วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

วิธีออมเงินแบบฉบับเร่งรัด ทำได้จริง

ในยุคเศรษฐกิจฝืดเคืองแบบนี้ หลาย ๆ คน คงอาจจะประหยัดอดออม เพราะเป็นยุคที่ข้าวยากหมากแพง ข้าวของขึ้นราคาแต่เงินเดือนหรือรายได้ไม่ได้ขึ้นตาม ดังนั้นผู้เขียนจึงอยากแนะนำ 10 วิธีออมเงินง่าย ๆ ดังนี้





ทำกับข้าวกินเองที่บ้าน

เพราะถ้าเราไปกินนอกบ้าน นอกจากอาหารจะมีราคาแพงแล้ว ยังต้องจ่ายค่าบริการอีก 10% และภาษี อีก 7% รวม ๆ แล้ว โดนบวกเพิ่มอีก 17% การที่เราทำกับข้าวกินเองนอกจากประหยัดแล้ว ยังสุขภาพดีกว่าเพราะเราสามารถเลือกวัตถุดิบในการทำอาหารได้เองอีกด้วย

 ออมก่อนใช้

เมื่อได้รายได้มา ควรรีบแบ่งสัดส่วนในการออมไว้เลย และค่อยเอาส่วนที่เหลือมาใช้ และถ้าใช้ไม่หมดก็รีบออมทันที เช่น แบ่งสัดส่วน 50:50 ครึ่งนึงออม ครึ่งนึงใช้จ่าย เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้เราไม่ใช้เงินอย่างมือเติบ

 รู้จักการสะสมคะแทนบัตรส่วนลดต่าง ๆ หรือสมาชิก

ผู้เขียนเองจะสมัครสมาชิกท็อปส์ซูเปอร์มาเก็ต เพื่อที่จะซื้อของในราคาที่ถูกกว่า และเมื่อครบ 3 เดือนก็จะได้คูปองเงินสด และคูปองส่วนลด ดีกว่าเราไปซื้อร้านกระจัดกระจาย เราจะไม่ได้ส่วนลด หรือใช้บัตรเครดิตเพื่อสะสมคะแนนแลกส่วนลดเท่ากับคะแนนตอนซื้อของ ทำให้ได้ส่วนลด on top สูงถึง 10-18% เลยก็มี

 

งดการใช้บัตรเครดิตหลายใบ = ลดการก่อหนี้

การใช้บัตรเครดิต ถือว่าเป็นการใช้เงินในอนาคต ดังนั้นเราควรมีแต่เฉพาะความจำเป็นเท่านั้น เพื่อที่เราจะได้สะสมคะแนนไปด้วย

 

งดการซื้อกาแฟ งดการกินชาไข่มุก กินน้ำเปล่าแทน

กรณีหากเราไม่ได้นั่งทำงาน พยายามลดการซื้อกาแฟ หรือชานมไข่มุกยอดฮิตที่มีคิวยาวที่มีราคาแพงแบบแก้วละ 80-200 บาท นอกจากจะสิ้นเปลืองเงินแล้ว ยังทำให้เราอ้วนและเสี่ยงเป็นเบาหวานอีกด้วย ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้กินชานมไข่มุกเลย ราคาแพงมากในสมัยนี้ เพราะเพียงแค่อยากเอามาถ่ายรูปอวดโลกโซเชี่ยลเท่านั้น

 

งดการท่องเที่ยว หรือเสพสื่อการท่องเที่ยวหรือจองตั๋วถูก

เพราะการเสพสื่อเกี่ยวกับการท่องเที่ยวนั้นถือว่าเป็นการกระตุ้นให้คนมีความอยากใช้เงิน อยากเดินทาง เราควรประหยัดเงินไว้บ้างท่องเที่ยวเสริมประสบการณ์ได้ตามหลักความพอเพียง ถ้าไม่ได้มีสามีเป็นนักบินก็ไม่ควรใช้เงินมือเติบนัก เพราะรู้หรือไม่ว่าข้าวของ ค่าเทอมลูกแพงขึ้นตลอดทุก ๆ ปี

 

