนักงบประมาณ พิจารณาการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 22 - 24 มีนาคม 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบการปรับปรุงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และมอบให้สำนักงบประมาณไปดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 77 วรรคสอง ในวันอังคารที่ 28 มีนาคม 2566
                             2.2.4 สำนักงบประมาณ ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นการจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม - 12 เมษายน 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี รับทราบผลการรับฟังความคิดเห็นฯ และพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อเสนอร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และให้สำนักงบประมาณจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบฯ ในวันอังคารที่ 25 เมษายน 2566
                             2.2.5 สำนักงบประมาณ ดำเนินการจัดพิมพ์ร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และเอกสารประกอบฯ ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 10 พฤษภาคม 2566 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และนำเสนอสภาผู้แทนราษฎร ในวันอังคารที่ 16 พฤษภาคม 2566
                      2.3 การอนุมัติงบประมาณ มีขั้นตอนและกิจกรรม ดังนี้
                             2.3.1 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 1 ในวันที่ 31 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2566
                             2.3.2 สภาผู้แทนราษฎร พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 วาระที่ 2 - 3 ในวันที่ 16 - 17 สิงหาคม 2566
                             2.3.3 วุฒิสภา พิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ในวันที่ 28 - 29 สิงหาคม 2566
                             2.3.4 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี นำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย ในวันที่ 5 กันยายน 2566 เพื่อประกาศบังคับใช้เป็นกฎหมายต่อไป
                   อนึ่ง เมื่ออายุของสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุด ตามนัยมาตรา 99 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 อันเป็นเหตุให้คณะรัฐมนตรีทั้งคณะพ้นจากตำแหน่งตามนัยมาตรา 167 (2) สำนักงบประมาณจะจัดทำข้อเสนอปฏิทินงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ต่อรัฐบาลชุดใหม่ต่อไป
 

ต่างประเทศ

 
16. เรื่อง ขอความเห็นชอบร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามบทที่ 14 ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลีและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบต่อ (1) ร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาทตามบทที่ 14 ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลีและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย (ความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี) (2) ร่างหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อผนวกจรรยาบรรณฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี
                   ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ขอให้ พณ. ดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอีก
                   2. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อผนวกจรรยาบรรณฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี
                   3. มอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) ออกหนังสือมอบอำนาจเต็ม (Full Powers) ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ลงนามในหนังสือแลกเปลี่ยนเพื่อผนวกจรรยาบรรณฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี
                   สาระสำคัญของเรื่อง
      1) ข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์เป็นการขอความเห็นชอบการดำเนินการเพื่อให้ร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาท (Code of Conduct: CoC) ตามบทที่ 14 (บทการระงับข้อพิพาท) ของความตกลงการค้าเสรีระหว่างรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐชิลีและรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย (ความตกลงการค้าเสรีไทย – ชิลี) มีผลใช้บังคับ ผ่านการจัดทำร่างหนังสือแลกเปลี่ยน (Exchange of Notes) เพื่อผนวกจรรยาบรรณฯ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี โดยร่างจรรยาบรรณดังกล่าวเป็นการกำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมที่ผู้พิจารณา (Panelists) ในคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitral Panels) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทตามความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี จะต้องประพฤติปฏิบัติในการทำหน้าที่ของตน เพื่อให้กระบวนการพิจารณาเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ยุติธรรม และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการระงับข้อพิพาทในการเป็นกลไกที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคู่ภาคีทั้งสองฝ่ายภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย – ชิลี ทั้งนี้ การระงับข้อพิพาทนี้เป็นการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐกับรัฐในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตามการตีความ หรือการใช้ความตกลงฯ รวมถึงกรณีที่มาตรการของภาคีไม่สอดคล้องกับพันธกรณีหรือภาคีไม่กระทำการตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงฯ เป็นทางเลือกนอกเหนือจากการระงับข้อพิพาทภายใต้ความตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) หรือความตกลงการค้าเสรีอื่นที่ไทยและชิลีเป็นภาคีไม่ใช่การระงับข้อพิพาทระหว่างนักลงทุนต่างชาติกับรัฐ
      2.) สาระสำคัญของร่างจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาท เป็นการกำหนดมาตรฐานและกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมที่ผู้พิจารณา (Panelists) ในคณะอนุญาโตตุลาการ (Arbitral Panels) ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อระงับข้อพิพาทตามบทที่ 14 ของความตกลงการค้าเสรีไทย – ชิลี จะต้องประพฤติปฏิบัติในการทำหน้าที่ของตน โดยมีเนื้อหาสรุปได้ ดังนี้
                             2.1 หลักการสำคัญ ได้แก่ การวางตนเป็นอิสระและเป็นกลาง การหลีกเลี่ยงการขัดกันของผลประโยชน์ และการรักษาความลับของข้อมูลที่ได้มาในระหว่างกระบวนการระงับข้อพิพาท โดยผู้พิจารณามีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลประโยชน์ ความสัมพันธ์หรือเรื่องอื่นที่อาจมีผลกระทบต่อความเป็นอิสระและความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่ หรือก่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่เหมาะสมในความบริสุทธิ์ยุติธรรมของกระบวนการระงับข้อพิพาท
                             2.2 ขอบเขตการใช้บังคับ นอกจากผู้พิจารณา (Panelists) แล้ว ครอบคลุมไปถึงผู้ที่ได้รับทาบทามเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้พิจารณา (Candidates) และบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องในกระบวนการระงับข้อพิพาท อาทิ ผู้ช่วยของผู้พิจารณา และบุคคลภายนอก (อาจเป็นบุคคลผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในข้อพิพาท) ที่ให้ข้อมูลแก่คณะอนุญาโตตุลาการ
                             2.3 การปฏิบัติหน้าที่ของผู้ที่ได้รับทาบทามเพื่อแต่งตั้งเป็นผู้พิจารณาและผู้พิจารณา โดยผู้พิจารณาต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มที่และรวดเร็วเพื่อให้ระงับข้อพิพาทได้อย่างฉับไว ไม่กีดกันการมีส่วนร่วมของผู้พิจารณาคนอื่น พิจารณาเฉพาะประเด็นที่ถูกยกในกระบวนพิจารณาและที่จำเป็นต่อการตัดสิน ไม่มอบหมายหน้าที่ในการตัดสินให้แก่บุคคลอื่น ไม่ติดต่อกับภาคีผู้พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดแต่เพียงฝ่ายเดียว เป็นต้น
      3.) การมีผลใช้บังคับ คู่ภาคีตกลงที่จะจัดทำหนังสือแลกเปลี่ยน (Exchange of Notes) เพื่อผนวกจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาท เข้าเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี ซึ่งจะประกอบเป็นความตกลงระหว่างรัฐบาลของทั้งสองประเทศ โดยจะมีผลใช้บังคับนับตั้งแต่วัน เดือน ปี ที่ปรากฎในหนังสือแลกเปลี่ยนที่ได้รับจากคู่ภาคี
      4.) การจัดทำจรรยาบรรณสำหรับกระบวนการระงับข้อพิพาทระหว่างคู่ภาคีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีไทย - ชิลี เป็นการเฉพาะ จะเป็นการกำหนดหลักความประพฤติและหน้าที่ให้บุคคลใดก็ตามที่เข้ามารับตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ในกระบวนการระงับข้อพิพาทต้องเคารพและถือปฏิบัติเป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะช่วยเป็นหลักประกันความเป็นอิสระและความเป็นกลาง ไม่ให้มีอิทธิพล หรืออำนาจใด ๆ มาแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับอรรถคดีโดยเฉพาะของผู้พิจารณา เพื่อให้กระบวนการพิจารณาเป็นไปด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นต่อกระบวนการระงับข้อพิพาทในการเป็นกลไกที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคู่ภาคีทั้งสองฝ่ายภายใต้ความตกลงฯ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
17. เรื่อง ขอความเห็นชอบต่อการรับรองร่างแนวทางอาเซียนว่าด้วยการให้คำปรึกษาและการตรวจหาเชื้อ เอชไอวีในสถานประกอบการ และร่างแผนงานคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียน พ.ศ. 2565 -2573
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแนวทางอาเซียนว่าด้วยการให้คำปรึกษาและการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ (ร่างแนวทางฯ) และร่างแผนงานคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียน พ.ศ. 2565 -2573  (ร่างแผนงานฯ) โดยหากมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนร่างเอกสารทั้งสองฉบับในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ และไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงแรงงาน (รง.) ดำเนินการได้ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าวด้วย รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานลงนามในหนังสือสำนักเลขาธิการอาเซียน เพื่อรับรองร่างเอกสารทั้งสองฉบับตามที่กระทรวงแรงงาน (รง.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   รง. รายงานว่า
                   กระทรวงกำลังคนแห่งสาธารณรัฐอินโดนีเซีย (ในฐานะประธานรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ปี 2564 – 2565) ได้นำร่างแนวทางฯ และร่างแผนงานฯ ให้ประเทศสมาชิกอาเซียนรับรองร่วมกันก่อนนำเสนอให้รัฐมนตรีแรงงานอาเซียนพิจารณารับรองร่างเอกสารดังกล่าวในการประชุมรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน ครั้งที่ 27 ระหว่างวันที่ 25 – 29 ตุลาคม 2565 ณ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. ร่างแนวทางฯ เป็นเอกสารแนวทางสำหรับการป้องกันและบริหารจัดการการติดเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ ซึ่งจะช่วยป้องกันและควบคุมการติดเชื้อเอชไอวีของภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งในประเทศและภูมิภาคให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันมากยิ่งขึ้นและส่งเสริมให้ประเทศสมาชิกอาเซียนยุติปัญหาโรคเอดส์ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 (พ.ศ. 2573) ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนและแผนการดำเนินงานของโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (Joint United Nations Programme on HIV/AIDS: UNAIDS) ค.ศ. 2021 – 2026 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ โดยร่างแนวทางฯ จะครอบคลุมการให้คำปรึกษาและการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการ เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนนำไปปรับใช้ร่วมกับนโยบายและกฎหมายของแต่ละประเทศ รวมทั้งเพื่อจัดให้มีแนวทางและกลไกการดำเนินงานแนะแนวสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อใช้อ้างอิงในการให้คำปรึกษาแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่าง ๆ ในวางแผนการตรวจหาเชื้อเอชไอวีในสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพและยั่งยืน
                   2. ร่างแผนงานฯ เป็นการกำหนดแนวทางการทำงานของคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียนในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ระหว่างปี 2565 – 2573 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานตรวจแรงงาน และใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพชีวิตแรงงานในภูมิภาคอาเซียนให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยร่างแผนงานฯ มีสาระสำคัญจำแนกเป็น 4 ประเด็น ดังนี้
                             1 ) การพัฒนาสมรรถนะหลักของพนักงานตรวจแรงงาน โดยศึกษาเปรียบเทียบสมรรถนะการตรวจแรงงานในประเทศสมาชิกอาเซียน
                             2 ) การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการตรวจแรงงานในภาคส่วนที่เข้าถึงยาก (เช่น การเกษตร ประมง เหมืองแร่ งานบ้าน) และระบบแบบส่งต่อเพื่อป้องกันการใช้แรงงานบังคับ และแรงงานเด็ก เช่น การประสานงานในการป้องกันและการสอบสวนการค้ามนุษย์สำหรับแรงงานบังคับ การประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการคุ้มครองแรงงานโยกย้ายถิ่นฐาน การพัฒนาขั้นตอนการตรวจแรงงานในภาคส่วนที่เข้าถึงยาก การตรวจแรงงานร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาแรงงานบังคับ และการค้ามนุษย์
เพื่อแสวงหาประโยชน์จากแรงงาน เป็นต้น
                             3) การเสริมสร้างความแข็งแกร่งการตรวจแรงงานนอกระบบและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SMEs) เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านเครือข่ายความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานของ SMEs มาตรฐานเครือข่ายความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานสำหรับแรงงานนอกระบบ การส่งเสริมแนวปฏิบัติการใช้แรงงานที่ดี (Good Labour Practices) สำหรับแรงงานนอกระบบ เป็นต้น
                             4) การเสริมสร้างความเข้มแข็งในการตรวจแรงงานของการทำงานอนาคตรวมถึงการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น การประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการเผชิญความท้าทายด้านสุขภาพอนามัยในการทำงานในอนาคต การพัฒนาแผนงานอาเซียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของสถานประกอบกิจการต่าง ๆ และเพิ่มขีดความสามารถด้านความปลอดภัยและสุขภาพอนามัยในการทำงานของภาคเอกชน การเชื่อมต่อระบบการจัดการคดีอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศสมาชิกอาเซียนเพื่อการแบ่งปันข้อมูล เป็นต้น
                             ทั้งนี้ แผนงานนี้จะได้รับการประเมินโดยคณะกรรมการตรวจแรงงานอาเซียนในปี 2568 และจะมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับการลำดับความสำคัญในปี 2569 - 2573 และข้อริเริ่มที่เกี่ยวข้องภายใต้แผนงานรัฐมนตรีแรงงานอาเซียน แผนงานคณะทำงานเจ้าหน้าที่อาวุโสแรงงานอาเซียน แผนงานเครือข่ายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยของอาเซียน และแผนงานคณะกรรมการอาเซียนว่าด้วยการปฏิบัติให้เป็นไปตามปฏิญญาอาเชียนว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของแรงงานต่างด้าว
 
