วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

 


จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เผยแพร่บทความรู้เกี่ยวกับ พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารราชการ พ.ศ. 2540 เผยแพร่บทความเรื่องที่ 2. ขอรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

ใกล้ถึงเวลาต้องจ่ายภาษีกันอีกแล้ว ก็เลยนำเรื่องเกี่ยวกับรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลมาเป็นตัวอย่างให้ดูกันว่า เราจะขอตรวจสอบรายการเสียภาษีของนิติบุคคลที่เราถือหุ้นอยู่ได้หรือไม่ มาดูครัน

บริษัท ก จำกัด โดยนาย ข กรรมการผู้จัดการ ได้มีหนังสือถึงกรมสรรพากรขอข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับแบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ต.ต ภ.ง.ด.ตก ภ.ง.ต.๓ และ ภ.ง.ต.๕๕๓) ของบริษัท ค จำกัด บริษัท ง จำกัดและบริษัท จ จำกัด ตั้งแต่เริ่มการยื่นแบบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งบริษัท ก จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นอยู่ในบริษัททั้งสามแห่งกรมสรรพากรแจ้งปฏิเสธการเปิดเผย โดยให้เหตุผลว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคลและเป็นข้อมูลที่ทำให้รู้เรื่องกิจการผู้เสียภาษีมีกฎหมายคุ้มครองจะนำออกเปิดเผยหรือแจ้งแก่บุคคลหรือหน่วยงานใดมิได้ ตามมาตรา ๑๐ แห่งประมวลรัษฎากรและมาตรา ๑๕ (๕) (๖) และมาตรา ๒๔ แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ เว้นแต่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมเป็นหนังสือไว้ล่วงหน้าหรือในขณะนั้น ประกอบกับบริษัท ก จำกัด ได้ยื่นฟ้องคดีบริษัท ค จำกัด

ต่อศาลแล้ว อยู่ระหว่างการพิจารณาคดีในศาล บริษัท ก จำกัด โดยนาย ข จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร

คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาเศรษฐกิจและการคลัง วินิจฉัยสรุปว่าข้อมูลข่าวสารตามอุทธรณ์คือ แบบยื่นรายการภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ต.ต ภ.ง.ด.ตก ภ.ง.ด. ๓ และ ภ.ง.ต.๕๓) ของนิติบุคคลจำนวน ๓ ราย ตั้งแต่เริ่มการยื่นแบบจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผู้อุทธรณ์ได้ยื่นฟ้องบริษัท ค จำกัด ต่อศาลทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา และกรมสรรพากรได้ส่งเอกสารดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของศาลด้วยแล้ว ดังนั้นการเปิดเผยจะกระทบต่อข้อเท็จจริงแห่งคดีอันจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพและไม่อาจสำเร็จตามวัตถุประสงค์

ตามมาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ ประกอบกับข้อมูลการเสียภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นข้อมูลข่าวสารที่แสดงถึงรายได้อันเกี่ยวกับฐานะทางการเงินของนิติบุคคลซึ่งได้ให้ไว้ต่อกรมสรรพากรเพื่อใช้ในการตรวจสอบการเสียภาษีเท่านั้น จึงเข้าลักษณะเป็นข้อมูลข่าวสารที่ผู้ให้มาไม่ประสงค์ให้ทางราชการนำไป

เปิดเผยต่อผู้อื่น ตามมาตรา ๑๕ (๒) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน และผู้อุทธรณ์ไม่ใช่เป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง

กับการเสียภาษีของนิติบุคคลทั้ง ๓ บริษัท จึงต้องห้ามมิให้เปิดเผย ตามมาตรา ๑๐ แห่งประมวลรัษฎากร วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์

มีข้อสงสัยการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. ๒๕๔๐ หารือไปที่สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โทร ๐ ๒๒๘๓ ๔๖๗๗ / o๙ ๒๒๕๐ ๐๕๘๙(www.oic.go.th) (wattanapong.kaopm.go.th)

คำวินิจฉัยคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร สาขาเศรษฐกิจและการคลัง (ที่ ศก ๕/๒๕๖๓) นายวรรธนพงศ์ คำดี ผู้อำนวยการส่วนส่งเสริมและเผยแพร่สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร


 ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.facebook.com/ayutthayanews/