งดการเดินห้าง

เพราะเป็นแหล่งดึงดูดเงินที่แท้จริง ๆ ควรหาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทะเลแทน หรือถ้าไปห้างผู้เขียนมีข้อสังเกตว่าถ้าเราไปห้างที่ไฮโซมาก ๆ ก็เป็นวิธีประหยัดเงินที่แปลก เพราะเราจะทำได้เพียงเดินผ่าน เราไม่มีเงินซื้อ (Window Shopping) เพราะห้างนั้น ๆ จะมีแต่สินค้าแบรนด์เนมระดับโลกจากฝั่งยุโรป ประเทศฝรั่งเศส อิตาลีเป็นต้น เราก็ไปเดินตากแอร์ และหาร้านอาหารระดับปานกลางกิน

 

ซื้อเครื่องสำอางตามร้าน Watsons หรือ ซูเปอร์มาเก็ตท็อปส์

เครื่องสำอางจากร้านดังกล่าวช่วยประหยัดเงินผู้เขียนได้มาก เพราะราคาไม่แพงแถมยังมีโปรโมชั่นอีกด้วย ตัวอย่างเช่นลิปสติกถ้าซื้อแบรนด์ดังจากสหรัฐอเมริกา ราคาสูงหลายพันบาท ถ้าซื้อที่ร้านประหยัดหน่อยก็จะไม่เกิน 199 บาท หรือถ้ามีโปรโมชั่นก็จะเหลือ 99 บาท อีกทั้งยังสะสมคะแนนแลกส่วนลดได้อีกด้วย

 

ออกกำลัง พักผ่อนนอนหลับ ทำสุขภาพให้แข็งแรง

เราจะได้ไม่ต้องเสียค่ายา ค่าหมอ เพราะไปหาหมอเพราะป่วยทีนึงก็ต้องเสียเงิน 1,000 – 3,000 บาท ซึ่งถือว่าแพงมาก ดังนั้นพยายามรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง ไม่เป็นหวัด หรือทำอะไรให้มีสติ จะได้ไม่เกิดอุบัติเหตุ

 

คิดถึงความจำเป็นก่อนช็อปปิ้ง

พยายามคิดหาเหตุผลว่าเราอยากได้ของสิ่งนั้นจริง ๆ หรือไม่ และค่อยตัดสินใจซื้อ อย่างเสื้อผ้าต้องเดินถอยออกมาก่อนถ้ามีราคาแพง ผู้เขียนมักจะซื้อทีเดียวช่วยปลายปี หรือ กลางปีที่มีลดราคา 50% – 70% เพราะเราจะได้ของที่ราคาดีมีคุณภาพอีกด้วย     

                                                                     ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://moneyhub.in.th/

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

ความรู้สุขภาพ ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome)

 


ภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndrome)

อ. พญ. กมลพร วรรณฤทธิ์
ภาควิชาจิตเวชศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล 



ภาวะหมดไฟในการทำงานคืออะไร
ภาวะหมดไฟในการทำงาน คือ ภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจที่เกิดจากความเครียดเรื้อรังในการทำงาน โดยมีอาการหลัก 3 อาการ ได้แก่ 1) มีความเหนื่อยล้าทางอารมณ์ รู้สึกสูญเสียพลังงานทางจิตใจ  2) มองความสามารถในการทำงานของตนเองในเชิงลบ ขาดความรู้สึกประสบความสำเร็จ 3) มองความสัมพันธ์ในที่ทำงานไปในทางลบ รู้สึกเหินห่างจากคนอื่นไม่ว่าจะเป็นผู้ร่วมงาน หรือลูกค้า

คนทำงานอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหมดไฟ หากรู้สึกว่างานของตนมีลักษณะดังต่อไปนี้
1. ภาระงานหนัก และปริมาณงานมาก รวมถึงงานมีความซับซ้อน ต้องทำในเวลาเร่งรีบ
2. ขาดอำนาจในการตัดสินใจ และมีปัญหาการเรียงลำดับความสำคัญของงาน
3. ไม่ได้รับการตอบแทน หรือรางวัลที่เพียงพอต่อสิ่งที่ทุ่มเทไป
4. รู้สึกไร้ตัวตนในที่ทำงาน หรือไม่เป็นส่วนหนึ่งของทีม
5. ไม่ได้รับความยุติธรรม ขาดความเชื่อใจ และการเปิดใจยอมรับกัน
6. ระบบบริหารในที่ทำงานที่ขัดต่อคุณค่า และจุดมุ่งหมายในชีวิตของตนเอง

