วันศุกร์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2566

การบันทึกปรับปรุงและรับรองข้อมูลในระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 การบันทึกปรับปรุงและรับรองข้อมูลในระบบข้อมูลกลางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (INFO) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

แจ้งการโอนเงินรายได้ส่วนท้องถิ่นที่จัดเก็บควบคู่กับภาษีธุรกิจเฉพาะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 แจ้งการโอนเงินรายได้ส่วนท้องถิ่นที่จัดเก็บควบคู่กับภาษีธุรกิจเฉพาะให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559

 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2559

[สิ่งที่ส่งมาด้วย]


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

แจ้งขยายระยะเวลาการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2566

 แจ้งขยายระยะเวลาการประเมินประสิทธิภาพขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2566


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อป้องกันยาเสพติดในระดับครอบครัวด้วยองค์ความรู้ด้านทักษะสมอง ในการบริหารจัดการชีวิต (Executive Functions : EF) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2566 (เพิ่มเติม)

 โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อป้องกันยาเสพติดในระดับครอบครัวด้วยองค์ความรู้ด้านทักษะสมอง ในการบริหารจัดการชีวิต (Executive Functions : EF) สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประจำปี 2566 (เพิ่มเติม)


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

กฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566

 กฎกระทรวงกำหนดลักษณะอาคารประเภทอื่นที่ใช้ประกอบธุรกิจโรงแรม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2566


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  www.dla.go.th/

การเขียน "เลข" ในหนังสือราชการ

 





 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd


จะทำหนังสือถึงพระสงฆ์ ใช้หนังสือครุฑ หรือบันทึกข้อความ?

จะทำหนังสือถึงพระสงฆ์ ใช้หนังสือครุฑ หรือบันทึกข้อความ? จะทำหนังสือถึงปลัด...... ใช้บันทึกข้อความหรือหนังสือครุฑ? 






 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd



สำเนาหนังสือราชการ

 





 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd


วันอังคารที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2566

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี วันนี้ 27 มิถุนายน 2566

 


วันนี้ (27 มิถุนายน 2566)  เวลา 09.00 น. พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 

กฎหมาย

                     1.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... จำนวน 3 ฉบับ
                     2.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 72 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
                     3.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     4.        เรื่อง     ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                     5.        เรื่อง     ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
                     6.        เรื่อง     ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายสีเหลือง สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการ        รถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม      พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... และร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น ๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... (รวม 5 ฉบับ)
 

เศรษฐกิจ-สังคม

                     7.        เรื่อง     การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                    8.        เรื่อง     ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ครั้งที่ 1/2566
                     9.        เรื่อง     รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
                     10.      เรื่อง     การดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ 2-3
                     11.      เรื่อง     ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการทุจริต
                     12.      เรื่อง     มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565
                     13.      เรื่อง     รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของกรมบังคับคดี
                     14.      เรื่อง     รายงานความก้าวหน้าโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และการใช้สิทธิภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565
                     15.      เรื่อง     สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤษภาคม 2566
                     16.      เรื่อง     การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ
พ.ศ. 2542
                     17.      เรื่อง     รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
                        18.        เรื่อง       รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายน และ 4 เดือนแรกของปี 2566
 

แต่งตั้ง

                     19.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                     20.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     21.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     22.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     23.      เรื่อง     การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)
                     24.      เรื่อง     แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
 

______________________________
 
 
กฎหมาย
1. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... จำนวน 3 ฉบับ
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการ
                     1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                     2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                     3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. .... รวม 3 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ  ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาเป็นการล่วงหน้าแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงจำนวน 3 ฉบับ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอเป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องรถยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องไปตามมาตรฐาน โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป [ข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก (World  Trade Organization: WTO) กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องกำหนดระยะเวลาการมีผลบังคับใช้ของกฎหมายภายในไม่ต่ำกว่า 6 เดือน (ประมาณ 180 วัน) ดังนั้น กฎกระทรวงทั้ง 3 ฉบับจึงควรประกาศลงราชกิจจานุเบกษาก่อนวันที่  5 กรกฎาคม 2566 เพื่อให้สามารถบังคับใช้มาตรฐานในระดับ EURO 5 ได้ทันตามกรอบระยะเวลา] เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีคุณภาพและความปลอดภัยสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 1 ตุลาคม 2562 และมาตรฐานสากล (EURO 5) โดยผู้ทำ ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ดังกล่าวได้มีการเตรียมความพร้อมไว้แล้ว เช่น การตรวจสอบผลิตภัณฑ์และการตรวจประเมินระบบควบคุมคุณภาพของโรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์ ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับยานยนต์ เพื่อการขอใบอนุญาตทำในประเทศและนำเข้าผลิตภัณฑ์เมื่อประกาศมีผลบังคับใช้ และสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมยอมรับให้ผู้ประกอบการนำผลการทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในระดับสูงกว่า (EURO 6) เพื่อใช้ประกอบการขอรับใบอนุญาตสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในระดับที่ต่ำกว่า ซึ่งมีผู้ประกอบการรถยนต์ขนาดเล็กบางรายนำผลการทดสอบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ในระดับ EURO 6 มาใช้ประกอบการยื่นขอรับใบอนุญาตสำหรับรถยนต์ระดับใน EURO 5 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างกฎกระทรวงจำนวน 3 ฉบับแล้ว
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์รวม 3 ประเภทต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ดังนี้
ร่างกฎหมายสาระสำคัญ
1. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....Ÿ กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3018 - 2563 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 5691 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม          พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย: สารมลพิษจากเครื่องยนต์ระดับที่ 8 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563
Ÿ กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
2. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....Ÿ กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3043 - 2563 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5779 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511    เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยประกายไฟที่ใช้ก๊าซธรรมชาติหรือก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิงเฉพาะด้านความปลอดภัย: สารมลพิษจากเครื่องยนต์ ระดับที่ 3 ลงวันที่ 20 เมษายน 2563
Ÿ กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
3. ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....Ÿ กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัดต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 3046 - 2563 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5782 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม         พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรถยนต์ขนาดใหญ่ที่ใช้เครื่องยนต์แบบจุดระเบิดด้วยการอัด เฉพาะด้านความปลอดภัย: สารมลพิษจากเครื่องยนต์ระดับที่ 6 ลงวันที่ 20 เมษายน 2563
Ÿ กำหนดให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
 
2. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 72 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 72 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                     1. การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ก่อตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการท่าเรือแห่งประเทศไทย            พ.ศ. 2494 และในวันที่ 16 พฤษภาคมของทุกปี ถือเป็นวันคล้ายวันสถาปนาและได้ครบรอบ 72 ปี เมื่อวันที่           16 พฤษภาคม 2566
                     2. ต่อมา การท่าเรือแห่งประเทศไทยได้ขอความร่วมมือกรมธนารักษ์ กค. จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก 72 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมพระเกียรติและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และเผยแพร่พระเกียรติคุณของพระองค์ท่าน ให้แผ่ไพศาลไปทั้งภายในประเทศและนานาประเทศ รวมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์การบริหารจัดการกิจการของการท่าเรือแห่งประเทศไทยให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายทั่วไป และเพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกในโอกาสครบรอบ 72 ปี ดังกล่าว ทั้งนี้ กค. ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกในโอกาสดังกล่าว และได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกตามรูปแบบที่นำความกราบบังคมทูลประกอบพระราชวินิจฉัยแล้ว สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกดังกล่าวมาจากเงินทุนหมุนเวียนการบริหารจัดการเหรียญกษาปณ์ ทรัพย์สินมีค่าของรัฐและการทำของ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดย กค. ได้จัดเตรียมงบประมาณสำหรับการดำเนินงานไว้แล้ว จึงสามารถกระทำได้ตามมาตรา 169 (1)1              ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (รธน.)
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดชนิด ราคา โลหะ อัตราเนื้อโลหะ น้ำหนัก ขนาด อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ลวดลาย           และลักษณะอื่น ๆ ของเหรียญกษาปณ์โลหะสีขาว (ทองแดงผสมนิกเกิล) ชนิดราคายี่สิบบาท เพื่อเป็นที่ระลึกเนื่องในโอกาสครบ 72 ปี การท่าเรือแห่งประเทศไทย
_______________
1 รธน. พ.ศ. 60 ม. 169 บัญญัติว่า คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 167 (2) และต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปตามมาตรา 168 ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามเงื่อนไข ดังต่อไปนี้ (1) ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการหรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป เว้นแต่ที่กำหนดไว้แล้วในงบประมาณรายจ่ายประจำปี ...ฯ
 
3. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครอง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วและให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ กค. เสนอว่า
                        1. โดยที่มาตรา 63/15 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539   ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 บัญญัติให้ในกรณีที่มีการบังคับให้ชำระเงินและคำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุดแล้ว หากหน่วยงานของรัฐที่ออกคำสั่งให้ชำระเงินประสงค์ให้เจ้าพนักงานบังคับคดีในสังกัดกรมบังคับคดีดำเนินการบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองดังกล่าวให้ยื่นคำขอฝ่ายเดียวต่อศาลภายในสิบปีนับแต่วันที่คำสั่งทางปกครองที่กำหนดให้ชำระเงินเป็นที่สุด เพื่อให้ศาลออกหมายบังคับคดีเพื่อบังคับให้เป็นไปตามคำสั่งทางปกครองนั้น โดยระบุจำนวนเงินที่ผู้อยู่ในบังคับของมาตรการบังคับทางปกครองยังมิได้ชำระตามคำสั่งทางปกครอง ทั้งนี้ ไม่ว่าหน่วยงานของรัฐยังไม่ได้บังคับทางปกครองหรือได้ดำเนินการบังคับทางปกครองแล้วแต่ยังไม่ได้รับชำระเงินหรือได้รับชำระเงินไม่ครบถ้วน ประกอบกับมาตรา 63/15 วรรคหก บัญญัติให้หน่วยงานของรัฐตามมาตรานี้ หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานอื่นของรัฐตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ดังนั้น หากจะนำมาตรา 63/15 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการฯ ไปใช้บังคับแก่หน่วยงานอื่นของรัฐที่ไม่ใช่กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค    และราชการส่วนท้องถิ่น จะต้องกำหนดเป็นกฎกระทรวง
                     2. ปัจจุบันกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมีฐานะเป็นนิติบุคคลในธนาคารแห่งประเทศไทยตามมาตรา 29 ตรี แห่งพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พุทธศักราช 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ต่อมา กพม. ในการประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 ได้เห็นชอบให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นหน่วยงานของรัฐในกำกับของฝ่ายบริหาร ประเภทกองทุนที่เป็นนิติบุคคล      และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามความเห็นของ กพม. (มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 14 มีนาคม 2566)
                     กค. พิจารณาแล้วเห็นว่า มาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากำหนดหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 พ.ศ. 2540 และที่แก้ไขเพิ่มเติม กำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นหน่วยงานของรัฐตามพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ฯ ด้วยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินจึงมีสิทธิและหน้าที่ และต้องปฏิบัติการภายใต้พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดฯ ที่มีความจำเป็นต้องมีการบังคับตามคำสั่งทางปกครองโดยใช้มาตรการบังคับทางปกครอง โดยการยึดอายัด และขายทอดตลาดทรัพย์สิน ซึ่งอาจส่งผลให้การบังคับตามคำสั่งทางปกครองไม่มีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการทางปกครองแทนได้ตามมาตรา 63/15 วรรคหก แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการฯ
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     กำหนดให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเป็นหน่วยงานของรัฐที่สามารถขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับทางปกครองได้ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง
 
4. เรื่อง ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน : ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....        ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้ดำเนินการต่อไปได้
                     ทั้งนี้ ร่างกฎกระทรวงที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เป็นการแก้ไขปรับปรุงมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน โดยปัจจุบันมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมซึ่งเป็นมาตรฐานบังคับอยู่แล้ว แต่เนื่องจากใช้บังคับมานานเกินกว่า 5 ปีแล้ว [โดยอ้างอิงจากองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) หากมาตรฐานบังคับใดใช้มาเกิน 5 ปี ควรจะต้องมีการทบทวนใหม่] รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและมาตรฐานสากลที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน และเพื่อให้ผู้บริโภคได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัย และสอดคล้องกับสภาพอุตสาหกรรมในปัจจุบัน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ประกอบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นชอบด้วยในหลักการ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่าการเสนอร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยเป็นการกำหนดรายละเอียดการปฏิบัติให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทให้อำนาจไว้ ซึ่งสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 (เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้ตรวจพิจารณาร่างกฎกระทรวงดังกล่าวเป็นการล่วงหน้า โดยแก้ไขชื่อร่างกฎกระทรวงเป็น “ร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน : ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐาน พ.ศ. ....”
                     สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวง
                     1. กำหนดให้ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน : ข้อกำหนดทั่วไป ต้องเป็นไปตามมาตรฐานเลขที่ มอก. 824 เล่ม 1 - 2562 ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 6385 (พ.ศ. 2564) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน : ข้อกำหนดทั่วไป และกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสวิตซ์ไฟฟ้าสำหรับใช้ในที่อยู่อาศัยและสิ่งติดตั้งทางไฟฟ้ายึดกับที่ที่คล้ายกัน เล่ม 1 ข้อกำหนดทั่วไป ลงวันที่ 21 กันยายน 2564
                     2. กำหนดให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
 
5. เรื่อง ขอขยายระยะเวลาดำเนินการจัดทำกฎหมายลำดับรองตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรองซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 จำนวน 19 ฉบับดังกล่าวตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอ
                     ทั้งนี้ อว. เสนอว่า
                        1. พระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 ต่อมามีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559 โดยพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2562 ซึ่งบทบัญญัติกำหนดให้ดำเนินการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 64 ฉบับ สรุปได้ ดังนี้
ขั้นตอนจำนวน (ฉบับ)
1. ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว จำนวน 43 ฉบับกฎกระทรวง 35 ฉบับ
ประกาศ/ระเบียบ 8 ฉบับ
2. อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี12 ฉบับ
3. ขอขยายระยะเวลาต่อคณะรัฐมนตรีในครั้งนี้ จำนวน 19 ฉบับ
    3.1 อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา
    3.2 อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงาน ปรมาณูเพื่อสันติ
 
