วันพฤหัสบดีที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564

กระท่อม .. พืชที่ทุกคนอยากรู้

 


กระท่อมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. เป็นพืชที่อยู่ในวงศ์เข็มและกาแฟ (Rubiaceae) เป็นไม้ยืนต้น สูงประมาณ 4-16 เมตร เติบโตได้ดีในที่ชุ่มชื้น ความชื้นสูง ดินอุดมสมบูรณ์ และมีแสงแดดปานกลาง กระท่อมจัดเป็นพืชที่มีสารออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท เป็นพืชพื้นเมืองของประเทศไทยและมาเลเซีย สามารถพบได้ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกา สมัยโบราณมีการใช้ใบกระท่อมเพื่อรักษาการติดเชื้อในลำไส้ บรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อ ลดไข้ บรรเทาอาการไอและท้องร่วง โดยใช้ใบสดหรือใบแห้งนำมาเคี้ยว สูบ หรือชงเป็นน้ำชา นอกจากนี้ยังมีการใช้กระท่อมในกลุ่มของผู้ใช้แรงงานเพื่อกดความรู้สึกเมื่อยล้า ทนต่อการทำงานกลางแจ้ง ทนร้อน ทนแดด และสามารถทำงานได้ยาวนานมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการใช้เพื่อลดอาการขาดยาจากสิ่งเสพติดอื่น เช่น ฝิ่นและมอร์ฟีน เป็นต้น เนื่องจากมีผลข้างเคียงน้อยกว่ามอร์ฟีนเมื่อใช้ในระยะเวลาที่จำกัด การใช้แทนแอมเฟตามีน (ยาบ้า) เพื่อเพิ่มพละกำลัง ซึ่งในปัจจุบันพบว่ามีการใช้กระท่อมในหลายประเทศทั่วโลกเกินกว่าขอบเขตทางภูมิศาสตร์ที่พบพืชชนิดนี้

ในประเทศไทย ใบกระท่อมมีการแพร่ระบาดในหมู่วัยรุ่นและนักเรียน โดยนำน้ำใบกระท่อมไปผสมกับยาแก้ไอ น้ำอัดลม ยาคลายกล้ามเนื้อ กาแฟ และเครื่องดื่มอื่นๆ เพื่อแต่งรส ซึ่งเป็นที่รู้จักในชื่อ 4 คูณ 100 เพื่อให้รู้สึกสนุกสนาน มึนเมา ขาดสติ และหากได้รับในปริมาณที่สูงมาก จะทำให้เกิดภาวะกดประสาทและกดการหายใจจากฤทธิ์ไม่พึงประสงค์ของยาและภาวะเสริมฤทธิ์ของยาหลายชนิดร่วมกัน ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เสียชีวิตได้ การใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจะทำให้เกิดอาการติดได้ อาการถอนยาที่พบได้ เช่น จิตหวาดระแวง อารมณ์รุนแรง ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก มีอาการกระตุกของแขน ขา ไม่อยากอาหาร ไม่มีสมาธิ และนอนไม่หลับ การใช้ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานจะทำให้มีสีผิวคล้ำขึ้น (hyperpigmentation) กระเพาะกาง (distended stomach) ผิวแห้ง และริมฝีปากคล้ำ เป็นต้น อย่างไรก็ตามยังต้องมีการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ว่าสารอะไรที่ทำให้เกิดพิษและขนาดของความเข้มข้นที่ทำให้เกิดพิษ
          การใช้กระท่อมในขนาดต่ำจะออกฤทธิ์กระตุ้น ลดอาการเมื่อยล้า สามารถทำงานได้นานขึ้น แต่ถ้าใช้ในขนาดที่สูงจะมีฤทธิ์กล่อมประสาทและเสพติด สารที่พบในกระท่อมมากที่สุดเป็นสารกลุ่ม alkaloids และสารกลุ่มอื่นๆ ที่พบรองลงมา เช่น flavonoids terpenoid และ saponins เป็นต้น ใบกระท่อมมีปริมาณ total alkaloids ประมาณ 0.5 - 1.5% โดยพบ mitragynine ซึ่งเป็นสารกลุ่ม indole alkaloids และเป็นสารหลักในการออกฤทธิ์บรรเทาอาการปวด โดยกระตุ้นผ่าน opioid receptors พบสาร mitragynine มากถึง 66% ของสารสกัดใบกระท่อมจากประเทศไทย แต่พบเพียง 12% จากสารสกัดใบกระท่อมจากประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังพบอนุพันธ์อื่นๆ เช่น speciogynine, paynantheine และ speciociliatine เป็นต้น แต่พบในปริมาณน้อยกว่า 1% ของสารแต่ละชนิด mitrgynine ยังออกฤทธิ์ต้านอักเสบโดยกดการหลั่งสาร prostaglandin E2 (PGE-2) ในวิถี cyclooxygenase 2 (COX-2) อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานว่า 7-hydroxymitragynine ซึ่งพบแค่ 2% จากใบกระท่อม มีฤทธิ์ยับยั้งการตอบสนองต่อความเจ็บปวด (antinoceptive) ในหนู mice ได้ดีกว่า morphine 13 เท่า และดีกว่า mitragynine 46 เท่า โดยออกฤทธิ์จำเพาะต่อ

 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.healthydee.moph.go.th/