ระยะต่าง ๆ ในการทำงานซึ่งนำมาสู่ภาวะหมดไฟ (Miller & Smith, 1993) แบ่งได้ดังนี้
1. ระยะฮันนีมูน (the honeymoon) เป็นช่วงเริ่มงาน คนทำงานมีความตั้งใจ เสียสละเพื่องานเต็มที่ พยายามปรับตัวกับเพื่อนร่วมงาน และองค์กร
2. ระยะรู้สึกตัว (the awakening) เมื่อเวลาผ่านไป คนทำงานเริ่มรู้สึกว่าความคาดหวังของตนอาจไม่ตรงกับความเป็นจริง เริ่มรู้สึกว่างานไม่ตอบสนองกับความต้องการของตนทั้งในแง่การตอบแทน และการเป็นที่ยอมรับ คนทำงานอาจรู้สึกว่าชีวิตดำเนินอย่างผิดพลาด และไม่สามารถจัดการได้ ทำให้เกิดความขับข้องใจ และเหนื่อยล้า
3. ระยะไฟตก (brownout) คนที่งานรู้สึกเหนื่อยล้าเรื้อรัง และหงุดหงิดง่ายขึ้นอย่างชัดเจน อาจมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตเพื่อหนีความขับข้องใจ เช่น ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ดื่มสุรา ส่งผลให้ความสามารถในการทำงานเริ่มลดลง อาจเริ่มมีการแยกตัวจากเพื่อนร่วมงาน มีการวิพากษ์วิจารณ์องค์กรของตนเอง
4. ระยะหมดไฟเต็มที่ (full scale of burnout) หากช่วงไฟตกไม่ได้รับการแก้ไข คนทำงานจะเริ่มรู้สึกสิ้นหวัง มีความรู้สึกว่าตนเองล้มเหลว สูญเสียความมั่นใจในตนเองไป มีอาการของภาวะหมดไฟเต็มที่
5. ระยะฟื้นตัว (the phoenix phenomenon) หากคนทำงานได้มีโอกาสผ่อนคลาย และพักผ่อนอย่างเต็มที่ จะสามารถกลับมาปรับตนเองและความคาดหวังต่องานให้ตรงกับความเป็นจริงมากขึ้น รวมถึงสามารถปรับแรงบันดาลใจ และเป้าหมายในการทำงานด้วย

อย่างไรก็ตาม หากภาวะหมดไฟไม่ได้รับการจัดการ อาจส่งผลด้านต่าง ๆ ดังนี้
- ผลด้านร่างกาย : อาจพบอาการเหนื่อยล้าเรื้อรัง ปวดเมื่อย ปวดศีรษะ
- ผลด้านจิตใจ : บางรายอาจสูญเสียแรงจูงใจ หมดหวัง รู้สึกหมดหนทางที่จะช่วยให้ดีขึ้น ส่งผลให้มีอาการของภาวะซึมเศร้า และอาการนอนไม่หลับได้ อาจพบมีการใช้สารเสพติดเพื่อจัดการกับอารมณ์
- ผลต่อการทำงาน : อาจขาดงานบ่อย ประสิทธิภาพการทำงานลดลง อาจคิดเรื่องลาออกในที่สุด

สัญญาณเตือนว่าเริ่มเกิดภาวะหมดไฟมีอะไรบ้าง

 - อาการทางอารมณ์ : หดหู่ เศร้า อารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย หงุดหงิด ไม่พอใจในงานที่ทำ
 - อาการทางความคิด : เริ่มมองงานหรือคนอื่นในแง่ร้าย ระแวงง่ายขึ้น โทษคนอื่น สงสัยความสามารถของตนเอง และอยากเลี่ยงปัญหา
อาการทางพฤติกรรม : หุนหันพลันแล่น ผัดวันประกันพรุ่ง ทำกิจกรรมสร้างความสุขลดลง เริ่มมาทำงานสายบ่อยขึ้น บริหารจัดการเวลาแย่ลง