18. เรื่อง  การรับรองเอกสารผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ (AMCA) ครั้งที่ 10 และการประชุมที่เกี่ยข้องกับประเทศคู่เจรจา หัวข้อ “การส่งเสริมบทบาทด้านวัฒนธรรมและศิลปะอาเซียนในยุคหลังการระบาดของโควิด-19 เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” ผ่านระบบการประชุมทางไกล
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 10 (Draft Joint Media Statement of the 10th AMCA) และร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Joint Ministerial Statement on Cultural Property Protection) รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะแห่งราชอาณาจักรไทย รับรองร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 10 (Draft Joint Media Statement of the 10th AMCA) และร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Joint Ministerial Statement on Cultural Property Protection) ทั้งนี้หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของเอกสารทั้งสองฉบับข้างต้นที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ก่อนจะมีการรับรองหรือเห็นชอบเอกสารดังกล่าวให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการไโดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
          สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมจะปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมAMCA ครั้งที่ 10 ในวันที่ 27 ตุลาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยจะมีวาระการพิจารณาและรับรองเอกสารผลการประชุม จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ (1) ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 10 (Draft Joint Media Statement of the 10th AMCA) และ (2) ร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Joint Ministerial Statement on Cultural Property Protection)
                   2. ร่างถ้อยแถลงร่วมการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 10 (Draft Joint Media Statement of the 10th AMCA) เสนอโดย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว  มีสาระสำคัญในการแถลงผลการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะ ครั้งที่ 10 โดยระบุถึง (1) การส่งเสริมบทบาทของวัฒนธรรมและศิลปะอาเซียนในภาวะหลังการระบาดของโควิด-19 (2) การส่งต่อการเป็นเมืองแห่งวัฒนธรรมอาเซียนจากเมืองเสียมราฐแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาไปยังนครหลวงเวียงจันทน์แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (3) ความตั้งใจในการขับเคลื่อนปฏิญญาเสียมราฐว่าด้วยการส่งเสริมประชาคมอาเซียนที่สร้างสรรค์และมีการปรับตัวเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจเชิงวัฒนธรรมและเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งรัฐมนตรีอาเซียนที่กำกับดูแลงานด้านวัฒนธรรมและศิลปะได้รับรองแบบเวียนไปแล้วเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 (4) ร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม ซึ่งจะมีการรับรองในการประชุมครั้งนี้ (5) ความคืบหน้าในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชีรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมอาเซียน (6) แผนยุทธศาสตร์ด้านวัฒนธรรมและศิลปะของอาเซียน (พ.ศ. 2559 - 2568) และ (7) การดำเนินงานความร่วมมือกับประเทศคู่เจรจา (สาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี)
                   3. ร่างถ้อยแถลงร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการคุ้มครองทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Joint Ministerial Statement on Cultural Property Protection) เสนอโดย ราชอาณาจักรกัมพูชา ระบุถึงความมุ่งมั่นในการคุ้มครองมรดกร่วมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การป้องกันการค้าทรัพย์สินทางวัฒนธรรโดยมิชอบด้วยกฎหมายและการสร้างตลาดศิลปะที่มีความรับผิดชอบ ผ่านการพัฒนายุทธศาสตร์ระดับภูมิภาคระยะยาว การสานต่อการคุ้มครองและส่งสริมอัตลัษณ์อาเซียน และอนุรักษ์ทรัพย์สินทางวัฒนธรรมอาเซียน สนับสนุนประเทศสมาชิกอาเซียนในการให้สัตยาบันและดำเนินการตามข้อตกลงระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศซึ่งสอดคล้องกับกฎหมายและข้อบังคับของแต่ละประเทศ เสริมสร้างการทำงานข้ามสาขาและการแบ่งปันข้อมูลในระหว่างกันในระดับต่าง ๆ พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกลไกการทำงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสนับสนุนการจัดการประชุมในเรื่องดังกล่าวเป็นประจำทุกปี เพื่อสร้างโอกาสในการปรับปรุงแผนการทำงาน รายงานความคืบหน้า ตลอดจนแสวงหาพันธมิตรในการทำงานเพิ่มเติม
                   สำหรับการประชุม AMCA เป็นการประชุมระดับรัฐมนตรีวัฒนธรรมอาเซียน จัดขึ้นทุก 2 ปี โดยประเทศสมาชิกอาเซียนหมุนเวียนเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมตามลำดับตัวอักษรชื่อประเทศในภาษาอังกฤษ หรือประธาน AMCA ขอจัดประชุมเป็นกรณีพิเศษหากมีเรื่องเร่งด่วนที่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งในปีนี้สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวดำรงตำแหน่งประธาน AMCA จึงมีพันธะในการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมดังกล่าว
                   ทั้งนี้ การประชุม AMCA ครั้งที่ 10 ในส่วนของการประชุมระดับรัฐมนตรี ประกอบด้วยการประชุม ดังนี้ (1) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียน (AMCA) ครั้งที่ 10 (2) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและประเทศคู่เจรจา+3 (AMCA+3) ครั้งที่ 10 (3) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและสาธารณรัฐประขาชนจีน (AMCA+China) ครั้งที่ 6 (4) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและญี่ปุ่น (AMCA+Japan) ครั้งที่ 5 (5) การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนและสาธารณรัฐเกาหลี (AMCA+ROK) ครั้งที่ 5
                   โดยจะมีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านวัฒนธรรมและศิลปะ Senior Officials Meeting for Culture and Arts-SOMCA) ครั้งที่ 18 และการประชุมที่เกี่ยวข้องกับประเทศคู่เจรจา เพื่อเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรีข้างต้น ในวันที่ 25 ตุลาคม 2565
 
