วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ขั้นตอนการทำลายหนังสือ

 


ขั้นตอนการทำลายหนังสือ

1. สำรวจเอกสารที่จะทำลาย ข้อ 66 (ระเบียบฯ 2548) สำรวจหนังสือที่ครบกำหนดอายุการเก็บในปีนั้นภายใน 60 วัน หลังจากสิ้นปีปฏิทิน (ควรทำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง)

2. จัดทำบัญชีหนังสือขอทำลายข้อ 66 (ระเบียบฯ 2548) บัญชีหนังสือขอทำลาย ให้จัดทำตามแบบที่ 25 ท้ายระเบียบ อย่างน้อยให้มีต้นฉบับและสำเนาคู่ฉบับ

3.เสนอขอแต่งตั้งคณะกรรมการทำลายหนังสือ ข้อ 4 (ระเบียบฯ 2560) ให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกรมแต่งตั้งคณะกรรมการฯ ประกอบด้วย ประธานกรรมการ และกรรมการอีกอย่างน้อย 2 คน โดยให้แต่งตั้งจากข้าราชการประเภทวิชาการ ระดับปฏิบัติการ หรือประเภททั่วไป ระดับชำนาญงานขึ้นไป

4. หน้าที่ของคณะกรรมการทำลายหนังสือ ข้อ 68 (ระเบียบฯ 2548)

4.1 พิจารณาหนังสือที่จะขอทำลายตามบัญชีหนังสือขอทำลาย

4.2 ให้ความเเห็นว่า ไม่ควรทำลาย และควรจะขยายเวลาการเก็บไว้

4.3 ให้ความเห็นว่า ควรให้ทำลาย

4.4 เสนอรายงานผลการพิจารณาพร้อมทั้งบันทึกความเห็นแย้งขอคณะกรรมการ(ถ้ามี) ต่อหัวหน้าส่วนราชการเพื่อพิจารณาสั่งการ

4.5 ควบคุมการทำลายหนังสือซึ่งผู้มีอานาจอนุมัติให้ทำลายได้แล้วและเมื่อทำลายเรียบร้อยแล้วให้ทำบันทึกลงนามร่วมกันเสนอผู้มีอำนาจอนุมัติทราบ

5. การพิจารณาสั่งการทำลายหนังสือข้อ 69 (ระเบียบฯ 2548)พิจารณาสั่งการ ดังนี้

5.1 หนังสือเรื่องใดยังไม่ควรทำลาย ให้สั่งการให้เก็บหนังสือนั้นไว้จนถึงเวลาการทำลายงวดต่อไป

5.2 หนังสือเรื่องใดควรทำลาย ให้ส่งบัญชีหนังสือขอทำลายให้กองจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร พิจารณาก่อนเว้นแต่หนังสือที่ได้ขอทำความตกลงกับกรมศิลปากรแล้ว ไม่ต้องส่ง

6. การพิจารณาของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติกรมศิลปากร ข้อ 70 (ระเบียบฯ 2548) การพิจารณาของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ มีดังนี้

6.1 เห็นชอบด้วยให้แจ้งให้ส่วนราชการนั้นดำเนินการ ทำลายหนังสือต่อไปได้

6.2 เห็นว่าหนังสือฉบับใดควรจะขยายเวลาการเก็บไว้ อย่างใดหรือให้เก็บไว้ตลอดไป

7.การทำลายเอกสารข้อ 68.5 (ระเบียบฯ 2548)

7.1 โดยการเผา

7.2 วิธีอื่นใดที่จะไม่ให้หนังสือนั้นอ่านเป็นเรื่องได้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.facebook.com/sharedsaradd/