วันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีน โควิด-19

 

แม้จะก้าวย่างเข้าสู่ปีที่สองของการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แล้ว สถานการณ์การระบาดของโรคยังไม่มีทีท่าจะสิ้นสุดในระยะเวลาอันสั้น วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ถือเป็นความหวังสูงสุดในการหยุดการติดต่อของโรคร้ายนี้ ประเทศไทยได้เริ่มการฉีดวัคซีนโควิด-19 ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นมา อย่างไรก็ตามผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นประเด็นที่ประชาชนให้ความสำคัญอย่างยิ่ง บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนฉบับนี้ ขอนำเสนอข้อมูล "ภาวะหลอดเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีนโควิด-19" เพื่อให้ประชาชนเข้าใจและสังเกตอาการตนเอง เพื่อเฝ้าระวังผลข้างเคียงภายหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 และหากเกิดอาการ สามารถขอเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีครับ
1. ลิ่มเลือดและภาวะการเกิดลิ่มเลือดคืออะไร เกิดจากสาเหตุใดได้บ้าง
การเกิดลิ่มเลือดเป็นกลไกการตอบสนองของร่างกาย ในภาวะเมื่อเรามีบาดแผลเกิดขึ้น เกล็ดเลือดจะทำหน้าที่รวมกลุ่มกันจนกลายเป็นลิ่มเลือดเพื่อทำให้เลือดหยุด ส่วนสาเหตุการเกิดลิ่มเลือดอุดตันนั้น เกิดจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. ผนังหลอดเลือดผิดปกติ เช่น เกิดบาดแผลจากของมีคม การผ่าตัดทำหัตถการอาจทำให้หลอดเลือดบางส่วนเสียหาย หรือ แม้แต่การเกิดลิ่มเลือดจากภาวะไขมันเกาะผนังเส้นเลือด 2. การไหลเวียนของเลือดผิดปกติ เช่น การไหลเวียนเลือดช้าลง เม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวอาจเกิดการอุดตันจนเกิดลิ่มเลือดในที่สุด 3. การแข็งตัวของเกล็ดเลือดผิดปกติ เช่น การขาดสารต้านการแข็งตัวของเลือด (anti-coagulation factors) หรือร่างกายขาดโปรตีนในการยับยั้งการแข็งตัวของเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ง่าย ปกติภาวะลิ่มเลือดอุดตันพบในกลุ่มประชากรสูงวัยมากกว่าในอายุน้อยและส่วนใหญ่จะพบลิ่มเลือดอุดตันในบริเวณขาและปอด

2. ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำภายหลังฉีดวัคซีนคืออะไร
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีน หรือ Vaccine-Induced immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT) มีการรายงานครั้งแรกในทวีปยุโรปหลังผู้ป่วยได้รับวัคซีนโควิด-19 และการอุดตันของลิ่มเลือดจะเกิดในตำแหน่งที่พบน้อยกว่าการเกิดลิ่มเลือดด้วยสาเหตุอื่น ๆ เช่น หลอดเลือดดำในสมองหรือในช่องท้อง นอกจากนั้นยังมีภาวะเกล็ดเลือดต่ำร่วมด้วย ซึ่งจะคล้ายกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำและหลอดเลือดอุดตันในผู้ป่วยที่ได้รับเฮปาริน (heparin) หรือเรียกว่า heparin-induced thrombocytopenia (HIT) แต่ภาวะ VITT เกิดขึ้นในคนไข้ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ซึ่งไม่มีประวัติการได้รับเฮปาริน

3. ลิ่มเลือดอุดตันหลังการฉีดวัคซีนโควิด-19 มีอาการอย่างไร
เนื่องจากลิ่มเลือดสามารถเกิดได้ในหลายบริเวณของร่างกาย ดังนั้นอาการที่เกิดขึ้นจะเปลี่ยนแปลงไปตามอวัยวะที่ลิ่มเลือดไปอุดตัน เช่น ในปอด จะมีอาการเจ็บหน้าอกแปล๊บๆ หายใจไม่อิ่มและเหนื่อยง่าย บริเวณขา จะเกิดอาการขาบวมข้างเดียว ในท้องจะเกิดอาการปวดท้องรุนแรง ส่วนในอวัยวะที่สำคัญต่อชีวิต (vital organs) เช่น เส้นเลือดสมองจะเกิดอาการปวดศีรษะรุนแรง เมื่อ ไอ จาม จะปวดมากขึ้น และ อาจมีภาวะอ่อนแรง ชาซีกเดียวคล้าย stroke ก็ได้ หากเกิดที่เส้นเลือดหัวใจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หากไม่ได้รับการวินิจฉัยหรือรักษาอย่างทันท่วงที อาจทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้

4. วัคซีนโควิด-19 ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้อย่างไร
ปัจจุบันสาเหตุการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับภาวะเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีนโควิด-19 ยังไม่ทราบแน่ชัด แพทย์และผู้เชี่ยวชาญสันนิษฐานว่า เป็นผลจากวัคซีนโควิด-19 ไปเพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และภูมิคุ้มกันดังกล่าวนี้กระตุ้นการทำงานของเกล็ดเลือด เกิดเป็นลิ่มเลือดไปอุดเส้นเลือดในอวัยวะต่าง ๆ นอกจากนั้นยังทำให้ปริมาณเกล็ดเลือดในร่างกายลดลงเนื่องจากเกล็ดเลือดส่วนใหญ่ถูกนำไปใช้การสร้างลิ่มเลือดในขึ้นตอนแรก ในผู้ป่วยจะสามารถตรวจพบ anti-platelet factor 4 (anti-PF-4)/ heparin antibody คล้ายกับภาวะ heparin-induced thrombocytopenia (HIT) ซึ่งปัจจุบันไม่พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันและเกล็ดเลือดต่ำในผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนชนิดอื่นใด นอกจากพบในผู้ป่วยที่ได้รับวัคซีนโควิด-19