 
ร่างกฎกระทรวง 14 ฉบับ
 
ร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ
ร่างประกาศ 3 ฉบับ
รวม64 ฉบับ
                     2. กฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามพระราชบัญญัติดังกล่าวที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จำนวน    19 ฉบับ (ร่างกฎกระทรวง 16 ฉบับ และร่างประกาศ 3 ฉบับ) ดังนี้
                               2.1 ร่างกฎกระทรวงที่อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา จำนวน 14 ฉบับ
                                         (1) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การแจ้งการครอบครองวัสดุนิวเคลียร์
                                         (2) ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์และเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว
                                         (3) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ในการขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต        การออกใบแทนใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี
                                         (4) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การโอนใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ พ.ศ. ....   มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การโอนใบอนุญาตในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตที่ประสงค์จะโอนใบอนุญาต กรณีผู้รับใบอนุญาตตาย ผู้รับใบอนุญาตสิ้นสภาพนิติบุคคล และผู้รับใบอนุญาตตกเป็นบุคคลล้มละลาย
                                         (5) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาในการวางหลักประกันเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี เครื่องกำเนิดรังสี วัสดุนิวเคลียร์ และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ และการเข้าดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข           และระยะเวลาในการวางหลักประกันของผู้ได้รับใบอนุญาตตามพระราชบัญญัติพลังงานนิวเคลียร์เพื่อสันติ พ.ศ. 2559
                                         (6) ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในการขนส่ง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเกี่ยวกับความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีเพื่อให้ผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี เชื้อเพลิงนิวเคลียร์หรือเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว และผู้รับขนส่งวัสดุดังกล่าวมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม
                                         (7) ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัย พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขเกี่ยวกับความปลอดภัย เพื่อให้ผู้รับใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ที่ใช้เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์วิจัยเป็นผู้รับผิดชอบหลักด้านความปลอดภัยในการดำเนินการสถานประกอบการ
                                         (8) ร่างกฎกระทรวงกำหนดวิธีการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุนิวเคลียร์และสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้รับใบอนุญาต มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์ และผู้รับใบอนุญาตดำเนินการสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ต้องจัดให้มีวิธีการป้องกันการเอาไปซึ่งวัสดุนิวเคลียร์โดยมิชอบในระหว่างการใช้งานและการจัดเก็บ
                                         (9) ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับประเภทวัสดุกัมมันตรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ และเพื่อให้การกำกับดูแลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                                         (10) ร่างกฎกระทรวงกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดประเภทเครื่องกำเนิดรังสีที่บุคคลธรรมดาขอรับใบอนุญาตได้ และเพื่อให้การกำกับดูและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                                         (11) ร่างกฎกระทรวงกำหนดศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับรายละเอียดศักยภาพทางเทคนิคของผู้ขอรับใบอนุญาตเกี่ยวกับวัสดุกัมมันตรังสี โดยคำนึงถึงความเพียงพอและเหมาะสมต่อการดูแลความปลอดภัยและความมั่นคงปลอดภัยของวัสดุกัมมันตรังสีที่ขอรับใบอนุญาตในแต่ละประเภท
                                         (12) ร่างกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับใบอนุญาต ขอต่ออายุใบอนุญาต การออกใบอนุญาต และการต่ออายุใบอนุญาตเจ้าหน้าที่ดำเนินการทางเทคนิคเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์
                                         (13) ร่างกฎกระทรวงความปลอดภัยทางรังสีสำหรับเครื่องกำเนิดรังสีที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือใช้ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางรังสีสำหรับผู้มีไว้ในครอบครองหรือใช้เครื่องกำเนิดรังสีตามมาตรา 26/2 ต้องปฏิบัติ
                                         (14) ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องแจ้งการครอบครอง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับวัสดุนิวเคลียร์ที่ต้องแจ้งการครอบครองต่อสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติแทนการขอรับใบอนุญาต
                               2.2 ร่างกฎหมายที่อยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จำนวน         5 ฉบับ (ร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ และร่างประกาศ 3 ฉบับ)
                                         (1) ร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการดำเนินการของผู้รับใบอนุญาตด้านความปลอดภัยกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี ทั้งนี้ เหตุฉุกเฉินทางนิวเคลียร์และรังสีไม่ว่าจะเกิดขึ้นในสถานประกอบการหรือในระหว่างการขนส่งต่างเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสี
                                         (2) ร่างกฎกระทรวงมาตรฐานเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. ....  มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดให้ผู้ขอรับใบอนุญาตก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์ หรือผู้ขอรับใบอนุญาตสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสีมีมาตรฐานเกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรงและความปลอดภัยในการก่อสร้างสถานประกอบการทางนิวเคลียร์และสถานที่ให้บริการจัดการกากกัมมันตรังสี
                                         (3) ร่างประกาศสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และระยะเวลาสำหรับรายงานปริมาณวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการรายงานปริมาณวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ที่อยู่ในความครอบครองต่อเลขาธิการ
                                         (4) ร่างประกาศสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติเรื่องกำหนดด่านศุลกากรที่ผู้รับใบอนุญาตนำเข้าส่งออก หรือนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสีวัสดุนิวเคลียร์ หรือกากกัมมันตรังสี พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดด่านศุลกากรในการนำเข้า ส่งออกนำผ่านวัสดุกัมมันตรังสีและวัสดุนิวเคลียร์ และเป็นการกำหนดด่านศุลกากรในการนำเข้า ส่งออกกากกัมมันตรังสี
                                         (5) ร่างประกาศสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ  และเงื่อนไขในการแจ้งการขนส่ง พ.ศ. .... มีสาระสำคัญเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการแจ้งการขนส่ง       ในกรณีที่ผู้ครอบครองวัสดุกัมมันตรังสี วัสดุนิวเคลียร์ กากกัมมันตรังสี เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ หรือเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วประสงค์จะจัดให้มีการขนส่งวัสดุดังกล่าว
                               2.3 โดยที่มาตรา 22 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติหลักเกณฑ์การจัดทำร่างกฎหมายและการประเมินผลสัมฤทธิ์ของกฎหมาย พ.ศ. 2562 ซึ่งบัญญัติให้กฎหมายที่กำหนดให้ต้องมีการออกกฎ หากมิได้มีการออกกฎดังกล่าวนั้นภายในระยะเวลาสองปีนับแต่วันที่กฎหมายนั้นมีผลใช้บังคับและบทบัญญัติในเรื่องนั้นก่อภาระหรือเป็นผลร้ายต่อประชาชนให้บทบัญญัติดังกล่าวเป็นอันสิ้นผลบังคับ ทั้งนี้ ระยะเวลาสองปีดังกล่าวคณะรัฐมนตรีจะมีมติขยายออกไปอีกก็ได้ แต่ไม่เกินหนึ่งปี และต้องมีมติก่อนที่จะครบกำหนดเวลาสองปีดังกล่าว ประกอบกับมาตรา 39 บัญญัติให้ระยะเวลาสองปีตามมาตรา 22 วรรคสองสำหรับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันก่อนที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ให้นับแต่เมื่อพ้นกำหนดสองปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ดังนั้น       การออกกฎหมายลำดับรองทั้ง 19 ฉบับ ในเรื่องนี้ จึงต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2566 แต่โดยที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการตรวจพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและอยู่ระหว่างการดำเนินการของสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จึงมีความจำเป็นต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายระยะเวลาในการออกกฎหมายลำดับรอง จำนวน 19 ฉบับ ออกไปอีก 1 ปี จนถึงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2567
_________________________
1กฎหมายที่อยู่ระหว่างเสนอคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีที่ไม่อยู่ภายใต้การควบคุม พ.ศ. .... และร่างกฎกระทรวงกำหนดวัสดุกัมมันตรังสีที่ต้องแจ้งการมีไว้ในครอบครองหรือต้องใช้ พ.ศ. .... ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว
 
6. เรื่อง ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารฯ สายสีเหลือง สายเฉลิมรัชมงคล และสายฉลองรัชธรรม ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย         ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม      พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... และร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่น ๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... (รวม 5 ฉบับ)
                     คณะรัฐมนมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รวม 5 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอดังนี้
                     1. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง พ.ศ. .... (ช่วงลาดพร้าว - สำโรง)
                     2. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. .... (สายสีน้ำเงิน)
                     3. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. .... (สายสีม่วง)
                     4. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. 2565 พ.ศ. ....
                     5. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. ....
                     สาระสำคัญ
                     ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย รวม 5 ฉบับ ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ สืบเนื่องมาจากรถไฟฟ้าสายสีเหลือง (ช่วงลาดพร้าว - สำโรง) มีกำหนดเปิดให้บริการเดินรถในวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ประกอบกับมาตรา 18 (13) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 บัญญัติให้คณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยมีอำนาจหน้าที่ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าโดยสาร ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมการใช้ทรัพย์สิน การให้บริการและความสะดวกในกิจการรถไฟฟ้า ตลอดจนวิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร ค่าบริการและค่าธรรมเนียมดังกล่าว และกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสาร โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี ซึ่งคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยได้เห็นชอบร่างข้อบังคับฯ รวม 5 ฉบับดังกล่าวแล้ว ประกอบด้วย
                     1. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง พ.ศ. .... (ช่วงลาดพร้าว - สำโรง) เป็นการกำหนดอัตราค่าโดยสาร โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท สูงสุด 45 บาท (23 สถานี) ซึ่งคำนวณตามวิธีการในสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากอัตราค่าโดยสารพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงดัชนีผู้บริโภค (Consumer Price Index : CPI) 3 เดือน ก่อนวันที่เริ่มให้บริการ (เดือนเมษายน 2566) และกำหนดหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมการให้ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบแก่ผู้โดยสาร ในกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบระหว่างการรถไฟฟ้าของ รฟม. (เช่น การเปลี่ยนถ่ายระบบจากรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินมายังสายสีเหลือง ณ สถานีลาดพร้าว) โดยให้คนโดยสารได้รับส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบภายใต้การจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียว และกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบระหว่างรถไฟฟ้าของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยกับรถไฟฟ้าสายอื่นนอกความรับผิดชอบของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยให้คณะกรรมการประกาศกำหนดระยะเวลาสูงสุดสำหรับการเปลี่ยนถ่ายระบบ
                     2. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. ... (สายสีน้ำเงิน) เป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล พ.ศ. 2565 เพื่อเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิมมี 38 สถานี เริ่มต้นที่ 17 บาท สิ้นสุด 43 บาท)
                     3. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. ... (สายสีม่วง) เป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสาร วิธีการจัดเก็บค่าโดยสาร และการกำหนดประเภทบุคคลที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม พ.ศ. 2565 เพื่อเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนถ่ายระบบกับรถไฟฟ้าสายอื่น (คงอัตราค่าโดยสารตามข้อบังคับฉบับเดิมมี 16 สถานี เริ่มต้นที่ 14 บาท สิ้นสุด 42 บาท)
ทั้งนี้ โดยร่างข้อบังคับฯ ตามข้อ 1 - ข้อ 3 ข้างต้น จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับรายการส่งเสริมการเดินทาง ส่วนลดกลุ่มบุคคล (เช่น เด็กนักเรียน นักศึกษา ส่วนลดการเปลี่ยนถ่ายระบบ ตามประเภทผู้ถือบัตร การจัดโปรโมชั่น กิจกรรมการตลาด การจำหน่ายตั๋วรายเดือน ตั๋วเป็นชุด ตั๋วราคาพิเศษ ความร่วมมือกับพันธมิตร สวัสดิการพนักงาน สนับสนุนนโยบายภาครัฐ เป็นต้น โดยคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะกำหนดอัตราค่าโดยสารต่ำกว่าอัตราค่าโดยสารหรือยกเว้นอัตราค่าโดยสารตามที่กำหนดในข้อบังคับ เพื่อส่งเสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่คนโดยสาร กิจกรรมตามนโยบายของรัฐบาล หรือเพื่อประโยชน์อื่นใดก็ได้ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับสนับสนุนกิจกรรมพิเศษ (เช่น งานเฉลิมฉลอง งานพระราชพิธี) โดยคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยจะกำหนดอัตราค่าโดยสารต่ำกว่าอัตราค่าโดยสารหรือยกเว้นอัตราค่าโดยสารตามที่กำหนดในข้อบังคับได้เป็นครั้งคราว เพื่อส่งสริมการใช้บริการรถไฟฟ้า กิจกรรมตามนโยบายของรัฐ หรือในกรณีที่มีความจำเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
                     4. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. 2565 พ.ศ. .... เป็นการยกเลิกข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยการกำหนดอัตราค่าโดยสารร่วม พ.ศ. 2565 เนื่องจากได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ส่วนลดกรณีการเปลี่ยนถ่ายระบบภายใต้การจัดเก็บค่าแรกเข้าเพียงครั้งเดียวไว้ในร่างข้อบังคับฯ ตามข้อ 1.1 - ข้อ 1.3 แล้ว
                     5. ร่างข้อบังคับการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ว่าด้วยอัตราและวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ และค่าธรรมเนียมและค่าบริการอื่นๆ เกี่ยวกับการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ พ.ศ. .... เป็นการกำหนดอัตราค่าบริการจอดรถยนต์และวิธีการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์สำหรับอาคารจอดรถยนต์ทุกแห่ง รวมถึงอาคารจอดรถยนต์อื่นๆ ในอนาคตของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยรวมไว้ในฉบับเดียวกัน ซึ่งจะรองรับการจัดเก็บค่าบริการจอดรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของผู้มาใช้บริการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองสำหรับการเปิดให้บริการในวันที่ 3 กรกฎาคม 2566 ไว้ด้วย
                     สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเห็นว่า ร่างข้อบังคับฯ ทั้ง 5 ฉบับ ดังกล่าว ออกโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 18 (13) แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 เป็นการปฏิบัติราชการตามปกติเพื่อให้เป็นไปตามที่กฎหมายแม่บทได้บัญญัติให้อำนาจไว้ โดยมิได้ก่อให้เกิดภาระต่องบประมาณแผ่นดินหรือภาระทางการคลังในอนาคต และมิใช่กรณีที่คณะรัฐมนตรีกระทำการเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไปตามมาตรา 169 (1) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ประกอบกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2566 เรื่อง แนวทางปฏิบัติอันเนื่องมาจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร กรณีอยู่ในอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างข้อบังคับฯ รวม 5 ฉบับได้
 
เศรษฐกิจ-สังคม
7. เรื่อง การโอนเงินหรือสินทรัพย์ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอให้โอนเงินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (กองทุนฯ) เข้าบัญชีสะสมเพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (บัญชีสะสมฯ) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพิ่มเติม จำนวน 6,062 ล้านบาท ซึ่งจะมีผลให้กองทุนฯ โอนเงินของกองทุนฯ เข้าบัญชีสะสมฯ เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ยที่ กค. กู้ตามพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 (FIDF 1) และพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545 (FIDF 3) ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รวมจำนวนทั้งสิ้น 8,062 ล้านบาท
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กค. รายงานว่า ในเดือนพฤษภาคม 2566 กองทุนฯ ได้รับเงินปันผลจากธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) รวมจำนวน 6,062 ล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการจัดการกองทุนในการประชุมเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2565 ได้มีมติเห็นควรให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติให้โอนเงินที่กองทุนฯ จะได้รับดังกล่าวเพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 ในปีงบประมาณ        พ.ศ. 2566 เพิ่มเติมทั้งจำนวน ทั้งนี้ ส่งผลให้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จะมีเงินของกองทุนฯ ที่นำส่งเข้าบัญชีสะสมฯ เพื่อชำระคืนต้นเงินกู้และดอกเบี้ย FIDF 1 และ FIDF 3 รวมจำนวนทั้งสิ้น 8,062 ล้านบาท [2,000 ล้านบาท + 6,062 ล้านบาท (จำนวนเงินที่ กค. ขออนุมัติโอนเพิ่มเติมในครั้งนี้)] โดยข้อมูล ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ยอดต้นเงินกู้ FIDF 1 และ FIDF 3 สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายงานจำนวนเงิน
ยอดรวมต้นเงินกู้ที่รับมาดำเนินการตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 25551,138,305.89
ยอดชำระหนี้สะสมตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2555 - พฤษภาคม 2566 (เงินต้น จำนวน 462,970.39 ล้านบาท ดอกเบี้ย จำนวน 355,222.58 ล้านบาท และค่าบริหารจัดการ จำนวน 13.60 ล้านบาท)818,206.57
ยอดหนี้คงค้าง ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2566 (รวมการลดภาระหนี้จากบัญชี Premium FIDF* จำนวน 14,347 ล้านบาท)660,988.50
ที่มา : รายงานการบริหารหนี้ตามพระราชกำหนดปรับปรุงการบริหารหนี้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2555 ตั้งแต่เริ่มดำเนินการถึง ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2566
________________
Premium FIDF คือ บัญชีเงินฝากจากเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Premium FIDF 1) และบัญชีเงินฝากจากการกู้เงินเพื่อช่วยเหลือกองทุนฯ (Premium FIDF 3) ซึ่งเป็นบัญชีที่ใช้สะสมเงินส่วนเพิ่มที่เกิดจากราคาซื้อขายพันธบัตรสูงกว่าราคาที่ตราไว้ เพื่อนำไปสมทบชำระหนี้ FID
 
8. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ  ครั้งที่ 1/2566
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการติดตามเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ (คณะกรรมการฯ) เสนอผลการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 19 เมษายน 2566          สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                     1. ความคืบหน้าการดำเนินการตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ในคราวประชุม ครั้งที่ 4/2565 เช่น
                         1.1 กรมบัญชีกลางได้แจ้งหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการขอขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้หน่วยงานของรัฐขยายเวลาเบิกจ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ที่ได้รับอนุมัติให้กันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีมีหนี้ผูกพันถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนมีนาคม 2566        ทุกรายการ ให้สามารถใช้จ่ายได้ถึงวันทำการสุดท้ายของเดือนกันยายน 2566
                         1.2 สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เช่น กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจไม่น้อยกว่าร้อยละ 95 การปรับกรอบงบลงทุนระหว่างปี 2566 ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 1 และการปรับแผนการลงทุนให้สามารถเบิกจ่ายได้เร็วขึ้นในช่วงไตรมาสที่ 1 และ 2 ของปี
                     2. รายงานการเบิกจ่ายงบประมาณและการใช้จ่ายภาครัฐ
                         2.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายเงิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 มีการเบิกจ่ายแล้วจำนวน 1,955,667 ล้านบาท สรุปได้ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท
รายการวงเงินงบประมาณ/แผนการใช้จ่ายเบิกจ่ายแล้วร้อยละเบิกจ่าย
งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 256613,185,0001,691,98053.12
เงินกันไว้เบิกเหลื่อมปี190,348103,44354.34
เงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ)2222,460111,38550.07
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลัง (กค.) กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563) (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท)382042151.34
โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท)366,04548,43873.34
รวม3,664,6731,955,66753.37
                                    ทั้งนี้ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีโครงการลงทุนที่มูลค่าโครงการตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป รวม 112 โครงการ มูลค่าโครงการทั้งหมด 2.68 ล้านล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 68,817 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 46.12 ของแผนการใช้จ่ายเงิน (1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566)
                         2.2 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย (จากระบบ GFMIS)
                               2.2.1 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่าย ตั้งแต่ต้นปีงบประมาณจนถึงวันที่            31 มีนาคม 2566 เบิกจ่ายแล้ว จำนวน 1,691,980 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 53.12 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 1.12 (เป้าหมายร้อยละ 52) ใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) จำนวน 1,870,777 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 58.74 สูงกว่าเป้าหมายร้อยละ 2.50 (เป้าหมายร้อยละ 56.24) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
รายการเบิกจ่ายแล้วใช้จ่ายแล้ว
ล้านบาทร้อยละล้านบาทร้อยละ
รายจ่ายประจำ1,459,29157.881,472,08258.39
รายจ่ายลงทุน232,68935.05396,69560.06
                               2.2.2 งบประมาณที่กันไว้เบิกเหลื่อมปี (งบประมาณ พ.ศ. 2565) มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 103,443 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 54.34 มีการใช้จ่ายแล้ว (ก่อหนี้ผูกพันแล้ว) จำนวน 104,774 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 55.04 (ของวงเงินงบประมาณ 190,348 ล้านบาท)
                               2.2.3 ผลการเบิกจ่ายเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจำแนกตามขนาดของวงเงินงบประมาณ สรุปได้ ดังนี้
หน่วยงานวงเงินรวม
(ล้านบาท)
เบิกจ่ายแล้วใช้จ่ายแล้ว
ล้านบาทร้อยละล้านบาทร้อยละ
กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท43,21357918.021,46145.47
กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท526,79912,62847.1219,31272.06
กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 10,000 ล้านบาท6462,234171,78837.16314,24067.98
หน่วยงานอื่น ๆ7171,53947,69427.8063,68237.12
                               2.2.4 ปัญหาและอุปสรรค มีดังนี้ (1) ด้านกระบวนการดำเนินงาน เช่น หน่วยงานเบิกจ่ายเงินรายการผูกพันเดิมจากเงินกันไว้เบิกเหลื่อมปีก่อน แล้วจึงเบิกจ่ายจากเงินงบประมาณปีปัจจุบัน หรือความล่าช้าในการดำเนินงานกรณีเป็นรายการปีเดียว/รายการผูกพันใหม่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในขั้นตอนการจัดทำร่างขอบเขตของงานและการกำหนดราคากลาง และ (2) ด้านการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนดำเนินการ เช่น           อยู่ในระหว่างการปรับปรุงแบบรูปรายการแบบแปลนงานก่อสร้าง และมีการแก้ไขรายละเอียดเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ/พื้นที่จริง
                                   ข้อเสนอแนะ เช่น (1) หน่วยรับงบประมาณควรจัดทำแผนการดำเนินงานของแต่ละงาน/โครงการโดยระบุวันที่ดำเนินการให้ชัดเจน เช่น วันที่ส่งราคากลาง วันที่ส่งมอบงาน และหากการดำเนินการตามสัญญามีความล่าช้าและไม่เป็นไปตามแผนหรือระยะเวลาที่กำหนด ให้หน่วยงานทำหนังสือเร่งรัดให้คู่สัญญาและหากคู่สัญญายังมีความล่าช้า หน่วยงานของรัฐควรใช้ดุลพินิจในการพิจารณาบอกเลิกสัญญา (2) หัวหน้าส่วนราชการต้องให้ความสำคัญในการกำกับดูแลการเตรียมความพร้อมของโครงการก่อนเริ่มดำเนินการ เช่น การกำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะเฉพาะ คุณสมบัติผู้เสนอราคา และเงื่อนไขในการจัดซื้อจัดจ้าง รูปแบบและเนื้อหาของสัญญาที่จะลงนามเพื่อให้การจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปด้วยความรวดเร็ว สามารถก่อหนี้ผูกพันและเบิกจ่ายเงินได้แล้วเสร็จภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และ (3) ให้กรมบัญชีกลางรับข้อสังเกตกรณีการอุทธรณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลซึ่งทำให้หน่วยงานของรัฐเสียโอกาสจากการดำเนินโครงการล่าช้า และควรกำหนดมาตรการลงโทษโดยขึ้น Blacklist            ผู้อุทธรณ์หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้อุทธรณ์กรณีดังกล่าว
                         2.3 การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ
                               2.3.1 ภาพรวมการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจในปี 2566 ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566 รัฐวิสาหกิจมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุน จำนวน 77,154 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 114 ของแผนการเบิกจ่าย     สรุปได้ ดังนี้
ประเภทรัฐวิสาหกิจแผนการเบิกจ่าย/เป้าหมาย (ล้านบาท)ผลการเบิกจ่ายผลการเบิกจ่ายจำแนกรายแห่ง (3 อันดับ)
ล้านบาทร้อยละสูงสุดต่ำสุด
ปีงบประมาณ50,38155,003109(1) การรถไฟแห่งประเทศไทย
(2) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
(3) การประปานครหลวง
(1) การท่าเรือแห่งประเทศไทย
(2) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(3) การเคหะแห่งชาติ
ปีปฏิทิน17,24722,151128(1) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
(2) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
(3) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
(1) บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
(2) บริษัท ธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด
(3) บริษัท โทรคมนาคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
รวม67,62877,154114--
                               2.3.2 ผลการดำเนินการตามมาตรการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ เช่น (1) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีเป้าหมายการเบิกจ่ายงบลงทุนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 95 ของกรอบงบลงทุน (2) รัฐวิสาหกิจปีงบประมาณและรัฐวิสาหกิจปีปฏิทินส่วนใหญ่มีการลงนามในสัญญาแล้ว คิดเป็นมูลค่ามากกว่าร้อยละ 80 และร้อยละ 65 ของกรอบลงทุน ตามลำดับ (ข้อมูล ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2566) (3) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่ไม่มีแผนในการปรับกรอบงบลงทุนภายหลังจากเดือนมีนาคม 2566 และ (4) รัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่มีประมาณการการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน แต่พบว่ามีรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณทั้งหมดจำนวน         20 แห่ง ที่มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนในรอบ 6 เดือนแรก ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของกรอบลงทุนและมีประมาณการการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน
                               2.3.3 ข้อเสนอแนะ ให้กระทรวงเจ้าสังกัด คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจและผู้บริหารสูงสุดของรัฐวิสาหกิจ ดำเนินการ เช่น (1) กำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่มีประมาณการการเบิกจ่ายลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมาย และ (2) ให้จัดทำแนวทางกำกับติดตามการเบิกจ่ายงบลงทุนให้เป็นไปตามเป้าหมายสำหรับรัฐวิสาหกิจปีงบประมาณในกลุ่มที่มีกรอบงบลงทุนสูงสุด 10 อันดับแรก และมีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566 ต่ำกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน และมีประมาณการการเบิกจ่ายงบลงทุนในไตรมาสที่ 4 สูงกว่าร้อยละ 35 ของกรอบงบลงทุน ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดการกระจายตัวของงบลงทุน
                         2.4 ความคืบหน้าโครงการลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไป (ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ)
                               2.4.1 โครงการลงทุนที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1,000 ล้านบาทขึ้นไปของส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจมีจำนวน 112 โครงการ มูลค่ารวม 2.68 ล้านล้านบาท โดยมีวงเงินเบิกจ่ายลงทุนในปี 2566 จำนวน 149,203 ล้านบาท และแหล่งเงินทุนสำคัญที่ใช้ในการดำเนินโครงการ ได้แก่ เงินกู้ในประเทศและเงินที่เอกชนร่วมลงทุนในโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน
                               2.4.2 สถานะการดำเนินการโครงการ สรุปได้ ดังนี้
โครงการจำนวน (โครงการ)มูลค่า (ล้านบาท)
โครงการที่รัฐดำเนินการเอง872,160,000
- ลงนามในสัญญาแล้ว35794,483
- ลงนามในสัญญายังไม่ครบ8501,340,000
- ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา216,847
โครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน25541,850
- ลงนามในสัญญาแล้ว5141,486
- ยังไม่ได้ลงนามในสัญญา20400,364
                         2.5 การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 (กรอบวงเงิน 1 ล้านล้านบาท)
                               2.5.1 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ       พ.ศ. 2563 จำนวน 1,087 โครงการ วงเงิน 982,228 ล้านบาท โดยหน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 950,557 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 97 ของวงเงินอนุมัติ (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) ทั้งนี้ การดำเนินโครงการและการเบิกจ่ายของโครงการภายใต้พระราชกำหนดดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้วเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2565 โดนในปีงบประมาณ 25669 มีแผนการเบิกจ่ายรวม 820 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2565 -     31 มีนาคม 2566) วงเงินรวม 421.09 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 51 ของแผนเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแผนการเบิกจ่ายสะสม
                               2.5.2 การส่งคืนเงินกู้เหลือจ่ายภายหลังเสร็จสิ้นแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ได้จัดทำรายงานการใช้จ่ายเงินกู้โครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566 เสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีผลการเบิกจ่ายเงินกู้ของโครงการ จำนวน 950,557 ล้านบาท คงค้างยอดเงินที่อยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องจากระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ จำนวน 98,300 บาท และมีเงินกู้ดอลลาร์สหรัฐที่อยู่ระหว่างปิดบัญชีและส่งคืนคลัง จำนวน 2,983.98 บาท ซึ่งคาดว่าจะคงเหลือเงินกู้ที่จะนำส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดิน จำนวน 13,896 ล้านบาท ทั้งนี้ กรมบัญชีกลางอยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของผลการเบิกจ่ายเงินกู้ของหน่วยงานและจะแจ้งให้ สบน. ทราบ ภายในเดือนพฤษภาคม 256610 เพื่อ สบน. จะได้นำเงินกู้คงเหลือส่งคืนคลังเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
                         2.6 การเบิกจ่ายโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (กรอบวงเงิน 5 แสนล้านบาท) คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 2,445 โครงการ วงเงิน 499,736 ล้านบาท โดยหน่วยงานมีการเบิกจ่ายแล้วทั้งสิ้น 474,737 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 95 ของวงเงินอนุมัติ และคงเหลือโครงการที่อยู่ระหว่างการเบิกจ่าย จำนวน 190 โครงการ วงเงิน 43,604 ล้านบาท เบิกจ่ายแล้ว 34,573 ล้านบาท (ข้อมูล ณ วันที่ 31 มีนาคม 2566) และในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 มีแผนการเบิกจ่ายวงเงินรวม 66,045 ล้านบาท และมีแผนเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2565 -            18 มีนาคม 2566) วงเงินรวม 57,983 ล้านบาท โดยหน่วยงานเจ้าของโครงการเบิกจ่ายสะสม (เดือนตุลาคม 2565 - มีนาคม 2566) วงเงินรวม 48,438 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 73 และร้อยละ 84 ของแผนเบิกจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และแผนการเบิกจ่ายสะสมตามลำดับ ทั้งนี้ พบปัญหาอุปสรรคในขั้นตอนการดำเนินโครงการที่ส่งผลให้เกิดความล่าช้าและไม่สามารถดำเนินโครงการได้ทันตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เช่น
โครงการปัญหา/อุปสรรคแนวทางแก้ไข
โครงการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ChulaCov19 mRNA เพื่อทำการทดสอบทางคลินิกระยะที่ 3 และการผลิตเพื่อขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินการทดสอบวัคซีนใช้ระยะเวลานาน เนื่องจากความล่าช้าในขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติให้ทดสอบวัคซีนในมนุษย์ โดยคาดว่าจะสามารถขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้ภายในสิ้นปี 2566ขยายระยะเวลาในการทดสอบวัคซีนออกไปถึงเดือนธันวาคม 2566 และจัดทำแผนบริหารความเสี่ยงการใช้จ่ายเงินกู้เสนอต่อคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.)
โครงการพัฒนาและเสริมสร้างความเข็มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก ปี 2565ไม่สามารถดำเนินโครงการได้ตามระยะเวลาที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ เนื่องจากระยะเวลาเบิกจ่ายไม่เป็นไปตามแผนและมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสัญญาจ้างขยายระยะเวลาดำเนินโครงการและเร่งรัดดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จและหากไม่สามารถดำเนินโครงการได้เห็นควรให้แจ้งขอยกเลิกโครงการไปยัง คกง. โดยเร็ว
_____________________
1 งบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เป็นวงเงินประมาณหลังโอนเปลี่ยนแปลง สำหรับเป้าหมายการใช้จ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เดือนมีนาคม 2566 รายจ่ายภาพรวม ร้อยละ 56.24 รายจ่ายประจำ ร้อยละ 55.78 และรายจ่ายลงทุน   ร้อยละ 58.15 เป้าหมายการเบิกจ่ายของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เดือนมีนาคม 2566 รายจ่ายภาพรวม ร้อยละ 52 รายจ่ายประจำ ร้อยละ 55 และรายจ่ายลงทุน ร้อยละ 39
2 ข้อมูลเงินลงทุนของรัฐวิสาหกิจ (ไม่รวมเงินงบประมาณ) ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 - 31 มีนาคม 2566
3 ข้อมูลการกู้เงินและวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ ณ วันที่ 14 มีนาคม 2566 และผลเบิกจ่ายสะสมถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566
4 กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนไม่เกิน 1,000 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม
5 กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 1,000 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงการคลัง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงยุติธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักนายกรัฐมนตรี
6 กระทรวงที่ได้รับรายจ่ายลงทุนมากกว่า 10,000 ล้านบาท ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข
หน่วยงานอื่น ๆ ได้แก่ ส่วนราชการที่ไม่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี หน่วยงานของรัฐสภา หน่วยงานของศาล หน่วยงานอิสระของรัฐ รัฐวิสาหกิจ สภากาชาดไทย หน่วยงานอื่นของรัฐ จังหวัดและกลุ่มจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กองทุนและเงินทุนหมุนเวียน และงบกลาง
8 ลงนามในสัญญายังไม่ครบ เช่น ในกรณีการดำเนินการโครงการจะต้องมีการลงนามสัญญาทั้งสิ้น 10 สัญญา แต่ขณะนี้สามารถลงนามในสัญญาแล้วเพียง 5 สัญญา
เป็นการเบิกจ่ายในช่วงเดือนตุลาคม - ธันวาคม 2565
10 กรมบัญชีกลางยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ โดยยังอยู่ระหว่างตรวจสอบความถูกต้องของผลการเบิกจ่าย
 
9. เรื่อง รายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการพิจารณาต่อข้อเสนอแนะกรณีการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลายหลายทางเพศ ของคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม) เสนอ ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ และแจ้งให้คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติทราบต่อไป
                     เรื่องเดิม
                     1. กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนว่า หน่วยงานราชการ สถานศึกษา รัฐวิสาหกิจ รวมถึงหน่วยงานเอกชน ไม่มีบริการห้องน้ำสาธารณะที่รองรับการใช้งานของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ อันเป็นการเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเพศสภาพ จึงได้มีข้อเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนต่อคณะรัฐมนตรีและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                     2. กสม. พิจารณาแล้วเห็นว่า การจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานอย่างหนึ่ง ที่ต้องคำนึงถึงความละเอียดอ่อนทางเพศและความปลอดภัยบนพื้นฐานการเคารพเสรีภาพในความเป็นอยู่ส่วนตัว และเสรีภาพในการแสดงออกของบุคคลทุกเพศและทุกวัย ทำให้การจัดให้มีห้องน้ำตามเพศสรีระอันเป็นเพศแต่กำเนิด ได้แก่ ห้องน้ำชายและหญิง มีผลกระทบต่อบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศบางกลุ่มที่ไม่อาจใช้ห้องน้ำได้ตรงตามอัตลักษณ์ทางเพศหรือตามการแสดงออกทางเพศของตนได้ การจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะในลักษณะที่เป็นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ จึงเป็นเรื่องที่สมควรได้รับการพิจารณาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบอันนำไปสู่การสร้างความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคล
                     3. รองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) สั่งและปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งมอบหมายให้ พม. เป็นหน่วยงานหลักรับเรื่องนี้ไปพิจารณาร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) กระทรวงคมนาคม (คค.) กระทรวงมหาดไทย (มท.) กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะดังกล่าว โดยให้ พม. สรุปผลการพิจารณาหรือผลการดำเนินการดังกล่าวในภาพรวม แล้วส่งให้สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     พม. รายงานว่า ได้ประชุมหารือร่วมกับ กก. อว. คค.  มท. รง. ศธ. และ สธ. แล้ว เมื่อวันที่             7 ตุลาคม 2565 ซึ่งมีผลการพิจารณาสรุปในภาพรวมได้ ดังนี้
ข้อเสนอแนะของ กสม.สรุปผลการพิจารณาในภาพรวม
1.ระยะสั้น ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายหน่วยงานของรัฐพิจารณากำหนดนโยบาย มาตรการ หรือแนวทางในการใช้ห้องน้ำในสถานที่ราชการและหน่วยงานอื่นในกำกับของรัฐ โดยส่งเสริมให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสามารถใช้ห้องน้ำได้ตามเพศสภาพหรืออัตลักษณ์ทางเพศสภาพตามเจตจำนงของตนได้ โดยให้พิจารณาบริหารจัดการจากห้องน้ำที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจะเพิ่มเติมห้องน้ำสำหรับบุคคลทุกเพศนอกเหนือไปจากห้องน้ำชาย ห้องน้ำหญิง และห้องน้ำสำหรับคนพิการ· พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นด้วยกับการจัดให้มีห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเพิ่มเติมจากห้องน้ำชายและห้องน้ำหญิง โดยต้องคำนึงถึงหลักสำคัญ  3 ประการ ได้แก่ 1) ความปลอดภัย เช่น ต้องไม่ตั้งอยู่ในที่เปลี่ยวหรือลับตา 2) ความสะอาด ต้องถูกสุขลักษณะ สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานส้วมสาธารณะระดับประเทศของ สธ. และ 3) ความสะดวกใจของผู้ใช้บริการทุกเพศ
· มท. ได้แจ้งเวียนหน่วยงานภายในเพื่อขอความร่วมมือให้จัดให้มีห้องสุขาสำหรับบุคคลหลากหลายทางเพศอย่างน้อย 1 ห้อง หรือตามความเหมาะสมของแต่ละสถานที่โดยติดป้าย All Gender Restroom และป้ายบอกทางให้ชัดเจนแล้ว
2. ระยะยาว ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายหน่วยงานของรัฐทำการศึกษาและออกแบบการจัดทำห้องน้ำว่าห้องน้ำสาธารณะควรมีลักษณะอย่างไรจึงจะรองรับการใช้งานของบุคคลทุกคนได้อย่างเหมาะสม เป็นไปตามหลักความเสมอภาคของบุคคล เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องหรือระเบียบกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการจัดให้มีห้องน้ำที่สามารถรองรับการใช้งานของบุคคลทุกเพศทุกวัย และต้องไม่มีกฎเกณฑ์ข้อห้ามหรืออุปสรรคต่อการที่บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศจะเลือกเข้าห้องน้ำตามอัตลักษณ์ทางเพศของตน ทั้งนี้ ควรให้ประชาชนทุกภาคส่วน เช่น คนพิการ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้มีครรภ์ บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะประกอบการดำเนินการด้วย· พม. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเห็นว่า กรณีแนวทางจัดทำห้องน้ำสาธารณะสำหรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ควรศึกษา     วิจัยเพิ่มเติมโดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566                   ได้ดำเนินการ ดังนี้
   1) พม. (กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อระดมความคิดเห็นต่อแนวทางดังกล่าว ร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเสนอคณะกรรมการส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศ (คณะกรรมการ สทพ.) พิจารณาต่อไป
   2) กก. ได้จัดทำแบบแปลนห้องน้ำสาธารณะเพื่อการท่องเที่ยวระดับสากล เพื่อรองรับทุกเพศทุกวัยรวมถึงผู้พิการ ซึ่งแบบแปลนดังกล่าวสามารถใช้เป็นทางเลือกเพื่อพิจารณาปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานที่ต่าง ๆ ได้
 
