วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2565

กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม

 กำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ratchakitcha2.soc.go.th

กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ๒๘)

 กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ๒๘)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : ratchakitcha2.soc.go.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ ประกาศการกำหนดเกณฑ์การใช้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงของรถราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

 ดาวน์โหลดเอกสาร


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  http://www.ppb.moi.go.th/

ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ขาด ปม 8 ปี

 


ศาลรัฐธรรมนูญนัดชี้ขาด ปม 8 ปี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา วันที่ 30 ก.ย.บ่าย 3 หลังมีพยานหลักฐานเพียงพอ พร้อมลงมติ - อ่านคำวินิจฉัย

ในการประชุมตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ (14 ก.ย.65) มีการพิจารณาเอกสารบันทึกการประชุมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 501 วันที่ 11 กันยายน 2561 ซึ่งมีวาระการประชุมรับรองบันทึกการประชุม ครั้งที่ 500 วันที่ 7 ก.ย. 2561 ที่คณะอนุกรรมการพิจารณาตรวจบันทึกการประชุมและรายงานการประชุมตรวจทานแล้ว ภายหลังสภาผู้แทนราษฎร ส่งเอกสารการประชุมให้ศาลรัฐธรรมนูญเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ในการพิจารณาการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีครบ 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตามที่ฝ่ายค้านยื่นให้ตีความ

ต่อมา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เผยแพร่เอกสาร เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่ หรือไม่

ผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญอภิปรายเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2561มาตรา 58 วรรคหนึ่ง กำหนดนัดแถลงด้วยวาจาปรึกษาหารือ ลงมติและอ่านคำวินิจฉัยให้คู่กรณีฟัง ในวันศุกร์ที่ 30 ก.ย.เวลา 15.00 น.ที่ห้องพิจารณาคดีชั้น 3 ศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติฯ

 

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/ayutthayanews/

13 ข้อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ต้องรู้

 13 ข้อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ต้องรู้ก่อนโพสต์

1. การกด Like
  - กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมฯ ยกเว้นการกดไลก์ฐานข้อมูลหรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงเสี่ยง หรือเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม เพราะฉะนั้นก่อนกดไลก์ต้องดูให้ดีก่อนนะคะ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าเราเห็นด้วยกับโพสต์ที่เข้าข่ายมีความผิด

2. กด Share
   - อีกเรื่องที่ควรระวัง นั่นคือการกด Share นั่นเองค่ะ หากเราแชร์ข้อมูลที่มีความผิดโดยไม่ไตร่ตรองก่อน ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3 

3. แอดมินเพจ
   - หากลูกเพจมีการแสดงความคิดเห็นที่มีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อแอดมินพบเห็นและลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด จะต้องคอยสอดส่องลูกเพจของตัวเองให้ดีเลยนะคะ เดี๋ยวจะมีความผิดได้แบบไม่รู้ตัว

4. สิ่งลามกอนาจาร
  - ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้ 

5. โพสต์เกี่ยวกับเด็ก
  - อันนี้ต้องระวังไม่แพ้กันค่ะ การโพสต์เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน หากไม่ได้รับการยินยอมจากเด็กต้องมีปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชมอย่างให้เกียรติ 

6. ข้อมูลผู้เสียชีวิต
   - การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เช่นข่าวการเสียชีวิตดาราดัง แล้วมีคนโพสภาพศพ แบบนี้ไม่ได้น๊าาา

7. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น
  - การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหาเอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ใครที่ชอบวิจารณ์ดาราแรง ๆ ระวังด้วยน๊าา

8. ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด
   - ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ เช่น การเอาเพลง หรือรูปภาพมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็สามารถโดนฟ้องได้

9. ส่งรูปภาพ
  - ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

10. ฝากร้าน
   - การฝากร้านถือเป็นรบกวนผู้อื่น การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท เพราะฉะนั้นควรฝากร้านในพื้นที่ที่ให้ฝากเท่านั้น

11. ส่ง Email ขายของ
   - ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

12. ส่ง SMS โฆษณา
   - ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่ได้รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

13. พบข้อมูลผิดกฎหมาย
   - หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมายที่เจ้าของเครื่องไม่ได้ทำเอง สามารถแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด


ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  race.nstru.ac.th


วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2565

 


ปภ. เตือน 17 จังหวัด เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน-น้ำป่าไหลหลาก ช่วง 29 ก.ย. - 4 ต.ค.65

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ในฐานะกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) ได้ติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำท่าและปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ประกอบกับ กอนช. ได้มีประกาศฉบับที่ 44 แจ้งว่าจากการประเมินฝนคาดการณ์ของกรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) พบว่าอิทธิพลของพายุโนรูจะส่งผลให้มีปริมาณฝนตกต่อเนื่องสะสม 150 - 250 มิลลิเมตร ซึ่งปัจจุบันในลำน้ำและแหล่งน้ำมีปริมาณน้ำมาก อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากน้ำท่วมฉับพลัน โดยมีพื้นที่เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังเพิ่มเติม ภาคเหนือ ภาคตะวันออกฉียงเหนือ และภาคกลาง ระหว่างวันที่ 29 ก.ย. – 4 ต.ค.65 รวม 17 จังหวัด ดังนี้

- ภาคเหนือ 4 จังหวัด ได้แก่ ลำปาง ตาก เพชรบูรณ์ และกำแพงเพชร

- ภาคอีสาน 10 จังหวัด ได้แก่ อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น ยโสธร นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ และมุกดาหาร

- ภาคกลาง 3 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี และปราจีนบุรี

เน้นย้ำจังหวัดเสี่ยงภัย ให้เตรียมพร้อมรับมือปริมาณฝนตกสะสมที่อาจส่งผลให้เกิดน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังอยู่เดิม จุดเสี่ยงน้ำท่วมขังเป็นประจำ และพื้นที่ที่มีปริมาณฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัย รวมถึงนำเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงภัยเพื่อให้พร้อมเผชิญเหตุ และช่วยเหลือประชาชนทันที เน้นย้ำทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนเผชิญเหตุอย่างเคร่งครัด

ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยให้ติดตามพยากรณ์อากาศและข้อมูลข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด เตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์ภัยที่อาจเกิดขึ้น หากได้รับความเดือดร้อนสามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือทาง Line ID @1784DDPM , สายด่วนนิรภัย1784 ตลอด 24 ชั่วโมง


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/ayutthayanews/

 


 รัฐบาล ห้ามสูบกัญชา-กัญชง ในโรงเรียนและที่สาธารณะ เตือน ห้ามขายให้เยาวชนอายุต่ำกว่า 20 ปี ฝ่าฝืนโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 20,000 บาท

นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำกสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตามที่มีกลุ่มนักเรียนสูบกัญชาในโรงเรียน และขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกระทรวงศึกษาธิการและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าไปดำเนินการตามข้อกฎหมายแล้ว ขอย้ำว่าแม้ปัจจุบันร่าง พ.ร.บ.กัญชา กัญชง จะยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่มีกฎหมายควบคุมให้เกิดการใช้อย่างเหมาะสมตรงตามนโยบายที่รัฐบาลสนับสนุนกัญชาทางการแพทย์ เพื่อให้ประชาชนใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ และการผลิตผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ

โดยกฎหมายที่ควบคุมการใช้กัญชา กัญชง ในปัจจุบันอยู่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง สมุนไพรควบคุม (กัญชา) พ.ศ. 2565 มีข้อกำหนดในส่วนการห้ามจำหน่ายกัญชา กัญชง ให้แก่ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี, สตรีมีครรภ์ หรือสตรีที่ให้นมบุตร หากฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดให้การกระทำให้เกิดกลิ่นหรือควันกัญชา กัญชง หรือพืชอื่นใด เป็นเหตุรำคาญ พ.ศ. 2565 ได้ควบคุมไม่ให้มีการ สูบ เสพในที่สาธารณะทุกประเภท ซึ่งรวมถึงโรงเรียนด้วย โดยหากเจ้าหน้าที่แจ้งให้เลิกแต่ผู้สูบ เสพไม่เลิก จะมีความผิด มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้งนี้ จากกรณีที่เกิดขึ้นที่ผู้สูบกัญชาเป็นเยาวชน ซึ่งมีการซื้อมาจากตลาดนั้น เป็นกรณีฝ่าฝืนกฎหมายในส่วนที่ห้ามขายกัญชา กัญชงให้แก่เยาวชนที่อายุต่ำว่า 20 ปี เช่นนี้ถือว่าผู้ขายมีความผิด ส่วนที่มีการสูบกัญชาในเขตโรงเรียนถือว่าเป็นสถานที่สาธารณะ ซึ่งประกาศสาธารณสุขระบุห้ามไว้

ย้ำว่าปัจจุบันมีกฎหมายควบคุมการใช้ประโยชน์จากกัญชาอย่างเหมาะสม การที่กัญชา กัญชงไม่อยู่ในบัญชียาเสพติดให้โทษแล้วไม่ได้หมายความว่าบุคคลใดจะใช้กัญชาเพื่อการใดในสถานที่ใดก็ได้ และรัฐบาลไม่สนับสนุนการใช้กัญชา กัญชงเพื่อการสันทนาการ


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/ayutthayanews/

 


เกษียณ เกษียน เกษียร คำพ้องเสียง มีความหมายแตกต่างกัน

 


เกษียณ เกษียน เกษียร คำพ้องเสียง มีความหมายแตกต่างกัน

เกษียณมีความหมายว่า สิ้นไป (ใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ) > เกษียณอายุราชการ

เกษียนมีความหมายว่า เขียน (แผลงมาจาก เขียน) > เกษียนหนังสือ

เกษียรมีความหมายว่า นํ้านม > เกษียรสมุทร : ทะเลน้ำนม ที่ประทับของพระนารายณ์


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2565

ประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐ

 


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

เกษียณ เกษียน เกษียร คำพ้องเสียง มีความหมายแตกต่างกัน

 


เกษียณ เกษียน เกษียร คำพ้องเสียง มีความหมายแตกต่างกัน

เกษียณ มีความหมายว่า สิ้นไป (ใช้เกี่ยวกับการกำหนดอายุ) > เกษียณอายุราชการ

เกษียน มีความหมายว่า เขียน (แผลงมาจาก เขียน) > เกษียนหนังสือ

เกษียร มีความหมายว่า นํ้านม > เกษียรสมุทร : ทะเลน้ำนม ที่ประทับของพระนารายณ์


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

สรุปข่าวการประชุมคณะรัฐมนตรี 27 กันยายน 2565

 

วันนี้ (27 กันยายน 2565)  เวลา 09.00 น.  พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล ซึ่งสรุปสาระสำคัญดังนี้
 

กฎหมาย

                    1.       เรื่อง     ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดิน  สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัย เมืองยาง จังหวัดระยอง ท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง  ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
                   2.       เรื่อง     ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   3.       เรื่อง     ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999
                   4.       เรื่อง     ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน
 

เศรษฐกิจ สังคม

                   5.       เรื่อง     ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ  พ.ศ. 2566
                   6.       เรื่อง     โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราช พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
                   7.       เรื่อง     การแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน)                   
                   8.       เรื่อง     การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025)
                   9.       เรื่อง     แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566
                   10.      เรื่อง     การจ่ายเงินสวัสดิการพิเศษให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดชายแดนภาคใต้
                   11.      เรื่อง     รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME  ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ
                   12.      เรื่อง     ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.....]
                   13.      เรื่อง     รายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                   14.      เรื่อง     รายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 1 (กค.)
                   15.      เรื่อง     สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนสิงหาคม 2565
                   16.      เรื่อง     รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.)  ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565
                   17.      เรื่อง     แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม
                   18.      เรื่อง     ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุม ครั้งที่ 16/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 27/2565
                   19.      เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                   20.      เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงสาธารณสุข)
                   21.      เรื่อง     ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าตอบแทนเยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน
                   22.      เรื่อง     ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 รวม 61 วัน (ห้วงที่ 7 - 8)
                   23.      เรื่อง     การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
                   24.      เรื่อง     ขออนุมัติงบประมาณจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในรายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   25.      เรื่อง     ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อการอุปโภคบริโภคขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี และโครงการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบชนิดเคลื่อนที่เร็วของกรมชลประทาน
                   26.      เรื่อง    มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
                   27.      เรื่อง     การขับเคลื่อนการดำเนินการสำคัญสืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2565
                   28.      เรื่อง     หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2)
 

ต่างประเทศ

                   29.      เรื่อง     ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2022)
                   30.      เรื่อง     การประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                   31.      เรื่อง     ผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                   32.      เรื่อง     ร่างถ้อยแถลงร่วมการหารือระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี (Joint Statement of the ASEAN – U.S. Ministerial Dialogue on Gender Equality and Women’s Empowerment)
                   33.      เรื่อง     การรับรองร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก (Mondiacult 2022)
                   34.      เรื่อง     บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง –ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
 

แต่งตั้ง

                   35.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   36.      เรื่อง     ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
                   37.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงวัฒนธรรม)
                   38.      เรื่อง     การแต่งตั้งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
                   39.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                   40.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                   41.      เรื่อง     การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง
                   42.      เรื่อง     แต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
                   43.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง  (กระทรวงการคลัง)
                   44.      เรื่อง     การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
 
 
*******************
สำนักโฆษก   สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี โทร. 0 2288-4396
 
 

กฎหมาย

1. เรื่อง ร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ในท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ในท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                    ทั้งนี้ ร่างพระราชกฤษฎีกาฯ ที่ อก. เสนอ เป็นการดำเนินการตามมาตรา 36/1 แห่งพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2522 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งบัญญัติให้ตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรมได้ โดยระบุแปลงและจำนวนเนื้อที่โดยประมาณที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ประสงค์จะได้กรรมสิทธิ์ไว้ในพระราชกฤษฎีกา โดยเรื่องนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งเดิมมีสภาพเป็นทางสาธารณประโยชน์และปัจจุบันพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง ท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อนำมาแบ่งแปลงจัดสรรสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งกระทรวงมหาดไทยและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ให้ความยินยอมในการเปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินดังกล่าว โดยการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้ชำระราคาที่ดินที่เปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินให้แก่กระทรวงการคลังแล้ว และกรมการปกครองได้ตรวจสอบและรับรองความถูกต้องของท้องที่การปกครองและแนวเขตการปกครองตามแผนที่ท้ายร่างพระราชกฤษฎีกานี้ด้วยแล้ว
                   สาระสำคัญของร่างพระราชกฤษฎีกา
                   เปลี่ยนแปลงสภาพสาธารณสมบัติของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ซึ่งพลเมืองเลิกใช้ประโยชน์แล้ว ในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง ในท้องที่ตำบลสำนักทอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง เนื้อที่ประมาณ 2 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของ กนอ. เพื่อนำมาแบ่งแปลงจัดสรรสำหรับการประกอบอุตสาหกรรมในเขตอุตสาหกรรมทั่วไป นิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จังหวัดระยอง
 
2. เรื่อง ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจำพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษสำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงมหาดไทย (มท.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงมหาดไทย ที่ มท. เสนอ เป็นการปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นมีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) ให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ Smart Visa และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งเพิ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต จากเดิม 13 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็น 18 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้วเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 อันจะเป็นการช่วยดึงดูดบุคลากรทักษะสูงและนักลงทุนที่จะมีส่วนช่วยเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ตอบสนองการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจและนโยบายประเทศไทย 4.0 รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้แก่บุคลากรชาวไทยทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนต่อไป ทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับการตรวจลงตราประเภทนี้จะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ได้รับการยกเว้นการขอใบอนุญาตทำงาน รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re – entry permit) คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะได้รับสิทธิในการพำนัก/การทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก
                   สาระสำคัญของร่างประกาศ       
                   ปรับปรุงอุตสาหกรรมเป้าหมายสำหรับให้คนต่างด้าวซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง นักลงทุน ผู้บริหารระดับสูง และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้นมีสิทธิขออนุญาตเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ (Smart Visa) ให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมเป้าหมายเดิมของ Smart Visa และอุตสาหกรรมเป้าหมายตามพระราชบัญญัติการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย พ.ศ. 2560 พร้อมทั้งเพิ่มอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีศักยภาพสูงในอนาคต จากเดิม 13 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เป็น 18 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสู่ประเทศไทย ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบด้วยแล้วเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ดังนี้

อุตสาหกรรมเป้าหมายตามประกาศ มท.ฯ ลว 30 ม.ค. 61 และประกาศ มท.ฯ (ฉ. 2) ลงวันที่ 26 ก.พ. 62 (เดิม)อุตสาหกรรมเป้าหมายตามร่างประกาศ มม.ฯ (สอดคล้องตามที่ สกท. เสนอ และมติ ครม.           เมื่อวันที่ 10 พ.ค. 65)หมายเหตุ
1. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่
 
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
 
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
4. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
5. อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต
6. อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์
7. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
 
8. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
9. อุตสาหกรรมดิจิทัล
10. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
11. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
 
 
12. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
13. การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก
1. อุตสาหกรรมยานยนต์ (Automotive Industry)
2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronics Industry)
3. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ (Affluent Tourism Industry)
4. อุตสาหกรรมการเกษตรอาหารและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture, Food and Biotechnology Industry)
5. อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics Industry)
6. อุตสาหกรรมขนส่งและโลจิสติกส์ (Transportation and Logistics industry)
7. อุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ (Petrochemical and Chemical Industry)
8. อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Industry)
9. อุตสาหกรรมการแพทย์ (Medical Industry)
10. อุตสาหกรรมการป้องกันประเทศ (National Defense Industry)
11. อุตสาหกรรมที่สนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยตรงและมีนัยสำคัญ เช่น การผลิตเชื้อเพลิงจากขยะ การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เป็นต้น (Industries that facilitate the Circular Economy directly and significantly e.g. fuel production from waste, water resources management, etc.)
12. อุตสาหกรรมอากาศยานและอวกาศ (Aviation and Aerospace Industry)
13. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Human Resource Development in Science and Technology)
14. การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
(Environmental Management and Renewable Energy)
15. การบริหารเทคโนโลยี นวัตกรรม และ Startup Ecosystem (Technology Innovation and Startup Ecosystem Management)
16. การพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย (Targeted Technology Development)
17. ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center-IBC)
18. การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution)
คงเดิม
 
คงเดิม
 
ปรับชื่อ
 
ปรับชื่อ
 
ปรับชื่อ
คงเดิม
 
ปรับชื่อ
 
ปรับชื่อ
 
คงเดิม
ปรับชื่อ
 
เพิ่มใหม่
 
 
 
 
เพิ่มใหม่
 
 
 
 
คงเดิม
 
คงเดิม
 
 
 
คงเดิม
 
 
 
เพิ่มใหม่
 
 
 
เพิ่มใหม่
 
เพิ่มใหม่
 
คงเดิม

 
3. เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และการสมัครเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ อนุมัติ และรับทราบ ดังนี้
                   1. เห็นชอบการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกว่าด้วยการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ (Hague Agreement Concerning the International Registration of Industrial Designs) ภายใต้กรรมสารเจนีวา ค.ศ. 1999 และให้ส่งความตกลงดังกล่าวให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 178 วรรคสอง ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยต่อไป ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
                   2. อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับความเห็นของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และกระทรวงสาธารณสุขไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
                   3. รับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ต้องออกตามร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
                   4. ให้กระทรวงพาณิชย์รับความเห็นของกระทรวงการคลัง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงบประมาณ และสำนักงาน ก.พ.ร. ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
                   5. ให้กระทรวงการต่างประเทศจัดทำและดำเนินการยื่นภาคยานุวัติสารต่อผู้อำนวยการใหญ่ ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลกเมื่อสภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบความตกลงฯ และร่างพระราชบัญญัติฯ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ มีผลใช้บังคับทางกฎหมายแล้ว
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ความตกลงกรุงเฮกฯ มีสาระสำคัญเกี่ยวกับระบบการจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้ขอจดทะเบียนให้สามารถขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยสามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเพียงครั้งเดียวเพื่อขอรับความคุ้มครองในประเทศต่าง ๆ ที่เป็นภาคีได้ โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย บททั่วไป ภาค 1 คำขอระหว่างประเทศและการจดทะเบียนระหว่างประเทศ ภาค 2 บทบัญญัติฝ่ายบริหาร ภาค 3 การพิจารณาปรับปรุงและการแก้ไข และภาค 4 บทบัญญัติสุดท้าย รวมทั้งหมด 34 ข้อ สรุปได้ดังนี้
                             1.1 กำหนดการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองอื่นใดตามกฎหมายของภาคีร่วมสัญญา และอนุสัญญาระหว่างประเทศ ต้องไม่มีผลกระทบต่อคำขอที่มีความคุ้มครองเหนือกว่าตามกฎหมายของภาคีร่วมสัญญา (ความตกลงฯ จะไม่ไปตัดความคุ้มครองตามกฎหมายภายในประเทศ/สนธิสัญญาระหว่างลิขสิทธิ์ หรือความตกลง TRIPS ของ WTO เช่น หากกฎหมายภายในประเทศ หรือความตกลงระหว่างประเทศใดที่มีความคุ้มครองที่ดีกว่า ก็ให้สามารถเลือกบังคับใช้อันนั้น)
                             1.2 กำหนดสิทธิและขอบเขตการยื่นคำขอระหว่างประเทศ โดยกำหนดให้ผู้มีสิทธิยื่นคำขอระหว่างประเทศต้องเป็นบุคคลที่มีสัญชาติของรัฐที่เป็นรัฐภาคีร่วมสัญญาหรือเป็นสมาชิกขององค์การระหว่างรัฐที่เป็นภาคีร่วมสัญญา หรือมีภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรืออยู่ในระหว่างการประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชกรรมอย่างแท้จริงในอาณาเขตของภาคีร่วมสัญญา
ทั้งนี้ ความตกลงฯ จะเริ่มมีผลบังคับใช้ 3 เดือนหลังจากการให้สัตยาบัน หรือการภาคยานุวัติต่อผู้อำนวยการใหญ่องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก
                   2. ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการปรับปรุงกระบวนการขั้นตอนการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ การจดทะเบียนสิทธิบัตร และระบบการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และสอดคล้องกับมาตรฐานสากล ได้แก่ 1) ความตกลงกรุงเฮกฯ 2) ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) 3) อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และ 4) พิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม โดยการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้สำหรับการยื่นคำขอแก้ไขปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องการบังคับใช้สิทธิตามสิทธิบัตร (Compulsory Licensing) ให้มีความครบถ้วนตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า และกำหนดให้ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร ผู้ขอต้องระบุแหล่งที่มา และยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตก่อนการเข้าถึงและข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์ขยายอายุการให้ความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ ขยายขอบเขตการขอรับสิทธิบัตรไปยังการออกแบบผลิตภัณฑ์บางส่วน รวมทั้งปรับปรุงแก้ไขบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น รายละเอียดดังนี้
                             ร่างพระราชบัญญัติสิทธิบัตร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 โดยเพิ่มบทบัญญัติเพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกฯ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามความตกลง TRIPS อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และพิธีสารนาโงยา และปรับปรุงขั้นตอนการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ และอนุสิทธิบัตรปรับปรุงการคุ้มครองสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัย สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

การรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกฯ และเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามความตกลง TRIPS อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ และพิธีสารนาโงยา
ประเด็นที่แก้ไขสาระสำคัญ/เหตุผล
1. ความตกลงกรุงเฮกฯ เช่น
    1.1 เพิ่มเติมหมวด 3/1 การจดทะเบียนการออกแบบผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศภายใต้ความตกลงฯ
(เดิม ไม่ได้กำหนด)
 
 
 
 
 
 
 
1.2 ขยายอายุการให้ความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์
(เดิม ระยะเวลาคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์มีอายุการคุ้มครอง 10 ปี)
- เพิ่มนิยาม คำว่า “ความตกลงกรุงเฮก” “คำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศ” “การจดทะเบียนระหว่างประเทศ” “ทะเบียนระหว่างประเทศ” “ผู้ขอจดทะเบียน” และ “สำนักระหว่างประเทศ”
- กำหนดวิธีการยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศได้ 2 ทาง คือ (1) Direct filing : ยื่นโดยตรงไปยังสำนักระหว่างประเทศ (2) Indirect filing : ยื่นผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญา
- กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำขอจดทะเบียนระหว่างประเทศผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญา เช่น ต้องมีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย
- ขยายระยะเวลาคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ เป็น 15 ปี โดยกำหนดให้มีระยะเวลาเริ่มต้น 5 ปี และสามารถต่ออายุได้อีก 2 ครั้ง ครั้งละ 5 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันและแนวโน้มของการค้าการลงทุนที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเพื่อรองรับการเข้าเป็นภาคีความตกลงกรุงเฮกฯ ภายใต้กรรมสารเจนีวาฯ
2. ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า : TRIPS
    2.1 การบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ (เพิ่มเติมบทบัญญัติเรื่องการใช้สิทธิตามสิทธิบัตรเพื่อส่งออกเภสัชภัณฑ์ตามมาตรา 31 bis ของ TRIPS Agreement)
(เดิม ไม่ได้กำหนด)
 
 
 
 
 
 
    2.2 เพิ่มเติมสิ่งที่ขอรับสิทธิบัตรไม่ได้
(เดิมกำหนดไว้ดังนี้ (1) จุลชีพและส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของจุลชีพที่มีอยู่ตามธรรมชาติ สัตว์ พืชหรือสารสกัดจากสัตว์หรือพืช (2) กฎเกณฑ์และทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ (3) ระบบข้อมูลสำหรับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ (4) วิธีการวินิจฉัย บำบัด หรือรักษาโรคมนุษย์ หรือสัตว์ (5) การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี อนามัยหรือสวัสดิภาพของประชาชน)
- กรณีหากเกิดความขาดแคลนเภสัชภัณฑ์ในประเทศพัฒนาน้อยที่สุด หรือประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกมีศักยภาพในการผลิตเภสัชภัณฑ์ไม่เพียงพอ และประเทศนั้นได้แจ้งความต้องการที่จะนำเข้าเภสัชภัณฑ์ต่อองค์การการค้าโลกแล้วกระทรวงอาจใช้สิทธิตามสิทธิบัตรอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีผู้ทรงสิทธิบัตรอยู่แล้ว เพื่อผลิตและส่งออกเภสัชภัณฑ์ไปยังประเทศดังกล่าวได้ โดยดำเนินการเองหรือให้บุคคลอื่นดำเนินการแทน รวมทั้งวางกรอบการกำหนดค่าตอบแทน เงื่อนไข และข้อจำกัดสิทธิของกระทรวงเพื่อให้สอดคล้องกับความตกลง TRIPS Art 31 bis
 