หากเกิดภาวะหมดไฟ จะจัดการอย่างไร
 - 
พัฒนาทักษะในการจัดการปัญหา และความยืดหยุ่นต่อสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงทักษะการสื่อสาร เจรจาต่อรอง การยืนหยัดเพื่อรักษาสิทธิ์อันชอบธรรมของตนเอง
 - ยอมรับความแตกต่างของคน และเปิดใจรับฟังความคิดเห็นที่อาจไม่ตรงกัน ไม่ด่วนตัดสินคนอื่น
 - แสวงหาความช่วยเหลือ และอาจหาที่ปรึกษา (coach and mentor)
 - ร่วมกิจกรรมทางสังคม และกิจกรรมเพื่อสุขภาพ

          ภาวะหมดไฟในการทำงานไม่ใช่โรคซึมเศร้า แต่ถ้าหากคนทำงานเริ่มมีอาการเศร้าหดหู่ เบื่อหน่ายสิ่งรอบตัว รู้สึกทุกข์ทรมานกับการใช้ชีวิต หรือมีความคิดไม่อยากมีชีวิตอยู่ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคซึมเศร้าแนะนำให้ปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ

                                                                ขอขอบคุณข้อมูลจาก : http://healthydee.moph.go.th/

วันเสาร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

10 วิธีใช้คอมพิวเตอร์อย่างปลอดภัยภัยจากมัลแวร์ในชีวิตประจำวัน

 



ทุกวันนี้ พวกเราส่วนใหญ่ต้องจัดการกับไวรัสคอมพิวเตอร์ (virus computer) หรือมัลแวร์ (malware) บางชนิด มันไม่สนุกเลย แถมน่ารำคาญ เสียเวลาและน่าหงุดหงิดมาก เมื่อคอมพิวเตอร์ของเราทำงานช้าลงหรือทำงานผิดปกติเราก็มักสงสัยว่ามีไวรัสอยู่ในเครื่องคอม


พิวเตอร์แน่ ๆ เลย จริง ๆ แล้วอาจจะไม่ใช่ไวรัสก็ได้ แต่ทว่ามันคือมัลแวร์ เป็นโปรแกรมประสงค์ร้ายต่าง ๆ และสร้างความน่ารำคาญให้กับผู้ใช้งานตลอดเวลา
  ผู้ร้ายที่เลวร้ายที่สุดคือโจรเรียกค่าไถ่ ที่ใช้โปรแกรมมัลแวร์ควบคุมเว็บบราวเซอร์หรือแย่กว่านั้นคือยึดครองคอมพิวเตอร์ของคุณ เราต้องคอยลบโปรแกรมร้ายเหล่านี้ออกจากคอมพิวเตอร์ส่วนตัวและคอมพิวเตอร์ที่ทำงานอยู่บ่อย ๆ และผมมั่นใจว่าคุณเองก็ทำได้เช่นกัน ลองดูเคล็ดลับทั้ง 10 ข้อต่อไปนี้จะป้องกันมัลแวร์จากไวรัสคอมพิวเตอร์ ช่วยให้คอมพิวเตอร์ของคุณปลอดภัย

 

1. ติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสและมัลแวร์ (Anti-Virus/Malware Software)

เคล็ดลับนี้ใคร ๆ ก็รู้ชัดเจนอยู่แล้วจนไม่ต้องเอ่ยอะไรอีก และผมก็พูดถึงแล้วบางส่วนในย่อหน้าแรก ๆ อย่างไรก็ตาม ผมเคยเห็นคอมพิวเตอร์หลายเครื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอมพิวเตอร์ที่บ้านมักจะไม่มีการป้องกันไวรัสและมัลแวร์ ขั้นตอนป้องกันนี้สำคัญมากจำเป็นต้องทำเป็นสิ่งแรกเพื่อช่วยให้คอมพิวเตอร์ปลอดภัยจากไวรัส

