วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2564

การประชุมคณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาครัฐระบบเปิด ในระดับพื้นที่ จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 1/2564

 


         เมื่อวันนี้ (16 ธันวาคม 2564) ผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง (นายสิธิชัย จินดาหลวง) ประธานคณะทำงาน รองประธานคณะทำงาน (นายบัณฑูร เศรษฐศิโรตม์) รองเลขาธิการ ก.พ.ร. (นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข) ผู้แทนจาก GISTDA สกสว. สพร. UNDP ประเทศไทย ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดลำปาง และเจ้าหน้าที่สำนักงาน ก.พ.ร. ได้ประชุมคณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาครัฐระบบเปิด ในระดับพื้นที่ จังหวัดลำปาง ครั้งที่ 1/2564 เวลา 14.00 น. ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการพิจารณาและรับทราบวาระต่าง ๆ ดังนี้

         1. พิจารณาเห็นชอบการติดตั้งเครื่องตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) แบบ Low Cost Sensor ในจังหวัดลำปาง จำนวน 10 จุด

         2. พิจารณาเห็นชอบแผนการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดลำปาง โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้

             1) เป้าหมาย : แก้ไขปัญหาในจุดที่เป็นปัญหาสำคัญ (Pain Point) ของพื้นที่ ได้แก่ “พื้นที่ป่าไม้” โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ คือ “การลดพื้นที่การเผาไหม้ในพื้นที่ป่าไม้” และ “สร้างการมีส่วนร่วมกับภาคเอกชนในการป้องกันไฟป่า โดยใช้ระบบการจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Servic : PES)”
             2) แนวทางการดำเนินการ : บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้แก่ สำนักงาน ก.พ.ร. สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) UNDP ประเทศไทย โรงไฟฟ้าแม่เมาะ เหมืองแม่เมาะ โรงงานปูนซีเมนต์ไทยลำปาง จำกัด บริษัท ปตท. น้ำมันและค้าปลึก จำกัด (มหาชน) ส่วนคลังปิโตรเลียมลำปาง
             3) ระยะเวลาดำเนินการ ธันวาคม 2564 – สิงหาคม 2565
             4) แผนการพัฒนาระบบนิเวศภาครัฐระบบเปิดและการมีส่วนร่วมอย่างมีความหมาย (Open Government and Meaningful Participation Ecosystem : OG & MP) ในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) จังหวัดลำปาง ตามองค์ประกอบ OG&MP มีดังนี้

                 4.1 ) การเปิดเผยข้อมูลของภาครัฐ : เชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เหลือให้ครบถ้วน เช่น ข้อมูลเชิงเรื่องราว (Story) Timeline และ Time Series ฯลฯ พัฒนาและส่งเสริมการใช้แพลตฟอร์มกลาง และสื่อสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งส่งเสริมให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลและใช้ประโยชน์จากข้อมูล เป็นต้น
                  4.2) นโยบายและกฎหมายที่เอื้อต่อการแก้ไขปัญหา เช่น ส่งเสริมให้ชาวบ้านนำเศษวัสดุการเกษตรไปใช้ประโยชน์หรือย่อยสลาย ด้วยวิธีที่เหมาะสมแทนการใช้วิธีการเผา ส่งเสริ มการสร้างอาชีพให้แก่ชาวบ้านอย่างยั่งยืน รวมทั้ง ควบคุม กำกับ การเผาในพื้นที่ป่าไม้อย่างเข้มงวด เป็นต้น
                  4.3) การสร้างภาคีเครือข่าย เช่น สร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในการลดการเผาในพื้นที่ป่า และเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ ผ่านการทำกิจกรรม CSR และ PES สร้างเครือข่าย อาสาสมัคร เยาวชนและจิตอาสาเพื่อสร้างารมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่
                  4.4) การสร้างแรงจูงใจ เช่น เสริมสร้างแรงจูงใจเชิงบวกเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและวัฒนธรรมเพื่อลดการเผาในพื้นที่เกษตร การสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ และอนุรักษ์ระบบนิเวศป่าร่วมกัน เป็นต้น
                  4.5) การสนับสนุนองค์ความรู้และทรัพยากร เช่น สนับสนุนองค์ความรู้เพื่อลดการเผาในพื้นที่ป่า การสนับสนุนครุภัณฑ์ที่จำเป็นในการลาดตระเวน เฝ้าระวัง และเข้าดับไฟป่า อบรมให้ความรู้เรื่องแก่ชาวบ้านในพื้นที่ เป็นต้น
                  4.6) การสนับสนุนเทคโนโลยี นวัตกรรม เช่น ส่งเสริมการใช้ ระบบ Burn Check การติดตั้ง Low Cost Sensor ในพื้นที่ ส่งเสริมและขยายผลการใช้ Line chat bot “น้องเข้ม” ในการสื่อสารระหว่างทุกภาคส่วน เป็นต้น
                  4.7) การติดตามนโยบายของภาครัฐ เช่น กำหนดตัวชี้วัดเพื่อลดการเผาในพื้นที่ป่าไม้ และติดตามตรวจสอบสถานการณ์อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น
                  4.8) การสร้างวัฒนธรรม เช่น การเสริมสร้างวัฒนธรรมปลอดการเผา ปรับเปลี่ยนความเชื่อเรื่องการเผาป่าเพื่อเก็บของป่า และสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับปัญหา PM 2.5 เป็นต้น

         3. รับทราบการดำเนินงาน 3 เรื่อง ได้แก่

             1) คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานส่งเสริมการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาภาครัฐระบบเปิดในระดับพื้นที่ จังหวัดลำปาง
             2) การใช้ประโยชน์จากแพลตฟอร์มกลางในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)
             3) รายงานผลการประชุมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน เรื่อง การจ่ายค่าตอบแทนการให้บริการของระบบนิเวศ (Payment for Ecosystem Service : PES)


ขอขอบคุณข้อมูลจาก : www.opdc.go.th