- เพิ่มเติมให้ศัลยกรรมเพื่อการรักษาโรคมนุษย์หรือสัตว์
เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้ เพื่อให้ถ้อยคำครบถ้วนตาม TRIPS Art.27 ข้อ 3 (a) ซึ่งมีคำว่า “surgical methods”
- เพิ่มเติมให้การประดิษฐ์ที่แสวงหาประโยชน์เชิงพาณิชย์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี สุขภาพ อนามัย สวัสดิภาพของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมอย่างร้ายแรง เป็นสิ่งที่ไม่สามารถขอรับสิทธิบัตรได้
3. อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพและพิธีสารนาโงยาว่าด้วยการเข้าถึงทรัพยากรพันธุกรรมและการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม (Nagoya Protocal)
    เพิ่มเติมบทบัญญัติเพื่อรองรับการใช้ทรัพยากรพันธุกรรม หรือภูมิปัญญาท้องถิ่น
(เดิม ไม่ได้กำหนด)
- กำหนดให้ผู้ขอรับสิทธิบัตรระบุแหล่งที่มา และยื่นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตก่อนการเข้าใช้ และข้อตกลงแบ่งปันผลประโยชน์มาพร้อมคำขอด้วย เพื่อรองรับหลักการเปิดเผยแหล่งที่มาของทรัพยากรพันธุกรรม (Genetic Resources: GRs) และภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional Knowledge: TK) ในคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์และอนุสิทธิบัตร
4. ปรับปรุงบทนิยาม คำว่า “แบบผลิตภัณฑ์” และเพิ่มนิยามคำว่า “แบบผลิตภัณฑ์หลัก”- “แบบผลิตภัณฑ์” หมายความว่า รูปร่างของผลิตภัณฑ์ รูปทรง หรือองค์ประกอบของลวดลายหรือสี ของผลิตภัณฑ์หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ ที่ปรากฏแก่สายตาและอันมีลักษณะพิเศษสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งสามารถใช้เป็นแบบสำหรับผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมรวมทั้งหัตถกรรมได้” เพื่อให้มีความชัดเจน และเพื่อรองรับการขอรับความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์บางส่วน (Partial designs)
เพิ่มเติมนิยามคำว่า “แบบผลิตภัณฑ์หลัก” หมายความว่า แบบผลิตภัณฑ์ที่ได้ขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ไว้ในราชอาณาจักรแล้ว และผู้ขอรับสิทธิบัตรเลือกใช้เป็นฐานในการยื่นขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง เพื่อรองรับการขอรับความคุ้มครองการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง
5. ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์การพิจารณางานที่ปรากฏอยู่แล้ว จากเดิมที่ให้เริ่มต้นอายุคุ้มครองสิทธิบัตรให้นับแต่วันยื่นคำขอภายในประเทศ- เพิ่มเติมกรณีที่มีการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรครั้งแรก ไม่ว่าจะในหรือนอกราชอาณาจักร ให้ถือว่าวันยื่นคำขอครั้งแรกนั้นเป็นวันยื่นคำขอรับสิทธิบัตร ซึ่งสอดคล้องกับหลักการ Priority Claim ซึ่งเป็นหลักการสากล
6. ปรับปรุงขั้นตอนการตรวจสอบคำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ให้มีความชัดเจนและรวดเร็ว- กำหนดระยะเวลาในการดำเนินการขอรับการจดสิทธิบัตรใหม่ให้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับหลักสากล เช่น ลดระยะเวลาแยกคำขอรับสิทธิบัตร กรณีคำขอรับสิทธิบัตรมีการประดิษฐ์หลายอย่าง จากเดิม “120 วัน” เป็น “90 วัน” ลดระยะเวลาการขอให้ตรวจสอบสิ่งประดิษฐ์จากเดิม “5 ปี” นับแต่วันประกาศโฆษณา เป็น “ภายใน 3 ปี” นับแต่วันยื่นคำขอรับสิทธิบัตรในราชอาณาจักร เป็นต้น ปรับปรุงกระบวนการคัดค้านการขอรับสิทธิบัตรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยย้ายการคัดค้านก่อนการตรวจสอบการประดิษฐ์มาไว้ภายหลังจากตรวจสอบการประดิษฐ์ แต่ก่อนการรับจดทะเบียน
7. แก้ไขขั้นตอนการจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ (ผู้ทรงสิทธิบัตรอนุญาตให้บุคคลอื่นใช้สิทธิบัตรแทนตน)
(เดิม การอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรและการโอนสิทธิบัตร ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่)
- ยกเลิกหลักเกณฑ์การจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิโดยเปลี่ยนไปใช้ระบบการจดแจ้งการอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร
8. ปรับปรุงอำนาจหน้าที่อธิบดีกรณีผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี
(เดิม เมื่อผู้ทรงสิทธิบัตรไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปี ให้อธิบดีทำรายงานเสนอให้คณะกรรมการสิทธิบัตรสั่งเพิกถอนสิทธิบัตร)
- กำหนดให้อธิบดีสั่งเพิกถอนสิทธิบัตรที่ไม่ชำระค่าธรรมเนียมรายปีแทนคณะกรรมการสิทธิบัตรเพื่อลดขั้นตอนการดำเนินงาน
9. เพิ่มเติมหมวด 2/1 การยื่นคำขอระหว่างประเทศภายใต้สนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร (Patent Cooperation Treaty : PCT)
(เดิม ไม่ได้กำหนด)
- เพิ่มบทนิยาม เช่น คำว่า “สนธิสัญญา” “คำขอระหว่างประเทศ” “ผู้ขอ” และ “สำนักระหว่างประเทศ”
- กำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิยื่นคำขอระหว่างประเทศผ่านกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดยต้อง (1) มีสัญชาติไทย หรือเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนในประเทศไทย (2) มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย หรือ (3) มีสถานประกอบอุตสาหกรรมหรือพาณิชยกรรมและยังคงประกอบการอย่างแท้จริงและจริงจังในประเทศไทย
เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้มีสิทธิยื่นคำขอสิทธิบัตรสัญชาติไทยหรือมีภูมิลำเนาในไทย สามารถยื่นขอจดสิทธิบัตรระหว่างประเทศต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้ ซึ่งเป็นหลักการตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร ซึ่งเดิมกำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยการขอรับความคุ้มครองการประดิษฐ์ตามสนธิสัญญาความร่วมมือด้านสิทธิบัตร พ.ศ. 2522
10. ค่าธรรมเนียม- เก็บค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมและยกเลิกค่าธรรมเนียมบางรายการเพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้แก่
    ค่าธรรมเนียมที่ถูกยกเลิก เช่น ค่าธรรมเนียมคำขอจดทะเบียนสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร (เนื่องจากเปลี่ยนมาใช้ระบบจดแจ้งแทน)
    ค่าธรรมเนียมที่เพิ่มเติม เช่น 1) คำขอถือสิทธิให้ถือวันยื่นคำขอครั้งแรกนอกราชอาณาจักร 2) คำขอแยกการประดิษฐ์ 3) คำขอขยายระยะเวลาแก้ไขเพิ่มเติมคำขอรับสิทธิบัตรหรืออนุสิทธิบัตร และ 4) คำร้องขอให้ทบทวนผลการพิจารณาคำขอระหว่างประเทศ
11. ปรับปรุงบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และแยกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องกับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ออกไปเป็นอีกบัญชีหนึ่งต่างหาก
(เดิม อัตราเดิมใช้บังคับมา 17 ปีแล้ว และไม่ได้แยกบัญชีอัตราค่าธรรมเนียมสิทธิบัตร)
- ปรับปรุงอัตราค่าธรรมเนียมคำขอต่าง ๆ เช่น
    - คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เดิมฉบับละ 1,000 บาท เป็น 3,500 บาท
    - คำขอรับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์เดิมฉบับละ 1,000 บาท เป็น 3,000 บาท
- เพิ่มเติมอัตราค่าธรรมเนียมคำขอต่าง ๆ ซึ่งเดิมไม่มี เช่น
    - คำขอแยกการประดิษฐ์ ฉบับละ 1,000 บาท
    - คำขอแยกการออกแบบผลิตภัณฑ์ ฉบับละ 1,000 บาท

 
4. เรื่อง ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติในหลักการร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชนในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีจำเป็นเร่งด่วน ตามที่กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอ และให้ส่งคณะกรรมการตรวจสอบร่างกฎหมายและร่างอนุบัญญัติที่เสนอคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาเป็นเรื่องด่วน แล้วดำเนินการต่อไปได้
                   ทั้งนี้ ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีฯ ที่กระทรวงคมนาคมเสนอเป็นการกำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน - ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้
                   สาระสำคัญของร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
                   กำหนดให้การเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน ในท้องที่เขตบางซื่อเขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นกรณีที่มีความจำเป็นและเร่งด่วน เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดหาอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการขนส่งมวลชน พ.ศ. 2540 ได้ ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินกิจการขนส่งมวลชนตามโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) เป็นไปตามแผนที่ได้กำหนดไว้
 

เศรษฐกิจ สังคม

5. เรื่อง ตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
                    คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตัวชี้วัดขับเคลื่อนการบูรณาการร่วมกัน (Joint KPIs) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนตัวชี้วัด ให้บรรลุเป้าหมายต่อไป ตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   ก.พ.ร. รายงานว่า
                   1. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการและจังหวัด ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมีกรอบแนวทางและเกณฑ์การประเมินเช่นเดียวกับปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และกำหนดให้ประเมินส่วนราชการปีละ 1 ครั้ง (รอบการประเมินตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ถึงวันที่ 30 กันยายนของทุกปี) นอกจากนี้ ได้พิจารณากำหนดการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล (Agenda) ซึ่งจำเป็นต้องมีการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย (1) การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (2) การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ (การจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบ) และ (3) การท่องเที่ยว (รายได้จากการท่องเที่ยว) โดยมีตัวชี้วัดร่วมเพื่อกำหนดเป้าหมายร่วมกัน (Joint KPIs) และมีเป้าหมายให้ Joint KPIs ถ่ายทอดเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์ชาติและแผนแม่บทไปสู่ระดับส่วนราชการ จังหวัด องค์การมหาชน และรัฐวิสาหกิจ
                   2. ก.พ.ร. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2565 ได้มีมติเห็นชอบ Joint KPIs ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ใน 3 ประเด็นดังกล่าวข้างต้น ซึ่งมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ1 และห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย2 รวมถึงได้มีการกำหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละตัวชี้วัด สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                             2.1 การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วนในระดับสากล ประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศภาคีตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและได้ให้สัตยาบันร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2559 โดยมีเป้าหมายระยะยาวในการควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลก โดยเฉลี่ยให้น้อยกว่า 2 องศาเซลเซียส โดยที่ประเทศภาคีจะต้องจัดทำเป้าหมายการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่แต่ละประเทศกำหนดเองตามความเหมาะสมและรับผิดชอบดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายดังกล่าว ทั้งนี้ Joint KPIs ที่ได้จัดทำขึ้นในประเด็นลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 18 การเติบโตอย่างยั่งยืนประเด็นย่อย 18.3 การสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคมที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้

ห่วงโซ่คุณค่าชื่อตัวชี้วัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมาย : การปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทยลดลง ประกอบด้วย 4 ประเด็น
1. นโยบาย
ด้านการลด
ก๊าซเรือนกระจก
- การประเมินผลการลดก๊าซเรือนกระจกกระทรวงเกษตร                 และสหกรณ์ (กษ.) กระทรวงคมนาคม (คค.)กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) กระทรวงพลังงาน และกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.)
- การป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม
- การจัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน พ.ศ. 2566 – 2580 (แผนพลังงานชาติ) เพื่อสนับสนุนการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคพลังงาน
2. การพัฒนา
โครงสร้างพื้นฐาน
ด้านการลดก๊าซ
เรือนกระจก
ของประเทศ
จำนวนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่เข้าร่วมโครงการพัฒนาทักษะดิจิทัลการใช้เครื่องมือระบบรายงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียวเมืองและชุมชนเพื่อจัดทำฐานข้อมูลทรัพยากรทางบก (พื้นที่สีเขียว) ของ อปท.กระทรวงมหาดไทย (มท.)
3. การดำเนินงาน
ลดก๊าซเรือนกระจก
- ความสำเร็จการดำเนินโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อประโยชน์จากคาร์บอนเครดิตทส. มท. (17 จังหวัด) และ อก.
- ความสำเร็จของการจัดการหมอกควันและไฟป่า3
- จำนวนพื้นที่ป่าได้รับการฟื้นฟู (ไร่)
- ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ (คาร์บอนเครดิต)จากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ                (T-VER)4
- ร้อยละความสำเร็จในการลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ในประเทศ
4. สภาพแวดล้อม
ที่เอื้อต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนบนสังคม
ที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
- เพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอนในพื้นที่ป่าอนุรักษ์และสร้างการรับรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทส. กระทรวงดิจิทัล     เพื่อเศรษฐกิจและสังคม และ มท.
- ประชาชน ชุมชน และภาคีเครือข่ายเฝ้าระวังสามารถ
ปรับตัวพร้อมรับมือลดผลกระทบจากธรณีพิบัติภัย
- ร้อยละกลุ่มเป้าหมายสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์และ/หรือใช้ในการปรับพฤติกรรมเพื่อลดก๊าซเรือนกระจก
- ร้อยละกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมนำแนวทางเมืองสิ่งแวดล้อมยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
- ร้อยละของพื้นที่เป้าหมายเมืองที่ผ่านเกณฑ์ มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์ชี้วัด
- ปริมาณซื้อขายและถ่ายโอนคาร์บอนเครดิต ซึ่งมาจากโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจ (T-VER) ตามมาตรฐานของประเทศไทย
- จำนวนการเข้าถึงผู้รับสารจากการสื่อสารองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
- ร้อยละของผู้เข้ารับการอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการลดก๊าซเรือนกระจกที่ผ่านเกณฑ์การทดสอบ ร้อยละ 70
- ต้นแบบการลดก๊าซเรือนกระจกด้วยแนวคิดโมเดลเศรษฐกิจใหม่ (BCG) ในเขตพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ
- ปริมาณก๊าซเรือนกระจกระดับจังหวัด อปท. จากการส่งเสริมการจัดทำข้อมูลและรายงานปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่ามีศักยภาพจะลดได้
- ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการรับรองให้ใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์5 และเครื่องหมายรับรองคลูโหมด6
- ร้อยละของความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ร้อยละความพึงพอใจของการให้บริการข้อมูลภูมิอากาศแก่กลุ่มเป้าหมายเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์
- ผลสำเร็จของกิจกรรมในการดำเนินการของกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลางและกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

                             2.2 ความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภค การบริหารทรัพยากรน้ำเป็นประเด็นสำคัญของประเทศ ประกอบกับพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 บัญญัติให้มีกลไกขับเคลื่อนผ่านคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรน้ำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในการบูรณาการเกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้เกิดความเป็นเอกภาพและสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนและบริหารจัดการทรัพยากรทั้งประเทศอย่างเป็นระบบ ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ(ปี พ.ศ. 2561 - 2580)7 ทั้งนี้ Joint KPIs ที่ได้จัดทำขึ้นในประเด็นความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (ปี พ.ศ. 2561 - 2580) ยุทธศาสตร์ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค รวมทั้งแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 19 การบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ประเด็นย่อย 19.1 การพัฒนาการจัดการน้ำเชิงลุ่มน้ำทั้งระบบเพื่อเพิ่มความมั่นคงด้านน้ำของประเทศ ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้

ห่วงโซ่คุณค่าชื่อตัวชี้วัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เป้าหมาย 1 : ระดับความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นจากระดับ 3 ให้เป็นระดับ 48 ประกอบด้วย 2 ประเด็น
1. การเข้าถึง
น้ำอุปโภค/
บริโภค
อย่างเพียงพอ
ได้มาตรฐาน
- ปริมาณน้ำที่จัดสรรเพื่อการอุปโภคบริโภคกษ. ทส. มท. และ สทนช.
- ความสำเร็จในการเสริมสร้างศักยภาพ อปท. ในการประเมินคุณภาพระบบประปาหมู่บ้าน
- ผลสำเร็จของการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อการอุปโภคบริโภค
- จำนวน อปท. ที่ผ่านเกณฑ์คุณภาพน้ำอุปโภคบริโภคได้ตามมาตรฐานที่กำหนด
- ร้อยละคุณภาพน้ำประปาหมู่บ้านได้มาตรฐานตามเกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้
- ความสำเร็จของการจัดทำแผนขับเคลื่อนน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภค
2. การบริหารจัดการคุณภาพน้ำ- คุณภาพน้ำของแม่น้ำสายหลักที่อยู่ในเกณฑ์ดีเพิ่มขึ้น9ทส. และ มท. (27 จังหวัด)

                             2.3 รายได้จากการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่อุตสาหกรรมท่องเที่ยวนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามสภาวการณ์โลกและพฤติกรรมของผู้บริโภค จึงต้องมีการปรับตัวตามกระแสโลกที่เปลี่ยนแปลงไปและวางแผนการพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดเพื่อรักษาและพัฒนาขีดความสามารถด้านการท่องเที่ยวของประเทศ รัฐบาลจึงมีนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยมุ่งเน้นการฟื้นฟูภาคการท่องเที่ยวอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีบทบาทสำคัญต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ทั้งนี้ Joint KPIs ที่ได้จัดทำขึ้นในประเด็นรายได้จากการท่องเที่ยวมีความสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น 5 การท่องเที่ยว ประกอบด้วยตัวชี้วัด ดังนี้

ห่วงโซ่คุณค่าชื่อตัวชี้วัดหน่วยงานที่เกี่ยวของ
ภาพรวมรายได้จากการท่องเที่ยว
 -รายได้จากการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ10กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) และ มท.
- รายได้จากการท่องเที่ยวของผู้เยี่ยมเยือนชาวไทย11
เป้าหมาย 1 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรมเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 4 ประเด็น
1. ฐานทุน
วัฒนธรรม
ของพื้นที่
- รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.)
2. การเพิ่ม
มูลค่าให้กับ
สินค้า บริการ
และแหล่ง
ท่องเที่ยว
- ร้อยละของรายได้ที่เพิ่มขึ้นของวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบกิจกรรมด้านท่องเที่ยวเชิงเกษตรกษ. ทส. มท. วธ. และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.)
- จำนวนแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติที่ขอรับรองมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว
- จำนวนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้รับการพัฒนาศักยภาพและพร้อมสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยว
- รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
- จำนวนเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
3. การตลาดเพื่อการท่องเที่ยว
สร้างสรรค์
และวัฒนธรรม
- อัตราการรับรู้ถึงกิจกรรมท่องเที่ยว สินค้า/บริการทางการท่องเที่ยวของกลุ่มเป้าหมายกก. มท. วธ. และ สปน.
- จำนวนชุมชนท่องเที่ยวที่ได้รับการผลักดันเข้าสู่ตลาดอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- จำนวน อปท. ที่สนับสนุนหรือจัดให้มีการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยว
- ร้อยละการสร้างการตระหนักรู้ต่อนักท่องเที่ยว
- จำนวนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้รับการพัฒนาศักยภาพและพร้อมสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยว
- รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการส่งเสริม สนับสนุนผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ
- จำนวนเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม
4. สภาพ
แวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างรายได้จากการ
ท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์
และวัฒนธรรม
จำนวนชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีได้รับการพัฒนาศักยภาพและพร้อมสู่การเป็นเส้นทางท่องเที่ยวมท.
เป้าหมาย 2 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 3 ประเด็น
1. ความพร้อมของสินค้าและบริการของการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ- จำนวนผลิตภันฑ์ OTOP ที่ได้รับการยกระดับด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมกระทรวง
การอุดมศึกษา
วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม คค. มท. และ สปน.
- ระยะทางที่ดำเนินการก่อสร้างทางหลวงชนบทเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว
- จำนวนโครงการพัฒนาปัจจัยพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ
- อัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ
2. การตลาด
ท่องเที่ยว
เชิงธุรกิจที่มี
ประสิทธิภาพ
- อัตราการรับรู้ถึงกิจกรรมท่องเที่ยว สินค้า/บริการ ทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของกลุ่มเป้าหมายกก. และ สปน.
- ร้อยละของกลุ่มเป้าหมายรับรู้ในการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจของไทย
- อัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ
3. การบริหาร
จัดการกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงธุรกิจให้บรรลุเป้าหมาย
- อัตราการขยายตัวของรายได้จากการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจกก. และ สปน.
- อัตราการรับรู้ถึงกิจกรรมท่องเที่ยว สินค้า/บริการ ทางการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของกลุ่มเป้าหมาย
 
เป้าหมาย 3 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ความงาม และแพทย์แผนไทยเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 2 ประเด็น
1. สินค้าและบริการ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ- ร้อยละของศูนย์เวลเนส (Wellness Center)/แหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับการยกระดับแบบมีส่วนร่วมและสร้างสรรค์ด้านภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก และสมุนไพร ให้มีคุณค่าและมูลค่าสูงเพิ่มขึ้นกระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
- ร้อยละของผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการตรวจสอบได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ร้อยละของสถานประกอบการผลิตภัณฑ์สุขภาพกลุ่มเป้าหมายได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
- อัตราการเพิ่มขึ้นของจำนวนสถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ได้รับมาตรฐานตามที่กำหนด
2. การตลาดเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจำนวนผู้ซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากการดำเนินงานของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกก.
เป้าหมาย 4 รายได้จากการท่องเที่ยวสำราญทางน้ำเพิ่มขึ้น ประกอบด้วย 2 ประเด็น
1. บุคลากรด้านการท่องเที่ยว
สำราญทางน้ำ
และกฎหมาย
ร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรสำหรับเรือสำราญและกีฬาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
 
กระทรวงการคลัง
2. สภาพ
แวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างรายได้การท่องเที่ยว
สำราญทางน้ำ
ประชาชนได้รับการแจ้งเตือนภัยและมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือสาธารณภัยตามระยะเวลาที่กำหนด
 
มท.

                   ทั้งนี้ ในการขับเคลื่อนประเด็นนโยบายสำคัญโดยการกำหนด Joint KPIs มีกลไกในการกำกับและติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานเพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายทั้งระดับหน่วยงานและภาพรวมในระดับประเทศผ่านคณะกรรมการกำกับการประเมินผลการปฏิบัติราชการของส่วนราชการ แต่งตั้งโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ซึ่งประกอบด้วยปลัดกระทรวงเป็นประธาน หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมในสังกัดกระทรวง ประธานคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผลภาคราชการประจำกระทรวง ผู้นำกลุ่มขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดองกระทรวง ผู้อำนวยการองค์การมหาชนภายใต้การกำกับของรัฐมนตรีว่าการกระทรวง และหน่วยงานกลางที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สำนักงบประมาณ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และสำนักงาน ก.พ.ร. เป็นกรรมการเพื่อให้การขับเคลื่อน Joint KPIs มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น สามารถตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนและตอบสนองต่อความคาดหวังของประชาชนเรื่องผลกระทบกับคุณภาพชีวิต ด้านสิ่งแวดล้อม และการฟื้นฟูด้านเศรษฐกิจหลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
_________________
1แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561 - 2580 มี 23 ประเด็น (ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2562)
2ห่วงโซ่คุณค่าของประเทศไทย คือ องค์ประกอบที่มีความสอดคล้องและสัมพันธ์กันอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่จุดเริ่มต้นของกระบวนการ (ต้นทาง) ไปจนสิ้นสุดกระบวนการดำเนินงาน (ปลายทาง) ซึ่งส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยนั้น ๆ ได้ตามที่กำหนด ประกอบด้วย 140 เป้าหมาย ซึ่งเป็นเป้าหมายของแผนแม่บทย่อยภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
3ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (17 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิษณุโลก แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร เพชรบูรณ์ และอุทัยธานี)
4โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) คือ กลไกลดก๊าซเรือนกระจกภายในประเทศที่องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (Thailand Greenhouse Gas Management Organization: TGO) พัฒนาขึ้นตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งเป็นกลไกที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ผลิตและใช้พลังงานหมุนเวียน ภาคอุตสาหกรรมที่มีกิจกรรมการเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานการจัดการของเสีย ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่มีศักยภาพลดก๊าซเรือนกระจก การจัดการในภาคขนส่ง รวมถึงการปลูกต้นไม้และอนุรักษ์ฟื้นฟูป่า ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นอกจากจะช่วยกักเก็บก๊าซเรือนกระจกได้แล้วยังสามารถรักษาและสร้างความหลากหลายทางชีวภาพได้อีกด้วย
5คาร์บอนฟุตพริ้นท์ หมายถึง ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต/การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าโดยเครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลให้ผู้บริโภคได้ทราบว่า ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์เหล่านั้นมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกมาปริมาณเท่าไร
6เครื่องหมายรับรองคลูโหมดเป็นฉลากที่มอบให้กับเสื้อผ้าหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการระบายความร้อนได้ดี สวมใส่สบาย ไม่ร้อนอบอ้าว โดยไม่รู้สึกอึดอัด เนื่องจากวัสดุที่ใช้ในการตัดเย็บเป็นผ้าที่มีการพัฒนาให้มีคุณสมบัติพิเศษในการซับเหงื่อจากผิวหนังและระเหยออก จึงช่วยเพิ่มความสบายและความเย็นในขณะสวมใส่ เสื้อผ้าดังกล่าวนี้จึงช่วยรองรับการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ต้องการมีส่วนช่วยลดการใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องปรับอากาศและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
7คณะรัฐมนตรีมีมติ (18 มิถุนายน 2562) เห็นชอบแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ (พ.ศ. 2561 – 2580) ตามที่ สทนช. เสนอ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ได้แก่ (1) การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค (2) การสร้างความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต (3) การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย (4) การจัดการคุณภาพน้ำและอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำ (5) การอนุรักษ์พื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ (6) การบริหารจัดการ
8ระดับความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคเพิ่มขึ้นจากระดับ 3 ให้เป็นระดับ 4 (สูงสุดที่ระดับ 5) บ่งบอกถึงความสามารถในการเข้าถึงน้ำดื่มที่เพียงพอและยั่งยืน
9ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (6 ลุ่มน้ำ 27 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท นครสวรรค์ ลพบุรี อุทัยธานี สมุทรสาคร นครปฐม สุพรรณบุรี อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ นครราชสีมา ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ลำพูน เชียงใหม่ กำแพงเพชร ตาก จันทบุรี ตราด และระยอง)
10ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดภูเก็ต พังงา ยะลา สุราษฎร์ธานี ชลบุรี นราธิวาส และกระบี่)
11ตัวชี้วัดที่เป็นทั้งตัวชี้วัดส่วนราชการและจังหวัด (20 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ชลบุรี ภูเก็ต กระบี่ สงขลา ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี กาญจนบุรี นครราชสีมา เชียงราย สุราษฎร์ธานีขอนแก่น นครศรีธรรมราช พระนครศรีอยุธยา ตราด อุดรธานี สตูล จันทบุรี และตรัง)
 
6. เรื่อง โครงการอาคารรักษาพยาบาลศิริราชและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เสนอการดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ) (โครงการฯ สถานีศิริราช) งบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,851.27 ล้านบาท [งบลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบบุคลากร (หมวดเงินเดือน) 113.01 ล้านบาท] และสนับสนุนโครงการให้แล้วเสร็จ โดยขออนุมัติจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569 จำนวน 2,552.50 ล้านบาท โดยขอผูกพันงบประมาณ ดังนี้
หน่วย : ล้านบาท

ปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566พ.ศ. 2567พ.ศ. 2568พ.ศ. 2569
168.02422.63972.97988.88

และเงินสมทบจากเงินนอกงบประมาณ จำนวน 1,298.77 ล้านบาท ในลักษณะเป็นเงินอุดหนุน
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการดำเนินโครงการอาคารรักษาพยาบาลและสถานีศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ) (โครงการฯ สถานีศิริราช) งบประมาณรวมทั้งสิ้น 3,851.27 ล้านบาท [งบลงทุนค่าก่อสร้าง 2,338.27 ล้านบาท ครุภัณฑ์การแพทย์ 1,400 ล้านบาท และงบบุคลากร (หมวดเงินเดือน) 113.01 ล้านบาท] และสนับสนุนโครงการให้แล้วเสร็จ โดยขออนุมัติจากเงินงบประมาณแผ่นดิน ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2569 จำนวน 2,552.50 ล้านบาท และเงินสมทบจากเงินนอกงบประมาณ จำนวน 1,298.77 ล้านบาท (คิดเป็นสัดส่วน 66 : 43) ซึ่งโครงการฯ สถานีศิริราช มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

หัวข้อรายละเอียด
วัตถุประสงค์(1) เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงโรงพยาบาลศิริราชได้อย่างสะดวกด้วยระบบคมนาคมที่เชื่อมโยงเครือข่ายกับระบบคมนาคมหลัก
(2) เพื่อพัฒนาศักยภาพของพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟธนบุรีให้เกิดมูลค่าเพิ่มต่อวงการแพทย์และสาธารณสุข
(3) เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และกรุงเทพมหานคร เป็นต้น
สถานที่ตั้ง
และรูปแบบ
โครงการ
- ตั้งอยู่บริเวณใกล้ริมแม่น้ำเจ้าพระยาและอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์กรุงรัตนโกสินทร์
- พื้นที่ รฟท. (ขอเช่าที่ดินของ รฟท.) ต่อเนื่องกับคณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ บริเวณสถานีรถไฟธนบุรี - ศิริราช ช่วงเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้าสายสีแดงอ่อน เลียบคลองบางกอกน้อย บนพื้นที่ 4.67 ไร่ (7,456 ตารางเมตร)
- โครงการฯ จะเป็นอาคารสูง 15 ชั้น ชั้นใต้ดิน 3 ชั้น (ความสูงของอาคารเท่ากับ 81 เมตร) มีพื้นที่ใช้สอยประมาณ 51,853 ตารางเมตร แบ่งเป็น (1) พื้นที่โรงพยาบาล 47,537 ตารางเมตร (2) พื้นที่รถไฟสายสีแดงอ่อน 3,410 ตารางเมตร และ (3) พื้นที่รถไฟฟ้าสายสีส้ม 906 ตารางเมตร ทั้งนี้ แบบก่อสร้างได้รับความเห็นชอบร่วมกันทั้ง 3 ฝ่ายแล้ว (คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ รฟท. และ รฟม.)
ระยะเวลา
การดำเนิน
โครงการ
ปีงบประมาณ 2566 - 2569 (4 ปี) ระยะเวลาก่อสร้าง 32 เดือน
แผนงานด้าน
บุคลากร
บูรณาการระหว่างจำนวนบุคลากรที่มีอยู่เดิมกับจำนวนที่ต้องการเพิ่มขึ้น โดยมีอัตราใหม่ ปี 2569 จำนวน 516 อัตรา

ซึ่งสภามหาวิทยาลัยมหิดล ในการประชุมครั้งที่ 574 เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 มีมติอนุมัติโครงการฯ สถานีศิริราช เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้พิจารณาประเด็นที่ต้องดำเนินการตามข้อกฎหมาย ระเบียบ หลักเกณฑ์ และมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า โครงการดังกล่าวได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตตามกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้น ผ่อนผัน หรือกำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร พ.ศ. 2550 ตามข้อ 2 (1) เนื่องจากเป็นอาคารของกระทรวง ทบวง กรม ที่ใช้ในราชการหรือใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ และได้รับการยกเว้นในกรณีห้ามบุคคลใดก่อสร้างหรือดัดแปลงอาคารอื่นใดในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ตามข้อ 4/1 (4) ตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง ใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภท ภายในบริเวณฝั่งธนบุรีตรงข้ามบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ ในท้องที่แขวงบางยี่ขัน เขตบางพลัด แขวงอรุณอมรินทร์ แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี และแขวงสมเด็จเจ้าพระยา เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 เนื่องจากเป็นอาคารสาธารณปโภค อาคารสาธารณูปการ ซึ่งเป็นของหน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานในกำกับของรัฐ เพื่อจัดทำบริการสาธารณะหรือจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค สาธารณูปการ รวมทั้งได้รับการยกเว้นขั้นตอนตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ประกาศ ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561) ในขั้นตอนที่ให้หน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการนั้นเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในขั้นก่อนขอรับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เนื่องจากเป็นโครงการประเภทสถานพยาบาลของสถาบันการศึกษาของรัฐตามเอกสารท้ายประกาศ 6 ข้อ 29 โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล
 
7. เรื่อง การแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในฐานะหน่วยงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เสนอ ให้กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทย (มท.) ดำเนินการแก้ไข ทบทวน หรือปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับการขอใช้สาธารณสมบัติของแผ่นดิน อนุญาตให้ใช้ไม่เกิน 5 ปี นับแต่วันออกใบอนุญาต และการห้ามไม่ให้ขุดพื้นดินลึกจากพื้นดินทั่วไปเกินกว่า 5 เมตร เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (โครงการรถไฟฯ สามสนามบิน) สามารถดำเนินการขออนุญาตการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม [Environmental Impact Assessment (EIA)] และขออนุญาตก่อสร้างได้ในระหว่างที่อยู่ในขั้นตอนการขอถอนสภาพตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ทั้งนี้ สำหรับการขอใช้และการขอถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ที่อยู่ระหว่างดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติปัจจุบันนั้น เมื่อได้มีการปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยฯ และมีผลใช้บังคับแล้ว ให้สามารถใช้แนวทางปฏิบัติตามระเบียบใหม่ไปดำเนินการต่อเนื่องได้
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สกพอ. รายงานว่า
                   1. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 มีมติรับทราบผลการดำเนินงานเพื่อส่งมอบพื้นที่โครงการรถไฟฯ สามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) โดยภายหลังลงนามสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ประมาณ 1 ปี เอกชนคู่สัญญาได้ขอคัดสำเนาโฉนดพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) จากกรมที่ดิน ปรากฏว่ามีการระบุลำรางสาธารณประโยชน์ในโฉนดที่ดินซึ่งอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ให้ได้เต็มศักยภาพตามวัตถุประสงค์ของโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และ สกพอ. ได้ดำเนินการยื่นเรื่องการขอใช้และขอถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ ตามประมวลกฎหมายที่ดินต่อส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง และ มท. จะสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อให้มีการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ก่อนการถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว โดยให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
                   2. กพอ. ในคราวประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ได้พิจารณาการแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟฯ สามสนามบินพื้นที่โรงงานมักกะสัน (กรณีลำรางสาธารณประโยชน์) สรุปได้ ดังนี้
                             2.1 จากการลงพื้นที่ตรวจสอบสภาพของลำรางสาธารณประโยชน์ในพื้นที่โครงการรถไฟฯ สามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) และรับฟังความเห็นของประชาชนในพื้นที่โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รฟท. สกพอ. กรมที่ดิน กองทัพบก กทม. พบว่า เป็นลำรางสาธารณประโยชน์ที่ตื้นเขิน ไม่อาจใช้เป็นทางสัญจรไปมา และไม่มีสภาพการใช้ประโยชน์ร่วมกันของพลเมืองแล้ว รวมทั้งไม่สามารถฟื้นฟูสภาพได้ ทั้งนี้ ในการถอนสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันในส่วนที่เป็นลำรางสาธารณะต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 8 วรรคสอง (1) และระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีกระบวนการและขั้นตอนจำนวนมาก และใช้ระยะเวลาดำเนินการค่อนข้างนาน ซึ่งก่อให้เกิดความล่าช้าส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน
                             2.2 คณะทำงานเพื่อแก้ไขปัญหาสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ในการประชุมครั้งที่ 6/2565 เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2565 ได้พิจารณาประเด็นปัญหาที่ดินลำรางสาธารณประโยชน์ในบริเวณพื้นที่มักกะสัน1 แล้ว พบว่า มีปัญหาในประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ในส่วนที่ว่าด้วยการเริ่มต้นดำเนินโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ซึ่งครอบคลุมถึงประเด็นลำรางสาธารณประโยชน์ในพื้นที่มักกะสัน จึงให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาการแก้ไขเพื่อให้ได้ข้อยุติ
                             2.3 คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ได้พิจารณาประเด็นปัญหาที่ดินลำรางสาธารณประโยชน์ในบริเวณพื้นที่มักกะสันตามที่เอกชนคู่สัญญามีหนังสือร้องเรียนและมีมติว่าลำรางสาธารณประโยชน์ที่ไม่มีสภาพดังกล่าวไม่เป็นเงื่อนไขในการส่งมอบพื้นที่ตามข้อกำหนดในสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ทั้งนี้ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวของ รฟท. และ สกพอ. เป็นเพียงการอำนวยความสะดวกเพื่อสนับสนุนเอกชนคู่สัญญาในการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
                             2.4 สกพอ. ได้มีหนังสือถึง สคก. เพื่อขอหารือปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับแนวทางการขอถอนสภาพลำรางสาธารณประโยชน์ที่พ้นสภาพการใช้ประโยชน์ร่วมกันของพลเมืองในพื้นที่ดำเนินโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน (บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน) ซึ่งคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ได้พิจารณาข้อหารือดังกล่าวแล้ว และมีความเห็นสรุปได้ ดังนี้

ข้อหารือ สกพอ.ความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1)
ทางเลือกที่ 1
สกพอ. และ กพอ. จะสามารถอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. 2561 (พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561) เสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกำหนดให้ มท. ตราพระราชกฤษฎีกาถอนสภาพตามความในมาตรา 8 วรรคสอง (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดินขึ้นเป็นการเฉพาะ
 
เห็นว่า มาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561 มุ่งหมายให้ กพอ. มีอำนาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้มีการดำเนินการปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำสั่งใดที่ กพอ. เห็นว่าก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือล่าช้ามีความซ้ำซ้อนหรือเป็นการเพิ่มภาระการดำเนินการแก่ประชาชนเพื่อให้การดำเนินการในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นไปโดยสะดวกและรวดเร็ว แต่การใช้อำนาจตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561 เสนอให้มีการตราพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 วรรคสอง (1) แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อถอนสภาพที่ดินดังกล่าวขึ้นเป็นการเฉพาะเสียเองนั้น ไม่ใช่การเสนอให้มีการปรับปรุงหรือเสนอให้มีกฎหมายขึ้นใหม่ จึงไม่อาจกระทำได้
ทางเลือกที่ 2
สกพอ. และ กพอ. จะสามารถอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 และหรือมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561 เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดให้ สกพอ. เป็นผู้ดำเนินการเพื่อถอนสภาพลำรางดังกล่าวโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการตามขั้นตอนปกติที่กำหนดไว้ในกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง
 
เห็นว่า การที่คณะรัฐมนตรีจะกำหนดให้หน่วยงานของรัฐหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง หรือ สกพอ. เป็นผู้ดำเนินการแต่เพียงหน่วยเดียว หรือให้หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องทั้งหมดหรือบางหน่วยร่วมกันดำเนินการ หรือร่วมกับ สกพอ. ดำเนินการตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561 ย่อมต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐนั้นมีหน้าที่และอำนาจที่จะดำเนินการในเรื่องนั้น ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการภายในหรือภายนอกพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก แต่โดยที่การดำเนินการถอนสภาพที่ดินดังกล่าวเป็นหน้าที่และอำนาจของ มท. และกรมที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน และระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพ การจัดขึ้นทะเบียน และการจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2550 (ระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการถอนสภาพฯ พ.ศ. 2550) มิได้เป็นหน้าที่และอำนาจของ สกพอ. ดังนั้น สกพอ. จึงไม่อาจเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อมีมติให้ สกพอ. เป็นผู้ดำเนินการถอนสภาพที่ดินเองได้ แต่อาจเสนอให้คณะรัฐมนตรีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติได้ ตามมาตรา 33 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561
ทางเลือกที่ 3
สกพอ. และ กพอ. จะสามารถอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561 เสนอคณะรัฐมนตรี เพื่อมีมติมอบหมายให้ มท. กำหนดกฎระเบียบกรณีหน่วยงานของรัฐขอใช้ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นการชั่วคราว ในระหว่างที่การถอนสภาพยังไม่แล้วเสร็จ โดยไม่มีเงื่อนไข เงื่อนเวลา หรือข้อจำกัดในการใช้ที่ดินเสมือนว่าที่ดินนั้นได้ถอนสภาพเสร็จแล้ว
 
เห็นว่า หาก สกพอ. และ กพอ. เห็นว่า บทบัญญัติแห่งมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินและระเบียบที่เกี่ยวข้อง2 ก่อให้เกิดความไม่สะดวกหรือล่าช้า มีความซ้ำซ้อน หรือเป็นการเพิ่มภาระการดำเนินการโดยไม่จำเป็น ย่อมสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงหรือแก้ไขได้ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ. เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561 แต่ สกพอ. และ กพอ. อาจต้องพิจารณาด้วยว่าในการเสนอแก้ไขกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องจะใช้ระยะเวลานานกว่าการดำเนินการตามปกติ หรือการเสนอให้คณะรัฐมนตรีกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติหรือไม่

                             2.5 สกพอ. พิจารณาแล้วเห็นว่าควรดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1) ตามแนวทางเลือกที่ 3 ซึ่งมีความเหมาะสมกับการแก้ปัญหาส่งมอบพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน บริเวณพื้นที่โรงงานมักกะสัน โดยจะเสนอขอให้ มท. และกรมที่ดินดำเนินการแก้ไขระเบียบหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน สำหรับพื้นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่พลเมืองเลิกใช้ประโยชน์ร่วมกันแล้ว ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกที่อยู่ระหว่างการขอถอนสภาพตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
                             2.6 มติ กพอ.
                                      เห็นชอบให้ สกพอ. กรมที่ดิน และ มท. เร่งสรุปปัญหาอุปสรรคที่เกิดจากการดำเนินการตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยเกี่ยวกับการขออนุญาตใช้ประโยชน์ในที่ดินของรัฐตามประมวลกฎหมายที่ดิน เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้มีการปรับปรุงระเบียบกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวตามที่ สกพอ. นำเสนอ สำหรับใช้เป็นการเฉพาะในพื้นที่เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ ตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.เขตพัฒนาฯ พ.ศ. 2561 โดยเร็ว
                   3. เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 สกพอ. และกรมที่ดินประชุมหารือร่วมกันเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการตามมติ กพอ. ข้างต้น และได้ข้อสรุปว่า เห็นควรเสนอให้มีการแก้ไขหรือทบทวนระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการขออนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 กรณีที่ใช้บังคับในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เนื่องจากปัจจุบันระเบียบดังกล่าว ก่อให้เกิดความไม่สะดวก ล่าช้า มีความซ้ำซ้อนหรือเป็นการเพิ่มภาระการดำเนินการโดยไม่จำเป็น ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน ได้เต็มศักยภาพ อาทิ ข้อ 25 วรรคสอง ของระเบียบดังกล่าว กำหนดให้การอนุญาต ให้อนุญาตตามกำหนดเวลาซึ่งสมควรกับกิจการที่กระทำภายในกำหนดไม่เกินห้าปีนับแต่วันออกใบอนุญาต และข้อ 27 ของระเบียบดังกล่าว กำหนดให้ผู้ได้รับอนุญาตต้องไม่กระทำให้พื้นดินที่ได้รับอนุญาตหรือพื้นที่ซึ่งติดต่อเสียสภาพตามสมควร เช่น ขุดพื้นดินลึกจากพื้นดินทั่วไปเกินกว่าห้าเมตร ดังนั้น หากกรมที่ดิน และ มท. ดำเนินการแก้ไขหรือทบทวนระเบียบ มท. ว่าด้วยหลักเกณฑ์ฯ การขออนุญาตตามมาตรา 9 พ.ศ. 2543 แล้ว โครงการรถไฟฯ สามสนามบิน จะสามารถพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวได้ตามวัตถุประสงค์โดยไม่ติดขัดปัญหาและอุปสรรค
                             ปัจจุบัน สกพอ. ได้ดำเนินการยื่นขอเพิกถอนลำรางสาธารณะดังกล่าว ตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว โดยอยู่ระหว่างเสนอให้สภากรุงเทพมหานครให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป
______________________________________
1 เอกชนคู่สัญญาได้มีหนังสือร้องเรียนถึง รฟท. และ สกพอ. เกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ดินลำรางสาธารณประโยชน์ในบริเวณพื้นที่มักกะสัน สรุปได้ว่า ที่ดินลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นจุดศูนย์กลางของแผนการพัฒนาโครงการเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน โดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้อย่างเต็มศักยภาพ อาจจะก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการก่อสร้างโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน การดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการขอใบอนุญาตก่อสร้าง จึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ให้ รฟท. และ สกพอ. ประสานหน่วยงานรัฐซึ่งรับผิดชอบที่ดินลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว เพื่ออนุญาตให้เอกชนคู่สัญญาสามารถเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ดังกล่าวได้ในวันที่ได้รับมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบของพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน จาก รฟท. ตามข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาร่วมลงทุนโครงการรถไฟฯ สามสนามบิน
2 ปัจจุบัน การอนุญาตให้หน่วยงานของรัฐใช้ที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภทพลเมืองใช้ร่วมกันเป็นการชั่วคราวจะดำเนินการระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาตตามมาตรา 9 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2543 ซึ่งระเบียบนี้มุ่งใช้กับกรณีที่เอกชนมาขอใช้ที่ดินของรัฐชั่วคราวไม่เกิน 5 ปี และมีเงื่อนไขและข้อจำกัดในการใช้ที่ดิน ซึ่งไม่เหมาะสมกับสภาพการใช้ที่ดินของหน่วยงานของรัฐที่มีลักษณะเป็นการขอใช้อย่างถาวร ทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินโครงการฯ
                       
8. เรื่อง การเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กก.) เสนอดังนี้
                   1. ให้ประเทศไทยรับการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์* ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025)
                   2. กรอบวงเงินงบประมาณค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการจัดการกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) วงเงิน 2,055 ล้านบาท
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กก. รายงานว่า
                   1. กีฬาซีเกมส์ (SEA Games) เป็นการแข่งขันกีฬาระหว่างกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งมีการจัดขึ้นในทุก 2 ปี ประกอบด้วยประเทศสมาชิกจำนวน 11 ประเทศ ควบคุมการดำเนินการแข่งขันโดยสมาพันธ์กีฬาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympic Committee: IOC) สภาโอลิมปิกแห่งเอเชีย (Olympic Council of Asia: OCA) และสหพันธ์กีฬาคนพิการแห่งอาเซียน
                   2. จากการประชุมมนตรีซีเกมส์ ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2563 ได้มีวาระการประชุมเรื่องการยืนยันการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) กีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 34 พ.ศ. 2570 (ค.ศ. 2027) และกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 35 พ.ศ. 2572 (ค.ศ. 2029) โดยมนตรีซีเกมส์ประเทศไทยเข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งยังไม่มีประเทศผู้เสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) ประกอบกับถึงรอบของประเทศไทยที่จะต้องเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ ซึ่งคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้รับนโยบายจากประธานกรรมการ โอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) ให้ประเทศไทยเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) รวมทั้งการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬามหกรรมระดับนานาชาติรายการอื่น ๆ ต่อไปด้วย
                   3. คณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทย ในการประชุมครั้งที่ 3/2564 เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 มีมติเห็นชอบให้เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) พร้อมเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจังหวัดเจ้าภาพการจัดการแข่งขันดังกล่าว พร้อมทั้งกรอบประมาณวงเงินค่าใช้จ่ายเบื้องต้นโดยมีผู้แทนคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และคณะกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทยร่วมเป็นอนุกรรมการ
                   4. แผนการบริหารจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) มีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้
                             4.1 ด้านการดำเนินงาน

ประเด็นรายละเอียด
แผนการดำเนินงาน
ปี พ.ศ.ตัวอย่างการดำเนินงาน
2565- ขอความเห็นชอบการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจากคณะรัฐมนตรี
- แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อพิจารณาจังหวัดเจ้าภาพ (Host City)
2566- สำรวจจังหวัดที่เสนอตัว และพิจารณาเมืองเจ้าภาพ (Host City)
- แต่งตั้งคณะกรรมการฝ่ายต่าง ๆ
2567- จัดทำแผนงานและงบประมาณของแต่ละฝ่าย
- ส่งคู่มือการแข่งขันให้สหพันธ์กีฬาระดับนานาชาติ/เอเชีย รับรอง
2568- ทดสอบระบบการจัดการแข่งขัน
- ดำเนินการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025)  
  (เดือนธันวาคม)
2569- ดำเนินการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025)
  (เดือนมกราคม)
- สรุปผลการดำเนินงาน
จังหวัดเจ้าภาพมีจังหวัดเป้าหมาย 6 จังหวัด
- จังหวัดเชียงใหม่ เช่น สนามกีฬาสมโภชเชียงใหม่ 700 ปี
- จังหวัดชลบุรี เช่น ศูนย์กีฬาภาคตะวันออก บางละมุง
- จังหวัดนครราชสีมา เช่น สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา
- จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดสงขลา เช่น สนามกีฬาสุระกุล (ภูเก็ต) และสนามกีฬา
ติณสูลานนท์ (สงขลา)
- กรุงเทพมหานคร เช่น ราชมังคลากีฬาสถาน สนามศุภชลาศัย
หมายเหตุ : สนามสำหรับพิธีเปิด - ปิด จะต้องมีความจุ 20,000 ที่นั่งขึ้นไป
การถ่ายทอด
การแข่งขัน
- ขอรับการสนับสนุนจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์
  และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
กลไกการดำเนินงาน- ผ่านคณะกรรมการต่าง ๆ เช่น คณะกรรมการอำนวยการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขัน คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคกีฬา คณะกรรมการฝ่ายต้อนรับ ที่พัก - อาหาร และขนส่ง คณะกรรมการฝ่ายงบประมาณและสิทธิประโยชน์ และคณะกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์
ประโยชน์ที่ได้รับ- สร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทยสู่สายตาประชาคมอาเซียน
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวและนักลงทุนนานาชาติ ให้เห็นถึงศักยภาพ
  ความพร้อมของประเทศในทุก ๆ ด้าน
- สร้างรายได้ให้กับประเทศเกิดการหมุนเวียนในระบบ โดยจะมีรายได้จากการ            
  ใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น
  นักท่องเที่ยวที่เดินทางติดตามชมการแข่งขันฯ และการใช้จ่ายเงินของนักกีฬา
  เจ้าหน้าที่ ผู้แทนองค์กรกีฬาต่าง ๆ และผู้สังเกตการณ์ ประมาณ 12,000 คน
- แสดงความเป็นผู้นำด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและกีฬา
ความเสี่ยง
ที่อาจเกิดขึ้น
- การจำหน่ายบัตรเข้าชมกีฬาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย เนื่องจากผลกระทบ
  จากการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID - 19) โดยใช้การ
  แข่งขันแบบ New Normal หรือแข่งขันระบบปิดแบบไม่มีผู้ชม

                             4.2 ด้านงบประมาณ
                                  ค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันตามกรอบวงเงิน 2,055 ล้านบาท อ้างอิงจากค่าใช้จ่ายในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาระดับนานาชาติที่ผ่านมา เช่น การจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 24 และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2550 (1,463 ล้านบาท) และการจัดการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 (1,843 ล้านบาท) โดยใช้หลักเกณฑ์ในการพิจารณาที่คำนึงถึงการนำทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น อาคาร สนามกีฬา ที่พัก ครุภัณฑ์ และอุปกรณ์กีฬา มาใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด รวมทั้งได้พิจารณาภารกิจในเชิงบูรณาการเพื่อลดความซับซ้อนและประหยัดงบประมาณ โดยแผนงบประมาณมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

แหล่งงบประมาณ (รายรับ)วงเงิน (ล้านบาท)
(1) ขอรับสนับสนุนจากงบประมาณ1,683.80
(2) รายรับจากฝ่ายสิทธิประโยชน์
     - เงินสนับสนุน                                             20 ล้านบาท
     - สินค้า/บริการ เช่น อุปกรณ์กีฬา เครื่องดื่ม         180 ล้านบาท
200.00
(3) ค่าจำหน่ายบัตรเข้าชมการแข่งขัน20.00
(4) ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์
    นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 12,000 คน x 1,600 บาท x 7 วัน
134.40
(5) ค่าลงทะเบียนเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาอาเซียนพาราเกมส์
นักกีฬาและเจ้าหน้าที่ 1,500 คน X 1,600 บาท x 7 วัน
16.80
รวมทั้งสิ้น2,055.00

                   5. ประเทศไทยมีศักยภาพทั้งในด้านมาตรฐานการจัดการแข่งขันกีฬาคุณภาพของบุคลากรกีฬาในภาคส่วนต่าง ๆ ความพร้อมของสถานที่จัดการแข่งขัน ประกอบกับยังมีระยะเวลาการดำเนินงานเพียงพอในการจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 33 พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ พ.ศ. 2568 (ค.ศ. 2025) โดยการเป็นเจ้าภาพดังกล่าวสอดคล้องกับแผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2560 - 2564) ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาอุตสาหกรรมกีฬาเพื่อเป็นส่วนสำคัญในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางพัฒนาด้านกีฬาชั้นนำระดับโลก (Thailand Excellence Sport HUB) ตามยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) โดยเน้นการจัดแข่งขันมหกรรมกีฬาในระดับนานาชาติและการจัดการแข่งขันกีฬาชนิดต่าง ๆ ในระดับท้องถิ่น รวมทั้งได้ส่งเสริมให้มีสถานที่ฝึกซ้อมกีฬาหลากหลาย นอกจากนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาศักยภาพของนักกีฬาและบุคลากรกีฬาตลอดจนคณะกรรมการจัดการแข่งขันในภาคส่วนต่าง ๆ และเป็นโอกาสอันดีที่ประเทศไทยจะได้แสดงศักยภาพและต่อยอดไปยังการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬายูธโอลิมปิกเกมส์ พ.ศ. 2573 (ค.ศ. 2030) รวมถึงการจัดการแข่งขันกีฬามหกรรมระดับนานาชาติรายการอื่น ๆ ในอนาคต
___________________________________
*ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งสุดท้าย คือ กีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 24 พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) และกีฬาอาเซียนพาราเกมส์ ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ณ จังหวัดนครราชสีมา (เมืองหลักในการจัดการแข่งขัน) จังหวัดชลบุรี และกรุงเทพมหานคร
 