5. ลิ่มเลือดอุดตันหลังจากการฉีดวัคซีนโควิด-19 พบบ่อยแค่ไหน ท่านใดบ้างที่ต้องระวัง
ภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำจากวัคซีน หรือ Vaccine-Induced immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT) เกิดขึ้นได้ในอัตราส่วน 1:125,000 - 1:1,00,000 กล่าวคือ ในผู้รับวัคซีน 1 ล้านคน จะพบภาวะลิ่มเลือดอุดตันจากวัคซีนโควิด-19 จำนวนเฉลี่ย 3.6 คน (ข้อมูลวันที่ 8 มิถุนายน 2564)11 และส่วนใหญ่พบในหญิงที่มีอายุน้อยกว่า 55 ปี ซึ่งอุบัติการถือว่าน้อยมากและประโยชน์จากการฉีดวัคซีนมีมากกว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลในประเทศไทยยังต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันทางสถิติภาวะ VITT กับการได้รับวัคซีนชนิดต่าง ๆ ที่ได้รับอนุมัติให้ฉีดในไทย เนื่องจากการฉีดวัคซีนในประเทศพึ่งเริ่มต้นขึ้น

6. ผู้ได้รับวัคซีนโควิด-19 จะสังเกตอาการตัวเองได้อย่างไรว่า มีอาการลิ่มเลือดอุดตัน
หลังฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นเวลา 30 นาที ผู้ได้รับวัคซีนอาจจะมีไข้ต่ำ ๆ หรือ ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย มีผื่นเล็กน้อย อาการเหล่านี้จะหายได้เองภายใน 2-3 วัน ส่วนอาการ ลิ่มเลือดอุดตัน จะเกิดในช่วงเวลา 5-42 วันหลังได้รับวัคซีน11 โดยหากท่านใดมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปวดศีรษะรุนแรง แขนขาชา หรือ อ่อนแรง หน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด ตามัว เห็นภาพซ้อน ซัก เหนื่อยง่าย หายใจลำบากหรือติดขัด เจ็บแน่นหน้าอก ขาบวมแดงหรือซีดเย็น ปวดท้องหรือปวดหลังรุนแรง ให้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุและรักษาในสถานพยาบาลที่ท่านรักษาตัวเป็นประจำ

7. หากเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ แพทย์จะรักษาเราอย่างไร
หากผู้ป่วยมีเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับค่าสารบ่งชี้ทางชีวภาพ d-dimer สูงซึ่งจากการสลายของโปรตีนไฟบริน หรือมีเกล็ดเลือดต่ำร่วมกับลิ่มเลือดอุดตันภายใน 5-42 วันหลังฉีดวัดซีนโควิด-19 เนื่องจากการตรวจยืนยันภาวะ VITT ต้องทำในห้องปฏิบัติการที่ซับซ้อน ระหว่างรอผลวินิจฉัย แพทย์จะให้สารอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำ (intravenous immunoglobulin, IVIG) และอาจให้ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ เช่น methylprednisolone หรือ prednisolone นอกจากนั้นแล้วแพทย์อาจให้ยาต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือดหรืออาจรักษาด้วยวิธีแลกเปลี่ยนพลาสมา

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.healthydee.moph.go.th/

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

สินค้า MiT คืออะไร

 

สินค้า MiT คือ สินค้าผลิตในประเทศไทย (Made in Thailand)
- ผลิตจากโรงงาน/ธุรกิจที่จดทะเบียน มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่ถูกต้องชัดเจนในประเทศไทย
- คุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
- มีเอกสารรับรอง MiT หรือมีเครื่องหมายที่ ส.อ.ท. ออกให้แก่ผู้ประกอบการ

การจัดซื้อจัดจ้างต้องใช้สินค้าผลิตในไทย 60%
จัดซื้อจัดจ้าง "ต้องซื้อ" วัสดุที่ผลิตในไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของมูลค่าวัสดุที่ใช้ในงานนี้
จัดจ้างก่อสร้าง "ต้องใช้" วัสดุ/ครุภัณฑ์ที่ผลิตในไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งหมด และ "ต้องใช้" ใช้เหล็กในงานก่อสร้างที่ผลิตในไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ของปริมาณเหล็กที่ใช้ทั้งหมด

  ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

วันศุกร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

Coronavirus ก็มีในคอมพิวเตอร์

 


นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากหลายแห่งเริ่มรายงานว่าขณะนี้มีมัลแวร์ที่ตั้งชื่อว่า COVID-19 หรือ Coronavirus หลายตัวกำลังระบาด โดยมีพฤติกรรมแตกต่างกันไป ดังนี้

