วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564

สายพันธุ์ C.1.2และสายพันธุ์มิว

 


เชื่อว่าตอนนี้เพื่อนๆ หลายคนน่าจะกำลังหวาดๆ กับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่กันอยู่แน่ๆ เพราะเพียงแค่เริ่มต้นเดือนกันยายน ก็มีเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่มาให้เราได้ยินชื่อด้วยกันถึง 2 ชื่อ นั่นก็คือ เชื้อโควิดสายพันธุ์ “มิว” และเชื้อโควิดสายพันธุ์ C.1.2สำหรับสายพันธุ์ C.1.2 มีการพบครั้งแรกในแอฟริกาใต้ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2564 เป็นเชื้อกลายพันธุ์มาจากสายพันธุ์ C.1 ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ในจีโนม มากกว่าเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์สายพันธุ์อื่นๆ เพราะเกิดการกลายพันธุ์บ่อยครั้งในอัตราสูงถึง 41.8 ครั้งต่อปี หรือเกือบสองเท่าของเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์จากข้อมูลของสถาบัน ของแอฟริกาใต้ ระบุอีกว่า เชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ C.1.2 อาจทำให้เกิดการแพร่กระจายติดเชื้อง่ายกว่าเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์อื่นๆ ที่ผ่านมา และอาจมีความสามารถในการหลบหลีกภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์จากการฉีดวัคซีนได้ ซึ่งจากความรวดเร็วของเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ C.1.2 ทำให้พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์ใหม่ในแอฟริกาใต้แล้วจำนวน 9 รัฐของประเทศ และพบว่ามีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นจาก 1% ในเดือนมิถุนายน 2564 เป็น 3% ในเดือนกรกฎาคม 2564อย่างไรก็ตาม หลังจากสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติแอฟริกาใต้ได้แจ้งเตือนเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ C.1.2 ทำให้นักวิทยาศาสตร์ที่สถาบันโรคติดต่อแห่งชาติแอฟริกาใต้ ต้องเฝ้าติดตามเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่นี้ โดยการตรวจสอบพฤติกรรมการแพร่ระบาด การทำให้เกิดการติดเชื้อ การหลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกาย และการหลบหลีกภูมิจากวัคซีนการเฝ้าระวังดังกล่าวของสถาบันโรคติดต่อแห่งชาติแอฟริกาใต้ สอดคล้องกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกที่หันมาให้ความสนใจเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ C.1.2 กันเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีการกลายพันธุ์ในจีโนมสำคัญจำนวนหนึ่ง เหมือนกับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ใหม่อื่นๆ ก่อนหน้า และสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) ที่กำลังเป็นสายพันธุ์หลักในการแพร่ระบาดทั่วโลก

    ส่วนสายพันธุ์มิว ซึ่งมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า B.1.621 พบครั้งแรกที่โคลัมเบีย เมื่อเดือนมกราคม 2564 ที่ผ่านมา โดยหลังจากมีการตรวจพบก็มีการรายงานว่า พบการระบาดเป็นระยะๆ ในหลายพื้นที่ของอเมริกาใต้และยุโรป แต่ยังไม่พบมากเท่ากับสายพันธุ์เดลตา ที่ขณะนี้กำลังแพร่ระบาดอย่างหนักทั่วโลก อย่างไรก็ดี สายพันธุ์มิว ถือเป็นสายพันธุ์ที่น่าสนใจถัดจากสายพันธุ์แลมบ์ดา ที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO ขึ้นบัญชีไว้เมื่อเดือนมิถุนายน โดยรายงานระบาดวิทยาฉบับล่าสุดของ WHO ระบุว่า มิวมีการกลายพันธุ์ที่บ่งชี้ว่า อาจมีคุณสมบัติหลุดรอดภูมิคุ้มกันได้ แต่ทั้งนี้ยังคงต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

สำหรับความชุกของการติดเชื้อทั่วโลก นับตั้งแต่ตรวจพบครั้งแรกพบว่า สายพันธุ์มิว มีการตรวจน้อยลง โดยปัจจุบันมีการแพร่ระบาดทั่วโลกที่ไม่ถึง 0.1% ซึ่งในส่วนของความชุกยังคงอยู่ที่โคลัมเบียที่ 39% และเอกวาดอร์ 13%

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.samyan-mitrtown.com