วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563

รับราชการอย่างไร ให้มีเงินเยอะ ????

รับราชการอย่างไร ให้มีเงินเยอะ



รับราชการ ก็จะพบกับคำที่ว่า        ข้าราชการสวัสดิการดี แต่ไม่มีเงินเก็บ”

รับราชการอย่างไรให้มีเงินเยอะ นั่นคือสิ่งที่เราเองนั้นต้องเข้าใจกันก่อน หากพูดเรื่องเงินเดือนข้าราชการคงไม่แปลกใจหากหลายคนจะเคยได้ยินประโยคด้านบน แน่นอนคนเราทุกคนเกิดมา เรียนหนังสือ ขวนขวายหาความรู้เพื่อมาทำงาน หลายคนพัฒนาตนเองเพื่อให้ได้งานที่ดี และผลพวงคือได้รับเงินที่ดีเป็นผลตอบแทน หลังจากนั้นก็แปรสภาพเงินเป็นความสุขตามที่เราต้องการ เมื่อถึงจุดหนึ่งหลายคนมักเกิดความลังเล สิ่งที่เกิดขึ้นคือ อยากรับราชการ แต่รู้กันดีอยู่ว่าเงินเดือนนั้นแสนจะน้อยนิด ทำแทบตายก็ไม่รู้ว่าเงินเดือนจะสู้เพื่อน ๆ ที่ทำงานเอกชนได้หรือเปล่า หากใครที่กำลังมีปัญหาความสับสนอยู่ วันนี้เรามีไอเดียมาแชร์กันว่ารับราชการอย่างไรนะ ให้มีเงินเยอะ ๆ

เป็นทำไมข้าราชการ  เงินเดือนน้อย ยังไงก็ไม่รวย”

ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ไม่ว่าจะทำงานอาชีพไหน ๆ หากเรารู้จักวางแผนการใช้เงิน แผนกการเงินไม่ใช่เพียงรู้จักเก็บ รู้จักใช้ แต่ที่มาของการได้รายได้ของเรานั้นก็สำคัญ และอีกอย่างที่เราจะลืมไม่ได้คือตัวที่ทำให้เรานั้นต้องจำหน่ายใช้ออกไป หรือทางบัญชีเขาก็จะบอกว่า รายได้นั้นต้องนำมาลบด้วยรายจ่าย หรือค่าใช้จ่ายของเราแล้วจะนำมานับเป็นกำไรของเรา ตัวแปรง่าย ๆ ไม่กี่ตัวจะช่วยให้เรานั้นมีกำไรได้มากขึ้น เราก็จะมีเงินเก็บได้เหมือนกัน ดังนั้นสำหรับคนที่อยากรับราชการแต่กังวลเรื่องเงินเดือน

เราจะพาไปดูข้อดีของการ รับราชการ กันก่อนดีกว่า มาเริ่มกันที่

·         สวัสดิการในระบบราชการดีเลิศ ทั้งค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วย ทั้งของตัวแองและพ่อแม่รวมถึงลูก ค่ายา ค่าเวชภัณฑ์ ค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์ ค่าเลือด ค่าออกซิเจน ฯลฯ ค่าอวัยวะเทียม อุปกรณ์บำบัดรักษาโรค ค่าซ่อมแซม ค่าบริการทางการแพทย์ ค่าตรวจวินิจฉัยโรค (ไม่รวมค่าธรรมเนียมพิเศษ) ค่าตรวจครรภ์ ค่าคลอดบุตรและการดูแลหลังคลอด ค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นการเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรค

·         ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ เป็นต้น หรือไม่ว่าจะเป็นค่าเล่าเรียนของบุตร รัฐก็ช่วยแบ่งเบาเราได้ส่วนหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีบ้านพักข้าราชการอีก

·         ต่อมาเรื่องของความมั่นคง งานราชการได้รับไปเต็ม ๆ ไม่มีคำว่าไล่ออก เพราะรัฐไม่มีทางล้มแน่นอน สามารถจ้างงานเราไปได้ยาว ๆ จนถึงเกษียณ

·         มีบำเหน็จบำนาญ เมื่อเกษียณจากราชการ หลังจากทำงานมานานจนถึงอายุ 60 ปีแล้วเราก็สามารถเลือกว่าจะรับบำเหน็จหรือเราจะรับบำนาญ โดยต้องเปรียบเทียบง่าย ๆ ว่าอยากได้เงินก้อนหรือเงินรายเดือนไปเรื่อย ๆ

·         สำหรับการกู้ยืมเงินจากธนาคาร ข้าราชการสามารถกู้ได้ในอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเงินกู้ทั่วไป แม้มีหนี้ก็เป็นหนี้ที่ไม่ต้องเสียดอกมาก และสามารถผ่อนชำระได้เป็นเวลานานอีกด้วย และนี่เป็นแค่ตัวอย่างสวัสดิการดี ๆ จากการรับราชการเท่านั้น