19.  เรื่อง การเป็นเจ้าภาพการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างปี พ.ศ. 2567 – 2568 และการรับรองปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน
                   คณะรัฐมนตรีมีติมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบให้ประเทศไทยโดยกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 13 และการประชุมที่เกี่ยวข้องระหว่างปี 2567 – 2568 (การประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนฯ)
                   2. เห็นชอบร่างปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลของระบบการศึกษาในอาเซียน (Declaration on the Digital Transformation of Education Systems In ASEAN) (ร่างปฏิญญาอาเซียนฯ) และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างปฏิญญาอาเซียนฯ ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญ หรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้ ศธ. สามารถดำเนินการได้โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง
                   3. อนุมติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ในฐานะประธานคณะมนตรีประชาสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน [ASEAN Socio - Cultural Community Council (ASCC)] หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนฯ ในการประชุมคณะมนตรี ASCC ในเดือนตุลาคม 2565
                   4. อนุมัติให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรอง (adoption) ร่างปฏิญญาอาเซียนฯ
ร่วมกับผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565
                   เรื่องเดิม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติ (11 ตุลาคม 2565) เห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วม 3 ฉบับ ได้แก่ 1) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 (รวมถึงที่ประชุมได้รับทราบเกี่ยวกับการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนฯ ในปี พ.ศ. 2567 ภายใต้ตำแหน่งประธานของไทย) 2) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนบวกสาม ครั้งที่ 6 และ 3) ร่างแถลงการณ์ร่วมการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา ครั้งที่ 6 และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการหรือผู้แทนให้ความเห็นชอบและรับรองร่างแถลงการณ์ร่วมทั้ง 3 ฉบับข้างต้น เพื่อใช้เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 11 - 14 ตุลาคม 2565 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (ประเทศเวียดนาม) โดยมีกระทรวงศึกษาธิการและการฝึกอบรมประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ตามที่ ศธ. เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ศธ. รายงานว่า
                   1. ในการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง มีวาระที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินความร่วมมือด้านการศึกษาในกรอบอาเซียน อาเซียนบวกสามและสุดยอดเอเชียตะวันออกด้านการศึกษา โดยมีประเด็นสำคัญที่ประเทศไทยจะต้องพิจารณาและให้การรับรอง/เห็นชอบ ดังนี้
                             1.1 การเป็นเจ้าภาพและประธานการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเซียนฯ ในเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเชียนจะจัดขึ้นทุก ๆ 2 ปี โดยประเทศเจ้าภาพจะเวียนตามลำดับตัวอักษร [ประเทศเวียดนามเป็นเจ้าภาพในปี 2565 และสาธารณรัฐสิงคโปร์ (ประเทศสิงคโปร์) จะเป็นเจ้าภาพในปี 2569 สืบเนื่องจากประเทศสิงคโปร์และประเทศเวียดนามได้ขอสลับการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาอาเชียน]
                             1.2 การรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนฯ กระทรวงการศึกษาและฝึกอบรมสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม สำนักเลขาธิการอาเซียน และองค์การยูนิเซฟ ร่วมกันจัดประชุม UNICEF - ASEAN Conference on Digital Transformation of the Education System throughout ASEAN เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2563 โดยมีผลลัพธ์ของการประชุมดังกล่าว คือ แถลงการณ์ร่วม Joint Statement Conference on Digital Transformation of the Education System throughout ASEAN ซึ่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาการเข้าถึงการเรียนรู้ดิจิทัลที่ปลอดภัย โอกาส ทักษะ ความสามารถทางดิจิทัล และพัฒนาทักษะที่สามารถถ่ายทอดและต่อยอดได้ ในประเทศสมาชิกอาเซียน ต่อมากระทรวงศึกษาธิการ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ในฐานะประธานการประชุมรัฐมนตรีด้านการศึกษาของอาเซียนในปี 2564 ได้เสนอเป็นหน่วยงานหลักในการยกร่างปฏิญญาอาเซียนฯ โดยยึดใจความสำคัญจากแถลงการณ์ร่วมข้างต้น และได้มีการปรับแก้จากประเทศสมาชิกอาเชียนรวมถึงประเทศไทยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในการประชุมรัฐนตรีด้านการศึกษาอาเซียน ครั้งที่ 12 ในวันที่ 13 ตุลาคม 2565 ประธานการประชุมรัฐมนตรีศึกษาอาเซียน (ประเทศเวียดนาม) ได้เสนอให้ที่ประชุมพิจารณาและรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนฯ (ในครั้งนี้ ศธ. เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาอาเซียนฯ ก่อนมีหนังสือแจ้งการรับรองอย่างเป็นทางการถึงสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไป) และหลังจากร่างปฏิญญาอาเซียนฯ ได้ผ่านการรับรองจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศสมาชิกอาเซียนแล้ว ร่างปฏิญญาอาเซียนฯ จะนำเข้าสู่การรับรองของที่ประชุมคณะมนตรีการรับรองเอกสารระดับคณะมนตรี ASCC ในเดือนตุลาคม 2565 ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในฐานะประธานคณะมนตรี ASCC หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจะต้องรับรองร่างปฏิญญาอาเซียนฉบับนี้ก่อนที่จะเสนอต่อผู้นำอาเซียนในที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41 ในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2565 พิจารณาและร่วมรับรองต่อไป
                   2. ร่างปฏิญญาอาเซียนฯ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             1) การให้ความสำคัญ ยืนยัน ยอมรับ และระลึกถึง ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนปี 2568 คือ ชุมชนที่มีความยืดหยุ่นพร้อมศักยภาพที่เพิ่มขึ้น ความสามารถในการปรับตัวและตอบสนองต่อความเปราะบางทางสังคม เศรษฐกิจ ภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนภัยคุกคามและความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ (2) ระดับความแตกต่างของการศึกษาที่เปลี่ยนผ่านไปสู่รูปแบบดิจิทัลในประเทศสมาชิกอาเซียน และการจัดการกับความท้าทายในด้านความเหลือมล้ำทางดิจิทัล (3) เทคโนโลยีดิจิทัลช่วยเพิ่มศักยภาพในการเข้าถึงและการมีส่วนร่วมทางการศึกษาในทุกระดับ โดยเฉพาะการเพิ่มโอกาสให้กับประชากรชายขอบ และเด็กและเยาวชนตกหล่น รวมทั้งช่วยสนับสนุนการเรียนการสอนและพัฒนาการบริหารจัดการข้อมูลด้านการศึกษา (4) องค์ประกอบหลักของระบบการศึกษา ได้แก่ หลักสูตร การประเมิน ทรัพยากรการเรียนรู้ ทักษะของครู และการจัดการข้อมูล รวมไปถึงโครงสร้างพื้นฐาน
                             2) สิ่งที่ตกลงจะดำเนินการร่วมกัน ได้แก่ (1) ใช้หลักการจัดการเรียนรู้ทางดิจิทัลที่เหมาะสมและมีการประเมินผลตลอดทาง เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนโดยไม่เพิ่มภาระให้กับครู สนับสนุนการพัฒนาทักษะชีวิต การทำงาน และการพัฒนาอย่างยั่งยืน (2) ผู้ฝึกอบรมและนักการศึกษา (ผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารการศึกษา) ทุกคน ต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึง (3) พัฒนาและส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพ (4) พัฒนาและแบ่งปันพื้นที่เก็บข้อมูลทรัพยากรการเรียน การวางแผนการเรียนการสอน การประเมินผล กิจกรรมในชั้นเรียน (5) ใช้หลักการสอนและการประเมินผลแบบดิจิทัลในการเรียนการสอน (6) พัฒนานโยบาย แผนยุทธศาสตร์ และส่งเสริมการวางแผนระดมทุนระยะยาวในโรงเรียนทุกระดับ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลทางการศึกษา โดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มชายขอบ (7) พัฒนาและรับรองนโยบายให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างระบบบริหารจัดการข้อมูลทั่วประเทศ (การศึกษา สาธารณสุข และสวัสดิการสังคม) และในระดับอาเซียน (8) ศึกษาระบบนิเวศที่เอื้อต่อความร่วมมือที่ยั่งยืนของการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลด้านการศึกษาระหว่างกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงที่รับผิดชอบด้านการศึกษา การคลัง เทคโนโลยีสารสนเทศ และโครงสร้างพื้นฐาน (9) พัฒนานโยบายที่คุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูล วิธีการรวบรวมข้อมูล บันทึกและเข้ารหัสเพื่อคุ้มครองข้อมูล การใช้ข้อมูลการศึกษาที่โปร่งใสทั้งในระดับโรงเรียนและระดับบริหาร และทรัพย์สินทางปัญญาของทรัพยากรการเรียนรู้ รวมทั้งเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ในการใช้งานอย่างปลอดภัย (10) ลดการเกิดสภาพแวดล้อมเชิงลบที่ส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงดิจิทัลด้านการศึกษา และค้นหาความเสี่ยงที่จะเกิดต่อเด็ก (11) ส่งเสริมกลไกและนวัตกรรมใหม่ (12) ขยายโครงสร้างพื้นฐานทางอิเล็กทรอนิกส์และอินเทอร์เน็ตผ่านโครงการความร่วมมือกับกระทรวงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และสนับสนุนหุ้นส่วนภาคประชาสังคม (13) จัดให้มีการเรียนรู้ดิจิทัลแบบออฟไลน์ (ออนไซต์) ในโรงเรียนที่ยังไม่ได้มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต (14) พิจารณาและวางแผนงบประมาณและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีและสารสนเทศด้านการศึกษาให้มีความโปร่งใส เหมาะสม และตรวจสอบได้                (15) ปรับปรุงระบบการติดตามและประเมินผลของสารสนเทศภายใต้การดำเนินงานด้านการศึกษา การสื่อสารและการสร้างความตระหนักรู้ เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัลของสังคมครอบครัวและเยาวชน
                   3. ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ ร่างปฏิญญาอาเซียนฯ ให้ความสำคัญทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน กรอบกฎหมาย กฎระเบียบ รวมถึงเครื่องมือ แพลตฟอร์มสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีทางการศึกษาเพื่อรองรับการปรับเปลี่ยนไปสู่ดิจิทัล ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อครูผู้ฝึกอบรม นักการศึกษา นักเรียนและประชาชนไทยที่จะได้รับโอกาสในการพัฒนาด้านวิชาการ ทักษะความเข้าใจและการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล การเข้าถึงการศึกษาอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยี ตลอดจนพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทยให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21
 
20. เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2565 ณ กรุงเทพมหานคร และประชุมผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมฯ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเป็นประธาน [คณะรัฐมนตรีมีมติ (16 สิงหาคม 2565) เห็นชอบในหลักการต่อร่างเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม :  การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน (2) คู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยว ฉบับปรับปรุง  (3) แถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 และ (4) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมรับรองเอกสารผลลัพธ์ฯ (1)-(3) และออกประกาศแถลงการณ์ประธานฯ (เฉพาะกรณีเขตเศรษฐกิจไม่สามารถมีฉันทามติให้ออกแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 ได้)] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
 
                   1. ผลการประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 สรุปได้ ดังนี้
                             1.1 ที่ประชุมฯ แสดงเจตนารมณ์ที่จะร่วมมือกันฟื้นฟูและส่งเสริมการพัฒนาการท่องเที่ยวในภูมิภาคอย่างครอบคลุมและยั่งยืน ภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) คลี่คลายลง ผ่านการดำเนินการตาม “วิสัยทัศน์ปุตราจายา 2040” และแผนปฏิบัติการ “เอาทีอารอ” รวมถึงการประยุกต์ใช้โมเดลเศรษฐกิจ BCG และการส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน และระหว่างกรอบการประชุมต่าง ๆ เพื่อให้ภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เป็นภูมิภาคที่เปิดกว้าง มีพลวัต และพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ภายในปี พ.ศ. 2583 โดยอาศัยการท่องเที่ยวเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
                             1.2 รับทราบผลการดำเนินงานภายใต้แผนยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวเอเปค พ.ศ. 2563 -2567 เป็นการหารือแนวทางความร่วมมือของเอเปคเพื่อเร่งฟื้นฟูการท่องเที่ยวในช่วงหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของ  โควิด-19 และบทบาทของภาคการท่องเที่ยวต่อการส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนในภูมิภาค แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในแต่ละเขตเศรษฐกิจ รวมถึงหารือถึงวิธีการรักษาสถานะของการท่องเที่ยวในฐานะภาคส่วนที่สร้างประโยชน์และความอยู่ดีกินดีให้แก่ประชาชนในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
                             1.3 เอกสารผลลัพธ์ของการประชุมฯ
                                      1) รับรองเอกสารผลลัพธ์การประชุมฯ 2 ฉบับ
                                                (1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเปคให้มีอนาคตที่ดีกว่าเดิม : การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการนำเสนอหลักการ แนวทาง ในการจัดลำดับความสำคัญของนโยบาย เพื่อให้การท่องเที่ยวมีส่วนทำให้เกิดความอยู่ดีมีสุขของท้องถิ่นในทุกมิติ โดยสอดคล้องกับโมเดลเศรษฐกิจ BCG และหัวข้อหลักของการประชุมเอเปคในปี 2565 “เปิดกว้าง สร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล” เช่น การพัฒนาบนพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นพร้อมส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน การบริหารจัดการแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างครอบคลุมและทั่วถึง และการให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดขอบและการท่องเที่ยวที่มีความหมาย รวมถึงการพัฒนาฐานข้อมูลและรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเพื่อประกอบการจัดทำนโยบายและพัฒนาตัวชี้วัดความสำเร็จของการท่องเที่ยวให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
                                                (2) คู่มือเอเปคสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียด้านการท่องเที่ยวฉบับปรับปรุง ซึ่งมีเนื้อหามุ่งเน้นการกำหนดขอบเขต หลักการ และแนวทางสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในภาคการท่องเที่ยวและการฟื้นสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภูมิภาคแบบองค์รวม โดยครอบคลุมการลงทุน การสร้างโอกาสในการจ้างงาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มาตรฐานวิชาชีพ รวมถึงการอบรมและการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภูมิภาคเอเปค
                                                ทั้งนี้ เอกสารดังกล่าวจะถูกผนวกอยู่ใน “เป้าหมายกรุงเทพ  (Bangkok Goals)” ซึ่งเป็นเอกสารผลลัพธ์ที่จะเสนอขอการรับรองในที่ประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคในเดือนพฤศจิกายน 2565
                                      2) แถลงการณ์ประธานรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11 มีสาระสำคัญ เช่น (1) ให้ความสำคัญกับการพัฒนาภูมิภาคผ่านการส่งเสริมการเจริญเติบโตที่ครอบคลุมและยั่งยืน และการประยุกต์ใช้โมเดล BCG โดยจะเน้นย้ำความสำคัญของการดำเนินการภายใต้ APEC Connectivity Blue Print ปี 2558 - 2568 ที่มุ่งส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและลดความเสี่ยงในภาคการท่องเที่ยว (2) ร่วมกันส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ปลอดภัย เข้าถึงได้ และครอบคลุมสำหรับทุกคน (3) สนับสนุนความเท่าเทียมทางเพศและบทบาทของผู้หญิงที่เป็นหัวใจสำคัญในการฟื้นตัวจากโควิด-19 อย่างครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องกับแนวทางขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการลาเซเรนาเพื่อสตรีและการเจริญเติบโตที่ครอบคลุม และ (4) รักษาความหลากหลายทางชีวภาพอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละพื้นที่ รวมถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ความรู้ของคนในชุมชนท้องถิ่น โดยจะส่งเสริมให้คนในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงโอกาสทางเศรษฐกิจผ่านการท่องเที่ยวได้ ทั้งนี้ แถลงการณ์ดังกล่าวเป็นเอกสารที่ใช้แทนแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีท่องเที่ยวเอเปค ครั้งที่ 11เนื่องจากมีความเห็นที่หลากหลายและความขัดแย้งกันของเขตเศรษฐกิจเกี่ยวกับประเด็นรัสเชีย-ยูเครนทำให้ในที่ประชุมไม่สามารถมีฉันทามติรับรองแถลงการณ์ร่วมฯ ได้ (เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2565) โดยประเทศไทยได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบประโยคให้เป็นลักษณะของข้อเท็จจริง โดยปราศจากความเห็นหรือมุมมองส่วนตัว
                   2. ผลลัพธ์ที่ประเทศไทยคาดหวังว่าจะได้รับจากการนำเสนอแนวคิด “การท่องเที่ยวฟื้นสร้างอย่างยั่งยืน” คือ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นของการกำหนดนโยบายด้านการท่องเที่ยวที่ต่อยอดมาจากแนวคิดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (Sustainable Tourism) เพื่อจะช่วยฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ดูแลรักษาทรัพยากรในแหล่งท่องเที่ยวของประเทศไทยให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมเกิดการกระจายรายได้สู่คนในท้องถิ่นอย่างแท้จริง สร้างระบบให้ชาวบ้านมีอาชีพสามารถพึ่งพาตนเอง สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นที่มีฐานะเป็น “เจ้าบ้าน” ในทุกแหล่งท่องเที่ยว ซึ่งสามารถทำให้คนในชุมชนมีความสุขกับการเติบโตของการท่องเที่ยว โดยคนในชุมชนจะรับประโยชน์ในแบบที่ตนเองต้องการ ไม่ว่าจะเป็นรายได้ที่ที่เพิ่มขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น และการได้ฟื้นฟูวิถีชีวิตดั้งเดิม
 
21. เรื่อง (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นเอกสารผลลัพธ์ของการประชุมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยการใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก สมัยที่ 4 ในวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ทั้งนี้ หากมีการปรับปรุงแก้ไขปฏิญญาจาการ์ตาฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ/ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สามารถดำเนินการต่อไปได้ตามความเหมาะสม โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบในภายหลัง รวมทั้งเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ร่วมรับรองปฏิญญาจาการ์ตาฯ ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   1. (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตาระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน มีสาระสำคัญ โดยสรุป ดังนี้
                             1.1 เน้นย้ำ ถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การรับรองแผนปฏิบัติการฯ และยอมรับบทบาทของเทคโนโลยีอวกาศและการประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการช่วยสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน
                             1.2 แสดงความพอใจต่อความคืบหน้าของการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติ ในระยะที่ 1 และรับรู้ ถึงความจำเป็นของการเร่งนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จ ในระยะที่ 2
                             1.3 เรียกร้อง ต่อประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบในการจัดการปัญหาความท้าทายที่ส่งผลต่อการพัฒนาทั้งที่ยังคั่งค้างอยู่และอุบัติขึ้นมาใหม่ ได้แก่ ความยากจน ความมั่นคงทางอาหาร ความเหลื่อมล้ำ ภัยต่อสุขภาพโลก ความเปราะบางต่อผลกระทบ ภัยพิบัติ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ผ่านเวทีและกลไกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                             1.4 ส่งเสริม ให้ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบขยายความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอวกาศ รวมถึงการประยุกต์ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ เพื่อเร่งการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติให้เกิดผล ในระยะที่ 2 โดยมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยสำคัญเฉพาะด้านอย่างเหมาะสม เช่น การยกระดับการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมดิจิทัล การบริหารจัดการข้อมูลและสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น การเพิ่มการมีส่วนร่วมจากผู้ใช้งาน และการขยายพันธมิตรกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งในระดับประเทศ ภูมิภาค และนานาชาติ และกระตุ้นให้ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบเร่งนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติ ในระยะที่ 2 โดยการผสมผสานบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลร่วมกับการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศในรูปแบบดั้งเดิม
                             1.5 ส่งเสริม ให้ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดและร่วมกันพัฒนาแผนงาน/โครงการ ที่สอดคล้องกับความเร่งด่วน สาระสำคัญ เป้าหมาย และกิจกรรม ของแผนปฏิบัติการฯ และเชิญชวนให้ประเทศสมาชิกและสมาชิกสมทบพิจารณาอย่างเหมาะสมถึงข้อริเริ่มซึ่งเสนอโดยรัฐบาลอินโดนีเซีย กล่าวคือ เครื่องมือสำหรับใช้ในการบริหารจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติ ในฐานะความร่วมมือที่จะช่วยสนับสนุนการนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติ ในระยะที่ 2
                             1.6 ต้อนรับ การเข้ามามีส่วนร่วมในภาคส่วนอวกาศของเยาวชน และสนับสนุนกิจกรรม/ข้อริเริ่ม ระดับชาติและนานาชาติด้านอวกาศที่ช่วยเร่งการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสนใจและสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชน
                   2. (ร่าง) ปฏิญญาจาการ์ตา มีเนื้อหาหลักเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองของประเทศสมาชิกเอสแคปว่าด้วยความร่วมมือระดับภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ในการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากอวกาศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่ความร่วมมือด้านอวกาศในหมู่ประเทศสมาชิกเพื่อเร่งนำแผนปฏิบัติการฯ ไปปฏิบัติ ในระยะที่ 2 (ค.ศ. 2022 - 2026) โดยไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญา ตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
         