กลุ่มแรกเป็นกลุ่มที่แก้ไข MBR (Master Boot Record) ของฮาร์ดดิสก์ โดยมัลแวร์ตัวนี้จะแสดงผลรูป coronavirus (ของจริง) ขึ้นมาบนหน้าจอซึ่งไม่ให้ผู้ใช้กดปิด และเปิด Task Manager ไม่ได้ ระหว่างนั้นมันจะเข้าไปแก้ไข MBR แล้วรีบูทเครื่อง ทำให้ผู้ใช้บูทเครื่องไม่ได้ สามารถแก้ไขโดยใช้ซอฟต์แวร์พิเศษที่ช่วยแก้ไข MBR ให้กลับมาเป็นเหมือนเดิม

กลุ่มต่อมามีพฤติกรรมหนักกว่า ใช้ชื่อว่า "CoronaVirus ransomware" โดยเบื้องหน้าจะแสดงตนว่าเป็นมัลแวร์เรียกค่าไถ่แต่จริงๆ แล้วเบื้องหลังมันจะขโมยรหัสผ่านที่เก็บไว้ในเครื่องผู้ใช้ หลังจากนั้นก็แก้ไข MBR ซ้ำอีกที

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.blognone.com

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

ฟ้าทะลายโจรใช้อย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัยในช่วง COVID-19

 


ฟ้าทะลายโจร สมุนไพรที่คนไทยคุ้นเคยมาตั้งแต่โบราณ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Andrographis paniculata และมีสารออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ Andrographolide ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ฟ้าทะลายโจรเป็นหนึ่งในยาสมุนไพรที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลาย จึงมีความสำคัญว่าเราจะใช้ฟ้าทะลายโจรอย่างไรให้ได้ผลและปลอดภัย
1. ข้อบ่งใช้ของฟ้าทะลายโจร

- การใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยโรคโควิด 19 ที่มีความรุนแรงน้อยเพื่อลดการเกิดโรคที่รุนแรง ให้แบ่งรับประทานในขนาดที่มีปริมาณสารสำคัญคือ Andrographolide 180 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยแบ่งให้รับประทานวันละ 3 ครั้ง (ครั้งละ 60 มิลลิกรัม) หลังอาหาร เช้า กลางวัน และ เย็น ติดต่อกันนาน 5 วัน

- การใช้ฟ้าทะลายโจรใน ผู้ป่วยที่ตรวจพบเชื้อโควิด-19 แต่ไม่มีอาการ ให้ใช้ฟ้าทะลายโจรในขนาดที่มีปริมาณสารสำคัญคือ Andrographolide 60 มิลลิกรัม ต่อวัน โดยแบ่งให้รับประทานวันละ 3 (ครั้งละ 20 มิลลิกรัม) หลังอาหาร เช้า กลางวัน และเย็น ติดต่อกันนาน 5 วัน

ในปัจจุบันไม่มีข้อแนะนำให้ใช้ฟ้าทะลายโจรในการป้องกันโรคโควิด-19 เพราะยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่าฟ้าทะลายโจรสามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้

- การใช้ฟ้าทะลายโจรฒเพื่อเสริมภูมิคุ้มกัน ให้ใช้สารสกัดฟ้าทะลายโจรที่มีปริมาณ Andrographolicde 10 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง นาน 5 วัน เว้น 2 วัน และใช้ต่อเนื่องกันไม่เกิน 12 สัปดาห์

- การใช้ฟ้าทะลายโจรเพื่อบรรเทาอาการของโรคหวัด เช่น ไอ เจ็บคอ มีน้ำมูกไหล โดยให้รับประทานในขนาดที่มีปริมาณ Andrographolide 60-120 มิลลิกรัมต่อวัน โดยแบ่งให้วันละ 3 ครั้ง (ครั้งละ 20 -40 มิลลิกรัม)ทั้งนี้ในบัญชียาหลักแห่งชาติฉบับปี พ.ศ. 25544 ได้ระบุข้อห้ามใช้ว่า ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรสำหรับแก้เจ็บคอจากติดเชื้อ Streptococcus group A และ ห้ามใช้ฟ้าทะลายโจรในผู้ป่วยดังต่อไปนี้ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคไตอักเสบ เนื่องจากเคยติดเชื้อ Streptococcus group A, ผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเนื่องจากมีการติดเชื้อแบคทีเรียและมีอาการรุนแรง เช่น มีตุ่มหนองในคอ มีไข้สูง และหนาวสั่น และ ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคหัวใจรูห์มาติค และยังมีข้อแนะนำว่าหากใช้ฟ้าทะลายโจรติดต่อกัน 3 วัน แล้วไม่หาย หรือ มีอาการรุนแรงขึ้นระหว่างใช้ยาควรหยุดใช้และพบแพทย์

2. ใครบ้างที่ไม่ควรใช้ฟ้าทะลายโจร

- ห้ามใช้ในหญิงตั้ครรภ์ และ หญิงให้นมบุตรเพราะอาจทำให้ทารกวิกลรูปได้

- ห้ามใช้ผู้ที่มีประวัติแพ้ ฟ้าทะลายโจร หากใช้แล้วมีอาการแพ้ เช่น เกิดผื่น หน้าบวม ริมฝีปากบวม แน่นหน้าอก หายใจลำบาก ให้หยุดยาทันทีและไปพบแพทย์

- ไม่ควรใช้ในผู้ป่วยโรคตับหรือโรคไต

3. เมื่อรับประทานฟ้าทะลายโจรแล้วอาจเกิดอาการใดได้บ้าง?

- อาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงที่พบได้บ่อยจากการใช้ฟ้าทะลายโจร ได้แก่ อาการทางระบบทางเดินอาหารและระบบผิวหนัง เช่น ปวดท้อง ท้องเดิน คลื่นไส้ เบื่อ อาหาร วิงเวียนศีรษะ ใจสั่น และอาจเกิดลมพิษได้

- อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรงจากฟ้าทะลายโจร คิดเป็นประมาณ 103 คนต่อ 1,000 คน กล่าวคือในผู้ที่รับประทานฟ้าทะลายโจร 1,000 คน 103 คนจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่ไม่รุนแรง

- การรับประทานฟ้าทะลายโจรเป็นเวลานาน อาจทำให้มีอาการแขนขาชา หรืออ่อนแรง หรือรู้สึกหนาวเย็นภายใน

- อาการรุนแรงที่สามารถพบได้จากการใช้ฟ้าทะลายโจร ได้แก่ anaphylactic reaction ซึ่งเป็นปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันส่งผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายพร้อมกัน ซึ่งอาจมีความรุนแรงจนเป็นอันตรายถึงชีวิต

- อัตราการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรงจากฟ้าทะลายโจรคิดเป็น 0.02 ต่อ 1,000 คน กล่าวคือ ในผู้ที่รับประทานฟ้าทะลายโจร 100,000 คน 2 คนจะเกิดอาการไม่พึงประสงค์ที่รุนแรง

4. ควรระวังการรับประทานฟ้าทะลายโจรร่วมกับยาใดบ้าง

- ยากันเลือดเป็นลิ่ม (anticoagulant drugs) เช่น warfarin

- ยาต้านการจับตัวของเกล็ดเลือด (antiplatelet drugs) เช่น aspirin, clopidogrel

- ยาลดความดัน (antihypertensive drugs) เพราะเสริมฤทธิ์กันอาจทำให้หน้ามืดได้ ยาที่มีกระบวนการเมทาบอลิซึมผ่านเอนไซม์ cytochrome P450 (CYP) เนื่องจากฟ้าทะลายโจรมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ CYP1A2, CYP2C9 และ CYP3A4 ส่งผลให้ยาเหล่านี้อยู่ในร่างกายได้นานขึ้น ออกฤทธิ์ได้นานขึ้น หรืออาจเกิดผลข้างเคียงที่มากขึ้นได้ ดังตัวอย่างแสดงในตารางต่อไปนี

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.healthydee.moph.go.th/

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

คู่มือการพิมพ์หนังสือราชการโดยใช้ Microsoft Office Word

 


  การพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทย การจัดทำกระดาษตราครุฑและกระดาษบันทึกข้อความโดยใช้โปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์ ให้จัดทำให้ถูกต้องตามแบบของกระดาษตราครุฑ (แบบที่ 28) และแบบของกระดาษบันทึกข้อความ (แบบที่ 29) ท้ายระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ  พ.ศ.2526

          1. การตั้งค่าในโปรมแกรมการพิมพ์

                   1.1 การตั้งระยะขอบกระดาษ

                             - ขอบซ้าย 3 เซนติเมตร

                             - ขอบขวา  2 เซนติเมตร

                             - ขอบบน 2.5 เซนติเมตร

                             - ขอบล่างประมาณ 2 เซนติเมตร

                   1.2 การตั้งระยะบรรทัด ให้ใช้ค่าระยะบรรทัดปกติคือ 1 เท่า หรือ Single

                         ในกรณีที่มีความจำเป็น อาจปรับระยะเป็น 1.05 พอยท์ หรือ 1.1 พอยท์ ได้ตามความเหมาะสม โดยให้คำนึงถึงความสวยงามและรูปแบบหนังสือเป็นสำคัญ (ระยะ 1.05 พอยท์ หรือ 1.1 พอยท์ จะสวยงาม อ่านง่ายและสบายตากว่าระยะ 1 เท่า หรือ Single)

                   1.3 การกั้นค่าไม้บรรทัดระยะการพิมพ์ อยู่ระหว่าง 0-16 เซนติเมตร (หน้ากระดาษ A4 เมื่อตั้งระยะขอบซ้าย 3 เซนติเมตร ขอบขวา 2 เซนติเมตร จะเหลือพื้นที่สำหรับการพิมพ์ มีความกว่าง 16 เซนติเมตร)

          2. ขนาดตราครุฑ

                   2.1 ตราครุฑ 3 เซนตเมตร ใช้สำหรับการจัดทำกระดาษตราครุฑ

                         ตราครุสูง 1.5 เซนติเมตร ใช้สำหรับการจัดทำกระดาษบันทึกข้อความ

                   2.2 การวางตราครุฑให้วางห่างจากขอบกระดาษบนประมาณ 2.5 เซนติเมตร (เผื่อพื้นที่สำหรับประทับตราหนังสือ และการลงทะเบียนรับทางระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)

          3. การพิมพ์

                   3.1 การจัดทำหนังสือราชการตามแบบท้ายระเบียบฯ จำนวน 11 แบบ (ได้แก่ หนังสือภายนอก หนังสือภายใน หนังสือประทับตรา คำสั่ง ข้อบังคับ ระเบียบ ประกาศ แถลงการณ์ ข่าว หนังสือรับรอง และ รายงานการประชุม ) ให้ใช้รูปแบบตัวพิมพ์ (ฟอนต์) ไทยสารบรรณ (Th Sarabun Psk) ขนาด 16 พอยท์