9. เรื่อง แผนการบริหารหนี้สาธารณะ ประจำปีงบประมาณ 2566
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ (คณะกรรมการฯ) เสนอดังนี้
                   1. อนุมัติและรับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการฯ ตามมติที่ประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ดังนี้
                             1.1 อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนฯ) ประจำปีงบประมาณ 2566 ที่ประกอบด้วย แผนการก่อหนี้ใหม่ วงเงินรวม 1,052,785.47 ล้านบาท แผนการบริหารหนี้เดิม วงเงินรวม 1,735,962.93 ล้านบาท และแผนการชำระหนี้ วงเงินรวม 360,179.68 ล้านบาท
                             1.2 อนุมัติให้รัฐวิสาหกิจ จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) การเคหะแห่งชาติ (กคช.) และ บริษัทธนารักษ์พัฒนาสินทรัพย์ จำกัด (ธพส.) ที่มีสัดส่วนความสามารถในการหารายได้เทียบกับภาระหนี้ของกิจการ (Debt Service Coverage Ratio: DSCR) ต่ำกว่า 1 เท่า สามารถกู้เงินและบริหารหนี้ภายใต้แผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 โดยให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 4 แห่งดังกล่าวและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับความเห็นของคณะกรรมการฯ ไปดำเนินการด้วย ทั้งนี้ ขอให้ ขสมก. และ รฟท. เร่งรัดการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของหน่วยงาน เพื่อเพิ่มรายได้ให้เพียงพอสำหรับการชำระหนี้และเพื่อทำให้ฐานะทางการเงินของหน่วยงานดีขึ้นตามข้อสังเกตของคณะกรรมการฯ รวมทั้งขอให้ ขสมก. และ รฟท. รายงานความก้าวหน้าและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามแผนฟื้นฟูกิจการของหน่วยงานต่อคณะกรรมการฯ เพื่อทราบต่อไป
                             1.3 รับทราบแผนความต้องการเงินกู้ระยะปานกลาง 5 ปี (ปีงบประมาณ 2566 - 2570) และมอบหมายให้กระทรวงเจ้าสังกัดประสานงานกับรัฐวิสาหกิจที่เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการในกลุ่มโครงการที่ยังขาดความพร้อมในการดำเนินการ เพื่อเร่งรัดการดำเนินการและการลงทุนเพื่อเพิ่มการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐในระยะต่อไป
                   2. อนุมัติการกู้เงินของรัฐบาลเพื่อการก่อหนี้ใหม่ การกู้มาและการนำไปให้กู้ต่อ การกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ และการค้ำประกันเงินกู้ให้กับรัฐวิสาหกิจ (ตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน พ.ศ. 2541 และมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ระยะที่สอง พ.ศ. 2545) รวมทั้งขออนุมัติการกู้เงินของรัฐวิสาหกิจเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนา และการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ ภายใต้กรอบวงเงินของแผนฯ ประจำปีงบประมาณ 2566 และให้กระทรวงการคลัง (กค.) เป็นผู้พิจารณาการกู้เงิน วิธีการกู้เงิน เงื่อนไข และรายละเอียดต่าง ๆ ของการกู้เงิน การค้ำประกันและการบริหารความเสี่ยงในแต่ละครั้งได้ตามความเหมาะสมและจำเป็น ทั้งนี้ หากรัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการกู้เงินได้เองก็ให้สามารถดำเนินการได้ตามความเหมาะสมและจำเป็นของรัฐวิสาหกิจนั้น ๆ
 
10. เรื่อง การจ่ายเงินสวัสดิการพิเศษให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดชายแดนภาคใต้
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จ่ายเงินสวัสดิการพิเศษให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัย จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในอัตราคนละ 5,000 บาทต่อเดือน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จ่ายเงินสวัสดิการพิเศษให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และ 5 อำเภอของจังหวัดสงขลา (อำเภอจะนะ สะเดา เทพา นาทวี และสะบ้าย้อย) (เงินสวัสดิการพิเศษฯ) ในอัตราคนละ 5,000 บาทต่อเดือน โดยอัตราดังกล่าวเป็นการปรับเพิ่มจากอัตราสวัสดิการพิเศษฯ เดิมที่ กยท. จ่ายให้แก่พนักงานและลูกจ้างของหน่วยงานของตนที่มาจากการควบรวมของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) องค์การสวนยาง (อ.ส.ย.) และสถาบันวิจัยยาง (สวย.) ซึ่งมีอัตราที่แตกต่างกันตามหน่วยงานเดิมที่โอนมา ดังนั้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชายแดนภาคใต้ เนื่องจากปัจจุบันสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงเห็นควรให้พนักงานและลูกจ้งของ กยท. ได้รับเงินสวัสดิการพิเศษฯ เท่าเทียมกันและเป็นอัตราเดียวกัน และให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ประกอบกับคณะกรรมการการยางแห่งประเทศไทยและคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มีมติเห็นชอบด้วยแล้ว ดังนี้

จากเดิมเป็น
- พนักงานและลูกจ้างของ อ.ส.ย. ไมได้รับ
- พนักงานและลูกจ้างของ สวย. คนละ 2,000 บาทต่อเดือน
- พนักงานและลูกจ้างของ สกย. คนละ 3,500 บาทต่อเดือน
คนละ 5,000 บาทต่อเดือน

ซึ่ง กษ. แจ้งว่าหากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับเพิ่มอัตราเงินสวัสดิการพิเศษฯ ดังกล่าว จะมีจำนวนผู้ได้รับสิทธิรวม 248 คน และจะทำให้ กยท. มีค่าใช้จ่ายในส่วนเพิ่มขึ้นประมาณเดือนละ 376,000 บาท หรือปีละ 4,512,000 บาท โดย กยท. จะใช้จ่ายจากเงินรายได้ของ กยท. เอง
 
11. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME  ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ
                    คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (Small and Medium Enterprises: SME) ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ ตามที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สสว. รายงานว่า
                   1. โครงการส่งเสริมความรู้ด้านบริหารความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุน SME ที่ทำการค้าระหว่างประเทศ  แบ่งการดำเนินงาน 2 ระยะ ดังนี้
                             1.1 ระยะที่ 1

หัวข้อรายละเอียด
(1) วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ประกอบการ SME ที่ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีความรู้ ด้านการบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SME มีประสบการณ์ในการใช้เครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง
(2) กลุ่มเป้าหมายผู้ประกอบการ SME ที่ทำการค้าระหว่างประเทศที่เป็นนิติบุคคลและมีรายได้ ไม่เกิน 500 ล้านบาทต่อปี จำนวน 2,000 ราย
(3) ระยะเวลาโครงการ1 ปี
(4) หน่วยร่วมดำเนินโครงการธสน.
 
(5) วงเงินงบประมาณ225 ล้านบาท แบ่งเป็น
1) เงินอุดหนุนค่าธรรมเนียม FX Option และสนับสนุนค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ (Trade Related Fees) จำนวน 200 ล้านบาท
2) ค่าประชาสัมพันธ์ ค่าอบรมสัมมนา ค่าจัดทำ e-Learning และค่าบริหารจัดการ จำนวน 25 ล้านบาท
(6) รายละเอียดโครงการผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการจะต้องได้รับการอบรมหลักสูตรโครงการบริหารความเสี่ยง FX ของ SME และตอบแบบประเมินความเหมาะของลูกค้า (ClientSuitability) เพื่อพิจารณาอนุมัติวงเงินอุดหนุน 100,000 บาทต่อราย แบ่งเป็นค่าธรรมเนียม FX Option จำนวน 80,000 บาท และสนับสนุนค่าธรรมเนียมการค้าระหว่างประเทศ จำนวน 20,000 บาท

 
                             1.2 ระยะที่ 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และ ธสน. จะร่วมกันประเมินสถานการณ์ค่าเงินบาทเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SME ที่ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศต่อไป
                   2. คณะกรรมการบริหาร สสว. ในคราวการประชุม ครั้งที่ 3/2563  เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563  ได้มีมติอนุมัติขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 เป็นสิ้นสุดวันที่  23 สิงหาคม 2564 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ยังคงมีอย่างต่อเนื่อง ทำให้ไม่สามารถดำเนินโครงการฯ ได้โดยการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะทำให้ผู้ประกอบการ SME ที่เข้าร่วมโครงการฯ ได้รับความรู้และประสบการณ์ในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ หลังจากสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินโครงการฯ สสว. ได้รายงานผลการดำเนินงานและผลการใช้จ่ายงบประมาณโครงการฯ ต่อคณะกรรมการบริหาร สสว. ในการประชุมครั้งที่ 10/2564 เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2564  โดยมีผลการดำเนินการ สรุปได้ ดังนี้
                             2.1 ผลการดำเนินงาน

รายละเอียดจำนวน
1) FX Option 
          (1.1) ผู้ประกอบการ SME เข้ารับการอบรม1,286 ราย
          (1.2) ผู้ประกอบการ SME ที่ได้รับสิทธิซื้อ FX Option738 ราย
          (1.3) ผู้ประกอบการ SME ใช้สิทธิซื้อ FX Option531 ราย
          (1.4) จำนวนสัญญา FX Option2,768 สัญญา
          (1.5) มูลค่าสัญญา FX Option82.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
          (1.6) ค่า Premium132.57 ล้านบาท

_______________
1ค่า Premium หมายถึง จำนวนเงินที่ผู้ซื้อ FX Option จ่ายเพื่อซื้อสิทธิซื้อหรือสิทธิขายให้กับผู้ขาย FX Option      
 
12. เรื่อง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 [ร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดินและแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ.....]
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบและอนุมัติตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เสนอ ดังนี้
                   1. รับทราบผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ. ) ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 โดย กพอ. มีมติเห็นชอบให้สกพอ. ขอรับจัดสรรงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 99.8788 ล้านบาท
                   2. อนุมัติร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 7 แห่ง พื้นที่รวมประมาณ 7,986 ไร่ ซึ่ง กพอ. มีมติเห็นชอบแล้ว
                    สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้เสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบ ดังนี้ (1) ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 โดยคณะกรรมการนโยบายฯ มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เรื่อง แผนผังการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และแผนผังการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ซึ่งมีสาระสำคัญเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดินในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 7 แห่ง (พื้นที่รวมประมาณ 7,986 ไร่) ประกอบด้วย 1) เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทเขตพัฒนาอุตสาหกรรม (สีม่วงอ่อนมีจุดสีขาว) เปลี่ยนเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการอุตสาหกรรม (สีม่วง) รวม 5 แห่ง ได้แก่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ แหลมฉบัง จ.ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ หนองใหญ่ จ. ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมเอเชีย คลีน จ.ชลบุรี นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง จ.ระยอง และนิคมอุตสาหกรรม
ดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียลเอสเตท จ.ระยอง 2) เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทชุมชนเมือง (สีส้ม) ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีส้มอ่อนมีจุดสีขาว) และที่ดินประเภทชุมชนชนบท (สีเหลืองอ่อน) เป็นที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (สีน้ำตาล) ในพื้นที่ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง จ.ระยอง และ 3) เปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทรองรับการพัฒนาเมือง (สีส้มอ่อนมีจุดสีขาว) เป็นที่ดินประเภทเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ (สีน้ำตาล) ในพื้นที่เขตส่งเสริมเขตเศรษฐกิจพิเศษศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ พัทยา โดยคำนึงถึงความต่อเนื่องเชื่อมโยงกับโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคของพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ (2) การขอรับจัดสรรงบกลางรายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 99.8788 ล้านบาท สำหรับ 1) ค่าใช้จ่ายบุคลากร (เงินเดือน ค่าตอบแทน และสิทธิประโยชน์) จำนวน 14.8788 ล้านบาท 2) ค่าเช่าสำนักงานและค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสำนักงาน จำนวน 50 ล้านบาท และ 3) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานตามนโยบายเร่งด่วน จำนวน 35 ล้านบาท
 
13. เรื่อง รายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบรายงานประจำปีกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคมเสนอ และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบต่อไป
                    สาระสำคัญของรายงานฯ
                   รายงานประจำปีกองทุนฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีสาระสำคัญ สรุปได้ดังนี้
                   1. ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
                       กองทุนฯ จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติการจัดประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม พ.ศ. 2562 โดยกำหนดให้ตั้งไว้ที่สำนักงานปลัดกระทรวงการคลัง (สป.กค.) มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้จ่ายในการจัดประชารัฐสวัสดิการที่เป็นการให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อยหรือเพื่อสนับสนุนโครงการที่ให้บริการทางสังคมที่เป็นการช่วยเหลือประชาชนในภาวะลำบากทุกประเภท โดยมีการบริหารงานผ่านคณะกรรมการซึ่งมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นประธานกรรมการ
                   โดยในการดำเนินการคณะกรรมการฯ ได้มีคำสั่งคณะกรรมการฯ ที่ 1/2562 ลงวันที่ 21 พฤษภาคม 2562 แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้น 3 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการนโยบายการจัดประชารัฐสวัสดิการ คณะอนุกรรมการบริหารข้อมูลโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ และคณะอนุกรรมการดำเนินการประชารัฐสวัสดิการ
                   2. ส่วนที่ 2 ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ
                       ผลการดำเนินงานของกองทุนฯ ประกอบด้วยการจัดสวัสดิการให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 2 รูปแบบ ได้แก่ (1) สวัสดิการบรรเทาภาระค่าครองชีพที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2561 - 2564 ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคที่จำเป็น ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการปรับเพิ่มเบี้ยความพิการ และ (2) สวัสดิการบรรเทาภาระค่าครองชีพที่มีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 - 2564 ซึ่งเป็นสวัสดิการตามมาตรการต่าง ๆ โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เช่น มาตรการชดเชยเงินให้แก่ผู้มีรายได้น้อยผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยใช้ข้อมูลจากจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้มีรายได้น้อยได้ชำระ (มาตรการชดเชยเงิน) และมาตรการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในช่วงปลายปี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เช่น มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา และมาตรการชดเชยเงิน ปีงบประมาณ พ.ศ 2564 เช่น มาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา และการจัดสรรสวัสดิการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 เช่น โครงการช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID – 19 เพื่อช่วยเหลือผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของกระทรวงการคลัง โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการเราชนะ
                   3. ส่วนที่ 3 ผลสัมฤทธิ์และประสิทธิภาพการใช้จ่ายของกองทุนฯ
                             3.1 ผลต่อประสิทธิภาพในการจัดสรรสวัสดิการ
                                  โครงการลงทะเบียน มีเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่ควรจะได้รับสิทธิจึงทำให้ผู้ที่ผ่านการคัดกรองดังกล่าวเป็นผู้มีรายได้น้อยตัวจริงและสมควรได้รับการช่วยเหลือเป็นพิเศษจากภาครัฐ ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 14.6 ล้านคน (คงเหลือจำนวน 13.5 ล้านคน ณ เดือนตุลาคม 2564) โดยรัฐบาลได้ดำเนินการจัดสรรสวัสดิการผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างรัดกุม โปร่งใส ตรวจสอบได้ เนื่องจากเป็นการเติมวงเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ซึ่งผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ จะต้องนำไปใช้จ่ายยังร้านที่กำหนด เช่น ร้านธงฟ้าประชารัฐพัฒนา เศรษฐกิจท้องถิ่น (จำนวนประมาณ 122,842 ร้านค้าทั่วประเทศ ณ เดือนกันยายน 2564) ร้านก๊าซหุงต้มที่กระทรวงพลังงานกำหนด บริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งทำให้เงินที่ภาครัฐใช้จัดสรรสวัสดิการกว่า 48,216 ล้านบาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ไม่รั่วไหล ถึงมือประชาชนอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย และใช้จ่ายเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และตรงกลุ่มเป้าหมาย
                             3.2 ผลต่อการบรรเทาภาระค่าครองชีพ
                                  โดยในปี 2560 รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังได้ดำเนินการประชารัฐสวัสดิการลงในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยในระยะแรกของการดำเนินการมีสวัสดิการทั้งสิ้น 5 กลุ่มสวัสดิการ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 วงเงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็น กลุ่มที่ 2 วงเงินค่าโดยสารสาธารณะ กลุ่มที่ 3 วงเงินส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม กลุ่มที่ 4 วงเงินค่าสาธารณูปโภคพื้นฐาน กลุ่มที่ 5 เพิ่มเบี้ยดำรงชีพ สำหรับผู้พิการที่มีบัตรจะได้รับการจัดสรรสวัสดิการเบี้ยดำรงชีพเพิ่ม ต่อมามีการเพิ่มสวัสดิการที่กำหนดช่วงเวลาสิ้นสุดเอาไว้ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับเศรษฐกิจและสังคมในช่วงเวลานั้น กลุ่มที่ 6 สวัสดิการอื่น ๆ ที่สิ้นสุดแล้ว แต่ยังมีภาระต้องจ่ายมาจนถึงปัจจุบัน กลุ่มนี้มีหลากหลายรายการที่แม้จะสิ้นสุดมาตรการไปแล้ว แต่ยังมีการจ่ายให้ผู้มีรายได้น้อยที่ตกค้างอยู่จำนวนหนึ่ง เช่น มาตรการชดเชยภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการพยุงการบริโภค และมาตรการค่าเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลของผู้สูงอายุที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ กลุ่มนี้มีการใช้จ่ายจากเงินกองทุนฯ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ทั้งสิ้น 7.13 ล้านบาท และกลุ่มที่ 7 เพิ่มกำลังซื้อช่วง COVID – 19 สวัสดิการนี้ใช้เงินกู้จากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 จำนวน 500,000 บาท
                             3.3 ผลต่อการพยุงกำลังซื้อและการบริโภคของประเทศ
                                  การบริโภคภาคเอกชนเป็นองค์ประกอบสำคัญในผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product : GDP) มีสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 55 ของ GDP เมื่อพิจารณาจากจำนวนผู้มีรายได้น้อยเฉพาะที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ณ เดือนตุลาคม 2564 มีจำนวน 135 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ และในจำนวนนี้เป็นผู้ที่มีการใช้จ่ายต่ำกว่าเส้นความยากจนถึง 9.9 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 73 ของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยพบว่าผู้มีรายได้น้อยมักจะมีแนวโน้มของการนำเงินออกมาใช้จ่ายค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับเงินที่ได้มา ขณะเดียวกันการใช้จ่ายผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ยังเป็นการกระจายรายได้เข้าสู่ชุมชนเศรษฐกิจฐานรากโดยตรงอีกทาง เพราะนอกจากการที่ผู้มีรายได้น้อยจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจำเป็นต้องใช้วงเงินเพื่อซื้อสินค้าอุปโภคและก๊าซหุงต้มกับร้านธงฟ้าฯ ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ค้ารายย่อยที่มีความเกี่ยวข้องกับชุมชน จึงนับได้ว่าเป็นการกระจายเข้าสู่ร้านค้าชุมชน และเศรษฐกิจฐานรากอย่างแท้จริง ซึ่งทำให้ผลประโยชน์ต่อด้านเศรษฐกิจมหภาคทวีความสำคัญมากยิ่งขึ้น กองทุนฯ จึงมีบทบาทอย่างมากต่อการพยุงกำลังซื้อและการบริโภคของประเทศในยามที่เครื่องยนต์ทางเศรษฐกิจอื่นๆ อ่อนแออันเกิดจากผลกระทบของวิกฤตโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และช่วยให้เศรษฐกิจฐานรากไม่ทรุดลงมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
                             3.4 ผลต่อการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศ
                                  โครงการลงทะเบียนฯ ยังส่งผลประโยชน์ทางอ้อมที่ไม่สามารถประเมินค่าเป็นตัวเงินได้ เช่น การนำเทคโนโลยีด้านดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรเพื่อการเติบโตแบบก้าวกระโดด (Exponential Growth) ได้แก่ Big Data เป็นการสร้าง Data Mining ในมิติต่าง ๆ เช่น อายุ อาชีพ และรายได้ เป็นต้น นำไปสู่การสร้าง Data Visualization ทั้งในด้านจำนวนคน มูลค่าการใช้จ่ายของแต่ละบุคคลในแต่ละสวัสดิการ และการใช้เทคโนโลยี Blockchain ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่สนับสนุนการสร้างโครงข่ายข้อมูลที่อนุญาตให้ใช้ร่วมกันได้ระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ช่วยให้บูรณาการข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทำให้กองทุนฯ สามารถปรับปรุงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันได้ตลอดเวลา (Real Time) และสามารถเรียกดูข้อมูลได้ตลอดเวลา
                   4. ส่วนที่ 4 รายงานของผู้สอบบัญชี และรายงานการเงินของกองทุนฯ ที่ผ่านการตรวจสอบจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแล้ว
                   งบแสดงฐานะการเงิน ณ วันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2564 กองทุนฯ มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 36,737,083,197.42 บาท หนี้สินรวมทั้งสิ้น 103,971,559.64 บาท รวมหนี้สินและสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน 36,737,083,197.42 บาท
                   งบแสดงผลการดำเนินงานทางการเงิน สำหรับปี สิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 มีรายได้รวม 77,514,489,600 บาท และมีค่าใช้จ่ายรวม 48,126,430,318.46 บาท รวมรายได้สูงกว่าค่าใช้จ่ายสุทธิ 29,388,059,281.54 บาท
                   งบแสดงการเปลี่ยนแปลงสินทรัพย์สุทธิ/ส่วนทุน สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2564 มียอดคงเหลือ ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 จำนวน 36,633,111,637.78 บาท
 
14. เรื่อง รายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 1 (กค.)
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานการประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจ กค. กู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 รอบ 6 เดือน ครั้งที่ 1 [เป็นการดำเนินการตามระเบียบ กค. ว่าด้วยการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้เพื่อแก้ไขปัญหาเยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2564 ข้อ 5 (3) ที่กำหนดให้คณะกรรมการประเมินผลการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนด (คปก.) ประเมินผลโครงการและจัดทำรายงานเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีทราบทุกหกเดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะได้ว่าจ้าง บริษัท ทริส คอร์ปอเรชัน จำกัด และมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลังเป็นที่ปรึกษาภายใต้โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อติดตามประเมินผลโครงการหรือแผนงานภายใต้พระราชกำหนดฯ และได้ร่วมกันจัดทำรายงานการประเมินผลฯ ซึ่ง คปก. ได้เห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2565 โดยมีโครงการทั้งสิ้น 1,108 โครงการ 3 แผนงาน ประกอบด้วย (1) เพื่อแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) (2) เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยให้แก่ภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และ (3) เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ทั้งนี้ การประเมินผลจะสุ่มตัวอย่างโครงการ/แผนงาน จำนวน 400 โครงการ โดยพิจารณาคัดเลือกโครงการที่มีขนาดใหญ่ กระจายตัวทั่วประเทศ มีวงเงินกู้สูง หรือมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างมีนัยสำคัญที่แล้วเสร็จ จำนวน 19 โครงการ กรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติ รวม 805,109.55 ล้านบาท
                   2. คปก. ได้จัดทำรายงานการประเมินผลฯ ระหว่างเดือนมกราคม-มิถุนายน 2565 จำนวน 19 โครงการ ซึ่งมีกรอบวงเงิน รวม 805,106.55 ล้านบาท ผลการเบิกจ่ายรวม 795,778.74 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 98.84 ของกรอบวงเงิน โดยทั้ง 19 โครงการ มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก (A) และสามารถสร้างมูลค่าผลกระทบต่อเศรษฐกิจ จำนวน 2,654,654.75 ล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐ จำนวน 512,406.26 ล้านบาท รวมถึงเกิดความคุ้มค่า 3.24 เท่า โดยมีผลการประเมินระดับแผนงาน สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                       2.1 แผนงานที่ 1 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์ทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อแก้ไขปัญหาโควิด-19
                             2.1.1 การประเมินผลโครงการ จำนวน 9 โครงการ กรอบวงเงินรวม 33,719.31 ล้านบาท มีผลเบิกจ่าย 33,638.90 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.76 ของกรอบวงเงิน มีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินตามหลักเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ความสอดคล้องและความเชื่อมโยง ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลกระทบ และความยั่งยืน อยู่ในระดับดี
                             2.1.2 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม  เช่น โครงการค่าตอบแทนเยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโควิด-19 ในชุมชน และโครงการจัดหาเครื่องช่วยหายใจเพื่อการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยงและประชาชนที่ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งประชาชนส่วนใหญ่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีและมีความเชื่อมั่นต่อการให้บริการและการรักษาพยาบาล
                             2.1.3 ปัญหาและอุปสรรค เช่น (1) การโอนเงินค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของ อสม. ไม่สำเร็จ เนื่องจาก อสม. บางรายปิดบัญชีไปแล้วหรือแจ้งเลขบัญชีธนาคารผิดพลาด (2) การส่งต่อผู้ป่วยโควิด-19 มีความซ้ำซ้อนและล่าช้า และ (3) ประชาชนเกิดความสับสนและเข้าใจผิดเกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของโครงการ
                             2.1.4 ข้อเสนอแนะ เช่น (1) ควรตรวจสอบและปรับปรุงฐานข้อมูลของ อสม. ให้มีความถี่มากขึ้น (2) จัดทำระบบฐานข้อมูลกลางด้านสาธารณสุขของประเทศที่สามารถสนับสนุนการรักษาและส่งต่อผู้ป่วยเพื่อลดความซำซ้อนและความล่าช้าในการส่งต่อผู้ป่วย (3) พัฒนากลไกหรือระบบบริหารจัดการให้มีการบูรณาการระหว่างสถานพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อให้สามารถตัดสินใจ สั่งการ และใช้ทรัพยากรร่วมกันได้เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน (4) ออกแบบโครงสร้างการจัดการและกลไกการให้ข้อมูลข่าวสารและการประชาสัมพันธ์ในภาวะฉุกเฉินให้มีความเหมาะสมโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และ (5) เลือกรูปแบบของสื่อและวิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
                       2.2 แผนงานที่ 2 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือ เยียวยาและชดเชยให้กับภาคประชาชน เกษตรกร และผู้ประกอบการ ซึ่งได้รับผลกระทบจากโควิด-19
                             2.2.1 การประเมินผลโครงการ จำนวน 6 โครงการ กรอบวงเงินรวม 636,203.61 ล้านบาท มีผลเบิกจ่ายรวม 634,254.43 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.69 ของกรอบวงเงิน โดยมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินตามหลักเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสอดคล้องและความเชื่อมโยง ด้านประสิทธิภาพ ด้านประสิทธิผล และด้านผลกระทบ อยู่ในระดับดี  ส่วนด้านความยั่งยืนอยู่ในระดับพอใช้ เนื่องจากโครงการมีลักษณะการช่วยเหลือเยียวยาในระยะสั้น จึงไม่ส่งผลให้เกิดความยั่งยืน
                             2.2.2 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และโครงการเพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 สามารถสร้างมูลค่าต่อเศรษฐกิจ จำนวน 2,099,263.97 ล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐ จำนวน 405,157.94 ล้านบาท รวมทั้งสามารถชะลอการเกิดหนี้เสียและเกิดการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค นอกจากนี้ ยังส่งผลให้สภาวะความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้นด้วย
                             2.2.3 ปัญหาและอุปสรรค เช่น (1) หน่วยงานดำเนินโครงการมีทรัพยากรและประสบการณ์ในการให้บริการไม่เพียงพอ (2) การทุจริตของผู้เข้าร่วมโครงการ เช่น โครงการเราชนะ (3) มีข้อจำกัดและความเหลื่อมล้ำทางด้านเทคโนโลยีรวมทั้งความเสถียรของสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ (4) ฐานข้อมูลประชาชนของแต่ละหน่วยงานไม่เชื่อมโยงกันและไม่มีการปรับปรุงให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน และ (5) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีมุมมองว่าหากเข้าร่วมโครงการของภาครัฐจะเป็นการเปิดเผยข้อมูลด้านรายได้และส่งผลให้ต้องเสียภาษี จึงหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมโครงการ
                             2.2.4 ข้อเสนอแนะ เช่น (1) หน่วยงานปู้รับผิดชอบโครงการควรเตรียมความพร้อมและมีทรัพยากรที่เหมาะสมในการให้บริการประชาชน (2) การกำหนดมาตรการป้องกันการทุจริตหรือเพิ่มบทลงโทษกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการ (3) โครงการที่มีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมกลุ่มประชากรทั่วไปควรมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในการช่วยดำเนินงานโครงการเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้อย่างทั่วถึง (4) การมีระบบฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์และการปรับปรุงฐานข้อมูลให้ข้อมูลเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ และ (5) การเตรียมการสื่อสารและการสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการเพื่อให้สามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
                       2.3 แผนงานที่ 3 แผนงาน/โครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
                             2.3.1 การประเมินผลโครงการ จำนวน 4 โครงการ กรอบวงเงินรวม 135,183.63 ล้านบาท มีผลเบิกจ่าย 127,885.41 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 94.60 ของกรอบวงเงิน โดยมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินตามหลักเกณฑ์การประเมินทั้ง 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสอดคล้องและความเชื่อมโยง ด้านประสิทธิผลและด้านผลกระทบ อยู่ในระดับดี ส่วนด้านประสิทธิภาพและด้านความยั่งยืน อยู่ในระดับพอใช้ เนื่องจากโครงการกำลังใจไม่ได้รับความสนใจจากกลุ่มเป้าหมายตามที่คาดการณ์ไว้และโครงการกำลังใจและโครงการคนละครึ่งมีลักษณะเป็นการช่วยเหลือหรือมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะสั้นจึงส่งผลให้โครงการไม่เกิดความยั่งยืน
                             2.3.2 ผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม เช่น โครงการคนละครึ่งและโครงการกำลังใจ สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 555,690.78 ล้านบาท มีรายได้กลับคืนภาครัฐ จำนวน 107,248.32 ล้านบาท รวมทั้งลดความตึงเครียดของประชาชน ลดการเลิกการจ้างงาน เพิ่มทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และส่งเสริมการเป็นสังคมไร้เงินสด
                             2.3.3 ปัญหาและอุปสรรค เช่น (1) หน่วยงานมีภารกิจไม่เหมาะสมกับลักษณะการดำเนินโครงการและไม่มีความพร้อมด้านทรัพยากร (2) ระบบในการให้บริการประชาชนมีความเสี่ยงเรื่องความไม่เสถียรเมื่อมีการใช้งานจำนวนมาก และ (3) การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารไม่เพียงพอและมีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเท็จ
                             2.3.4 ข้อเสนอแนะ เช่น (1) ควรมอบหมายหน่วยงานที่มีความพร้อมและมีภารกิจที่เหมาะสมกับกับโครงการนั้น ๆ (2) ควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมจำนวนมาก และให้ความสำคัญกับความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีและการปกป้องข้อมูลของประชาชน และ (3) มุ่งเน้นการสื่อสารข้อมูลบนสื่อหลัก เช่น สื่อโทรทัศน์และวิทยุเพื่อป้องกันปัญหาได้รับข้อมูลข่าวสารเท็จและสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง
 
