วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งตำแหน่งประเภทวิชาการ

 

หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งตำแหน่งประเภทวิชาการ

◼️การนำเสนอ ผลงาน (ตำแหน่งประเภทวิชาการ ระดับชำนาญการ และระดับชำนาญการพิเศษ)

▪️ผลงานที่ผ่านมา

▫️สรุปปวิเคราะห์ถึงผลที่เกิดขึ้น

🔸ให้เห็นถึงความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในงาน

🔸ระบุผลสำเร็จของงานประโยชน์ที่เกิดจากงานนั้น และการนำไปใช้

x มิใช่เป็นเพียงการรวบรวมผลงานย้อนหลัง

▪️ข้อเสนอแนวคิด

▫️ข้อเสนอแนวคิด วิธีการ แผนงานเพื่อพัฒนางานหรือปรับปรุงงาน ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์หรือนโยบายของส่วนราชการ

🔷ผลงานที่จะนํามาประเมิน

🔹เป็นผลงานที่จัดทําขึ้นระหว่างที่ดํารงตําแหน่งในระดับที่ตํ่ากว่าระดับที่จะประเมิน 1 ระดับ หรือเป็นผลงานไม่เกิน 5 ปี

🔹ไม่ใช่ ผลงานวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ที่เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อขอรับปริญญา หรือประกาศนียบัตร หรือเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรม

📄แบบการเสนอผลงาน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลบุคคล/ตำแหน่ง

▪️ชื่อผู้ขอประเมิน

▫️ตำแหน่งปัจจุบัน

▫️ตำแหน่งที่จะแต่งตั้ง

ส่วนที่ 2 ผลงานที่เป็นผลการปฏิบัติงานหรือผลสำเร็จของงาน

1. เรื่อง

2. ระยะเวลาการดำเนินการ

3. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน

4. สรุปสาระสำคัญ ขั้นตอนการดำเนินการ และเป้าหมายของงาน

5. ผลสำเร็จของงาน (เชิงปริมาณ/คุณภาพ)

6. การนำไปใช้ประโยชน์/ผลกระทบ

7. ความยุ่งยากและซับซ้อนในการดำเนินการ

8. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ

9. ข้อเสนอแนะ

10. การเผยแพร่ผลงาน (ถ้ามี)

11. ผู้มีส่วนร่วมในผลงาน (ถ้ามี)

📄แบบการเสนอข้อเสนอแนวคิดการพัฒนาหรือปรับปรุงงาน

1. เรื่อง

2. หลักการและเหตุผล

3. บทวิเคราะห์/แนวความคิด/ข้อเสนอ และ


 ข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นและแนวทางแก้ไข

4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

5. ตัวชี้วัดความสำเร็จ

💡องค์ประกอบการประเมินผลงาน

1. ประโยชน์ของผลงาน

2. ความรู้ ความชำนาญงาน หรือความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน

3. คุณภาพของผลงาน

ที่มา : หนังสือสำนักงาน กพ. ที่ นร 1006/25 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2564 เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลงานเพื่อแต่งตั้งตำแหน่งประเภทวิชาการ