 
2. ให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอัปเดตอยู่เสมอ

การมีซอฟต์แวร์ป้องกันเป็นขั้นตอนแรก ขั้นตอนต่อมาคือการบำรุงดูแลรักษา แม้ว่าเราใช้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสแบบฟรีก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย แต่ขอเน้นย้ำว่าวิธีนี้อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุด บริษัท Microsoft เองก็เตรียมแพคเกจความปลอดภัยแบบใช้งานได้ “ฟรี” คุณได้สิทธ์ใช้งานฟรีเพียงแค่มี Windows ในเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่คุณต้องจ่ายเงินค่าลิขสิทธิ์ Windows ผู้ใช้งานหลายคนไม่เคยทราบว่ามีโปรแกรมนี้อยู่ แต่ทว่าโปรแกรมนี้เป็นการป้องกันที่ดี

 
3. เปิดใช้งานกำหนดเวลาให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสสแกนล่วงหน้า

สิ่งนี้อาจจะดูเป็นเรื่องง่าย ๆ มากแต่หลายคนมักลืมทำสิ่งนี้เสมอ ควรตั้งค่าซอฟต์แวร์ให้รันทำงานเป็นประจำ และกำหนดให้สแกนสัปดาห์ละครั้ง และไม่ต้องรอระหว่างสแกนอยู่ มันเป็นเรื่องยากมากที่จะทำงานไปด้วยขณะที่โปรแกรมป้องกันไวรัสกำลังสแกนอยู่ ทางออกที่ดีคือรันโปรแกรมในช่วงเวลากลางคืนเป็นช่วงที่คอมพิวเตอร์ไม่ได้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม เรามักจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลากลางคืนแล้วโปรแกรมก็ไม่เคยได้สแกนเลย จงตั้งค่าซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสของคุณให้ทำงานในเวลากลางคืนตามกำหนดและปล่อยให้คอมพิวเตอร์ทำงานในวันนั้นเสมอ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่ได้ปิดเครื่องหรือเข้าสู่โหมดไฮเบอร์เนต (Hibernation mode) โดยอัตโนมัติ



4. รักษาระบบปฏิบัติการให้เป็นปัจจุบัน

ไม่ว่าคุณจะใช้ปฏิบัติการ Windows, Mac OS X, Linux หรือระบบอื่น ๆ ให้อัปเดตอยู่เสมอ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการมักออกแพทช์ด้านความปลอดภัยเพื่อแก้ไขปัญหาและอุดรูรั่วระบบรักษาความปลอดภัยอยู่บ่อยครั้ง แพทช์เหล่านี้จะช่วยให้ระบบของคุณปลอดภัย เช่นเดียวกันช่วยให้ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอัปเดตอยู่เสมอ ไวรัสและมัลแวร์ถูกสร้างขึ้นตลอดเวลา ทว่าซอฟต์แวร์สแกนทำงานได้ดีขึ้นอยู่กับฐานข้อมูล ฐานข้อมูลต้องทันสมัยอยู่เสมอเท่าที่จะเป็นไปได้
 

 
 
5. รักษาความปลอดภัยระบบเครือข่าย

คอมพิวเตอร์หลายเครื่องของเราเชื่อมต่อกับไฟล์ เครื่องพิมพ์ หรืออินเทอร์เน็ตผ่านการเชื่อมต่อกับ Wi-Fi ต้องมั่นใจว่ารหัสผ่านที่จำเป็นต้องใช้และรหัสผ่านนั้นมีความแข็งแรง ไม่เคยเผยแพร่เมื่อเชื่อมต่อ Wi-Fi แบบเปิด ให้ใช้การเข้ารหัส WPA หรือ WPA2 ส่วนการเข้ารหัส WEP ไม่แข็งแรงเพียงพอเนื่องจากมันสามารถบายพาส (Bypass) ได้จากผู้เชี่ยวชาญ  นอกจากนี้คุณไม่ควรเผยแพร่ SSID (ชื่อเครือข่าย Wi-Fi ของคุณ) คุณยังคงสามารถเข้าถึงจากอุปกรณ์ของคุณได้ คุณจะต้องพิมพ์ SSID และรหัสผ่านด้วยตนเอง หากคุณมีแขกประจำที่ใช้อินเทอร์เน็ตอยู่บ่อย ๆ ให้ระบุ SSID แบบผู้มาเยือนที่ใช้รหัสผ่านอื่น ในกรณีนี้เพื่อนก็อาจจะเป็นแฮกเกอร์ตัวร้ายก็เป็นไปได้
  