3. ให้คณะรัฐมนตรีมอบหมาย พม. กก. อว.  มท. รง. ศธ. สธ. และหน่วยงานที่จัดบริการสาธารณะอื่นที่เกี่ยวข้องดำเนินการส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศให้แก่บุคลากรภาครัฐและประชาชนทั่วไป· พม. (กรมกิจการสตรี และสถาบันครอบครัว)              ได้ส่งเสริมความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับสิทธิของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยผ่านกลไกผู้บริหารด้านการเสริมสร้างบทบาทหญิงชายและศูนย์ประสานงานด้านความเสมอภาคระหว่างหญิงชายในหน่วยงานภาครัฐจำนวน 138 หน่วยงาน ให้สอดคล้องกับหลักการไม่เลือกปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยรวมทั้งหลักการสากลต่าง ๆ
 
10. เรื่อง การดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ 2-3
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ 2-3 (โครงการสวนป่าเบญจกิติฯ) ตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     กค. รายงานว่า
                     1. กองทัพบกได้ก่อสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ 2 และ 3 แล้วเสร็จ เมื่อเดือนธันวาคม 2564 และเดือนมิถุนายน 2565 ตามลำดับ และกรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้กรุงเทพมหานครใช้ที่ราชพัสดุบริเวณป่าดังกล่าว รวมทั้งอาคารราชพัสดุจำนวน 4 หลัง ประกอบด้วย อาคารพิพิธภัณฑ์ จำนวน 1 หลัง และอาคารกีฬา จำนวน 3 หลัง เพื่อดูแล บำรุงรักษาและบริหารจัดการสวนสาธารณะ
                     2. กรมธนารักษ์ได้จัดพิธีเปิดสวนป่า ระยะที่ 2 และ 3 ในสวนสาธารณะ “เบญจกิติ” เพื่อเฉลิม    พระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา 12 สิงหาคม 2565 เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2565
                     3. คณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ”1  ได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 เห็นชอบให้กรมธนารักษ์นำส่งเงินคงเหลือจากการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” จำนวน  3,250,281.53 บาทคืน กค. เป็นรายได้แผ่นดินตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2540 และรายงานผลการดำเนินโครงการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ระยะที่ 2 และ 3 ให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้นำส่งเงินคงเหลือจากการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” จำนวนดังกล่าวคืน กค. เป็นรายได้แผ่นดินแล้ว
__________________
กค. ได้มีคำสั่ง ที่ 1713/2563 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” โดยยกเลิกคำสั่ง กค. ที่ 1639/2557 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2557 เนื่องจากมีการกำหนดองค์ประกอบของคณะกรรมการใหม่เพื่อให้ การดำเนินการจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและสอดคล้องกับปัจจุบัน
2การจัดสร้างสวนป่า “เบญจกิติ” ใช้งบประมาณทั้งสิ้น จำนวน 946,749,718.83 ล้านบาท
 
11. เรื่อง ข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการทุจริต
                     คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบ ดังนี้
                     1. รับทราบข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการทุจริตตามที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) เสนอ
                     2. ให้กระทรวงการคลัง (กค.) เร่งรัดดำเนินการศึกษาแนวทางและความเหมาะสมของข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการทุจริต ร่วมกับ กห. กษ. ดศ. ทส. มท. สธ. สปน. สงป. ตช. สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และรายงานผลการพิจารณาดำเนินการให้คณะรัฐมนตรีทราบโดยเร็ว
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     คณะกรรมการ ป.ป.ช. รายงานว่า
                     1. ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี ซึ่งสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน และทำให้รัฐบาลต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อป้องกันและเยียวยาปัญหาดังกล่าว ประกอบกับในช่วงที่ผ่านมามีข่าวการทุจริตหรือความผิดปกติ ในการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อแก้ปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การสร้างหลักฐานเท็จเพื่อขอรับเงินช่วยเหลือวาตภัย การทุจริตขบวนการเรียกหัวคิว และการจัดซื้อจัดจ้างในราคาที่สูงเกินจริง  ทำให้การดำเนินโครงการเกี่ยวกับการป้องกันและเยียวยาภัยพิบัติไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นคณะกรรมการ ป.ป.ช. จึงได้ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว สรุปได้ดังนี้
                               1.1 ระบบฐานข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติไม่เชื่อมโยงกัน [เช่น ระบบฐานข้อมูลเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินของกระทรวงการคลัง (กค.) (กรมบัญชีกลาง) ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของกระทรวงมหาดไทย (มท.) (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) ระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์ ของ กค. และระบบการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ ของ กค. (กรมบัญชีกลาง)] ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบข้อมูลการจัดสรรและติดตามการใช้จ่ายงบประมาณเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติในภาพรวมได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ ยังไม่ได้กำหนดรหัสงบประมาณสำหรับงบประมาณที่จะจัดสรรเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นการเฉพาะ ในระบบงบประมาณแผ่นดิน
                               1.2 การแก้ไขปัญหาภัยพิบัติมีการใช้งบประมาณที่ไม่ตอบสนองความต้องการของประชาชน ซึ่งควรมีแผนในการบริหารจัดการภัยพิบัติในภาพรวมเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติในระยะยาว โดยมีการบูรณาการร่วมกันของแต่ละภาคส่วน
                               1.3 หน่วยงานไม่ส่งเอกสารเกี่ยวกับการเบิกเงินคงคลังให้แก่กรมบัญชีกลาง ทำให้กรมบัญชีกลางไม่มีข้อมูลส่งให้สำนักงบประมาณ (สงป.) เพื่อดำเนินการตั้งงบประมาณสำหรับชดใช้เงินคงคลังในปีงบประมาณถัดไปได้
                     2. คณะกรรมการ ป.ป.ช. เห็นควรเสนอข้อเสนอแนะในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการงบประมาณเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อป้องกันการทุจริต ดังนี้
มาตรการ/ การดำเนินการหน่วยงาน
ที่ได้รับมอบหมาย
1. ประเด็นด้านการประกาศภัยพิบัติและการชดใช้เงินคงคลัง
     1.1 พัฒนาศักยภาพสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดให้สามารถเป็นศูนย์กลางในการรับและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในแต่ละพื้นที่กค. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดศ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) และ มท.
     1.2 ติดตามตรวจสอบและดำเนินการให้จังหวัดส่งเอกสารเพื่อชดใช้เงินคงคลังคืนภายในระยะเวลาที่กำหนดกค. (กรมบัญชีกลาง)
     1.3 ให้มีการเปิดเผยข้อมูลจังหวัดหรือหน่วยงานที่ได้เบิกจ่ายเงินคงคลัง เพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติให้สาธารณชนรับทราบ โดยอาจเปิดเผยทุกไตรมาส เพื่อสร้างกระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุลอย่างมีส่วนร่วมแก่ทุกภาคส่วนกระทรวงกลาโหม (กห.) กค. กษ. ทส. มท. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตช.)
2. ประเด็นด้านการพัฒนาระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่ายงบประมาณเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ
     2.1 เชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณเกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยให้มีการพัฒนาระบบคลังข้อมูลที่รองรับการเชื่อมโยงข้อมูลดังกล่าว และศึกษาความเป็นไปได้เพื่อให้เกิดการรวมศูนย์ระบบฐานข้อมูลในเรื่องการใช้จ่ายงบประมาณดังกล่าวกค. (กรมบัญชีกลาง)
มท. (กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น) และ ดศ. (สถาบันส่งเสริมการวิเคราะห์และบริหารข้อมูลขนาดใหญ่ของภาครัฐ)
     2.2 พิจารณาศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบงบประมาณแผ่นดินให้สามารถจำแนกประเภทการใช้จ่าย โดยเฉพาะการใช้จ่ายงบประมาณที่เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อให้สามารถตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละประเภทได้ รวมถึงการพิจารณากำหนดรหัสงบประมาณสำหรับงบประมาณที่จัดสรรเพื่อการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติต่าง ๆ เป็นการเฉพาะต่อไปสงป.
3. ประเด็นด้านการบริหารจัดการ
     3.1 เพื่อลดความสูญเสียงบประมาณที่ใช้ในการป้องกันและบรรเทาปัญหาภัยพิบัติอันเกิดจากภัยแล้งและอุทกภัย เห็นควรให้จัดทำผังน้ำจังหวัดและแผนพัฒนาแหล่งน้ำจังหวัดตามแนวทางพระราชดำริแก้มลิง โดยการศึกษาระดับของพื้นที่ทั้งจังหวัดและทิศทางการไหลของน้ำ การเก็บกักน้ำไว้ใช้ในรูปของประตูน้ำตามลำคลองต่าง ๆ การกำหนดจุดที่ตั้งและขนาดของแหล่งน้ำที่ควรพัฒนาหรือควรขุดลอกในแต่ละพื้นที่ประกอบกับข้อมูลความเร่งด่วนของปัญหาในพื้นที่ต่าง ๆกษ. ทส. มท. และสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
     3.2 จัดทำแผนในการบริหารจัดการภัยพิบัติในภาพรวม โดยมีการบูรณาการร่วมกันของแต่ละภาคส่วนโดยเฉพาะการสอบถามความจำเป็นของชาวบ้านในพื้นที่และพิจารณาจากความเร่งด่วนและความรุนแรงของปัญหา และขนาดพื้นที่ที่เสียหายจากปัญหานั้น ๆ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ตรงจุด ตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ และสามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืนต่อไปกษ. ทส. และ มท.
      3.3 ให้ส่วนราชการที่ได้รับงบประมาณเพื่อแก้ไขปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาตินำกระบวนการตรวจสอบภายในมาใช้ในการตรวจสอบโครงการ/การดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภัยพิบัติทางธรรมชาติเพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันการทุจริตกห. กค. กษ.  ทส. มท. สธ. สปน. ตช. และ สทนช.
 
12. เรื่อง มติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565 และเห็นชอบมอบหมายให้หน่วยงานหลักประสานการดำเนินการตามนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป ตามที่คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) เสนอ  ทั้งนี้  ให้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นและข้อสังเกตของกระทรวงคมนาคม กระทรวงแรงงานและ                   สำนักงบประมาณและข้อเสนอแนะของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     คสช. รายงานว่า คสช. ได้ประชุม ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2566  (โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานการประชุม มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 15 พ.ศ. 2565 รวม 3 มติ โดยให้นำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายให้หน่วยงานหลักประสานการดำเนินการตามนโยบายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปพิจารณาดำเนินการตามภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต่อไป สรุปได้ ดังนี้
มติ 1 การขจัดความยากจนตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG : การยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือน
สภาวะความยากจนของครัวเรือนกลุ่มฐานรากนอกเหนือจากมิติด้านรายได้ยังครอบคลุมถึงมิติการขาดโอกาสในการเข้าถึงปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต เช่น การขาดแคลนที่อยู่อาศัย การขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา การเข้าถึงบริการสาธารณสุข สวัสดิการและบริการภาครัฐ ซึ่งมีความแตกต่างในแต่ละบริบทของพื้นที่และจำเป็นที่จะต้องจัดทำข้อมูลคนจนที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และสร้างความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถออกแบบแก้ไขปัญหาให้ทันต่อสถานการณ์ โดยที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการบูรณาการการดำเนินการขจัดความยากจน ซึ่งการทำงานอาจมีการทับซ้อนกันระหว่างหน่วยงานและข้อมูลในระบบฐานข้อมูลคนจนอาจยังไม่มีความแม่นยำและไม่เป็นที่เข้าใจตรงกัน ทำให้การแก้ไขปัญหาความยากจนยังไม่ประสบผลสัมฤทธิ์เท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการบูรณาการข้อมูลกันอย่างเป็นระบบผ่านการประยุกต์ใช้แนวคิดโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนายั่งยืน (Bio Circular Green Economy: BCG Model)    เป็นการนำองค์ความรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีมาหนุนเสริมทุนทางธรรมชาติ ทุนทางศาสนา ความเชื่อและวัฒนธรรม เพื่อสร้างโอกาสในการยกระดับเศรษฐกิจครัวเรือนฐานราก โดยมุ่งเน้นในเรื่องความสามารถด้านการบริหารการเงินโดยการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย ซึ่งมีหน่วยงานหลักประสานการดำเนินการ ได้แก่ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และกระทรวงมหาดไทย (มท.) โดยมีการกำหนดกรอบทิศทางนโยบาย ดังนี้
 
กรอบทิศทางนโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลคนจนแบบแม่นยำและมุ่งเป้าควบคู่ไปกับการค้นหาสาเหตุความยากจน
          1.1 กำหนดนิยามและเกณฑ์บ่งชี้ลักษณะของบุคคล ศักยภาพและฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่ชัดเจน เนื่องจากการจัดเกณฑ์คนจนของแต่ละหน่วยงานแตกต่างกัน ทำให้เกิดความไม่ชัดเจนและทับซ้อนของคำนิยามความยากจนที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่าง ๆ ตามงบประมาณของภาครัฐ
          1.2 ปรับปรุงและพัฒนาต่อยอดฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (Thai People Map and Analytics Platform: TPMAP) ให้ถูกต้องแม่นยำเป็นระบบข้อมูลที่แสดงทั้งปัญหาและทุนศักยภาพในการดำรงชีพคนจน 5 ด้าน ได้แก่ ทุนมนุษย์ ทุนสังคม ทุนการเงิน ทุนกายภาพ และทุนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมทั้งให้มีการจัดการสำรวจและตรวจสอบข้อมูลจากสภาพความเป็นจริงแบบการตรวจสอบสามเส้า (Triangulation)1 ทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกและการ               สังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม2 ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลที่แท้จริงก่อนนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลคนจน เพื่อหาคนจนเป้าหมายที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วนหรือส่งต่อระบบสวัสดิการภาครัฐที่เหมาะสม รวมทั้งการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานที่ขัดขวางโอกาสการก้าวข้ามความยากจน
          1.3  จัดทำรายงานข้อมูลคนจนและแสดงผลการดำเนินงานเชิงพื้นที่ในรูปแบบ dashboard (การนำข้อมูลที่สำคัญมาสรุปให้เห็นภาพในหน้าเดียวเข้าใจง่าย) โดยบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานและเครือข่ายต่าง ๆ        ให้สามารถเข้าถึงได้แบบเปิด โดยเปิดเผยข้อมูลให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคส่วนต่าง ๆ และสถาบันการศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลเบื้องต้นที่ผ่านการวิเคราะห์มาแล้ว    เพื่อแจ้งแก้ไขปรับปรุงข้อมูลให้ตรงกับข้อเท็จจริงในพื้นที่ รวมถึงตรวจสอบความคืบหน้าของการดำเนินงาน
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) อว. มท. กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
2. การบูรณาการกลไกการทำงานการขจัดความยากจนในระดับพื้นที่ตามแนวคิดเศรษฐกิจ BCG
          2.1 กำหนดให้การขับเคลื่อนการขจัดความยากจน ตามแนวคิด BCG Model เป็นระเบียบวาระแห่งชาติและระเบียบวาระการพัฒนาจังหวัด โดยให้ความสำคัญกับการส่งต่อประโยชน์สู่ชุมชน และขับเคลื่อนกลไกแบบพหุภาคีผ่านการผสานพลังภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคมและภาคประชาชน
          2.2 จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบมุ่งเป้าและแผนปฏิบัติการขจัดความยากจนในระดับจังหวัดเป็นการเฉพาะ บูรณาการกลไกส่งต่อความช่วยเหลือกลุ่มคนยากจน กลุ่มเปราะบาง กลุ่มคนพิการ และกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทางสังคมอื่น ๆ เข้าสู่ระบบสวัสดิการของรัฐและโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เชื่อมโยงกลุ่มที่มีศักยภาพสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีส่วนร่วมในการออกแบบนโยบาย กำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดที่มุ่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนา     และวิธีการบรรลุเป้าหมายในการขจัดความยากจนที่สอดคล้องกับความต้องการ รวมถึงศักยภาพและอัตลักษณ์ของพื้นที่
          2.3 เสนอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพในการบูรณาการการแก้ไขปัญหาความยากจน โดยประสานการดำเนินงานและเชื่อมโยงร่วมกับกลไกที่มีอยู่เดิม จัดทำโครงการปฏิบัติการแก้ความยากจนร่วมกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีระบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่น คล่องตัวในการทำงานเชิงพื้นที่ รวมทั้งจัดให้มีการติดตามประเมินผลต่อการดำเนินงานการแก้ไขปัญหาความยากจน        โดยรายงานผลการดำเนินงานทุกไตรมาสต่อคณะรัฐมนตรีตามระบบราชการ
กระทรวงการคลัง (กค.) พม. อว. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) มท. กระทรวงแรงงาน (รง.) กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) สธ. และ สศช.
3. การเสริมสร้างศักยภาพมนุษย์ พัฒนาทักษะอาชีพ สร้างผู้ประกอบการ BCG แก้จน และชุมชน BCG เช่น
          3.1 สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการเรียนรู้ตลอดชีวิตเกี่ยวกับแนวทางของ BCG Model โดยส่งเสริมให้มีการรับรู้ เรียนรู้ และเข้าใจแนวคิด BCG Model บนฐานวัฒนธรรมและธรรมชาติ รวมถึงสนับสนุนให้บุคคลมีศักยภาพในการจัดการสุขภาพตนเอง
          3.2 สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้คำแนะนำ ฝึกอบรม บ่มเพาะพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ สำหรับคนจนขาดโอกาส เช่น การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ ความรู้ทางด้านการเงิน ความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและทักษะความเป็นผู้ประกอบการ
          3.3 ส่งเสริมการยกระดับกลุ่มอาชีพ กลุ่ม OTOP ที่มีความเข้มแข็งสู่การเป็นวิสาหกิจชุมชน BCG จดทะเบียนรองรับให้มีสถานะเป็นนิติบุคคลเพื่อให้สามารถดำเนินการตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องและเข้าถึงการสนับสนุนต่าง ๆ         จากภาครัฐได้ เช่น แหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำ ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การเงิน บัญชี และความช่วยเหลือทางเทคโนโลยีและการตลาด
          3.4 สนับสนุนภาคเอกชนในพื้นที่เชื่อมโยงกลไกตลาดที่สร้างโอกาสให้ครัวเรือนกลุ่มฐานราก กลุ่มเกษตรฐานราก และคนจนได้เข้ามามีส่วนร่วมโดยเชื่อมโยงสู่ช่องทางการตลาดที่หลากหลาย เช่น การตลาดออนไลน์ การเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการหรือห้างสรรพสินค้ารายใหญ่และตลาดภาครัฐ
          3.5 ส่งเสริมผู้นำการเปลี่ยนแปลงและเยาวชนรุ่นใหม่ คนรุ่นใหม่ในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน รวมถึงสามารถทำงานเชื่อมโยงข้ามหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชนได้
พม. อว. กษ. กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) มท. ศธ. กองทุนเสมอภาค
ทางการศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานบริหาร
และพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน)
 