22. เรื่อง การจัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) เสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                   2. อนุมัติให้มีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ระหว่างกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งราชอาณาจักรไทย และกระทรวงเทคโนโลยีและการสื่อสารแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ทั้งนี้ ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญและไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติหรือให้ความเห็นชอบไว้ ให้กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมดำเนินการได้ โดยให้เสนอคณะรัฐมนตรีทราบภายหลัง พร้อมทั้งชี้แจงเหตุผลและประโยชน์ที่ไทยได้รับจากการปรับเปลี่ยนดังกล่าว
                   3. อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฉบับดังกล่าว
                   สาระสำคัญ
                   1. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
                             1) ผู้เข้าร่วมแสดงความปรารถนาต่อการส่งเสริมการพัฒนาด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งนี้ บนพื้นฐานของความเท่าเทียม ต่างตอบแทนและผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์และความร่วมมือในระยะยาวและยั่งยืน
                             2) บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดข้อผูกพันทางกฎหมาย และไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ
                   2. ขอบเขตความร่วมมือภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ได้แก่
                             1) ด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
                             2) รัฐบาลดิจิทัล
                             3) เศรษฐกิจดิจิทัล
                             4) เมืองอัจฉริยะ
                             5) ทักษะด้านดิจิทัล
                             6) ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
                             7) ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์
                             8) การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมไอซีที โทรคมนาคม และดิจิทัล ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ดิจิทัลคอนเทนต์ (Digital Content) และการบริการที่เกี่ยวข้อง
                             9) โครงสร้างพื้นฐานด้านบรอดแบนด์ และการพัฒนาการให้บริการ
                             10) นวัตกรรมด้านไอซีทีและเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น การจัดทำข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data)อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things (IoT)) และ คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud computing)
                             11) โอกาสด้านดิจิทัล เช่น การรู้เท่าทันดิจิทัล (Digital literacy) การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลส่งเสริมโอกาสและศักยภาพของประชาชน (Digital inclusion) และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce)
                             12) การวิจัย พัฒนาและนวัตกรรมในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
                             13) การแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมถึงความร่วมมือและความช่วยเหลือในด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
                             14) ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่วิสาหกิจเพื่อสร้างความร่วมมือด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
                             15) สาขาอื่น ๆ ตามที่ผู้เข้าร่วมตกลงร่วมกัน
                   3. รูปแบบการดำเนินความร่วมมือ ประกอบด้วย
                             1) แลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับความสำเร็จ ความก้าวหน้า และแผนการพัฒนาในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
                             2) แลกเปลี่ยนการเยือน การประชุม และการหารือ
                             3) แลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญและผู้แทนที่เกี่ยวข้อง
                             4) ดำเนินโครงการความร่วมมือ (Joint projects) ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล
                             5) อำนวยความสะดวกให้แก่ธุรกิจ Start-ups ในด้านไอซีทีและเทคโนโลยีดิจิทัล
                             6) จัดนิทรรศการ โครงการฝึกอบรม ประชุมเชิงปฏิบัติการ และสัมมนา
                             7) รูปแบบความร่วมมืออื่น ๆ ในด้านไปรษณีย์ โทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และเทคโนโลยีดิจิทัล ตามที่ผู้เข้าร่วมตกลงร่วมกัน
                   4. บันทึกความเข้าใจจะมีผลบังคับใช้ในวันที่มีการลงนาม และจะมีผลบังคับใช้เป็นระยะเวลา 5 ปี โดยจะมีการขยายเวลาอัตโนมัติออกไปอีก 3 ปี เว้นแต่ผู้เข้าร่วมฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแจ้งความประสงค์การยกเลิกบันทึกความเข้าใจฉบับนี้ให้ผู้เข้าร่วมอีกฝ่ายรับทราบเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าเป็นระยะเวลา 6 เดือน ก่อนการยกเลิก
 
23. เรื่อง ร่างแถลงการณ์อาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (ASEAN joint Statement on Climate Change to UNFCCC COP27)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 รวมทั้งมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย ให้ความเห็นชอบ (Endorsement) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ และมอบหมายให้นายกรัฐมนตรีหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมายร่วมรับรอง (Adoption) ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนฯ ในการประชุมสุดยอดอาเชียนต่อไป โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขร่างเอกสารในส่วนที่ไมใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  (ทส.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ร่างแถลงการณ์ร่วมอาเซียนว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสำหรับการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                   1. การแสดงความมุ่งมั่นของประเทศสมาชิกอาเซียนตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและความตกลงปารีส ภายใต้หลักความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างและคำนึงถึงขีดความสามารถของแต่ละประเทศ ผ่านการจัดส่งเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด การดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการคณะทำงานอาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การส่งเสริมการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานด้านพลังงานทดแทนและการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การลดความเสี่ยงต่อภัยพิบัติ การเงินที่ยั่งยืน การจัดตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนผ่านด้านการเกษตรสู่ระบบอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำและมีภูมิคุ้มกันต่อสภาพภูมิอากาศ
                   2. ประเด็นที่อาเซียนให้ความสำคัญและห่วงกังวล อาทิ การเพิ่มขึ้นของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม ความเร่งด่วนของเป้าหมายและการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ การปฏิบัติตามข้อตัดสินใจกลาสโกว์จากการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาฯ สมัยที่ 26 (COP26)
                   3. ประเด็นที่ต้องการเรียกร้องให้เกิดการดำเนินงานภายใต้อนุสัญญาฯ ได้แก่ การยกระดับการดำเนินงานทั้งด้านการลดก๊าซเรือนกระจกและการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการสนับสนุนด้านการเงิน การพัฒนาและถ่ายทอดเทคโนโลยี การเสริมศักยภาพให้กับประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการเร่งรัดกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาฯ เพื่อให้ประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้าถึงการสนับสนุนของกองทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
24. เรื่อง โครงการความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างอาเซียน-เยอรมัน (ASEAN-German Climate Action Programme)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างหนังสือแลกเปลี่ยนระหว่างเลขาธิการอาเซียนกับเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำอาเซียน โครงการความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างอาเซียน-เยอรมัน (ASEAN-German Climate Action Programme) และเห็นชอบให้เลขาธิการอาเซียนเป็นผู้ลงนามในร่างหนังสือแลกเปลี่ยนฯ รวมทั้งมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศประสานแจ้งผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรีให้กับสำนักเลขาธิการอาเซียนต่อไปตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   โครงการความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างอาเซียน-เยอรมัน มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรและองค์กรด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคอาเซียน ยกระดับบทบาทของอาเซียนในเวทีระหว่างประเทศและส่งเสริมความร่วมมือด้านนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contributions) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน โดยนำร่องในสาขาป่าไม้และการใช้ประโยชน์ที่ดิน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างศักยภาพของไทยในการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561 - 2580) ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
 