เห็นแล้วใช่ไหมว่าเปนช้าราชการไม่ได้แย่อย่างที่คิดเลย ดูสิ คนแย่งกันไปสอบ ก.พ. มากมายทุกปี แต่สำหรับใครที่กำลังกังวลเกี่ยวกับเงินเดือนอันน้อยนิด กลัวไม่มีเก็บ เราไปดูเคล็ดลับการรับราชการให้ได้เงินเยอะ ๆ กันดีกว่าหา Second Job ใช่แล้ว อ่านไม่ผิดแน่ ๆ การหางานเสริมทำไม่ใช่เรื่องแปลกเลย โดยเฉพาะถ้ารับราชการแล้ว เวลาเข้า-ออกงานจะเป๊ะมาก มีเวลาเหลือให้ทำอะไรอีกตั้งมากมาย ใช้โอกาสนี้แหละ หารายได้เพิ่มจากช่องทางอื่น ๆ ส่วนจะทำอะไรลองไปคิดตัดสินใจกันตามความชอบความถนัดดูนะ รับรองได้เงินเพิ่มขึ้นแน่ ๆ รู้จักวางแผนการเงิน ทั้งการออมและการลงทุน

เคล็ดลับการออม

·         ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะออมเท่าไหร่อย่างไร

·         เก็บเงินก่อนใช้ ได้รับเงินปุ๊บ เก็บส่วนที่จะออมปั๊บ รับรองยังไงก็เก็บได้ชัวร์ จะช่วยทำให้เรารู้ว่าเราเหลือเงินที่จะให้ใช้ได้เท่าไหร่

·         ทำบันทึกรายรับ-รายจ่าย เพราะการทำบันทึกรายรับรายจ่ายจะทำให้เรารู้จำนวนเงินหมุนเวียนของเรา และรู้ว่าเราใช้จ่ายกับอะไรไปบ้าง จะช่วยให้จัดการกับเงินได้ดียิ่งขึ้น

·         งดใช้บัตรเครดิตที่เป็นเงินในอนาคตโดยไม่จำเป็น หากจะรูดบัตรเครดิต ต้องคิดเสมอว่ามีเงินสดที่พร้อมนำมาจ่ายในช่วงถึงกำหนดชำระ ไม่เข่นนั้นจะทำให้เกิดหนี้ยัตรเครดิตได้

·         เปิดบัญชีเงินฝากระยะยาว เพราะนอกจากจะประหยัดเงินแล้วต้องรู้จักการเก็บออมด้วย

·         ยกเลิกค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียทุกเดือนโดยไม่จำเป็น

·         ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น ข้อนี้ขึ้นอยู่ที่ตัวบุคคลจริง ๆ ว่าค่าใช้จ่ายที่จำเป็นหรือไม่จำเป็นของแต่ละคนเป็นเรืองอะไร เอาเป็นว่าตัดสินใจกันให้ดีว่าค่าใช้จ่ายส่วนไหนที่ยังไม่จำเป็นก็ลดลงบ้าง
เคล็ดลับการลงทุน นอกจากการออมแล้ว หากมีเงินเหลือควรจัดสรรมาลงทุนบ้าง

·         ลงทุนแบบกองทุนรวมตราสารหนี้ คือการลงทุนในกองทุนรวมที่นำเงินเราไปลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น

·         ฝากประจำ คือการฝากงเงินทุก ๆ เดือน โดยเลือกฝากกับโครงการที่ได้รับดอกเบี้ยสูง ๆ

·         กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ / กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เชื่อว่าทั้งคนทำงานและข้าราชการจะต้องรู้จักการลงทุนแบบนี้ โดยเป็นการสะสมเงินออมโดยเลือกสะสมได้ตามจำนวนเปอร์ฌซ็นต์ที่ต้องการ แน่นอนว่าแทบทุกบริษัทมีสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับพนักงานอยู่ สำหรับข้าราชการก็จะเป็นกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

·         สหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นอีกหนึ่งช่องทางการลงทุนที่น่าสนใจและน่าลงทุน ผลตอบแทนที่ได้รับเป็นปันผลจะได้มากกว่าดอกเบี้ยธนานคารแน่นอน

·         หุ้น สำหรับใครที่มีเวลา ศึกษาหาข้อมูลเล่นหุ้นดูก็เป็นอีกวิธีการลงทุนที่ดี แต่ต้องมีเวลาและศึกษารายละเอียดให้ดีนะ

นี่ก็เป็นตัวอย่าง เคล็ดลับง่าย ๆ ในการช่วยเก็บเงินสำหรับข้าราชการที่คิดว่าตนเองเงินเดือนน้อย ไม่พอใช้ ไม่มีเงินเก็บ ไม่รวยแน่ ๆ อยากแนะนำให้ลองทำตามกันดู ทุกวิธีล้วนมีประโยชน์และดีทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับมุมมองและการนำไปปรับใช้ของแต่ละคน หากรู้จักการออม การลงทุน รู้จักหาช่องทางทำเงิน รับรองว่ายังไงก็ไม่อดตาย รับราชการเงินเดือนไม่มากก็มีเงินเก็บได้แน่นอน

                                                                                                                                  ขอขอบคุณข้อมูลจาก: sorbdd.com