6. คิดก่อนคลิกทุกครั้ง

หลีกเลี่ยงเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลละเมิดลิขสิทธิ์ อย่าเปิดไฟล์แนบในอีเมลจากบุคคลหรือบริษัทที่คุณไม่รู้จัก อย่าคลิกลิงก์ในอีเมลที่ไม่พึงประสงค์ วางเมาส์ไว้เหนือลิงก์ดูก่อนเสมอ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งลิงค์ที่มี URL shortener) ดูก่อนคลิกลิงค์เชื่อมโยง หากคุณจำเป็นต้องดาวน์โหลดไฟล์ทั้งจากอินเทอร์เน็ต, อีเมล, FTP site หรือบริการแชร์ไฟล์ต่าง ฯลฯ ให้สแกนไฟล์ก่อนเรียกใช้งาน  ซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่ดีนั้นจะสแกนให้โดยอัตโนมัติ แต่ต้องมั่นใจว่าโปรแกรมเปิดใช้งานอยู่
 

7. เก็บข้อมูลส่วนตัวให้ปลอดภัย

นี่เป็นเรื่องที่ทำยากที่สุดบนอินเทอร์เน็ต แฮกเกอร์หลายคนเข้าถึงไฟล์ของคุณโดยไม่ต้องออกแรงมาก แต่โจมตีผ่านทางวิศวกรรมสังคม (social engineering)

พวกเขาได้ข้อมูลเพียงพอจนเข้าถึงบัญชีออนไลน์ของคุณและเก็บข้อมูลส่วนตัวได้มากพอ พวกเขาจะจัดการต่อจากบัญชีหนึ่งไปยังอีกบัญชีจนกว่าจะได้ข้อมูลเพียงพอทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลธนาคารหรือขโมยข้อมูลส่วนตัวของคุณได้ทั้งหมด จงรอบคอบเมื่อใช้กระดานสนทนาและโซเชียลมีเดีย ล็อกตั้งค่าความเป็นส่วนตัวทั้งหมดและหลีกเลี่ยงการใช้ชื่อจริงหรือข้อมูลส่วนตัวในกระดานสนทนา
 

8. อย่าใช้งาน Open Wi-Fi หรือ ไวไฟสาธารณะ

อย่าใช้งาน Open Wi-Fi เมื่อคุณอยู่ที่ร้านกาแฟในท้องถิ่น ห้องสมุด และโดยเฉพาะอย่างยิ่งที่สนามบิน อย่าใช้งาน Open Wi-Fi (ที่ไม่มีรหัสผ่านและไม่เข้ารหัส) ลองนึกดูว่าหากคุณสามารถเข้าถึงได้โดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน บุคคลที่เป็นอันตรายก็สามารถคิดร้ายทำสิ่งต่าง ๆ ได้เช่นกัน?
  



9. สำรองไฟล์ข้อมูล

สิ่งที่ดีที่สุดที่คุณสามารถทำได้คือ สำรองไฟล์ข้อมูลทั้งหมด ซึ่งมีไฟล์ข้อมูลอย่างน้อย 3 แห่งด้วยกัน ได้แก่ ที่ทำงาน  บนอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่แยกต่างหาก และนอกสถานที่ เก็บไฟล์ไว้ในคอมพิวเตอร์ของคุณ สำรองข้อมูลไว้ในฮาร์ดไดรฟ์ภายนอก จากนั้นก็สำรองข้อมูลไว้ในสถานที่อื่นเอาไว้ด้วย คุณสามารถใช้อุปกรณ์สำรองข้อมูลหรือใช้ฮาร์ดไดรฟ์ภายนอกสองตัว และเก็บข้อมูลไว้ในที่ทำงาน ที่บ้านเพื่อน ที่บ้านญาติ หรือในตู้เซฟก็ได้ เหตุใดการสำรองข้อมูลจึงเป็นเรื่องสำคัญ ลองพิจารณาเรื่อง ความเสี่ยงทางธุรกิจ: 5 เคล็ดลับสำคัญที่ต้องรู้ในการสำรองข้อมูล
 