25. เรื่อง การจัดทำร่างสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดทำร่างสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องแก้ไข ปรับปรุง ถ้อยคำในร่างสัญญาฯ ที่ไม่ใช่มีสาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งเห็นชอบให้อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) ร่วมกับผู้ประสานงานศูนย์มรดกโลกองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   ร่างสัญญา IUCN Advisory Mission to the World Heritage property : Kaeng Krachan Forest Complex (THAILAND) ระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ร่างขึ้นตามแนวทางการดำเนินงานอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกโลกทางวัฒนธรรมและทางธรรมชาติ (Operational Guidelines for the Implementation of the World Heritage Convention) โดยที่รัฐภาคีผู้รับคำปรึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด เว้นแต่ในกรณีที่รัฐภาคีเป็นรัฐที่มีสิทธิ์ได้รับความช่วยเหลือ (relevant International Assistance) หรือได้รับงบประมาณสำหรับภารกิจการให้คำปรึกษาตามมติที่ประชุม 38 COM 12 มีสาระสำคัญสรุป ดังนี้
                   1. ตามสัญญาฉบับนี้ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) จะต้องมาปฏิบัติภารกิจให้คำปรึกษาในการเตรียมการทบทวนสถานภาพทั่วไปในการอนุรักษ์ของแหล่งมรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน โดยมีกำหนดการลงนามในช่วงปลายเดือนตุลาคม 2565 หลังจากลงนามภายใน 2 สัปดาห์ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน จำนวน 8 วัน และผู้เชี่ยวชาญจะต้องจัดทำรายงานข้อเสนอแนะให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ภายใน 6 สัปดาห์หลังจากลงพื้นที่ โดยภารกิจการประเมินสภาพการอนุรักษ์พื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน มีประเด็นดังนี้
                             1.1 ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับขอบเขตพื้นที่มรดกโลกเพื่อเพิ่มโอกาสการเชื่อมต่อของพื้นที่และโอกาสของการผนวกพื้นที่อนุรักษ์ให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
                             1.2 ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับขอบเขตและการจัดการเขตกันชนของพื้นที่มรดกโลก
                             1.3 การประเมินผลจากการแก้ไขพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2562 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2562 ในส่วนที่เกี่ยวกับเขตการจัดการพื้นที่ การใช้ประโยชน์ที่ดินและการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นกฎหมายอื่น ๆ ที่อาจส่งเสริมการจัดการแบบมีส่วนร่วม
                             1.4 การประเมินการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นและกลุ่มชาติพันธุ์ ในการจัดการพื้นที่มรดกโลกเพื่อสนับสนุนการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนและการมีส่วนร่วมโดยไม่แบ่งแยกเพศในการจัดการเพื่อรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV) ของพื้นที่มรดกโลก
                             1.5 แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการกำหนดแนวพื้นที่และหาทางเลือกต่าง ๆ สำหรับการดำเนินการในอนาคตในการรักษาความเชื่อมโยงทางชีววิทยาในพื้นที่ข้ามพรมแดนที่ติดกับพื้นที่มรดกโลกกลุ่มป่าแก่งกระจาน
                             1.6 การประเมินสถานะประชากรชนิดพันธุ์ที่สำคัญของพืชป่าและสัตว์ป่าที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากลของพื้นที่ (OUV) โดยใช้กลไกการติดตามที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมเพื่อการรักษาความเชื่อมโยงทางระบบนิเวศและรักษาคุณค่าโดดเด่นอันเป็นสากล (OUV)
                             1.7 การประเมินผลกระทบของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่และที่วางแผนไว้ รวมถึงเขื่อนและถนน
                   2. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ควรจัดให้มีการหารือกับเจ้าหน้าที่ของประเทศไทยทั้งในระดับชาติ อำเภอ และระดับท้องถิ่น รวมทั้งผู้แทนกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ กรมการพัฒนาชุมชน กรมป่าไม้ กรมชลประทาน และกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน/กองทัพบก นอกจากนี้ ควรจัดให้มีการหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง เช่น (1) ผู้แทนของชุมชนท้องถิ่นและชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ภายในและติดกับพื้นที่มรดกโลก (2) ผู้แทนจากคณะกรรมการที่ปรึกษาพื้นที่อนุรักษ์ (3) องค์กรพัฒนาเอกชนที่เกี่ยวข้อง (NGOs) องค์กรภาคประชาสังคม (CSO) มหาวิทยาลัยและสถาบันต่าง ๆ รวมทั้ง UNESCO และ (4) ตัวแทนจากภาคเอกชนและอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ผู้เชี่ยวชาญควรปรึกษาหารือร่วมกับ IUCN’s Asia Regional Office and Thailand Country Programme ด้วย
                   3. หลังจากการลงพื้นที่ การประเมินข้อมูลและการปรึกษาหารือกับตัวแทนของรัฐภาคีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแล้ว ผู้เชี่ยวชาญจะต้องจัดทำรายงานข้อเสนอแนะส่งให้รัฐภาคีภายใน 6 สัปดาห์
                   4. การเตรียมความพร้อมสำหรับภารกิจการให้คำปรึกษาฯ รัฐภาคีโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จะต้องมีการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐาน ้นมีการจัดเตรียมข้อมวึกะส่งให้รัอมเที่ยว ผทั้งอุปกรณ์ และแผนที่ที่เกี่ยวข้อง ให้แก่ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาสถานะการอนุรักษ์ปัจจุบันของพื้นที่มรดกโลก โดยเอกสารทั้งหมดจะต้องจัดเตรียมเป็นภาษาอังกฤษ ในกรณีของเอกสารสำคัญ อย่างน้อยต้องมีบทสรุปเป็นภาษาอังกฤษ รวมถึงจะต้องจัดเตรียมกำหนดการเดินทางให้ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ตามภารกิจดังกล่าวข้างต้น
                  
26. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งเครือรัฐออสเตรเลียในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งเครือรัฐออสเตรเลียในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ และเห็นชอบให้กระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ประสานงานฝ่ายไทยสำหรับการดำเนินงานภายใต้บทบัญญัติของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งเครือรัฐออสเตรเลียในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) เป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งเครือรัฐออสเตรเลียในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศเพื่อต่อต้านการค้ามนุษย์ ตามที่กระทรวงยุติธรรม (ยธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   ร่างบันทึกความเข้าใจฯ เป็นที่สิ้นสุดของทั้งสองฝ่ายแล้ว โดยมีเนื้อหาอันเป็นสาระสำคัญ ประกอบด้วย
                   (1) อารัมภบทซึ่งกล่าวถึงความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศในมิติความร่วมมือด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์และอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องตามเอกสารความตกลงสำคัญในระดับภูมิภาคอาเซียนและที่ทั้งสองได้ลงนามร่วมกันไว้ อาทิ อนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (ACTIP) และแผนปฏิบัติการอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการค้ามนุษย์ โดยเฉพาะสตรีและเด็ก (APA) ความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียน - ออสเตรเลีย โดยได้ตกลงกันเพื่อยกระดับความร่วมมือในการต่อต้านการค้ามนุษย์ในปฏิญญาร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างราชอาณาจักรไทยกับออสเตรเลีย เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน 2563
                   (2) ข้อบทจำนวน 11 ข้อบท ได้แก่
                             - ข้อบทที่ 1 วัตถุประสงค์ของการจัดทำบันทึกความเข้าใจฯ
                             - ข้อบทที่ 2 หน่วยประสานงาน ซึ่งกำหนดให้ฝ่ายออสเตรเลีย คือ กระทรวงการต่างประเทศและการค้า และสำหรับประเทศไทย คือ กระทรวงยุติธรรม
                             - ข้อบทที่ 3 ความร่วมมือในการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศฯ ระบุถึงการจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศ ณ ประเทศไทย และออสเตรเลียประสงค์จะสนับสนุนความพยายามดังกล่าว โดยการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคและการสนับสนุนอื่น ๆ ตามที่คู่ภาคีกำหนดร่วมกัน และระบุถึงวัตถุประสงค์โดยกว้างของการดำเนินงานที่เกี่ยวข้อง
                             - ข้อบทที่ 4 การจัดตั้งคณะกรรมการร่วม ระบุถึงแนวทางการดำเนินงานในการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมเพื่อขับเคลื่อนศูนย์ความเป็นเลิศฯ ตลอดจนการได้มาขององค์ประกอบของคณะกรรมการร่วมจากทั้งสองฝ่าย
                             - ข้อบทที่ 5 การดำเนินงานของศูนย์ความเป็นเลิศฯ ระบุถึงแนวทางการดำเนินงานของผู้อำนวยการบริหาร ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประเทศไทย
                             - ข้อบทที่ 6 การสนับสนุนของคู่ภาคี ระบุถึงการสนับสนุนของแต่ละฝ่าย ซึ่งฝ่ายไทยจะต้องให้การสนับสนุนด้านการปฏิบัติงานและงบประมาณสำหรับที่ตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวกทางกายภาพของศูนย์ความเป็นเลิศฯ ประเทศไทยจะเป็นผู้ตัดสินใจใจการใช้ประโยชน์ การดำเนินงาน และการบำรุงรักษา สิ่งอำนวยความสะดวก ประเทศไทยจะจัดหาทรัพยากรมนุษย์และงบประมาณที่จำเป็นในการจัดการศูนย์ความเป็นเลิศฯ รวมถึงโครงการและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานสำหรับการจัดหลักสูตรฝึกอบรมและกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง และสำหรับฝ่ายออสเตรเลียจะให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในระยะสั้น เพื่อกำหนดหลักสูตรและพัฒนานโยบายและขั้นตอนการปฏิบัติงานของศูนย์ความเป็นเลิศ
                             - ข้อบทที่ 7 ถึง 11 ซึ่งบรรดาข้อบทที่ระบุถึง การระงับข้อโต้แย้ง การแก้ไขและเพิ่มเติม บทบัญญัติทั่วไปและงบประมาณ การมีผลบังคับใช้ ระยะเวลา และการขยาย การยกเลิกและบทบัญญัติสุดท้าย
                             - ส่วนลงนาม สำหรับฝ่ายไทย คือ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรม และสำหรับฝ่ายออสเตรเลีย คือ Hon. Penny Wong รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศออสเตรเลีย
 
27. เรื่อง ร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข
          คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงสาธารณสุขแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการแห่งสาธารณรัฐเกาหลีว่าด้วยความร่วมมือด้านสาธารณสุข รวมทั้งอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย เป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว ทั้งนี้ หากมีการแก้ไขถ้อยคำที่มิใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นผู้ใช้ดุลยพินิจในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีสาระสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือด้านสาธารณสุขระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี ในประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ การเสริมสร้างระบบสุขภาพ รวมถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การดูแลสุขภาพด้วยดิจิทัล และการส่งเสริมสุขภาพ ผ่านการแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทน และข้อมูล การประชุม การประชุมทางวิทยาศาสตร์ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ/การสัมมนา และการสนับสนุนการวิจัยและโครงการ โดยจะมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อเป็นกลไกในการหารือและดำเนินกิจกรรมภายใต้ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมต่อไป
                   2. กระทรวงสาธารณสุขได้ส่งร่างบันทึกความเข้าใจฯ ให้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศแจ้งว่า ไม่มีข้อขัดข้องต่อสารัตถะและถ้อยคำโดยรวมของร่างบันทึกความเข้าใจฯ หากกระทรวงสาธารณสุขในฐานะส่วนราชการเจ้าของเรื่องและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พิจารณาแล้วเห็นว่า มีความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายและผลประโยชน์ของไทย สามารถปฏิบัติได้ภายใต้อำนาจหน้าที่ตามกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตลอดจนเป็นไปตามพันธกรณีของไทยภายใต้ความตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณเพื่อการนี้ไว้แล้ว และเสนอปรับแก้ถ้อยคำเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบของเอกสารที่ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ รวมทั้งเพิ่มถ้อยคำในวรรค 6 (ใหม่) ระบุว่า บันทึกความเข้าใจฉบับนี้ไม่ก่อให้เกิดพันธกรณีใดทางกฎหมายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจึงไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น ร่างบันทึกความเข้าใจฯ จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขได้ปรับแก้ถ้อยคำตามข้อเสนอแนะของกระทรวงการต่างประเทศแล้ว
 