4. การปรับโครงสร้างการบริหารและกลไกสนับสนุนเพื่อกระจายโอกาสสู่กลุ่มฐานราก เช่น
          4.1  สนับสนุนกลไกขององค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร องค์กรสาธารณะประโยชน์ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม เข้ามาร่วมพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน โดยอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่หลากหลาย จัดให้มีเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสมและเพิ่มศักยภาพให้กับผู้ประกอบการในการเข้าสู่ตลาด
          4.2 ปรับปรุงแนวทางการจัดสรรงบประมาณเพื่อขจัดความยากจน ยกระดับเศรษฐกิจฐานราก และสร้างโอกาสสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามแนวคิด BCG Model โดยพิจารณาหลักเกณฑ์การจัดสรรงบประมาณ ประกอบด้วย จำนวนประชากรในจังหวัด รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี สัดส่วนคนจนในจังหวัดและดัชนีความก้าวหน้าของคนในจังหวัด รวมถึงสภาพภูมิศาสตร์สภาพแวดล้อมตามบริบทของแต่ละจังหวัด เพื่อชดเชยหรือลดความแตกต่างของการจัดสรรงบประมาณระหว่างจังหวัดที่เกิดขึ้นบนพื้นฐานความเป็นธรรม
          4.3 เร่งรัดการปฏิรูปกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ ที่เป็นอุปสรรคต่อการขจัดความไม่เป็นธรรม เช่น ระบบจัดสรรและครอบครองที่ดิน ระบบภาษี ระบบบำนาญประชาชน ธรรมาภิบาล ตลาดที่กระจายโอกาสและรายได้สู่ท้องถิ่นและยกระดับเศรษฐกิจฐานราก การปกป้องอาชีพ ที่อยู่ที่ทำกินของคนในพื้นที่ ขณะเดียวกันต้องระมัดระวังในการปรับแก้กฎหมายหรือระเบียบที่จะทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมและเกิดความเหลื่อมล้ำต่าง ๆ เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพันธุ์พืชพื้นเมือง ความปลอดภัยทางชีวภาพ การจัดสรรคาร์บอนเครดิต การเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติที่ไม่เน้นเฉพาะเรื่องการรักษาพยาบาล        การนำเข้าขยะอุตสาหกรรม รวมทั้ง โครงการพลังงานชีวมวลที่กระทบต่อสิทธิชุมชน และธุรกิจการจัดการขยะสารพิษที่มีผลต่อระบบสุขภาพชุมชน
กค. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) อว. กษ. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) มท. รง. สธ. สศช. สำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดิน
แห่งชาติ (สคทช.) และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
แห่งชาติ
มติ 2 การขับเคลื่อนแพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน (Calories Credit Challenge; CCC)3 ภายใต้โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (Bio-Circular-Green Economy: BCG Model)
การทำให้ประชากรในประเทศไทยออกกำลังกายมากขึ้นเป็นเป้าหมายที่สำคัญในระดับประเทศโดยสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนออกกำลังกายสม่ำเสมอ ผ่านแพลตฟอร์ม CCC ที่เป็นเครื่องมือในการกระตุ้น จูงใจ ให้ประชาชนทุกคนและทุกพื้นที่เห็นความสำคัญและอยากออกกำลังกายอย่างมีเป้าหมายให้เป็นวิถีชีวิต ด้วยการสะสมปริมาณแคลอรี่ที่ได้จากการทำกิจกรรมต่าง ๆ ส่งผลถึงการมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพที่ดีขึ้นและเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสาธารณสุขของประเทศ โดยจัดเก็บเป็นข้อมูลขนาดใหญ่สำหรับติดตามและประเมินผล ซึ่งเมื่อนำมาเชื่อมโยงกับแนวคิด BCG Model              ช่วยยกระดับอุตสาหกรรมการกีฬาและการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจของประเทศ พร้อมกับสร้างสุขภาพของประชาชนและสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายอย่างยั่งยืน ซึ่งมีหน่วยงานหลักประสานการดำเนินการ ได้แก่ กก. โดยมีการกำหนดกรอบทิศทางนโยบาย ดังนี้
กรอบทิศทางนโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. ส่งเสริมและผลักดันให้มีหน่วยงานเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมบูรณาการในการสร้างมาตรฐานของข้อมูลการออกกำลังกายในแพลตฟอร์มที่จัดเก็บข้อมูลกลาง ให้สามารถนำข้อมูลสถิติดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ในการติดตามการประเมินผลและพัฒนาประเทศภายใต้แนวคิด BCG Modelกค. กก. พม. อว. กระทรวง
ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจ
และสังคม (ดศ.) มท. ศธ.
สธ. สสส. และสำนักงาน
หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ
(สปสช.)
2. สร้างและสนับสนุนพื้นที่รูปธรรมการขับเคลื่อนกิจกรรมการออกกำลังกายการเล่นกีฬาและกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันอย่างปลอดภัยภายใต้แนวคิด BCG Model ทั้งในระดับบุคคลและเชิงพื้นที่
3. สนับสนุนการออกกำลังกาย การจัดแข่งขันกีฬา และการท่องเที่ยวเชิงกีฬาทั้งในกลุ่มเมืองหลักและเมืองรองที่เพิ่มมูลค่าการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนให้ชุมชนและท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมและเกิดเป็นผลประโยชน์ร่วมกัน เพื่อสร้างรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้ชุมชน
4. ส่งเสริม สนับสนุนให้สถาบันการศึกษา ผู้ประกอบการ รวมถึงชุมชนท้องถิ่น ศึกษา วิจัย คิดค้นเพื่อสร้างนวัตกรรมในการพัฒนาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการออกกำลังกายและเล่นกีฬาเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการที่จับต้องได้
มติ 3 หลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ
ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์4 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2565 เป็นต้นมา และจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นปีละ 1 ล้านคน ต่อเนื่องไปอีก 20 ปี ขณะที่ประชากรวัยแรงงานส่วนใหญ่ของไทยอยู่ในภาคการจ้างงานแบบไม่เป็นทางการ ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้มักเข้าไม่ถึงระบบประกันสังคมและไม่มีความมั่นคงทางรายได้เมื่อชราภาพ อีกทั้งจากวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมากจำนวนคนยากจนเพิ่มขึ้น คนว่างงานเพิ่มขึ้น และเศรษฐกิจหดตัว ซึ่งกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มประชากรที่มีอัตราความยากจนสูงที่สุด จึงมีความจำเป็นที่จะจัดให้มีหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นระบบที่คนทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพจากทุกภาคส่วนร่วมเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานซึ่งมีหน่วยงานหลักประสานการดำเนินการ ได้แก่ กค. พม. มท. รง. สธ. และ สศช. โดยมีการกำหนดกรอบทิศทางนโยบาย ดังนี้
กรอบทิศทางนโยบายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น
1. กำหนดให้การพัฒนาระบบหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุเป็นระเบียบวาระแห่งชาติ โดยมีกลไกบูรณาการระดับชาติเพื่อให้ทุกภาคส่วนได้ร่วมกันดำเนินการเชื่อมโยงกลไกระดับพื้นที่ร่วมขับเคลื่อนงานพัฒนาระบบดังกล่าวอย่างต่อเนื่องให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจน โดยคำนึงถึงการสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำกค. พม. มท. รง. สธ. สศช.
สสส. และ สปสช.
2. ให้ทุกภาคส่วนร่วมกันออกแบบและขับเคลื่อนระบบหลักประกันรายได้เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ครอบคลุมทุกคนทุกกลุ่มอย่างเหมาะสมตามสภาพด้านเศรษฐกิจ สภาพแวดล้อม สังคมและสุขภาพที่หลากหลาย เช่น
          2.1 การพัฒนาผลิตภาพประชากร การมีงานทำ และมีรายได้จากการทำงานที่เหมาะสมตลอดช่วงวัย โดยการสนับสนุนให้เกิดการศึกษาเรียนรู้ตลอดชีวิตเชื่อมโยงการศึกษาเข้ากับการทำงานและการฝึกอบรมในสถานประกอบการมีระบบเตรียมความพร้อม ความรู้ ความเข้าใจ และพัฒนาศักยภาพเพิ่มเติมทักษะ เปลี่ยนทักษะ หรือสร้างทักษะที่หลากหลายที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ตั้งแต่เยาว์วัยและเหมาะสมตามช่วงวัย มีตลาดแรงานรองรับ รวมทั้ง สนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งทุนในระบบหรือกองทุนในการประกอบอาชีพ อีกทั้งส่งเสริมค่านิยมเชิงบวกในเรื่องการจ้างงานผู้สูงอายุ
          2.2 เงินอุดหนุนที่เพียงพอต่อการดำรงชีพที่ผู้สูงอายุทุกคนควรได้รับและบริการสังคมที่จำเป็นจากรัฐ โดยคำนึงถึงความเป็นธรรมทางเศรษฐกิจ      การขยายฐานภาษี และการปฏิรูปงบประมาณ เพื่อให้การพัฒนาสิทธิประโยชน์บำนาญชราภาพของกองทุนต่าง ๆ ในระบบของรัฐ รวมถึงการจัดบริการสังคมที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของกลุ่มผู้มีรายได้น้อย แรงงานนอกระบบและกลุ่มเปราะบางอื่น ๆ ภายใต้สถานการณ์ค่าครองชีพสูง
          2.3 การเข้าถึงหลักประกันสุขภาพโดยเฉพาะระบบการดูแลระยะยาว (long-term care) ระบบการดูแลแบบประคับประคอง (palliative care) ระบบการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและการป้องกันโรคหรือภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุ เพื่อลดรายจ่ายด้านสุขภาพของปัจเจกบุคคลและครัวเรือนด้วยการเพิ่มคุณภาพระบบบริการสุขภาพแบบปฐมภูมิให้มีบริการใกล้บ้านทั่วถึง จัดให้มีระบบการตรวจคัดกรองความเสี่ยงและการป้องกันโรคหรือภาวะพึ่งพิงในผู้สูงอายุทั้งอาการและความเจ็บป่วยทางด้านร่างกายและจิตใจ
          2.4 การดูแลและการบริหารจัดการโดยผู้ดูแลผู้สูงอายุ ครอบครัว ชุมชน และท้องถิ่น สนับสนุนให้มีระบบที่เอื้อให้สมาชิกครัวเรือนเกื้อกูล ดูแลผู้สูงอายุที่ป่วยเรื้อรังหรือมีภาวะพึ่งพิงในบ้าน เช่น สิทธิการลางานเพื่อดูแลบุพการีที่ป่วยเรื้อรังและมีภาวะพึ่งพิงและสิทธิด้านการลดหย่อนภาษีที่เพิ่มขึ้น
_________________
1การตรวจสอบสามเส้า (Triangulation) เป็นการตรวจสอบด้านข้อมูลโดยพิจารณาแหล่งเวลา แหล่งสถานที่ และแหล่งบุคคลที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ถ้าข้อมูลต่างเวลากันจะเหมือนกันหรือไม่ ถ้าข้อมูลต่างสถานที่จะเหมือนกันหรือไม่ และถ้าบุคคลผู้ให้ข้อมูลเปลี่ยนไปข้อมูลจะเหมือนเดิมหรือไม่
2การสังเกตแบบมีส่วนร่วม คือ การที่ผู้สังเกตเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับกลุ่มคนที่ถูกศึกษา มีการทำกิจกรรมร่วมกันจนผู้ถูกศึกษายอมรับผู้สังเกตว่ามีสถานภาพบทบาทเช่นเดียวกับตนเอง โดยผู้สังเกตจะต้องปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนที่ศึกษาเพื่อให้เห็นภาพรวมของเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด
3แพลตฟอร์มเชื่อมโยงและบูรณาการข้อมูลสถิติการออกกำลังกายและการเล่นกีฬาของประชาชน เป็นแพลตฟอร์มจัดเก็บข้อมูลการออกกำลังกาย การเล่นกีฬา และกิจกรรมทางกายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งสามารถกระตุ้นให้ประชาชนทุกช่วงวัยเกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพออกกำลังกายและกีฬาสม่ำเสมอ และเป็นวิถีชีวิต
4สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือเป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ
 
13. เรื่อง รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ        พ.ศ. 2566 ของกรมบังคับคดี
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ รายงานผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี ประจำไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สามารถผลักดันทรัพย์สินรวมคิดเป็นเงินจำนวน 59,941,146,873.55 บาท ประกอบด้วย การขายทอดตลาด คิดเป็นเงินจำนวน 17,989,393,101.85 บาท การงดการบังคับคดี คิดเป็นเงินจำนวน 17,732,417,082.62 บาท และการถอนการบังคับคดี คิดเป็นเงินจำนวน 24,219,336,689.08 บาท
                    สาระสำคัญ
                     กรมบังคับคดีสามารถผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี (ขายทอดตลาด/งดการบังคับคดี/ถอนการบังคับคดี) ของกรมบังคับคดี ประจำไตรมาสที่ 2 (เดือนมกราคม 2566- เดือนมีนาคม 2566) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 คิดเป็นเงินจำนวน 59,941,146,873.55 บาท โดยมีรายละเอียด ดังนี้
                     1. ผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดีของกรมบังคับคดี ประจำไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
เดือนผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบ                    การบังคับคดี (บาท)
มกราคม 256619,561,848,669.74
กุมภาพันธ์ 256617,261,906,378.17
มีนาคม 256623,117,391,825.64
รวมทั้งหมด59,941,146,873.55
                     2. ผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดีของกรมบังคับคดีแยกออกเป็นการขายทอดตลาด/งดการบังคับคดี/ถอนการบังคับคดี ประจำไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
เดือนผลการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดี (บาท)
ขายทอดตลาดงดการบังคับคดีถอนการบังคับคดี
มกราคม 25666,606,231,524.545,596,602,170.277,359,014,974.93
กุมภาพันธ์ 25664,440,477,183.274,499,323,259.688,322,105,935.22
มีนาคม 25666,942,684,394.047,636,491,652.678,538,215,778.93
รวมทั้งหมด17,989,393,101.8517,732,417,082.6224,219,336,689.0
 
          ทั้งนี้  กระทรวงยุติธรรม ได้ดำเนินการผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบการบังคับคดีมาโดยตลอดซึ่งเป็นการอำนวยความยุติธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ส่งผลให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้และลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ รวมทั้งมีส่วนสนับสนุนการเสริมสร้างสภาพคล่องและการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนทั้งในและนอกประเทศ
 