                   3.2 การพิมพ์หนังสือที่มีข้อความมากกว่า 1 หน้า หน้าต่อไปให้ใช้กระดาษที่มีคุณภาเช่นเดียวกันหรือใกล้เคียงกับแผ่นแรก 

                   3.3 การพิมพ์หัวข้อต่าง ๆ ของหนังสือแต่ละชนิด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ

                   3.4 ก่อนเริ่มพิมพ์ข้อความ ให้ (Click File > ตั้งค่าหน้ากระดาษ (Page Setup) ก่อนเสมอเพื่อเลือกขนาดกระดาษที่จะใช้พิมพ์ ตั้งระยะขอบหน้ากระดาษ และการวางแนวกระดาษ

                   3.5 จำนวนบรรทัดการพิมพ์หนังสือราชการในแต่ละหน้าให้เป็นไปตามความเหมาะสมกับจำนวนข้อความ และความสวยงาม

                   แบบมาตรฐาตการพิมพ์หนังสือราชการภาษาไทยด้วยโปรแกรมการพิมพ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์นี้ ประกอบด้วยแบบมาตรฐานการพิมพ์ พร้อมคำแนะนำประกอบการพิมพ์หนังสือราชการชนิดต่าง ๆ ซึ่งใช้ในการปฏิบัติราชการใน ทร. รวม 9 ชนิดดังนี้

                   1. หนังสือภายนอก

                   2. หนังสือภายในที่ใช้กระดาษบันทึกข้อความ ส่วนหนังสือภายในที่ใช้กระตราครุฑให้จัดพิมพ์ตามแบบของหนังสือภายนอกโดยอนุโลม

                   3. บันทึก

                   4. หนังสือประทับตรา

                   5. คำสั่ง

                      5.1  คำสั่ง กรณีหัวหน้าส่วนราชการที่ออกคำสั่งให้เป็นผู้ลงชื่อ

                      5.2  คำสั่ง กรณีคับคำสั่ง

                   6. ระเบียบ

                   7. ประกาศ

                   8. หนังสือรับรอง

                   9. รายงานการประชุม

  ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.phonsawang.com

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เครื่องสำรองไฟ ที่จริงแล้วคืออะไร มีส่วนประกอบมีอะไรบ้าง



 UPS เป็นคำย่อมาจากคำว่า "Uninterruptible Power Supply" หรือ "เครื่องสำรองไฟฟ้า" ถ้าแปลตรงตัวก็คือ "แหล่งจ่ายพลังงานต่อเนื่อง" อาจกล่าวได้ว่า UPS ก็คือ อุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สามารถทำการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างต่อเนื่อง แม้ในเวลาที่เกิดไฟดับหรือเกิดปัญหาแรงดันไฟฟ้าผันผวนผิดปกติ โดย UPS จะทำการปรับระดับแรงดันไฟฟ้าให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่ออุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

      หน้าที่หลักของเครื่องสำรองไฟ คือ ป้องกันความเสียหายที่สามารถเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ (โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อ) โดยมีสาเหตุจากความผิดปกติของพลังงานไฟฟ้า เช่น ไฟตก ไฟดับ ไฟเกิน และไฟกระชาก เป็นต้น รวมถึงมีหน้าที่ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองจากแบตเตอรี่ให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า
ส่วนประกอบและหลักการทำงานของเครื่องสำรองไฟ
1. เครื่องประจุแบตเตอรี่ (Charger) หรือ เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าจาก AC เป็น DC (Rectifier) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟ แปลงกระแสไฟฟ้า DC จากนั้นประจุเก็บไว้ในแบตเตอรี่
2. เครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) ทำหน้าที่รับกระแสไฟฟ้า DC จากเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า AC เป็น DC หรือแบตเตอรี่และแปลงเป็นกระแสไฟฟ้า AC สำหรับใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
3. แบตเตอรี่ (Battery) ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้าสำรองไว้ใช้ในกรณีเกิดปัญหาทางไฟฟ้า โดยจะจ่ายกระแสไฟฟ้า DC ให้กับเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้าในกรณีที่ไม่สามารถรับกระแสไฟฟ้า AC จากระบบจ่ายไฟได้
หลักการทำงานของเครื่องสำรองไฟ
        โดยทั่วไปแล้ว เมื่อเครื่องสำรองไฟรับพลังงานไฟฟ้าเข้ามา ไม่ว่าคุณภาพไฟฟ้าจะเป็นอย่างไรก็จะสามารถจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าได้เป็นปกติ รวมถึงทำการจ่่ายพลังงานไฟฟ้าสำรองที่เก็บไว้ในแบตเตอรี่ให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้า ซึ่งหลักการของ UPS ก็คือใช้วิธีการแปลงไฟฟ้าจากกระแสสลับ (AC) เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC) แล้วเก็บสำรองไว้ในแบตเตอรี่ส่วนหนึ่ง เมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้า (เช่น ไฟดับ หรือ หรือคุณภาพไฟฟ้าผิดปกติ เป็นต้น) อุปกรณ์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้พลังงานไฟฟ้าที่รับมาได้ UPS ก็จะเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสตรง (DC) จากแบตเตอรี่ให้กลายเป็นไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) แล้วจึงจะจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าตามปกติ
 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.zircon.co.th

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

อาการแบบนี้ ฉันติด COVID-19 หรือยัง

 