 
28. เรื่อง แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ค.ศ. 2022 – 2025
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับออสเตรเลีย ค.ศ. 2022 – 2025 รวมทั้งอนุมัติให้รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลงนามในร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการต่างประเทศออสเตรเลีย ในช่วงวันที่ 1 – 2 พฤศจิกายน 2565 ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญและไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงการต่างประเทศ (กต.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
          ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ เป็นแผนงานในการขับเคลื่อนความร่วมมือในทุกมิติระหว่างไทยและออสเตรเลียผ่านกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ระยะเวลา 4 ปี (2565 - 2568) ในฐานะหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ครอบคลุมความร่วมมือรอบด้าน ได้แก่ (1) ด้านการเมือง การทหาร และความมั่นคงรูปแบบใหม่ร่วมถึงการปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติดและการค้ามนุษย์ (2) ด้านเศรษฐกิจ รวมถึงสาขาเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว และเศรษฐกิจดิจิทัล (3) ความร่วมมือรายสาขา อาทิ สาธารณสุข เกษตร การศึกษา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการวิจัย พลังงาน สิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการภัยพิบัติ (4) ความเชื่อมโยงระดับประชาชน และ (5) ความร่วมมือระดับภูมิภาคและอนุภูมิภาค
                   ทั้งนี้กระทรวงการต่างประเทศพิจารณาแล้ว เห็นว่า ร่างแผนปฏิบัติการร่วมฯ ไม่มีถ้อยคำหรือบริบทใดที่มุ่งจะก่อให้เกิดพันธกรณีภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศ และไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
 
29. เรื่อง การรับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการรับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียนตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   การประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 และการประชุมระดับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 ที่ประชุมรัฐมนตรีท่องเที่ยวอาเซียน ครั้งที่ 25 ได้ให้รับรองปฏิญญาพนมเปญว่าด้วยการพลิกโฉมการท่องเที่ยวอาเซียน (Phnom Penh Declaration on Transforming ASEAN Tourism)ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแสดงเจตนารมณ์ทางการเมืองร่วมกันของประเทศสมาชิกอาเซียน ต่อการส่งเสริมการฟื้นฟูการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 การสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน การสร้างความเชื่อมั่นในการเดินทางของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียน โดยจะเป็นเอกสารสำคัญของกรอบความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวอาเซียนที่จะต้องนำเสนอต่อผู้นำอาเซียน ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 ระหว่างวันที่ 10 - 13 พฤศจิกายน 2565 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา
 
30. เรื่อง การรับรองเอกสารสำคัญ 2 ฉบับ ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 40 และ 41
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน และร่างกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) รวมทั้ง อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาให้การรับรองผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินการตามข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียนและร่างกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยการแจ้งเวียน (ad-referendum) ตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   1. ผลการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินการของข้อตกลงยอมรับร่วมกันในคุณสมบัติของบุคลากรวิชาชีพท่องเที่ยวอาเซียน
                             1.1 ข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน (ASEAN Mutual Recognition Arrangement for Tourism Professional : MRA on TP) มีการลงนามเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2555 เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายแรงงานสาขาการท่องเที่ยวภายในภูมิภาคอาเซียน โดย MRA on TP มีวัตถุประสงค์หลัก คือ (1) เพื่อเป็นการกระตุ้นในการยกระดับการสร้างขีดความสามารถด้านการศึกษาและการอบรมของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน และ (2) เพื่อให้บุคลากรด้านการท่องเที่ยวได้มีโอกาสไปทำงานในประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นนอกจากประเทศของตน ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนยังคงมีข้อจำกัดด้านความสามารถของตลาดแรงงานเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของภาคการท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการขาดแคลนแรงงานหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยหลายประการ เช่น ค่าแรงต่ำ สภาพการทำงานที่ไม่เอื้ออำนวย และการแข่งขันของแรงงานที่มีทักษะจากอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่เพิ่มความรุนแรงจากการปิดประเทศในช่วงการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น สำนักเลขาธิการอาเซียนจึงได้จ้างสถาบันการวิจัยทางเศรษฐกิจอาเซียนและเอเชียตะวันออก (Economic Research Institute for ASEAN and East Asia : ERIA) เพื่อดำเนินการศึกษาผลกระทบของ MRA on TP ต่ออุตสาหกรรมแรงงานในอาเซียน รวมทั้งระบุปัญหาที่มีผลต่อการเคลื่อนย้ายแรงงาน ตลอดจนให้คำแนะนำเพื่อส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานด้านการท่องเที่ยว โดยเฉพาะภายหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพื่อฟื้นฟูการท่องเที่ยว
                             1.2 วัตถุประสงค์ของการศึกษาฯ
                                      (1) เพื่อทบทวนวัตถุประสงค์ ความมีประสิทธิผล และสถานะการดำเนินการของ MRA on TP ต่อการเปลี่ยนแปลงแนวโน้มและการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของโลกและภูมิภาค
                                      (2) เพื่อสร้างความเข้าใจให้แก่ผู้กำหนดนโยบายและผู้กำกับดูแล (Regulators) ต่ออุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน และให้คำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ โดยเฉพาะการเคลื่อนย้ายใน Mode 4 “การเปิดให้บุคคลธรรมดาเดินทางเข้ามาให้บริการ” ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area : AFTA)
                                      (3) เพื่อระบุแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้วยนวัตกรรมเพื่อให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอาเซียนได้รับประโยชน์สูงสุดจาก MRA on TP
                             1.3 ผลที่ได้จากการศึกษา
                                      (1) จุดแข็งหลักของ MRA-TP อยู่ที่สมรรถนะและการศึกษาซึ่งได้มีการริเริ่มที่จะเพิ่มมาตรฐานการศึกษา และการฝึกอบรมสำหรับบุคลากรด้านการท่องเที่ยวอาเซียน ซึ่งบทบาทของคณะกรรมการบุคลากรด้านการท่องเที่ยวแห่งชาติ (National Tourism Professional Board : NTPB) และคณะกรรมการรับรองบุคลากรด้านการท่องเที่ยว (Tourism Professional Certification Board : TPCB) เพื่อพัฒนาแนวทางสำหรับการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพของ MRA-TP นั้นมีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการสร้างความเชื่อมั่นต่อมาตรฐานสมรรถนะของวิชาชีพในระดับสูง
                                      (2) การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการทำงานร่วมกันระหว่างสถาบันการศึกษาและการฝึกอบรม อาทิ ผ่านการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการแบ่งปันความเชี่ยวชาญระหว่างกัน
                                      (3) การฝึกอบรมตามสมรรถนะ (Competency Based Training : CBT) ระดับอาชีวศึกษา (Vocation Education and Training) โดยผู้สอนต้นแบบ (Master Trainer : MT) และผู้ประเมินต้นแบบ (Master Assessor : MA) รวมทั้งการฝึกอบรมที่จัดทำโดยผู้สำเร็จการศึกษาในประเทศสมาชิกอาเซียนจะเป็นกลยุทธ์สำคัญในการจัดการกับความท้าทายของ MRA-TP
                                      (4) การเคลื่อนย้ายบุคลากรด้านการท่องเที่ยวขึ้นอยู่กับมาตรฐานสมรรถนะ การศึกษา และความเชี่ยวชาญ ซึ่งบุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างเหมาะสมและเป็นไปตามมาตรฐานจะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมและมีโอกาสในการเคลื่อนย้ายไปทำงานในตำแหน่งต่าง ๆ
                                      (5) บุคลากรด้านการท่องเที่ยวที่มีลักษณะพิเศษจะเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นได้ในระดับพันธกรณีของการเคลื่อนย้ายบุคคลธรรมดา (Movement of Natural Persons: MNP) ของสมาชิกอาเซียนบางประเทศ เช่น สาธารณรัฐอินโดนีเซีย และประเทศไทย ซึ่งให้ความสำคัญต่อผู้จัดการและพ่อครัวที่มีคุณสมบัติสูง ดังนั้น MRA-TP สามารถมุ่งส่งเสริมเน้นการเคลื่อนย้ายของบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในอาเซียนไปยังผู้เชี่ยวชาญตามความหมายของข้อตกลง MNP โดยทำให้มั่นใจว่าได้นำ MRA-TP ไปปฏิบัติอย่างเหมาะสม ซึ่งผลของแบบสำรวจออนไลน์ที่จัดทำขึ้นเพื่อการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า นายจ้าง เงินเดือน และผลประโยชน์เป็นปัจจัยสำคัญในการจ้างบุคลากรด้านการท่องเที่ยว ตามลำดับ
                                      (6) การดำเนินการภายใต้ MRA-TP เผชิญกับความท้าทายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของ MRA-TP ให้กับเจ้าหน้าที่และบุคลากรด้านการท่องเที่ยวในอาเซียน เพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้าย รวมทั้งการกำหนดขอบเขตวิชาชีพ และการดำเนินการตาม MRA-TP ให้สอดคล้องกับกฎระเบียบภายในประเทศ
                   2. ร่างกรอบการดำเนินงานของอาเซียนด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนภายหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                             (1) กรอบการดำเนินงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) แสดงวิสัยทัศน์ในระยะยาวและระบุเป้าหมายการดำเนินงานที่ครอบคลุม เป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ หลักการพื้นฐาน เสาหลักสำคัญ และแผนการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเพื่อบรรลุซึ่งเป้าหมายที่แสดงไว้ในวิสัยทัศน์ และ 2) จัดทำกลไกหรือวิธีการแก้ไขเพื่อรับมือธรรมชาติของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนที่มีความทับซ้อนของเสาหลักการพัฒนาและส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการทำงานของ NTOs ในอาเซียนและ ASITDC ซึ่งดำเนินงานโดยตรงในการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในภูมิภาค
                             (2) ร่างกรอบการดำเนินงานดังกล่าวส่งเสริมการแสดงวิสัยทัศน์ให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ สวัสดิภาพและการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น มีการรักษาและพัฒนาธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรม และนำเสนอประสบการณ์คุณภาพสูงให้แก่นักท่องเที่ยวที่มีความรับผิดชอบและมีแนวคิดในการรักษาความยั่งยืน
                             (3) เป้าหมายการดำเนินงานของกรอบการดำเนินงานดังกล่าวมุ่งการส่งเสริมความต่อเนื่องในการพัฒนาการท่องเที่ยว ในฐานะปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงการสร้างความตระหนักรู้และการให้ความสำคัญในเรื่องผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของแต่ละกิจกรรมการท่องเที่ยว และการนำเสนอข้อริเริ่มในการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม สังคม และวัฒนธรรมของแต่ละกิจกรรมการท่องเที่ยว และการนำเสนอข้อริเริ่มในการลดผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชน รวมถึงการส่งเสริมสวัสดิภาพของสิ่งแวดล้อมและชุมชน
                             (4) เป้าหมายยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ความพึงพอใจและการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยว 2) ความสามารถในการทำกำไรของอุตสาหกรรม 3) การเจริญเติบโตของชุมชนและการมีส่วนร่วมของชุมชน และ 4) การรักษาสิ่งแวดล้อมและการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อม
                             (5) เสาหลักและยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 5 เสาหลัก ได้แก่ 1) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน 2) ความครอบคลุมในสังคม การจ้างงาน และการบรรเทาความยากจน 3) การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การรักษาสิ่งแวดล้อม และภาวการณ์เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ 4) การรักษาคุณค่าเชิงวัฒนธรรม ความหลากหลาย และมรดก และ 5) ความเข้าใจร่วมกันสันติภาพ ได้แก่ สุขภาพ ความปลอดภัย และความมั่นคง
 