14. เรื่อง รายงานความก้าวหน้าโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และการใช้สิทธิภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) เสนอ รายงานความก้าวหน้าโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (โครงการฯ) ปี 2565 การใช้สิทธิภายใต้โครงการ ฯ ปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม-24 พฤษภาคม 2566 และสถานะปัจจุบันของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (กองทุนฯ) สำหรับจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ [เป็นการรายงานความก้าวหน้าโครงการฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี (1 กุมภาพันธ์ 2565) ที่เห็นชอบให้ประชาชนลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 และรายงานการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี (28 กุมภาพันธ์ 2566) ที่เห็นชอบการรายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 โดยหากมีกรณีที่มีความจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงกรอบระยะเวลาในการดำเนินการและหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องให้คณะกรรมการฯ พิจารณาปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสมโดยให้รายงานคณะรัฐมนตรีทราบในโอกาสแรกด้วย] โดยในครั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้รายงานความก้าวหน้าโครงการฯ และมีการกำหนดกรอบระยะเวลาการใช้สิทธิสำหรับผู้ผ่านเกณฑ์จากการตรวจสอบการเป็นเกษตรกรเพิ่มเติมด้วย สรุปได้ ดังนี้
                     1. สาระสำคัญของโครงการฯ ปี 2565
                               1.1 การจัดประชารัฐสวัสดิการสำหรับผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติตามโครงการ
สวัสดิการเริ่มใช้ตุลาคม 2560- กันยายน 25611เริ่มใช้ธันวาคม 2561 – มีนาคม 25662เริ่มใช้
เมษายน 25663
(1) ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษาและวัตถุดิบเพื่อการเกษตร200 บาท/คน/เดือน
สำหรับผู้มีรายได้สูงกว่า 30,000 บาท/ปี
300 บาท/คน/ปี
สำหรับผู้มีรายได้ต่ำกว่า 30,000 บาท/ปี
300 บาท/คน/เดือน
(2) ส่วนลดค่าซื้อ             ก๊าซหุงต้ม45
บาท/คน/3 เดือน
45  บาท/คน/3 เดือน
และ 100 บาท/คน/              3 เดือน4
80
บาท/คน/3 เดือน
(3) ค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ- รถขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) / รถไฟฟ้า 500 บาท/คน/เดือน
- รถบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) 500 บาท/คน/เดือน
- รถไฟ 500 บาท/คน/เดือน
750
บาท/คน/เดือน5
(4) ค่าไฟฟ้า-230 หรือ 315
บาท/ครัวเรือน/เดือน
315
บาท/ครัวเรือน/เดือน
(5) ค่าน้ำประปา-100 บาท/ครัวเรือน/เดือน
(6) เบี้ยผู้พิการเพิ่มเติม-200 บาท/คน/เดือน6 (ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2563)200
บาท/คน/เดือน
 
                               1.2  กรอบระยะเวลาในการดำเนินโครงการ ฯ ปี 2565
การดำเนินการระยะเวลาดำเนินการ
(1) เปิดลงทะเบียน5 กันยายน-31 ตุลาคม 2565
(2) เปิดให้มีการแก้ไขข้อมูล5 กันยายน-17 พฤศจิกายน 2565
(3) ตรวจสอบคุณสมบัติ17 พฤศจิกายน-28 กุมภาพันธ์ 2566
(4) ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติและเริ่มกระบวนการยืนยันตัวตน1 มีนาคม 2566
(5) เริ่มใช้สิทธิสวัสดิการ1 เมษายน 2566
(6) กระบวนการอุทธณ์ (กรณีผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติฯ)1 มีนาคม-1 พฤษภาคม 2566
 
(7) ประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติรอบอุทธรณ์12 มิถุนายน 2566
(กรอบเดิมกำหนดไว้ 20 มิถุนายน 2566)
 
(8) การเริ่มใช้สิทธิสวัสดิการสำหรับผู้ผ่านการตรวจสอบรอบอุทธรณ์1 กรกฎาคม 2566
หมายเหตุ : ข้อมูลจากมติคณะรัฐมนตรี (28 กุมภาพันธ์ 2566) เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 และประชารัฐสวัสดิการใหม่ให้แก่ผู้ที่ผ่านการตรวจสอบคุณสมบัติ
                     2. ความก้าวหน้าโครงการฯ ปี 2565
                               2.1 การตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 โดยกระทรวงการคลัง (กค.) ได้ประกาศผลการพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 เมื่อวันที่  1 มีนาคม 2566 มีผู้ผ่านเกณฑ์ตามโครงการฯ ปี 2565 จำนวน 14,596,820 ราย จากผู้ลงทะเบียนที่เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 19,647,241 ราย  ซึ่งสามารถยืนยันตัวตนสำเร็จ 13,444,534  ราย (คิดเป็นร้อยละ 92.11 ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด) และคงเหลือที่ยังไม่ได้ยืนยันตัวตนหรือยืนยันตัวตนไม่สำเร็จ 1,152,286 ราย (คิดเป็นร้อยละ 7.89 ของจำนวนผู้ผ่านเกณฑ์ทั้งหมด) และสำหรับผู้ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 5,050,421 ราย มีผู้ยื่นอุทธรณ์ จำนวน 1,266,682 ราย  (คิดเป็นร้อยละ 25.08 ของผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติโครงการฯ) โดยขณะนี้ กค. อยู่ระหว่างตรวจสอบคุณสมบัติกับหน่วยงานต่าง ๆ7 ทั้งนี้ ผู้ผ่านการพิจารณาอุทธรณ์จะเริ่มใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป และยังคงได้รับสิทธิย้อนหลังสำหรับวงเงินการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค 3 เดือน (เดือนมษายน-มิถุนายน 2566) เป็นเงิน 900บาท
                     2.2 การตรวจสอบและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม กค. ได้ตรวจสอบคุณสมบัติการเป็นเกษตรกรและคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องเพื่อความถูกต้องและเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการฯ ปี 2565 โดยเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2566 ได้ประกาศผลการพิจารณาผู้ผ่านเกณฑ์ตามโครงการฯ ปี 2565 เพิ่มเติมอีก 416,153 ราย ยืนยันตัวตนสำเร็จ 150,332 ราย และคงเหลือที่ยังไม่ได้ยืนยันตัวตนหรือยืนยันตัวตนไม่สำเร็จ 265,821 ราย ทำให้ปัจจุบันมีผู้ผ่านเกณฑ์ตามโครงการฯ ปี 2565 รวมทั้งสิ้น 15,012,973 ราย ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้กำหนดกรอบการใช้สวัสดิการแห่งรัฐสำหรับกลุ่มผู้ผ่านเกณฑ์เพิ่มเติม ดังนี้
วันที่ยืนยันตัวตนจำนวนผู้ยืนยันตัวตนสำเร็จ (ราย)วันเริ่มใช้สิทธิการได้รับสิทธิ
4-14 พฤษภาคม 2566125,39218 พฤษภาคม 2566ได้รับสิทธิย้อนหลังในวงเงินของการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของเดือนเมษายน 2566 จำนวน 300 บาท
15-26 พฤษภาคม 256624,9401 มิถุนายน 2566ได้รับสิทธิย้อนหลังในวงเงินของการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2566 จำนวน 600 บาท
27 พฤษภาคม – 26 มิถุนายน 2566ยังไม่มีข้อมูล1 กรกฎาคม 2566ได้รับสิทธิย้อนหลังในวงเงินของการซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคของเดือนเมษายน – มิถุนายน 2566 จำนวน 900 บาท
27 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไปยังไม่มีข้อมูล1 สิงหาคม 2566ได้รับสิทธิในเดือนนั้น ๆ  (ไม่ได้รับสิทธิย้อนหลัง)
 
                     3. การใช้สิทธิภายใต้โครงการฯ ปี 2565
                               3.1 การใช้สิทธิภายใต้โครงการฯ ปี 2565
หัวข้อเดือนเมษายน 2566เดือนพฤษภาคม 2566
(1) จำนวนผู้ใช้สิทธิ12.31 ล้านราย12.79 ล้านราย
(2) มูลค่าการใช้สิทธิรวม4,005.65 ล้านบาท4,252.15 ล้านราย
   (2.1) ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคฯ3,682.35 ล้านบาท4,028.97 ล้านราย
   (2.2) ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มฯ259.41 ล้านบาท45.54 ล้านราย
   (2.3) ค่าเดินทางระบบขนส่งสาธารณะ63.88 ล้านบาท62.62 ล้านราย
   (2.4) มาตรการบรรเทาฯ (ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา)ผู้ขอใช้สิทธิต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิ โดย กค. ได้เปิดให้ลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2566 มีผู้ลงทะเบียนใช้สิทธิ 1.89 ล้านราย
  • ค่าไฟฟ้า มูลค่าการใช้สิทธิ 105.09 ล้านบาท
  • ค่าน้ำประปา มูลค่าการใช้สิทธิ 9.93 ล้านบาท
 
                               3.2  การจ่ายเงินเพิ่มเติมเบี้ยความพิการ  (เดือนละ 200 บาท) เฉพาะผู้พิการที่มีบัตรประจำตัวคนพิการและผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565
หัวข้อเดือนเมษายน 2566เดือนพฤษภาคม 2566
  1. จำนวนผู้พิการ
794,189 ราย1,016,008 ราย
  1. จำนวนเงินทั้งหมด
158.84 ล้านบาท203.20 ล้านบาท
ทั้งนี้ กค. ได้อำนวยความสะดวกแก่ผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 สำหรับกลุ่มเปราะบาง เช่น ผู้พิการ ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดเตียง โดยขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ร่วมกับคณะผู้บริหารการคลังประจำจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ธนาคารกรุงไทย จำกัด ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ลงพื้นที่เพื่อรับยืนยันตัวตน พร้อมทั้งเปิดบัญชีผูกพร้อมเพย์ให้บุคคลกลุ่มดังกล่าว ปัจจุบันได้ดำเนินการแล้ว จำนวน 20,199 ราย (ข้อมูล ณ วันที่                24 พฤษภาคม 2566)
                               3.3 สถานะปัจจุบันของกองทุนฯ
                                         ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 กองทุนฯ มีงบประมาณรวม 51,644.51 ล้านบาท โดยเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับจัดสรรสวัสดิการแก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (1 ตุลาคม 2565-  24 พฤษภาคม 2566) จำนวน 35,923.45 ล้านบาท ส่งผลให้งบประมาณคงเหลือ ณ วันที่ 24 พฤษภาคม 2566 รวมทั้งสิ้น 15,721.06 ล้านบาท โดยคาดว่าจะมีงบประมาณเพียงพอใช้จ่ายถึงเดือนกรกฎาคม 2566 ทั้งนี้ กรณีมีงบประมาณไม่เพียงพอภายหลังจากทราบจำนวนผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ผ่านคุณสมบัติตามโครงการฯ ปี 2565 แล้ว (รวมจำนวนผู้ที่ได้รับสิทธิเพิ่มจากการอุทธรณ์) จะได้ทำความตกลงในการขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 9,140.35 ล้านบาท ตามขั้นตอนต่อไป
____________
1คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 สิงหาคม 2560) เห็นชอบในหลักการแนวทางการจัดประชารัฐสวัสดิการ การให้ความช่วยเหลือผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เช่น ค่าซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม และค่าเดินทางระบบขนส่ง
2คณะรัฐมนตรีมีมติ (20 พฤศจิกายน 2561) เห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ได้แก่        ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา และคณะรัฐมนตรีมีมติ (1 ตุลาคม 2562 22 กันยายน 2563 21 กันยายน 2564 และ 27 กันยายน 2565) เห็นชอบการขยายเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ระยะเวลาโครงการฯ จึงเป็นตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561-
เมษายน 2566
3คณะรัฐมนตรีมีมติ (28 กุมภาพันธ์ 2566) เห็นชอบการดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 เนื่องจากที่ผ่านมายังมีกลุ่มตกหล่นที่ไม่สามารถเข้าถึงโครงการฯ ประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ของประชาชนเป็นวงกว้าง
4คณะรัฐมนตรีมีมติ (29 มีนาคม 2565) เห็นชอบมาตรการเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงานเนื่องจากปัญหาความขัดแย้งในภูมิภาคยุโรป โดยให้เพิ่มส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้มอีก 55 บาท (จากเดิมให้ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาท) ทำให้ส่วนลดค่าซื้อก๊าซหุงต้ม รวมเป็น 100 บาท
5ครอบคลุมระบบขนส่งสาธารณะ 8 ประเภท ได้แก่ (1) รถ ขสมก. (2) รถเอกชนร่วม ขสมก. และส่วนราชการกรุงเทพมหานคร        (3) รถไฟฟ้า (4) รถ บขส. (5) รถเอกชนร่วม บขส. และรถเอกชน (6) รถไฟ (7) รถสองแถวรับจ้าง และ (8) เรือโดยสารสาธารณะ
6คณะรัฐมนตรีมีมติ (25 พฤศจิกายน 2557) อนุมัติในหลักการให้จ่ายเบี้ยคนพิการ จำนวน 800 บาท/คน/เดือน ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติ (28 มกราคม 2563) เห็นชอบการปรับสวัสดิการเบี้ยความพิการเพิ่มขึ้นอีก 200 บาท สำหรับผู้ถือบัตรประจำตัวคนพิการและผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ทำให้เบี้ยสวัสดิการคนพิการ รวมเป็น 1,000 บาท/คน/เดือน โดยให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563
7จากการประสานกับ กค. เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 แจ้งว่า เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 กค. ได้ประกาศผลการตรวจสอบผู้ยื่นอุทธรณ์ที่ผ่านเกณฑ์ฯ แล้ว จำนวน 26,969 ราย
 