สายพันธุ์ COVID-19 ที่ระบาดอยู่ในไทยกันว่ามีอาการเป็นแบบไหนบ้าง เราจะได้สังเกตอาการของเราเองในเบื้องต้น
**
สายพันธุ์เดลต้า (สายพันธุ์อินเดีย) จะมีอาการเหมือนไข้หวัดธรรม อาการที่พบ
1.
มีน้ำมูก
2.
เจ็บคอ
3.
ปวดหัว
4.
การรับรสชาติปกติ
**
สายพันธุ์อัลฟ่า (สายพันธุ์อังกฤษ)
1.
มีไข้ มีน้ำมูก
2.
ไอ เจ็บคอ
3.
หนาวสั่น
4.
ปวดหัว ปวดเมื่อยตัว
5.
อาเจียน การรับรสและการได้กลิ่นผิดปกติ
สายพันธุ์เบต้า (สายพันธุ์แอฟริกา)
1.
เจ็บคอ
2.
ตาแดง ผื่นแดงขึ้นตามตัว
3.
ปวดหัว ปวดเมื่อยตามตัว
4.
ท้องเสีย นิ้วมือนิ้วเท้าเปลี่ยนสี
5.
ไม่ได้กลิ่น ไม่รู้รสชาติ
สายพันธุ์ S (ที่ระบาดระลอกแรกในไทย)
1.
ไอต่อเนื่อง
2.
ลิ้นไม่รับรส จมูกไม่ได้กลิ่น
3.
หายใจลำบาก มีไข้สูงถึง37.5 °C ขึ้นไป

วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

"อนุมัติ" "อนุญาต" ใช้ต่างกัน

 

"อนุญาต" ใช้กรณี เรื่องส่วนตัวที่ต้องปฏิบัติ
ตามระเบียบปฏิบัติ ไม่เกี่ยวกับ
การใช้งบประมาณของหน่วยงานและไม่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ
ของหน่วยงาน เช่น ขอลากิจ
ขอลาป่วย ขอไปเป็นวิทยากร เป็นต้น

ส่วน "อนุมัติ" ใช้กรณี เรื่องที่เป็นความรับผิดชอบของหน่วยงาน ที่เกี่ยวกับการใช้งบประมาณของหน่วยงาน เช่น อนุมัติโครงการ อนุมัติดำเนินการ อนุมัติหลักการ เป็นต้น

                                                                                        ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/

วันศุกร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง

 

คอมพิวเตอร์ PC เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่มีอยู่กันแทบจะทุกบ้านและใช้งานกันแทบทุกวันทั้งใช้ทำงานหรือเพื่อความบันเทิง หลายคนคงรู้วิธีใช้กันเป็นอย่างดีแต่เมื่อพูดถึงอุปกรณ์ภายในที่จะประกอบขึ้นมาเป็นคอมพิวเตอร์สักเครื่องคงมีน้อยคนที่จะรู้จักอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้นว่าทำหน้าที่อะไรบ้าง

1.CPU (ซีพียู)

ซีพียู อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ชิ้นสำคัญที่หลายคนมักเข้าใจหรือเรียกผิด โดยมักเรียกตัวเคสคอมที่ติดตั้งชิ้นส่วนภายในจนพร้อมใช้งานแล้วว่าเป็นซีพียู แต่จริงๆแล้ว CPU เป็นเพียงหน่วยประมวลผลกลางขนาดเล็กที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานของคอมพิวเตอร์ เป็นฮาร์ดแวร์ชิ้นสำคัญที่มีหน้าที่ในการประมวลผล 

2.Graphic Card (การ์ดจอ)

การ์ดจอ Graphic Card หรือ Display Card เป็นอุปกรณ์ที่รับช่วงการประมวลผลต่อจากซีพียูโดยจะทำหน้าที่ในการประมวลข้อมูลที่จะนำไปแสดงบนจอภาพในการ์ดจอบางรุ่นสามารถช่วยซีพียูประมวลผลได้ หน่วยความจำของตัวการ์ดก็มีส่วนสำคัญเพราะหากการ์ดมีหน่วยความจำมากก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้นการแสดงผลก็จะทำได้ลื่นไหล 

3.Ram (แรม)

แรมมีหน้าที่ในการรับข้อมูลและชุดคำสั่งของโปรแกรมเพื่อส่งไปประมวลผลต่อที่ CPU แรมจัดเป็นหน่วยความจำชั่วคราวการทำงานจะเป็นการเขียนหรือบันทึกข้อมูลแบบสุ่มโดย CPU จะเข้าเข้าถึงทุกส่วนของ Ram เพื่อความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูล

4.Mainboard (เมนบอร์ด)

เมนบอร์ดเป็นแผงวงจรที่รวมชิ้นส่วนฮาร์ดแวร์ที่สำคัญเข้าไว้ด้วยกันและคอยสั่งการให้อุปกรณ์คอมที่เชื่อมต่ออยู่ทำงานตามคำสั่ง ปัจจุบันนิยมใช้กันเป็นเมนบอร์ดแบบ

5. storage ปกรณ์ที่ใช้สำหรับจัดเก็บข้อมูล ในปัจจุบัน มีในตลาดอยู่ 2 ประเภท

    5.1 SSD ไดรฟ์โซลิดสเตต (Solid State Drive) รวมถึงแฟลชไดรฟ์แบบฝัง ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ จึงสามารถอ่าน เขียน และเข้าถึงข้อมูลได้เร็วกว่า HDD 