10. ใช้รหัสผ่านที่แข็งแรงไม่ซ้ำกัน

อย่าใช้รหัสผ่านเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบัญชีธนาคารของคุณ โดยปกติเราใช้ที่อยู่อีเมลเดียวกันหรือชื่อผู้ใช้เดียวกันทุก ๆ บัญชี ทำให้คนพบเจอและถูกขโมยได้ง่าย ถ้าคุณใช้รหัสผ่านเดียวกันสำหรับทุกสิ่งทุกอย่าง หรือในหลาย ๆ สิ่ง แล้วบัญชีจะถูกแฮกค์ได้ภายในเสี้ยววินาที ต้องใช้รหัสผ่านที่แข็งแรง ใช้ตัวพิมพ์เล็ก ตัวเลข ตัวพิมพ์ใหญ่ และสัญลักษณ์ต่าง ๆ ประกอบเข้าด้วยกันเป็นรหัสผ่าน ตั้งรหัสผ่านที่ช่วยให้จดจำได้ง่าย แต่ทว่ายากที่จะคาดเดา อย่าใช้วันที่หรือชื่อสัตว์เลี้ยงเป็นอันขาด

                                                                    ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.quickserv.co.th

วันอังคารที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

Backup ข้อมูลด้วยนะ



 Backup ข้อมูลด้วยนะ” คำพูดที่เหมือนมีคนคอยเตือนเสมอ ๆ ว่าเป็นสิ่งที่ควรทำ เพราะอาจเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้เสมอ เช่น ไฟล์หาย Harddisk เสีย หรือแม้กระทั่งโดนไวรัสเรียกค่าไถ่ หรือที่เรียกว่า Ransomware จนทำให้เสียข้อมูลที่สำคัญไป แค่ Harddisk เสียยังสามารถหาซื้อใหม่ได้ แต่ข้อมูลหายนั้น ต้นทุนในการทำขึ้นใหม่นั้นสูง หรือ บางครั้งไม่สามารถสร้างข้อมูลที่หายไปใหม่ได้อีกครั้งเลยทีเดียว

ผู้ใช้งานทั่วไปอาจมองว่า การ Backup ข้อมูลเป็นเรื่องจุกจิก ยุ่งยาก ขั้นตอนเยอะ ใช้เวลารอนาน หรือ บางครั้งก็หลงลืมที่จะต้องทำตามกำหนดเวลาที่ได้ตั้งใจเอาไว้ สำหรับบทความนี้ CAT cyfence นำเสนอโปรแกรม FBackup ซอฟท์แวร์ที่จะช่วยให้การ backup ง่ายขึ้น ลดการหลงลืม และเก็บข้อมูลอย่างปลอดภัยบน cloud
โปรแกรมนี้เป็นเวอร์ชันฟรี แต่ก็ยังมี Feature สำคัญ ๆ ที่จำเป็นสำหรับการสำรองข้อมูลเบื้องต้น เช่น สามารถตั้งเวลาให้โปรแกรม Backup เองอัตโนมัติ และสามารถสำรองไฟล์ไปยัง คลาวด์ DropBox (หากใครมี Google Drive ก็สามารถใช้งานได้ ) มาเริ่มต้น Backup กันเลย

วัตถุประสงค์ของการสำรองข้อมูลนั่นคือ เพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลที่สำคัญของคุณสามารถอยู่รอดได้ในอันตรายที่รอคอยในอนาคตได้ ในหลักการนี้เป็นกระบวนการที่ซับซ้อน คัดลอกไฟล์ทั้งหมดของคุณไปยังอุปกรณ์อื่น ๆ เก็บสำรองไว้ที่ปลอดภัย และเพื่อกู้คืนข้อมูลในกรณีที่เกิดปัญหาได้อย่างรวดเร็ว จนเกิดทฤษฎีสำหรับการการสำรองข้อมูลที่ดีเลย นั่นคือ 3-2-1 Backup 