15. เรื่อง สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤษภาคม 2566
                        คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนพฤษภาคม 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
                        สาระสำคัญ
                        1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนพฤษภาคม 2566 ดังนี้
                        ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนพฤษภาคม 2566 เท่ากับ 107.19 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเท่ากับ 106.62 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไป สูงขึ้นเพียงร้อยละ 0.53 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และต่ำสุดในรอบ 21 เดือน สาเหตุสำคัญมาจากการลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและค่ากระแสไฟฟ้า รวมทั้ง ราคาสินค้าในหมวดอาหารชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับฐานราคาที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2565        อยู่ระดับสูง ทำให้อัตราเงินเฟ้อในเดือนนี้ชะลอตัวค่อนข้างมาก
                        อัตราเงินเฟ้อของไทยเมื่อเทียบกับต่างประเทศ (ข้อมูลล่าสุดเดือนเมษายน 2566 พบว่า ไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อระดับต่ำ และต่ำที่สุดในอาเซียน จาก 7 ประเทศที่ประกาศตัวเลข ทั้ง สปป.ลาว ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม
                        อัตราเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 0.53 (YoY) มีการเคลื่อนไหวของราคาสินค้าและบริการ ดังนี้
                        หมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 3.99 (YoY) ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าสำคัญ อาทิ ผักและผลไม้ (มะนาว ต้นหอม มะเขือ แตงโม เงาะ) ไข่ไก่ เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนทำให้ปริมาณผลผลิตเข้าสู่ตลาดไม่มากนัก ประกอบกับความต้องการเพิ่มขึ้นจากการเปิดภาคเรียน เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น) น้ำอัดลม กาแฟผงสำเร็จรูป) และอาหารบริโภคในบ้าน (กับข้าวสำเร็จรูป ข้าวแกง/ข้าวกล่อง ก๋วยเตี๋ยว) ราคาสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร ปลาช่อน น้ำมันพืช มะขามเปียก มะพร้าว (ผลแห้ง/ขูด) กล้วยน้ำว้า ทุเรียน และชมพู่
                        หมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ลดลงร้อยละ 1.83 (YoY) ตามการลดลงของราคาสินค้าสำคัญ อาทิ น้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ และเบนซิน ค่ากระแสไฟฟ้า เครื่องรับโทรศัพท์มือถือ เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า แป้งผัดหน้า หน้ากากอนามัยและค่าสมาชิกเคเบิลทีวี ส่วนสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารสาธารณะ (เครื่องบิน แท็กซี่ จักรยานยนต์รับจ้าง รถเมล์เล็ก/สองแถว เรือ) ค่าการศึกษา สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (สารกำจัดแมลง น้ำยาล้างห้องน้ำ) และค่าบริการส่วนบุคคล (ค่าแต่งผมชาย/สตรี ค่าทำเล็บ)
                        เงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก สูงขึ้นร้อยละ 1.55 (YoY) ชะลอตัวต่อเนื่องจากเดือนเมษายน 2566 ที่สูงขึ้นร้อยละ 1.66 (YoY)
                        ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้ เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.71 (MoM) ตามราคาสินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม ที่ลดลงร้อยละ 1.59 โดยเฉพาะราคาพลังงานทั้งน้ำมันเชื้อเพลิงในกลุ่มดีเซล แก๊สโซฮอล์ เบนซิน ค่ากระแสไฟฟ้า และสิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำยาล้างห้องน้ำ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ โฟมล้างหน้า แป้งทาผิวกาย และสบู่ถูตัว ขณะที่ราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 0.51 อาทิ ผักและผลไม้ (ผักชี ต้นหอม ผักคะน้า ส้มเขียวหวาน ทุเรียน มังคุด) ไข่ไก่ อาหารโทรสั่ง และเครื่องปรุงรส ส่วนสินค้าที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร กระเทียม มะม่วง น้ำมันพืช และบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป สำหรับเงินเฟ้อเฉลี่ย 5 เดือนแรก (ม.ค. - พ.ค.) ปี 2566 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ  2.96 (AoA)
                        2. แนวโน้มเงินเฟ้อ
                        แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อเดือนมิถุนายน ปี 2566 คาดว่าจะชะลอตัวต่อเนื่องหรือมีโอกาสหดตัวได้ ตามการลดลงของสินค้าในกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มลดลงและอยู่ระดับต่ำกว่าเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างมาก และค่ากระแสไฟฟ้าที่ปรับลดลงจากมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาล ฐานราคาที่ใช้คำนวณเงินเฟ้อในเดือนมิถุนายน 2565 ค่อนข้างสูง ประกอบกับมาตรการลดค่าครองชีพและการกำกับดูแลราคาสินค้าและบริการของหน่วยงานภาครัฐ ทั้งกระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความแปรปรวนของสภาพอากาศ อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้นและต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการยังอยู่ระดับสูง    ทั้งราคาก๊าซหุงต้ม ค่าแรง และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะทำให้เงินเฟ้อมีโอกาสผันผวนได้บ้าง ซึ่งจะต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
                        ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2566 อยู่ที่ระหว่างร้อยละ 1.7 – 2.7           (ค่ากลาง 2.2) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
                        ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม เดือนพฤษภาคม 2566 ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 56.6     จากระดับ 53.5 ในเดือนก่อนหน้า โดยอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 6 (นับตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565)       และสูงสุดในรอบ 53 เดือน (นับตั้งแต่เดือนมกราคม 2562) เป็นการปรับเพิ่มขึ้นทั้งดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในปัจจุบันและในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) โดยมีปัจจัยสำคัญจาก (1) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยเฉพาะภาคการท่องเที่ยว (2) ผลการเลือกตั้งที่ผ่านมา (3) มาตรการจากภาครัฐที่ช่วยบรรเทาภาระค่าครองชีพประชาชนในหลาย ๆ  ด้าน จะเห็นได้ว่า หากเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่องและสถานการณ์การเมืองมีความชัดเจน น่าจะช่วยให้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 
16. เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542
                     คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี 2566 จำนวน 51 รายการ จำแนกเป็น 46 สินค้า 5 บริการ ตามมติคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                     สาระสำคัญของเรื่อง
                     พณ. รายงานว่า
                     1. พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 มาตรา 24 บัญญัติให้ กกร. โดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจประกาศกำหนดให้สินค้าหรือบริการใดเป็นสินค้าหรือบริการควบคุมได้ โดยให้ กกร. พิจารณาทบทวนการประกาศดังกล่าวอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งในปี 2565 คณะรัฐมนตรีได้มีมติ (28 มิถุนายน 2566) เห็นชอบการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี 2565 และได้ออกประกาศ กกร. ฉบับที่ 13 พ.ศ. 2565 เรื่อง การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม โดยประกาศ กกร. ฉบับดังกล่าวจะสิ้นสุดการบังคับใช้ในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 จึงมีความจำเป็นต้องออกประกาศใหม่ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและนำลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาก่อนวันสิ้นผลการบังคับใช้ รวมทั้งกำหนดมาตรการกำกับดูแลสินค้าและบริการควบคุมให้มีกำหนดระยะเวลาต่อเนื่องในการบังคับใช้
                     2. กกร. ในการประชุม ครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2566 (โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน) ได้มีมติเห็นชอบให้คงสินค้าและบริการควบคุม ปี 2566 เช่นเดียวกับ ปี 2565 จำนวน 51 รายการ จำแนกเป็น 46 สินค้า 5 บริการ กำหนดเป็น 11 หมวด ดังนี้
หมวดรายการ
(1) กระดาษและผลิตภัณฑ์ (2 รายการ)1) กระดาษทำลูกฟูก กระดาษเหนียว
2) กระดาษพิมพ์และเขียน
(2) บริภัณฑ์ขนส่ง (2 รายการ)3) ยางรถจักรยานยนต์ ยางรถยนต์
4) รถจักรยานยนต์ รถยนต์บรรทุก
(3) ปัจจัยทางการเกษตร (7 รายการ)5) กากดีดีจีเอส*
6) เครื่องสูบน้ำ
7) ปุ๋ย
8) ยาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืชหรือโรคพืช
9) รถเกี่ยวข้าว
10) รถไถนา
11) หัวอาหารสัตว์ อาหารสัตว์
(4) ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (2 รายการ)12) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว
13) น้ำมันเชื้อเพลิง
(5) ยารักษาโรคและเวชภัณฑ์ (2 รายการ)14) ยารักษาโรค
15) เวชภัณฑ์เกี่ยวกับการรักษาโรค
(6) วัสดุก่อสร้าง (4 รายการ)16) ท่อพีวีซี
17) ปูนซีเมนต์
18) สายไฟฟ้า
19) เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ เหล็กแผ่น เหล็กเส้น
(7) สินค้าเกษตรที่สำคัญ (7 รายการ)20) ข้าวเปลือก ข้าวสาร
21) ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์
22) ข้าวโพด
23) ต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์
24) ผลปาล์มน้ำมัน
25) มะพร้าวผลแก่ และผลิตภัณฑ์
26) ยางพารา ได้แก่ น้ำยางสด ยางก้อน เศษยาง น้ำยางข้น ยางแผ่น ยางแท่ง ยางเครพ
(8) สินค้าอุปโภคบริโภค (7 รายการ)27) กระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า
28) แชมพู
29) ผงซักฟอก น้ำยาซักฟอก
30) ผลิตภัณฑ์ล้างจาน
31) ผ้าอนามัย
32) ผ้าอ้อมสำเร็จรูปเด็กและผู้ใหญ่
33) สบู่ก้อน สบู่เหลว
(9) อาหาร (12 รายการ)34) กระเทียม
35) ไข่ไก่
36) ทุเรียน
37) นมผง ผลิตภัณฑ์นมพร้อมบริโภคชนิดเหลว ไม่รวมถึงนมเปรี้ยว
38) น้ำมัน และไขมันที่ได้จากพืชหรือสัตว์ทั้งที่บริโภคได้หรือไม่ได้
39) แป้งสาลี
40) มังคุด
41) ลำไย
42) สุกร เนื้อสุกร
43) หอมหัวใหญ่
44) อาหารกึ่งสำเร็จรูปบรรจุภาชนะผนึก
45) อาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท
(10) อื่น ๆ (1 รายการ)46) เครื่องแบบนักเรียน
(11) บริการ (5 รายการ)47) การให้สิทธิในการเผยแพร่งานลิขสิทธิ์เพลงเพื่อการค้า
48) บริการซื้อขาย และหรือบริการขนส่งสินค้าสำหรับธุรกิจออนไลน์
49) บริการทางการเกษตร
50) บริการรักษาพยาบาล บริการทางการแพทย์ และบริการอื่นของสถานพยาบาลเกี่ยวกับการรักษาโรค
51) บริการรับชำระเงิน ณ จุดบริการ
                     พณ. แจ้งว่า การกำหนดสินค้าและบริการควบคุม ปี 2566 ตามมติ กกร. (ข้อ 2) เป็นการกระทำการตามขั้นตอนปกติที่กฎหมายกำหนด มีลักษณะเป็นการบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี และไม่เป็นการกระทำที่เข้าข่ายอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการหรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169
__________________
* (DDGs : Distillers Dried Grains หรือ DDGS : Distillers Dried Grains with Solubles) คือ ส่วนที่เหลือจากการผลิตเอทานอล โดยการหมักเมล็ดธัญพืช ได้แก่ ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ โดยการกลั่นแยกเอาเอทานอลออกไปแล้วนำกากที่เหลือไปทำให้แห้ง มีโปรตีนสูง ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์และวัตถุดิบอื่น ๆ
 
17. เรื่อง รายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (โครงการฯ) ประกอบด้วยหลักการแก้ปัญหาการชำระค่าสิทธิโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (Airport Rail Link: ARL) เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 และหลักการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ สรุปสาระสำคัญ ดังนี้
                     สาระสำคัญ
                     1. คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (โครงการฯ) ประกอบด้วย (1) หลักการแก้ไขปัญหาการชำระค่าสิทธิโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ (ARL) และ (2) หลักการแก้ปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ ที่เกิดจากผลกระทบของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด 2019 (โรคโควิด 19) ซึ่งส่งผลให้ ARL ประสบปัญหาจำนวนผู้โดยสาร (Ridership) ต่อวันและรายได้จากค่าโดยสารลดลง ทำให้เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถชำระค่าสิทธิ ARL ได้ ตามข้อ 8.1 (3) ในสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (สัญญาร่วมลงทุนฯ) ที่กำหนดให้เอกชนคู่สัญญาจะต้องชำระค่าสิทธิ ARL      เป็นเงินจำนวน 10,671.09 ล้านบาท ภายในวันที่ครบระยะเวลา 2 ปี นับจากวันที่สัญญาร่วมลงทุนฯ มีผลใช้บังคับ     (ครบกำหนดวันที่ 24 ตุลาคม 2564) กพอ. จึงเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ซึ่งคณะทำงานสนับสนุนการพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินและโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (มีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธาน) ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่            22 ธันวาคม 2565 มีมติรับทราบหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ1 รวมถึงคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก [มีรองนายกรัฐมนตรี (นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์) เป็นประธาน] ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2566 เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 และ กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 มีมติเห็นชอบหลักการแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อสาระสำคัญ
การชำระค่าสิทธิ ARL เนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19เอกชนคู่สัญญาต้องชำระค่าสิทธิ ARL จำนวน 10,671.09 ล้านบาท พร้อมชำระดอกเบี้อทั้งหมด จำนวน 1,060.04 ล้านบาท รวมทั้งสิ้น 11,731.13 ล้านบาท โดยแบ่งการชำระค่าสิทธิ ARL ออกเป็น 7 งวด ได้แก่ งวดที่ 1 - 6 งวดละ 1,067.11 ล้านบาท และงวดที่ 7 จำนวน 5,328.47 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ตุลาคมของแต่ละปี เนื่องจากประโยชน์ส่วนต่างดอกเบี้ยที่เอกชนคู่สัญญาได้รับ จากการแบ่งชำระจำนวน 7 งวดข้างต้นมีจำนวนใกล้เคียงกับผลกระทบที่เอกชนคู่สัญญาได้รับจากสถานการณ์โรคโควิด 19
การแก้ไขปัญหาเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาในลักษณะเดียวกันที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคตด้วยกระบวนการบริหารสัญญา โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ จึงมีความจำเป็นต้อง (1) เพิ่มคำจำกัดความของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันให้ครอบคลุมถึงเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญา        และ (2) เพิ่มแนวทางการบริหารสัญญาเพื่อจัดการกับเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันโดยเฉพาะที่มีผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ อย่างมีนัยสำคัญ           โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)          มีหน้าที่ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุด (Best effort) โดยสุจริตภายใต้กฎหมาย        และพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 รวมทั้งประสานความร่วมมือระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเอกชนคู่สัญญาถึงวิธีการในการเยียวยา เพื่อสนับสนุนและแก้ไขปัญหาทางการเงินของโครงการฯ ทั้งนี้ รฟท.     ยังมีสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาร่วมลงทุนฯ เดิม ทุกประการ
อย่างไรก็ดี สกพอ. ชี้แจงว่า ภายใต้หลักการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รฟท. และคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาและเยียวยาให้เฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นจริงกับเอกชนคู่สัญญาเท่านั้นและต้องไม่สร้างภาระเพิ่มเติมให้แก่ภาครัฐโดย รฟท. จะไม่เสียประโยชน์และเอกชนคู่สัญญาต้องไม่ได้รับประโยชน์เกินสมควรซึ่งประเด็นที่เสนอพิจารณาเพื่อแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ เป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งปรากฏขึ้นใหม่ หลังจากได้ดำเนินกระบวนการคัดเลือกเอกชนคู่สัญญาและได้มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุนฯ ไปแล้ว จึงไม่ถือเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนคู่สัญญา ทั้งนี้ ในระหว่างการดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการขยายระยะเวลาการชำระค่าสิทธิ ARL ของเอกชนคู่สัญญาเพื่อเป็นการบริหารสัญญาที่อยู่ในระหว่างกระบวนการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ
          2. นอกจากนี้ กพอ. ได้ชี้แจงว่า แม้ว่าสัญญาร่วมลงทุนฯ จะได้กำหนดนิยามของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผัน ซึ่งครอบคลุมถึงกรณีโรคระบาดและความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดความไม่เสถียรทางการเงินแล้ว อย่างไรก็ตาม สัญญาร่วมลงทุนดังกล่าว ไม่มีกลไกรองรับการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ และคู่สัญญา ซึ่งแตกต่างจากกรณีสัญญาร่วมลงทุนของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ) ที่มีกระบวนการบริหารสัญญากรณีเกิดเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันอันครอบคลุมถึงปัญหาที่เกิดจากความผันผวนทางเศรษฐกิจ เช่น โรคระบาดหรือโรคติดต่ออันตรายที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งปัจจุบัน สกพอ. อยู่ระหว่างการดำเนินการเพื่อให้กลไกรองรับการแก้ปัญหาของโครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ ดังกล่าวมีผลบังคับใช้2 ดังนั้น เพื่อให้โครงการฯ      มีความยืดหยุ่นและมีกลไกรองรับสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อโครงการฯ ในอนาคต กพอ. จึงเห็นควรให้มีการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ โดยเพิ่มเติมหลักการแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้สามารถจัดสรรความเสี่ยงระหว่าง รฟท. และเอกชนคู่สัญญาได้อย่างเหมาะสมและเป็นธรรม โดยอ้างอิงจากสัญญาร่วมลงทุนของโครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ       มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
หัวข้อสัญญาร่วมลงทุนโครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ
ลงนามเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563
สัญญาร่วมลงทุนโครงการฯ
ลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562
(ประเด็นที่จะเสนอขอแก้ไขต่อไป)
นิยามของเหตุผ่อนผันข้อ 13.1 (2) นิยามของเหตุผ่อนผัน
มีการกล่าวถึง (ก) ความผันผวนอย่างมากทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดความไม่เสถียรทางการเงิน (ข) การงดเว้นการกระทำการของรัฐบาล ที่ไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา และ (ค) เหตุสุดวิสัยหรือกรณีเกิดความผันผวนทางเศรษฐกิจ เช่น กรณีโรคระบาดหรือโรคติดต่ออันตราย ที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจและ/หรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ข้อ 28.1 (2) นิยามของเหตุผ่อนผัน
เดิม กล่าวถึงเฉพาะ (ก) ความผันผวนอย่างมากทางเศรษฐกิจที่ส่งผลให้เกิดความไม่เสถียรทางการเงิน (ข) การงดเว้นการกระทำการของรัฐบาล ที่ไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา
เพิ่ม (ค) เหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสถานภาพทางการเงินของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญา เช่น เหตุการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของโครงการฯ อย่างมีนัยสำคัญ
ผลของการเกิดขึ้นของเหตุสุดวิสัยและเหตุผ่อนผันข้อ 13.3 (4) กำหนดให้หากเอกชนคู่สัญญาประสบผลกระทบอันมีสาเหตุมาจากเหตุสุดวิสัยและ/หรือเหตุผ่อนผัน คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะปรึกษาหารือกันถึงวิธีการในการเยียวยาด้วยความเหมาะสมและเป็นธรรม เช่น (ก) นำความเสียหายที่เกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญามาหักจากผลประโยชน์ตอบแทนของ สกพอ. (ค) การใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการดำเนินการเพื่อแก้ไขผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยและ/หรือเหตุผ่อนผัน และ (ง) การขยายระยะเวลาโครงการเดิม ไม่มีการระบุถึงกลไกรองรับการแก้ไขปัญหากรณีเกิดเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสถานะทางการเงินของโครงการฯ และคู่สัญญา [ข้อ 28.3 (1) - (4)]
เพิ่ม ข้อ 28.3 (5) กำหนดกลไกการรองรับกรณีเอกชนคู่สัญญาประสบผลกระทบอันมีสาเหตุมาจากเหตุสุดวิสัยและ/หรือเหตุผ่อนผัน ซึ่งจะรวมถึงกรณีเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสถานภาพทางการเงินของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญา โดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะปรึกษาหารือกันถึงวิธีการในการเยียวยาด้วยความเหมาะสมและเป็นธรรม ทั้งนี้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการดำเนินการเพื่อแก้ไขผลกระทบจากเหตุสุดวิสัยและ/หรือเหตุผ่อนผัน
                     3. สำหรับการดำเนินการในระยะต่อไป รฟท. และเอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนฯ เพื่อแก้ไขปัญหาโครงการฯ ตามมติ กพอ. ที่เกี่ยวข้องและหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ สกพอ. รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องดำเนินการตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 ข้อ 21 ที่กำหนดให้ รฟท. เสนอเหตุผลและความจำเป็น ประเด็นที่ขอแก้ไขและผลกระทบจากการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนต่อคณะกรรมการกำกับดูแล3 เพื่อพิจารณาให้ความเห็น โดย รฟท. ต้องส่งข้อเสนอในการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ความเห็นของคณะกรรมการกำกับดูแล และร่างสัญญาร่วมลงทุนฉบับแก้ไขที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุดไปยัง สกพอ. เพื่อเสนอ กพอ. ให้ความเห็นชอบต่อไป ทั้งนี้ ในกรณีที่การแก้ไขปัญหาส่งผลกระทบต่อขอบเขตของโครงการที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ เมื่อ กพอ. ได้ให้ความเห็นชอบการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนแล้ว ให้ สกพอ. เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบการแก้ไขสัญญานั้นต่อไป ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐและเอกชนคู่สัญญา สกพอ. รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการฯ ด้วยความรอบคอบและเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ประกาศและมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นเพิ่มเติมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สกพอ. รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเร่งดำเนินการเพื่อให้โครงการฯ สามารถดำเนินการได้ตามกรอบระยะเวลาที่กำหนดไว้และหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ก็จะต้องดำเนินการตามลำดับขั้นตอนแห่งประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขและกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 ข้อ 21 ต่อไป
                     4. นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีประเด็นปัญหาทับซ้อนของโครงสร้างโยธาเสาและฐานรากร่วมกันของโครงการฯ กับโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน) ช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่จำเป็นต้องใช้โครงสร้างโยธาเสาและฐานรากร่วมกันเพื่อติดตั้งงานโยธาทางวิ่งของแต่ละโครงการ โดยสัญญาร่วมลงทุนฯ กำหนดให้เอกชนคู่สัญญาของโครงการฯ เป็นผู้รับผิดชอบการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างโยธาเสาและฐานรากร่วมนี้ แต่ไม่รวมงานโยธาทางวิ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ซึ่ง รฟท. จะเป็นผู้รับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างเอง ทั้งนี้ ปัญหาหลักของการดำเนินการดังกล่าว ได้แก่ (1) ทั้งสองโครงการมีมาตรฐานการออกแบบที่แตกต่างกัน โดยโครงการฯ ออกแบบด้วยมาตรฐานยุโรป ซึ่งในส่วนของอัตราความเร็วสูงสุดในการเดินรถจะอยู่ที่ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในขณะที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ออกแบบด้วยมาตรฐานจีน ซึ่งกำหนดอัตราความเร็วสูงสุดในการเดินรถอยู่ที่ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ (2) ทั้งสองโครงการมีระยะเวลาดำเนินงานไม่สอดคล้องกัน กล่าวคือ หากไม่เร่งรัดดำเนินโครงการฯ จะส่งผลให้โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน มีความล่าช้าในการเปิดให้บริการ จึงจำเป็นที่ รฟท. กระทรวงคมนาคม (คค.) สกพอ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องหารือกับเอกชนคู่สัญญาของโครงการฯ เพื่อให้ได้ข้อยุติเกี่ยวกับแนวทางสำหรับดำเนินงานโครงสร้างโยธาเสาและฐานรากร่วมกันของทั้งสองโครงการ เช่น การปรับรูปแบบโครงสร้างทางเพื่อรองรับความเร็วของรถไฟความเร็วสูง และการปรับแผนการก่อสร้างโครงการฯ ทั้งนี้ กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566 มีมติรับทราบปัญหาทับซ้อนของโครงสร้างโยธาและฐานรากของโครงการฯ และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ช่วงบางซื่อถึงดอนเมืองแล้ว แต่โดยที่ปัจจุบันการแก้ปัญหาปัญหาทับซ้อนของโครงสร้างโยธาเสาและฐานรากดังกล่าวยังมิได้ข้อยุติที่ชัดเจน ส่งผลต่อการดำเนินโครงการฯ และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ในภาพรวม ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ที่สำคัญต่อการพัฒนาประเทศในระยะต่อไป ดังนั้น สกพอ. คค. รฟท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรเร่งรัดการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อยุติในประเด็นต่าง ๆ โดยยึดหลักการสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนฯ มติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้อง และผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ รวมทั้งต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนตามที่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกำหนดอย่างเคร่งครัด
_____________________
1 การประชุมคณะกรรมการบริหารสัญญา [มีผู้แทน สกพอ. (นายวรวุฒิ มาลา) เป็นประธาน] เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565             และ 10 มกราคม 2566 และการประชุมคณะกรรมการกำกับดูแล [มีรองปลัดกระทรวงคมนาคม (นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน)           เป็นประธาน] เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 และ 13 มกราคม 2566 เห็นด้วยกับหลักการแก้ไขปัญหาโครงการฯ และมีความเห็นต่อแนวทางการแก้ไขปัญหา เช่น หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ให้ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย และหลักการของความสมเหตุสมผลและไม่เกินกว่าสัญญาร่วมลงทุนของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (โครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ)
2 คณะรัฐมนตรีมีมติ (6 มิถุนายน 2566) รับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงการสนามบินอู่ตะเภาฯ ซึ่ง สกพอ.         และเอกชนคู่สัญญาได้หารือร่วมกัน สรุปได้ ดังนี้ (1) เอกชนเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก (2) สกพอ. จะใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการสนับสนุนการจัดหาแหล่งเงินกู้ของเอกชนสำหรับการดำเนินโครงการฯ (3) คู่สัญญาตกลงปรับระยะการพัฒนางานหลักของสนามบินอู่ตะเภาให้สอดคล้องกับประมาณการผู้โดยสารที่เปลี่ยนแปลงไป (4) คู่สัญญาตกลงปรับหลักเกณฑ์การจัดสรรรายได้ของเอกชนคู่สัญญา โดยจัดลำดับรายการที่เอกชนคู่สัญญาต้องชำระ และ (5) คู่สัญญาเลื่อนวันเริ่มนับระยะเวลาให้บริการและบำรุงรักษาโครงการฯ
3 คณะกรรมการกำกับดูแล มีหน้าที่และอำนาจ เช่น ติดตามกำกับดูแลโครงการให้มีการดำเนินงานตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน พิจารณาเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการต่อหน่วยงานเจ้าของโครงการ และพิจารณาให้ความเห็นต่อการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการเงื่อนไข และกระบวนการในการร่วมลงทุนกับเอกชนหรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุน พ.ศ. 2560 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 20
 