    5.2 HDD ฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ (Harddisk) เป็นอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่ไว้ใจได้มานานหลายทศวรรษจนถึงปัจจุบัน โดยมักจะมีราคาต่ำกว่า SSD และมีขนาดความจุที่สูงกว่าให้เลือกซื้อ 

6.Power Supply (พาวเวอร์ซัพพลาย)

พาวเวอร์ซัพพลายคืออุปกรณ์ที่มีหน้าที่ในการจ่ายไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์แต่ละชิ้น


7.Case (เคส)

เคส อุปกรณ์ชิ้นที่ใครหลายคนมักเรียกมันว่า CPU โดยความจริงแล้วมันทำหน้าที่เป็นเหมือนกล่องที่ใส่อุปกรณ์คอมชิ้นสำคัญไว้ภายในเพื่อป้องกันชิ้นส่วนภายใน ตัวเคสส่วนใหญ่จะติดตั้งพัดลมระบายความร้อนให้พร้อมใช้งาน

  ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.advice.co.th

 

วันพุธที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

เปรียบเทียบวัคซีนป้องกันโรคโควิดแต่ละชนิด

 


วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในปัจจุบัน มี 4 ชนิดด้วยกัน  ได้แก่ 

 1.วัคซีนชนิดสารพันธุกรรม

ได้แก่ เอ็มอาร์เอ็นเอ (mRNA) วัคซีนกลุ่มนี้ ใช้เทคโนโลยีใหม่สังเคราะห์สารพันธุกรรมเอ็มอาร์เอ็นเอ (messenger RNA: mRNA) ที่เฉพาะเจาะจงกับเชื้อไวรัส วัคซีนจะทำหน้าที่พา mRNA เข้าเซลล์ และ กํากับให้เซลล์ผลิตสารโปรตีนสไปค์ของเชื้อไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้สร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านเชื้อ  วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Pfizer และ Moderna  จากข้อมูลในปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการป้อ
งกันโรคได้ประมาณ
95% ป้องกันการป่วยรุนแรงและป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% วัคซีนของบริษัท Pfizer ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 3 สัปดาห์ ส่วน วัคซีนของบริษัท Moderna ควรได้รับการฉีด 2 เข็มเข้ากล้ามเนื้อ ห่างกัน 4 สัปดาห์ 

 2.วัคซีนชนิดใช้ไวรัสเป็นพาหะ (Recombinant viral vector vaccine)

วัคซีนกลุ่มนี้ใช้ไวรัสที่สามารถตัดแต่งพันธุกรรม เช่น ไวรัสอะดีโน (Adenovirus)โดยนำมาดัดแปลงพันธุกรรมให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้ และใส่สารพันธุกรรมของไวรัสโรคโควิด19 ติดไปด้วย เมื่อนํามาฉีดไวรัสพาหะเหล่านี้จะเลียนแบบการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยกระตุ้มภูมิคุ้มกันทั้งระบบให้สร้างแอนติบอดีย์ต่อไวรัสโรคโควิด19 ตามสารพันธุกรรมที่ใส่เข้าไป อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะเป็นวัคซีนที่ไวรัสอะดีโนไม่แบ่งตัว แต่ยังจัดเป็นไวรัสที่มีชีวิตเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอย่างมาก จนกว่าจะมีข้อมูลที่ชัดเจนมากกว่านี้ ปัจจุบันวัคซีนชนิดนี้ที่ใช้กันแพร่หลายมี 4 แบรนด์ ได้แก่ ไวรัสอะดีโนของชิมแพนซี (Chimpanzee adenovirus) โดยบริษัท Astra Zeneca มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 70-80% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%, ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 (Human adenovirus type 5) โดยบริษัท CanSinoBio มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 60%, ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 26 (Human adenovirus type 26) โดยบริษัท Johnson and Johnson มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 64-72% และ ไวรัสอะดีโนของมนุษย์สายพันธุ์ 5 และ 26 (Human adenovirus type 5 and26) โดยบริษัท Gamaleya ของรัสเซีย มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 90% 

 3.วัคซีนที่ทําจากโปรตีนส่วนหนึ่งของเชื้อ (Protein subunit vaccine)

วัคซีนกที่ผลิตโดยเทคโนโลยีนี้ ทั่วโลกมีความคุ้นเคยมานาน เพราะใช้ในการผลิตวัคซีนหลายชนิด เช่น วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี เป็นต้น ผลิตโดยการ สร้างโปรตีนของเชื้อไวรัส ด้วยระบบ cell culture, yeast, baculovirus เป็นต้น แล้วนํามาผสมกับสารกระตุ้นภูมิ เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนตีบอดีต่อต้านโปรตีนสไปค์ของไวรัสโรคโควิด19 วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบันคือ วัคซีนแบรนด์ Novavax ซึ่งผลิตจาก baculovirus และใช้ Matrix M เป็นตัวกระตุ้นภูมิ มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 60-90% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100% 

  4.วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Inactivated vaccine)


วัคซีนกลุ่มนี้ผลิตโดยนําไวรัสโรคโควิด19 มาเลี้ยงขยายจํานวนมาก และนํามาทำให้เเชื้อตาย  การฉีดวัคซีนจะกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อไวรัสทุกส่วน เสมือนได้รับเชื้อไวรัสโดยตรงแต่ไม่ทำให้เกิดโรค เพราะเชื้อตายแล้ว  เทคโนโลยีนี้เป็นวิธีที่ใช้กับวัคซีนตับอักเสบเอ โปลิโอชนิดฉีด จึงมีความคุ้นเคยในประสิทธิภาพและความปลอดภัยมานาน แต่เนื่องจากการเพาะเลี้ยงไวรัสต้องใช้ความระมัดระวังมาก ทําให้ผลิตได้ช้าและมีราคาแพง วัคซีนที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ วัคซีนของบริษัท Sinovac มีประสิทธิภาพป้องกันอาการประมาณ 50-70% ป้องกันการเสียชีวิตได้ 100%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.synphaet.co.th/