15. เรื่อง  สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนสิงหาคม 2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบสรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าประจำเดือนสิงหาคม 2565 ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ  ดังนี้
                   สาระสำคัญ

  1. สรุปภาพรวมดัชนีเศรษฐกิจการค้าเดือนสิงหาคม 2565 ดังนี้

                             ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย เดือนสิงหาคม 2565 เท่ากับ 107.46 ใกล้เคียงกับเดือนที่ผ่านมาซึ่งเท่ากับ 107.41 โดยมีอัตราการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคาฯ เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.05 (MoM) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ดัชนีราคาฯ ค่อนข้างต่ำ (เท่ากับ 99.63) ทำให้อัตราเงินเฟ้อของสิงหาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 7.86 (YoY) ซึ่งขยายตัวใกล้เคียงกับเดือนกรกฎาคม 2565 ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 7.61 และคาดว่าเงินเฟ้อของไทยน่าจะถึงจุดสูงสุดแล้ว เหตุผลเนื่องจากในช่วงระยะ 3 เดือนที่ผ่านมาอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกันและค่อนข้างทรงตัวประกอบกับเครื่องชี้วัดเศรษฐกิจการค้าอื่น ทั้งดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง เมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมา ปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง
ปัจจัยสำคัญต่ออัตราเงินเฟ้อยังคงเป็นราคาพลังงานที่เติบโตถึงร้อยละ 30.50 (YoY) แม้ราคาน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์จะปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้า แต่ราคาน้ำมันดีเซล ก๊าซหุงต้ม และค่าไฟฟ้า ซึ่งเป็นต้นทุนการขนส่งและต้นทุนการผลิตที่สำคัญยังคงสูงขึ้น รวมทั้งค่าบริการ อาทิ ค่าโดยสารสาธารณะ และค่าการศึกษาที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้สินค้าในหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้นร้อยละ 6.83 (YoY) สำหรับสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ เติบโตร้อยละ 9.35 (YoY) โดยเฉพาะผักสด (พริกสด ต้นหอม ผักคะน้า) ราคาปรับสูงขึ้นเนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายจากอุทกภัยในหลายจังหวัด รวมทั้ง เนื้อสุกร ไก่สด ไข่ไก่ เครื่องประกอบอาหาร และอาหารสำเร็จรูป ราคาปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนการผลิต ราคาวัตถุดิบ และค่าขนส่ง นอกจากนี้ อุปสงค์ในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น และฐานดัชนีราคาฯ ที่ใช้คำนวณอัตราเงินเฟ้อในเดือนเดียวกันของปีก่อนค่อนข้างต่ำ ถือเป็นการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในทางเทคนิคสำหรับเงินเฟ้อในเดือนนี้
อย่างไรก็ตาม ยังมีสินค้าอีกหลายรายการที่ปรับลดลง อาทิ ข้าวสารเจ้า ข้าวสารเหนียว เสื้อและกางเกงบุรุษ น้ำยารีดผ้า น้ำยาถูพื้น เครื่องใช้ไฟฟ้า (เตารีด เครื่องปรับอากาศ เครื่องซักผ้า) และเครื่องรับโทรศัพท์มือถือ สำหรับเงินเฟ้อพื้นฐาน เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก อยู่ที่ร้อยละ 3.15 (YoY)
ดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือนนี้เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.05 (MoM) เป็นอัตราการขยายตัวที่น้อยมาก เนื่องจากราคาสินค้าส่วนใหญ่ทยอยปรับขึ้นมาแล้วก่อนหน้านี้ สำหรับสินค้าที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ผักสดบางชนิด (ผักคะน้า ผักบุ้ง ผักกาดขาว) ส้มเขียวหวาน ฝรั่ง และไข่ไก่ ขณะที่ ข้าวสารเจ้า น้ำมันพืช หน้ากากอนามัย แก๊สโซฮอล์ และน้ำมันเบนซิน ราคาลดลง และดัชนีราคาผู้บริโภคเฉลี่ย 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.)  ปี 2565 เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน สูงขึ้นร้อยละ 6.14 (AoA)
หากประเมินสถานการณ์เงินเฟ้อในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า การเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา เป็นการทยอยปรับราคาอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ขึ้นราคาสินค้าในทุกหมวดพร้อมกันในทันที เพื่อไม่ให้กระทบต่อผู้บริโภค และสร้างความสมดุลระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค โดยที่คาดว่าราคาสินค้าและบริการจากนี้ไปจะเริ่มทรงตัว ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายลดภาระค่าครองชีพของกระทรวงพาณิชย์ที่ร่วมกับภาคเอกชน ในการบริหารจัดการราคาสินค้าและบริการภายใต้ “วิน-วิน โมเดล” เมื่อพิจารณาเงินเฟ้อของไทยเทียบกับต่างประเทศ อัตราเงินเฟ้อของไทย เดือนกรกฎาคม 2565 อยู่ที่ร้อยละ 7.61 (YoY) อยู่ในอันดับที่ค่อนข้างต่ำ โดยสูงเป็นอันดับที่ 85 จาก 127 ประเทศที่มีการประกาศตัวเลข (ข้อมูลจาก TradingEconomics ณ วันที่ 29 สิงหาคม 2565) ยังดีกว่าหลายประเทศ อาทิ สหราชอาณาจักร (ก.ค. 65 ร้อยละ 10.1) บราซิล (ก.ค. 65 ร้อยละ 10.07) และสเปน (ส.ค. 65 ร้อยละ 10.4)
อย่างไรก็ตาม อาจเกิดปัจจัยเสี่ยงที่นอกเหนือจากสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ราคาพลังงานดีดตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะน้ำมันดีเซล ก๊าซธรรมชาติ และค่าไฟฟ้า ส่งผลต่อต้นทุนการขนส่งและการผลิตสินค้า รวมทั้งความรุนแรงของอุทกภัยที่อาจเกิดขึ้น ทั้งนี้ สนค. ได้รับข้อมูลจากผู้ประกอบการว่า การขึ้นราคาสินค้าและบริการของบริษัทต่างชาติที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย อิงตามอัตราเงินเฟ้อของประเทศต้นทาง เช่น อัตราค่าบริการเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.0 อิงจากอัตราเงินเฟ้อของสหรัฐอเมริกาเดือนมีนาคม 2565 ซึ่งสูงขึ้นร้อยละ 8.5 (YoY) เป็นต้น โดยบางบริษัทปรับราคาเพิ่มขึ้นแล้วตามบริษัทแม่ และบางบริษัทจะปรับราคาในปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ซึ่งเป็นนโยบายการปรับราคาของบริษัทแม่ที่จะใช้กับบริษัทในเครือทั่วโลก ที่ส่งผลต่อราคาสินค้าและบริการในตะกร้าเงินเฟ้อของไทย
ดัชนีราคาผู้ผลิต เดือนสิงหาคม 2565 สูงขึ้นร้อยละ 10.7 (YoY) เป็นการชะลอตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามต้นทุนการผลิต ทั้งราคาวัตถุดิบ พลังงาน และบรรจุภัณฑ์ ที่ทยอยปรับสูงขึ้นประกอบกับเงินบาทที่อ่อนค่า ส่งผลให้ต้นทุนการนำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าลดลงร้อยละ 0.9 (MoM) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ตามการลดลงของสินค้าสำคัญ อาทิ น้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ยางแท่ง ยางแผ่นรมควัน และเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็ก ส่วนดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง สูงขึ้นในอัตราที่ชะลอตัว ที่ร้อยละ 5.2 (YoY) จากต้นทุนการผลิตที่ปรับสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบ ราคาพลังงาน และเงินบาทที่อ่อนค่า เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับการใช้วัสดุก่อสร้างในโครงการก่อสร้างภาครัฐเป็นไปตามแผน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ลดลงร้อยละ 0.4 (MoM) ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 จากราคาเหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กที่ลดลงตามราคาในตลาดโลก อุปกรณ์ไฟฟ้าและประปา และวัสดุก่อสร้างอื่น ๆ (ยางมะตอย)
สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคโดยรวม ปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 46.3 จากระดับ 45.5 ในเดือนก่อนหน้า ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องติดต่อกัน 2 เดือน โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในอนาคต (3 เดือนข้างหน้า) ปรับเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 52.6 จากระดับ 51.9 ในเดือนก่อนหน้า ซึ่งอยู่ในช่วงเชื่อมั่นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 และอยู่ระดับสูงสุดในรอบปี 2565 ปัจจัยหลักมาจากประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจของประเทศ ที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมกลับมาดำเนินการได้เป็นปกติ ภาคการส่งออกสินค้าและภาคการท่องเที่ยวที่ขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงปรับลดลง อย่างไรก็ตาม ความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจไทย ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผันผวน และมาตรการของภาครัฐซึ่งมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ ยังคงเป็นปัจจัยลบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค
2. แนวโน้มเงินเฟ้อทั่วไป ปี 2565
กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไปปี 2565 อยู่ระหว่างร้อยละ 5.5 - 6.5 (ค่ากลางร้อยละ 6.0) ซึ่งเป็นอัตราที่สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจ และการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจของไทย
 
16. เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565
                   คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลัง (กค.) เสนอรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประจำครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2565 (1 มกราคม-30 มิถุนายน 2565) [เป็นการดำเนินการตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) พ.ศ. 2485 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 28/7 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติให้ กนง. รายงานผลการดำเนินงานต่อคณะรัฐมนตรีทุกหกเดือน] สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. เป้าหมายนโยบายการเงินสำหรับปี 2565 คณะรัฐมนตรีมีมติ (14 ธันวาคม 2564) อนุมัติให้ใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงร้อยละ 1-3 เป็นเป้าหมายนโยบายการเงิน โดยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2565 กนง. ประเมินว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า ตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน) ปี 2565 ถึงไตรมาสที่ 1 (มกราคม-มีนาคม) ปี 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 4.1 ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน ทั้งนี้ กนง. ได้ชี้แจงสาเหตุรายละเอียดต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมายของอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะกลับสู่กรอบเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับสู่กรอบเป้าหมายแล้ว
                   2. การประเมินภาวะเศรษฐกิจการเงินและเสถียรภาพระบบการเงิน
                       2.1 ภาวะเศรษฐกิจและแนวโน้ม
                             2.1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากร้อยละ 1.8 ในไตรมาสก่อนหน้า จากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) นอกจากนี้ การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของเอกชนปรับดีขึ้นต่อเนื่องโดยเฉพาะภาคบริการที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวซึ่งเป็นผลจากการผ่อนคลายข้อจำกัดการเดินทางทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ส่วนภาคการส่งออกและการนำเข้าสินค้าและบริการขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง โดยการบริโภคภาคเอกชนปรับเพิ่มขึ้นจากหมวดบริการเป็นสำคัญประกอบกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ภาคการค้าและภาคบริการฟื้นตัว ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และภาคการส่งออกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์ของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัว ส่วนการใช้จ่ายภาครัฐขยายตัวจากรายจ่ายประจำและเงินโอนภาครัฐเป็นสำคัญ
                             2.1.2 เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 และ 2566 โดยจะขยายตัวที่ร้อยละ 3.3 และ 4.2 ตามลำดับ จากการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนโดยเฉพาะในหมวดบริการ และจากภาคท่องเที่ยวที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง นอกจากนี้ ด้านตลาดแรงงานและรายได้ครัวเรือนมีสัญญาณดีขึ้นสอดคล้องกับเศรษฐกิจโดยจำนวนผู้ว่างงานและเสมือนว่างงานปรับลดลงเข้าใกล้ระดับก่อนสถานการณ์โควิด-19 มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังต้องติดตามการกลับเข้าสู่ตลาดแรงงานของผู้ออกนอกกำลังแรงงานในช่วงก่อนหน้า
                       2.2 ภาวะเงินเฟ้อและแนวโน้ม
                             2.2.1 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 5.6 ซึ่งสูงกว่ากรอบเป้าหมาย โดยปรับสูงขึ้นต่อเนื่องจากช่วงครึ่งหลังของปี 2564 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 1.6 โดยเป็นผลจากอัตราเงินเฟ้อในหมวดพลังงานซึ่งเป็นผลจากราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับสูงขึ้นเนื่องจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหพันธรัฐรัสเซียและยูเครนประกอบกับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศและอัตราเงินเฟ้อในหมวดอาหารสดที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานช่วงครึ่งแรกของปี 2565 เฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.9 เนื่องจากราคาอาหารสำเร็จรูปและเครื่องประกอบอาหารที่ปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบ
                             2.2.2 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 คาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.2 และมีแนวโน้มสูงเกินกรอบเป้าหมายตลอดปี จากราคาน้ำมันโลกที่มีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งการส่งผ่านต้นทุนภายในประเทศที่สูงขึ้นและการกระจายตัวในหมวดสินค้าที่หลากหลายขึ้น อย่างไรก็ตาม กนง. คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในปี 2566 ที่ร้อยละ 2.5 ส่วนอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานในปี 2565 และ 2566 จะอยู่ที่ร้อยละ 2.2 และ 2.0 ตามลำดับ
                       2.3 เสถียรภาพระบบการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ระบบการเงินโดยรวมมีเสถียรภาพแต่ยังมีความเปราะบางในบางจุด โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและบางภาคธุรกิจที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้อยู่ในระดับสูง อย่างไรก็ตาม ระบบธนาคารพาณิชย์ยังกระจายสภาพคล่องเพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้ต่อเนื่อง ส่วนเสถียรภาพด้านต่างประเทศยังคงเข้มแข็ง โดยสะท้อนจากเงินสำรองระหว่างประเทศที่อยู่ในระดับสูงและหนี้ต่างประเทศที่อยู่ในระดับต่ำ และสถาบันการเงินไทยในภาพรวมมีสภาพคล่องและมีฐานะทางการเงินที่สามารถรองรับภาวะวิกฤตได้ ทั้งนี้ ในระยะต่อไปเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องแต่เสถียรภาพระบบการเงินยังเผชิญความท้าทายหลายปัจจัยโดยเฉพาะจากปัญหาสภาพคล่องและความสามารถในการชำระหนี้ของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ
                   3. การดำเนินนโยบายการเงิน
                       3.1 การดำเนินนโยบายอัตราดอกเบี้ย ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2565 กนง. มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ร้อยละ 0.50 เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยประเมินว่าแม้เศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียค่อนข้างต่ำ แต่ยังมีความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะขยายตัวต่ำกว่าที่คาดไว้ ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มสูงขึ้นจากราคาพลังงานและอาหาร โดยจะทยอยลดลงและกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในช่วงต้นปี 2566
                             อย่างไรก็ตาม ที่ประชุม กนง. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2565 มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี โดยเห็นว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องและมีโอกาสฟื้นตัวดีกว่าที่ประเมินไว้ จากอุปสงค์ในประเทศและการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและอยู่ในระดับสูงนานกว่าที่ประเมินไว้ จากการปรับขึ้นของราคาน้ำมันและการส่งผ่านต้นทุนที่มากและนานกว่าที่คาดไว้ ทั้งนี้ การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากในระดับปัจจุบันจะมีความจำเป็นลดลงและควรให้ความสำคัญกับความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงินที่ทันการณ์ รวมทั้งควรสร้างขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายเพื่อรองรับความท้าทายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
                       3.2 การดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 เงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐเคลื่อนไหวผันผวน โดยแข็งค่าขึ้นในช่วงต้นไตรมาสตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว และปรับอ่อนค่าลงจากความกังวลต่อสถานการณ์รัสเซียและยูเครน และการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก ส่วนไตรมาสที่ 2 ปี 2565 เงินบาทต่อดอลล่าร์สหรัฐอ่อนค่าลงตามการคาดการณ์การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลัก ทั้งนี้ การผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 และการเปิดรับนักท่องเที่ยวที่เร็วกว่าคาดจะช่วยจำกัดการอ่อนค่าของเงินบาทในช่วงหลังของไตรมาสที่ 2 โดย กนง. เห็นควรผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX Ecosystem) โดยเฉพาะการสนับสนุนผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีการป้องกันความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน
                       3.3 การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน กนง. ให้ความสำคัญกับการมีมาตรการเฉพาะสำหรับกลุ่มเปราะบาง โดยเฉพาะภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจบางกลุ่มที่ยังเปราะบางจากรายได้ที่ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และภาระหนี้ที่อยู่ในระดับสูง เช่น การปรับโครงสร้างหนี้ให้สอดคล้องกับความสามารถในการชำระหนี้ระยะยาวของลูกหนี้ ทั้งนี้ กนง. ได้ติดตามและประเมินเสถียรภาพระบบการเงินไทย รวมทั้งดำเนินมาตรการเฉพาะจุดอย่างต่อเนื่อง
                       3.4 การสื่อสารนโยบายการเงิน ในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 กนง. ได้เน้นการสื่อสารเกี่ยวกับเงินเฟ้อคาดการณ์ในระยะปานกลาง ประเด็นที่มีนัยสำคัญต่อการตัดสินนโยบายการเงิน และแนวทางการดำเนินนโยบายการเงินในระยะข้างหน้าผ่านช่องทางต่าง ๆ เพื่อสื่อสารแนวนโยบายและตอบข้อซักถามในประเด็นที่ประชาชนให้ความสนใจ ซึ่งจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อนโยบายการเงิน
 
17. เรื่อง แนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม (แนวทางเสริมสร้างฯ) โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นกรอบแนวทางการดำเนินงานการจัดทำแผนงาน/โครงการที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมสังคมไทยอยู่ร่วมกันโดยเคารพความแตกต่างหลากหลาย โดยให้ความสำคัญกับหลักความอดทนอดกลั้นและยึดมั่นแนวทางสายกลาง อันจะเป็นการป้องกันและรับมือกับการบ่มเพาะแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงทุกแบบตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอ และให้สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติรับความเห็นของกระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบแนวทางเสริมสร้างการอยู่ร่วมกันบนความหลากหลายทางสังคม (แนวทางการเสริมสร้างฯ) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานในการป้องกันและยับยั้งการแพร่กระจายของแนวคิดสุดโต่งที่นิยมความรุนแรงในบริบทของไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนได้บูรณาการการทำงานและขับเคลื่อนการดำเนินการร่วมกันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างสร้างสรรค์และจัดการกับความขัดแย้งโดยสันติวิธี ซึ่งแนวทางดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากสภาความมั่นคงแห่งชาติ ในการประชุมครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2565 โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานแล้ว โดยมียุทธศาสตร์หลักและแนวทางในการดำเนินการ ดังนี้

แนวทางการดำเนินการ
1. การป้องกัน
(Prevention)
มุ่งเน้นการเฝ้าระวังความขัดแย้งที่มีปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการเผยแพร่อุดมการณ์/แนวคิดที่นิยมความรุนแรงทั้งในพื้นที่ทางกายภาพและพื้นที่ไซเบอร์สเปซ
2. การยับยั้ง
(Deterring)
มุ่งลดปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ และขจัดเงื่อนไขที่จะนำไปสู่การมีแนวคิดที่นิยมความรุนแรง ตลอดจนหยุดยั้งการแพร่กระจายของแนวคิดที่นิยมความรุนแรงมิให้ลุกลามออกไป
3. การฟื้นฟูเยียวยา
(Rehabilitation)
เป็นกระบวนการนำผู้มีแนวคิดที่นิยมความรุนแรงหรือสุดโต่งกลับสู่ทางสายกลาง และกลับเข้าสู่สังคม

 
18. เรื่อง ผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2565 และผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ ภายใต้พระราชกำหนดฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 27/2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติและรับทราบตามที่เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะประธานกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้เสนอผลการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้ (คกง.) ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2565 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 และผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) ในคราวประชุมครั้งที่ 27/2565 เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 ดังนี้
                   1. ผลการพิจารณาของ คกง. ในคราวประชุมครั้งที่ 16/2565
                             1.1 อนุมัติให้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (ม.เชียงใหม่) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3 เพื่อรองรับการเป็นเครือข่ายห้องปฏิบัติการวินิจฉัยการติดเชื้อโรคโควิด-19 โรคอุบัติใหม่ และเชื้อโรคระบาดอื่น ๆ ในเขตภาคเหนือ (โครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการชีวนิรภัย ระดับ 3) โดยขยายระยะเวลาการดำเนินงานโครงการฯ จากเดิมสิ้นสุดเดือนกันยายน 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                             1.2 อนุมัติให้จังหวัดสุพรรณบุรี กระทรวงมหาดไทย (มท.) ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จำนวน 4 โครงการ วงเงินรวม 6.0040 ล้านบาท โดยขยายระยะเวลาดำเนินโครงการ จากเดิมสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                             1.3 อนุมัติให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กระทรวงการคลัง (กค.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการเราชนะ โดยขยายระยะเวลาเบิกจ่ายเงินกู้ภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 (พระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563) เพื่อให้ครอบคลุมกรณีที่ต้องมีการจ่ายเงินให้แก่ผู้ประกอบการหากตรวจสอบแล้วไม่พบการทุจริต ทั้งนี้ ไม่เกินเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                             1.4 อนุมัติให้ สศค. กค. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการคนละครึ่ง โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 2 และ โครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 3 โดยขยายระยะเวลาเบิกจ่ายงบประมาณจนสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 เพื่อรองรับการดำเนินการตรวจสอบการทุจริต ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                             1.5 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการตามข้อ 1.1 - 1.4 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (Electronic Monitoring and Evaluation System of National Strategy and Country Reform : eMENSCR) (ระบบ eMENSCR) ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งดำเนินโครงการฯ ให้แล้วเสร็จตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด ทั้งนี้ เมื่อดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้เร่งดำเนินการตามขั้นตอนข้อ 19 และ 20 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหา เยียวยา และฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 พ.ศ. 2563 พ.ศ. 2563 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563)
                             1.6 รับทราบประมาณการความต้องการใช้จ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 ตามที่ กค. โดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) คาดว่าหน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้รับอนุมัติให้ใช้จ่ายจากเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จะเบิกจ่ายเงินกู้ตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 เพื่อดำเนินโครงการรวมจำนวน 954,505.21 ล้านบาท ทำให้กรอบวงเงินกู้ที่ กค. โดย สบน. ได้มีการลงนามในสัญญากู้เงินตามพระราชกำหนดกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 จำนวนรวมประมาณ 982,399 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินกู้แล้ว 961,267 ล้านบาท เพียงพอสำหรับการดำเนินการดังกล่าว
                             1.7 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการ ดำเนินโครงการและเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคม 2565 ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และดำเนินการเร่งส่งเงินกู้เหลือจ่ายตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ พ.ศ. 2563 โดยเร็ว
                             1.8 มอบหมายให้หน่วยงานรับผิดชอบโครงการที่ได้ดำเนินโครงการแล้วเสร็จให้รายงานผลการเบิกจ่ายเงินในระบบ eMENSCR ให้ตรงกับจำนวนเงินที่หน่วยงานใช้จ่ายเพื่อดำเนินโครงการฯ ในระบบ GFMIS ภายในเดือนธันวาคม 2565
                   2. ผลการพิจารณาของ คกง. ภายใต้พระราชกำหนดกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 ในคราวประชุมครั้งที่ 27/2565
                             2.1 รับทราบรายงานผลการคืนเงินกู้เหลือจ่ายของหน่วยงานรับผิดชอบโครงการ จำนวน 5 โครงการ รวม 10.1135 ล้านบาท ที่ได้ดำเนินการตามขั้นตอน ข้อ 22 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการดำเนินการตามแผนงานหรือโครงการภายใต้พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่มเติม พ.ศ. 2564 พ.ศ. 2564 (ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีกู้เงินฯ เพิ่มเติม พ.ศ. 2564) แล้ว
                             2.2 อนุมัติให้นำวงเงินกู้เพื่อการตามมาตรา 5 (3)1 มาใช้เพื่อการตามมาตรา 5 (2)2 (ครั้งที่ 1) จำนวน 5.8465 ล้านบาท เพื่อรองรับค่าใช้จ่ายโครงการมาตรการการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของนิสิต นักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาภาครัฐและเอกชน (โครงการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาฯ) ของ อว.
                             2.3 อนุมัติให้สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาฯ โดยการขยายระยะเวลาการเบิกจ่ายจากเดิมสิ้นสุดเดือนมีนาคม 2565 เป็นสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 และปรับผลการเบิกจ่ายและรายงานการคืนเงินกู้เหลือจ่ายของโครงการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาฯ ตามที่ได้รายงานผลการดำเนินโครงการมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาฯ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 ให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                             2.4 อนุมัติให้ สศค. กค. เปลี่ยนแปลงรายละเอียดที่เป็นสาระสำคัญของโครงการคนละครึ่ง ระยะที่ 4 โดยขยายระยะเวลาเบิกจ่ายโครงการฯ จนสิ้นสุดเดือนธันวาคม 2565 ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนแล้ว
                             2.5 มอบหมายให้หน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการตามข้อ 2.3 และ 2.4 เร่งแก้ไขข้อมูลโครงการในระบบ eMENSCR ให้สอดคล้องกับการปรับปรุงรายละเอียดโครงการโดยเร็ว และเร่งรัดการดำเนินโครงการฯ ให้เป็นไปตามระยะเวลาที่ขอขยาย ตามขั้นตอนของกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
_________________________________
1 เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19
2 เพื่อช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชย ให้แก่ประชาชนทุกสาขาอาชีพ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด 19
 
19. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับหน่วยบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และอนุมัติสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการค่าใช้จ่ายในการบรรเทา แก้ไขปัญหา และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จำนวนเงินทั้งสิ้น 365,681,707.40 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการจัดหายารักษาผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับหน่วยบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
 
20. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่ : กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 และอนุมัติสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง เงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวนเงิน 986,452,860 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่:กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
 
21. เรื่อง ขอรับการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับเป็นค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายใต้โครงการค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชน วงเงินจำนวน 2,100,612,000 บาท ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอเพื่อเป็นค่าตอบแทน เยียวยา ชดเชย และเสี่ยงภัย สำหรับการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนจำนวน 1,039,729 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขกรุงเทพมหานคร (อสส.) จำนวน 10,577 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,050,306 คน ในอัตรา 500 บาท   ต่อคนต่อเดือน ระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 - เดือนกันยายน 2565
 
22. เรื่อง ขอรับการสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับการปฏิบัติงานของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 รวม 61 วัน (ห้วงที่ 7 - 8)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ภายในวงเงิน 135,876,400 บาท สำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง เพื่อบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 รวม 61 วัน หรือจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะยุติลงตามที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอ
 
23. เรื่อง การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 (7 เดือน) โดยจะใช้งบประมาณจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม จำนวน 1,933.05 ล้านบาท ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิ์แก่ผู้ได้รับสิทธิ์จากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ก่อนเดือนเมษายน 2566 ให้ถือว่ามาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงในเดือนที่จะเริ่มให้สิทธิ์ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 ตามที่คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม กระทรวงการคลังเสนอ
                   สาระสำคัญ
                   การขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาฯ มีรายละเอียด ดังนี้
                   วัตถุประสงค์ : เพื่อบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาให้แก่ผู้มีบัตรฯ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
                   ระยะเวลาดำเนินงาน : ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เดือนเมษายน 2566 (7 เดือน) ทั้งนี้ ในกรณีที่มีการเริ่มใช้สิทธิ์แก่ผู้ได้รับสิทธิ์จากโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 ก่อนเดือนเมษายน 2566 ให้มาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงในเดือนที่จะเริ่มให้สิทธิ์
                    1. ค่าไฟฟ้า
                       1) กลุ่มเป้าหมาย : ประมาณ 810,000 ครัวเรือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิ์)
                       2) วิธีดำเนินการ : กรณีค่าไฟฟ้า ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 เดือน ให้ใช้สิทธิ์ค่าไฟฟ้าฟรีตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน แต่หากใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วยต่อเดือน ให้ผู้มีบัตรฯ ได้รับวงเงินสำหรับชำระค่าไฟฟ้า วงเงิน 315 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรฯ จะเป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด 
                       3) งบประมาณ : ขอรับจัดสรรงบประมาณจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐากรากและสังคม (กองทุนฯ) จำนวน 1,786.05 ล้านบาท
                   2. ค่าน้ำประปา
                        1) กลุ่มเป้าหมาย : ประมาณ 210,000 ครัวเรือน (1 ครัวเรือนใช้ได้เพียง 1 สิทธิ์)
                        2) วิธีดำเนินการ : สนับสนุนค่าน้ำประปาวงเงิน 100 บาทต่อครัวเรือนต่อเดือน กรณีที่ใช้น้ำประปาเกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท ผู้มีบัตรฯ ยังคงได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท และจะต้องชำระส่วนที่เกิน 100 บาท ด้วยตนเอง แต่หากผู้มีบัตรฯ มีการใช้น้ำประปาเกิน 315 บาท ผู้มีบัตรฯ จะเป็นผู้รับภาระในการชำระค่าน้ำประปาทั้งหมด
                        3) งบประมาณ : ขอรับจัดสรรงบประมาณจากกองทุนฯ จำนวน 147 ล้านบาท
                   ทั้งนี้ ผู้มีบัตรฯ ต้องนำใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าและใบแจ้งหนี้ค่าน้ำประปาไปชำระที่สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ สำนักงานการประปานครหลวง และสำนักงานการประปาส่วนภูมิภาค พร้อมทั้งแสดงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดยทุกสิ้นเดือนการไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กิจการไฟฟ้า สวัสดิการสัมปทานกองทัพเรือ การประปานครหลวง และการประปาส่วนภูมิภาค จะส่งบันทึกรายชื่อผู้มีบัตรฯ ที่ใช้ไฟฟ้าและน้ำประปาภายใต้วงเงินที่กำหนดให้กรมบัญชีกลาง เพื่อที่กรมบัญชีกลางจะนำเงินจากกองทุนฯ มาจ่ายคืนผ่านบัตรฯ ในช่องกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (ช่อง e-Money) ให้แก่ผู้มีบัตรฯ ต่อไป
                   ในการนี้ คณะกรรมการประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม (คณะกรรมการฯ) ได้มีมติในคราวการประชุม ครั้งที่ 5/2565 เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 เห็นชอบให้นำเรื่องการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาฯ เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยการขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาฯ จะสามารถบรรเทาภาระค่าสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา ให้กับผู้มีบัตรฯ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 
24. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในรายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 159,395,900 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมรายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ
                   ทั้งนี้ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมราชทัณฑ์ได้รับงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 รายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง รวมทั้งสิ้น 523,585,000 บาท ลดลงจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 จำนวน 201,415,000 บาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 27.78 โดยในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 กรมราชทัณฑ์ได้รับค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง รวม 725,000,000 บาท ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขังไม่เพียงพอ กระทรวงยุติธรรมจึงขออนุมัติงบประมาณจากงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมรายการค่าอยู่เวรรักษาการณ์ผู้คุมผู้ต้องขัง
 
25. เรื่อง ขออนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อการอุปโภคบริโภคขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี และโครงการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบชนิดเคลื่อนที่เร็วของกรมชลประทาน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติเสนอ ดังนี้
                   1. โครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งเพื่อการอุปโภคบริโภค ด้วยระบบ Water Treatment System จำนวน 27 รายการ วงเงิน 140.4000 ล้านบาท ขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี
                   2. โครงการจัดหาเครื่องสูบน้ำแบบชนิดเคลื่อนที่เร็ว ขับด้วยระบบไฮดรอลิค ขนาดท่อส่งไม่น้อยกว่า 42 นิ้ว จำนวน 30 เครื่อง วงเงินทั้งสิ้น 656.5500 ล้านบาท ของกรมชลประทาน
                   โดยรายละเอียดของแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
 
26. เรื่อง มาตรการเร่งด่วนด้านพลังงานเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนจากสถานการณ์ราคาพลังงาน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ ดังนี้
                   1. เห็นชอบให้การไฟฟ้านครหลวงใช้จ่ายในวงเงิน 26,887,600 บาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าไฟฟ้าประจำเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2565 เพื่อให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่า Ft) ให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยและประเภทกิจการขนาดเล็ก (ไม่รวมส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ) ที่มีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน เพิ่มเติมจากกรอบวงเงินที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565 จำนวน 216,190,000 บาท เพื่อให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง โดยมีกรอบวงเงินใหม่ในการดำเนินมาตรการดังกล่าว เป็นจำนวน 243,077,600 บาท โดยให้การไฟฟ้านครหลวงเบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณต่อไป
                   2. อนุมัติให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคใช้จ่ายในวงเงิน 2,231,102,000 บาท โดยใช้แหล่งเงินจากงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น สำหรับค่าไฟฟ้าเดือนกันยายน 2565 เพื่อให้ส่วนลดอัตราค่าไฟฟ้าให้แก่ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 500 หน่วยต่อเดือน โดยเป็นกรอบวงเงินของการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 419,995,000 บาท และเป็นกรอบวงเงินของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จำนวน 1,811,107,000 บาท โดยให้การไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเบิกจ่ายเงินจากสำนักงบประมาณต่อไป
 
27. เรื่อง การขับเคลื่อนการดำเนินการสำคัญสืบเนื่องจากการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ครั้งที่ 2/2565
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในการประชุมครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม  2565 ตามผลการประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ในส่วนของ (1) (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ  (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับปรับปรุง) (2) โครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 (3) การดำเนินการแผนปฏิรูปประเทศ และ (4) การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ ตามที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในฐานะสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เสนอ 
                   สาระสำคัญ
                   1. (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับปรับปรุง)
                             1.1 ความเป็นมา คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2565  เห็นชอบหลักการ แนวทาง และการดำเนินการปรับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ตามมติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติในคราวการประชุมครั้งที่ 1/2565 วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 โดยมอบหมายให้สำนักงานฯ ดำเนินการทบทวนและปรับแผนแม่บทฯ ทั้ง 23 ประเด็น ซึ่งมุ่งเน้นทบทวนโดยเฉพาะเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อยที่อาจไม่ส่งผลต่อเป้าหมายระดับประเด็น การปรับปรุงตัวชี้วัด ค่าเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาให้มีความเหมาะสมสามารถสะท้อนการบรรลุเป้าหมายได้อย่างแท้จริง
                             1.2 การดำเนินการ สำนักงานฯ ได้ดำเนินการปรับเแผนแม่บทฯ ทั้ง 23 ประเด็นแล้วเสร็จ และจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นต่อ (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับปรับปรุง) เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม - 3 สิงหาคม 2565 พร้อมทั้งนำผลจากการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการปรับปรุง (ร่าง) แผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) ให้มีความครบถ้วนและสมบูรณ์ เรียบร้อยแล้ว โดยที่ประชุมร่วมประธานกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ 6 คณะ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2565 และที่ประชุมคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เมื่อวันที่ 22สิงหาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ  (พ.ศ. 2566-2580) (ฉบับปรับปรุง) เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป ทั้งนี้ สำหรับเอกสารประกอบ (ร่าง) แผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) ที่มีเนื้อหาครอบคลุมในส่วนของคำนิยามและคำอธิบายของเป้าหมายตัวชี้วัด เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการดำเนินการของทุกหน่วยงานของรัฐในการขับเคลื่อนการดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน นั้น สำนักงานฯ จะได้ดำเนินการเผยแพร่เพื่อใช้ประโยชน์ควบคู่กับการประกาศใช้แผนแม่บทฯ (ฉบับปรับปรุง) ต่อไป
                             1.3 มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
                                      1) เห็นชอบ (ร่าง) แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2566-2580)  (ฉบับปรับปรุง) โดยสรุปสาระสำคัญในการปรับแผนแม่บทฯ ได้ดังนี้ (1) การปรับเป้าหมาย โดยคงจำนวนเป้าหมายระดับประเด็น (Y2) 37 เป้าหมาย และคงจำนวนเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) 140 เป้าหมาย  ทั้งนี้ ได้มีการปรับปรุงเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) 3 กรณี ได้แก่ ปรับถ้อยคำของเป้าหมายแผนแม่บทย่อยให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น 7 เป้าหมาย ยกเลิกเป้าหมายแผนแม่บทย่อยที่มีความซ้ำซ้อนกับเป้าหมายอื่น ๆ 6 เป้าหมาย และเพิ่มเติมเป้าหมายแผนแม่บทย่อยให้ครอบคลุมกับประเด็นการพัฒนา 6 เป้าหมาย (2) การปรับตัวชี้วัด เพื่อให้มีการจัดเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องและสะท้อนผลลัพธ์การดำเนินการตามเป้าหมาย โดยมีตัวชี้วัดเป้าหมายระดับประเด็น (Y2) จำนวน 41 ตัวชี้วัด จากเดิม 39 ตัวชี้วัด และมีตัวชี้วัดเป้าหมายแผนแม่บทบ่อย (Y1)  จำนวน 167 ตัวชี้วัด จากเดิม 170 ตัวชี้วัด (3) การปรับค่าเป้าหมาย ให้มีความท้าทายมากยิ่งขึ้นและสอดคล้องกับการปรับปรุงตัวชี้วัด โดยมีค่าเป้าหมายระดับประเด็น (Y2) จำนวน 41 ค่าเป้าหมาย จากเดิม 39 ค่าเป้าหมาย และมีค่าเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) จำนวน 172 ค่าเป้าหมาย จากเดิม 166 ค่าเป้าหมาย และ (4) การปรับแนวทางการพัฒนา ให้มีความสอดคล้องกับห่วงโซ่คุณค่าแห่งประเทศไทย (FVCT) และบริบทการพัฒนาประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยมีจำนวน 392 แนวทาง จากเดิม 375 แนวทาง
                                      2) เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ โดยยึดหลักการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2562 ที่เห็นชอบการมอบหมายหน่วยงานเจ้าภาพฯ 3 ระดับ ได้แก่ (1) หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนประเด็นแผนแม่บทฯ (จ.1) (2) หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับประเด็นของแผนแม่บทฯ (จ.2) และ (3) หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนเป้าหมายระดับแผนแม่บทย่อย (จ.3) โดยหน่วยงานเจ้าภาพฯ มีภารกิจหลักในการประสานและบูรณาการการดำเนินงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นกลไกสำคัญในการถ่ายทอดเป้าหมายและประเด็นการพัฒนาของยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติ ทั้งนี้ ได้มีการปรับเปลี่ยนหน่วยงานเจ้าภาพฯ โดยพิจารณาจากภารกิจของหน่วยงานเพื่อให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายฯ ในระดับ จ.1 มีการเปลี่ยนแปลง 1 ประเด็นแผนแม่บทฯ  ระดับ จ.2 มีการเปลี่ยนแปลง 2 เป้าหมายระดับประเด็น และระดับ จ.3 มีการเปลี่ยนแปลง 1 เป้าหมาย แผนแม่บทย่อย เพิ่มเติม 6 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย และยกเลิก 6 เป้าหมายแผนแม่บทย่อย
                             3) เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไปตามหลักวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA) เพื่อใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานให้สามารถบรรลุผลสัมฤทธิ์ของเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ และผลลัพธ์ตามเป้าหมายของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ (1) การวางแผน (Plan) สำนักงานฯ ร่วมกับหน่วยงานเจ้าภาพฯ สร้างความเข้าใจในการถ่ายระดับของแผนระดับที่ 1 และ 2 ซึ่งเป็นแผนระดับชาติไปสู่การปฏิบัติของหน่วยงานของรัฐผ่านแผนระดับที่ 3  โดยให้ความสำคัญในการดำเนินงานเพื่อการบรรลุเป้าหมายของแผนระดับที่ 1 และ 2 (2) การปฏิบัติ (Do) หน่วยงานของรัฐจัดทำแผนปฏิบัติราชการราย 5 ปี และรายปี ซึ่งเป็นแผนระดับที่ 3 และโครงการ/การดำเนินงานต่าง ๆ ตามแนวทางของมติคณะรัฐมนตรี  เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 รวมทั้งปรับปรุงการดำเนินงานให้มุ่งเน้นการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยแบบพุ่งเป้า ไม่ใช่การมุ่งที่ตัวชี้วัด โดยมีการถ่ายระดับเป้าหมาย ตัวชี้วัด และค่าเป้าหมายไปสู่ระดับความรับผิดชอบของ          แต่ละหน่วยงาน รวมถึงสำนักงบประมาณให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (3) การติดตามตรวจสอบ ประเมินผล (Check) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเก็บข้อมูลสำหรับการติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง กลไกการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลหน่วยงานของรัฐ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2564 ดำเนินการติดตามการดำเนินการตามแผนแม่บทฯ อย่างเคร่งครัด โดยหน่วยงานของรัฐนำเข้าข้อมูลโครงการ/การดำเนินงานและแผนระดับที่ 3 รวมทั้งรายงานผลการดำเนินงาน/ผลสัมฤทธิ์ในระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ตามระยะเวลาที่กำหนด และ (4) การปรับปรุง การดำเนินงาน (Act) สำนักงานฯ จะดำเนินการปรับปรุงกระบวนการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมในทุกขั้นตอนของวงจรบริหารงานคุณภาพ (PDCA)
                    2. โครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
                             2.1 ความเป็นมา การจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 เป็นการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี่ เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2564 ที่เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติไปสู่การปฏิบัติบนฐานข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการจัดทำโครงการสำคัญในแต่ละปีงบประมาณ ในห้วงปี 2566 - 2570 ซึ่งเป็นห้วงที่ 2 ของการดำเนินการตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยยึดแนวทางการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 ใน 4 แนวทาง ประกอบด้วย (1) การมองเป้าหมายร่วมกัน (2) การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าที่ส่งผลให้บรรลุเป้าหมายแผนแม่บทย่อยและจัดทำข้อเสนอโครงการฯ (3) การจัดลำดับความสำคัญของข้อเสนอโครงการฯ และ (4) การจัดทำแผนปฏิบัติราชการ
                             2.2 การดำเนินการ สำนักงานฯ ได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว ตั้งแต่โครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2565 เป็นต้นมา โดยโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2567  ได้มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567  เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2565 เพื่อสร้าง “ครู ก” ให้กับทุกหน่วยงานระดับกรมหรือเทียบเท่าที่เป็นผู้เข้าร่วมประชุมให้สามารถถ่ายทอดการจัดทำโครงการที่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศและส่งผลต่อการบรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติและหลักการความสัมพันธ์เชิงเหตุและผล (XYZ) ได้อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งได้มีการเผยแพร่หลักเกณฑ์การประเมินโครงการฯ ให้กับหน่วยงานเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการประเมินข้อเสนอโครงการของตนเองซึ่งหน่วยงานจะทราบถึงเกณฑ์ที่จำเป็นต้องพัฒนาและยกระดับโครงการให้สามารถเป็นโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปี 2567 มีโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญจำนวนทั้งสิ้น 1,026  โครงการ คิดเป็นร้อยละ 39.18 ของข้อเสนอโครงการฯ ทั้งหมด โดยเป็นโครงการที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัยอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (ศจพ.)  จำนวน 33 โครงการ ทั้งนี้ ในภาพรวมของการจัดทำโครงการฯ ประจำปี 2567 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการฯ และในส่วนของผู้มีสิทธิ์ประเมินข้อเสนอโครงการมีความเข้าใจหลักเกณฑ์การประเมินโครงการมากยิ่งขึ้น  สะท้อนได้จากจำนวนข้อเสนอโครงการฯ ประจำปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญ จำนวน 1,026 โครงการของข้อเสนอโครงการฯ ที่หน่วยงานนำเข้าในระบบ eMENSCR จำนวน 2,619 โครงการ หรือคิดเป็นร้อยละ  39.18  ซึ่งเป็นจำนวนที่เพิ่มขึ้น จากปี 2565 และปี 2566 อย่างไรก็ตาม ยังมี 5 เป้าหมายที่ไม่มีโครงการฯมารองรับ ได้แก่ เป้าหมาย 080202 มูลค่าการระดมทุนผ่านตลาดทุนของกิจการที่เริ่มตั้งต้นและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพิ่มขึ้น เป้าหมาย 110201 ภาคธุรกิจมีบทบาทสำคัญในการลงทุนเพื่อสังคมเพิ่มขึ้นและ เป้าหมาย 200302  องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีสมรรถนะและสร้างความทันสมัยในการจัดบริการสาธารณะและกิจกรรมสาธารณะให้กับประชาชน โดยมี 2 เป้าหมายที่ไม่มีหน่วยงานจัดส่งข้อเสนอโครงการ ได้แก่ เป้าหมาย 050303 สถานประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและบริการทางการแพทย์ได้รับมาตรฐานเพิ่มขึ้น และ เป้าหมาย 110402 มีคนไทยที่มีความสามารถและผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ  เข้ามาทำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนเป้าหมายดังกล่าว จำเป็นต้องร่วมกันวิเคราะห์เพื่อจัดทำโครงการ/การดำเนินงานที่สามารถส่งผลต่อการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแบบพุ่งเป้าต่อไป
                             2.3 มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
                                      1) เห็นชอบโครงการเพื่อขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จำนวน 1,026 โครงการ
                                      2) เห็นชอบแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินการในระยะถัดไป เพื่อให้โครงการของหน่วยงานของรัฐสามารถขับเคลื่อนการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ และแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติเป็นไปได้อย่างเป็นระบบและมีความบูรณาการนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม  หน่วยงานของรัฐและผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องยึดหลักการตามแนวทางขับเคลื่อนฯ ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่  18 พฤษภาคม 2564 และวันที่ 5 พฤษภาคม 2563 โดยให้ความสำคัญในการดำเนินการ ดังนี้
                                                2.1) หน่วยงานของรัฐ ทบทวนความเกี่ยวข้องของหน่วยงานในการมีส่วนร่วมขับเคลื่อนการดำเนินงานให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามยุทธศาสตร์ชาติ และประสานหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) เพื่อหารือร่วมกันในการจัดทำข้อเสนอโครงการฯ ที่สามารถตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ปรับปรุงรายละเอียดข้อเสนอโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญให้มีความครบถ้วน สมบูรณ์ก่อนการนำเสนอตามขั้นตอนต่อไป จัดทำแผนระดับที่ 3 โดยเฉพาะแผนปฏิบัติราชการที่มีการบรรจุโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญ โดยหน่วยงานจะต้องใช้ชื่อโครงการตามที่เสนอมาเท่านั้น ทั้งนี้ ในกรณีที่ข้อเสนอโครงการฯ ของหน่วยงานไม่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญฯ  และประสงค์จะเสนอโครงการเข้าสู่กระบวนการงบประมาณ หน่วยงานจะต้องพิจารณาทบทวนและปรับปรุงข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการฯ ก่อนเข้าสู่กระบวนการงบประมาณ
                                                2.2) หน่วยงานเจ้าภาพขับเคลื่อนแผนแม่บทฯ ทุกระดับ  ประสานและบูรณาการระหว่างหน่วยงานเจ้าภาพและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาความครอบคลุมของหน่วยงานร่วมขับเคลื่อนเป้าหมายแผนแม่บทย่อย (Y1) และกำหนดประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญในการดำเนินการในปีงบประมาณนั้น ๆ รวมทั้งจัดให้มีการให้คำปรึกษา (คลินิกให้คำปรึกษาโครงการฯ) เพื่อให้หน่วยงานร่วมขับเคลื่อนฯ สามารถหารือแนวทางการจัดทำโครงการฯ ที่ส่งผลต่อการขับเคลื่อนการบรรลุเป้าหมายแบบพุ่งเป้าได้อย่างเป็นรูปธรรม
                                                2.3) ผู้มีสิทธิ์ประเมินข้อเสนอโครงการฯ ศึกษาและทำความเข้าใจกระบวนการในการจัดทำโครงการฯ และหลักเกณฑ์การประเมินโครงการฯ รวมทั้ง ประเมินข้อเสนอโครงการฯ บนหลักวิชาการ อย่างเที่ยงตรง และเป็นธรรม ตามหลักเกณฑ์การให้คะแนนที่สำนักงานฯ กำหนด
                                                2.4) สำนักงบประมาณ หารือร่วมกับสำนักงานฯ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตลอดกระบวนการดำเนินงาน อันจะนำไปสู่การขับเคลื่อนที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายฯ พิจารณาจัดสรรงบประมาณของโครงการ/การดำเนินงานให้สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ โดยยึดเป้าหมายแผนแม่บทย่อยฯ (Y1) เป็นหลัก รวมทั้งให้ความสำคัญในการพิจารณาจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการที่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญเป็นลำดับแรก และสำหรับโครงการฯ ที่ไม่ผ่านการจัดลำดับความสำคัญฯ ให้พิจารณาจัดสรรงบประมาณให้ในกรณีที่หน่วยงานได้ดำเนินการทบทวนและปรับปรุงข้อเสนอโครงการตามหลักเกณฑ์การประเมินโครงการฯ แล้ว
                                                2.5) สำนักงานฯ สร้างการตระหนักรู้ เพื่อให้หน่วยงานฯ มีความรู้ความเข้าใจ เพื่อนำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินการที่ส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายฯ รวมทั้งพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้คะแนน พร้อมทั้งจัดทำคำอธิบายและคำนิยามให้มีความชัดเจนและครอบคลุมมากขึ้น เพื่อให้หน่วยงานและผู้มีสิทธิ์ให้คะแนนมีความเข้าใจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน
                             3. การดำเนินการแผนปฏิรูปประเทศ
                                      3.1 ความเป็นมา รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวด 16 ได้บัญญัติให้มีการปฏิรูปประเทศ โดยได้กำหนดเป้าหมายของการปฏิรูปประเทศไว้ในมาตรา 257  และให้ดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างน้อยด้านต่าง ๆ ให้เกิดผล ไว้ในมาตรา 258 และในมาตรา 259  ให้เริ่มดำเนินการปฏิรูปในแต่ละด้าน ภายใน 1 ปี นับแต่วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฯ เพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ที่คาดหวังภายในระยะเวลา 5 ปี ซึ่งหากนับจากวันที่ได้มีการประกาศบังคับใช้แผนการปฏิรูปประเทศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2561ระยะเวลาการดำเนินการจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2565
                                      3.2 การดำเนินการ สำนักงานฯ ได้มีการติดตามความก้าวหน้าและประเมินผลสัมฤทธิ์การปฏิรูปประเทศด้านต่าง ๆ พบว่า การดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศทั้ง 13 ด้าน ได้ทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญฯ แล้ว ดังมีตัวอย่างผลสัมฤทธิ์ อาทิ ด้านการเมือง มีการจัดทำแอปพลิเคชัน Civic Education เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้มีสิทธิเลือกตั้งในการเข้าถึงข้อมูลผู้สมัครรับเลือกตั้ง ข้อมูลพรรคการเมือง ข้อมูลที่เผยแพร่ประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ด้านบริหารราชการแผ่นดินมีการเชื่อมโยงข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับระบบ e-GP เพื่อตรวจสอบและป้องกันการทุจริตรวมทั้งมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในหน่วยงานราชการมากขึ้น ซึ่งสามารถช่วยลดการใช้กระดาษในหน่วยงานราชการ ด้านกฎหมาย มีการจัดทำพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย เพื่อให้ผู้ที่มีความผิดไม่ร้ายแรงชำระค่าปรับแทนการลงโทษทางอาญาและไม่มีการจำคุก เพื่อให้การรับโทษเหมาะสมกับสภาพความผิดซึ่งทำให้การบังคับใช้กฎหมายเกิดความเป็นธรรมและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมทั้งในส่วนการจัดให้มีกลไกช่วยเหลือประชาชนในการจัดทำและเสนอร่างกฎหมายได้มีพระราชบัญญัติการเข้าชื่อเสนอกฎหมายพ.ศ. 2564 ที่ดำเนินการแล้วเสร็จและประกาศใช้บังคับเรียบร้อยแล้ว ด้านกระบวนการยุติธรรม ในส่วนการมุ่งอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนให้มีความสะดวกรวดเร็ว โดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้จัดให้มีการถ่วงดุลอำนาจการสอบสวนระหว่างหน่วยงาน และได้มีคำสั่งสำนักงานตำรวจแห่งชาติที่ 177/2564  เรื่อง การรับคำร้องทุกข์หรือคำกล่าวโทษความผิดอาญานอกเขตอำนาจการสอบสวน เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนมากขึ้น ด้านการศึกษา ในส่วนของการให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษาพิจารณาจากอัตราการเข้าเรียนสุทธิระดับก่อนประถมศึกษา อายุ 3-5 ปี เพิ่มขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 75.15  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ามีการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ด้านเศรษฐกิจ มีการปรับโครงสร้างให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งมากขึ้นและสามารถช่วยเหลือด้านวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) ได้มากขึ้น
                                      ทั้งนี้ หลังจากแผนการปฏิรูปประเทศสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการลงในวันที่ 31ธันวาคม 2565 หน่วยงานของรัฐทั้งหน่วยงานรับผิดชอบหลักและหน่วยงานร่วมดำเนินการสามารถดำเนินการประเด็นต่อเนื่องต่าง ๆ ผ่านกลไกของแผนระดับ 2 อื่นที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากทุกด้านของแผนการปฏิรูปประเทศมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับเป้าหมายของแผนระดับ 2 อื่น ๆ ทั้งในส่วนของแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ และ (ร่าง) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13  (พ.ศ. 2566-2570) นอกจากนี้ ในส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ซึ่งมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 โดยได้มีการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเป็นไปด้วยความเรียบร้อยแล้ว ทั้งการจัดทำร่างแผนการปฏิรูปประเทศ การปรับปรุงแผนการปฏิรูปประเทศ และการดำเนินการติดตามการดำเนินงานของหน่วยงานของรัฐให้มีการดำเนินการแผนการปฏิรูปประเทศ ส่งผลให้เหลือหน้าที่ของคณะกรรมการเพียงหน้าที่เดียวในส่วนของประธานกรรมการยังมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565 โดยที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศ รวมถึงมีความจำเป็นต้องมีการปรับปรุงกลไกการดำเนินการที่เกี่ยวข้องหลังจากสิ้นสุดการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศให้มีความสอดคล้องต่อไป
                                      3.3 มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบแนวทางการดำเนินการภายหลังการสิ้นสุดขอแผนการปฏิรูปประเทศ ประกอบด้วย
                                                1) แนวทางการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศภายหลังการสิ้นสุดของแผนการปฏิรูปประเทศ
                                                          1.1) หน่วยงานของรัฐนำประเด็นการปฏิรูปประเทศไปดำเนินการต่อเนื่องผ่านกลไกของแผนระดับที่ 2 แผนระดับที่ 3 และการดำเนินงานต่าง ๆ ของหน่วยงาน โดยให้สำนักงานฯ และสำนักงาน ก.พ.ร. ร่วมกันพิจารณากำหนดตัวชี้วัดที่เหมาะสม เพื่อผลักดันผลสัมฤทธิ์ของการปฏิรูปประเทศเกิดผลได้อย่างยั่งยืนต่อไป
                                                          1.2) ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการทบทวน ยกเลิกกฎหมายกฎระเบียบ ข้อบังคับ กลไก และคณะกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศ โดยในส่วนของสำนักงานฯ มีกฎหมายและมติคณะรัฐมนตรีที่ต้องดำเนินการยกเลิกและ/หรือปรับปรุง ดังนี้
                                                                    1.2.1) ยกเลิกพระราชบัญญัติแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2560 เนื่องจากเป็นกฎหมายที่หมดความจำเป็น โดยจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในพระราชกฤษฎีกาการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย พ.ศ.2558 ต่อไป
                                                                   1.2.2) ปรับปรุงแก้ไขมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 เรื่อง แนวทางการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ที่ได้เห็นชอบให้มีการจำแนกแผนออกเป็น 3 ระดับ โดยตัดแผนการปฏิรูปประเทศออกจากกลไกของแผนระดับที่ 2 ที่ได้กำหนดไว้เดิม ทำให้มีแผนระดับที่ 2 ประกอบด้วย แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ รวมทั้ง ขอปรับปรุงวิธีการเสนอแผนเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องของแผนระดับที่ 2 ฉบับนั้น ๆ
                                                          1.3) สำนักงานฯ และสำนักงาน ก.พ.ร. หารือร่วมกันเพื่อพิจารณาทบทวนความจำเป็นและความเหมาะสมเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน ป.ย.ป. เพื่อดำเนินการตามข้อ 16 ของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ 19/2561 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2562เรื่อง การทบทวนข้อเสนอให้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐตามแผนการปฏิรูปประเทศ
                                                2) แนวทางการดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการติดตามและประเมินผลการปฏิรูปประเทศ
                                                          2.1) หน่วยงานและ/หรือผู้มีหน้าที่กำกับ ติดตามและประเมินผลการปฏิรูปประเทศ ในส่วนของคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ ให้คงเหลือเพียงภารกิจหน้าที่ในการพิจารณาให้ความเห็นชอบรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565 โดยที่ประชุมร่วมประธานกรรมการปฏิรูปประเทศ และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้พิจารณาทบทวนบทบาทและอำนาจหน้าที่ตามความเหมาะสม โดยใช้ยุทธศาสตร์ชาติ และแผนระดับที่ 2 อื่นที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบในการดำเนินการ รวมทั้งกลไกและกรรมการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อปรับเปลี่ยนองค์ประกอบให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมต่อไป
                                                          2.2) การดำเนินการติดตาม ประเมินผล และจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ โดยดำเนินการให้สอดคล้องกับห้วงเวลาของแผนการปฏิรูปประเทศ ทั้งในส่วนของการรายงานผลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปประเทศในระบบ eMENSCR การจัดทำรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญฯ สำหรับรอบเดือนตุลาคม ถึง ธันวาคม 2565 เป็นรอบรายงานสุดท้าย และการจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินการตามแผนการปฏิรูปประเทศ ประจำปี 2565 โดยใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานสิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2565
                             4. การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
                                      4.1 ความเป็นมา พระราชบัญญัติการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 มาตรา 12 วรรค 6 กำหนดให้มีกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยการเกิดและมีอายุไม่เกินเจ็ดสิบห้าปี ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์ในด้านความมั่นคง ด้านการเมืองและการบริหารราชการแผ่นดิน ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม ด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านสาธารณสุข ด้านโครงสร้างพื้นฐาน หรือด้านอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ตามพระราชบัญญัตินี้ จำนวนไม่เกินสิบเจ็ดคน และมาตรา 13 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจะมีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละห้าปี โดยที่กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งพ้นจากตำแหน่งตามวาระนั้นจะอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่ากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับแต่งตั้งใหม่เข้ารับหน้าที่และอาจได้รับการแต่งตั้งอีกได้
                                      4.2 การดำเนินงาน สำนักงานฯ ได้กราบเรียนนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เพื่อพิจารณารายชื่อกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 5 ท่าน ประกอบด้วย กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่สามารถดำรงตำแหน่งจนครบวาระห้าปีถัดไป ตามที่กฎหมายกำหนด จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ นายกานต์ ตระกูลฮุน นายชาติศิริ โสภณพนิช และนายบัณฑูร ล่ำซำ และแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่จะมีอายุครบเจ็ดสิบห้าปีก่อนครบวาระในห้วงห้าปี ให้ดำรงตำแหน่งในวาระถัดไปอีกได้หนึ่งวาระ จำนวน 2 ท่าน  ได้แก่ นายวิษณุ เครืองาม และ พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา ซึ่งนายกรัฐมนตรีเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิดังกล่าว และให้มีการสรรหาบุคคลอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร ตามที่นายกรัฐมนตรีในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ พิจารณาให้ความเห็นซอบแล้ว เมื่อวันที่11 สิงหาคม 2565 และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ มีมติรับทราบแล้วเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565
                                      4.3 มติคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ เห็นชอบการแต่งตั้ง (1) นายวิษณุ เครืองาม (2) พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา (3) นายกานต์ ตระกูลฮุน (4) นายชาติศิริ โสภณพนิช และ (5) นายบัณฑูร ล่ำซำ ให้ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติอีกวาระหนึ่ง และให้มีการสรรหาบุคคลอื่นเพิ่มเติมตามที่เห็นสมควร เพื่อดำรงตำแหน่งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ
 
28. เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ดังนี้
                   1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2) ซึ่งใช้เฉพาะกรณีผู้ป่วยโรคโควิด 19 กลุ่มสีแดง และให้สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินและจัดลำดับการบริบาล กลุ่มอาการที่ 26 กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2565 ให้ครอบคลุมเฉพาะกรณีผู้ป่วยโรคโควิด 19 กลุ่มสีแดง
                   2. ให้กระทรวงการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สำนักงานประกันสังคม สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ เอกชน หรือกองทุนอื่นที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุขดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2) และดำเนินการจ่ายค่าใช้จ่ายในอัตราตามบัญชีแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัส    โคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรค           โควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2)
                   3. ให้กองทุนของส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ที่มีวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดบริการด้านการแพทย์หรือสาธารณสุข สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน ดำเนินการแก้ไขปรับปรุง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หรือประกาศให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2)
                   4. ให้สถานพยาบาลซึ่งดำเนินการโดยกระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถาบันการศึกษาของรัฐ สภากาชาดไทย ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2)             สาระสำคัญ
                   1. หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] (ฉบับที่ 2) มีสาระสำคัญดังนี้
                             (1) กำหนดให้ยกเลิกรายการที่ 729 รหัสรายการ 21801C และรายการที่ 730 รหัสรายการ 21901C ในหมวดที่ 1 ค่าห้องและค่าอาหาร รายการที่ 725 รหัสรายการ 91002C และรายการที่ 726 รหัสรายการ 91003C ในหมวดที่ 5 ค่าเวชภัณฑ์ที่ไม่ใช่ยา แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))]
                             (2) กำหนดให้ยกเลิกความ ในหมายเหตุท้ายหมวดที่ 3 ค่ายา แห่งบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
                                      “กรณียา Remdesivir, Molnupiravir และ Nirmatrelvir/ritonavir ให้เบิกยาหรืออัตราค่าใช้จ่ายจากกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหรือกฎหมายว่าด้วยประกันสังคม หรือกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน หรือจากส่วนราชการ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ทั้งนี้ ตามอัตรา หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลกำหนด แล้วแต่กรณี
                                      กรณีที่สถานพยาบาลและกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาล ไม่สามารถจัดหายาดังกล่าวได้ ให้สถานพยาบาลประสานไปยังกองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลเพื่อขอรับการสนับสนุนยาดังกล่าวจากกระทรวงสาธารณสุข และให้กระทรวงสาธารณสุขให้การสนับสนุนยาดังกล่าวแก่กองทุนของผู้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามความจำเป็นในการรักษาพยาบาล”
                             (3) กำหนดให้เพิ่มบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ เป็นบัญชีและอัตราค่าใช้จ่ายแนบท้ายหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))]
                             (4) กำหนดให้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
                             (5) กำหนดให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยก่อนวันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้ใช้บังคับ เรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] จนกว่าผู้ป่วยจะถูกจำหน่ายตามเกณฑ์การพิจารณาจำหน่ายผู้ป่วยของกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
                                      ให้สถานพยาบาลที่รับผู้ป่วยนับแต่วันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลใช้บังคับเรียกเก็บค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                             (6) กำหนดให้การใดที่อยู่ในระหว่างดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต [กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19))] ก่อนวันที่หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการต่อไปได้และให้ถือว่าเป็นการดำเนินการตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขนี้
                   2. การดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
                             ในขั้นตอนต่อไป สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) จะได้ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมประกาศสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เรื่อง เกณฑ์การคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉิน และจัดลำดับการบริบาลกลุ่มอาการที่ 26 กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2565 เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการสถานพยาบาลข้างต้น ทั้งนี้ สำหรับผู้ป่วยฉุกเฉินเร่งด่วน ผู้ป่วยฉุกเฉินไม่รุนแรง และผู้ป่วยทั่วไป กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) จะเข้ารับการรักษาตามสิทธิการรักษาของแต่ละคน (อาทิ สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิรักษาพยาบาลของข้าราชการ)
 

ต่างประเทศ

29.  เรื่อง  ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง-ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong-Lancang Cooperation Special Fund 2022)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ประจำปี พ.ศ. 2565 (Memorandum of Understanding on the Cooperation on Projects of the Mekong - Lancang Cooperation special Fund 2022) ทั้งนี้หากมีความจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงถ้อยคำของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2565 ในส่วนที่มิใช่สาระสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับผลประโยชน์และนโยบายของประเทศไทย ให้กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องนั้น ๆ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีก
รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2565  ตามที่กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   1. กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง (ร่างบันทึกความเข้าใจฯ) ประจำปี พ.ศ. 2565 และอนุมัติให้ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว โดยโครงการที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ.2565 มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 8 โครงการ วงเงินรวม 2,092,400 ดอลลาร์สหรัฐ  ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศ (สำนักงานปลัดกระทรวงการต่างประเทศ) และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแล้วเห็นว่าร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2565 ไม่เป็นสนธิสัญญาตามกฎหมายระหว่างประเทศและไม่เป็นหนังสือสัญญาตามมาตรา 178 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
                   2. สถาเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย (ฝ่ายจีน) ได้มีหนังสือแจ้งผลการอนุมัติโครงการของประเทศไทยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากกองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง (กองทุนฯ) ประจำปี พ.ศ. 2565 (Mekong – Lancang Cooperation Special Fund) และประสงค์ให้ อว. (ฝ่ายไทย) ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2565 ร่วมกับฝ่ายจีนในโอกาสแรก เพื่อที่ฝ่ายจีนจะได้ส่งมอบงบประมาณสนับสนุนให้หน่วยงานดำเนินโครงการต่อไป ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เห็นพ้องกันเกี่ยวกับเนื้อหาและสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยจะมีการลงนามในร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าวหลังจากนั้นทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการตามขั้นตอนและกฎระเบียบภายในประเทศการจัดทำบันทึกความเข้าใจระหว่างประเทศเรียบร้อยแล้ว
                   3. ร่างบันทึกความเข้าใจฯ ประจำปี พ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์ เพื่อกำหนดแนวทางในการบริหารจัดการและเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนฯ และเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม โดยหลักการเบื้องต้นคือ 1) สร้างประชาคมที่มีอนาคตร่วมกันแห่งสันติภาพและความมั่งคั่งในบรรดาประเทศสมาชิกแม่โขง – ล้านช้าง 2) ปฏิบัติตามเจตนารมณ์ในการปรึกษาหารือ การประสานงาน การร่วมมือกันและการได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน และ 3) ร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุนฯ
                    ทั้งนี้โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน 8 โครงการ รวมงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายจีนทั้งสิ้น 2,092,400 ดอลลาร์สหรัฐ ได้แก่ (1) โครงการเพื่อพัฒนาระบบขุนแพะของเกษตรกรรายย่อย โดยใช้หญ้าเขตร้อนและถั่วไม้ยืนต้นเป็นอาหารสัตว์ในพื้นที่ประเทศแถบเส้นทาง R12 (เส้นทางขนส่งสินค้าภาคอีสานเชื่อมโยง 4 ประเทศ ได้แก่ ไทย สปป. ลาว เวียดนาม และจีน) (Improving Smallholder Goat Fattening Systems Based on Tropical Grass and Forage Tree Legume Diets in the Countries of R12 Route)  หน่วยงานรับผิดชอบมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2) โครงการพัฒนาและการสาธิตเทคโนโลยีหลักสำหรับการป้องกันและควบคุมความปลอดภัยในอุตสาหกรรมการผลิตในภูมิภาคแม่โขง - ล้านช้าง (Development and Demonstration of Key Technologies for Industrial Production Safety Prevention and Control in Lancang-Mekong Region) หน่วยงานรับผิดชอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (3) โครงการเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืนและการเพิ่มมูลค่าให้แก่ดอกไม้บริโภคในพื้นถิ่นในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำโขง (Sustainable Conservation and Value Adding Locally Edible Floral Species in the Mekong Regions) หน่วยงานรับผิดชอบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (4) โครงการการหมุนเวียนใช้ประโยชน์ของชีวมวลการเกษตรและทรัพยากรอาหารสัตว์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคเนื้อ (Recycling of Agricultural Biomass and Fodder Shrubs for Beef Cattle Production) หน่วยงานรับผิดชอบมหาวิทยาลัยขอนแก่น (5) โครงการอัตลักษณ์ร่วมของผ้าทอลุ่มน้ำโขงไทย – ลาว (Common Identity of Thai-Laos Mekong Woven Textiles) หน่วยงานรับผิดชอบมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร (6) โครงการเศรษฐกิจข้ามพรมแดนในภูมิภาคล้านข้างแม่โขง: การบรรเทาความยากจนและสู่ความมั่งคั่งร่วมกัน (Cross-border Economy in LMC Region: Poverty Alleviation and Common Prosperity) หน่วยงานรับผิดชอบสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (7) โครงการค่ายพัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจรุ่นเยาว์ (Lancang-Mekong Young Leaders and Entrepreneurship Acceleration Camp) หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และ (8) โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในกลุ่มประเทศสมาชิกกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจนวัตกรรม (Strengthening Entrepreneurs in LMC for Route Number 1 Innovation Corridor Development) หน่วยงานรับผิดชอบสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
 
30.  เรื่อง การประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบการประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างประเทศไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) และรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการปรับปรุงถ้อยคำในเอกสารแถลงการณ์ร่วมของการประชุมฯ เพื่อสะท้อนกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น รวมทั้งมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุม JETCO ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 เพื่อให้ความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีผลลัพธ์เป็นรูปธรรมตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                   สาระสำคัญ
                   1. กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอการประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association: EFTA) และผลการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านเศรษฐกิจและการค้า (Joint Economic and Trade Committee: JETCO) ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องมาเพื่อคณะรัฐมนตรีรับทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงคมนาคม กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเห็นชอบด้วย
                   2. การประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีะหว่างไทยกับ EFTA โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทยและรัฐมนตรีของประเทศสมาชิก EFTA ประกอบด้วย (1) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของสาธารณรัฐไฮซ์แลนด์ (2) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ การศึกษา และกีฬาของราชรัฐลิกเตนสไตน์ (3) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมของราชอาณาจักรนอร์เวย์ และ (4) เลขาธิการสำนักงานกิจการเศรษฐกิจของสมาพันธรัฐสวิสและเลขาธิการ EFTA ได้ร่วมกันประกาศเปิดการเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างไทยกับ EFTA อย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ณ เมืองบอร์การ์เนสสาธารณรัฐไอซ์แลนด์ โดยทั้งสองฝ่ายได้กล่าวแสดงความมุ่งมั่นให้การเจรจาฯ ประสบความสำเร็จ
                   3. ผลการประชุม JETCO ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 สรุปได้ ดังนี้

ประเด็น
 
ผลการหารือ
 
(1) ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักร
 
แลกเปลี่ยนข้อมูลสถานการณ์และนโยบายทางเศรษฐกิจและหารือการส่งเสริมความร่วมมือเพื่อขยายและยกระดับความสัมพันธ์ด้านการค้า การลงทุน และเศรษฐกิจระหว่างกัน โดยเห็นพ้องในการเร่งฟื้นฟูมูลค่าการค้าระหว่างกันให้ถึง 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐผ่านกลไก JETCO ไทย-สหราชอาณาจักร เพื่อผลักดันมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นพ้องที่จะพัฒนาความสัมพันธ์ไปสู่การเป็นหุ้นส่วนทางการค้าที่แน่นแฟ้นในอนาคตเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน
(2) การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน (รายสาขา)
 
 
แนวทางการผลักดันและส่งเสริมความร่วมมือเพื่อขยายความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการอำนวยความสะดวกเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคระหว่างกันในสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพหรือมีความสนใจร่วมกัน รวมทั้งการหารืออย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้าของทั้งสองฝ่าย ได้แก่
1) ความร่วมมือด้านการเกษตร รับทราบการจัดทำบันทึกความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทยและสหราชอาณาจักร ซึ่งฝ่ายสหราชอาณาจักร สนใจประเด็นด้านมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชและความปลอดภัยทางอาหาร ขณะที่ฝ่ายไทยสนับสนุนให้สองฝ่ายส่งเสริมความร่วมมือด้านวิชาการ การวิจัยและการพัฒนาระหว่างกัน และพร้อมรับการลงทุนจากสหราชอาณาจักรในด้านเกษตรและอาหาร
2) ความร่วมมือด้านการค้า เห็นพ้องว่าอาหารและเครื่องดื่มเป็นสาขาที่ทั้งสองฝ่ายมีศักยภาพสูง โดยสหราชอาณาจักรสนใจการเพิ่มการส่งออกสินค้าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลไม้ ขณะที่ไทยเสนอให้สหราชอาณาจักรพิจารณาเพิ่มการนำเข้าสินค้า เช่น ยางพารา เนื้อไก่ อาหารสำเร็จรูป อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงขยายความร่วมมือระหว่างกันในด้านอื่น ๆ เช่น แรงงานที่มีทักษะ ทรัพย์สินทางปัญญา รถยนต์ และสุขภาพ
3) ความร่วมมือด้านดิจิทัล ยินดีในความร่วมมือในสาขาเศรษฐกิจดิจิทัลและเทคโนโลยีดิจิทัลของไทยและ สหราชอาณาจักร และพร้อมสนับสนุนความร่วมมือระหว่างกันในด้านดิจิทัลและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบบดิจิทัล
(3) การส่งเสริมความร่วมมือของภาคเอกชน
 
รับทราบผลการประชุมของสภาผู้นำธุรกิจไทย-สหราชอาณาจักรในประเด็นการขยายการลงทุนร่วมกันในสาขาสำคัญเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการค้าระหว่างกัน เช่น ธุรกิจอาหาร ดิจิทัล และบริการสุขภาพ ทั้งนี้ ภาครัฐและภาคธุรกิจควรให้ความสำคัญกับประเด็นด้านกฎระเบียบ แนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ และการสนับสนุน
การเข้าถึงแหล่งเงินทุน
(4) เอกสารผลลัพธ์สำหรับการประชุม JETCO ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1มีการรับรองเอกสาร 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แถลงการณ์ร่วมของการประชุม JETCO ไทย-สหราชอาณาจักร ครั้งที่ 1 โดยมีการปรับแก้ถ้อยคำของแถลงการณ์ร่วมฯ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ซึ่งไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของไทยและไม่กระทบต่อสาระสำคัญ รวมทั้งไม่ขัดกับหลักการที่คณะรัฐตรีได้ให้ความเห็นชอบไว้ เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2565 และ 2) แผนการดำเนินงานสหราชอาณาจักรไทย ซึ่งระบุกิจกรรมและสาขาความร่วมมือที่ทั้งสองฝ่ายจะดำเนินการร่วมกันภายใต้กรอบ JETCO ในระยะเวลา 18 เดือน

                   4. พณ. ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในช่วงระหว่างการเข้าร่วมประชุมฯ สรุปได้ ดังนี้

ประเทศการดำเนินงาน
(1) ราชอาณาจักรเดนมาร์ก
 
สร้างเครือข่ายทางการค้ากับห้างสรรพสินค้าและซุปเปอร์มาร์เก็ตเพื่อผลักดันความร่วมมือในการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการขายสินค้าไทย เพื่อเปิดตลาดสินค้าพรีเมียม โดยเฉพาะในหมวดสินค้าเกษตรและอาหารซึ่งคาดว่าจะสามารถส่งสินค้าเพื่อจัดจำหน่ายได้ภายใน 3 - 6 เดือน
(2) สาธารณรัฐไอซ์แลนด์
 
เช่น จัดกิจกรรม Top Thai Products Networking เพื่อหารือเกี่ยวกับการจัดกิจกรรส่งเสริมการขายสินค้าไทย การเจรจาจับคู่ธุรกิจ และการจัดแสดงสินค้าไทย เช่น อาหารออร์แกนิก ผลิตภัณฑ์สปา และเครื่องประดับ และมีการมอบประกาศนียบัตร Thai SELECT แก่ร้านอาหารไทย ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถส่งเสริมการส่งออกสินค้าไปยังไอซ์แลนด์ได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10
(3) สหราชอาณาจักรเข้าร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างผู้ประกอบการไทยและสหราชอาณาจักร จำนวน 4 ฉบับ ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าการสั่งซื้อสินค้าไก่แปรรูป ข้าวหอมมะลิ เครื่องปรุงรส และอาหารสำเร็จรูป จำนวน 4,600 ล้านบาท ภายในระยะเวลา 1 ปี นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายสินค้าอาหารไทยและประชาสัมพันธ์ร้านอาหารไทยที่ได้รับมาตรฐาน Thai SELECT ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 500 ล้านบาท ในปี 2566

 
31.  เรื่อง ผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง
                             คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลกสมัยสามัญ ครั้งที่ 12 (The Twelfth Ministerial Conference of World Trade Organization: MC12) และการประชุมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามผลการประชุมดังกล่าวต่อไป และให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหารือเกี่ยวกับประเด็นความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง ตามความเห็นของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ได้ข้อยุติแล้วดำเนินการต่อไปตามที่กระทรวงพาณิชย์ (พณ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   พณ. รายงานว่า การประชุม MC12 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-17 มิถุนายน 2565 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยมีเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำ WTO และองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์) เป็นผู้แทนไทยในการเข้าร่วมประชุม สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
                   1. การกล่าวถ้อยแถลงของประเทศไทย รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้กล่าวถ้อยแถลงของไทยผ่านการบันทึกวีดิทัศน์และเผยแพร่บนเว็บไซต์ WTO ร่วมกับประเทศสมาชิก WTO โดยมีสาระสำคัญว่า ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคซึ่งเป็นการจัดประชุมแบบกายภาพครั้งแรกในรอบ 2 ปี โดยที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคยืนยันสนับสนุนให้การประชุม MC12 สามารถบรรลุผลลัพธ์ร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและสมดุล
                   2. ประเทศสมาชิกสามารถบรรลุฉันทามติร่วมกัน รวม 10 ประเด็น และในส่วนของไทยมีแนวทางการดำเนินงานตามเอกสารผลลัพธ์การประชุม MC12 สรุปได้ ดังนี้

เอกสารผลลัพธ์ MC12สาระสำคัญ/การดำเนินงาน เช่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(1) ข้อตัดสินใจรัฐมนตรี เรื่อง ความตกลงว่าด้วยการอุดหนุนประมง
 
สาระสำคัญ
ห้ามประเทศสมาชิกให้การอุดหนุน (1) เรือประมงหรือผู้ประกอบการประมงหลังจากถูกตัดสินว่ามีการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU Fishing) (2) การทำประมงในกลุ่มสัตว์น้ำที่ถูกจับมากเกินควร ยกเว้นประเทศสมาชิกที่มีการอุดหนุนเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรสัตว์น้ำ และ (3) พื้นที่ทะเลหลวงที่ไม่มีหน่วยงานควบคุมดูแล/เรือประมงที่ไม่ได้ชักธงของรัฐที่ให้การอุดหนุน
การดำเนินงาน
ดำเนินการเจรจาต่อในประเด็นสำคัญของบทบัญญัติเพิ่มเติมเพื่อให้ความตกลงมีความครอบคลุมมากขึ้น
กระทรวงการคลัง (กค.)
กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)
กระทรวงพลังงาน
พณ.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (สคก.)
 