18. เรื่อง รายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายน และ 4 เดือนแรกของปี 2566
                     คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายน และ 4 เดือนแรกของปี 2566 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ ดังนี้
                        สาระสำคัญ
                        สรุปสถานการณ์การส่งออกของไทย ประจำเดือนเมษายน 2566 
     การส่งออกของไทยในเดือนเมษายน 2566 มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐ (737,788 ล้านบาท) หดตัวร้อยละ 7.6 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัว ร้อยละ 6.8 ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกกดดันอุปสงค์ด้านการส่งออก หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงเผชิญกับการส่งออกที่ชะลอตัว แม้ว่า ปัจจัยด้านเงินเฟ้อจะชะลอลง แต่ความเปราะบางของภาคธนาคารในสหรัฐฯ และยุโรป กดดันให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวมากขึ้น โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมยังคงลดลงตามความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจโลกและราคาพลังงาน    ตรงข้ามกับสินค้าเกษตรที่ขยายตัวได้ดี โดยการส่งออกผลไม้ทำรายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ รวมถึง ข้าว ไก่สดแช่เย็นแช่แข็ง ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง ส่วนการส่งออกไปยังเป้าหมายขยายตัวในระดับที่น่าพอใจ โดยเฉพาะตลาดจีนซึ่งเป็นตลาดส่งออกอันดับสองของไทยกลับมาขยายตัวสูงถึงร้อยละ 23 ทั้งนี้ การส่งออกไทย 4 เดือนแรก หดตัวร้อยละ 5.2 และเมื่อหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย หดตัวร้อยละ 2.3                          
                            มูลค่าการค้ารวม
     มูลค่าการค้าในรูปเงินเหรียญสหรัฐ เดือนเมษายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 44,918.2       ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.5 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 21,723.2 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.6 การนำเข้า มีมูลค่า 23,195.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 7.3 ดุลการค้า ขาดดุล 1,471.7 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 188,522.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 3.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 92,003.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 5.2 การนำเข้า มีมูลค่า 96,519.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หดตัวร้อยละ 2.2 ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 4,516.0 ล้านเหรียญสหรัฐ
      มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนเมษายน 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 1,535,161 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 14.9 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 737,788 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.6 การนำเข้า มีมูลค่า 797,373 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 5.4 ดุลการค้า ขาดดุล 59,584 ล้านบาท ภาพรวม 4 เดือนแรกของปี 2566 มีมูลค่าการค้ารวม 6,416,740 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.7 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการส่งออก มีมูลค่า 3,110,977 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 2.2 การนำเข้า มีมูลค่า 3,305,763 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 0.8 ดุลการค้า 4 เดือนแรกของปี 2566 ขาดดุล 194,786 ล้านบาท
     การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร
     มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 8.2 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 142.8 (ขยายตัวในตลาดจีน ฮ่องกง เวียดนาม เกาหลีใต้ และไต้หวัน) ข้าว ขยายตัวร้อยละ 3.5 (ขยายตัวในตลาดอิรัก แอฟริกาใต้ อินโดนีเซีย เม็กซิโก และญี่ปุ่น) เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 2.4 (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินเดีย และสหรัฐฯ) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง ขยายตัวร้อยละ 38.9 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น มาเลเซีย เกาหลีใต้และสิงคโปร์) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 6.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เกาหลีใต้ ไต้หวัน จีน และฟิลิปปินส์) นมและผลิตภัณฑ์นม ขยายตัวร้อยละ 24.2 (ขยายตัวในตลาดกัมพูชา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ลาว และเวียดนาม) ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 44.1 (หดตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และเกาหลีใต้) ยางพารา หดตัวร้อยละ 40.2 (หดตัวในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย และตุรกี) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป หดตัวร้อยละ 17.1 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ลิเบีย แคนาดาและแอฟริกาใต้) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 34.3 (หดตัวในตลาดอินเดีย มาเลเซีย เมียนมา กัมพูชา และฟิลิปปินส์) อาหารสัตว์เลี้ยง หดตัวร้อยละ 33.6 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น มาเลเซีย อิตาลี และออสเตรเลีย) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566 การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.7
     การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม
                มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 11.2 แต่ยังมีสินค้าสำคัญที่ขยายตัว         อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 3.4 (ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น มาเลเซีย       และอินโดนีเซีย) เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 55.0 (ขยายตัวในสหรัฐฯ ฮ่องกง เม็กซิโก แคนาดา และฝรั่งเศส) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด ขยายตัวร้อยละ 107.8 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เวียดนาม อินเดีย จีน และอินโดนีเซีย)  หม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 25.5 (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ เนเธอร์แลนด์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น และอิตาลี) เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ขยายตัวร้อยละ 28.2 (ขยายตัวในตลาดจีน ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อินเดีย และฮ่องกง)  ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว  อาทิ  สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน  หดตัวร้อยละ 23.5 (หดตัวในตลาดจีน เวียดนาม กัมพูชา สิงคโปร์ และอินเดีย) เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ      หดตัวร้อยละ 19.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ และญี่ปุ่น) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 11.5 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และเยอรมนี) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) หดตัวร้อยละ 27.0 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ เยอรมนี สหราชอาณาจักร อินเดีย และเบลเยียม) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 27.1 (หดตัวในตลาดสหรัฐฯ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม) ทั้งนี้ 4 เดือนแรกของปี 2566
การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม หดตัวร้อยละ 7.1

     ตลาดส่งออกสำคัญ
     การส่งออกไปยังตลาดสำคัญส่วนใหญ่กลับมาหดตัว ตามการชะลอตัวของอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าท่ามกลางความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจและการค้าโลก อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณบวกที่สำคัญจากการส่งออกไปตลาดจีนกลับมาขยายตัวในรอบ 11 เดือน ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่างๆ สรุปได้ดังนี้        (1) ตลาดหลัก หดตัวร้อยละ 6.2 หดตัวในตลาดสหรัฐฯ ร้อยละ 9.6 ญี่ปุ่น ร้อยละ 8.1 อาเซียน (5) ร้อยละ 17.7 CLMV ร้อยละ 17.0 และสหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 8.2 อย่างไรก็ตามตลาดจีนกลับมาขยายตัว ร้อยละ 23.0 (2) ตลาดรอง    หดตัวร้อยละ 14.9 โดยหดตัวในตลาดเอเชียใต้ร้อยละ 25.9 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 16.7 แอฟริกา ร้อยละ 26.9 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 9.4 แต่ขยายตัวในตลาดทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 4.4 ตลาดรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 155.4 และ  สหราชอาณาจักร ร้อยละ 49.0(3) ตลาดอื่นๆ ขยายตัวร้อยละ 72.2 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 77.9
                            2. มาตรการส่งเสริมการส่งออกและแนวโน้มการส่งออกระยะต่อไป
                            การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินการเชิงรุกและลึก เพื่อผลักดันและอำนวยความสะดวกการส่งออก โดยการดำเนินงานที่สำคัญในรอบเดือนที่ผ่านมา อาทิ (1) การดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการผลไม้เชิงรุก ปี 2566 เร่งระบายผลผลิตจากแหล่งผลิตออกสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว และรักษาราคาผลไม้ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดในปริมาณมาก ด้วยโครงการ “อมก๋อยโมเดล” และโครงการ“Fruit Festival 2023” รวมถึงติดตามสถานการณ์ส่งออกผลไม้ผ่านด่านชายแดนทางบกเข้าสู่จีนผ่านด่านโหยวอี้กวนและด่านโมฮานของจีน (2) การนำคณะผู้ส่งออกไทยเข้าร่วมงานแสดงสินค้าเพื่อขยายตลาด โดยนำคณะนักธุรกิจไทยเข้าร่วมงาน Top Thai Brands Hainan 2023 ที่มณฑลไห่หนานของจีน ซึ่งได้นำกลุ่มสินค้าไลฟ์สไตล์รวมจัดแสดงในงาน ได้แก่ เครื่องสำอาง ของใช้ส่วนตัว ยา เฟอร์นิเจอร์ กระเป๋า รองเท้า ผลิตภัณฑ์หนัง ของขวัญและของตกแต่ง สินค้าหัตถกรรม เสื้อผ้าแฟชั่น อัญมณีและเครื่องประดับเงิน เป็นต้น (3) ผลักดันตลาดส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมมอบนโยบายปฏิบัติงานแก่ทูตพาณิชย์จากทั่วโลก ร่วมกับพาณิชย์จังหวัด และผู้แทนภาคเอกชน เพื่อจัดทำแผนขับเคลื่อนการส่งออก โดยจะเพิ่มกิจกรรมเจาะตลาดเป้าหมาย 350 กิจกรรม ใน 7 ภูมิภาค ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมูลค่าการส่งออกได้กว่า 550 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 19,250 ล้านบาท นอกจากนี้ จะร่วมมือกับภาคเอกชน ตั้งคณะทำงานเป็นรายกลุ่มคลัสเตอร์ หรือกลุ่มสินค้า เพื่อประเมินการส่งออก หามาตรการรองรับ และแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น โดยยังยืนยันเป้าหมายการส่งออกที่ร้อยละ        1 – 2 ซึ่งเป็นเป้าหมายการทำงานที่มีความท้าทายและเป็นไปได้
                        แนวโน้มการส่งออกระยะถัดไป กระทรวงพาณิชย์ ประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกยังคงในภาวะชะลอตัว อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มชะลอลงแต่ยังคงอยู่ในระดับสูง ทำให้หลายประเทศยังคงใช้นโยบายการเงินอย่างเข้มงวด ขณะที่มีความเสี่ยงจากปัจจัยอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ปัญหาวิกฤตการเงินของธนาคารพาณิชย์ในสหรัฐฯ และยุโรป และปัญหาเพดานหนี้ของสหรัฐฯ สร้างความไม่แน่นอนต่อเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ การฟื้นตัวของตลาดจีนที่เกิดขึ้นในช่วง      1 – 2 เดือนที่ผ่านมา เป็นสัญญาณบวกต่อการส่งออกของไทย ขณะที่ปัญหาความมั่นคงทางอาหารเกิดขึ้นในหลายประเทศที่ประสบปัญหาภัยแล้งจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นปัจจัยบวกต่อการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยในปีนี้
 
แต่งตั้ง
19. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงการคลัง)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้
                     1. นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดีกรมศุลกากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร (นักวิชาการศุลกากรทรงคุณวุฒิ) กรมศุลกากร ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
                    2. นายสมศักดิ์ อนันทวัฒน์ รองอธิบดีกรมสรรพากร ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์การจัดเก็บภาษี (กลุ่มธุรกิจพลังงาน) (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) กรมสรรพากร ตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2565
                     3. นางนัทีวรรณ สีมาเงิน รองผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ  ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (นักวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2566
                     และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
20. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอแต่งตั้ง นายอภิชัย ธรรมเสริมสุข ผู้อำนวยการกองบัญชีประชาชาติ (ผู้อำนวยการระดับสูง) สศช. ให้ดำรงตำแหน่ง    ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผนงาน (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) สศช. สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
21. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ   (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายธวัชชัย   จันทร์ไพศาลสิน ผู้อำนวยการกอง (ผู้อำนวยการสูง) กองอาลักษณ์และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้ดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาประจำสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ) ส่วนกลาง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2565 ซึ่งเป็นวันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
22. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (สำนักนายกรัฐมนตรี)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงาน ก.พ. เสนอแต่งตั้ง นายกิติพงษ์ มหารัตนวงศ์    ผู้ช่วยเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ. ให้ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการ ก.พ. สำนักงาน ก.พ. สำนักนายกรัฐมนตรี    เพื่อทดแทนตำแหน่งที่ว่าง และให้ดำเนินการต่อไปได้เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 169 (2) แล้ว ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
23. เรื่อง การแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหอภาพยนตร์   (องค์การมหาชน)
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวัฒนธรรมเสนอแต่งตั้งประธานกรรมการและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการหอภาพยนตร์ รวม 8 คน ดังนี้
                     1. นางสาววันเพ็ญ  นิโครวนจำรัส         ประธานกรรมการ
                     2. นายอนันต์  ชูโชติ                          กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านศิลปวัฒนธรรม
                     3. นายนนทรีย์  นิมิบุตร                      กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์
                     4. นางสาวพิมพกา  โตวิระ                  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์
                     5. หม่อมราชวงศ์ปิยฉัตร  ฉัตรชัย           กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านสื่อสารมวลชน
                     6. นางสาวไศลทิพย์  จารุภูมิ                กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหาร
                     7. นางจินดารัตน์  วิริยะทวีกุล              กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านการเงินและบัญชี
                     8. นายมารุต  บูรณรัช                         กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
 
24. เรื่อง แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
                     คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขเสนอ แต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข จำนวน 7 คน เนื่องจากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสองปี ดังนี้
                     1. นางดวงตา  ตันโช
                     2. ศาสตราจารย์ธานินทร์  ศิลป์จารุ
                     3. ศาสตราจารย์นรินทร์  หิรัญสุทธิกุล
                     4. ศาสตราจารย์บรรเจิด  สิงคะเนติ
                     5. นายพัลลภ  ศักดิ์โสภณกุล
                     6. ศาสตราจารย์มรรยาท  รุจิวิชชญ์
                     7. นายสุพรรณ  ศรีธรรมมา
                     ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 มิถุนายน 2566 เป็นต้นไป
 
__________________________________

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.thaigov.go.th