31. เรื่อง  รายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย ครั้งที่ 55 และการประชุมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานผลการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชีย (Asian Development Bank : ADB)  ครั้งที่ 55 และการประชุมอื่น ๆ  ที่เกี่ยวข้อง ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ 
                   สาระสำคัญและข้อเท็จจริง
                   1. การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ADB ครั้งที่ 55
                             1.1 การประชุม Business Session เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2565 เป็นการรับฟังรายงานผลการดำเนินงานของ ADB ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการมุ่งเน้นการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการรับมือและแก้ไขปัญหาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) และผู้ว่าการของประเทศสมาชิกได้ร่วมแลกเปลี่ยนความเห็นและแนวนโยบายการดำเนินงานของ ADB ภายใต้แนวคิด “Positioning Climate Resilient Green Economy for the Post COVD-19 World” ซึ่งได้เรียกร้องให้ ADB ให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวจากผลกระทบของ COVID-19 ปัญหาห่วงโซ่อุปทาน และภาวะเงินเฟ้อ รวมทั้งเสนอให้ ADB สนับสนุนประเทศสมาชิกในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน
                             รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในฐานะผู้ว่าการ ADB ได้กล่าวถ้อยแถลงระหว่างการประชุม โดยกล่าวว่าประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และได้กำหนดให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio Circular-Green Economy: BCG) เป็นวาระแห่งชาติ รวมทั้งให้ความสำคัญกับการเงินเพื่อความยั่งยืน อาทิ การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน และการพัฒนากลไกการเงินและการลงทุนเพื่อบรรลุเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น
                             1.2 การประชุม Governors’ Plenary เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2565 ภายใต้หัวข้อ “Threats to Food Security in Asia and the Pacific and ADB's Response” เป็นการแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับประเด็นความมั่นคงทางด้านอาหาร ซึ่งได้รับผลกระทบจากความไม่สงบในยูเครน และราคาวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ความเห็นต่อที่ประชุมว่า ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นตัวจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 จึงทำให้มีภาระทางการคลังในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ADB  จึงควรมีการกำหนดนโยบายและแนวทางที่ชัดเจนในการให้ความช่วยเหลือประเทศสมาชิกในการรับมือกับปัญหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เสนอแนะให้ ADB วิเคราะห์สมดุลระหว่างอุปทานและอุปสงค์ของผลผลิตอาหารของประเทศสมาชิกเพื่อทราบข้อมูลสภาพปัญหาที่แท้จริงและนำมาประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายให้ความช่วยเหลือสมาชิกต่อไป
                   2. การประชุมอื่น ๆ เกี่ยวข้อง
                   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหารือทวิภาคีกับนาย Masatsugu Asakawa ประธาน ADB เพื่อหารือประเด็นความร่วมมีอระหว่างประเทศไทยและ ADB รวมถึงแนวทางการส่งเสริมการพัฒนาของภูมิภาค โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                             (1) ความร่วมมือภายใต้ยุทธศาสตร์ความเป็นหุ้นส่วนระดับประเทศระหว่างประเทศไทยและ ADB (Country Partnership Strategy: CPS) ฉบับที่ 3 สำหรับปี 2564 - 2568 โดย ADB   ได้แสดงความพร้อมในการสนับสนุนการดำเนินการของประเทศไทยในด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันและความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาค การเสริมสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการสนับสนุนทางการเงินในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การลงทุนในโครงการสีเขียวและโครงการเพื่อความยั่งยืน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการเงินเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน อาทิ การออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินเพื่อความยั่งยืนต่าง ๆ
                             (2) การให้ความช่วยเหลือทางการงินและความช่วยเหลือทางวิชาการ (Technical Assistance: TA) แก่ประเทศไทย ในปัจจุบัน ADB มีโครงการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ประเทศไทยในแผนงานปี 2566-2568 ทางด้านโครงสร้างพื้นฐานและการแพทย์สาธารณสุข โดย ADB ได้แสดงความพร้อมในการสานต่อโครงการความช่วยเหลือทางวิชาการต่าง ๆ แก่ประเทศไทยในด้านการระดมทรัพยากรในประเทศ (Domestic Resources Mobilization: DRW) รวมถึงสนับสนุนการดำเนินการตามเป้าหมาย BCG ของประเทศไทย
                             (3) ความร่วมมือในการสนับสนุนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ อิรวดี- เจ้าพระยา-แม่โขง (Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economic Cooperation Strategy: ACMECS) โดยการสนับสนุนทางการเงินให้แก่โครงการต่าง ๆ เพื่อการเสริมสร้างความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อในอนุภูมิภาค (Seamless Connectivity) และการพัฒนาภูมิภาคในลักษณะยั่งยืนและมีนวัตกรรม โดยประเทศไทยเป็นผู้ริเริ่มและผลักดันการจัดตั้งกองทุน ACMECS Development Fund (ACMDF) ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้แสดงความขอบคุณ ADB ในการให้ความช่วยเหลือทางวิชาการในการศึกษาการจัดตั้งกองทุน ACMDF และได้เสนอให้ ADB พิจารณาร่วมสมทบทุนในกองทุนดังกล่าว โดย ADB จะพิจารณาหาแนวทางความร่วมมือในการจัดตั้งกองทุน ACMDF ต่อไป
                   3. กำหนดการการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ADB ครั้งที่ 56
                   การประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการ ADB  ครั้งที่ 56 มีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 2-5 พฤษภาคม 2566 ณ เมืองอินชอน สาธารณรัฐเกาหลี
 

แต่งตั้ง

32. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแห่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้ง นายณรงค์  อภิกุลวณิช ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ให้ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นตำแหน่งที่กำหนดขึ้นใหม่ ตามมติคณะรัฐมนตรี (วันที่ 18 ตุลาคม 2565) ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป 
 
33. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งเพิ่มเติม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งกรรมการในคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรม แทนกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง และแต่งตั้งเพิ่มเติม ดังรายชื่อต่อไปนี้ 
                   1. นายปิยกร อภิบาลศรี ผู้แทนกระทรวงการคลัง (เป็นบุคคลในบัญชีรายชื่อกรรมการรัฐวิสาหกิจ) เป็นกรรมการแทน นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ 
                   2. นายวินัย วนานุกูล     เป็นกรรมการแทน นายสรณ บุญใบชัยพฤกษ์  
                   3. นางสาวจรสพร เฉลิมเตียรณ เป็นกรรมการแทน นางสาวไตรทิพย์ ศิวะกฤษณ์กุล 
                   4. นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เป็นกรรมการเพิ่มเติม 
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป และให้มีวาระการดำรงตำแหน่งเท่ากับกรรมการเดิมที่พ้นจากตำแหน่ง คือเท่ากับวาระของคณะกรรมการองค์การเภสัชกรรมชุดปัจจุบันที่คงเหลืออยู่
 
34. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอการแต่งตั้ง พลตำรวจเอก      ชยพล ฉัตรชัยเดช ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป

**************************************

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.thaigov.go.th/