                      ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://listsothebysrealty.in.th//


 

วันจันทร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

การรับ-ส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์

 

การรับหรือส่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ให้ลงเวลาที่ปรากฏในระบบว่าส่วนราชการได้รับหรือได้ส่งหนังสือไว้ในทะเบียนหนังสือรับหรือทะเบียนหนังสือส่ง แล้วแต่กรณี ไว้เพื่อเป็นหลักฐานทางราชการด้วย โดยในกรณีที่ได้ส่งไปทางที่อยู่ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับแจ้งไว้แต่ไม่สำเร็จ ให้ลงวันและเวลาที่ปรากฏในระบบว่าได้จัดส่งครั้งแรกเป็นวันและเวลาที่ได้ส่งหนังสือ
            การเก็บหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ นอกจากการเก็บไว้ในระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์อันเป็นผลจากที่ได้มีการรับหรือการส่งหนังสือนั้น ให้มีการสำรองข้อมูล (backup) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไว้อีกแห่งเป็นอย่างน้อยด้วย
            ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่หัวหน้าส่วนราชการกำหนดหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่เก็บรักษาไว้ในการสำรองข้อมูลตามวรรคหนึ่ง และที่ส่งให้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ให้อยู่ในรูปแบบมาตรฐาน เช่น PDF ความละเอียดไม่น้อยกว่า 150 dpi และให้นำหลักเกณฑ์การตั้งชื่อไฟล์ที่กำหนดไว้ในภาคผนวก 7 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/


วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2564

แรมโทรศัพท์ คืออะไร แตกต่างจาก Ram คอมพิวเตอร์อย่างไรมาดูกัน

 


    แรม (RAM : Random Access Memory) คือ หน่วยความจำที่ใช้เป็นหน่วยความจำหลักของเครื่องคอมพิวเตอร์ เป็นหน่วยความจำประเภทที่อ่าน/เขียน ข้อมูลลงไปได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไฟดับหรือปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำจะหายหมดทันที
หน่วยความจำจะทำงานร่วมกันกับซีพียูอยู่ตลอดเวลา่ แทบทุกจังหวะการทำงานของซีพียู จะต้องมีการอ่าน/เขียนข้อมูลไปยังหน่วยความจำเสมอ หรือแม้แต่ในขณะที่เราสั่งย้ายข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งก็ต้องใช้หน่วยความเป็นตัวกลางในการส่งข้อมูล

    RAM จะทำหน้าที่เก็บชุดคำสั่งและข้อมูลที่ระบบคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่ ทั้งในแบบของ Input และ Output โดยการเข้าถึงข้อมูลของ RAM นั้น จะเป็นการเข้าถึงแบบสุ่ม หรือ Random Access ซึ่งหมายถึงโปรเซสเซอร์สามารถเข้าถึงทุกๆส่วนของหน่วยความจำหรือพื้นที่เก็บ ข้อมูลได้โดยตรง เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำงานและการรับ-ส่งข้อมูล

เนื้อที่ของ RAM ได้ถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลักดังนี้

1. Input Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลนำเข้าที่ได้รับมาจากหน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Device) เช่น ข้อมูลที่ได้มาจากคีย์บอร์ด โดยข้อมูลนี้จะถูกนำไปใช้ในการประมวลผลต่อไป

2. Working Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บข้อมูลที่อยู่ในระหว่างการประมวลผล

3. Output Storage Area
ส่วนนี้เป็นส่วนที่เก็บผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล ตามความต้องการของผู้ใช้ เพื่อรอที่จะถูกส่งไปแสดงออกยังหน่วยแสดงผลอื่นที่ผู้ใช้ต้องการ เช่นหน้าจอแสดงผล เป็นต้น

4. Program Storage Area
เป็นส่วนที่ใช้เก็บชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการจะส่งเข้ามา เพื่อใช้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่งชุดดังกล่าว หน่วยควบคุมจะทำหน้าที่ดึงคำสั่งจากส่วนนี้ทีละคำสั่งเพื่อทำการแปลความหมาย ว่าคำสั่งนั้นสั่งให้ทำอะไร จากนั้นหน่วยควบคุมจะไปควบคุมฮาร์ดแวร์ที่ต้องการทำงานดังกล่าวให้ทำงานตาม คำสั่งนั้นๆ หน่วยความจำจะจัดอยู่ในลักษณะแถวแนวตั้ง (CAS:Column Address Strobe) และแถวแนวนอน (RAS:Row Address Strobe) เป็นโครงสร้างแบบเมทริกซ์ (Matrix) โดยจะมีวงจรควบคุมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวงจรในชิปเซต (Chipset) ควบคุมอยู่ โดยวงจรเหล่านี้จะส่งสัญญาณกำหนดแถวแนวตั้ง และสัญญาณแถวแนวนอนไปยังหน่วยความจำเพื่อกำหนดตำแหน่งของข้อมูลในหน่วยความ จำที่จะใช้งาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.itnews4u.com