กฏ 3-2-1 Backup นี้ ถูกนำเสนอจนกลายเป็นที่โด่งดังโดย Peter Krogh ช่างภาพชื่อดังแห่ง American Society of Media Photographers (ASMP) ที่ได้ออกมาเขียน Best Practice ทางด้านการทำ Backup สำหรับช่างภาพ พร้อมกับแนะนำเนื้อหาอื่นๆ เกี่ยวกับการดูแลรักษาข้อมูลภาพถ่ายที่เหล่าช่างภาพควรทำความรู้จักกัน และบทความนี้ก็ถือเป็นบทความโด่งดังที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เพราะเขียนได้เข้าใจง่ายในภาษาทั่วๆ ไป และยังนำไปปรับใช้ได้จริงอย่างสมเหตุสมผลอีกด้วย

 

 เริ่มต้นใช้งาน FBackup

1. ดาวน์โหลดโปรแกรม Fbackup ที่ https://www.fbackup.com/download.html 

รูปที่ 1

2. เมื่อดาวน์โหลดเสร็จแล้วคลิกที่ไฟล์ที่ดาวน์โหลดมา ถ้าไม่ต้องการส่งข้อมูลการใช้งานไปยังผู้พัฒนา สามารถเอาเครื่องหมายหน้า Send anonymous usage statistics ออกได้ จากนั้นคลิก Intall Now ดังรูปที่ 2

รูปที่ 2

3. คลิกที่ปุ่ม New เพิ่มเริ่มต้น Backup ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3

4. จากนั้นโปรแกรมจะให้เลือกว่าต้องการ Backup ไฟล์ไปที่ไหน ในที่นี้ จะขอเลือก เป็น Local Hard Drive ก่อน แต่หากต้องการสำรองข้อมูลไปบนคลาวด์ ผู้ใช้สามารถ เลือกเมนู Online เพื่อ Backup ไปยัง Dropbox หรือ Google ได้

รูปที่ 4

5. จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าต้องการ Backup อะไร ในที่นี้ ขอเลือกเป็น Local hard drive (1) โดย Backup Folder My Data (2) จากนั้น กด Next (3) ดังรูปที่ 5

รูปที่ 5

 

6. โปรแกรมจะให้เลือกว่าต้องการกรองประเภทไฟล์หรือไม่ ถ้าไม่ สามารถกด Next เพื่อผ่านไปขั้นตอนต่อไป

รูปที่ 6

7. โปรแกรมจะถามถึงประเภทของการ Backup ให้เลือก Make full และตั้งค่ารหัสผ่าน จากนั้นกด Next ดังรูปที่ 7

รูปที่ 7

8. ขั้นตอนนี้จะให้ตั้งเวลาให้โปรแกรม Backup เองอัตโนมัติ สามารถเลือกความถี่ได้ว่าต้องการ Backup ทุกวัน ทุกสัปดาห์ หรือ ทุกเดือน ในเวลาอะไร เมื่อเลือกแล้วจากนั้นให้กด Next เพื่อไปยังขั้นตอนถัดไป

 

9. ตั้งชื่อไฟล์สำหรับการ Backup และสามารถเลือก Icon ได้ครับ จากนั้นกด > Save

10ระบบจะเริ่มทำการ Backup และหลังจากนั้นจะทำการ Backup ให้เองโดยอัตโนมัติตามที่ผู้ใช้งานตั้งเวลาไว้ 

ในเวลาที่ต้องการกู้คืนไฟล์ที่ Backup เอาไว้ ก็เพียงแค่เลือกตัว Backup แล้วกด Restore จากนั้นโปรแกรมจะให้เลือกว่าจะกู้คืนไปที่ไหน จากนั้นกด Finish

เป็นการเสร็จสิ้นการ Backup ไฟล์เบื้องต้น การ Backup แบบนี้ก็จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ข้อมูลขึ้นอีกระดับหนึ่ง แต่ถ้าต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้มากขึ้น สามารถเลือก Backup ไปยัง External Drive หรือ Backup ไปยัง Google Drive และ Drop Box ได้เช่นกัน



                                        ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.catcyfence.com

                                                                                                                        www.quickserv.co.th