 
(2) ข้อตัดสินใจรัฐมนตรี เรื่อง การดำงานตามความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Agreements on Trade -Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS)
 
สาระสำคัญ
ประเทศกำลังพัฒนาสามารถอนุญาตให้ใช้สิทธิในสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องและจำเป็นเพื่อการผลิตและจัดหาวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  (โควิด-19) โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของสิทธิบัตร และอาจพิจารณาอนุญาตให้ส่งออกวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตภายใต้การอนุญาตตามข้อตัดสินใจฉบับนี้
การดำเนินงาน
การขยายขอบเขตของผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกับการวินิจฉัยและรักษาโควิด-19
กต.
พณ.
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.)
 
(3) ปฏิญญาว่าด้วยการตอบสนองฉุกเฉินต่อความไม่มั่นคงทางอาหารสาระสำคัญ
ประเทศสมาชิกจะทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและปรับปรุงกลไกตลาดโลกของสินค้าอาหารและสินค้าเกษตรให้มีความยืดหยุ่นและการมีมาตรการฉุกเฉินเพื่อรับมือกับความมั่นคงทางอาหารจะต้องทำให้เกิดความบิดเบือนทางการค้าน้อยที่สุด
การดำเนินงาน
จัดทำแผนเพื่อรับมือกับผลกระทบจากแผนการปฏิรูปประเทศพัฒนาน้อยที่สุดและประเทศกำลังพัฒนาที่นำเข้าอาหารเป็นหลัก
กษ.
พณ.
 
(4) ข้อตัดสินใจรัฐมนตรีว่าด้วยการยกเว้นการใช้มาตรการห้ามหรือจำกัดการส่งออกที่จัดซื้อโดยโครงการอาหารโลก
 
สาระสำคัญ/การดำเนินงาน
ไม่บังคับใช้มาตรการห้ามส่งออกหรือจำกัดการส่งออกสินค้าอาหารเพื่อวัตถุประสงค์ด้านมนุษยธรรมที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์ที่จัดซื้อโดยโครงการอาหารโลก เว้นแต่การใช้มาตรการเป็นการชั่วคราวเพื่อรับมือกับวิกฤตขาดแคลน
ด้านอาหาร
กค.
กษ.
พณ.
 
(5) ปฏิญญาเรื่องบทบาทของ WTO ในการรับมือกับโควิด-19 และเตรียมความพร้อมสำหรับโรคระบาดในอนาคต
 
สาระสำคัญ/การดำเนินงาน
วิเคราะห์บทเรียนและประสบการณ์ในการรับมือความท้าทายในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเด็นต่าง ๆ เช่น แนวทางการใช้มาตรการทางการค้าเพื่อรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน การจำกัดการส่งออกสินค้า การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความมั่นคงทางอาหาร และทรัพย์สินทางปัญญา
กค.
กต.
พณ.
สธ.
 
(6) ข้อตัดสินใจรัฐมนตรี เรื่อง การต่ออายุการยกเว้นการฟ้องร้องภายใต้กลไกระงับข้อพิพาทของ WTO เป็นการชั่วคราว กรณีได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์ อันพึงได้รับจากพันธกรณีแม้มิได้มีการละเมิดความตกลง TRIPS
 
สาระสำคัญ/การดำเนินงาน
สานต่อการพิจารณาขอบเขตและรูปแบบคำฟ้องกรณีได้รับความเสียหายหรือเสียประโยชน์อันพึงได้รับจากพันธกรณีแม้มิได้มีการละเมิดความตกลง TRIPS และจัดทำข้อเสนอแนะต่อที่ประชุม MC13
 
พณ.
 
(7) ข้อตัดสินใจรัฐมนตรี เรื่อง แผนการดำเนินการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
 
สาระสำคัญ/การดำเนินงาน
ฟื้นฟูการดำเนินงานตามแผนการด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์และสานต่อการหารือเรื่องการต่ออายุการยกเว้นภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นการชั่วคราว โดยประเทศสมาชิกจะคงแนวปฏิบัติในการไม่เก็บภาษีศุลกากรสำหรับการส่งผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์จนถึงการประชุม MC13
 
กค.
พณ.
(8) ปฏิญญารัฐมนตรี เรื่อง สุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
 
สาระสำคัญ/การดำเนินงาน
จัดทำแผนการดำเนินงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามพันธกรณีภายใต้ความตกลงว่าด้วยการบังคับใช้มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช เช่น การสนับสนุนความมั่นคงทางอาหารโลกและระบบอาหารที่มีความยั่งยืน การสนับสนุนการใช้มาตรฐาน แนวทางปฏิบัติ และคำแนะนำที่พัฒนาโดยองค์การมาตรฐานระหว่างประเทศที่สอดคล้องกัน
กษ.
พณ.
(9) ข้อตัดสินใจรัฐมนตรี เรื่อง แผนการดำเนินงานเกี่ยวกับเศรษฐกิจขนาดเล็ก
 
สาระสำคัญ
จัดทำกรอบการดำเนินงานเพื่อรับมือกับประเด็นด้านการค้าที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจขนาดเล็ก
การดำเนินงาน
หารือเรื่องเศรษฐกิจขนาดเล็กภายใต้คณะกรรมการด้านการค้าและการพัฒนา
พณ.
(10) เอกสารผลลัพธ์การประชุม MC12
 
สาระสำคัญ
มีกลไกระงับข้อพิพาทที่มีประสิทธิภาพและสามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมภายในปี 2567 รวมทั้งสามารถอำนวยความสะดวกในการดำเนินกระบวนการเข้าเป็นภาคีสมาชิก WTO
การดำเนินงาน
- หารือกับประเทศสมาชิก WTO เพื่อให้มีกลไกระบข้อพิพาทที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพภายในปี 2567
- ทำงานร่วมกับประเทศสมาชิก WTO ภายใต้คณะกรรมการด้านการค้าและการพัฒนาในการปรับปรุงการบังคับใช้หลักการปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง
กต.
พณ.
 

 
                   3. ที่ประชุมได้ร่วมรับรองแถลงการณ์ร่วมรัฐมนตรีกลุ่มเคร์นส์ ครั้งที่ 42 โดยมีสาระสำคัญ เช่น  (1) เน้นย้ำถึงความจำเป็นเร่งด่วนเพื่อให้มีความคืบหน้าไปสู่ระบบการค้าขายสินค้าเกษตรที่เป็นธรรมและเป็นไปตามกลไกตลาดด้วยการลดการอุดหนุนและปกป้องการค้าสินค้าเกษตร และ (2) เน้นย้ำในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม ความขัดแย้ง และการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งขอให้ประเทศสมาชิกแก้ไขปัญหาการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตร
 
32. เรื่อง ร่างถ้อยแถลงร่วมการหารือระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี (Joint Statement of the ASEAN – U.S. Ministerial Dialogue on Gender Equality and Women’s Empowerment)
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการต่อร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในการหารือระดับรัฐมนตรีอาเซียน - สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี (Joint Statement of the ASEAN – U.S. Ministerial Dialogue on Gender Equality and Women’s Empowerment) โดยหากมีความจำเป็นต้องแก้ไขเอกสารในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ต่อประเทศไทย ให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ดำเนินการได้ โดยไม่ต้องเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีก รวมทั้งให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือผู้แทนในฐานะรัฐมนตรีอาเซียนด้านสตรี ให้การรับรองร่างถ้อยแถลงร่วมฯ ในการหารือระดับรัฐมนตรีอาเซียน - สหรัฐอเมริกาว่าด้วยความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี (Joint Statement of the ASEAN – U.S. Ministerial Dialogue on Gender Equality and Women’s Empowerment) ตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เสนอ
          สาระสำคัญ
      กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สรุปสาระสำคัญของร่างถ้อยแถลงฯ ดังนี้
1. รัฐมนตรีและผู้นำในการส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ และเสริมพลังสตรีและเด็กผู้หญิงในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และผู้แทนสหรัฐอเมริกาทั่วโลกหารือร่วมกันเพื่อ
1) สนับสนุนคำมั่นในถ้อยแถลงวิสัยทัศน์ร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐอเมริกาสมัยพิเศษ ปี พ.ศ. 2563 และแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินความร่วมมือหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียน - สหรัฐอเมริกา (2564-2568) ในการเสริมพลังสตรีและเด็กผู้หญิงและส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศผ่านการเสริมสร้างความร่วมมือของกลไกต่าง ๆ
2) ตระหนักถึงความเข้าใจของอาเซียนและสหรัฐอเมริกาต่อความสำคัญในการบูรณาการประเด็นความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี ในกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และแผนงาน รวมถึงการกำกับดูแลระดับต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาที่ครอบคลุมและยั่งยืน
3) ยืนยันถึงการสนับสนุนกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งเคารพอธิปไตยและบูรณภาพแห่งดินแดนเป็นหลักการสำคัญยิ่งในการสนับสนุนสตรีที่มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ในกำลังแรงงาน
4) เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการขจัดความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศที่เพิ่มจำนวนขึ้น จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และการวิกฤติสภาพภูมิอากาศในอาเซียน และในสหรัฐอเมริกา
5) เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสตรีและการมีส่วนร่วมของกำลังแรงงานทั่วทั้งภูมิภาคอาเซียน รวมถึงการจัดการกับความไม่เสมอภาคระหว่างเพศ ในการเข้าถึงทรัพยากรและห่วงโซ่อุปทาน ช่องว่างรายจ่ายและความมั่งคั่ง ผลกระทบระยะยาวของการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และผลกระทบระยะยาวต่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจของสตรีและการมีส่วนร่วมในแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบาง
6) เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการส่งเสริมการมุ่งเน้นที่สตรี สันติภาพ และความมั่นคงในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างความเสมอภาคระหว่างเพศและความมั่นคงในภูมิภาค รวมถึงการเพิ่มความสามารถของประเทศสมาชิกอาเซียนในการตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านความปลอดภัยทั้งมวล
7) คำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างการส่งเสริมหลักการข้อมติ UNSCR 1325 ว่าด้วยสตรี สันติภาพ และความมั่นคง ไปสู่การบรรลุพันธกรณีของอาเซียนในการส่งเสริมสันติภาพ เสถียรภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และการพัฒนาที่ยั่งยืนในภูมิภาค
2. อาเซียนและสหรัฐอเมริกา ร่วมกันดำเนินการเพื่อพัฒนาความเสมอภาคระหว่างเพศ และการเสริมสร้างพลังสตรีและเด็กผู้หญิง ดังนี้:
1) ปฏิบัติตามพันธกรณีที่ระบุไว้ในกรอบแนวคิดเรื่องการมีส่วนร่วมระหว่างอาเซียนกับสหรัฐอเมริกาในเรื่องความเสมอภาคระหว่างเพศและการเสริมพลังสตรี
2) ร่วมมือในการดำเนินการตามกรอบยุทธศาสตร์การบูรณาการระหว่างเพศของอาเซียน และดำเนินการตามแผนงานของคณะกรรมการอาเซียนด้านสตรี (ACW) 2564 - 2568 และกรอบการทำงานและแผนงานของอาเซียนที่เกี่ยวข้อง
3) เสริมพลังสตรีและสนับสนุนผู้รอดชีวิตจากความรุนแรงด้วยเหตุแห่งเพศ ผ่านความร่วมมือรวมถึงการให้บริการที่ครอบคลุม
4) เสริมสร้างความร่วมมือในการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยและปลอดภัยสำหรับงานที่ดีและ มีเกียรติ และส่งเสริมการเสริมพลังทางเศรษฐกิจของสตรี
5) ร่วมมือกันในการมุ่งสู่การดำเนินการตามข้อเสนอแนะที่ระบุไว้ในการศึกษาระดับภูมิภาคของอาเซียนว่าด้วยสตรี สันติภาพ และความมั่นคง รวมถึงความจำเป็นในการบูรณาการประเด็นผู้หญิง สันติภาพ และความมั่นคงเข้าสู่กระแสหลัก และความจำเป็นในการลงทุนอย่างต่อเนื่องในความเป็นผู้นำสตรี
 
33.  เรื่อง การรับรองร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุมระดับโลกว่าด้วยนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก (Mondiacult 2022)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุม Mondiacult 2022
และอนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมหรือผู้แทนที่ได้รับมอบหมาย รับรองร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุม Mondiacult 2022 ทั้งนี้หากมีการปรับเปลี่ยนถ้อยคำของร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุม Mondiacult 2022 ที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสาระสำคัญหรือที่ไม่ขัดต่อผลประโยชน์ของประเทศไทย ให้กระทรวงวัฒนธรรมสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้งตามที่กระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   1. ความเป็นมาของการประชุม การประชุม Mondiacult 2022 จะจัดขึ้นแบบเข้าร่วม ณ สถานที่จัดประชุม (on-site) ณ กรุงเม็กซิโกซิตี้ สหรัฐเม็กซิโก โดยมีผู้อำนวยการใหญ่องค์การยูเนสโกเป็นประธานและรัฐบาลสหรัฐเม็กซิโกเป็นเจ้าภาพ การประชุมดังกล่าวเป็นการสนทนาในระดับรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายด้านวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลกตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 (2030 Agenda for Sustainable Development) โดยมีจุดประสงค์เพื่อระบุพื้นที่สำคัญสำหรับการพัฒนาภาควัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกมีการปรับนโยบายทางวัฒนธรรมเพื่อรับมือความท้าทายร่วมสมัย ทั้งนี้ ที่ผ่านมามีการจัดการประชุม Mondiacult แล้วสองครั้ง กล่าวคือครั้งแรกที่กรุงเม็กซิโกซิตี้ (สหรัฐเม็กซิโก) ในปี พ.ศ. 2525 และครั้งที่สองที่กรุงสตอกโฮล์ม (ราชอาณาจักรสวีเดน) ในปี พ.ศ. 2541 ซึ่งการประชุมที่ผ่านมาดังกล่าวเป็นการรวบรวมแนวความคิดเกี่ยวกับคำจำกัดความของมรดกทางวัฒนธรรม การแสดงออกทางวัฒนธรรม การสร้างสรรค์ และความสำคัญต่อมนุษย์และสังคม อันเป็นที่มาของอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองมรดกวัฒนธรรมใต้น้ำ ค.ศ. 2001 อนุสัญญาว่าด้วยการสงวนรักษามรดกวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ใด้ ค.ศ. 2003 และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม ค.ศ. 2005 ของยูเนสโก
                   กระบวนการที่ผ่านมาก่อนถึงกำหนดการประชุม Mondiacult 2022 นั้น เริ่มจากองค์การยูเนสโกได้จัดการประชุม The UNESCO Regional Consultation on Cultural Policies อันเป็นการหารือในระดับภูมิภาคเพื่อเตรียมการนำเสนอในที่ประชุม Mondiacult 2022 ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรมได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก เมื่อวันที่ 11 - 12 มกราคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกลต่อมา องค์การยูเนสโกได้จัดการประชุมชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการประชุม Mondiacult 2022 ขึ้นสองครั้ง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2565 และ 16 กรกฎาคม 2565 ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งกระทรวงวัฒนธรรม
ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมดังกล่าวทั้งสองครั้งเช่นกัน
                   อย่างไรก็ดี กระทรวงวัฒนธรรมได้รับแจ้งจากองค์การยูเนสโกว่าเนื่องจากความแตกต่างของเวลา ณ ประเทศไทยและเวลา ณ กรุงเม็กซิโก รวม 12 ชั่วโมง คณะผู้แทนไทยสามารถเข้าร่วมการประชุมMondiacult 2022 ผ่านระบบการประชุมทางไกล รวมทั้งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมสามารถกล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมดังกล่าวโดยการบันทึกเทปได้ โดยขอให้พิจารณาเลือกหัวข้อในการกล่าวถ้อยแถลงจาก  4 หัวข้อหลักของการประชุม กล่าวคือ 1) นโยบายวัฒนธรรมที่ได้รับการปรับปรุงใหม่และมีความเข้มแข็ง 2) วัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 3) แหล่งมรดกและความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ
และ 4) อนาคตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์
                   2. การเข้าร่วมประชุมของคณะผู้แทนไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมรับเชิญเข้าร่วมการประชุม Mondiacult 2022 ร่วมกับคณะผู้แทนกระทรวงวัฒนธรรมผ่านระบบการประชุมทางไกลโดยพิจารณาเลือกกล่าวถ้อยแถลงในหัวข้อ “อนาคตของเศรษฐกิจสร้างสรรค์” เพื่อให้สอดคล้องกับการยกระดับบทบาทของกระทรวงวัฒนธรรมเป็นกระทรวงสังคมกึ่งเศรษฐกิจที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
                   3. สาระสำคัญของร่างปฏิญญาฉบันสุดท้าย ร่างปฏิญญาฉบับสุดท้ายของการประชุม Mondiacult 2022 เป็นการทบทวนและเรียบเรียงขึ้นจากผลการหารือระหว่างประเทศสมาชิกตลอดทั้งกระบวนการ ตั้งแต่การหารือในระดับภูมิภาคไปจนถึงการหารือเกี่ยวกับร่างปฏิญญาฉบับก่อนหน้าทั้งหมดมีสาระสำคัญเกี่ยวกับลำดับความสำคัญต่าง ๆ ในด้านวัฒนธรรมอันจำเป็นต่อการพัฒนาภาควัฒนธรรมและ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของประเทศสมาชิก เพื่อเป็นการรับรองถึงเจตนารมณ์ของการประชุมดังกล่าวในการทบทวนและปรับนโยบายทางวัฒนธรรมเพื่อรับมือกับความท้าทายร่วมสมัย และเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนทั่วโลกตามวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ. 2030 ทั้งนี้ จะมีการนำเสนอร่างปฏิญญาดังกล่าวให้ที่ประชุม Mondiacult 2022 รับรองต่อไป
 
34. เรื่อง บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง – ล้านช้าง ประจำปี   พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบต่อบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นที่ต้องแก้ไขปรับปรุงบันทึกความเข้าใจดังกล่าวในประเด็นที่ไม่ใช่สาระสำคัญหรือไม่ขัดผลประโยชน์ของไทย ให้กระทรวงสาธารณสุขสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอีกครั้ง รวมทั้งอนุมัติให้ปลัดกระทรวงสาธารณสุขหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายเป็นผู้ลงนาม ในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้าง ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เสนอ
                   สาระสำคัญของเรื่อง
                   บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านช้างประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขกับสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เป็นการกำหนดรายละเอียดสำหรับการดำเนินโครงการภายใต้กองทุนพิเศษแม่โขง - ล้านข้าง ประจำปี 2565 ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
                   1. หลักการเบื้องต้น มุ่งวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดสันติภาพและความมั่งคั่งในอนาคตต่อสมาชิกแม่โขง - ล้านข้าง โดยเคารพกฎหมายและกฎระเบียบของทั้งประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนและร่วมกันติดตามประเมินโครงการและการใช้งบประมาณจากกองทุน
                   2. โครงการที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ (1) โครงการ Improving Maternal and Child Health System in Remote Area and Bordering Thailand-Lao PDR จำนวนเงิน 46,200 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ และ (2) โครงการ Current Status of Blood & Liver Fluke and Other Parasite Infection along the Mekong River in Thailand, Lao PDR and Cambodia จำนวนเงิน 237,700 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ
                   3. การส่งมอบงบประมาณและการบริหารจัดการ สาธารณรัฐประชาชนจีนจะส่งมอบงบประมาณสำหรับดำเนินโครงการภายใน 20 วันหลังจากการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ และฝ่ายไทย โดยกระทรวงสาธารณสุขจะแจ้งฝ่ายจีนอย่างเป็นทางการภายใน 10 วันหลังได้รับงบประมาณ
                   ทั้งนี้ โครงการ Improving Maternal and Child Health system in Remote Area and Bordering Thailand-Lao PDR จะช่วยให้มีการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพแม่และเด็กในพื้นที่ห่างไกลและพื้นที่ในเขตชายแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านสาธารณสุข และส่งเสริมการดำเนินงานด้านสาธารณสุขระหว่างไทยและประเทศเพื่อนบ้านและโครงการ Current Status of Blood & Liver Fluke and other Parasite Infection along the Mekong
River in Thailand, Lao PDR and Cambodia จะทำให้มีข้อมูลสำคัญที่เป็นปัจจุบัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนป้องกันพยาธิใบไม้เลือดและตับและพยาธิชนิดอื่น ๆ ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน
                   4. การควบคุมดูแลและประเมินผลโครงการ กระทรวงสาธารณสุขจะควบคุมดูแลการดำเนินโครงการให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งตรวจสอบการดำเนินโครงการอย่างสม่ำเสมอ และอาจมีการตรวจสอบการดำเนินโครงการเมื่อเสร็จสิ้นแล้ว รวมทั้งดำเนินการเบิกจ่ายให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน และคืนงบประมาณส่วนที่เหลือให้แก่ฝ่ายจีนภายใน 3 เดือน หลังจบโครงการ
                   ทั้งนี้ บันทึกความเข้าใจฯ ไม่ก่อให้เกิดผลผูกพันทางกฎหมายต่อทั้งสองฝ่ายและไม่เป็นสนธิสัญญาภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ
 

แต่งตั้ง

35. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ (กระทรวงสาธารณสุข)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับทรงคุณวุฒิ จำนวน 2 ราย ตั้งแต่วันที่มีคุณสมบัติครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ 
                   1. นางปิยรัชต์ สันตะรัตติวงศ์ นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขากุมารเวชกรรม) กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 30 กันยายน 2564
                   2. นางชินมนัส เลขวัต นายแพทย์เชี่ยวชาญ (ด้านเวชกรรม สาขาตจวิทยา) กลุ่มงานพยาธิวิทยาคลินิกและเทคนิคการแพทย์ ภารกิจด้านวิชาการและการแพทย์ สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ดำรงตำแหน่ง นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ (ด้านเวชกรรม สาขาตจวิทยา) สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
36. เรื่อง ปรับปรุงองค์ประกอบในคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ประธานกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ เสนอทบทวนมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2562 [เรื่อง คณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยมติคณะรัฐมนตรีของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.)] โดยขอปรับปรุงองค์ประกอบของคณะกรรมการนโยบายและพัฒนาสับปะรดแห่งชาติ โดยแต่งตั้งนายสุรศักดิ์ เหลืองอร่ามกุล ผู้แทนจากสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ แทนนางสาวณัฐภัทร ถวัลยโพธิ ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ขอลาออก ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565 เป็นต้นไป
 
37. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงวัฒนธรรม)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรมเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงวัฒนธรรม ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 2 ราย เพื่อสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้ 
                   1. นายกฤษฎา คงคะจันทร์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   2. นางโชติกา อัครกิจโสภากุล ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวงดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งเป็นต้นไป
 
38. เรื่อง การแต่งตั้งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเสนอการแต่งตั้ง นายก้องศักด ยอดมณี ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ตามมติคณะกรรมการ กกท. ครั้งที่ 7/2565 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2565 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2569
 
39. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการการเมือง (สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายไชยยศ  จิรเมธากร ให้ดำรงตำแหน่งข้าราชการการเมือง ตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง  (รองนายกรัฐมนตรี นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์) ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565 เป็นต้นไป
 
40. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี
                   คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอแต่งตั้ง นายนราพัฒน์ แก้วทอง เป็นกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่นายกรัฐมนตรีลงนามในประกาศแต่งตั้ง
 
41. เรื่อง การแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอแต่งตั้ง 1. พลเอก วรภพ ถาวรแก้ว  2. พลเอก วัลลภ รักเสนาะ และ 3. พลเอก วิจารณ์ จดแตง เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการกำลังพลสำรอง ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565 เป็นต้นไป
 
42. เรื่อง แต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอแต่งตั้งประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน รวม 6 คน เนื่องจากประธานกรรมการ กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเดิมได้ดำรงตำแหน่งครบวาระสามปี ดังนี้
                   1. นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล                     ประธานกรรมการ
                   2. นางวารุณี สกุลรัตนธารา                  กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน 
                   3. นายสังคม เจริญทรัพย์                              กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน  
                   4. นางสาวจรรยา กลัดล้อม                  กรรมการผู้แทนองค์กรชุมชน  
                   5. นางวิภาภรณ์ ชัยรัตน์                     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   6. นายปรนนท์ ฐิตะวรรโณ                  กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
                   ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 27 กันยายน 2565 เป็นต้นไป
 
43. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงการคลัง)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงการคลัง ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 5 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ และสับเปลี่ยนหมุนเวียน ดังนี้
                   1. นายจำเริญ โพธิยอด รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมธนารักษ์
                   2. นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   3. นางวรนุช ภู่อิ่ม ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   4. นายเอด วิบูลย์เจริญ ที่ปรึกษาด้านหนี้สาธารณะ (เศรษฐกรทรงคุณวุฒิ) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง
                   5. นายชาญวิทย์ นาคบุรี ที่ปรึกษาด้านการประเมินผลรัฐวิสาหกิจ (นักวิเคราะห์รัฐวิสาหกิจทรงคุณวุฒิ) สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง      
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 
44. เรื่อง การแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง (กระทรวงเกษตรและสหกรณ์)
                   คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญ สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารระดับสูง จำนวน 6 ราย เพื่อทดแทนผู้ดำรงตำแหน่งที่จะเกษียณอายุราชการ สับเปลี่ยนหมุนเวียน และตำแหน่งที่จะว่าง ดังนี้ 
                   1. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมปศุสัตว์ 
                   2. นายปราโมทย์ ยาใจ อธิบดีกรมหม่อนไหม ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน 
                   3. นายประกอบ เผ่าพงศ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง อธิบดีกรมหม่อนไหม
                   4. นายอภัย สุทธิสังข์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง  
                   5. นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง   
                   6. นายสุรเดช สมิเปรม ผู้ตรวจราชการกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง   
                   ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้ง
 

................................